fbpx
วิกิพีเดีย

ฟ้าแดดสงยาง

เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปนดิน มีคูเมืองสองชั้น มีลักษณะเป็นท้องน้ำ นอกจากนี้ยังมี พระธาตุยาคู ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดี แต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง มีการขุดพบใบเสมาหินทรายมีลวดลายบ้าง ไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากร 130 แผ่น

ที่ตั้งและภูมิศาสตร์

พื้นที่ของเมืองตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มลำน้ำปาว ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 120 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ผังเมืองเดิมเป็นรูปไข่แล้วขยายออกมาทางทิศใต้และทิศตะวันออกจนมีรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม กว้าง 1,000 เมตร ยาว 1,800 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น คันดินสูงราว 2-3 เมตร สามารถคาดเดาได้ว่า เมื่อมีการขุดคูล้อมรอบที่ตั้งชุมชน ลำคูคงกลายเป็นที่รับน้ำฝนและน้ำซึ่งไหลจากแหล่งรับน้ำโดยรอบนำมาเก็บไว้เพื่อให้ใช้ได้ตลอดปี

ประวัติและการขุดค้น

ชุมชนโบราณแห่งนี้ พบว่ามีการเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 2,200 ปีมาแล้ว ซึ่งนับอยู่ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็กตอนปลาย และมีการอยู่อาศัยเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งเป็นยุคที่ชุมชนแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด พบร่องรอยการอยู่อาศัย 5 ระยะดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์-ยุคเหล็กตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ 3-7)

พบร่องรอยการอยู่อาศัยในหลุมขุดค้นบริเวณโนนเมืองเก่า คือ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นครีม ซึ่งเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในบริเวณแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช กำหนดอายุอยู่ในราว 2,200 – 1,800 ปีมาแล้ว และยังพบภาชนะที่ตกแต่งผิวด้วยการทาน้ำโคลนสีแดงด้วย มีการปลงศพด้วยการฝังยาว โดยวางศีรษะให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือทั้งหมด แต่มีทั้งแบบนอนหงายและนอนตะแคง ไม่พบการอุทิศสิ่งของให้ศพ

นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของกิจกรรมการถลุงเหล็กด้วยเทคนิคโบราณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโนนเมืองเก่า และชุมชนในชั้นนี้ยังรู้จักการผลิตเครื่องประดับสำริดประเภทกำไล แหวน ต่างหู ซึ่งจากหลักฐานที่พบ คือ เบ้าดินที่มีคราบโลหะติดอยู่ และอุปกรณ์การหล่อในรูปของแม่พิมพ์ดินเผา ทำให้ทราบว่าเป็นการผลิตสำริดด้วยเทคนิค กระบวนการผลิตขั้นที่ 2 (secondary metallurgical operation) ไม่มีการถลุงเพื่อสกัดโลหะออกจากแร่ดิบ เพียงแต่นำเอาโลหะที่ผ่านการถลุงแล้วมาหลอมแล้วหล่อให้ได้รูปทรงตามต้องการด้วยวิธี lost wax process คือ ใช้ขี้ผึ้งทำแบบขึ้นมาก่อนแล้วเอาดินพอกจากนั้นให้ความร้อนเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายและไหลออก จากนั้นจึงเอาโลหะหลอมละลายในเบ้าดินเผาเทลงแทนที่ เมื่อแข็งตัวแล้วจึงทุบแม่พิมพ์ออก กระบวนการผลิตแบบนี้พบในแหล่งโบราณคดียุคโลหะในแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชทั่วไป เช่น บ้านเชียง บ้านนาดี เป็นต้น

สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-12)

ระยะนี้รู้จักการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็ก ผลิตเครื่องประดับสำริดตลอดจนผลิตภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆ โดยการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนมีการเผาทั้งแบบกลางแจ้งและเผาในเตาดินที่ควบคุมอุณหภูมิได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในช่วงนี้คือประเพณีการปลงศพซึ่งเปลี่ยนจากการฝังยาวมาเป็นการฝังโดยบรรจุกระดุกทั้งโครงหรือโครงกระดูกบางส่วนโดยไม่ผ่านการเผาลงในภาชนะดินเผา การปลงศพแบบนี้ถือว่าเป็นประเพณีที่แพร่หลายอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง ชี มูล ในช่วงหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์

สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)

เป็นระยะที่มีการอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่นๆ มีการประมาณกันไว้ว่าเมืองฟ้าแดดสงยางในยุคนี้มีประชากรราว 3,000 คนเลยทีเดียว โดยพบเครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริดประเภทแหวน กำไล ลูกกระพรวน นอกจากนั้นยังพบลูกปัดแก้วสีเขียวอมฟ้า รวมทั้งลูกปัดหินอะเกต และหินคาร์เนเลียน ส่วนภาชนะดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นหม้อมีสัน กาน้ำ (หม้อมีพวย) ตะคัน ตลอดจนได้พบแวดินเผา และเบี้ยดินเผาแบบต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าโบราณวัตถุที่พบในชั้นนี้เหมือนกับโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16

ในสมัยนี้ชุมชนเริ่มได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเช่นเดียวกับเมืองโบราณอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน ซึ่งแพร่เข้ามาจากอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-14 (สมัยคุปตะและปาละ) ดังปรากฏศาสนสถานที่มีลักษณะร่วมกันคือ เจดีย์ วิหารและอุโบสถ ซึ่งส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ (มีความยาว 2 เท่าของความกว้าง) และไม่สอปูน แผนผังเจดีย์ที่นิยมในสมัยทวารวดีทั้งภาคกลางและอีสาน คือมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทางขึ้นด้านเดียวหรือ 4 ด้าน มีการตกแต่งผนังอิฐด้วยการฉาบปูนแล้วประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นและดินเผา นอกจากนี้วัฒนธรรมการสร้างปริมากรรมรูปธรรมจักรลอยตัวยังพบที่เมืองฟ้าแดดสงยางแห่งนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดที่พบในชุมชนสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งไม่ใช่พระพุทธรูปหรือธรรมจักรที่นิยมในภาคกลาง คือ ใบเสมา ทั้งแบบที่มีภาพเล่าเรื่องและแบบที่ไม่มี ใบเสามาเหล่านี้อาจใช้ในการปักเขตแดนศาสนสถาน ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากกว่า 14 แห่ง ( จำนวนที่ขุดแต่งครั้งแรกในปี 2510-2511)

ประติมากรรมในทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจอีกประเภทคือ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งขุดพบที่เมืองโบราณแห่งนี้จำนวน 7 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์ที่พบมากที่สุด (83 องค์) ซึ่งอาจจะเป็นพิมพ์พื้นเมือง และแพร่หลายในเขตลุ่มน้ำชี เพราะพบที่เมืองโบราณคันธาระ อำเภอกันทรวิชัยด้วย คือ ปรางค์สมาธิบนฐานดอกบัว ส่วนพิมพ์ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของพระพิมพ์ลุ่มน้ำชี คือ ปางธรรมจักร ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยางและเมืองโบราณคันธาระเท่านั้น ไม่ปรากฏในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการจารึกบนพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสงยางด้วย ซึ่งอักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรสมัยหลังปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 14) ภาษามอญโบราณ ด้านบนมีเนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าอาทิตย์ ส่วนด้านหลัง เป็นข้อความสั้นๆ กล่าวแต่เพียงสังเขปว่า "พระพิมพ์องค์นี้ ปิณญะอุปัชฌายาจารย์ ผู้มีคุณเลื่องลือไกล" ซึ่งก็อาจแปลความได้ว่า พระพิมพ์องค์นี้ ท่านปิณญะอุปัชฌาจารย์ เกจิผู้มีชื่อเสียงได้สร้างขึ้นไว้สำหรับให้สาธุชนได้รับไปบูชา

สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 17-18)

ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 เป็นต้นไปดูเหมือนว่าชุมชนโบราณแห่งนี้จะเริ่มเปลี่ยนค่านิยมเกี่ยวกับการปลงศพโดยนิยมการเผาแล้วเก็บอัฐิใส่โกศดินเผาไปฝังไว้ใต้ศาสนสถาน (บริเวณโนนฟ้าแดด) ดังที่พบผอบดินเผาเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวที่ภายในบรรจุอัฐิ

สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-23)

