fbpx
วิกิพีเดีย

ทวีปเอเชีย

เอเชีย (อังกฤษ: Asia; กรีก: Ασία อาเซีย) เป็นทวีปขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกตะวันออก ทวีปเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เป็นเพียงทวีปขนาดใหญ่และมีประชากรเยอะ แต่ยังมีสถานที่และการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมีขนาดใหญ่ แต่เช่นเดียวกันทวีปเอเชียก็มีบริเวณที่มีประชากรเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก

เอเชีย
Asia
พื้นที่44,579,000 ตร.กม.
(อันดับที่ 1)
ประชากร4,462,676,731 คน
(พ.ศ. 2560; อันดับที่ 1)
ความหนาแน่น87.546 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 1)
คำเรียกผู้อาศัยชาวเอเชีย (Asian)
จำนวนประเทศ49 ประเทศ
จำนวนดินแดน
จำนวนรัฐที่ไม่ใช่สมาชิก UN
ภาษาดูที่ ภาษาในทวีปเอเชีย
เขตเวลาUTC+2 ถึง UTC+12
อินเทอร์เน็ต TLD.asia
เมืองใหญ่
  • รายชื่อเมืองในทวีปเอเชีย:
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย

โดยทั่วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้สามารถเห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตก และแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน

จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามทะเลมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของ ประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, พระพุทธศาสนา, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย

เนื่องจากเอเชียมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั้วโลกในไซบีเรีย

ศัพท์มูล

 
เอเชียของทอเลมี (Ptolemy)

เดิมที คำว่า "เอเชีย" นั้นเกิดจากแนวความคิดต้องการสร้างอารยธรรมแบบตะวันตก คำว่า "เอเชีย" ในฐานะที่เป็นชื่อสถานที่นั้น แม้ปรากฏในภาษาปัจจุบันหลายภาษาหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่ปรากฏแหล่งที่มาดั้งเดิมแน่ชัด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าเป็นหรือมาจากภาษา,ละตินแปลว่าดินแดนที่แตกต่างสุดแต่เท่าที่ทราบ "เอเชีย" เป็นชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดชื่อหนึ่งซึ่งได้รับการบันทึกเอาไว้ และมีผู้เสนอแนวคิดมากมายเกี่ยวกับศัพท์มูลของคำนี้

ยุคโบราณสมัยคลาสสิก

คำ "Asia" ในภาษาละติน และคำ "Ἀσία" ในภาษากรีกนั้นปรากฏว่าเป็นคำเดียวกัน นักประพันธ์ชาวโรมันแปลคำว่า "Ἀσία" เป็น "Asia" และชาวโรมันเองตั้งชื่อท้องที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันอยู่ในทวีปเอเชียนี้ว่า "Asia" อนึ่ง ครั้งนั้นยังมีดินแดนที่เรียก "เอเชียน้อย" (Asia Minor) และ "เอเชียใหญ่" (Asia Major คืออิรักในปัจจุบัน) ด้วย เนื่องจากหลักฐานแรกสุดเกี่ยวกับชื่อ "เอเชีย" นี้เป็นหลักฐานภาษากรีก เมื่อว่ากันตามพฤติการณ์แล้ว จึงเป็นไปได้ว่า คำ "เอเชีย" มาจากคำ "Ἀσία" ในภาษากรีก แต่ที่มา ที่ไปเกี่ยวกับการรับหรือถ่ายทอดคำนั้นยังค้นไม่พบ เพราะยังขาดบริบททางภาษา

เฮรอโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำ "เอเชีย" เรียกทวีป ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเขาประดิษฐ์คำนี้ขึ้น แต่เพราะข้อเขียนเรื่อง ฮิสตอรีส์ (Histories) ของเขาเป็นงานชิ้นเดียวที่บรรยายทวีปเอเชียไว้โดยละเอียดและเหลือรอดมาถึงยุคปัจจุบัน เฮรอโดตัสนิยามคำว่า "เอเชีย" เอาไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ เขากล่าว่า เขาได้อ่านผลงานของนักภูมิศาสตร์หลายคนซึ่งปัจจุบันสาบสูญไปทั้งสิ้นแล้ว พบว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ถือกันว่า ชื่อทวีปเอเชียนั้นมาจากชื่อของนางฮีไซโอนี (Hesione) ภริยาของพรอมีเธียส (Prometheus) ขณะที่ชาวลิเดียถือว่า ชื่อทวีปเอเชียมาจากชื่อเจ้าชายเอเซียส (Asies) โอรสแห่งโคติส (Cotys) และนัดดาของพระเจ้าเมนีส (Manes) เฮรอโดตัสแสดงความเห็นแย้งว่า ชื่อ "เอเชีย" มาจากชื่อของพรายนางหนึ่งซึ่งเป็นเทพีประจำเมืองลิเดียตามความในเทพปกรณัมกรีก และแสดงความสงสัยไว้ว่า เหตุใดจึงเอานามสตรีสามนาง "ไปตั้งเป็นนามภูมิภาคซึ่งแท้จริงแล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" กล่าวคือ ชื่อนางยูโรปา (Europa) สำหรับยุโรป นางเอเชียสำหรับเอเชีย และนางลิเบีย (Libya) สำหรับแอฟริกา

ความสงสัยข้างต้นของเฮรอโดตัสอาจเป็นเพียงการแสดงความไม่เห็นด้วยหลังจากที่ได้อ่านวรรณกรรมกรีกหลายต่อหลายฉบับและได้สดับตรับฟังถ้อยคำของคนอื่น ๆ แต่มิได้หมายความว่า เขาไม่ทราบเหตุผลที่เอาชื่อสตรีเพศไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ เพราะตามศาสนากรีกโบราณแล้ว สถานที่ทั้งปวงมีเทพารักษ์เป็นสตรี และสถานที่อื่น ๆ หลายแห่งในครั้งนั้นก็เอาชื่อสตรีมาตั้ง เช่น เอเธนส์ (Athens), ไมซีนี (Mycenae) และธีบส์ (Thebes)

ยุคสำริด

ก่อนสมัยวรรณกรรมของกรีกข้างต้น ท้องที่แถบทะเลอีเจียนนั้นตกอยู่ในยุคมืด โดยในครั้งที่เริ่มยุคมืดนี้ ผู้คนได้เลิกเขียนหนังสือเป็นพยางค์ แต่ก็ยังมิได้เริ่มใช้ตัวอักษร และนับขึ้นไปก่อนสมัยนั้นอีกซึ่งเป็นยุคสัมฤทธิ์ ปรากฏบันทึกหลายฉบับของจักรวรรดิอัสซีเรีย จักวรรดิฮิตไทต์ และรัฐไมซีเนียหลาย ๆ รัฐแห่งจักรวรรดิกรีก ที่เอ่ยถึงภูมิภาคซึ่งได้แก่เอเชียในปัจจุบัน บันทึกเหล่านี้เป็นเอกสารทางการเมืองการปกครอง ไม่มีเนื้อหาเชิงวรรณกรรมแม้แต่น้อย

บรรดารัฐไมซีเนียนั้นถูกกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งทำลายจนล่มจมไปทั้งสิ้นเมื่อราว ๆ 1200 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ใดแท้จริงยังไม่ทราบ แต่ก็มีสำนักทางความคิดสำนักหนึ่งถือสืบ ๆ กันมาจนบัดนี้ว่า เป็นการรุกรานของชาวดอริส (Dorian invasion) การที่หมู่พระราชวังถูกเพลิงเผาพลาญนั้นส่งผลให้เหล่าบันทึกทางการเมืองการปกครองข้างต้นซึ่งจารด้วยอักษรกรีกลงบนแผ่นดินเหนียวถูกอบเป็นแผ่นแข็ง แผ่นจารึกเหล่านี้ต่อมาได้รับการถอดรหัสโดยคณะผู้สนใจคณะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงนักวิทยาการเข้ารหัสลับผู้เยาว์รายหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ไมเคิล เวนทริส (Michael Ventris) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการจอห์น ชัดวิก (John Chadwick) ในการบุกเบิกท้องที่แถบนี้ นักโบราณคดีคาร์ล เบลเกน (Carl Blegen) ได้พบกรุสมบัติขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ณ ซากเมืองพีลอส (Pylos) ในกรุนี้มีบัญชีรายชื่อบุคคลหญิงชายจำนวนมากซึ่งทำขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายประการ

หญิงชายจำนวนหนึ่งในกลุ่มที่ปรากฏนามในบัญชีข้างต้นถูกเอาตัวลงเป็นทาส และถูกใช้งานในการค้าขาย เช่น ให้เย็บปักถักร้อย โดยในเวลาที่ถูกเกณฑ์มา ลูกเล็กเด็กแดงของพวกเขามักถูกนำพามาด้วย คนทั้งนั้นถูกเรียกด้วยถ้อยคำหยาบช้าเพื่อใช้บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของพวกเขา เช่น มีการใช้ว่า "aswiai" แปลว่า นางคนเอเชีย (women of Asia) ข้อนี้ เบื้องต้นมีการตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขาถูกจับถูกคร่ามาจากเอเชีย แต่เมื่อปรากฏว่า บางคนถูกพามาจากแห่งอื่นก็มี เช่น กลุ่มที่เรียก "ไมลาเทีย" (Milatiai) นั้นมาจากอาณานิคมไมเลทัส (Miletus) ของกรีก ชัดวิกจึงตั้งสมมุติฐานว่า บัญชีรายชื่อข้างต้นระบุถึงสถานที่ที่คนเหล่านี้ถูกซื้อขาย มากกว่าจะเป็นสถานที่ที่ได้ตัวมา

คำว่า "aswiai" เป็นอิตถีลึงค์ซึ่งเป็นพหูพจน์ ส่วนอิตถีลึงค์เอกพจน์คือ "aswia" ซึ่งใช้เป็นทั้งชื่อประเทศประเทศหนึ่งและเป็นคำเรียกสตรีของประเทศนี้ด้วย และปุรุสลึงค์คือ "aswios" ในการนี้ ปรากฏว่า ประเทศ Aswia คือ สันนิบาตอัสสุวา (Assuwa league) ซึ่งเป็นสหพันธรัฐตั้งอยู่ตอนกลางของจักรวรรดิลิเดีย หรือทางตะวันตกของบริเวณแอนาโทเลีย (Anatolia) หรือที่เรียกกันว่า "เอเชียโรมัน" (Roman Asia, คือ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และถูกชาวฮิตไทต์ในรัชสมัยพระเจ้าทุดฮาลิยาที่ 1 (Tudhaliya I) ยึดครองเมื่อราว ๆ 1400 ปีก่อนคริสกาล จึงมีผู้เสนอว่า ชื่อทวีปเอเชียอาจมาจากชื่อสันนิบาตดังกล่าวก็เป็นได้

ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า "เอเชีย" ว่า คำนี้อาจมาจากคำในภาษาแอกแคด (Akkadian) ว่า " (w) aṣû (m)" มีความหมายว่า ออกไป (go outside) หรือ ขึ้น (ascend) สื่อว่า เป็นทิศทางที่ดวงตะวันขึ้นสู่ฟากฟ้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่า คำดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับคำในภาษาฟีนิเชีย (Phoenician) ว่า "asa" ซึ่งหมายถึง ตะวันออก ตรงกันข้ามกับชื่อทวีปยุโรปซึ่งตั้งสมมุติฐานกันว่า มาจากคำในภาษาแอกแคดว่า "erēbu (m)" ซึ่งหมายความว่า เข้าไป (enter) หรือ ลง (set) สื่อถึงอาการที่ตะวันตก

ที.อาร์. เรด นักประพันธ์ชาวอเมริกัน สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ เขากล่าวว่า คำ "เอเชีย" ในภาษากรีกนั้นต้องมาจากคำ "asus" ในภาษาอัสซีเรียที่หมายความว่า ตะวันออก เป็นแน่ ตรงกันข้ามกับคำ "ยุโรป" ที่มาจากคำ "ereb" ในภาษาเดียวกัน หมายถึง ตะวันตก ส่วนนักภาษาศาสตร์ดักลัส ฮาร์เปอร์ (Douglas Harper) บันทึกว่า "เอเชีย" มาจากภาษาละตินซึ่งมาจากภาษากรีก ว่ากันว่ามาจากคำ asu ในภาษาแอกแคด แปลว่า 'ออกไป, ขึ้น' ซึ่งสื่อถึงดวงตะวัน ฉะนั้น เอเชียแปลว่า 'แดนอาทิตย์อุทัย' (the land of the sunrise)"

ภูมิศาสตร์เอเชีย

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์เอเชีย

ที่สุดในทวีปเอเชีย

จุดที่สุดในทวีปเอเชีย สถานที่ ประเทศ/ทวีป หมายเหตุ
จุดเหนือสุด: แหลมเชลยูสกิล ประเทศรัสเซีย
จุดใต้สุด: เกาะปามานา ประเทศอินโดนีเซีย
จุดตะวันออกสุด: แหลมเดจนอวา ประเทศรัสเซีย
จุดตะวันตกสุด: แหลมบาบา ประเทศตุรกี
ยอดเขาที่สูงที่สุด: ยอดเขาเอเวอเรสต์* เอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย
แม่น้ำสายยาวที่สุด: แม่น้ำแยงซี ประเทศจีน
เกาะที่ใหญ่ที่สุด: เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน
แอ่งน้ำใหญ่ที่สุด: แม่น้ำอ็อบ ประเทศรัสเซีย
ทะเลสาบใหญ่ที่สุด: ทะเลแคสเปียน* เอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ผิวน้ำต่ำที่สุด: ทะเลเดดซี* ประเทศอิสราเอลและจอร์แดน ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 400 เมตร
ผืนแผ่นดินต่ำที่สุด: ทะเลสาบไบคาล* ไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,750 เมตร
ปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด: รัฐอัสสัม* ประเทศอินเดีย 10,719 มิลลิเมตรต่อปี

* เป็นข้อมูลที่สุดในโลกด้วย

การแบ่งภูมิภาค

ทวีปเอเชียนอกจากจะเป็นอนุภูมิภาคของยูเรเชีย ยังอาจแบ่งออกเป็นส่วนย่อยดังนี้

เอเชียเหนือ

ดูบทความหลักที่: เอเชียเหนือ และ ประเทศรัสเซีย

นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึงรัสเซีย เรียกอีกอย่างว่าไซบีเรีย บางครั้งรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของเอเชียด้วย เช่น คาซัคสถาน

เอเชียกลาง

ดูบทความหลักที่: เอเชียกลาง
 
แผนที่ของเอเชียกลาง

เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่จากประเทศต่าง ๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,021,431 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน (กุมภาพันธ์ 2553) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (เฉลี่ยทั้งภูมิภาค 15 คนต่อตารางกิโลเมตร) และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้า ๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางเป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่มบริเวณทะเลแคสเปียน ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (พ.ศ. 2560)
  คาซัคสถาน นูร์-ซุลตัน 2,724,900 17,987,736
  เติร์กเมนิสถาน อาชกาบัต 488,100 5,662,544
  อุซเบกิสถาน ทาชเคนต์ 447,400 31,446,795
  คีร์กีซสถาน บิชเคก 194,500 5,955,734
  ทาจิกิสถาน ดูชานเบ 143,100 8,734,951

เอเชียตะวันออก

ดูบทความหลักที่: เอเชียตะวันออก
 
แผนที่ของเอเชียตะวันออก

เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15 และ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605 หรือร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7 คนต่อตารางกิโลเมตร

นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ นะงะซะกิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินช็อน เทียนสิน ฮ่องกง เป็นต้น

ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (พ.ศ. 2560)
  จีน ปักกิ่ง 9,671,018 1,403,500,365
  ญี่ปุ่น โตเกียว 377,944 127,748,513
  ไต้หวัน ไทเป 36,191 23,556,706
  เกาหลีเหนือ เปียงยาง 120,540 25,368,620
  เกาหลีใต้ โซล 100,140 50,791,919
  มองโกเลีย อูลานบาตาร์ 1,564,116 3,027,398
  ฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษของ  จีน) - 1,104 7,302,843
  มาเก๊า (เขตบริหารพิเศษของ  จีน) - 29 612,167

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดูบทความหลักที่: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ 4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐชาน เทือกเขาอาระกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)

โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปูตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ภูเก็ต เป็นต้น

ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (พ.ศ. 2560)
  อินโดนีเซีย จาการ์ตา 1,904,569 261,115,456
  พม่า เนปยีดอ 678,000 52,885,223
  ไทย กรุงเทพมหานคร 514,000 68,863,514
  เวียดนาม ฮานอย 337,912 94,569,072
  มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 329,758 31,187,265
  ฟิลิปปินส์ มะนิลา 300,000 103,320,222
  ลาว เวียงจันทน์ 236,800 6,758,353
  กัมพูชา พนมเปญ 181,035 15,762,370
  บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน 5,765 423,196
  สิงคโปร์ สิงคโปร์ 712 5,622,455
  ติมอร์-เลสเต ดิลี 15,010 1,268,671

เอเชียใต้

ดูบทความหลักที่: เอเชียใต้ และ อนุทวีปอินเดีย
 
แผนที่เอเชียใต้

เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน)

ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น

ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย

ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (พ.ศ. 2560)
  อินเดีย นิวเดลี 3,287,240 1,324,171,354
  ปากีสถาน อิสลามาบาด 803,940 193,203,476
  อัฟกานิสถาน คาบูล 647,500 34,656,032
  บังกลาเทศ ธากา 147,570 162,951,560
  เนปาล กาฐมาณฑุ 147,181 28,982,771
  ศรีลังกา ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ 65,610 20,798,492
  ภูฏาน ทิมพู 48,394 797,765
  มัลดีฟส์ มาเล 300 427,756

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

 
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลก คือ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินแดนแถบนี้จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศในแถบนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังให้กำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าดินแดนแถบนี้จะแห้งแล้ง แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปแอฟริกาทางด้านตะวันตก และทวีปยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่น ที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงอานาโตเลีย) นอกจากนี้ ยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรอาหรับ

ลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน (โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก) ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ตุรกี

ตุรกี ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย อิสราเอล ปาเลสไตน์ และอาเซอร์ไบจาน อาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปในบางครั้ง เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่าทวีปเอเชีย

ธงชาติ ประเทศ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (พ.ศ. 2560)
  ซาอุดีอาระเบีย รียาด 1,960,582 32,275,687
  อิหร่าน เตหะราน 1,648,195 80,277,428
  ตุรกี อังการา 783,562 79,512,426
  เยเมน ซานา 527,090 27,584,213
  อิรัก แบกแดด 438,317 37,202,572
  โอมาน มัสกัต 236,800 2,569,804
  ซีเรีย ดามัสกัส 185,180 18,430,453
  จอร์แดน อัมมาน 89,342 9,455,802
  อาเซอร์ไบจาน บากู 86,600 9,725,376
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาบูดาบี 82,880 9,269,612
  จอร์เจีย ทบิลิซี 69,700 3,925,405
  อาร์มีเนีย เยเรวาน 29,743 2,924,816
  อิสราเอล เยรูซาเลม 20,770 8,191,828
  คูเวต คูเวตซิตี 17,820 4,052,584
  กาตาร์ โดฮา 11,437 2,569,804
  เลบานอน เบรุต 10,452 6,006,668
  ไซปรัส นิโคเซีย 9,251 1,170,125
  ปาเลสไตน์ รอมัลลอฮ์ 6,220 4,790,705
  บาห์เรน มานามา 665 1,425,171

ประชากร

ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้

  • เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งได้เป็น 2 พวก
    • พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นพวกผิวเหลืองและเป็นประชากรส่วนมากของทวีปเอเชีย อาศัยตามทางเอเชียเหนือและทางเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลี เป็นต้น
    • พวกมองโกลอยด์ใต้ เป็นพวกผิวเหลืองอาศัยอยู่ตามทางตอนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
  • เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่เหมือนชาวทวีปยุโรป แต่ตาและผมสีเข้มกว่า อาศัยอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคเหนือของปากีสถานและอินเดีย เช่น ชนชาติอาหรับ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของชาวอินเดีย
  • เผ่าพันธุ์นิกรอยด์ เป็นพวกผิวดำ มีรูปร่างเล็ก ผมหยิก เช่น บางส่วนของอินเดีย ศรีลังกา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจ

  • ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก1
อันดับ (เอเชีย) ประเทศ ค่าจีดีพี (ล้าน $) ปี 2010 อันดับ (โลก)
1
  จีน
11,383,030
2
2
  ญี่ปุ่น
4,412,600
3
3
  อินเดีย
2,288,720
7
4
  เกาหลีใต้
1,321,200
11
5
  อินโดนีเซีย
936,955
16
7
  ซาอุดีอาระเบีย
618,274
20
8
  ไต้หวัน
508,849
23
9
  ไทย
409,724
27
10
  อิหร่าน
386,120
28
  • 1 ข้อมูลโดย IMF
  • ตารางแสดงประเทศในทวีปเอเชียที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อประเทศตามค่าจีดีพีต่อหัว
อันดับ (เอเชีย) ประเทศ ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 อันดับ (โลก)
1
  กาตาร์
68,872
3
2
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
46,857
8
3
  ญี่ปุ่น
39,731
17
4
  สิงคโปร์
37,293
20
5
  คูเวต
31,482
24
-
  ฮ่องกง (  จีน)
29,826
ระหว่าง 24-25
6
  อิสราเอล
26,797
28
8
  บรูไน
26,325
29
9
  บาห์เรน
19,455
33
10
  โอมาน
18,013
36
  • 2 ข้อมูลโดย IMF

เอเชียกลาง

เกษตรกรรม:
พื้นที่ซึ่งมีการเกษตรกรรมหนาแน่นคือบริเวณหุบเขาลุ่มแม่น้ำฝั่งตะวันออก เช่น หุบเขาเฟียร์กานา มีการปลูกธัญพืชและผลไม้ต่างๆ เช่น พีช แตงโม แอพริคอต การเลี้ยงสัตว์ก็ถือเป็นอาชีพสำคัญ โดยเลี้ยงแพะ แกะ และวัว ไร้ฝ้ายขนาดใหญ่ก็เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับการชลประทานจากแม่น้ำอามูดาร์ยา
อุตสาหกรรม:
ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางยังคงยากจน เพราะไม่มีชายฝั่งทะเล เศรษฐกิจส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพาเกษตรกรรม
พาณิชยกรรม:
คู่ค้าสำคัญ:

เอเชียตะวันออก

เกษตรกรรม
อุตสาหกรรม
 
กรุงโตเกียวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก (ยกเว้นประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือที่อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก) ซึ่งได้รับการยอมรับจากตลาดโลกอย่างกว้างขวาง สรุปได้ดังนี้
  • อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก มีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย มีการผลิตทั้งอุตสาหกรรมขนาดหนักและอุตสาหกรรมขนาดเบา เช่น การต่อเรือ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ โอะซะกะ นะโงะยะ นะงะซะกิ โยะโกะฮะมะ เป็นต้น

  • อุตสาหกรรมในเกาหลีใต้

ประเทศเกาหลีใต้ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมรวดเร็วมากจนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย (รองจากญี่ปุ่น) อุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ได้แก่ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของประเทศ เช่น โซล ปูซาน

  • อุตสาหกรรมในจีน

ประเทศจีน สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้รวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากวัตถุดิบมีมาก ค่าจ้างแรงงานต่ำ และนโยบายของรัฐบาลที่เชิญญชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อาวุธสงคราม การทอผ้า รถบรรทุก ฯลฯ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนสิน ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

  • อุตสาหกรรมในไต้หวัน

อุตสาหกรรมของไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบาและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของเล่นเด็ก เมืองหลักของอุตสาหกรรมไต้หวัน คือ ไทเป

พาณิชยกรรม
กรุงโตเกียวของประเทศญี่ปุ่นและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม
การประมง
  • การประมงน้ำจืด:

ประเทศจีนเป็นผู้นำในการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด โดยมีแหล่งประมงที่สำคัญอยู่ที่แม่น้ำแยงซีและมณฑลกวางตุ้ง

  • การประมงน้ำเค็ม:

ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการทำประมงทางทะเลมากที่สุดในโลก มีเรือประมงที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีก้าวหน้า แหล่งสำคัญอยู่ที่ คูริลแบงก์ ทางเหนือของเกาะฮกไกโด

การทำป่าไม้:
  • การทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศจีน:

มีการทำป่าไม้ในภาคเหนือของประเทศ แถบมณฑลเฮย์หลงเจียงและมณฑลเสฉวน

  • การทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น:

เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกที่มีการพัฒนาการทำป่าไม้ไปมาก

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เกษตรกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  • การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ:

เป็นการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม อาศัยฝนตามธรรมชาติ ใช้ความรู้หรือเทคโนโลยีมาช่วยไม่มากนัก เช่น การเพาะปลูกในประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ติมอร์-เลสเต เป็นต้น

  • การเพาะปลูกเพื่อการค้า:

เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสู่ตลาดโลก ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรกรรมได้มาก โดยเฉพาะข้าว ประเทศที่ปลูกข้าวมาก ได้แก่ ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

การทำเหมืองแร่:
แร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โดยประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่ส่งออกดีบุกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมากที่สุดในโลก และน้ำมันก็เป็นสินค้าส่งออกของหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังพบก๊าซธรรมชาติมากในอ่าวไทยในประเทศไทยและอ่าวเมาะตะมะในประเทศพม่า
อุตสาหกรรม:
 
ประเทศสิงคโปร์เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน และความรู้ทางเทคโนโลยี ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งอุตสาหกรรมได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพอุตสาหกรรมจึงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
พาณิชยกรรม:
 
จาการ์ตาเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งการค้าสำคัญอีกแห่งหนึ่ง อันเนื่องมาจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาค และในภูมิภาคก็ยังมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ยางพารา ดีบุก น้ำมันปาล์ม ข้าวโพด ข้าวเจ้า ฯลฯ

เมืองที่เป็นศูนย์กลางของพาณิชยกรรมของภูมิภาคนี้ คือ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพมหานคร และจาการ์ตา เป็นต้น

การประมง:
สภาวะทางธรรมชาติทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่อุดมด้วยสัตว์น้ำ ทั้งแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย การประมงจึงเป็นอาชีพสำคัญของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกอาชีพหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเล

ในปัจจุบัน ทุกประเทศได้ขยายน่านน้ำเศรษฐกิจจำเพาะจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น แต่การจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่จับปลาได้มากเป็นอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมา คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ตามลำดับ

การทำป่าไม้
ประเทศที่มีผลผลิตจากป่าไม้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซียและพม่า เนื่องจากมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

  • เกษตรกรรม:
  • อุตสาหกรรม:
  • พาณิชยกรรม:
  • การประมง:
  • คู่ค้าสำคัญ:

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. National Geographic Family Reference Atlas of the World. Washington, DC: National Geographic Society (U.S.). 2006. p. 264.
  2. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  3. . UN Population Division. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ March 5, 2016.,
  4. National Geographic Atlas of the World (7th ed.). Washington, DC: National Geographic. 1999. ISBN 978-0-7922-7528-2. "Europe" (pp. 68–69) ; "Asia" (pp. 90–91) : "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles."
  5. . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 10 January 2010. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
  6. . Eric.ed.gov. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 4 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017.
  7. . The Economist. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 27 ธันวาคม 2016.
  8. [1][ลิงก์เสีย]
  9. [2] 20 พฤศจิกายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. . The Economist. The Economist online, The Economist Group (Millennium issue: Population). 23 ธันวาคม 1999. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 4 มกราคม 2010..
  11. . AccessScience. McGraw-Hill. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 27 November 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
  12. Reid, T.R. Confucius Lives Next Door: What living in the East teaches us about living in the west Vintage Books (1999).
  13. Henry George Liddell (2007) [1940]. "Ἀσία". A Greek-English Lexicon. Medford: Perseus Digital Library, Tufts University. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  14. "Asie". Encyclopedia: Greek Gods, Spirits, Monsters. Theoi Greek Mythology, Exploring Mythology in Classical Literature and Art. 2000–2011.CS1 maint: date format (link)
  15. Ventris & Chadwick 1973, p. 536.
  16. Ventris & Chadwick 1973, p. 410
  17. Bossert, Helmut T., Asia, Istanbul, 1946.
  18. "Asia from L., from Gk. Asia, speculated to be from Akkad. asu "to go out, to rise," in reference to the sun, thus "the land of the sunrise."" ("Asia." Online Etymology Dictionary. Douglas Harper, Historian. 03 Feb. 2013. <Dictionary.com http://dictionary.reference.com/browse/Asia>.)

ทว, ปเอเช, เอเช, งกฤษ, asia, กร, Ασία, อาเซ, เป, นทว, ปขนาดใหญ, และม, ประชากรมากท, ดในโลก, นท, วนมากต, งอย, ในซ, กโลกเหน, อและซ, กโลกตะว, นออก, เป, นส, วนหน, งของทว, ปย, เรเช, ยรวมก, บทว, ปย, โรป, และเป, นส, วนหน, งของทว, ปแอฟโฟร, เรเช, ยร, วมก, บย, โรปและแอฟร. exechiy xngkvs Asia krik Asia xaesiy epnthwipkhnadihyaelamiprachakrmakthisudinolk phunthiswnmaktngxyuinsikolkehnuxaelasikolktawnxxk thwipexechiyepnswnhnungkhxngthwipyuerechiyrwmkbthwipyuorp aelaepnswnhnungkhxngthwipaexfofr yuerechiyrwmkbyuorpaelaaexfrika thwipexechiymiphunthithnghmdpraman 44 579 000 tarangkiolemtr khidepn 30 khxngaephndinthwolkhruxkhidepn 8 7 khxngphiwolkthnghmd thwipexechiyepnthixyuxasykhxngmnusymanan 3 aelaepnaehlngkaenidxarythrrmaerk khxngolkhlayaehng exechiyimidepnephiyngthwipkhnadihyaelamiprachakreyxa aetyngmisthanthiaelakartngthinthanhnaaennmikhnadihy aetechnediywknthwipexechiykmibriewnthimiprachakrebabangdwy thngnithwipexechiymiprachakrraw 4 5 phnlankhn khidepn 60 khxngprachakrolkexechiyAsiaphunthi44 579 000 tr km xndbthi 1 1 prachakr4 462 676 731 khn ph s 2560 xndbthi 1 2 khwamhnaaenn87 546 khn tr km xndbthi 1 khaeriykphuxasychawexechiy Asian canwnpraeths49 praethscanwndinaedn6 dinaedn ekaakhristmas britichxinediynoxechiynethrrithxri maeka hmuekaaokhokhs aexokhrethiyriaeladiekheliy hxngkngcanwnrththiimichsmachik UN6 aehng nxrethirnisprs esathxxssiechiy ithwn nakxron kharabkh paelsitn xbhaesiyphasaduthi phasainthwipexechiyekhtewlaUTC 2 thung UTC 12xinethxrent TLD asiaemuxngihyraychuxemuxnginthwipexechiy otekiywcakartaedlioslesiyngihmanilamumibpkkingkwangocwoxsakathakakrungethphmhankhroklkatakaracietharanchngchingethiyncinechinecinechingtueyrusaelmaebkaeddhanxysingkhoprhxngkngaephnthidawethiymaesdngswnprakxbthangphumisastrkhxngthwipexechiy odythwipthangtawnxxkkhxngthwiptidkbmhasmuthraepsifik thangittidmhasmuthrxinediyaelathangehnuxtidkbmhasmuthrxarktik briewnchayaednrahwangexechiyaelayuorpmiprawtisastraelaokhrngsrangwthnthrrmmakmayephraaimmikaraeykkndwylksnathangphumisastrthichdecn cungmikaroykyaytidtxkninchwngsmykhlassik thaihbriewnnisamarthehnkhwamaetktangrahwangwthnthrrm phasa khwamaetktangthangchatiphnthukhxngtawnxxkkbtawntk aelaaebngcakknxyangednchdkwakarkhidesnaebng ekhtaednthiednchdkhxngexechiykhuxtngaetfngtawnxxkkhxngkhlxngsuexs aemnayurl ethuxkekhayurl chxngaekhbturki thangitkhxngethuxkekhakhxekhss thaeldaaelathaelaekhsepiyn 4 cinaelaxinediyepnpraethsthimiesrsthkicihythisudinolktngaetkhristskrachthi 1 thung 1800 cinepnpraethsthimixanacthangesrsthkicthisakhyaeladungdudphukhncanwnmakihipthangtawnxxk 5 6 7 8 aelatanan khwammngkhngaelakhwamrungeruxngkhxngwthnthrrmobrankhxngxinediyklayepnsylksnkhxngexechiy 9 singehlanicungdungdudkarkha karsarwcaelakarlaxananikhmkhxngchawyuorp karkhnphbesnthangkhamthaelmhasmuthraextaelntikodybngexiycakyuorpipxemrikakhxngokhlmbsinkhnathikalngkhnhaesnthangipyngxinediyaesdngihehnkhwamdungdudicehlani esnthangsayihmklayepnesnthangkarkhahlkkhxngfngtawnxxkkbfngtawntkinkhnathichxngaekhbmalakaklayepnesnthangedineruxthisakhy chwngstwrrsthi 20 khwamaekhngaerngkhxngprachakrexechiyaelaesrsthkic odyechphaaexechiytawnxxk etibotepnxyangmakaetkaretibotkhxng prachakrodyrwmldlngeruxy 10 exechiyepnaehlngkaenidkhxngsasnahlkbnolkhlaysasna xathisasnakhrist sasnaxislam sasnayudah sasnahindu phraphuththsasna lththikhngcux lththieta sasnaechn sasnasikkh sasnaosorxsetxraelasasnaxun xikmakmayenuxngcakexechiymikhnadihyaelamikhwamhlakhlaythangaenwkhid phuminamwithyakhxngexechiymitngaetsmykhlassiksungkhadwanacatngtamlksnaphukhnmakkwalksnathangkayphaph 11 exechiymikhwamaetktangknxyangmakthngdanphumiphakh klumchatiphnthu wthnthrrm sphaphaewdlxm esrsthsastr prawtisastraelarabbrthbal nxkcakniyngmisphaphxakasthiaetktangknxyangmak echn phunekhtrxnhruxthaelthrayintawnxxkklang phumixakasaebbxbxunthangtawnxxk phumixakasaebbkungxarktikthangtxnklangkhxngthwipaelaphumixakasaebbkhwolkinisbieriy enuxha 1 sphthmul 1 1 yukhobransmykhlassik 1 2 yukhsarid 2 phumisastrexechiy 3 thisudinthwipexechiy 4 karaebngphumiphakh 4 1 exechiyehnux 4 2 exechiyklang 4 3 exechiytawnxxk 4 4 exechiytawnxxkechiyngit 4 5 exechiyit 4 6 exechiytawntkechiyngit 5 prachakr 6 esrsthkic 6 1 exechiyklang 6 2 exechiytawnxxk 6 3 exechiytawnxxkechiyngit 6 4 exechiytawntkechiyngit 7 duephim 8 xangxingsphthmul aekikh exechiykhxngthxelmi Ptolemy edimthi khawa exechiy nnekidcakaenwkhwamkhidtxngkarsrangxarythrrmaebbtawntk 12 khawa exechiy inthanathiepnchuxsthanthinn aempraktinphasapccubnhlayphasahlayrupaebb aetkimpraktaehlngthimadngedimaenchd thngimpraktdwywaepnhruxmacakphasa latinaeplwadinaednthiaetktangsudaetethathithrab exechiy epnchuxthiekaaekmakthisudchuxhnungsungidrbkarbnthukexaiw aelamiphuesnxaenwkhidmakmayekiywkbsphthmulkhxngkhani yukhobransmykhlassik aekikh kha Asia inphasalatin aelakha Ἀsia inphasakriknnpraktwaepnkhaediywkn nkpraphnthchawormnaeplkhawa Ἀsia epn Asia aelachawormnexngtngchuxthxngthiaehnghnungsungpccubnxyuinthwipexechiyniwa Asia xnung khrngnnyngmidinaednthieriyk exechiynxy Asia Minor aela exechiyihy Asia Major khuxxirkinpccubn dwy enuxngcakhlkthanaerksudekiywkbchux exechiy niepnhlkthanphasakrik emuxwakntamphvtikarnaelw cungepnipidwa kha exechiy macakkha Ἀsia inphasakrik aetthima thiipekiywkbkarrbhruxthaythxdkhannyngkhnimphb ephraayngkhadbribththangphasa 13 ehrxodts Herodotus nkprawtisastraelaphumisastrchawkrik epnbukhkhlaerkthiichkha exechiy eriykthwip thngni imichephraawaekhapradisthkhanikhun aetephraakhxekhiyneruxng histxris Histories khxngekhaepnnganchinediywthibrryaythwipexechiyiwodylaexiydaelaehluxrxdmathungyukhpccubn ehrxodtsniyamkhawa exechiy exaiwxyangkhrbthwnkrabwnkhwam ekhaklawa ekhaidxanphlngankhxngnkphumisastrhlaykhnsungpccubnsabsuyipthngsinaelw phbwa chawkrikswnihythuxknwa chuxthwipexechiynnmacakchuxkhxngnanghiisoxni Hesione phriyakhxngphrxmiethiys Prometheus khnathichawliediythuxwa chuxthwipexechiymacakchuxecachayexesiys Asies oxrsaehngokhtis Cotys aelanddakhxngphraecaemnis Manes ehrxodtsaesdngkhwamehnaeyngwa chux exechiy macakchuxkhxngphraynanghnungsungepnethphipracaemuxngliediytamkhwaminethphpkrnmkrik aelaaesdngkhwamsngsyiwwa ehtuidcungexanamstrisamnang iptngepnnamphumiphakhsungaethcringaelwepnxnhnungxnediywkn klawkhux chuxnangyuorpa Europa sahrbyuorp nangexechiysahrbexechiy aelanangliebiy Libya sahrbaexfrika 14 khwamsngsykhangtnkhxngehrxodtsxacepnephiyngkaraesdngkhwamimehndwyhlngcakthiidxanwrrnkrrmkrikhlaytxhlaychbbaelaidsdbtrbfngthxykhakhxngkhnxun aetmiidhmaykhwamwa ekhaimthrabehtuphlthiexachuxstriephsiptngepnchuxsthanthi ephraatamsasnakrikobranaelw sthanthithngpwngmiethpharksepnstri aelasthanthixun hlayaehnginkhrngnnkexachuxstrimatng echn exethns Athens imsini Mycenae aelathibs Thebes yukhsarid aekikh kxnsmywrrnkrrmkhxngkrikkhangtn thxngthiaethbthaelxieciynnntkxyuinyukhmud odyinkhrngthierimyukhmudni phukhnidelikekhiynhnngsuxepnphyangkh aetkyngmiiderimichtwxksr aelanbkhunipkxnsmynnxiksungepnyukhsmvththi praktbnthukhlaychbbkhxngckrwrrdixssieriy ckwrrdihititht aelarthimsieniyhlay rthaehngckrwrrdikrik thiexythungphumiphakhsungidaekexechiyinpccubn bnthukehlaniepnexksarthangkaremuxngkarpkkhrxng immienuxhaechingwrrnkrrmaemaetnxybrrdarthimsieniynnthukklumbukhkhlklumhnungthalaycnlmcmipthngsinemuxraw 1200 pikxnkhristkal klumbukhkhldngklawcaepnphuidaethcringyngimthrab aetkmisankthangkhwamkhidsankhnungthuxsub knmacnbdniwa epnkarrukrankhxngchawdxris Dorian invasion karthihmuphrarachwngthukephlingephaphlaynnsngphlihehlabnthukthangkaremuxngkarpkkhrxngkhangtnsungcardwyxksrkriklngbnaephndinehniywthukxbepnaephnaekhng aephncarukehlanitxmaidrbkarthxdrhsodykhnaphusnickhnahnung sungrwmthungnkwithyakarekharhslbphueyawrayhnunginsmysngkhramolkkhrngthisxng khux imekhil ewnthris Michael Ventris phusungtxmaidrbkhwamchwyehluxcaknkwichakarcxhn chdwik John Chadwick inkarbukebikthxngthiaethbni nkobrankhdikharl eblekn Carl Blegen idphbkrusmbtikhnadihyaehnghnung n sakemuxngphilxs Pylos inkrunimibychiraychuxbukhkhlhyingchaycanwnmaksungthakhundwywithikartang hlayprakarhyingchaycanwnhnunginklumthipraktnaminbychikhangtnthukexatwlngepnthas aelathukichnganinkarkhakhay echn iheybpkthkrxy odyinewlathithukeknthma lukelkedkaedngkhxngphwkekhamkthuknaphamadwy khnthngnnthukeriykdwythxykhahyabchaephuxichbngbxkthungaehlngkaenidkhxngphwkekha echn mikarichwa aswiai aeplwa nangkhnexechiy women of Asia 15 khxni ebuxngtnmikartngkhxsngektwa phwkekhathukcbthukkhramacakexechiy aetemuxpraktwa bangkhnthukphamacakaehngxunkmi echn klumthieriyk imlaethiy Milatiai nnmacakxananikhmimelths Miletus khxngkrik chdwikcungtngsmmutithanwa bychiraychuxkhangtnrabuthungsthanthithikhnehlanithuksuxkhay makkwacaepnsthanthithiidtwma 16 khawa aswiai epnxitthilungkhsungepnphhuphcn swnxitthilungkhexkphcnkhux aswia sungichepnthngchuxpraethspraethshnungaelaepnkhaeriykstrikhxngpraethsnidwy aelapuruslungkhkhux aswios inkarni praktwa praeths Aswia khux snnibatxssuwa Assuwa league sungepnshphnthrthtngxyutxnklangkhxngckrwrrdiliediy hruxthangtawntkkhxngbriewnaexnaotheliy Anatolia hruxthieriykknwa exechiyormn Roman Asia khux praethsturkiinpccubn aelathukchawhitithtinrchsmyphraecathudhaliyathi 1 Tudhaliya I yudkhrxngemuxraw 1400 pikxnkhriskal cungmiphuesnxwa chuxthwipexechiyxacmacakchuxsnnibatdngklawkepnid 17 khxsnnisthanxikprakarhnungekiywkbthimathiipkhxngkhawa exechiy wa khanixacmacakkhainphasaaexkaekhd Akkadian wa w aṣu m mikhwamhmaywa xxkip go outside hrux khun ascend suxwa epnthisthangthidwngtawnkhunsufakfainphumiphakhtawnxxkklang nxkcakni yngepnipidwa khadngklawekiywenuxngkbkhainphasafiniechiy Phoenician wa asa sunghmaythung tawnxxk trngknkhamkbchuxthwipyuorpsungtngsmmutithanknwa macakkhainphasaaexkaekhdwa erebu m sunghmaykhwamwa ekhaip enter hrux lng set suxthungxakarthitawntkthi xar erd nkpraphnthchawxemrikn snbsnunkhxsnnisthanni ekhaklawwa kha exechiy inphasakriknntxngmacakkha asus inphasaxssieriythihmaykhwamwa tawnxxk epnaen trngknkhamkbkha yuorp thimacakkha ereb inphasaediywkn hmaythung tawntk 12 swnnkphasasastrdkls harepxr Douglas Harper bnthukwa exechiy macakphasalatinsungmacakphasakrik waknwamacakkha asu inphasaaexkaekhd aeplwa xxkip khun sungsuxthungdwngtawn chann exechiyaeplwa aednxathityxuthy the land of the sunrise 18 phumisastrexechiy aekikhdubthkhwamhlkthi phumisastrexechiythisudinthwipexechiy aekikhcudthisudinthwipexechiy sthanthi praeths thwip hmayehtucudehnuxsud aehlmechlyuskil praethsrsesiycuditsud ekaapamana praethsxinodniesiycudtawnxxksud aehlmedcnxwa praethsrsesiycudtawntksud aehlmbaba praethsturkiyxdekhathisungthisud yxdekhaexewxerst exechiyitaelaexechiytawnxxk tngxyubnethuxkekhahimalyaemnasayyawthisud aemnaaeyngsi praethscinekaathiihythisud ekaabxreniyw praethsxinodniesiy maelesiy aelabruinaexngnaihythisud aemnaxxb praethsrsesiythaelsabihythisud thaelaekhsepiyn exechiyklangaelaexechiytawntkechiyngitphiwnatathisud thaeleddsi praethsxisraexlaelacxraedn takwaradbnathaelpanklang 400 emtrphunaephndintathisud thaelsabibkhal isbieriy praethsrsesiy takwaradbnathaelpanklang 1 750 emtrprimannafnsungthisud rthxssm praethsxinediy 10 719 milliemtrtxpi epnkhxmulthisudinolkdwykaraebngphumiphakh aekikh xnuphumiphakhkhxngthwipexechiy exechiyehnux exechiyklang exechiytawntkechiyngit exechiyit exechiytawnxxk exechiytawnxxkechiyngit thwipexechiynxkcakcaepnxnuphumiphakhkhxngyuerechiy yngxacaebngxxkepnswnyxydngni exechiyehnux aekikh dubthkhwamhlkthi exechiyehnux aela praethsrsesiy nkphumisastrichkhaninxymak aetodypktihmaythungrsesiy eriykxikxyangwaisbieriy bangkhrngrwmthungpraethsthangtxnehnuxkhxngexechiydwy echn khaskhsthan exechiyklang aekikh dubthkhwamhlkthi exechiyklang aephnthikhxngexechiyklang exechiyklang epnphumiphakhthiekidkhunihmcakpraethstang thiaeyktwxxkcakshphaphosewiyt echphaathimiekhtaednxyuinthwipexechiy mikhnadphunthipraman 4 021 431 tarangkiolemtr aelamiprachakrpraman 61 551 945 khn kumphaphnth 2553 emuxepriybethiybkbphunthixnkwangihykhxngphumiphakh exechiyklangcungepnhnunginphumiphakhthimiprachakrxasyxyangebabangthisudaehnghnungkhxngolk echliythngphumiphakh 15 khntxtarangkiolemtr aelaehtuthipraethsphumiphakhexechiyklangimmithangxxksuthael karsngxxkaelakarkhakhxngexechiyklangcungphthnaxyangcha odypraethssngxxkhlkkhxngklumpraethsexechiyklang idaek rsesiy yuorptawnxxk aelaexechiytawntkechiyngit lksnaphumipraethskhxngexechiyklangepnaebbthirabsung aetcamithirablumbriewnthaelaekhsepiyn dansasna praethsswnihyinexechiyklangnbthuxsasnaxislamaelasasnakhrist thngchati praeths emuxnghlwng phunthi tr km prachakr ph s 2560 khaskhsthan nur sultn 2 724 900 17 987 736 etirkemnisthan xachkabt 488 100 5 662 544 xusebkisthan thachekhnt 447 400 31 446 795 khirkissthan bichekhk 194 500 5 955 734 thacikisthan duchaneb 143 100 8 734 951exechiytawnxxk aekikh dubthkhwamhlkthi exechiytawnxxk aephnthikhxngexechiytawnxxk exechiytawnxxk hrux exechiytawnxxkechiyngehnux miphunthipraman 11 640 000 tarangkiolemtr hruxrxyla 15 aela 20 khxngphunthithnghmdkhxngthwipexechiy nbepnphumiphakhyxysungmikhnadihythisudaelamiprachakrmakthisudinthwipexechiy praethsthimikhnadihythisud khux praethscin miphunthipraman 9 584 492 tarangkiolemtr exechiytawnxxkmiprachakrmakkwa 1 500 lankhn hruxpramanrxyla 40 khxngkhxngchawexechiythnghmd hruxpraman 1 in 4 khxngprachakrolkxasyxyuinphumiphakhexechiytawnxxk thaihphumiphakhniklayepnphumiphakhthimiprachakrxasyxyuhnaaennmakthisudaehnghnungkhxngolk xtrakhwamhnaaennkhxngprachakrinexechiytawnxxkxyuthi 230 khntxtarangkiolemtr sungepnxtrathisungkwaxtrakhwamhnaaennodyechliykhxngprachakrolkthung 5 etha praethsthimiprachakrmakthisud khux praethscin miprachakrpraman 1 322 044 605 hruxrxyla 85 khxngprachakrinphumiphakh swnpraethsthimikhwamhnaaennkhxngprachakrmakthisud khux ithwn khwamhnaaennechliy 626 7 khntxtarangkiolemtrnxkcakni exechiytawnxxkyngepnphumiphakhthiidchuxwaecriythisudinthwipexechiy ephraaepnphumiphakhediywthikarthaxutsahkrrmkawhnaipmak odyechphaayipun ekahliit cin aelaithwn swnpraethsmxngokeliyaelaekahliehnux xutsahkrrmyngimkhxyphthnank emuxngxutsahkrrmsakhykhxngexechiytawnxxk idaek otekiyw hiorachima nangasaki osl pusan pkking esiyngih ithep xinchxn ethiynsin hxngkng epntn thngchati praeths emuxnghlwng phunthi tr km prachakr ph s 2560 cin pkking 9 671 018 1 403 500 365 yipun otekiyw 377 944 127 748 513 ithwn ithep 36 191 23 556 706 ekahliehnux epiyngyang 120 540 25 368 620 ekahliit osl 100 140 50 791 919 mxngokeliy xulanbatar 1 564 116 3 027 398 hxngkng ekhtbriharphiesskhxng cin 1 104 7 302 843 maeka ekhtbriharphiesskhxng cin 29 612 167exechiytawnxxkechiyngit aekikh dubthkhwamhlkthi exechiytawnxxkechiyngit aephnthiexechiytawnxxkechiyngit exechiytawnxxkechiyngit hrux exechiyxakheny miphunthipraman 4 600 000 tarangkiolemtr prachakrpraman 593 000 000khn 2008 khwamhnaaennkhxngprachakrechliy 116 5 khntxtarangkiolemtr mithitngxyuthangtawnxxkechiyngitkhxngthwipexechiy prakxbdwypraeths 11 praeths lksnathaelthitngaebngepn 2 swn khux swnphakhphunthwipaelaphakhphunsmuthr swnphakhphunthwip idaek phma ithy ewiydnam law kmphucha aelamaelesiytawntk aelaphakhphunsmuthr idaek xinodniesiy filippins maelesiytawnxxk timxr elset bruin aelasingkhopr lksnaphumipraethsaebngepn 3 praephth idaek thirablumaemna thirablumaemnaxirwdi thirablumaemnaokhng thirablumaemnaaedng thirablumaemnaecaphraya thirabsung thirabsunginrthchan ethuxkekhaxarakn phunthiswnihykhxnglaw txnehnuxkhxngmaelesiytawntk aela ekhthmuekaa hmuekaaxinodniesiy hmuekaafilippins ekaasingkhopr okhrngsrangthangesrsthkickhxngexechiytawnxxkechiyngitswnihyepnaebbekstrkrrm ykewnsingkhopraelabruinsungmikarphthnaxutsahkrrmkawhnaipmak inkhnaediywknthukpraethskphthnaxutsahkrrmcnmikhwamkawhnaipmak echn ithy maelesiy ewiydnam aelaxinodniesiy inpccubn klumpraethsexechiytawnxxkechiyngitmikarrwmklumknepnsmakhmprachachatiaehngexechiytawnxxkechiyngit mikarrwmmuxknthangesrsthkic sngkhm aelawthnthrrm inexechiytawnxxkechiyngitmiemuxngihythisakhyhlayemuxng echn cakarta emuxngihythisudinphumiphakh krungethphmhankhr echiyngihm sngkhla ohciminhsiti hanxy putracaya kwlalmepxr singkhopr bndaresxriebxkawn phuekt epntn thngchati praeths emuxnghlwng phunthi tr km prachakr ph s 2560 xinodniesiy cakarta 1 904 569 261 115 456 phma enpyidx 678 000 52 885 223 ithy krungethphmhankhr 514 000 68 863 514 ewiydnam hanxy 337 912 94 569 072 maelesiy kwlalmepxr 329 758 31 187 265 filippins manila 300 000 103 320 222 law ewiyngcnthn 236 800 6 758 353 kmphucha phnmepy 181 035 15 762 370 bruin bndaresxriebxkawn 5 765 423 196 singkhopr singkhopr 712 5 622 455 timxr elset dili 15 010 1 268 671exechiyit aekikh dubthkhwamhlkthi exechiyit aela xnuthwipxinediy aephnthiexechiyit exechiyit hrux chmphuthwip hrux xnuthwip epnthwipthixyuthangitkhxngthwipexechiy epntnkaenidphuththsasnaaelasasnaphrahmn hindu exechiyitmiphunthipraman 5 180 000 tarangkiolemtr hruxrxyla 10 khxngthwipexechiy phumiphakhniyngepnphumiphakhthimiprachakrmakthisudxikaehnghnungkhxngolk micanwnprachakrkwa 1 phnlankhnxasyxyuinphumiphakhni sungkhidepriybethiybepnsdswnethakb 1 in 3 khxngchawexechiythnghmd hrux 1 in 5 khxngprachakrolk xtrakhwamhnaaennkhxngprachakrethakb 305 khntxphunthi 1 tarangkiolemtr khidepnsdswnthisungkwaxtrakhwamhnaaennodyechliykhxngprachakrolkthung 7 etha praethsthimiprachakrmakthisud khux praethsxinediy 1 198 003 000 khn lksnaphumipraethskhxngexechiyitswnihyepnthirabsung echnthirabsungedkkninpraethsxinediy aelayngmithirablumaemnathimiprachakrxasyxyuxyanghnaaenn idaek thirablumaemnakhngkha inpraethsxinediy thirablumaemnasinthu inpraethspakisthan aelathirablumaemnaphrhmbutr inpraethsbngklaeths thangtxnehnuxkhxngexechiyittidkbthirabsungthiebtaelaethuxkekhahimaly thaihmixakashnaweyndanesrsthkic thukpraethsyngmiokhrngsrangswnihyepnekstrkrrm xutsahkrrmyngimphthnamaknk miephiyngxinediychatiediywthiphthnaxutsahkrrmidecriyrungeruxng ephraaidrbkarchwyehluxcakpraethsxutsahkrrmchnnakhxngexechiy khux yipun ekahliit aelaithwn nxkcakni phasathiichinexechiyitmimakthung 800 phasa aetphasaklangcaichphasaxngkvsinkarsuxsar emuxngthiihythisudkhxngexechiyit khux mumib sungepnemuxngthathangtawntkkhxngpraethsxinediy thngchati praeths emuxnghlwng phunthi tr km prachakr ph s 2560 xinediy niwedli 3 287 240 1 324 171 354 pakisthan xislamabad 803 940 193 203 476 xfkanisthan khabul 647 500 34 656 032 bngklaeths thaka 147 570 162 951 560 enpal kathmanthu 147 181 28 982 771 srilngka srichywrrthnpuraoktet 65 610 20 798 492 phutan thimphu 48 394 797 765 mldifs mael 300 427 756exechiytawntkechiyngit aekikh dubthkhwamhlkthi exechiytawntkechiyngit aela tawnxxkklang exechiytawntkechiyngit exechiytawntkechiyngit hrux tawnxxkklang hrux exechiytawntk miphunthipraman 6 835 434 tarangkiolemtr epndinaednthipkkhlumipdwythaelthrayaehngaelngkwangihy inphumiphakhniyngmiaemnasaysakhythiepnaehlngxarythrrmolk khux aemnaithkris yuefrthisinpraethsxirk epnbriewnthimikarthakarekstriddithisud dwylksnathangkayphaphswnihyepnthaelthray dinaednaethbnicungxudmipdwythrphyakrnamn thaihnamnklayepnsinkhasngxxkhlkkhxngpraethsinaethbni xyangirktam exechiytawntkechiyngityngihkaenidsasnathisakhy echn sasnakhrist sasnayuday aelasasnaxislam thungaemwadinaednaethbnicaaehngaelng aetepncudyuththsastrthisakhyxikaehnghnung ephraamixanaekhttidtxkbthwipaexfrikathangdantawntk aelathwipyuorpthangtawntkechiyngehnuxaelathisehnux lksnaphumipraethskhxngexechiytawntkechiyngit milksnaswnihyepnthirabsung echn thirabsungxihranaelathirabsungxanaoteliy nxkcakni yngmibriewnthiepnkhabsmuthrthisakhy khux khabsmuthrxahrblksnathangesrsthkickhxngphumiphakhni khux xutsahkrrmnamn odyechphaapraethssaxudixaraebiy epnpraethsthiminamnsarxngmakthisudinolk praethsthimikhwamecriythangdanxutsahkrrmmakthisudinphumiphakhni khux turkiturki isprs xarmieniy cxreciy xisraexl paelsitn aelaxaesxribcan xacthukcdihxyuinthwipyuorpinbangkhrng enuxngcakmilksnathangwthnthrrmcakthwipyuorpmakkwathwipexechiy thngchati praeths emuxnghlwng phunthi tr km prachakr ph s 2560 saxudixaraebiy riyad 1 960 582 32 275 687 xihran etharan 1 648 195 80 277 428 turki xngkara 783 562 79 512 426 eyemn sana 527 090 27 584 213 xirk aebkaedd 438 317 37 202 572 oxman mskt 236 800 2 569 804 sieriy damsks 185 180 18 430 453 cxraedn xmman 89 342 9 455 802 xaesxribcan baku 86 600 9 725 376 shrthxahrbexmierts xabudabi 82 880 9 269 612 cxreciy thbilisi 69 700 3 925 405 xarmieniy eyerwan 29 743 2 924 816 xisraexl eyrusaelm 20 770 8 191 828 khuewt khuewtsiti 17 820 4 052 584 katar odha 11 437 2 569 804 elbanxn ebrut 10 452 6 006 668 isprs niokhesiy 9 251 1 170 125 paelsitn rxmllxh 6 220 4 790 705 bahern manama 665 1 425 171prachakr aekikhprachakrkhxngexechiymiprachakrrxyla 60 khxngprachakrolk thwipexechiyprakxbdwyhlayephaphnthu caaenktamechuxchatiiddngni ephaphnthumxngoklxyd aebngidepn 2 phwk phwkmxngoklxydehnux epnphwkphiwehluxngaelaepnprachakrswnmakkhxngthwipexechiy xasytamthangexechiyehnuxaelathangexechiytawnxxk echn cin yipun mxngokeliy ekahli epntn phwkmxngoklxydit epnphwkphiwehluxngxasyxyutamthangtxnexechiyitaelaexechiytawnxxkechiyngit echn ithy phma law ewiydnam xinodniesiy maelesiy epntn ephaphnthukhxekhsxyd epnphwkphiwkhaw ruprangsungihyehmuxnchawthwipyuorp aettaaelaphmsiekhmkwa xasyxyuinekhtexechiytawntkechiyngit aelathangphakhehnuxkhxngpakisthanaelaxinediy echn chnchatixahrb pakisthan enpal aelabangswnkhxngchawxinediy ephaphnthunikrxyd epnphwkphiwda miruprangelk phmhyik echn bangswnkhxngxinediy srilngka aelahmuekaatang inexechiytawnxxkechiyngitesrsthkic aekikhtarangaesdngpraethsthimikhnadesrsthkichruxcidiphimakthisudinthwipexechiy 10 xndbaerk1duephimetimthi raychuxpraethstamkhacidiphi xndb exechiy praeths khacidiphi lan pi 2010 xndb olk 1 cin 11 383 030 22 yipun 4 412 600 33 xinediy 2 288 720 74 ekahliit 1 321 200 115 xinodniesiy 936 955 167 saxudixaraebiy 618 274 208 ithwn 508 849 239 ithy 409 724 2710 xihran 386 120 281 khxmulody IMFtarangaesdngpraethsinthwipexechiythimicidiphitxhwmakthisud 10 xndbaerk 2duephimetimthi raychuxpraethstamkhacidiphitxhw xndb exechiy praeths khacidiphitxhw pi 2009 xndb olk 1 katar 68 872 32 shrthxahrbexmierts 46 857 83 yipun 39 731 174 singkhopr 37 293 205 khuewt 31 482 24 hxngkng cin 29 826 rahwang 24 256 xisraexl 26 797 288 bruin 26 325 299 bahern 19 455 3310 oxman 18 013 362 khxmulody IMFexechiyklang aekikh ekstrkrrm phunthisungmikarekstrkrrmhnaaennkhuxbriewnhubekhalumaemnafngtawnxxk echn hubekhaefiyrkana mikarplukthyphuchaelaphlimtang echn phich aetngom aexphrikhxt kareliyngstwkthuxepnxachiphsakhy odyeliyngaepha aeka aelaww irfaykhnadihykepnsinkhasngxxkthisakhy mixyuinphunthisungidrbkarchlprathancakaemnaxamudaryaxutsahkrrm praethsswnihyinexechiyklangyngkhngyakcn ephraaimmichayfngthael esrsthkicswnihycungtxngphungphaekstrkrrmphanichykrrm khukhasakhy exechiytawnxxk aekikh ekstrkrrmswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidxutsahkrrm krungotekiywepnsunyklangxutsahkrrmkhxngyipun phumiphakhexechiytawnxxkmikarphthnaxutsahkrrmkawhnaipmak ykewnpraethsmxngokeliyaelaekahliehnuxthixutsahkrrmyngimphthnamaknk sungidrbkaryxmrbcaktladolkxyangkwangkhwang srupiddngnixutsahkrrminyipunpraethsyipunepnpraethsxutsahkrrmchnnakhxngolk mikarsngxxksinkhaxutsahkrrmmakepnxndb 2 khxngolkrxngcakshrthxemrika aelaepnxndb 1 khxngthwipexechiy mikarphlitthngxutsahkrrmkhnadhnkaelaxutsahkrrmkhnadeba echn kartxerux karphlitrthynt ekhruxngichiffa ehlkaelaehlkkla khxmphiwetxr epntn emuxngxutsahkrrmkhxngyipun idaek otekiyw hiorachima oxasaka naongaya nangasaki oyaokahama epntn xutsahkrrminekahliitpraethsekahliit mikarphthnaxutsahkrrmrwderwmakcnklayepnpraethsthisngxxksinkhaxutsahkrrmmakepnxndb 2 khxngexechiy rxngcakyipun xutsahkrrmkhxngekahliit idaek kartxerux ekhmiphnth ekhruxngichiffa epntn emuxngxutsahkrrmkhxngekahliit swnihyxyuthangtxnklangaelatxnlangkhxngpraeths echn osl pusan xutsahkrrmincinpraethscin samarthphthnaxutsahkrrmidrwderwechnkn enuxngcakwtthudibmimak khacangaerngnganta aelanoybaykhxngrthbalthiechiyychwnchawtangchatiihekhamalngthun xutsahkrrmthisakhy idaek xawuthsngkhram karthxpha rthbrrthuk l emuxngxutsahkrrmkhxngpraethscin idaek pkking ethiynsin hxngkng esiyngih epntn xutsahkrrminithwnxutsahkrrmkhxngithwn swnihyepnxutsahkrrmebaaelakaraeprrupphlitphnththangkarekstr echn xaharsaercrup xaharkrapxng khxngelnedk emuxnghlkkhxngxutsahkrrmithwn khux ithep phanichykrrm krungotekiywkhxngpraethsyipunaelaekhtbriharphiesshxngkngkhxngpraethscin epnsunyklangthangkarkhathisakhyxikaehnghnungkhxngolk sungsinkhathisngxxkswnihyepnsinkhaxutsahkrrmkarpramngkarpramngnacud praethscinepnphunainkarephaaeliyngplanacud odymiaehlngpramngthisakhyxyuthiaemnaaeyngsiaelamnthlkwangtung karpramngnaekhm praethsyipunepnchatithimikarthapramngthangthaelmakthisudinolk mieruxpramngthithnsmyaelamikhnadihy mixupkrnaelaethkhonolyikawhna aehlngsakhyxyuthi khurilaebngk thangehnuxkhxngekaahkikod karthapaim karthaxutsahkrrmpaiminpraethscin mikarthapaiminphakhehnuxkhxngpraeths aethbmnthlehyhlngeciyngaelamnthleschwn karthaxutsahkrrmpaiminpraethsyipun epnpraethsediywinexechiytawnxxkthimikarphthnakarthapaimipmak exechiytawnxxkechiyngit aekikh ekstrkrrm aebngxxkepn 2 chnidkarephaaplukephuxyngchiph epnkarephaaplukaebbdngedim xasyfntamthrrmchati ichkhwamruhruxethkhonolyimachwyimmaknk echn karephaaplukinpraethsphma law kmphucha timxr elset epntn karephaaplukephuxkarkha epnkarphlitephuxbriophkhphayinpraethsaelaepnsinkhasngxxksutladolk sungexechiytawnxxkechiyngit epnphumiphakhthisamarthsngxxksinkhaekstrkrrmidmak odyechphaakhaw praethsthiplukkhawmak idaek praethsithy ewiydnam xinodniesiy epntn karthaehmuxngaer aerthatuhlaychnid idaek dibuk namn kasthrrmchati odypraethsmaelesiy epnpraethsthisngxxkdibukmakthisudinexechiytawnxxkechiyngitaelamakthisudinolk aelanamnkepnsinkhasngxxkkhxnghlay praeths echn maelesiy singkhopr ewiydnam bruin aelaxinodniesiy nxkcakniyngphbkasthrrmchatimakinxawithyinpraethsithyaelaxawemaatamainpraethsphmaxutsahkrrm praethssingkhoprepnemuxngthathisakhythisudkhxngexechiytawnxxkechiyngit inexechiytawnxxkechiyngityngimecriykawhnathangxutsahkrrmethathikhwr enuxngcakkhadaekhlnenginthun aelakhwamruthangethkhonolyi ykewnsingkhoprsungxutsahkrrmidphthnakawhnaipmak prakxbkbprachachnswnihykhxngexechiytawnxxkechiyngityngkhngprakxbxachiphekstrkrrm xachiphxutsahkrrmcungyngimphthnaethathikhwrphanichykrrm cakartaemuxngthimiprachakrxasyxyumakthisudinexechiytawnxxkechiyngit exechiytawnxxkechiyngit epnaehlngkarkhasakhyxikaehnghnung xnenuxngmacak karkhyaytwthangesrsthkickhxnghlaypraethsinphumiphakh aelainphumiphakhkyngmisinkhathiepnthitxngkarkhxngtladolk echn yangphara dibuk namnpalm khawophd khaweca lemuxngthiepnsunyklangkhxngphanichykrrmkhxngphumiphakhni khux singkhopr kwlalmepxr krungethphmhankhr aelacakarta epntn karpramng sphawathangthrrmchatithwipkhxngexechiytawnxxkechiyngitepnaehlngthixudmdwystwna thngaehlngnacud naekhm aelanakrxy karpramngcungepnxachiphsakhykhxngprachakrinexechiytawnxxkechiyngitxikxachiphhnung odyechphaaphuthixasyxyurimchayfngthaelinpccubn thukpraethsidkhyaynannaesrsthkiccaephaacak 12 imlthael epn 200 imlthael thaihcbstwnaidmakkhun aetkarcbstwnainprimanthimakekinipxacthaihesiysmdulthangthrrmchati inpccubn praethsithyepnpraethsthicbplaidmakepnxndb 1 khxngexechiytawnxxkechiyngit rxnglngma khux xinodniesiyaelamaelesiy tamladb karthapaim praethsthimiphlphlitcakpaim idaek praethsmaelesiyaelaphma enuxngcakmipaimthixudmsmburnexechiytawntkechiyngit aekikh ekstrkrrm swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid xutsahkrrm swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid phanichykrrm swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid karpramng swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid khukhasakhy swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidduephim aekikhexechiynekms karaekhngkhnkilarahwangpraethsinthwipexechiy exechiynkhph karaekhngkhnfutbxlrahwangpraethsinexechiyxangxing aekikh National Geographic Family Reference Atlas of the World Washington DC National Geographic Society U S 2006 p 264 karpraeminprachakrolk ph s 2560 ESA UN org custom data acquired via website United Nations Department of Economic and Social Affairs Population Division subkhnemux 10 September 2017 The World at Six Billion UN Population Division khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux March 5 2016 Table 2 National Geographic Atlas of the World 7th ed Washington DC National Geographic 1999 ISBN 978 0 7922 7528 2 Europe pp 68 69 Asia pp 90 91 A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains Ural River Caspian Sea Caucasus Mountains and the Black Sea with its outlets the Bosporus and Dardanelles Professor M D Nalapat Ensuring China s Peaceful Rise khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 10 January 2010 subkhnemux January 22 2016 Dahlman Carl J Aubert Jean Eric China and the Knowledge Economy Seizing the 21st Century WBI Development Studies World Bank Publications Accessed January 22 2016 Eric ed gov khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 4 minakhm 2008 subkhnemux 9 phvscikayn 2017 The Real Great Leap Forward The Economist Sept 30 2004 The Economist khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 27 thnwakhm 2016 1 lingkesiy 2 Archived 20 phvscikayn 2008 thi ewyaebkaemchchin Like herrings in a barrel The Economist The Economist online The Economist Group Millennium issue Population 23 thnwakhm 1999 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 4 mkrakhm 2010 Asia AccessScience McGraw Hill khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 27 November 2011 subkhnemux 26 July 2011 12 0 12 1 Reid T R Confucius Lives Next Door What living in the East teaches us about living in the west Vintage Books 1999 Henry George Liddell 2007 1940 Ἀsia A Greek English Lexicon Medford Perseus Digital Library Tufts University Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Asie Encyclopedia Greek Gods Spirits Monsters Theoi Greek Mythology Exploring Mythology in Classical Literature and Art 2000 2011 CS1 maint date format link Ventris amp Chadwick 1973 p 536 Ventris amp Chadwick 1973 p 410 Bossert Helmut T Asia Istanbul 1946 Asia from L from Gk Asia speculated to be from Akkad asu to go out to rise in reference to the sun thus the land of the sunrise Asia Online Etymology Dictionary Douglas Harper Historian 03 Feb 2013 lt Dictionary com http dictionary reference com browse Asia gt ekhathungcak https th wikipedia org w index php title thwipexechiy amp oldid 9569471, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม