fbpx
วิกิพีเดีย

ไดโนเสาร์

สำหรับภาพยนตร์การ์ตูนของ วอลต์ ดีสนีย์ ดู ไดโนเสาร์ (ภาพยนตร์)
ไดโนเสาร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย–ปัจจุบัน, 233.23 – 0 Mya (รวมถึงนก)
(อาจย้อนไปถึงยุคไทรแอสซิกตอนกลาง)
โครงกระดูกของไดโนเสาร์ประเภทพันธุ์ต่าง ๆ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: แอนิมอเลีย
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ไฟลัมย่อย: สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
ชั้นย่อย: Diapsida
ชั้นฐาน: Archosauromorpha
อันดับใหญ่: Dinosauria
Owen, 1842
กลุ่มหลัก

ไดโนเสาร์ (อังกฤษ: dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก

คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน)

หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น

แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง

ประวัติการค้นพบ

มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบัน

สองปีต่อมา วิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา

จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนเสาร์ เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อแสดงซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน

ลักษณะทางชีววิทยา

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ซึ่งพวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกับ งู จระเข้ หรือ เต่า กระเพาะอาหารของไดโนเสาร์กินพืช มักมีขนาดใหญ่แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเซลลูโลสของพืชทำให้บางครั้งมันจึงต้องกลืนก้อนหินไปช่วยย่อย ส่วนไดโนเสาร์กินเนื้อจะย่อยอาหาร ได้เร็วกว่า แต่กระนั้น ข้อมุลของไดโนเสาร์ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก เนื่องจากไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปหมดเหลือเพียงซากดึกดำบรรพ์ ดังนั้น นักบรรพชีวินวิทยาจึงต้องใช้ซากฟอสซิลนี้ในการสันนิษฐานของ ข้อมูลต่าง ๆ พฤติกรรม การล่าเหยื่อ และการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไรนัก

วิวัฒนาการ

บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราว ๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction event|Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

สายพันธุ์ไดโนเสาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนเสาร์ (ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรคือไดโนเสาร์ จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนเสาร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่าง ๆของไดโนเสาร์

มหายุคมีโซโซอิก (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุคไทรแอสซิก ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส ในยุคไทรแอสซิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง ไดโนเสาร์ตัวแรกได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิดขึ้นมาจะมีขนาดเล็ก เดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมาในยุคจูแรสซิกนี้จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืชเป็นอาหาร และนกยังได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในยุคนี้อีกด้วย ต่อมาในยุคครีเทเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย

ยุคของไดโนเสาร์

ยุคไทรแอสซิก การครอบครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไทรแอสซิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไทรแอสซิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไทรแอสซิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด

ยุคจูแรสซิก ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไทรแอสซิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูแรสซิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์น อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใหม่ของพวกพืช ยุคจูแรสซิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด (Sauropod) ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวาง ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพโทซอรัส (Apatosaurus) หรืออีกชื่อคือบรอนโทซอรัส นอกจากนี้ยังมีชนิดอื่น ๆ อีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology) เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อย เพราะหางที่ยาวและมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้องมีคอยาวเพื่อสร้างสมดุลของสรีระของมัน

ยุคครีเทเชียส ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสซิก สัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่สหรัฐอเมริกาก็มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนเสาร์ได้แก่ พวกพลีสิโอซอร์เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และอาเครอนเป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเทเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์ หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก

การจัดจำแนก

ไดโนเสาร์ถูกแบ่งออกเป็นสองอันดับใหญ่ ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน คือ Saurischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ซอริสเชียน) ซึ่งมีลักษณะกระดูกเชิงกรานแบบสัตว์เลื้อยคลาน มีทั้งพวกกินพืชและกินสัตว์ และ :en:Ornithischia|Ornithischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ออร์นิทิสเชียน) มีกระดูกเชิงกรานแบบนกและเป็นพวกกินพืชทั้งหมด

  • ไดโนเสาร์สะโพกสัตว์เลื้อยคลาน หรือ ซอริสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกสัตว์พวกกิ้งก่า) เป็นไดโนเสาร์ที่คงโครงสร้างของกระดูกเชิงกรานตามบรรพบุรุษ ซอริสเชียนรวมไปถึงไดโนเสาร์เทอโรพอด (theropod) (ไดโนเสาร์กินเนื้อเดินสองขา) และซอโรพอด (sauropod) (ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว)
  • ไดโนเสาร์สะโพกนก หรือ ออร์นิทิสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกนก) เป็นไดโนเสาร์อีกอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เดินสี่ขา และกินพืช

ไดโนเสาร์ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

 
โครงกระดูกไดโนสาร์ทีเร็กซู ขณะจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ที่ชิคาโก
 
โครงกระดูกไดโนสาร์ทีเร็กซู ขณะจัดแสดงที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่คลอง 5 ปทุมธานี

แม้ว่ายุคสมัยของไดโนเสาร์สิ้นสุดลงเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแล้ว แต่ปัจจุบันไดโนเสาร์ยังคงปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ นิยายหลายเล่มมีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ เช่น เพชรพระอุมา ของ พนมเทียน, เดอะลอสต์เวิลด์ (:en:The Lost World (Arthur Conan Doyle)|The Lost World) ของ เซอร์ อาเทอร์ โคแนน ดอยล์, และ "จูราสสิค พาร์ค" (ซึ่งถ้าสะกดตามหลักการถ่ายคำต้องสะกดเป็น จูแรสซิกพาร์ก) ของ ไมเคิล ไครช์ตัน (Michael Crichton) ไม่เพียงแต่ในหนังสือนิยายเท่านั้น การ์ตูนสำหรับเด็กก็มีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ด้วยเช่นกัน เช่นในเรื่อง มนุษย์หินฟลินท์สโตน (The Flintstones) โดราเอมอน ตำรวจกาลเวลาและก๊องส์

นอกจากนี้ ไดโนเสาร์ยังได้ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น คิงคอง (ปี ค.ศ. 1933) และ จูราสสิค พาร์ค (ปี ค.ศ. 1993) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องหลังนี้ดัดแปลงมาจากนิยายของ ไมเคิล ไครช์ตัน และประสบความสำเร็จอย่างสูง เป็นการปลุกกระแสไดโนเสาร์ให้คนทั่วไปหันมาสนใจกันมากขึ้น ในปีค.ศ. 2000 Walt Disney ได้นำไดโนเสาร์มาสร้างเป็น ภาพยนตร์แอนิเมชัน ชื่อเรื่องว่า Dinosaur

ในปี 2549 มีภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาบให้กลับมีชีวิตขึ้นมาในตอนกลางคืน มีตัวเอกตัวหนึ่งเป็นไดโนเสาร์ชื่อซู (Sue) ซึ่งเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเร็กที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.8 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก

ระหว่าง 23 กรกฎาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช) ได้นำโครงกระดูกของซู มาจัดแสดงร่วมกับไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง 5 ปทุมธานี

ในประเทศไทย ไดโนเสาร์ได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำจังหวัดของจังหวัดขอนแก่น ส่วนในภาษาไทยนั้น ไดโนเสาร์มีความหมายนัยประวัติสำหรับใช้เรียกคนหัวโบราณ ล้าสมัย และน่าจะสูญพันธุ์ไปตั้งนานแล้ว บ้างก็ใช้ว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี

อ้างอิง

  1. Ferigolo, Jorge; Langer, Max C. (2007-01-01). "A Late Triassic dinosauriform from south Brazil and the origin of the ornithischian predentary bone". Historical Biology. 19 (1): 23–33. doi:10.1080/08912960600845767. ISSN 0891-2963. S2CID 85819339.
  2. Langer, Max C.; Ferigolo, Jorge (2013-01-01). "The Late Triassic dinosauromorph Sacisaurus agudoensis (Caturrita Formation; Rio Grande do Sul, Brazil): anatomy and affinities". Geological Society, London, Special Publications (ภาษาอังกฤษ). 379 (1): 353–392. doi:10.1144/SP379.16. ISSN 0305-8719. S2CID 131414332.
  3. Cabreira, S.F.; Kellner, A.W.A.; Dias-da-Silva, S.; da Silva, L.R.; Bronzati, M.; de Almeida Marsola, J.C.; Müller, R.T.; de Souza Bittencourt, J.; Batista, B.J.; Raugust, T.; Carrilho, R.; Brodt, A.; Langer, M.C. (2016). "A Unique Late Triassic Dinosauromorph Assemblage Reveals Dinosaur Ancestral Anatomy and Diet". Current Biology. 26 (22): 3090–3095. doi:10.1016/j.cub.2016.09.040. PMID 27839975.
  4. Müller, Rodrigo Temp; Garcia, Maurício Silva (2020-08-26). "A paraphyletic 'Silesauridae' as an alternative hypothesis for the initial radiation of ornithischian dinosaurs". Biology Letters. 16 (8): 20200417. doi:10.1098/rsbl.2020.0417. PMC 7480155. PMID 32842895. Unknown parameter |pmc-embargo-date= ignored (help)
  5. Matthew G. Baron; Megan E. Williams (2018). "A re-evaluation of the enigmatic dinosauriform Caseosaurus crosbyensis from the Late Triassic of Texas, USA and its implications for early dinosaur evolution". Acta Palaeontologica Polonica. 63. doi:10.4202/app.00372.2017.
  6. Andrea Cau (2018). "The assembly of the avian body plan: a 160-million-year long process" (PDF). Bollettino della Società Paleontologica Italiana. 57 (1): 1–25. doi:10.4435/BSPI.2018.01.
  7. ไดโนเสาร์ (ตอนที่ 1) สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  8. ไดโนเสาร์ (ตอนที่ 3) สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  9. เว็บไซต์นิทรรศการไดโนเสาร์ ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ไดโนเสาร, งก, ามภาษา, ในบทความน, ไว, ให, านและผ, วมแก, ไขบทความศ, กษาเพ, มเต, มโดยสะดวก, เน, องจากว, เด, ยภาษาไทยย, งไม, บทความด, งกล, าว, กระน, ควรร, บสร, างเป, นบทความโดยเร, วท, ดบทความน, องการตรวจสอบความถ, กต, องจากผ, เช, ยวชาญ, โปรดด, รายละเอ, ยดเพ, มเต, ม. lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisudbthkhwamnitxngkartrwcsxbkhwamthuktxngcakphuechiywchay oprdduraylaexiydephimetiminhnaxphipray hakkhunmikhwamruekiywkberuxngni khunsamarthchwyprbprungenuxhaidthnthi odykarkdpum aekikh danbn sungemuxtrwcsxbaelaaekikhaelwihnapaynixxksahrbphaphyntrkartunkhxng wxlt disniy du idonesar phaphyntr idonesarchwngewlathimichiwitxyu yukhithraexssiktxnplay pccubn 233 23 0 Mya rwmthungnk PreYe Ye O S D C P T J K Pg N xacyxnipthungyukhithraexssiktxnklang okhrngkradukkhxngidonesarpraephthphnthutang sthanakarxnurkssuyphnthu IUCN 3 1 karcaaenkchnthangwithyasastrxanackr aexnimxeliyiflm stwmiaeknsnhlngiflmyxy stwmikraduksnhlngchn stweluxykhlanchnyxy Diapsidachnthan Archosauromorphaxndbihy Dinosauria Owen 1842klumhlk Silesauridae paraphyletic 1 2 3 4 Herrerasauridae 5 6 Sauropodomorpha Theropoda Ornithischia idonesar xngkvs dinosaur epnchuxeriykodyrwmkhxngstwdukdabrrphinxndbihy Dinosauria sungekhykhrxngrabbniewsbnphunphiphph inmhayukhmiososxik epnewlananthung 165 lanpi kxncasuyphnthu ipemux 65 lanpithiaelw khnswnihyekhaicwaidonesarepnstweluxykhlan aetxnthicringidonesarepnstwinxndbhnungthimilksnakakungrahwangstweluxykhlanaelankkhawa idonesar inphasaxngkvs dinosaur thuktngkhunody esxr richard oxewn nkbrrphchiwinwithya chawxngkvs sungepnkarphsmkhxngkhainphasakriksxngkha khuxkhawa deinos deinos ihycnnasaphrungklw aelakhawa sauros sayra stweluxykhlan hlaykhnekhaicphidwa idonesar khuxstwthixasyxyuinmhayukhmiososxikthnghmd aetcring aelw idonesar khuxstwchnidhnungthixasyxyubnphundinethann stwbkbangchnidthikhlayidonesar stwnaaelastwpikthimilksnakhlayidonesar imthuxwaepnidonesar epnephiyngstwchnidthixasyxyuinyukhediywkbidonesarethannaemwaidonesarcasuyphnthuipnanhlaylanpiaelw aetkhawaidonesarkyngepnthiruckknxyangaephrhlay thngnixacepnephraaidonesarnnnbwaepnstwchnidhnung thietmipdwyprisnaaelakhwamnaxscrryepnxnmaknnexng enuxha 1 prawtikarkhnphb 2 lksnathangchiwwithya 3 wiwthnakar 4 yukhkhxngidonesar 5 karcdcaaenk 6 idonesarinwthnthrrmsmyniym 7 xangxing 8 duephim 9 aehlngkhxmulxunprawtikarkhnphbmnusykhnphbsakdukdabrrphidonesarmaepnewlanbphnpiaelw aetyngimmiphuidekhaicxyangthxngaethwaesssakehlaniepnkhxngstwchnidid aelaphaknkhadedaiptang nana chawcinmikhwamkhidwanikhuxkradukkhxngmngkr khnathichawyuorpechuxwaniepnsinghlngehluxkhxngstwthisuyphnthuipemuxkhrngekidnathwmolkkhrngihy cnkrathngemuxmikarkhnphbsakdukdabrrphinpi kh s 1822 ody kiediyn aemnethl nkthrniwithyachawxngkvs idonesarchnidaerkkhxngolkcungidthuktngchuxkhunwa xikwondxn enuxngcaksakdukdabrrphnimilksnalamaykhlaykhlungkbokhrngkradukkhxngtwxikwnainpccubnsxngpitxma wileliym bkaelnd William Buckland sastracarydanthrniwithya pracamhawithyalyxxksfxrd kidepnkhnaerkthitiphimphkhxekhiynxthibayekiywkbidonesarinwarsarthangwithyasastr odyepnidonesarchnid emkaolsxrs bkaelndi Megalosaurus bucklandii aelakarsuksasakdukdabrrrphkhxngstwphwkkingka khnadihynikidrbkhwamniymephimkhuneruxy caknkwithyasastrthnginyuorpaelaxemrikacaknninpi kh s 1842 esxr richard oxewn ehnwasakdukdabrrphkhnadihythithukkhnphbmilksnahlayxyangrwmkn cungidbyytikhawa idonesar 7 ephuxcdihstwehlanixyuinklumxnukrmwithanediywkn nxkcakni esxrrichard oxewn yngidcdtngphiphithphnthprawtisastrthrrmchati khun thiesathekhnsingtn krunglxndxn ephuxaesdngsakdukdabrrphidonesar rwmthnghlkthanthangthrniwithyaaelachiwwithyaxun thithukkhnphb odyidrbkarsnbsnuncakecachayxlebirtaehngaesks okhebirk oktha Prince Albert of Saxe Coburg Gotha phraswamikhxngsmedcphrabrmrachininathwiktxeriyaehngshrachxanackrcaknnma kidmikarkhnhasakdukdabrrphidonesarinthukthwipthwolk rwmthngthwipaexntarktika thukwnnimikhnasarwcsakdukdabrrphidonesarxyumakmay thaihmikarkhnphbidonesarchnidihmephimkhunxikepncanwnmak pramanwamikarkhnphbidonesarchnidihmephimkhinhnungchnidinthukspdah odythaelthxngintxnnixyuthithangtxnitkhxngthwipxemrikait odyechphaapraethsxarecntina aelapraethscinlksnathangchiwwithyaidonesarepnstweluxykhlankhnadykssungphwkmnmiphiwhnngthipkkhlumepnekldechnediywkb ngu craekh hrux eta kraephaaxaharkhxngidonesarkinphuch mkmikhnadihyaetxyangirktamenuxngcakeslluolskhxngphuchthaihbangkhrngmncungtxngklunkxnhinipchwyyxy swnidonesarkinenuxcayxyxahar iderwkwa aetkrann khxmulkhxngidonesaryngimthrabaenchdnk enuxngcakidonesarsuyphnthiphmdehluxephiyngsakdukdabrrph dngnn nkbrrphchiwinwithyacungtxngichsakfxssilniinkarsnnisthankhxng khxmultang phvtikrrm karlaehyux aelakardarngchiwitkhxngidonesarkhunmasungxaccaimtrngkbkhwamepncringethairnkwiwthnakarbrrphburuskhxngidonesarkhux xarokhsxr archosaur sungidonesarerimaeyktwxxkmacakxarokhsxrinyukh ithraexssik idonesarchnidaerkthuxkaenidkhunraw 230 lanpithiaelw hrux 20 lanpi hlngcakekidkarsuyphnthuephxremiyn ithraexssik Permian Triassic extinction event Permian Triassic extinction sungkhrachiwitkhxngsingmichiwitthnghmdbnolksmynnipkwa 90 epxresntsayphnthuidonesaraephrkracayxyangrwderwhlngyukhithraexssik klawidwainyukhthxngkhxngidonesar yukhcuaerssik aelayukhkhriethechiys thuksingmichiwitbnphunphiphphthimikhnadihykwahnungemtrkhuxidonesar cnkrathngemux 65 lanpithiaelw karkarsuyphnthukhriethechiys ethxrethiyri Cretaceous Tertiary extinction kidkwadlangidonesarcnsuyphnthu ehluxephiyngidonesarbangsayphnthuthiepnbrrphburuskhxngnkinpccubn yukhtang khxngidonesarmhayukhmiososxik Mesaozoic Era 65 225 lanpi inyukhnimi 3 yukh khux yukhithraexssik yukhcuaerssik aelayukhkhriethechiys inyukhithraexssikni sphaphxakasinkhnanncami sphaphrxnaelaaelngmakkhunkwainxdit thaihtnimihynxyinekhtrxnsamarthecriyetibotid dimak cnkrathng idonesartwaerkidthuxkaenidkhunmabnolkni idonesarklumaerkthiidkaenidkhunmacamikhnadelk edin 2 etha aelamilksnaphiess khux ethamilksnakhlaykbethakhxngnk txmainyukhcuaerssiknicdwaepnyukhthiefuxngfuepnxyangmak brrdaphuchphrrnthyyaharthixudmsmburn thaihidonesarcanwnmakkhyayphnthuipxyangrwderw thaihmirangkayihyot sungswnihycakinphuchepnxahar aelankyngidthuxkaenidkhunmaepnkhrngaerkinyukhnixikdwy txmainyukhkhriethechiysni cdwa epnyukhthiidonesarnnrungeruxngthisud ephraayukhniidonesaridmikarphthnaphnthuxxkmaxyangmakmayyukhkhxngidonesaryukhithraexssik karkhrxbkhrxngolkkhxngidonesarinyukhniolkthukpkkhlumdwypaimcanwnmak phuchtrakulthiichspxrinkarkhyayphnthprasbkhwamsaercaelamiwiwthnakarthungkhnsungsud inpayukhithraexssikchwngaerknnmistwihyimmaknkstwpikthiihythisudkhuxaemlngpxyksthipikkwangthung2futaelaidchuxwaepnnklaewhaephiyngchnidediywkhxngyukhni enuxngcakinchwngplaykhxngyukhepxremiynekidkarsuyphnthukhrngihykhxngsingmichiwitthaihphwkstweluxykhlankungeliynglukdwynmcanwnmak suyphnthuipphwkthiehluxidsubthxdephaphnthumacnthungtnyukhithraexssikinklumstwehlaniecasinnxknatsepnstwnklathinaekrngkhamthisud inhmuphwkmnaelainchwngniexngidonesarkthuxkaenidkhunodyphwkmnwiwthnakarmacakstweluxykhlanthiedindwykhahlngxyangecathiokhdxnsungthuxknwaepnbrrphburuskhxngidonesar karsuyphnthkhrngihyinyukhepxremiynthaihphwkmnsamarthkhyayephaphnthuidxyangmakmayinchwngtnyukhithraexssikaelaklaymaepnkhuaekhngkhxngphwkstweluxykhlankungeliynglukdwynmthiehlux idonesarinyukhaerkepnphwkedinsxngkha echn phlathioxsxr idonesarkinphuchkhxyawthiepnbrrphburuskhxngphwk sxorphxd hruxecasiolifsis brrphburuskhxngphwkkinenux nklasxngkhakhwamsung 1 emtr karthimnsamarthekhluxnihwiddwysxngkhahlngthaihphwkmnmikhwamkhlxngtwinkarlasungkwa sinnxknats hruxxiriothrsukhsthiyawthung 15 futsungmikramkhnad ihyaelaaekhngaerngnklaehlaniidepriybsinnxknatsaelastweluxykhlankungeliynglukdwynmxun thaihphwknitxngwiwthnakarihmikhnadelklngephuxthicahlbhniphwkidonesar aelahlikthangihephaphnthuidonesarkawmakhrxngolkniaethninthisudyukhcuaerssik idonesarkhrxbkhrxngolkidsaercintxnplayyukhithraexssik cnemuxekhathungyukhcuaerssikphwkmnkkhyayephaphnthuipthwolkinyukhniphunaephndinthukpkkhlumdwyphuchkhnadykscaphwksnaelaefirn xyangirktamiderimmiphuchdxkpraktkhunepnkhrngaerkinchwngklangkhxngyukhni nbwaepncuderimkhxngkarkhyayphnthurupaebbihmkhxngphwkphuch yukhcuaerssiknbidwaepnyukhthiphwkidonesarkhxyawtrakulsxorphxd Sauropod khyayephaphnthuxyangkwangkhwang idonesarkhnadykssayphnthuthiruckkndikkhux aebrkkhioxsxrs Brachiosaurus dipophlodkhs Diplodocus aelaxaaephothsxrs Apatosaurus hruxxikchuxkhuxbrxnothsxrs nxkcakniyngmichnidxun xikmakmaystwyksehlanikhrnghnungthukmxngwaepnstwthiongaelaimxacpxngkntwcakstwnklaid thwainpccubnnkobrankhdichiwwithya paleontology echuxwaphwkmnichhangthihnahnkstruthimacuocmsungnbwaepnkartxbotthinayaekrngimnxy ephraahangthiyawaelaminahnkmakniexngthithaihphwkmntxngmikhxyawephuxsrangsmdulkhxngsrirakhxngmnyukhkhriethechiys yukhkhriethechiysepnyukhthitxcakyukhcuaerssik stweluxykhlanecriymakinyukhni thishrthxemrikakmikarkhnphbstwthaelthiekhyxasyxyuinchwngediywknkbidonesaridaek phwkphlisioxsxrechn xilasomsxrs phwkkingkathaelomsasxrxyangihonsxrs aelaxaekhrxnepnphwketaxasyxyuinthael bnthxngfakmiekhxarokhothrussungmikhnadpikyawthung 15 emtr binxyumakmayyukhniepnyukhthiidonesarmikarphthnatwexngxyangmak phwksxrisechiynthikinenuxmitwkhnadihyidaek xlebxrotsxrs ithrnonsxrspraktinyukhnimilksnadngniithrnonsxrsnnmielbthikhahlngihyotaelamifnaehlmyawpraman 13 esntiemtr ephuxichcbehyuxphwksxrisechiynthikinthngphuchaelastwepnxaharkidaek xxniotmimsphwkxxrnithisechiynmkcaepnphwkkinphuchphwkthithukkhnphbkhrngaerkkidaek xikwondxn aelwkphb hiphuchiorofdxn aelahaodorsxrs phwkxxrnithisechiyn idaek ithresxrathxps aexngkhiolsxrs phbecriyxyumakmay aetwakxncahmdyukhkhriethechiys nnxakaskerimepliynaeplngidonesarbangphwkerimtaylngaelasuyphnthu hlngcakidonesarsuyphnthuipaelwstweliynglukdwynmkmibthbathkhunmabnolkkarcdcaaenkidonesarthukaebngxxkepnsxngxndbihy tamlksnaokhrngsrangkhxngkradukechingkran khux Saurischia eriykidonesarinxndbniwa sxrisechiyn sungmilksnakradukechingkranaebbstweluxykhlan mithngphwkkinphuchaelakinstw aela en Ornithischia Ornithischia eriykidonesarinxndbniwa xxrnithisechiyn mikradukechingkranaebbnkaelaepnphwkkinphuchthnghmd 8 idonesarsaophkstweluxykhlan hrux sxrisechiyn cakphasakrik aeplwasaophkstwphwkkingka epnidonesarthikhngokhrngsrangkhxngkradukechingkrantambrrphburus sxrisechiynrwmipthungidonesarethxorphxd theropod idonesarkinenuxedinsxngkha aelasxorphxd sauropod idonesarkinphuchkhxyaw idonesarsaophknk hrux xxrnithisechiyn cakphasakrik aeplwasaophknk epnidonesarxikxndbhnung swnihyedinsikha aelakinphuchidonesarinwthnthrrmsmyniym okhrngkradukidonsarthierksu khnacdaesdngthiphiphithphnththichikhaok okhrngkradukidonsarthierksu khnacdaesdngthixngkhkarphiphithphnthwithyasastraehngchatithikhlxng 5 pthumthani aemwayukhsmykhxngidonesarsinsudlngepnewlahlaysiblanpiaelw aetpccubnidonesaryngkhngpraktxyuinwthnthrrmsmyniymaelawithichiwitpracawnkhxngmnusy niyayhlayelmmikarklawthungidonesar echn ephchrphraxuma khxng phnmethiyn edxalxstewild en The Lost World Arthur Conan Doyle The Lost World khxng esxr xaethxr okhaenn dxyl aela curassikh pharkh sungthasakdtamhlkkarthaykhatxngsakdepn cuaerssikphark khxng imekhil ikhrchtn Michael Crichton imephiyngaetinhnngsuxniyayethann kartunsahrbedkkmikarklawthungidonesardwyechnkn echnineruxng mnusyhinflinthsotn The Flintstones odraexmxn tarwckalewlaaelakxngsnxkcakni idonesaryngidprakttwxyuinphaphyntrhlayeruxng echn khingkhxng pi kh s 1933 aela curassikh pharkh pi kh s 1993 sungphaphyntreruxnghlngniddaeplngmacakniyaykhxng imekhil ikhrchtn aelaprasbkhwamsaercxyangsung epnkarplukkraaesidonesarihkhnthwiphnmasnicknmakkhun inpikh s 2000 Walt Disney idnaidonesarmasrangepn phaphyntraexniemchn chuxeruxngwa Dinosaurinpi 2549 miphaphyntreruxngekiywkbphiphithphnthprawtisastrthrrmchati Natural History Museum chux Night at the Museum khxng chxn elwi Shawn Levy mienuxeruxngekiywkbsingtang inphiphithphnththitxngkhasabihklbmichiwitkhunmaintxnklangkhun mitwexktwhnungepnidonesarchuxsu Sue sungepnokhrngkradukidonesarthierkthimikhwamsmburnthisud mikhnadlatwyawkwa 12 8 emtr aelakhwamsungthungsaophk 4 emtr 9 pccubncdaesdngthiphiphithphnth Field Museum thichikhaokrahwang 23 krkdakhm 30 knyayn ph s 2550 thangxngkhkarphiphithphnthwithyasastraehngchati xphwch idnaokhrngkradukkhxngsu macdaesdngrwmkbidonesarthiphbinpraethsithy thiphiphithphnthwithyasastr khlxng 5 pthumthaniinpraethsithy idonesaridrbeluxkihepnstwpracacnghwdkhxngcnghwdkhxnaekn swninphasaithynn idonesarmikhwamhmaynyprawtisahrbicheriykkhnhwobran lasmy aelanacasuyphnthuiptngnanaelw bangkichwa idonesaretalanpixangxing Ferigolo Jorge Langer Max C 2007 01 01 A Late Triassic dinosauriform from south Brazil and the origin of the ornithischian predentary bone Historical Biology 19 1 23 33 doi 10 1080 08912960600845767 ISSN 0891 2963 S2CID 85819339 Langer Max C Ferigolo Jorge 2013 01 01 The Late Triassic dinosauromorph Sacisaurus agudoensis Caturrita Formation Rio Grande do Sul Brazil anatomy and affinities Geological Society London Special Publications phasaxngkvs 379 1 353 392 doi 10 1144 SP379 16 ISSN 0305 8719 S2CID 131414332 Cabreira S F Kellner A W A Dias da Silva S da Silva L R Bronzati M de Almeida Marsola J C Muller R T de Souza Bittencourt J Batista B J Raugust T Carrilho R Brodt A Langer M C 2016 A Unique Late Triassic Dinosauromorph Assemblage Reveals Dinosaur Ancestral Anatomy and Diet Current Biology 26 22 3090 3095 doi 10 1016 j cub 2016 09 040 PMID 27839975 Muller Rodrigo Temp Garcia Mauricio Silva 2020 08 26 A paraphyletic Silesauridae as an alternative hypothesis for the initial radiation of ornithischian dinosaurs Biology Letters 16 8 20200417 doi 10 1098 rsbl 2020 0417 PMC 7480155 PMID 32842895 Unknown parameter pmc embargo date ignored help Matthew G Baron Megan E Williams 2018 A re evaluation of the enigmatic dinosauriform Caseosaurus crosbyensis from the Late Triassic of Texas USA and its implications for early dinosaur evolution Acta Palaeontologica Polonica 63 doi 10 4202 app 00372 2017 Andrea Cau 2018 The assembly of the avian body plan a 160 million year long process PDF Bollettino della Societa Paleontologica Italiana 57 1 1 25 doi 10 4435 BSPI 2018 01 idonesar txnthi 1 sanknganpldkrathrwngwithyasastraelaethkhonolyi idonesar txnthi 3 sanknganpldkrathrwngwithyasastraelaethkhonolyi ewbistnithrrskaridonesar khxngxngkhkarphiphithphnthwithyasastraehngchati http atcloud com discussions 51805duephimidonesarinpraethsithy raychuxidonesar brrphchiwinwithya stweluxykhlan karsuyphnthukhrngihy sthaniyxy olkidonesar karsuyphnthukhxngidonesaraehlngkhxmulxunkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb idonesar wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa idonesarekhathungcak https th wikipedia org w index php title idonesar amp oldid 9336986, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม