วิกิพีเดีย
วีระพล จิตสัมฤทธิ์
นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2507) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1]ติดต่อกัน 4 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และล่าสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษเขต 6 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
วีระพล จิตสัมฤทธิ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศรีสะเกษ เขต 6 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศรีสะเกษ เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กันยายน พ.ศ. 2507 (56 ปี) จังหวัดศรีสะเกษ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย พลังประชาชน ชาติไทย |
คู่สมรส | นางหทัยทิพย์ จิตสัมฤทธิ์ |
ประวัติ
นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2507) สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
งานการเมือง
- เคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3 สมัย
- เคยดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
- เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วีระพล จิตสัมฤทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชนจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