ช่วงนี้เองที่ชุมชนแห่งนี้มีการติดต่อกับชุมชนในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งภาคเหนือของไทยด้วย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ย หยวน หมิง ที่เป็นสินค้าสำคัญในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล-ชี และลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็ปรากฏในเมืองโบราณแห่งนี้ด้วย สมัยนี้ยังพบว่ามีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น มีการสร้างศาสนสถานแบบอยุธยาซ้อนทับฐานศาสนสถานแบบทวารวดีเกือบทุกแห่ง ที่เห็นร่องรอยเด่นชัดที่สุดในปัจจุบันคือ ฐานล่างของพระธาตุยาคู ซึ่งเป็นศิลปะสมัยทวารวดีที่มีเจดีย์เป็นแบบศิลปะสมัยอยุธยาสร้างซ้อนทับและมีการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

อ้างอิง

  1. ผาสุก อินทราวุทและคณะ. (2544). รายงานการขุดค้นเมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  2. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์[1]หน้า 42-46.
  3. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)[2]สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ฟ้าแดดสงยาง
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°19′08″N 103°31′15″E / 16.318779°N 103.520867°E / 16.318779; 103.520867

าแดดสงยาง, เม, อง, เป, นเม, องโบราณ, งอย, ในอำเภอกมลาไสย, งหว, ดกาฬส, นธ, จจ, นเหล, อแต, ซากอ, ฐปนด, เม, องสองช, กษณะเป, นท, องน, นอกจากน, งม, พระธาต, ยาค, งเม, องร, ปไข, แบบทวาราวด, แต, วเม, องสองช, เช, อว, าเก, ดจากการขยายต, วเม, อง, การข, ดพบใบเสมาห, นทรายม. emuxngfaaeddsngyang epnemuxngobran tngxyuinxaephxkmlaisy cnghwdkalsinthu pccubnehluxaetsakxithpndin mikhuemuxngsxngchn milksnaepnthxngna nxkcakniyngmi phrathatuyakhu phngemuxngrupikhaebbthwarawdi aetmitwemuxngsxngchn echuxwaekidcakkarkhyaytwemuxng mikarkhudphbibesmahinthraymilwdlaybang immibang thikhunthaebiyniwkbkrmsilpakr 130 aephn enuxha 1 thitngaelaphumisastr 2 prawtiaelakarkhudkhn 2 1 smykxnprawtisastr yukhehlktxnplay phuththstwrrsthi 3 7 2 2 smyprawtisastrtxntn phuththstwrrsthi 7 12 2 3 smythwarwdi phuththstwrrsthi 12 16 2 4 smylphburi phuththstwrrsthi 17 18 2 5 smyxyuthya phuththstwrrsthi 19 23 3 xangxing 4 aehlngkhxmulxunthitngaelaphumisastr aekikhphunthikhxngemuxngtngxyubnthirablumlanapaw sungmikhwamsungcakradbnathael 120 emtrcakradbnathaelpanklang phngemuxngedimepnrupikhaelwkhyayxxkmathangthisitaelathistawnxxkcnmiruprangkhxnkhangehliym kwang 1 000 emtr yaw 1 800 emtr mikhunakhndinlxmrxb 2 chn khndinsungraw 2 3 emtr samarthkhadedaidwa emuxmikarkhudkhulxmrxbthitngchumchn lakhukhngklayepnthirbnafnaelanasungihlcakaehlngrbnaodyrxbnamaekbiwephuxihichidtlxdpiprawtiaelakarkhudkhn aekikhchumchnobranaehngni phbwamikarekhamaxyuxasykhxngmnusytngaetphuththstwrrsthi 3 hruxpraman 2 200 pimaaelw sungnbxyuinchwngkxnprawtisastryukhehlktxnplay aelamikarxyuxasyeruxymacnthungphuththstwrrsthi 12 16 sungepnyukhthichumchnaehngnimikhwamecriyrungeruxngsungsud phbrxngrxykarxyuxasy 5 rayadngni 1 smykxnprawtisastr yukhehlktxnplay phuththstwrrsthi 3 7 aekikh phbrxngrxykarxyuxasyinhlumkhudkhnbriewnonnemuxngeka khux phachnadinephalayekhiynsiaedngbnphunkhrim sungepnphachnathiniymichknxyangaephrhlayinsmykxnprawtisastrtxnplayinbriewnaexngsklnkhraelaaexngokhrach kahndxayuxyuinraw 2 200 1 800 pimaaelw aelayngphbphachnathitkaetngphiwdwykarthanaokhlnsiaedngdwy mikarplngsphdwykarfngyaw odywangsirsaihhnipthangthistawntkechiyngehnuxthnghmd aetmithngaebbnxnhngayaelanxntaaekhng imphbkarxuthissingkhxngihsphnxkcakniyngphbrxngrxykhxngkickrrmkarthlungehlkdwyethkhnikhobranthangthistawntkechiyngitkhxngonnemuxngeka aelachumchninchnniyngruckkarphlitekhruxngpradbsaridpraephthkail aehwn tanghu sungcakhlkthanthiphb khux ebadinthimikhrabolhatidxyu aelaxupkrnkarhlxinrupkhxngaemphimphdinepha thaihthrabwaepnkarphlitsariddwyethkhnikh krabwnkarphlitkhnthi 2 secondary metallurgical operation immikarthlungephuxskdolhaxxkcakaerdib ephiyngaetnaexaolhathiphankarthlungaelwmahlxmaelwhlxihidrupthrngtamtxngkardwywithi lost wax process khux ichkhiphungthaaebbkhunmakxnaelwexadinphxkcaknnihkhwamrxnephuxihkhiphunglalayaelaihlxxk caknncungexaolhahlxmlalayinebadinephaethlngaethnthi emuxaekhngtwaelwcungthubaemphimphxxk krabwnkarphlitaebbniphbinaehlngobrankhdiyukholhainaexngsklnkhraelaaexngokhrachthwip echn banechiyng bannadi epntn smyprawtisastrtxntn phuththstwrrsthi 7 12 aekikh rayaniruckkarphlitekhruxngmuxekhruxngichcakehlk phlitekhruxngpradbsaridtlxdcnphlitphachnadinepharupaebbtang odykarkhunrupdwyaepnhmunmikarephathngaebbklangaecngaelaephainetadinthikhwbkhumxunhphumiid aetkarepliynaeplngthiednchdinchwngnikhuxpraephnikarplngsphsungepliyncakkarfngyawmaepnkarfngodybrrcukradukthngokhrnghruxokhrngkradukbangswnodyimphankarephalnginphachnadinepha karplngsphaebbnithuxwaepnpraephnithiaephrhlayxyuinbriewnlumnaokhng chi mul inchwnghweliywprawtisastr smythwarwdi phuththstwrrsthi 12 16 aekikh epnrayathimikarxasyxyuhnaaennthisudemuxethiybkbrayaxun mikarpramankniwwaemuxngfaaeddsngyanginyukhnimiprachakrraw 3 000 khnelythiediyw 2 odyphbekhruxngmuxehlk ekhruxngpradbsaridpraephthaehwn kail lukkraphrwn nxkcaknnyngphblukpdaekwsiekhiywxmfa rwmthnglukpdhinxaekt aelahinkhareneliyn swnphachnadinephaswnihycaepnhmxmisn kana hmxmiphwy takhn tlxdcnidphbaewdinepha aelaebiydinephaaebbtang xacklawidwaobranwtthuthiphbinchnniehmuxnkbobranwtthuinwthnthrrmthwarwdithiphbinaehlngobrankhdismythwarwdiinlumnaecaphraya thacin sungmixayuxyuinchwngphuththstwrrsthi 12 16insmynichumchnerimidrbxiththiphlwthnthrrmthangphraphuththsasnaekhamaechnediywkbemuxngobranxun insmyediywkn sungaephrekhamacakxinediyinchwngphuththstwrrsthi 9 14 smykhuptaaelapala dngpraktsasnsthanthimilksnarwmknkhux ecdiy wiharaelaxuobsth sungswnihycakxdwyxithkhnadihy mikhwamyaw 2 ethakhxngkhwamkwang aelaimsxpun aephnphngecdiythiniyminsmythwarwdithngphakhklangaelaxisan khuxmiaeplnepnrupsiehliymcturs mibnidthangkhundanediywhrux 4 dan mikartkaetngphnngxithdwykarchabpunaelwpradbdwypratimakrrmpunpnaeladinepha nxkcakniwthnthrrmkarsrangprimakrrmrupthrrmckrlxytwyngphbthiemuxngfaaeddsngyangaehngnidwyxyangirktam pratimakrrmthithuxwaoddednthisudthiphbinchumchnsmythwarwdiinphakhtawnxxkechiyngehnuxsungimichphraphuththruphruxthrrmckrthiniyminphakhklang khux ibesma thngaebbthimiphaphelaeruxngaelaaebbthiimmi ibesamaehlanixacichinkarpkekhtaednsasnsthan sungphbwamicanwnmakkwa 14 aehng canwnthikhudaetngkhrngaerkinpi 2510 2511 pratimakrrminthangphraphuththsasnathinasnicxikpraephthkhux phraphimphdinepha sungkhudphbthiemuxngobranaehngnicanwn 7 phimphdwykn phimphthiphbmakthisud 83 xngkh sungxaccaepnphimphphunemuxng aelaaephrhlayinekhtlumnachi ephraaphbthiemuxngobrankhnthara xaephxknthrwichydwy khux prangkhsmathibnthandxkbw swnphimphthithuxwaepnexklksnphiesskhxngphraphimphlumnachi khux pangthrrmckr sungphbechphaathiemuxngobranfaaeddsngyangaelaemuxngobrankhntharaethann impraktinbriewnlumnaecaphrayanxkcakniyngphbhlkthankarcarukbnphraphimphdinephaemuxngfaaeddsngyangdwy sungxksrthiichcarukepnxksrsmyhlngpllwa phuththstwrrsthi 14 phasamxyobran danbnmienuxhaklawthung phraecaxathity swndanhlng epnkhxkhwamsn klawaetephiyngsngekhpwa phraphimphxngkhni pinyaxupchchayacary phumikhuneluxngluxikl sungkxacaeplkhwamidwa phraphimphxngkhni thanpinyaxupchchacary ekciphumichuxesiyngidsrangkhuniwsahrbihsathuchnidrbipbucha 3 smylphburi phuththstwrrsthi 17 18 aekikh tngaetchwngphuththstwrrsthi 17 18 epntnipduehmuxnwachumchnobranaehngnicaerimepliynkhaniymekiywkbkarplngsphodyniymkarephaaelwekbxthiisoksdinephaipfngiwitsasnsthan briewnonnfaaedd dngthiphbphxbdinephaekhluxbsinatalxmekhiywthiphayinbrrcuxthi smyxyuthya phuththstwrrsthi 19 23 aekikh chwngniexngthichumchnaehngnimikartidtxkbchumchninphumiphakhtang rwmthngphakhehnuxkhxngithydwy ekhruxngthwycinsmyrachwngssuy hywn hming thiepnsinkhasakhyinbriewnlumaemnamul chi aelalumnaecaphrayakpraktinemuxngobranaehngnidwy smyniyngphbwamikarxyuxasyknxyanghnaaenn mikarsrangsasnsthanaebbxyuthyasxnthbthansasnsthanaebbthwarwdiekuxbthukaehng thiehnrxngrxyednchdthisudinpccubnkhux thanlangkhxngphrathatuyakhu sungepnsilpasmythwarwdithimiecdiyepnaebbsilpasmyxyuthyasrangsxnthbaelamikarburnptisngkhrnsubtxmacnthungsmyrtnoksinthrxangxing aekikh phasuk xinthrawuthaelakhna 2544 rayngankarkhudkhnemuxngobranfaaeddsungyang xaephxkmlaisy cnghwdkalsinthu sankphimph sthabnwicyaelaphthna mhawithyalysilpakr wthnthrrm phthnakarthangprawtisastr exklksnaelaphumipyya cnghwdkalsinthu 1 hna 42 46 thankhxmulcarukinpraethsithy sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn 2 subkhnemux 15 singhakhm 2556aehlngkhxmulxun aekikhaephnthiaelaphaphthaythangxakaskhxng faaeddsngyang phaphthaydawethiymcakwikiaemepiy hruxkuekilaemps aephnthicakmltiaemp hruxoklbxlikd phaphthaythangxakascakethxrraesirfewxrphikdphumisastr 16 19 08 N 103 31 15 E 16 318779 N 103 520867 E 16 318779 103 520867ekhathungcak https th wikipedia org w index php title faaeddsngyang amp oldid 7831745, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม