fbpx
วิกิพีเดีย

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม สา ฉายา ปุสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2436 ถึงปี พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 86 ปี 145 วัน เคยเป็นสามเณรนาคหลวง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้ขณะยังเป็นสามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น สามเณรอัจฉริยะ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สา ปุสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราช
ดำรงพระยศ29 พฤศจิกายน 2436 - 11 มกราคม 2443
สถาปนา29 พฤศจิกายน 2436
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ก่อนหน้าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ถัดไปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พรรษา48
สถิตวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ศาสนาพุทธ
นิกายธรรมยุติกนิกาย
ประสูติ19 สิงหาคม พ.ศ. 2356
จังหวัดนนทบุรี
สา
สิ้นพระชนม์11 มกราคม พ.ศ. 2443 (86 ปี)
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
พระชนกจัน
พระชนนีสุข

พระประวัติ

สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) เดิมเป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา จ.ศ. 1175 ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2356 บ้านเดิมอยู่บางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี พระบิดาชื่อจัน เคยอุปสมบทและชำนาญในคัมภีร์มิลินทปัญหาและมาลัยสูตรมาก จึงได้ฉายาจากประชาชนว่า จันมิลินทมาลัย พระมารดาชื่อสุข มีพี่น้องเกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน คืออวบ, ช้าง, สา, สัง, และอิ๋ม น้องชายของสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีชื่อว่าสัง ได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้สมณศักดิ์สูงสุดที่ตำแหน่งพระสมุทรมุนี แต่ภายหลังก็ลาสิกขา ไม่ปรากฏว่าสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีนามสกุลเดิมว่าอย่างไร ซึ่งในช่วงที่พระองค์ลาสิกขามาครองเรือนมีภรรยานั้น จึงมีทายาทที่สืบเชื้อสายมาจากพระองค์นามสกุลว่า "ปุสสเด็จ" และ "ปุสสเทโว" ซึ่งทั้งสองนามสกุลนี้ยังคงมีทายาทสืบต่อกันมาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีจนถึงปัจจุบัน

การศึกษา

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมอยู่วัดใหม่ในคลองบางขุนเทียนบ้านหม้อ บางตนาวสี แขวงเมืองนนทบุรี ปัจจุบันคือวัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี แล้วย้ายไปอยู่วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร และไปเรียนพระปริยัติธรรมในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน และโยมบิดาของท่านเอง ซึ่งเป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ที่พระราชวังบวรดัวยกัน เมื่อพระชนมายุได้ 14 ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก แปลได้ 2 ประโยค จึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่คนเรียกกันว่า เปรียญวังหน้า ซึ่งมีที่มาของชื่อนี้ว่า ในการแปลพระปริยัติธรรมนั้น ผู้เข้าแปลครั้งแรกต้องแปลให้ได้ครบ 3 ประโยคในคราวเดียว จึงจะนับว่าเป็นเปรียญ ถ้าได้ไม่ครบในการสอบครั้งต่อไป จะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพมีพระประสงค์ที่จะอุปการะภิกษุสามเณรที่เข้าสอบ มิให้ท้อถอย ดังนั้นถ้ารูปใดแปลได้ 2 ประโยค ก็ทรงรับอุปการะไปจนกว่าจะสอบเข้าแปลใหม่ ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค ภิกษุ สามเณร ที่ได้รับพระราชทานอุปการะในเกณฑ์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่า เปรียญวังหน้า

ต่อมา สามเณรสาได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงผนวชพำนักที่วัดสมอราย (ปัจจุบันคือวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร) เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ว่าทรงปราดเปรื่องเรื่องภาษาบาลีจนหาผู้เทียบได้ยาก เมื่อได้สมัครเป็นศิษย์ ก็ถ่ายทอดความรู้ภาษาบาลีให้สามเณรสา จนกระทั่งเมื่อสามเณรสาอายุได้เพียงแค่ 18 ปีก็สามารถแปลพระปริยัติธรรมได้ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นที่อัศจรรย์ในความฉลาดปราดเปรื่องยิ่งนัก สมัยนั้นยังแปลพระปริยัติธรรมกันด้วยปากเปล่า (หมายถึงแปลสดให้กรรมการฟัง แล้วแต่กรรมการว่าจะให้แปลคัมภีร์อะไร หน้าเท่าไหร่) เป็นที่โจษจันไปทั่วพระนคร สามเณรสาจึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวงสายเปรียญธรรมรูปแรกในกรุงรัตนโกสินทร์

อุปสมบทเป็นนาคหลวงแล้วสึก

พระองค์ได้อุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2376 โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส) ซึ่งเป็นพระมอญเป็นพระอุปัชฌาย์ พระวชิรญาณ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ปุสฺโส นักวิชาการหลายท่านเข้าใจว่าสามเณรสา สอบเปรียญ 9 ประโยค ได้ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งไม่ใช่ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2379 หลังจากสอบได้แล้วและอุปสมบทแล้ว ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารตามพระวชิรญาณภิกขุซึ่งทรงย้ายจากวัดราชาธิวาสมาพำนักที่วัดบวรนิเวศวิหารตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาสา ปุสฺโส จึงเป็นสามเณรนาคหลวงสายเปรียญธรรมรูปแรกที่จำพรรษาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร เพียงแต่ไม่ได้สอบบาลีได้ในสำนักนี้เท่านั้น

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระราชาคณะที่พระอมรโมลี ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง

อุปสมบทใหม่อีกครั้ง ที่มาของ พระมหาสา 18 ประโยค

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวชและเสด็จขึ้นครองราชย์ มีรับสั่งให้นำนายสา มาเข้าเฝ้า แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า จะบวชอีกมั้ย นายสาก็กราบบังคมทูลว่า อยากจะบวช พระองค์จึงได้ทรงจัดหาเครื่องอัฐบริขารให้ ท่านจึงได้อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 39 ปี ตก พ.ศ. 2394 ณ พัทธสีมา วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรงเทพมหานคร โดยมีกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ คราวนี้ได้ฉายาว่า ปุสฺสเทโว ขณะอายุได้ 38 ปี เมื่ออุปสมบทแล้ว ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า สังฆราช 18 ประโยค ในคราวอุปสมบทครั้งที่ 2 นี้ พระองค์เป็นพระอันดับอยู่ 7 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระสาสนโสภณ เมื่อปี พ.ศ. 2401 รับพระราชทานนิตยภัตเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ แต่ถือตาลปัตรแฉกเสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ คนทั่วไปเรียกกันโดยย่อว่า เจ้าคุณสา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2408 ซึ่งเป็นวัดแรกที่ตั้งขึ้นใหม่ของธรรมยุติกนิกายขึ้น แล้วโปรดให้พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว) ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐฯ มีพระภิกษุติดตามจากวัดบวรนิเวศวิหารอีก 20 รูป ครั้งนี้ท่านได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกพื้นแพรเสมอชั้นธรรม และเมื่อปี พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่พระธรรมวโรดม แต่คงใช้ราชทินนามเดิมว่า พระสาสนโสภณที่พระธรรมวโรดม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2422 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ

สมเด็จพระสังฆราช

ปี พ.ศ. 2434 ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จนตลอดพระชนมชีพ ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเพิ่มอิสริยยศให้เป็นพิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อนมา คือทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ นับว่าเป็น พระมหาเถระรูปที่ 2 ที่ได้รับสถาปนาในพระราชทินนามนี้ อันเป็นพระราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เมื่อพระองค์ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2436 พระองค์ไม่ได้รับพระราชนามพระสุพรรณบัฏใหม่ คงใช้พระสุพรรณบัฏเดิม แต่ได้รับพระราชทานใบกำกับพระสุพรรณบัฏใหม่ และมีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ 16 ตำแหน่ง (ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่พิเศษ เพราะปกติจะมี 15 ตำแหน่งเท่านั้น)

ผลงาน

พระองค์ได้แต่งหนังสือเทศน์ขึ้นไว้ สำหรับใช้อ่านในวันธรรมสวนะปกติ และในวันบูชา แต่งเรื่องปฐมสมโพธิ์ย่อ 3 กัณฑ์จบ สำหรับถวายเทศน์ในวันวิสาขบูชา 3 วัน ๆ ละ หนึ่งกัณฑ์ และเรื่องจาตุรงคสันนิบาตกับโอวาทปาติโมกข์ สำหรับถวายในวันมาฆบูชาที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังได้ รจนาปฐมสมโพธิ์ภาคพิสดาร สำหรับใช้เทศนาในวัด 2 คืนจบอีกด้วย พระนิพนธ์ต่าง ๆ ของพระองค์ ยังคงใช้ ในการเทศนา และศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุ สามเณร จนถึงปัจจุบัน งานพระนิพนธ์ของพระองค์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตรที่มีอยู่ 20 สูตร หนังสือเทศนามี 70 กัณฑ์ และเบ็ดเตล็ดมี 5 เรื่อง

ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมจารึกไว้ด้วย อักษรขอม ด้วยการจารลงในใบลาน การคัดลอกทำได้ช้า ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย ไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่สะดวกในการเก็บรักษา และนำมาใช้อ่าน ทั้งตัวอักษรขอมก็มีผู้อ่านได้น้อยลงตามลำดับ การพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย จะแก้ปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระเถระนุเถระมาประชุม ร่วมกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลี แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้น (เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. 112) สมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่น เป็นรองอธิบดี จัดการทั้งปวงในการสังคายนาครั้งนี้ พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวน 1000 จบ ๆ ละ 39 เล่ม ใช้เงิน 2,000 ชั่ง พิมพ์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2436 เป็นที่เลื่องลือแพร่หลายไปทั่วโลก

และทรงผูกพระคาถาหน้าบันกระทรวงกลาโหม และตราแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 (ตราอาร์ม)

ลำดับสมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2382 เป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี (หลังจากย้ายจากวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหารได้ 2 ปี)
  • พ.ศ. 23?? ลาสิกขาบท
  • พ.ศ. 2394 กลับมาอุปสมบทใหม่
  • พ.ศ. 2401 เป็นพระราชาคณะที่ พระสาสนโสภณ (ตำแหน่งสมณศักดิ์ใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริขึ้นเพื่อพระมหาสา ผู้กลับมาบวชใหม่และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารอีกครั้งโดยเฉพาะ) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นี้เมื่อปีมะเมีย เดิมที ทรงพระราชดำริจะใช้ตำแหน่งว่า "พระสาสนดิลก" แต่พระมหาสาได้ถวายพระพรว่าสูงเกินไป จึงทรงใช้ว่า ’พระสาสนโสภณ’
  • พ.ศ. 2415 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะใต้ที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณสุนทร บวรสังฆนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณาลังการวิสุทธิ ธรรมวรยุตติกคณาภิสัมมานิตปาโมกษ์ ที่พระธรรมวโรดม
  • พ.ศ. 2422 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลย์ สุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
  • พ.ศ. 2434 ได้รับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง มหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาศ ปรมินทรมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ ปุสสเทวาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตมสาสนโสภณ วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธสาสนิกบริสัชคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสีอรัญวาสี
  • 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามเดิมว่า สมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง มหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุศโลภาศ ปรมินทรมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ ปุสสะเทวาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตมสาสนโศภน วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธสาสนิกบริสัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดดรคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งประธานสมณมณฑลทั่วราชอาณาเขตและเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ

สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ประชวรด้วยพระโรคบิดมาตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม แพทย์หลวงและแพทย์เชลยศักดิ์ต่างจัดพระโอสถถวาย แต่พระอาการไม่ทุเลา จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2442 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2443) เวลาเย็นวันต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ จากพระราชวังบางปะอินมายังวัดราชประดิษฐฯ พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ ร่วมสรงน้ำพระศพ แล้วอัญเชิญพระศพลงในพระลองในประกอบโกศกุดั่นน้อย ทรงสดับปกณณ์แล้วเสด็จกลับ

พระศพตั้งบำเพ็ญกุศลจนถึงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2443 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2444) จึงอัญเชิญพระบุพโพไปพระราชทานเพลิง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกับพระบุพโพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 จึงแห่พระศพไปประดิษฐานยังพระเมรุมณฑป ณ ท้องสนามหลวง แล้วพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ศกนั้น เช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จึงเสด็จฯ มาเก็บพระอัฐิและพระอังคารแล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดราชประดิษฐฯ

หลังจากสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเลยตลอดรัชสมัย เป็นเวลาถึง 11 ปี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 103
  2. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 104
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การสาศนูปถัมภก คือ การพิมพ์พระไตรปิฎก, เล่ม 5, หน้า 410
  4. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 105
  5. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 106
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 8, ตอน 52, หน้า 463-465
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศในการตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 10, หน้า 389
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 16, ตอน 42, 14 มกราคม ค.ศ. 1899, หน้า 605
  9. ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเพลิงพระบุพโพ พระเจ้าบรมวงษเธอกรมสมเด็จพระปวเรศวรวริยาอลงกรณ์ แลสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 17, ตอน 42, 13 มกราคม ค.ศ. 1900, หน้า 605
  10. ราชกิจจานุเบกษา, การพระศพสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 17, ตอน 48, 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900, หน้า 682-6
บรรณานุกรม
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3
ก่อนหน้า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) ถัดไป
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
   
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2442)
  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ อินฺทสโร)    
เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ
(พ.ศ. 2422 - พ.ศ. 2442)
  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป)
-    
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
(พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2442)
  พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก)


สมเด, จพระอร, ยวงศาคตญาณ, สา, สเทโว, บทความน, งต, องการเพ, มแหล, งอ, างอ, งเพ, อพ, จน, ความถ, กต, อง, ณสามารถพ, ฒนาบทความน, ได, โดยเพ, มแหล, งอ, างอ, งตามสมควร, เน, อหาท, ขาดแหล, งอ, างอ, งอาจถ, กลบออกสมเด, จพระอร, ยวงศาคตญาณ, พระนามเด, สา, ฉายา, สเทโว, เป, นส. bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxng khunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxksmedcphraxriywngsakhtyan phranamedim sa chaya pus sethow epnsmedcphrasngkhrachithyphraxngkhthi 9 aehngkrungrtnoksinthr sthit n wdrachpradisthsthitmhasimaramrachwrwihar inrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw thrngdarngtaaehnngemuxpi ph s 2436 thungpi ph s 2442 rwm 6 phrrsa sinphrachnmemuxphrachnmayu 86 pi 145 wn ekhyepnsamenrnakhhlwng thimichuxesiyngodngdngmakthisudkhxngkrungrtnoksinthr ephraaepnphusamarthsxbepriyythrrm 9 praoykh idkhnayngepnsamenr rupaerkkhxngkrungrtnoksinthr thanidrbkarykyxngwaepn samenrxcchriya aehngkrungrtnoksinthrsmedcphraxriywngsakhtyan sa pus sethow smedcphrasngkhrachdarngphrays29 phvscikayn 2436 11 mkrakhm 2443sthapna29 phvscikayn 2436wdphrasrirtnsasdaramkxnhnasmedcphramhasmneca krmphrayapwerswriyalngkrnthdipsmedcphramhasmneca krmphrayawchiryanworrsphrrsa48sthitwdrachpradisthsthitmhasimaramrachwrwiharsasnaphuththnikaythrrmyutiknikayprasuti19 singhakhm ph s 2356cnghwdnnthburisasinphrachnm11 mkrakhm ph s 2443 86 pi wdrachpradisthsthitmhasimaramrachwrwiharphrachnkcnphrachnnisukh enuxha 1 phraprawti 1 1 karsuksa 1 2 xupsmbthepnnakhhlwngaelwsuk 1 3 xupsmbthihmxikkhrng thimakhxng phramhasa 18 praoykh 1 4 smedcphrasngkhrach 2 phlngan 3 ladbsmnskdi 4 sinphrachnm 5 xangxingphraprawti aekikhsmedcphrasngkhrach sa pus sethow edimepnchawtablbangiph cnghwdnnthburi prasutiinrchsmyphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly emuxwnphvhsbdi eduxn 9 aerm 8 kha piraka c s 1175 1 trngkbwnthi 19 singhakhm ph s 2356 banedimxyubangechingkran cnghwdrachburi phrabidachuxcn ekhyxupsmbthaelachanayinkhmphirmilinthpyhaaelamalysutrmak cungidchayacakprachachnwa cnmilinthmaly phramardachuxsukh miphinxngekidrwmbidamardaediywkn 5 khn khuxxwb chang sa sng aelaxim nxngchaykhxngsmedcphrasngkhrach sa michuxwasng idbwchepnphraphiksuthiwdbwrniewsrachwrwihar idsmnskdisungsudthitaaehnngphrasmuthrmuni aetphayhlngklasikkha impraktwasmedcphrasngkhrach sa minamskuledimwaxyangir sunginchwngthiphraxngkhlasikkhamakhrxngeruxnmiphrryann cungmithayaththisubechuxsaymacakphraxngkhnamskulwa pussedc aela pussethow sungthngsxngnamskulniyngkhngmithayathsubtxknmainphunthicnghwdnnthburicnthungpccubn karsuksa aekikh thanidbrrphchaepnsamenrinrchsmyphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw edimxyuwdihminkhlxngbangkhunethiynbanhmx bangtnawsi aekhwngemuxngnnthburi pccubnkhuxwdnkhrxinthr c nnthburi aelwyayipxyuwdsngewchwisyaramwrwihar aelaiperiynphrapriytithrrminphrarachwngbwrkbxacaryxxn aelaoymbidakhxngthanexng sungepnxacarybxkhnngsuxxyuthiphrarachwngbwrdwykn emuxphrachnmayuid 14 pi idekhaaeplphrapriytithrrmepnkhrngaerk aeplid 2 praoykh cungyngimidepnepriyy aetkhneriykknwa epriyywnghna 1 sungmithimakhxngchuxniwa inkaraeplphrapriytithrrmnn phuekhaaeplkhrngaerktxngaeplihidkhrb 3 praoykhinkhrawediyw cungcanbwaepnepriyy thaidimkhrbinkarsxbkhrngtxip catxngerimtnihmthnghmd khrngnnsmedcphrabwrrachecamhaskdiphlesphmiphraprasngkhthicaxupkaraphiksusamenrthiekhasxb miihthxthxy dngnntharupidaeplid 2 praoykh kthrngrbxupkaraipcnkwacasxbekhaaeplihm idepnepriyy 3 praoykh phiksu samenr thiidrbphrarachthanxupkaraineknthdngklaw cungidchuxwa epriyywnghna 2 txma samenrsaidthwaytwepnsisyphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwemuxthrngphnwchphankthiwdsmxray pccubnkhuxwdrachathiwasrachwrwihar enuxngcakidyinkittisphthwathrngpradepruxngeruxngphasabalicnhaphuethiybidyak emuxidsmkhrepnsisy kthaythxdkhwamruphasabaliihsamenrsa cnkrathngemuxsamenrsaxayuidephiyngaekh 18 piksamarthaeplphrapriytithrrmidthungepriyythrrm 9 praoykh 2 epnthixscrryinkhwamchladpradepruxngyingnk smynnyngaeplphrapriytithrrmkndwypakepla hmaythungaeplsdihkrrmkarfng aelwaetkrrmkarwacaihaeplkhmphirxair hnaethaihr epnthiocscnipthwphrankhr samenrsacungidrbphrakrunaoprdekla ihepnnakhhlwngsayepriyythrrmrupaerkinkrungrtnoksinthr xupsmbthepnnakhhlwngaelwsuk aekikh phraxngkhidxupsmbth n wdrachathiwas emuxpi ph s 2376 odymiphrasuemthmuni say phuth thwos sungepnphramxyepnphraxupchchay phrawchiryan phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw epnphrakrrmwacacary idchayawa pus os nkwichakarhlaythanekhaicwasamenrsa sxbepriyy 9 praoykh id n wdbwrniewswihar sungimich emuxwnthi 11 mkrakhm 2379 hlngcaksxbidaelwaelaxupsmbthaelw thanidyaymacaphrrsathiwdbwrniewswihartamphrawchiryanphikkhusungthrngyaycakwdrachathiwasmaphankthiwdbwrniewswihartamphrarachprasngkhkhxngphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw phramhasa pus os cungepnsamenrnakhhlwngsayepriyythrrmrupaerkthicaphrrsaxyuwdbwrniewswihar ephiyngaetimidsxbbaliidinsankniethanntxmaemuxpi ph s 2382 phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhwthrngaetngtngthanepnphrarachakhnathiphraxmromli txmaidlasikkhaipepnkhrawasxyurayahnung 2 xupsmbthihmxikkhrng thimakhxng phramhasa 18 praoykh aekikh emuxphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthrnglaphnwchaelaesdckhunkhrxngrachy mirbsngihnanaysa maekhaefa aelwmiphrarachkraaesrbsngthamwa cabwchxikmy naysakkrabbngkhmthulwa xyakcabwch phraxngkhcungidthrngcdhaekhruxngxthbrikharih thancungidxupsmbthkhrngthi 2 emuxxayuid 39 pi tk ph s 2394 n phththsima wdbwrniewswihar banglaphu krngethphmhankhr odymikrmhmunbwrrngsisuriyphnthu txmakhuxsmedcphramhasmneca krmphrayapwerswriyalngkrn epnphraxupchchay khrawniidchayawa pus sethow khnaxayuid 38 pi emuxxupsmbthaelw waknwa idthrngekhaaeplphrapriytithrrmxikkhrnghnung aelathrngaeplidhmdthng 9 praoykh cungmiphuklawthungphraxngkhdwysmyanamwa sngkhrach 18 praoykh inkhrawxupsmbthkhrngthi 2 ni phraxngkhepnphraxndbxyu 7 pi cungidrbaetngtngepnphrarachakhnathiphrasasnosphn emuxpi ph s 2401 rbphrarachthannityphtesmxphrarachakhnachnethph aetthuxtalptraechkesmxphrarachakhnachnsamy 2 khnthwiperiykknodyyxwa ecakhunsatxma phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthrngsrangwdrachpradisthsthitmhasimaramesrcemuxpi ph s 2408 sungepnwdaerkthitngkhunihmkhxngthrrmyutiknikaykhun aelwoprdihphrasasnosphn sa pus sethow ipdarngtaaehnngecaxawaswdrachpradisth miphraphiksutidtamcakwdbwrniewswiharxik 20 rup khrngnithanidrbphrarachthantalptraechkphunaephresmxchnthrrm 2 aelaemuxpi ph s 2415 phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw idoprdekla sthapnaeluxnsmnskdi khunepnphrarachakhnaecakhnarxngthiphrathrrmwordm aetkhngichrachthinnamedimwa phrasasnosphnthiphrathrrmwordm txmaemuxpi ph s 2422 idrbsthapnaepnsmedcphrarachakhnathismedcphraphuththokhsacary ecakhnaihyfayehnux smedcphrasngkhrach aekikh pi ph s 2434 kidrbphramhakrunathikhunoprdekla sthapnaepnsmedcphraxriywngsakhtyan sthit n wdrachpradisthsthitmhasimaram cntlxdphrachnmchiph inpi ph s 2434 phrabathsmedcphraculcxmekla idoprdekla sthapnaephimxisriyysihepnphiesskwasmedcphrarachakhnaaetkxnma khuxthrngsthapnaihepnsmedcphraxriywngsakhtyan nbwaepn phramhaethrarupthi 2 thiidrbsthapnainphrarachthinnamni xnepnphrarachthinnamsahrbtaaehnngsmedcphrasngkhrach emuxphraxngkhidrbsthapnaepnsmedcphrasngkhrach emuxpi ph s 2436 phraxngkhimidrbphrarachnamphrasuphrrnbtihm khngichphrasuphrrnbtedim aetidrbphrarachthanibkakbphrasuphrrnbtihm aelamithananuskdi tngthananukrmid 16 taaehnng sungthuxwaepneruxngthiphiess ephraapkticami 15 taaehnngethann phlngan aekikhphraxngkhidaetnghnngsuxethsnkhuniw sahrbichxaninwnthrrmswnapkti aelainwnbucha aetngeruxngpthmsmophthiyx 3 knthcb sahrbthwayethsninwnwisakhbucha 3 wn la hnungknth aelaeruxngcaturngkhsnnibatkboxwathpatiomkkh sahrbthwayinwnmakhbuchathiwdphrasrirtnsasdaram aelayngid rcnapthmsmophthiphakhphisdar sahrbichethsnainwd 2 khuncbxikdwy phraniphnthtang khxngphraxngkh yngkhngich inkarethsna aelasuksaelaeriynkhxngphraphiksu samenr cnthungpccubn nganphraniphnthkhxngphraxngkhmixyuepncanwnmak swnihyepnnganaeplphrasutrthimixyu 20 sutr hnngsuxethsnami 70 knth aelaebdetldmi 5 eruxnginpi ph s 2431 phrabathsmedcphraculcxmekla idoprdekla ihthakarsngkhaynaphraitrpidk sungaetedimcarukiwdwy xksrkhxm dwykarcarlnginiblan karkhdlxkthaidcha thaihimepnthiaephrhlay imphxichinkarsuksaelaeriyn imsadwkinkarekbrksa aelanamaichxan thngtwxksrkhxmkmiphuxanidnxylngtamladb karphimphphraitrpidk epnelmdwytwxksrithy caaekpyhakhxkhdkhxngdngklawid cungidoprdekla ihxarathnaphraethranuethramaprachum rwmkbrachbnthitthnghlay trwccharaphraitrpidkphasabali aelwcdphimphepnelmhnngsuxkhun eriykwaphraitrpidkchbb r s 112 smedcphrasngkhrach sa khnathrngdarngsmnskdithismedcphraphuththokhsacary rwmkbsmedcphramhasmneca krmphrayawchiryanworrs khnathrngdarngphrayskrmhmun epnrxngxthibdi cdkarthngpwnginkarsngkhaynakhrngni 3 phraitrpidkthicdphimphkhrngnimicanwn 1000 cb la 39 elm ichengin 2 000 chng phimphesrcemuxpi ph s 2436 epnthieluxngluxaephrhlayipthwolkaelathrngphukphrakhathahnabnkrathrwngklaohm aelatraaephndininsmyrchkalthi 5 traxarm ladbsmnskdi aekikhph s 2382 epnphrarachakhnathi phraxmromli hlngcakyaycakwdrachathiwasrachwrwihar maxyuwdbwrniewswiharrachwrwiharid 2 pi ph s 23 lasikkhabth ph s 2394 klbmaxupsmbthihm ph s 2401 epnphrarachakhnathi phrasasnosphn taaehnngsmnskdiihmthiphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwmiphrarachdarikhunephuxphramhasa phuklbmabwchihmaelasxbidepriyythrrm 9 praoykh n sankeriynwdbwrniewswiharxikkhrngodyechphaa idrbphrarachthansmnskdiniemuxpimaemiy edimthi thrngphrarachdaricaichtaaehnngwa phrasasndilk aetphramhasaidthwayphraphrwasungekinip cungthrngichwa phrasasnosphn ph s 2415 epnphrarachakhnaecakhnarxngkhnaitthi phrasasnosphn wimlyansunthr bwrsngkhnayk tripidkwithyakhunalngkarwisuththi thrrmwryuttikkhnaphismmanitpaomks thiphrathrrmwordm 4 ph s 2422 idrbsthapnaepnsmedcphrarachakhnaecakhnaihyfayehnuxthi smedcphraphuththokhsacary yanxduly sunthrnayk tripidkwithyakhun wiblykhmphiryansunthr mhaxudrkhnisr bwrsngkharam khamwasi xrywasi 5 ph s 2434 idrbsthapnaephimxisriyysepn smedcphraxriywngsakhtyan sukhumthrrmwithantharng mhasngkhprinayk tripidkklakusolphas prminthrmharachhiotpsmpthacary pussethwaphithansngkhwisut pawcnutmsasnosphn wimlsilsmacarwtr phuththsasnikbrischkharwsthan wicitrptiphanphthnkhun xdulykhmphiryansunthr mhaxudrkhnvsr bwrsngkharamkhamwasixrywasi 6 29 phvscikayn ph s 2436 idrbsthapnaepnsmedcphrasngkhrachinrachthinnamedimwa smedcphraxriywngsakhtyan sukhumthrrmwithantharng mhasngkhprinayk tripidkklakusolphas prminthrmharachhiotpsmpthacary pussaethwaphithansngkhwisut pawcnutmsasnosphn wimlsilsmacarwtr phuththsasnikbristhkharwsthan wicitrptiphanphthnkhun xdulykhmphiryansunthr mhaxuddrkhnisr bwrsngkharam khamwasixrywasi 7 darngtaaehnngprathansmnmnthlthwrachxanaekhtaelaecakhnaihyfayehnuxsinphrachnm aekikhsmedcphrasngkhrach sa pus sethow prachwrdwyphraorkhbidmatngaetwnthi 30 thnwakhm aephthyhlwngaelaaephthyechlyskditangcdphraoxsththway aetphraxakarimthuela cnsinphrachnmemuxwnphvhsbdithi 11 mkrakhm ph s 2442 nbaebbpccubntrngkb ph s 2443 ewlaeynwntxma phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwesdc cakphrarachwngbangpaxinmayngwdrachpradisth phraxngkh phrabrmwngsanuwngs aelakharachkar rwmsrngnaphrasph aelwxyechiyphrasphlnginphralxnginprakxbokskudnnxy thrngsdbpknnaelwesdcklb 8 phrasphtngbaephykuslcnthungwnthi 6 mkrakhm ph s 2443 nbaebbpccubntrngkb ph s 2444 cungxyechiyphrabuphophipphrarachthanephling n wdbwrniewswihar phrxmkbphrabuphophsmedcphramhasmneca krmphrayapwerswriyalngkrn 9 txmawnthi 11 kumphaphnth ph s 2443 cungaehphrasphippradisthanyngphraemrumnthp n thxngsnamhlwng aelwphrarachthanephlingphrasphinwnthi 13 kumphaphnth sknn echawnthi 14 kumphaphnth cungesdc maekbphraxthiaelaphraxngkharaelwoprdihxyechiyippradisthanyngwdrachpradisth 10 hlngcaksmedcphrasngkhrach sa pus sethow sinphrachnm phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwkmiidthrngsthapnaphraethrarupidepnsmedcphrasngkhrachxikelytlxdrchsmy epnewlathung 11 pixangxing aekikhechingxrrth 1 0 1 1 eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr elm 1 hna 103 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr elm 1 hna 104 rachkiccanuebksa karsasnupthmphk khux karphimphphraitrpidk elm 5 hna 410 eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr elm 1 hna 105 eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr elm 1 hna 106 rachkiccanuebksa tngtaaehnngphrasngkh elm 8 txn 52 hna 463 465 rachkiccanuebksa prakasinkartngtaaehnngphrasngkh elm 10 hna 389 rachkiccanuebksa khawsinphrachnmsmedcphrasngkhrach elm 16 txn 42 14 mkrakhm kh s 1899 hna 605 rachkiccanuebksa karphrarachthanephlingphrabuphoph phraecabrmwngsethxkrmsmedcphrapwerswrwriyaxlngkrn aelsmedcphrasngkhrach elm 17 txn 42 13 mkrakhm kh s 1900 hna 605 rachkiccanuebksa karphrasphsmedcphrasngkhrach elm 17 txn 48 24 kumphaphnth kh s 1900 hna 682 6 brrnanukrmsmmxmrphnthu phraecabrmwngsethx krmphra eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr elm 1 krungethph krmsilpakr 2545 428 hna ISBN 974 417 530 3 khxmmxns miphaphaelasuxekiywkb smedcphraxriywngsakhtyan sa pus sethow kxnhna smedcphraxriywngsakhtyan sa pus sethow thdipsmedcphramhasmnecakrmphrayapwerswriyalngkrn smedcphrasngkhrachaehngkrungrtnoksinthr ph s 2436 ph s 2442 smedcphramhasmnecakrmphrayawchiryanworrssmedcphraphuththokhsacary ci xin thsor ecakhnaihykhnaehnux ph s 2422 ph s 2442 smedcphraphuththokhsacary aesng py yathiop ecaxawaswdrachpradisthsthitmhasimaram ph s 2408 ph s 2442 phrasasnosphn xxn xhusok ekhathungcak https th wikipedia org w index php title smedcphraxriywngsakhtyan sa pus sethow amp oldid 9268590, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม