fbpx
วิกิพีเดีย

ภาษาเยอรมัน

ภาษาเยอรมัน (อังกฤษ: German; เยอรมัน: Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส

ภาษาเยอรมัน
Deutsch ดอยทช์
ออกเสียง/dɔʏtʃ/
ประเทศที่มีการพูดเยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ เบลเยียม อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และอีก 37 ประเทศ
ภูมิภาคยุโรปตะวันตก
จำนวนผู้พูด110 ล้าน และใช้เป็นภาษาที่สอง 120 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการเยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก สหภาพยุโรป
ภาษาราชการ บางพื้นที่ เดนมาร์ก อิตาลี โปแลนด์ (ในอดีต นามิเบีย ถึงปี ค.ศ. 1990)
รหัสภาษา
ISO 639-1de
ISO 639-2ger (B)
deu (T)
ISO 639-3deu
  ภาษาราชการและภาษาหลัก
  ภาษาราชการ แต่ไม่ใช่ภาษาหลัก
  Statutory minority/cultural language
  Non-statutory minority language
ภาษาเยอรมันในทวีปยุโรป
ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู

ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป

ระบบเขียน

ภาษาเยอรมันใช้อักษรละตินในการเขียนเช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป และมีอักขระพิเศษอีก 4 ตัว เป็นสระที่มีอุมเลาท์ (umlaut) 3 ตัว ได้แก่ ä ö และ ü กับอักษรเอสเซ็ท ß แต่สำหรับภาษาเยอรมันมาตรฐานของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ไม่ใช้ตัว ß เลย โดยจะใช้ ss แทน ß

ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย เพราะมีระบบเขียนที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ เช่น อักขระที่มีอุมเลาท์ข้างต้น การใช้อักษรตัวใหญ่เริ่มต้นคำนามทุกคำ (ซึ่งเป็นระเบียบที่เคยแพร่หลายในยุโรปเหนือแต่ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่ภาษา โดยเยอรมันเป็นภาษาที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำเช่นนี้) และการเขียนคำประสมติดกันโดยไม่เว้นวรรค (ต่างจากภาษาอังกฤษที่เวลานำคำนามมาประสมกันจะเว้นวรรคคั่น) ทำให้ภาษาเยอรมันสามารถมีคำประสมที่ยาวมาก ตัวอย่างเช่น คำเยอรมันที่ยาวที่สุดที่เคยมีการตีพิมพ์ คือ Donaudampfschiffahrtselektrizitätenhauptbetriebswerkbauunterbeamtengesellschaft มี 79 ตัวอักษร อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการอ่าน คำที่ประสมจากคำนามมากกว่า 3-4 คำถือว่าพบได้ยาก นอกเหนือจากบริบทอารมณ์ขัน

ก่อนการปฏิรูประบบเขียนภาษาเยอรมัน ค.ศ.1996 อักษร ß ใช้แทน ss หลังสระเสียงยาวหรือสระประสม ก่อนพยัญชนะ และท้ายคำหรือหน่วยคำ หลังการปฏิรูปไปแล้ว จะใช้ ß แทน ss เฉพาะหลังสระเสียงยาวหรือสระประสมเท่านั้น

เนื่องจากตัว ß ไม่สามารถเริ่มต้นคำได้ ในอดีตจึงไม่เคยมีการคิดตัวอักษร ß ตัวใหญ่ขึ้นใช้ เมื่อจำเป็นต้องใช้ ß ตัวใหญ่ (เช่นเมื่อใช้ตัวใหญ่ทั้งคำ) ก็จะใช้ SS แทน เช่นคำว่า Maßband ("ตลับเมตร") เขียนตัวใหญ่เป็น MASSBAND ยกเว้นในชื่อที่เป็นอักษรตัวใหญ่ในเอกสารราชการ อนุโลมให้คง ß ตัวเล็กเอาไว้เพื่อป้องกันความสับสน (เช่น "KREßLEIN" ไม่ใช่ "KRESSLEIN") จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2017 ได้มีการบรรจุอักษร เป็นอักษรตัวใหญ่ของ ß ลงในระบบเขียน

หากไม่สะดวกที่จะพิมพ์สระอุมเลาท์ (ä ö ü) ทั่วไปสามารถใช้ ae oe ue แทน และใช้ ss แทน ß ในทำนองเดียวกัน แต่หากสามารถพิมพ์ได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิธีการนี้ถือเป็นเพียงวิธีการเฉพาะหน้า มิใช่การเขียนที่ถูกต้องตามระเบียบ

ในการจัดลำดับคำในพจนานุกรม ไม่มีระเบียบที่เป็นสากลว่าควรจัดตัวอักษรที่มีอุมเลาท์อย่างไร ในสมุดโทรศัพท์มักมองอักษรอุมเลาท์ว่าเป็นสระฐานกับตัว e เช่น Ärzte อยู่หลัง Adressenverlage แต่มาก่อน Anlagenbauer เพราะมอง Ärzte เป็น Aerzte ส่วนในพจนานุกรมมักจัดคำที่มีอุมเลาท์ไว้หลังคำที่เหมือนกันที่ไม่มีอุมเลาท์ เช่น Ärzte มาหลัง Arzt แต่ก่อน Ass และก็มีพจนานุกรมบางฉบับจะเอาคำที่มีอุมเลาท์ทุกคำไปต่อท้ายสุด คือทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย Ä จะอยู่เป็นหมวดแยกหลังทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย A นอกจากนี้พจนานุกรมเก่าแก่บางฉบับจะแยกเอา Sch และ St ไปเป็นหมวดแยกหลังหมวด S แต่โดยทั่วไปจะถือว่าเป็น S+C+H และ S+T

การใช้เครื่องหมายคำพูดในภาษาเยอรมัน นิยมใช้เครื่องหมายกลับด้านออก เช่น „Guten Morgen!“

สัทวิทยา

เสียงสระ

เสียงสระภาษาเยอรมัน (นอกเหนือสระประสม) สามารถมีเสียงสั้นหรือยาวได้ ดังนี้

รูปสระ A Ä E I O Ö U Ü
เสียงสั้น /a/ /ɛ/ /ɛ/, /ə/ /ɪ/ /ɔ/ /œ/ /ʊ/ /ʏ/
เสียงยาว /aː/ /ɛː/, /eː/ /eː/ /iː/ /oː/ /øː/ /uː/ /yː/

เสียง /ɛ/ ออกเสียงเป็น [ɛ] ในพยางค์ที่ลงน้ำหนัก แต่เป็น [ə] เมื่อไม่ลงน้ำหนัก เสียง /ɛ/ ที่สั้นและลงน้ำหนัก ตรงกับรูปเขียนทั้ง e กับ ä เช่น hätte ("จะมี") กับ Kette ("โซ่") คล้องจองกัน โดยทั่วไปแล้วสระเสียงสั้นจะเป็นสระเปิด และเสียงยาวเป็นสระปิด เว้นแต่เสียง /ɛː/ อันเป็นสระเปิดเสียงยาว ตรงกับรูปสระ ä แต่ในภาษาเยอรมันมาตรฐานบางสำเนียง เสียง /ɛ/ กับ /eː/ ได้หลอมรวมกันเป็นเสียง [eː] เสียงเดียว ข้อยกเว้นนี้จึงไม่มี ในกรณีของสำเนียงเหล่านี้ จะมีคู่ของคำพ้องเสียงเช่น Bären/Beeren ("หมี/เบอร์รี่") หรือ Ähre/Ehre ("รวงข้าว/เกียรติยศ")

ในภาษาเยอรมันมาตรฐานหลายสำเนียง เสียง /ɛr/ ที่ไม่ลงน้ำหนัก จะไม่เป็นเสียง [ər] แต่เป็นสระ [ɐ]

การสังเกตว่ารูปสระแต่ละตัว ออกเสียงสั้นหรือเสียงยาว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ก็มีหลักการเหล่านี้:

  • หากสระ (ยกเว้น i) อยู่ท้ายสุดพยางค์ หรือตามหลังด้วยพยัญชนะตัวเดียว มักออกเสียงยาว (เช่น Hof [hoːf])
  • หากสระตามด้วยตัว h และ สระ i ที่ตามด้วย e จะออกเสียงยาว
  • หากสระตามด้วยพยัญชนะคู่ (เช่น ff ss หรือ tt) ทวิอักษร ck tz หรือพยัญชนะผสม (เช่น st หรือ nd) มักออกเสียงสั้นแทบจะเสมอ (เช่น hoffen [ˈhɔfən]) ซึ่งพยัญชนะคู่ในภาษาเยอรมันใช้เพื่อแสดงความยาวสระในลักษณะนี้เท่านั้น ตัวพยัญชนะเสียงไม่เปลี่ยนไป

หลักเหล่านี้ล้วนมีข้อยกเว้น เช่น hat [hat] ("มี") เสียงสั้น ขัดกับหลักข้อแรก และ Mond [moːnt] ("ดวงจันทร์") เสียงยาว ขัดกับข้อสาม ในบางกรณีอาจมีความแตกต่างในการออกเสียงระหว่างพื้นที่ เช่น ในเยอรมนีกลาง (เฮ็สเซิน) ตัว o ในชื่อ Hoffmann ออกเสียงยาว แต่คนเยอรมันรัฐอื่น ๆ จะออกเสียงสั้น คำว่า Städte ("เมือง") บางคนออกเสียงสั้นเป็น [ˈʃtɛtə] (เช่น ARD Television) บางคนออกเสียงยาวเป็น [ˈʃtɛːtə] (เช่น ZDF Television) ลำดับสุดท้าย คำที่สระอยู่หน้าทวิอักษร ch ไม่มีหลักการบอกว่าจะออกเสียงสั้น เช่น Fach [fax] ("ลิ้นชัก") กับ Küche [ˈkʏçə] ("ครัว") หรือยาว เช่น Suche [ˈzuːxə] ("ค้นหา") กับ Bücher [ˈbyːçɐ] ("หนังสือ") โดยลักษณะนี้ คำว่า Lache เป็นคำพ้องรูปที่อาจออกเสียงสั้น [laxə] ("ลักษณะการหัวเราะ") หรือยาว [laːxə] ("บ่อน้ำ") และยังตรงกับคำสั่งว่า lache! ("หัวเราะ!")

สระภาษาเยอรมันสามารถเกิดเป็นทวิอักษร(ในการเขียน) และสระประสม(ในการออกเสียง) ดังตาราง ซึ่งการออกเสียงอาจไม่ตรงกับที่มองเห็นในรูปเสมอไป

รูป ai, ei, ay, ey au äu, eu
เสียง /aɪ̯/ /aʊ̯/ /ɔʏ̯/

นอกจากนี้ยังมีทวิอักษร ie ซึ่งตรงกับเสียงสระ /iː/ ไม่ได้เป็นสระประสม ในภาษาเยอรมันหลายสำเนียงเสียง /r/ ที่ท้ายพยางค์จะออกเสียงเป็นสระ แต่เสียงสระที่ตามด้วยเสียงสระของตัว /r/ นี้ไม่เป็นสระประสมในทางสัทศาสตร์ (เช่น ในคำว่า Bär [bɛːɐ̯] "หมี", er [eːɐ̯] "เขา", wir [viːɐ̯] "เรา", Tor [toːɐ̯] "ประตู", kurz [kʊɐ̯ts] "สั้น", Wörter [vœɐ̯tɐ] "คำ")

ในสำเนียงส่วนใหญ่ พยางค์ที่ขึ่นต้นด้วยสระ จะมีเสียงกักเส้นเสียง [ʔ] (เสียงตัว อ) กั้น

เสียงพยัญชนะ

ภาษาเยอรมันมีหน่วยเสียงพยัญชนะประมาณ 25 เสียง ซึ่งถือว่าปานกลางเมื่อเทียบกับภาษาอื่น เสียงที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์คือ เสียงกักเสียดแทรก /p͡f/ เสียงพยัญชนะในภาษามาตรฐานเป็นดังตาราง

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
นาสิก m n ŋ
กัก p3  b t3  d k3  ɡ
กักเสียดแทรก pf ts   ()4
เสียดแทรก f  v s  z ʃ  (ʒ)4 x1 (ʁ)2 h
รัว r2 (ʀ)2
ข้างลิ้น l j
  • 1/x/ มีเสียงย่อยสองแบบคือ [x] และ [ç] เมื่ออยู่หลังสระหลังและสระหน้า ตามลำดับ
  • 2/r/ มีเสียงย่อยได้สามแบบอย่างอิสระ: [r] [ʁ] และ [ʀ] และท้ายพยางค์พบ [ɐ] ในหลายสำเนียง
  • 3 เสียงกัก ไม่ก้อง /p/ /t/ /k/ เป็นเสียงพ่นลม เว้นแต่เมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะเสียดแทรกเหมือนอังกฤษ
  • 4/d͡ʒ/ และ /ʒ/ พบในคำที่มาจากภาษาอื่น (มักเป็นอังกฤษและฝรั่งเศส)
  • เมื่อพยางค์ที่ลงน้ำหนักขึ้นต้นด้วยสระ จะมีเสียง [ʔ] เนื่องจากเสียงนี้เห็นได้จากบริบท จึงไม่ถือเป็นหน่วยเสียง

การสะกดพยัญชนะ

  • c อยู่โดด ๆ ไม่เป็นอักษรเยอรมันแท้จริง ในคำยืมมักออกเสียง [t͡s] (หน้า ä, äu, e, i, ö, ü, y) หรือ [k] (หน้า a, o, u, และพยัญชนะ) ชุดอักษร ck ใช้แสดงว่าสระตัวหน้าออกเสียงสั้นเหมือนภาษาอังกฤษ
  • ch พบบ่อย ออกเสียง [ç] (หลัง ä, ai, äu, e, ei, eu, i, ö, ü หรือพยัญชนะ ในปัจจัย -chen และเมื่อเริ่มต้นคำ) [x] (หลัง a, au, o, u) หรือ [k] (เมื่อเริ่มต้นคำ ประกอบกับตามด้วย a, o, u หรือพยัญชนะ) Ch ไม่พบในตำแหน่งเริ่มต้นของคำเยอรมันแท้ สำหรับคำยืมที่ Ch อยู่ก่อนสระหน้า (เช่น Chemie "เคมี") จะออกเสียง [ç] เป็นมาตรฐาน แต่ชาวเยอรมันทางตอนใต้และฟรังเคิน จะแทนที่เสียงนี้ด้วย [k] สำหรับสระอื่น ๆ และพยัญชนะ ทุกสำเนียงจะใช้ [k] เช่นใน Charakter ("นิสัยใจคอ") และ Christentum ("คริสต์ศาสนา")
  • dsch ออกเสียง [d͡ʒ] (เช่น Dschungel /ˈd͡ʒʊŋəl/ "ป่าดิบชื้น") แต่พบเฉพาะในคำทับศัพท์ไม่กี่คำ
  • f ออกเสียง [f]
  • h ออกเสียง [h] เมื่อเริ่มต้นพยางค์ เมื่อไปอยู่หลังสระจะไม่ออกเสียง แต่จะทำให้สระออกเสียงยาว (เช่น Reh [ʁeː] เป็นกวางประเภทหนึ่ง)
  • j ออกเสียง [j] ในคำเยอรมันแท้ (Jahr [jaːɐ̯] "ปี") ในคำทับศัพท์มักออกเสียงตามภาษาต้นทาง
  • l ออกเสียง [l] เสมอ ไม่ใช่เสียง *[ɫ] (ต่างจากอังกฤษ ซึ่ง l ออกเสียง [ɫ] ท้ายคำ เช่น ball)
  • q มีเฉพาะอยู่หน้า u ออกเสียง [kv] ซึ่งพบทำคำเยอรมันแท้และคำละติน (quer [kveːɐ̯] "ตามขวาง"; Qualität [kvaliˈtɛːt] "คุณภาพ") โดยคำส่วนใหญ่เป็นคำละติน ทำให้ตัว q หาได้ยากยิ่งกว่าในภาษาอังกฤษเสียอีก
  • r โดยปกติจะออกเสียงจากลิ้นไก่ (เสียงเสียดแทรก ลิ้นไก่ ก้อง [ʁ] หรือเสียงรัวลิ้นไก่ [ʀ]) เมื่ออยู่หน้าสระหรือพยัญชนะ (Rasen [ˈʁaːzən] "สนาม"; Burg [bʊʁk] "ปราสาท") แต่ในภาษาพูด เมื่อตามหลังเสียงสระ มักจะถูกออกเสียงเป็นสระไปด้วย (er ออกเสียงเป็น [ˈɛɐ̯] – Burg [bʊɐ̯k]) ในบางสำเนียง r ออกเสียงที่ปลายลิ้น (เป็นเสียงรัวลิ้น [r] ตรงกับตัว ร กระดกลิ้น ในภาษาไทย)
  • s ออกเสียง [z] เมื่ออยู่หน้าพยางค์ (เช่น Sohn [zoːn] "ลูกชาย") นอกเหนือจากนั้นเป็น [s] (เช่น Bus [bʊs] "รถบัส") ในออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนีใต้จะออกเสียง [s] เมื่อเริ่มพยางค์ด้วย หากมีสองตัวเป็น ss [s] จะบ่งชี้ว่าสระที่อยู่หน้าออกเสียงสั้น อักษร st และ sp ที่อยู่หน้าคำเยอรมันแท้จะออกเสียง [ʃt] และ [ʃp] ตามลำดับ
  • ß (ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาเยอรมัน) มีต้นกำเนิดจากรูปอักษร ss และ sz ซึ่งออกเสียง [s] เสมอ โดยแต่เดิมใช้แทน ss ที่ท้ายพยางค์ (เช่น ich mussich muß; ich müssteich müßte) การใช้ ß ได้ลดบทบาทลงในการปฏิรูประบบเขียนครั้งล่าสุด โดยการใช้ ss หลังสระเสียงสั้นเสมอ (เช่น ich muß and ich müßte ซึ่งใช้ U/Ü เสียงสั้นมาโดยตลอด) และใช้ ß ตรงข้ามกับ ss กล่าวคือ บ่งชี้ว่าสระที่อยู่หน้าออกเสียงยาว (เช่น in Maßen [ɪn ˈmaːsən] "โดยไม่มากไป" กับ in Massen [ɪn ˈmasən] "อย่างมากมาย"); สำหรับสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ เลิกใช้อักขระนี้ไปแล้วเมื่อ ค.ศ.1934.
  • sch ออกเสียง [ʃ]
  • tion ในคำทับศัพท์ละติน ออกเสียงเป็น [tsi̯oːn]
  • th พบได้ยาก และเฉพาะในคำทับศัพท์ ออกเสียง [t] ถ้าทับศัพท์มาจากภาษากรีก ส่วนถ้ามาจากอังกฤษจะออกเสียงเหมือนคำต้นทาง (ผู้พูดบางคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักออกเสียง [s] แทน เสียง th อังกฤษ)
  • v ออกเสียง [f] ในคำจำนวนไม่มาก ที่เป็นเยอรมันแท้ เช่น Vater [ˈfaːtɐ] ("พ่อ") Vogel ("นก") von ("จาก, ของ") vor ("ก่อน, หน้า") voll ("เต็ม") และคำอุปสรรค ver- นอกจากนี้ยังพบในคำทับศัพท์ ซึ่งมักออกเสียง [v] เช่น Vase ("แจกัน"), Vikar ("พระในศาสนาคริสต์") Viktor (ชื่อคน ใช้ออกเสียงอักษร V) Viper ("งู") Ventil ("วาล์ว") vulgär ("หยาบคาย") และคำทับศัพท์อังกฤษ อย่างไรก็ตาม การออกเสียง [f] พบได้ในทางใต้ คำที่ไม่เป็นคำเยอรมันแท้ แต่ "v" ออกเสียงเป็น [f] เสมอ มีคำเดียวคือ Eva ("เอวา")
  • w ออกเสียง [v] (เช่น was [vas] "อะไร")
  • y ออกเสียงยาวเป็น [y] หรือเสียงสั้นเป็น [ʏ] (เช่น Hygiene [hyɡi̯ˈeːnə] "อนามัย" ; Labyrinth [labyˈʁɪnt] "เขาวงกต" or Gymnasium /ɡʏmˈnaːzi̯ʊm/ "โรงเรียนมัธยม") เว้นแต่ใน ay และ ey ซึ่งออกเสียงเป็น [aɪ̯] ทั้งคู่ สำหรับคำทับศัพท์ส่วนใหญ่จะออกเสียงเหมือนภาษาต้นทาง เช่น Style หรือ Recycling
  • z ออกเสียง [t͡s] เสมอ (e.g. zog [t͡soːk]) ยกเว้นในคำทับศัพท์ ถ้าเป็น tz จะแสดงว่าสระก่อนหน้าเสียงสั้น

การเลื่อนเสียงพยัญชนะ

ภาษาเยอรมันไม่มีเสียงเสียดแทรกฟัน ซึ่งยังคงมีอยู่ในภาษาอังกฤษ (ตรงกับ th) เพราะภาษาเยอรมันได้เกิดการเลื่อนเสียง และสูญเสียเสียงเหล่านี้ไประหว่างศตวรษที่ 8 และ 10 เห็นได้จากการเปรียบเทียบคำในภาษาอังกฤษกับภาษาเยอรมัน ซึ่งตัว th ในอังกฤษในหลายคำจะตรงกับ d ในเยอรมัน เช่น อังกฤษ thank → เยอรมัน Dank; อังกฤษ this/that → เยอรมัน dies/das; อังกฤษ thou (สรรพนามบุรุษที่สองในอดีต) → เยอรมัน du; อังกฤษ think → เยอรมัน denken; อังกฤษ thirsty → เยอรมัน durstig

ในทำนองเดียวกัน gh ในอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันออกเสียงได้หลายแบบ อาจเชื่อมโยงได้กับ ch ในเยอรมัน: อังกฤษ laugh → เยอรมัน lachen; อังกฤษ through → เยอรมัน durch; อังกฤษ high → เยอรมัน hoch; อังกฤษ naught → เยอรมัน nichts; อังกฤษ light → เยอรมัน leicht หรือ Licht; อังกฤษ sight → เยอรมัน Sicht; อังกฤษ daughter → เยอรมัน Tochter; อังกฤษ neighbour → เยอรมัน Nachbar

ไวยากรณ์

ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่มีการผันคำในระดับปานกลาง

การผันคำนาม

 
การผันคำนำหน้านามชี้เฉพาะ (definite article) ซึ่งเทียบเท่ากับ "the" ในภาษาอังกฤษ

คำนามและคำนำหน้านามในภาษาเยอรมัน มีการผันตามเพศ พจน์ และการก

  • มี 4 การก ได้แก่ ประธาน (Nominativ) กรรมตรง (Akkusativ) กรรมรอง (Dativ) และเจ้าของ (Genitiv)
  • มี 3 เพศ ได้แก่ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง คำบางคำสามารถระบุเพศได้จากคำลงท้าย เช่น คำนามที่ลงท้ายด้วย -ung, -schaft, -keit หรือ -heit เป็นเพศหญิง คำนามที่ลงท้ายด้วย -chen หรือ -lein เป็นเพศกลาง และคำนามที่ลงท้ายด้วย -ismus เป็นเพศชาย คำอื่น ๆ จะบ่งบอกได้ยากกว่า บางคำมีเพศต่างกัน ขึ้นกับสำเนียงท้องถิ่น คำลงท้ายบางแบบมีได้ทั้งสามเพศ เช่น -er เช่น Feier ("งานฉลอง")เป็นหญิง Arbeiter ("ผู้ทำงาน")เป็นชาย และ Gewitter ("พายุฝนฟ้าคะนอง") เป็นกลาง
  • มี 2 พจน์ คือ เอกพจน์และพหูพจน์

ภาษาเยอรมันปัจจุบัน ถือว่ามีการผันน้อยลงมาก เมื่อเทียบกับในอดีต โดยในพหูพจน์ ทั้งสามเพศได้ลดรูปลงมาผันแบบเดียวกัน ดังนั้นจึงอาจมองว่ามี 4 พจน์ คูณกับเอกพจน์ 3 เพศและพหูพจน์ ได้เป็น 16 แบบ อย่างไรก็ตาม คำนำหน้านามชี้เฉพาะมีรูปแตกต่างกันแค่ 6 รูป และสำหรับตัวคำนามเอง สำหรับคำนามเพศชายและเพศกลางส่วนใหญ่ ในเอกพจน์จำเป็นต้องผันเมื่อเป็นเจ้าของหรือเป็นกรรมรองเท่านั้น ซึ่งการผันเหล่านี้ปัจจุบันก็พบได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ในภาษาปาก ซึ่งมักเลี่ยงไปใช้รูปประโยคแบบอื่น และการลงท้ายคำนามที่เป็นกรรมรอง ก็ถือว่าเป็นภาษาเก่า ซึ่งปัจจุบันแทบไม่มีการใช้ แม้แต่ในภาษาเขียน เว้นแต่สำนวนที่ใช้กันจนเคยชินบางสำนวน มีคำนามเพศชายและเพศกลางเพียงบางคำเท่านั้นที่จะมีการผันคำลงท้ายทั้งรูปกรรมตรง รูปกรรมรอง และรูปเจ้าของ (เรียกว่า N-declension) สำหรับคำนามเพศหญิงในเอกพจน์จะไม่มีการผันเลย คำนามพหูพจน์(ซึ่งทุกเพศเหมือนกัน)มีการผันคำลงท้ายในรูปกรรมรองรูปเดียว โดยรวมแล้ว คำลงท้ายคำนามที่เป็นไปได้ในทั้งหมดภาษาเยอรมัน (ไม่นับการสร้างพหูพจน์) มี 7 แบบ ได้แก่ -s, -es, -n, -ns, -en, -ens, -e

ในระบบเขียนเยอรมัน คำนามและคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนามทุกคำ จะขึ้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ เพื่อสะดวกต่อการดูหน้าที่คำในประโยค (Am Freitag ging ich einkaufen. – "ผมไปช็อปปิงมาเมื่อวันศุกร์"; Eines Tages kreuzte er endlich auf. – "วันหนึ่งเขาก็มาโผล่หน้าในที่สุด") ลักษณะการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่แบบนี้ เคยแพร่หลายในภาษาอื่น ๆ เช่นภาษาเดนมาร์ก (ซึ่งยกเลิกการทำเช่นนี้ใน ค.ศ. 1948) และอังกฤษ แต่ปัจจุบันแทบจะพบในภาษาเยอรมันภาษาเดียว โดยพบได้อีกแค่ในภาษาลักเซมเบิร์ก และภาษาฟรีเชียเหนือบางสำเนียง

ภาษาเยอรมันประสมคำนามโดยคำแรกขยายคำที่สอง เหมือนกับในภาษาตระกูลเจอร์แมนิกอื่น ๆ อย่างภาษาอังกฤษ (Hundehütte "บ้านสุนัข" มาจาก Hund "สุนัข" ประสมกับ Hütte "บ้าน") แต่ภาษาเยอรมันต่างจากอังกฤษ เพราะไม่มีการเว้นวรรคคั่นระหว่างองค์ประกอบที่มีประสมกัน ทำให้คำเยอรมันมีคำยาวเท่าใดก็ได้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น คำเยอรมันที่ยาวที่สุดที่มีการใช้งานในราชการจริง คือคำว่า Rindfleischetikettierungsüberwachungsaufgabenübertragungsgesetz แปลว่า "กฎหมายว่าด้วยการมอบหมายหน้าที่ในการควบคุมดูแลการติดฉลากเนื้อวัว" [มาจาก Rind (วัว), Fleisch (เนื้อ), Etikettierung(s) (การติดฉลาก), Überwachung(s) (การควบคุมดูแล), Aufgaben (หน้าที่), Übertragung(s) (การมอบหมาย), Gesetz (กฎหมาย)]

การผันกริยา

กริยาเยอรมันมีการผันตามปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

  • ประเภทของคำกริยา ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ เรียกว่า กริยาอ่อนและกริยาแข็ง (เหมือนกริยาปกติและไม่ปกติในอังกฤษ) ประกอบกับกริยาผสมซึ่งมีคุณสมบัติอ่อนและแข็งปนกัน
  • 3 บุรุษ คือ บุรุษที่ 1 2 และ 3
  • 2 พจน์ คือ เอกพจน์ และ พหูพจน์
  • 3 มาลา คือ มาลาบอกเล่า (Indikativ) สมมุติมาลา (Konjunktiv) และมาลาคำสั่ง (Imperativ)
  • 2 วาจก คือ กรรตุวาจก (Aktiv) และ กรรมวาจก (Passiv) กรรมวาจกใช้กริยา werden ("กลายเป็น") ในกรณีแสดงการถูกกระทำ หรือ sein ("เป็น") ในกรณีแสดงสถานะ
  • 6 กาล มี 2 กาลที่ไม่ต้องใช้กริยาช่วยคือ ปัจจุบันกาล (Präsens) และอดีตกาล (Präteritum) กับอีก 4 กาลที่ใช้กริยาช่วยคือ ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ (Perfekt) อดีตกาลสมบูรณ์ (Plusquamperfekt) อนาคตกาล (Futur I) และอนาคตกาลสมบูรณ์ (Futur II)
  • การแสดงการณ์ลักษณะ ใช้สมมุติมาลาและอดีตกาลประกอบกัน ดังนั้นการบอกเล่าจะไม่ใช้การผันทั้งสองแบบดังกล่าว การใช้สมมุติมาลาอย่างเดียวแสดงถึงข้อมูลที่ได้มาโดยอ้อม การใช้สมมุติมาลาในอดีตกาลแสดงถึงเงื่อนไข และอดีตกาลอย่างเดียวใช้แสดงอดีตตามปกติ หรือใช้แทนรูปแบบทั้งสองอย่างข้างต้น

คำอุปสรรคกริยา

คำกริยาเยอรมันมีการใช้คำอุปสรรคเพื่อเปลี่ยนเป็นกริยาตัวใหม่ เช่น blicken ["มอง"], erblicken ["เห็น"] คำอุปสรรคอาจเปลี่ยนความหมายเพียงเล็กน้อยหรือมากก็ได้ คำอุปสรรคบางคำมีความหมายเฉพาะ เช่น zer- สื่อถึงการทำลาย เช่น zerreißen ("ฉีกเป็นชิ้น"), zerbrechen ("ทำให้แตกเป็นเสี่ยง"), zerschneiden ("ตัดให้ขาดออกจากกัน") คำอุปสรรคคำอื่น ๆ แทบไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น ver- พบในกริยาจำนวนมากและมีความหมายหลายอย่าง เช่น versuchen ("พยายาม") มาจาก suchen ("ค้นหา"), vernehmen ("สอบสวน') มาจาก nehmen ("เอา/รับ"), verteilen ("แจกจ่าย") มาจาก teilen ("แบ่ง"), verstehen ("เข้าใจ") มาจาก stehen ("ยืน")

ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น verhaften ("จับกุม") มาจาก haften ("ติด"), verkaufen ("ขาย") มาจาก kaufen ("ซื้อ"), aufhören ("เลิก") มาจาก hören ("ได้ยิน"), erfahren ("ประสบ") มาจาก fahren ("ขับรถ")

กริยาบางตัวมีคำอุปสรรคที่แยกได้ ซึ่งมักมีความหมายเป็นคำขยายกริยา ในรูปกริยาแท้ คำอุปสรรคจะแยกออกมาจากกริยาและไปอยู่ท้ายประโยค เช่น mitgehen แปลว่า "ไปด้วย" แต่กลายเป็นคำถามว่า Gehen Sie mit? (แปลตรงตัว: "ไปคุณด้วยกัน?"; แปลตามความหมาย: "คุณจะไปด้วยกันไหม?")

บางครั้ง อาจมีอนุประโยคจำนวนมากแทรกอยู่ระหว่างคำอุปสรรคของกริยาแท้กับส่วนที่เหลือ เช่น สำหรับกริยา ankommen = "มาถึง" er kam an = "เขาได้มาถึง" er ist angekommen = "เขามาถึงแล้ว" อาจสร้างประโยคได้ว่า:

Er kam am Freitagabend nach einem harten Arbeitstag und dem üblichen Ärger, der ihn schon seit Jahren immer wieder an seinem Arbeitsplatz plagt, mit fraglicher Freude auf ein Mahl, das seine Frau ihm, wie er hoffte, bereits aufgetischt hatte, endlich zu Hause an.

ซึ่งแปลว่า

เขามาถึงบ้านในที่สุดตอนเย็นวันศุกร์ หลังจากผ่านพ้นวันทำงานที่หนักและสิ่งน่ารำคาญเช่นเคยที่ได้รบกวนเขาในที่ทำงานอย่างเป็นประจำมาหลายปีแล้ว พร้อมรู้สึกมีความสุขอย่างน่าสงสัยกับอาหารที่ภรรยาของเขาได้เตรียมไว้บนโต๊ะเรียบร้อยแล้วตามที่เขาหวังไว้

วากยสัมพันธ์

ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ของภาษาเยอรมัน โดยทั่วไปในประโยคหลัก คำกริยาแท้จะอยู่ตำแหน่งที่สอง (V2 word order) และมีการเรียงแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV) ในคำถาม คำอุทาน และคำสั่ง กริยาแท้จะถูกสลับขึ้นมาอยู่ตำแหน่งแรก ในอนุประโยคกริยาทุกตัวจะอยู่ท้ายสุด

ภาษาเยอรมันบังคับให้มีกริยา(ไม่ว่าจะเป็นกริยาหลักหรือกริยาช่วย)อยู่ในตำแหน่งที่สองของประโยค และให้นำหัวข้อของประโยคมานำในตำแหน่งแรก และคำที่เน้นจะเอาไว้สุดท้าย เช่น ประโยคที่ไม่มีกริยาช่วยต่อไปนี้ แปลว่า "ชายแก่ให้หนังสือกับผมเมื่อวาน" เรียงลำดับได้หลายแบบ:

Der alte Mann gab mir gestern das Buch. (ชายแก่ ให้ กับผม เมื่อวาน หนังสือ; ลำดับปกติ)
Das Buch gab mir gestern der alte Mann. (หนังสือ ให้ กับผม เมื่อวาน ชายแก่)
Das Buch gab der alte Mann mir gestern. (หนังสือ ให้ ชายแก่ กับผม เมื่อวาน)
Das Buch gab mir der alte Mann gestern. (หนังสือ ให้ กับผม ชายแก่ เมื่อวาน)
Gestern gab mir der alte Mann das Buch. (เมื่อวาน ให้ กับผม ชายแก่ หนังสือ; ลำดับปกติ)
Mir gab der alte Mann das Buch gestern. (กับผม ให้ ชายแก่ หนังสือ เมื่อวาน (การเอา"กับผม"ขึ้นก่อน และ "เมื่อวาน" ลงท้าย เป็นการเน้น เหมือนพูดว่า "กับคุณ เขาให้หนังสือวันอื่น ไม่ใช่วันนี้"))

สังเกตว่าตำแหน่งของคำนามในภาษาเยอรมัน ไม่ส่งผลถึงความเป็นประธานหรือกรรม เนื่องจากมีการผันแสดงการกอยู่แล้ว ภาษาเยอรมันจึงสามารถย้ายลำดับได้ค่อนข้างเสรี ทำให้สามารถเน้นคำที่ต้องการได้

กริยาช่วย

เมื่อมีกริยาช่วยในประโยค จะอยู่ตำแหน่งที่สอง ส่วนกริยาหลักจะเป็นรูปไม่ผัน (Infinitiv) และถูกย้ายไปท้ายประโยค เช่น ประโยคว่า Er soll nach Hause gehen. ("เขาควรกลับบ้าน" แปลตรงตัวคือ "เขา ควร บ้าน กลับ")

กริยาไม่ผันหลายตัว

ในอนุประโยค กริยาทุกตัวจะอยู่ท้ายประโยค และเนื่องจากกริยาสามารถใช้แสดงทั้งอนาคตกาล กรรมวาจก ทัศนภาวะ และกาลสมบูรณ์ จึงสามารถสร้างประโยคซ้อนที่มีกริยาหลายตัวอัดกันอยู่ข้างท้ายได้ เช่น
Man nimmt an, dass der Deserteur wohl erschossenV wordenpsv seinperf sollmod
("เป็นที่สงสัยว่า ผู้หนีทัพน่าจะถูกยิงไปแล้ว")

อ้างอิง

  1. Ha, Thu-Huong. "Germany has ended a century-long debate over a missing letter in its alphabet" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 December 2017. According to the council’s 2017 spelling manual: When writing the uppercase [of ß], write SS. It’s also possible to use the uppercase ẞ. Example: Straße — STRASSE — STRAẞE.
  2. "Mittelschulvorbereitung Deutsch". Mittelschulvorbereitung.ch. สืบค้นเมื่อ 15 March 2010.
  3. For a history of the German consonants see Fausto Cercignani. The Consonants of German: Synchrony and Diachrony. Milano: Cisalpino, 1979. ISBN 8820501856.
  4. Barbour, Stephen; Stevenson, Patrick (1990). Variation in German. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 160–163. ISBN 978-0-521-35704-3.

ดูเพิ่ม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเยอรมัน

ภาษาเยอรม, งกฤษ, german, เยอรม, deutsch, เป, นภาษากล, มเจอร, แมน, กด, านตะว, นตก, และเป, นภาษาท, คนพ, ดเป, นภาษาแม, มากท, ดในสหภาพย, โรป, วนใหญ, ดในประเทศเยอรมน, ออสเตร, กเตนสไตน, วนมากของสว, ตเซอร, แลนด, กเซมเบ, แคว, นปกครองตนเองเตรนต, โน, ลโตอาด, เจในอ, ตาล,. phasaeyxrmn xngkvs German eyxrmn Deutsch epnphasaklumecxraemnikdantawntk aelaepnphasathimikhnphudepnphasaaemmakthisudinshphaphyuorp swnihyphudinpraethseyxrmni xxsetriy liketnsitn swnmakkhxngswitesxraelnd lkesmebirk aekhwnpkkhrxngtnexngetrntion xlotxadiecinxitali aekhwnthangtawnxxkkhxngebleyiym bangswnkhxngormaeniy aekhwnxalssaelabangswnkhxngaekhwnlxaerninfrngessphasaeyxrmnDeutsch dxythchxxkesiyng dɔʏtʃ praethsthimikarphudeyxrmni xxsetriy switesxraelnd liketnsitn ebleyiym xitali lkesmebirk aelaxik 37 praethsphumiphakhyuorptawntkcanwnphuphud110 lan aelaichepnphasathisxng 120 lan imphbwnthi trakulphasaxinod yuorepiyn ecxraemnikecxraemniktawntkphasaeyxrmnsthanphaphthangkarphasathangkareyxrmni xxsetriy switesxraelnd liketnsitn ebleyiym lkesmebirk shphaphyuorpphasarachkar bangphunthi ednmark xitali opaelnd inxdit namiebiy thungpi kh s 1990 rhsphasaISO 639 1deISO 639 2ger B deu T ISO 639 3deu phasarachkaraelaphasahlk phasarachkar aetimichphasahlk Statutory minority cultural language Non statutory minority languagephasaeyxrmninthwipyuorpphuruphasaeyxrmninklumpraethsshphaphyuorp nxkcakni xananikhmedimkhxngpraethsehlani echn namiebiy miprachakrthiphudphasaeyxrmnidphxpraman aelayngmichnklumnxythiphudphasaeyxrmninhlaypraethsthangyuorptawnxxk echn rsesiy hngkari aelasolwieniy rwmthungxemrikaehnux odyechphaashrthxemrika rwmthungbangpraethsinlatinxemrika echn xarecntina aelainbrasil odyechphaainrth rioxkrndiodsul sntakatarina parana aelaexspiritusntuchawxamich rwmthungchawemnonintbangkhnkepnphasaeyxrmnxyanghnung praman 120 lankhn khux 1 4 khxngchawyuorpthnghmd phudphasaeyxrmn phasaeyxrmnepnphasatangpraethsthisxnthwolkmaepnxndb 3 aelaepnphasatangpraethsthisxnmakthisudepnxndb 2 inyuorp epnrxngphasaxngkvs shrthxemrika aelaexechiytawnxxk praethsyipun epnhnunginphasarachkarkhxngshphaphyuorp enuxha 1 rabbekhiyn 2 sthwithya 2 1 esiyngsra 2 2 esiyngphyychna 2 3 karsakdphyychna 2 4 kareluxnesiyngphyychna 3 iwyakrn 3 1 karphnkhanam 3 2 karphnkriya 3 2 1 khaxupsrrkhkriya 3 3 wakysmphnth 3 3 1 kriyachwy 3 3 2 kriyaimphnhlaytw 4 xangxing 5 duephimrabbekhiyn aekikhphasaeyxrmnichxksrlatininkarekhiynechnediywkbphasaswnihyinyuorp aelamixkkhraphiessxik 4 tw epnsrathimixumelath umlaut 3 tw idaek a o aela u kbxksrexsesth ss aetsahrbphasaeyxrmnmatrthankhxngpraethsswitesxraelndaelaliketnsitnimichtw ss ely odycaich ss aethn ssphasaeyxrmnepnphasathisamarthsngektehnidngay ephraamirabbekhiynthiepnexklksnhlayprakar echn xkkhrathimixumelathkhangtn karichxksrtwihyerimtnkhanamthukkha sungepnraebiybthiekhyaephrhlayinyuorpehnuxaetpccubnehluxxyuimkiphasa odyeyxrmnepnphasathiihythisudthiyngkhngthaechnni aelakarekhiynkhaprasmtidknodyimewnwrrkh tangcakphasaxngkvsthiewlanakhanammaprasmkncaewnwrrkhkhn thaihphasaeyxrmnsamarthmikhaprasmthiyawmak twxyangechn khaeyxrmnthiyawthisudthiekhymikartiphimph khux Donaudampfschiffahrtselektrizitatenhauptbetriebswerkbauunterbeamtengesellschaft mi 79 twxksr xyangirktam ephuxkhwamsadwkinkarxan khathiprasmcakkhanammakkwa 3 4 khathuxwaphbidyak nxkehnuxcakbribthxarmnkhnkxnkarptiruprabbekhiynphasaeyxrmn kh s 1996 xksr ss ichaethn ss hlngsraesiyngyawhruxsraprasm kxnphyychna aelathaykhahruxhnwykha hlngkarptirupipaelw caich ss aethn ss echphaahlngsraesiyngyawhruxsraprasmethannenuxngcaktw ss imsamartherimtnkhaid inxditcungimekhymikarkhidtwxksr ss twihykhunich emuxcaepntxngich ss twihy echnemuxichtwihythngkha kcaich SS aethn echnkhawa Massband tlbemtr ekhiyntwihyepn MASSBAND ykewninchuxthiepnxksrtwihyinexksarrachkar xnuolmihkhng ss twelkexaiwephuxpxngknkhwamsbsn echn KREssLEIN imich KRESSLEIN cnkrathnginpi kh s 2017 idmikarbrrcuxksr ẞ epnxksrtwihykhxng ss lnginrabbekhiyn 1 hakimsadwkthicaphimphsraxumelath a o u thwipsamarthich ae oe ue aethn aelaich ss aethn ss inthanxngediywkn aethaksamarthphimphidkkhwrhlikeliyng enuxngcakwithikarnithuxepnephiyngwithikarechphaahna miichkarekhiynthithuktxngtamraebiybinkarcdladbkhainphcnanukrm immiraebiybthiepnsaklwakhwrcdtwxksrthimixumelathxyangir insmudothrsphthmkmxngxksrxumelathwaepnsrathankbtw e echn Arzte xyuhlng Adressenverlage aetmakxn Anlagenbauer ephraamxng Arzte epn Aerzte swninphcnanukrmmkcdkhathimixumelathiwhlngkhathiehmuxnknthiimmixumelath echn Arzte mahlng Arzt aetkxn Ass aelakmiphcnanukrmbangchbbcaexakhathimixumelaththukkhaiptxthaysud khuxthukkhathikhuntndwy A caxyuepnhmwdaeykhlngthukkhathikhuntndwy A nxkcakniphcnanukrmekaaekbangchbbcaaeykexa Sch aela St ipepnhmwdaeykhlnghmwd S aetodythwipcathuxwaepn S C H aela S Tkarichekhruxnghmaykhaphudinphasaeyxrmn niymichekhruxnghmayklbdanxxk echn Guten Morgen sthwithya aekikhesiyngsra aekikh esiyngsraphasaeyxrmn nxkehnuxsraprasm samarthmiesiyngsnhruxyawid dngni rupsra A A E I O O U Uesiyngsn a ɛ ɛ e ɪ ɔ œ ʊ ʏ esiyngyaw aː ɛː eː eː iː oː oː uː yː esiyng ɛ xxkesiyngepn ɛ inphyangkhthilngnahnk aetepn e emuximlngnahnk esiyng ɛ thisnaelalngnahnk trngkbrupekhiynthng e kb a echn hatte cami kb Kette os khlxngcxngkn odythwipaelwsraesiyngsncaepnsraepid aelaesiyngyawepnsrapid ewnaetesiyng ɛː xnepnsraepidesiyngyaw trngkbrupsra a aetinphasaeyxrmnmatrthanbangsaeniyng esiyng ɛ kb eː idhlxmrwmknepnesiyng eː esiyngediyw khxykewnnicungimmi inkrnikhxngsaeniyngehlani camikhukhxngkhaphxngesiyngechn Baren Beeren hmi ebxrri hrux Ahre Ehre rwngkhaw ekiyrtiys inphasaeyxrmnmatrthanhlaysaeniyng esiyng ɛr thiimlngnahnk caimepnesiyng er aetepnsra ɐ karsngektwarupsraaetlatw xxkesiyngsnhruxesiyngyaw immikdeknthtaytw aetkmihlkkarehlani haksra ykewn i xyuthaysudphyangkh hruxtamhlngdwyphyychnatwediyw mkxxkesiyngyaw echn Hof hoːf haksratamdwytw h aela sra i thitamdwy e caxxkesiyngyaw haksratamdwyphyychnakhu echn ff ss hrux tt thwixksr ck tz hruxphyychnaphsm echn st hrux nd mkxxkesiyngsnaethbcaesmx echn hoffen ˈhɔfen sungphyychnakhuinphasaeyxrmnichephuxaesdngkhwamyawsrainlksnaniethann twphyychnaesiyngimepliyniphlkehlanilwnmikhxykewn echn hat hat mi esiyngsn khdkbhlkkhxaerk aela Mond moːnt dwngcnthr esiyngyaw khdkbkhxsam inbangkrnixacmikhwamaetktanginkarxxkesiyngrahwangphunthi echn ineyxrmniklang ehsesin tw o inchux Hoffmann xxkesiyngyaw aetkhneyxrmnrthxun caxxkesiyngsn khawa Stadte emuxng bangkhnxxkesiyngsnepn ˈʃtɛte echn ARD Television bangkhnxxkesiyngyawepn ˈʃtɛːte echn ZDF Television ladbsudthay khathisraxyuhnathwixksr ch immihlkkarbxkwacaxxkesiyngsn echn Fach fax linchk kb Kuche ˈkʏce khrw hruxyaw echn Suche ˈzuːxe khnha kb Bucher ˈbyːcɐ hnngsux odylksnani khawa Lache epnkhaphxngrupthixacxxkesiyngsn laxe lksnakarhweraa hruxyaw laːxe bxna aelayngtrngkbkhasngwa lache hweraa sraphasaeyxrmnsamarthekidepnthwixksr inkarekhiyn aelasraprasm inkarxxkesiyng dngtarang sungkarxxkesiyngxacimtrngkbthimxngehninrupesmxip rup ai ei ay ey au au euesiyng aɪ aʊ ɔʏ nxkcakniyngmithwixksr ie sungtrngkbesiyngsra iː imidepnsraprasm inphasaeyxrmnhlaysaeniyngesiyng r thithayphyangkhcaxxkesiyngepnsra aetesiyngsrathitamdwyesiyngsrakhxngtw r niimepnsraprasminthangsthsastr echn inkhawa Bar bɛːɐ hmi er eːɐ ekha wir viːɐ era Tor toːɐ pratu kurz kʊɐ ts sn Worter vœɐ tɐ kha insaeniyngswnihy phyangkhthikhuntndwysra camiesiyngkkesnesiyng ʔ esiyngtw x kn esiyngphyychna aekikh phasaeyxrmnmihnwyesiyngphyychnapraman 25 esiyng sungthuxwapanklangemuxethiybkbphasaxun esiyngthikhxnkhangepnexklksnkhux esiyngkkesiydaethrk p f esiyngphyychnainphasamatrthanepndngtarang rimfipak pumehnguxk ephdanaekhng ephdanxxn linik esnesiyngnasik m n ŋkk p 3 b t 3 d k 3 ɡkkesiydaethrk pf ts tʃ dʒ 4esiydaethrk f v s z ʃ ʒ 4 x 1 ʁ 2 hrw r 2 ʀ 2khanglin l j1 x miesiyngyxysxngaebbkhux x aela c emuxxyuhlngsrahlngaelasrahna tamladb 2 r miesiyngyxyidsamaebbxyangxisra r ʁ aela ʀ aelathayphyangkhphb ɐ inhlaysaeniyng 3 esiyngkk imkxng p t k epnesiyngphnlm ewnaetemuxtamhlngesiyngphyychnaesiydaethrkehmuxnxngkvs 4 d ʒ aela ʒ phbinkhathimacakphasaxun mkepnxngkvsaelafrngess emuxphyangkhthilngnahnkkhuntndwysra camiesiyng ʔ enuxngcakesiyngniehnidcakbribth cungimthuxepnhnwyesiyngkarsakdphyychna aekikh c xyuodd imepnxksreyxrmnaethcring inkhayummkxxkesiyng t s hna a au e i o u y hrux k hna a o u aelaphyychna chudxksr ck ichaesdngwasratwhnaxxkesiyngsnehmuxnphasaxngkvs ch phbbxy xxkesiyng c hlng a ai au e ei eu i o u hruxphyychna inpccy chen aelaemuxerimtnkha x hlng a au o u hrux k emuxerimtnkha prakxbkbtamdwy a o u hruxphyychna Ch imphbintaaehnngerimtnkhxngkhaeyxrmnaeth sahrbkhayumthi Ch xyukxnsrahna echn Chemie ekhmi caxxkesiyng c epnmatrthan aetchaweyxrmnthangtxnitaelafrngekhin caaethnthiesiyngnidwy k sahrbsraxun aelaphyychna thuksaeniyngcaich k echnin Charakter nisyickhx aela Christentum khristsasna dsch xxkesiyng d ʒ echn Dschungel ˈd ʒʊŋel padibchun aetphbechphaainkhathbsphthimkikha f xxkesiyng f h xxkesiyng h emuxerimtnphyangkh emuxipxyuhlngsracaimxxkesiyng aetcathaihsraxxkesiyngyaw echn Reh ʁeː epnkwangpraephthhnung j xxkesiyng j inkhaeyxrmnaeth Jahr jaːɐ pi inkhathbsphthmkxxkesiyngtamphasatnthang l xxkesiyng l esmx imichesiyng ɫ tangcakxngkvs sung l xxkesiyng ɫ thaykha echn ball q miechphaaxyuhna u xxkesiyng kv sungphbthakhaeyxrmnaethaelakhalatin quer kveːɐ tamkhwang Qualitat kvaliˈtɛːt khunphaph odykhaswnihyepnkhalatin thaihtw q haidyakyingkwainphasaxngkvsesiyxik r odypkticaxxkesiyngcaklinik esiyngesiydaethrk linik kxng ʁ hruxesiyngrwlinik ʀ emuxxyuhnasrahruxphyychna Rasen ˈʁaːzen snam Burg bʊʁk prasath aetinphasaphud emuxtamhlngesiyngsra mkcathukxxkesiyngepnsraipdwy er xxkesiyngepn ˈɛɐ Burg bʊɐ k inbangsaeniyng r xxkesiyngthiplaylin epnesiyngrwlin r trngkbtw r kradklin inphasaithy s xxkesiyng z emuxxyuhnaphyangkh echn Sohn zoːn lukchay nxkehnuxcaknnepn s echn Bus bʊs rthbs inxxsetriy switesxraelnd aelaeyxrmniitcaxxkesiyng s emuxerimphyangkhdwy hakmisxngtwepn ss s cabngchiwasrathixyuhnaxxkesiyngsn xksr st aela sp thixyuhnakhaeyxrmnaethcaxxkesiyng ʃt aela ʃp tamladb ss sungepnexklksnkhxngphasaeyxrmn mitnkaenidcakrupxksr ss aela sz sungxxkesiyng s esmx odyaetedimichaethn ss thithayphyangkh echn ich muss ich muss ich musste ich musste karich ss idldbthbathlnginkarptiruprabbekhiynkhrnglasud odykarich ss hlngsraesiyngsnesmx echn ich muss and ich musste sungich U U esiyngsnmaodytlxd aelaich ss trngkhamkb ss klawkhux bngchiwasrathixyuhnaxxkesiyngyaw echn in Massen ɪn ˈmaːsen odyimmakip kb in Massen ɪn ˈmasen xyangmakmay sahrbswitesxraelndaelaliketnsitn elikichxkkhraniipaelwemux kh s 1934 2 sch xxkesiyng ʃ tion inkhathbsphthlatin xxkesiyngepn tsi oːn th phbidyak aelaechphaainkhathbsphth xxkesiyng t thathbsphthmacakphasakrik swnthamacakxngkvscaxxkesiyngehmuxnkhatnthang phuphudbangkhn odyechphaaphusungxayu mkxxkesiyng s aethn esiyng th xngkvs v xxkesiyng f inkhacanwnimmak thiepneyxrmnaeth echn Vater ˈfaːtɐ phx Vogel nk von cak khxng vor kxn hna voll etm aelakhaxupsrrkh ver nxkcakniyngphbinkhathbsphth sungmkxxkesiyng v echn Vase aeckn Vikar phrainsasnakhrist Viktor chuxkhn ichxxkesiyngxksr V Viper ngu Ventil walw vulgar hyabkhay aelakhathbsphthxngkvs xyangirktam karxxkesiyng f phbidinthangit khathiimepnkhaeyxrmnaeth aet v xxkesiyngepn f esmx mikhaediywkhux Eva exwa w xxkesiyng v echn was vas xair y xxkesiyngyawepn y hruxesiyngsnepn ʏ echn Hygiene hyɡi ˈeːne xnamy Labyrinth labyˈʁɪnt ekhawngkt or Gymnasium ɡʏmˈnaːzi ʊm orngeriynmthym ewnaetin ay aela ey sungxxkesiyngepn aɪ thngkhu sahrbkhathbsphthswnihycaxxkesiyngehmuxnphasatnthang echn Style hrux Recycling z xxkesiyng t s esmx e g zog t soːk ykewninkhathbsphth thaepn tz caaesdngwasrakxnhnaesiyngsnkareluxnesiyngphyychna aekikh phasaeyxrmnimmiesiyngesiydaethrkfn sungyngkhngmixyuinphasaxngkvs trngkb th ephraaphasaeyxrmnidekidkareluxnesiyng aelasuyesiyesiyngehlaniiprahwangstwrsthi 8 aela 10 3 ehnidcakkarepriybethiybkhainphasaxngkvskbphasaeyxrmn sungtw th inxngkvsinhlaykhacatrngkb d ineyxrmn echn xngkvs thank eyxrmn Dank xngkvs this that eyxrmn dies das xngkvs thou srrphnamburusthisxnginxdit eyxrmn du xngkvs think eyxrmn denken xngkvs thirsty eyxrmn durstiginthanxngediywkn gh inxngkvs sungpccubnxxkesiyngidhlayaebb xacechuxmoyngidkb ch ineyxrmn xngkvs laugh eyxrmn lachen xngkvs through eyxrmn durch xngkvs high eyxrmn hoch xngkvs naught eyxrmn nichts xngkvs light eyxrmn leicht hrux Licht xngkvs sight eyxrmn Sicht xngkvs daughter eyxrmn Tochter xngkvs neighbour eyxrmn Nachbariwyakrn aekikhphasaeyxrmnepnphasathimikarphnkhainradbpanklang karphnkhanam aekikh karphnkhanahnanamchiechphaa definite article sungethiybethakb the inphasaxngkvs khanamaelakhanahnanaminphasaeyxrmn mikarphntamephs phcn aelakark mi 4 kark idaek prathan Nominativ krrmtrng Akkusativ krrmrxng Dativ aelaecakhxng Genitiv mi 3 ephs idaek ephschay ephshying aelaephsklang khabangkhasamarthrabuephsidcakkhalngthay echn khanamthilngthaydwy ung schaft keit hrux heit epnephshying khanamthilngthaydwy chen hrux lein epnephsklang aelakhanamthilngthaydwy ismus epnephschay khaxun cabngbxkidyakkwa bangkhamiephstangkn khunkbsaeniyngthxngthin khalngthaybangaebbmiidthngsamephs echn er echn Feier nganchlxng epnhying Arbeiter phuthangan epnchay aela Gewitter phayufnfakhanxng epnklang mi 2 phcn khux exkphcnaelaphhuphcnphasaeyxrmnpccubn thuxwamikarphnnxylngmak emuxethiybkbinxdit odyinphhuphcn thngsamephsidldruplngmaphnaebbediywkn dngnncungxacmxngwami 4 phcn khunkbexkphcn 3 ephsaelaphhuphcn idepn 16 aebb xyangirktam khanahnanamchiechphaamirupaetktangknaekh 6 rup aelasahrbtwkhanamexng sahrbkhanamephschayaelaephsklangswnihy inexkphcncaepntxngphnemuxepnecakhxnghruxepnkrrmrxngethann sungkarphnehlanipccubnkphbidyakkhuneruxy inphasapak sungmkeliyngipichruppraoykhaebbxun 4 aelakarlngthaykhanamthiepnkrrmrxng kthuxwaepnphasaeka sungpccubnaethbimmikarich aemaetinphasaekhiyn ewnaetsanwnthiichkncnekhychinbangsanwn mikhanamephschayaelaephsklangephiyngbangkhaethannthicamikarphnkhalngthaythngrupkrrmtrng rupkrrmrxng aelarupecakhxng eriykwa N declension sahrbkhanamephshyinginexkphcncaimmikarphnely khanamphhuphcn sungthukephsehmuxnkn mikarphnkhalngthayinrupkrrmrxngrupediyw odyrwmaelw khalngthaykhanamthiepnipidinthnghmdphasaeyxrmn imnbkarsrangphhuphcn mi 7 aebb idaek s es n ns en ens einrabbekhiyneyxrmn khanamaelakhathithahnathiepnkhanamthukkha cakhundwyxksrtwihyesmx ephuxsadwktxkarduhnathikhainpraoykh Am Freitag ging ich einkaufen phmipchxppingmaemuxwnsukr Eines Tages kreuzte er endlich auf wnhnungekhakmaophlhnainthisud lksnakarichtwxksrtwihyaebbni ekhyaephrhlayinphasaxun echnphasaednmark sungykelikkarthaechnniin kh s 1948 aelaxngkvs aetpccubnaethbcaphbinphasaeyxrmnphasaediyw odyphbidxikaekhinphasalkesmebirk aelaphasafriechiyehnuxbangsaeniyngphasaeyxrmnprasmkhanamodykhaaerkkhyaykhathisxng ehmuxnkbinphasatrakulecxraemnikxun xyangphasaxngkvs Hundehutte bansunkh macak Hund sunkh prasmkb Hutte ban aetphasaeyxrmntangcakxngkvs ephraaimmikarewnwrrkhkhnrahwangxngkhprakxbthimiprasmkn thaihkhaeyxrmnmikhayawethaidkidinthangthvsdi twxyangechn khaeyxrmnthiyawthisudthimikarichnganinrachkarcring khuxkhawa Rindfleischetikettierungsuberwachungsaufgabenubertragungsgesetz aeplwa kdhmaywadwykarmxbhmayhnathiinkarkhwbkhumduaelkartidchlakenuxww macak Rind ww Fleisch enux Etikettierung s kartidchlak Uberwachung s karkhwbkhumduael Aufgaben hnathi Ubertragung s karmxbhmay Gesetz kdhmay karphnkriya aekikh kriyaeyxrmnmikarphntampccytang idaek praephthkhxngkhakriya sungaebngepn 2 aebb eriykwa kriyaxxnaelakriyaaekhng ehmuxnkriyapktiaelaimpktiinxngkvs prakxbkbkriyaphsmsungmikhunsmbtixxnaelaaekhngpnkn 3 burus khux burusthi 1 2 aela 3 2 phcn khux exkphcn aela phhuphcn 3 mala khux malabxkela Indikativ smmutimala Konjunktiv aelamalakhasng Imperativ 2 wack khux krrtuwack Aktiv aela krrmwack Passiv krrmwackichkriya werden klayepn inkrniaesdngkarthukkratha hrux sein epn inkrniaesdngsthana 6 kal mi 2 kalthiimtxngichkriyachwykhux pccubnkal Prasens aelaxditkal Prateritum kbxik 4 kalthiichkriyachwykhux pccubnkalsmburn Perfekt xditkalsmburn Plusquamperfekt xnakhtkal Futur I aelaxnakhtkalsmburn Futur II karaesdngkarnlksna ichsmmutimalaaelaxditkalprakxbkn dngnnkarbxkelacaimichkarphnthngsxngaebbdngklaw karichsmmutimalaxyangediywaesdngthungkhxmulthiidmaodyxxm karichsmmutimalainxditkalaesdngthungenguxnikh aelaxditkalxyangediywichaesdngxdittampkti hruxichaethnrupaebbthngsxngxyangkhangtnkhaxupsrrkhkriya aekikh khakriyaeyxrmnmikarichkhaxupsrrkhephuxepliynepnkriyatwihm echn blicken mxng erblicken ehn khaxupsrrkhxacepliynkhwamhmayephiyngelknxyhruxmakkid khaxupsrrkhbangkhamikhwamhmayechphaa echn zer suxthungkarthalay echn zerreissen chikepnchin zerbrechen thaihaetkepnesiyng zerschneiden tdihkhadxxkcakkn khaxupsrrkhkhaxun aethbimmikhwamhmayintwexng echn ver phbinkriyacanwnmakaelamikhwamhmayhlayxyang echn versuchen phyayam macak suchen khnha vernehmen sxbswn macak nehmen exa rb verteilen aeckcay macak teilen aebng verstehen ekhaic macak stehen yun twxyangxun echn verhaften cbkum macak haften tid verkaufen khay macak kaufen sux aufhoren elik macak horen idyin erfahren prasb macak fahren khbrth kriyabangtwmikhaxupsrrkhthiaeykid sungmkmikhwamhmayepnkhakhyaykriya inrupkriyaaeth khaxupsrrkhcaaeykxxkmacakkriyaaelaipxyuthaypraoykh echn mitgehen aeplwa ipdwy aetklayepnkhathamwa Gehen Sie mit aepltrngtw ipkhundwykn aepltamkhwamhmay khuncaipdwyknihm bangkhrng xacmixnupraoykhcanwnmakaethrkxyurahwangkhaxupsrrkhkhxngkriyaaethkbswnthiehlux echn sahrbkriya ankommen mathung er kam an ekhaidmathung er ist angekommen ekhamathungaelw xacsrangpraoykhidwa Er kam am Freitagabend nach einem harten Arbeitstag und dem ublichen Arger der ihn schon seit Jahren immer wieder an seinem Arbeitsplatz plagt mit fraglicher Freude auf ein Mahl das seine Frau ihm wie er hoffte bereits aufgetischt hatte endlich zu Hause an sungaeplwa ekhamathungbaninthisudtxneynwnsukr hlngcakphanphnwnthanganthihnkaelasingnarakhayechnekhythiidrbkwnekhainthithanganxyangepnpracamahlaypiaelw phrxmrusukmikhwamsukhxyangnasngsykbxaharthiphrryakhxngekhaidetriymiwbnotaeriybrxyaelwtamthiekhahwngiwwakysmphnth aekikh lksnathangwakysmphnthkhxngphasaeyxrmn odythwipinpraoykhhlk khakriyaaethcaxyutaaehnngthisxng V2 word order aelamikareriyngaebb prathan krrm kriya SOV inkhatham khaxuthan aelakhasng kriyaaethcathukslbkhunmaxyutaaehnngaerk inxnupraoykhkriyathuktwcaxyuthaysudphasaeyxrmnbngkhbihmikriya imwacaepnkriyahlkhruxkriyachwy xyuintaaehnngthisxngkhxngpraoykh aelaihnahwkhxkhxngpraoykhmanaintaaehnngaerk aelakhathienncaexaiwsudthay echn praoykhthiimmikriyachwytxipni aeplwa chayaekihhnngsuxkbphmemuxwan eriyngladbidhlayaebb Der alte Mann gab mir gestern das Buch chayaek ih kbphm emuxwan hnngsux ladbpkti Das Buch gab mir gestern der alte Mann hnngsux ih kbphm emuxwan chayaek Das Buch gab der alte Mann mir gestern hnngsux ih chayaek kbphm emuxwan Das Buch gab mir der alte Mann gestern hnngsux ih kbphm chayaek emuxwan Gestern gab mir der alte Mann das Buch emuxwan ih kbphm chayaek hnngsux ladbpkti Mir gab der alte Mann das Buch gestern kbphm ih chayaek hnngsux emuxwan karexa kbphm khunkxn aela emuxwan lngthay epnkarenn ehmuxnphudwa kbkhun ekhaihhnngsuxwnxun imichwnni sngektwataaehnngkhxngkhanaminphasaeyxrmn imsngphlthungkhwamepnprathanhruxkrrm enuxngcakmikarphnaesdngkarkxyuaelw phasaeyxrmncungsamarthyayladbidkhxnkhangesri thaihsamarthennkhathitxngkarid kriyachwy aekikh emuxmikriyachwyinpraoykh caxyutaaehnngthisxng swnkriyahlkcaepnrupimphn Infinitiv aelathukyayipthaypraoykh echn praoykhwa Er soll nach Hause gehen ekhakhwrklbban aepltrngtwkhux ekha khwr ban klb kriyaimphnhlaytw aekikh inxnupraoykh kriyathuktwcaxyuthaypraoykh aelaenuxngcakkriyasamarthichaesdngthngxnakhtkal krrmwack thsnphawa aelakalsmburn cungsamarthsrangpraoykhsxnthimikriyahlaytwxdknxyukhangthayid echn Man nimmt an dass der Deserteur wohl erschossenV wordenpsv seinperf sollmod epnthisngsywa phuhnithphnacathukyingipaelw xangxing aekikh Ha Thu Huong Germany has ended a century long debate over a missing letter in its alphabet phasaxngkvs subkhnemux 5 December 2017 According to the council s 2017 spelling manual When writing the uppercase of ss write SS It s also possible to use the uppercase ẞ Example Strasse STRASSE STRAẞE Mittelschulvorbereitung Deutsch Mittelschulvorbereitung ch subkhnemux 15 March 2010 For a history of the German consonants see Fausto Cercignani The Consonants of German Synchrony and Diachrony Milano Cisalpino 1979 ISBN 8820501856 Barbour Stephen Stevenson Patrick 1990 Variation in German Cambridge Cambridge University Press pp 160 163 ISBN 978 0 521 35704 3 duephim aekikhkarekhiynkhathbsphthphasaeyxrmn wikiphiediy saranukrmesri inphasaeyxrmn bthkhwamekiywkbphasaniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy phasaekhathungcak https th wikipedia org w index php title phasaeyxrmn amp oldid 9317909, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม