fbpx
วิกิพีเดีย

การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตามความในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) อันเป็นสนธิสัญญาจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น บุคคลหรือองค์กรจะแจ้งความดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศต่อศาลนั้นก็ได้ ถ้าบุคคลเป็นผู้ยื่น เรียกว่า "ร้องทุกข์" (complain) ถ้ารัฐภาคีศาลก็ดี หรือเลขาธิการสหประชาชาติก็ดี เป็นผู้ยื่น เรียกว่า "เสนอข้อหา" (refer) และเรียกรวมกันว่า "กล่าวโทษ" (communicate)

นับตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน 2553 สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับคำกล่าวโทษแล้ว 8,874 ฉบับ ในจำนวนนั้น 4,002 ฉบับถูกยกเมื่อตรวจเบื้องต้นแล้วพบว่า "อยู่นอกอำนาจศาลโดยแจ้งชัด" และนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังสืบสวนเรื่องราวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในประเทศยูกันดา ในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ในประเทศเคนยา ในประเทศลิเบีย และในประเทศโกตดิวัวร์ รวมเจ็ดเรื่องด้วยกัน กับทั้งกำลังพิเคราะห์โดยละเอียดซึ่งเรื่องราวอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องราวในประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศชาด ประเทศโคลอมเบีย ฉนวนกาซา และประเทศจอร์เจีย

วิธีพิจารณา

อำนาจศาล

อำนาจชำระคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นแบ่งเป็นสามประเภท คือ

  • อำนาจตามสาระของคดี (jurisdiction ratione materiae) กล่าวคือ ศาลจะทำคดีได้ก็แต่ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความผิดอาญาต่อมนุษยชาติ ความผิดอาญาสงคราม และความผิดอาญาฐานรุกราน
  • อำนาจตามบุคคล (jurisdiction ratione personae) และอำนาจตามดินแดน (jurisdiction ratione tertiis) หรือที่เรียกว่า เขตศาล (territorial jurisdiction) กล่าวคือ ศาลจะทำคดีได้ก็แต่เฉพาะที่ว่าด้วยความผิดซึ่งเกิดขึ้น ณ ดินแดนของรัฐภาคีศาล หรือซึ่งผู้ถือสัญชาติรัฐภาคีเหล่านั้นกระทำขึ้น หรือความผิดซึ่งอยู่นอกเงื่อนไขดังกล่าว แต่เลขาธิการสหประชาชาติยื่นเรื่องราวขอให้ศาลพิจารณา หรือรัฐที่เกี่ยวข้องแถลงยอมรับอำนาจศาลแล้ว แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ดี ต้องเป็นกรณีที่ศาลภายในไม่สามารถหรือไม่สมัครจะดำเนินคดีแล้วด้วย
  • อำนาจตามเวลา (jurisdiction ratione temporis) กล่าวคือ ศาลจะทำคดีได้ก็แต่เฉพาะที่ว่าด้วยความผิดซึ่งเกิดขึ้นในหรือหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 อันเป็นวันเริ่มใช้ธรรมนูญกรุงโรมบังคับแล้วเท่านั้น

การกล่าวโทษ

ธรรมนูญกรุงโรมว่า บุคคลหรือองค์กรจะแจ้งความดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจศาลต่อศาลก็ได้ โดยให้แจ้งที่อัยการ คำกล่าวโทษเหล่านี้จะได้รับการพิเคราะห์สามชั้น คือ การตรวจเบื้องต้น (initial review), การรายงานมูลฐาน (basic reporting) และการพิเคราะห์โดยละเอียด (intensive analysis) ก่อนเริ่มสืบสวนตามคำกล่าวโทษนั้นต่อไป

การตรวจเบื้องต้น

เมื่อได้รับคำกล่าวโทษแล้วทุกครั้ง อัยการต้อง "พิเคราะห์ความร้ายแรงแห่งข้อมูลที่ได้รับ" แล้ววินิจฉัยว่า มีมูลพอจะเริ่มสืบสวนหรือไม่ ที่ผ่านมา มีคำกล่าวโทษจำนวนมากถูกยกในระหว่างการพิเคราะห์ชั้นนี้ เนื่องจากปรากฏว่า "อยู่นอกอำนาจศาลโดยแจ้งชัด"

ตามข้อมูลทางสถิติตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ร้อยละแปดสิบของคำกล่าวโทษที่ได้รับนั้นถูกยก เนื่องจาก

  • ร้อยละ 5 อยู่นอกอำนาจตามเวลา เพราะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2545
  • ร้อยละ 24 อยู่นอกอำนาจตามสาระของคดี จำพวกนี้มักว่าด้วยคนเข้าเมือง ความประมาทเลินเล่อทางแพทย์ ความมั่นคงทางสังคม บำเหน็จบำนาญ และแรงงาน
  • ร้อยละ 13 อยู่นอกอำนาจตามบุคคลหรือตามดินแดน
  • ร้อยละ 38 ปรากฏ "แจ้งชัดว่าไม่มีมูลเพียงพอ" (manifestly ill-founded) จำพวกนี้มักขาดเหตุผลในการใช้สิทธิทางศาลหลายประการ หรือไม่ระบุเหตุผลดังกล่าว เช่น กล่าวหาว่ามีการสมคบคิดกัน แต่ไม่ระบุรายละเอียด หรือเป็นเรื่องการเมืองภายในประเทศหรือท้องถิ่น

การรายงานมูลฐาน และการพิเคราะห์โดยละเอียด

เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าเรื่องที่กล่าวโทษนั้นอยู่ในอำนาจศาล คำกล่าวโทษก็จะเข้าสู่ "การรายงานมูลฐาน" เพื่อ "พิเคราะห์ทั่วไปในทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย" และประมวลข้อหาตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่มีพร้อมอยู่แล้ว มีสถิติว่าระหว่างเดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีคำกล่าวโทษอยู่ในชั้นรายงานมูลฐานนี้ยี่สิบสามฉบับ

เมื่อผ่านชั้นรายงานมูลฐานั้นแล้ว คำกล่าวโทษจะได้รับการพิเคราะห์โดยละเอียด เพื่อประมวลข้อมูลพิสดารจากแหล่งข้อมูลเปิด พิเคราะห์การกระทำความผิดอย่างเป็นระบบ ตรวจปัจจัยสี่ แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม และถ้าคดีซับซ้อน ก็จะวางแผนการสืบสวนอย่างมีศักยภาพ มีสถิติว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 เป็นต้นมา มีคดีสิบรายอยู่ในชั้นพิเคราะห์โดยละเอียด รวมถึง เรื่องราวในประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศชาด ประเทศโคลอมเบีย ประเทศโกตดิวัวร์ ประเทศจอร์เจีย และประเทศเคนยา

การสืบสวน

  ดูเพิ่มที่ การสืบสวนของศาลอาญาระหว่างประเทศ

ครั้นแล้ว อัยการจะพิเคราะห์ "ปัจจัยสี่" (four factors) ดังต่อไปนี้ เพื่อเริ่มสืบสวนอย่างเป็นทางการ คือ

  • มีเหตุควรเชื่อหรือไม่ว่ามีการกระทำความผิดอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาล
  • ความผิดอาญานั้นร้ายแรงหรือไม่
  • ความผิดอาญานั้นไม่อยู่ในอำนาจองค์กรตุลาการภายในแล้วใช่หรือไม่ (ศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่เต็มใจทำคดีแล้วใช่หรือไม่) และ
  • คดีเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมหรือไม่

อ้างอิง

  1. International Criminal Court, September 2010, , Accessed 27 February 2011
  2. International Criminal Court. "Referrals and Communications"PDF. Accessed 20 March 2008.
  3. International Criminal Court, 2010. Accessed 1 January 2010.
  4. International Criminal Court 20 August 2008. . Accessed on 20 August 2008.
  5. "ICC prosecutor eyes possible Afghanistan war crimes", Reuters, 2009-09-09
  6. ดู ข้อ 12 และ 13 แห่ง ธรรมนูญกรุงโรมฯ
  7. ดู ข้อ 17 แห่ง ธรรมนูญกรุงโรมฯ.
  8. ดู ข้อ 20 แห่ง ธรรมนูญกรุงโรมฯ.
  9. Article 15 of the Rome Statute. Accessed 20 March 2008.

การร, องท, กข, อศาลอาญาระหว, างประเทศ, ตามความในธรรมน, ญกร, งโรมว, าด, วยศาลอาญาระหว, างประเทศ, rome, statute, international, criminal, court, นเป, นสนธ, ญญาจ, ดต, งศาลอาญาระหว, างประเทศน, คคลหร, อองค, กรจะแจ, งความดำเน, นคด, อย, ในอำนาจของศาลอาญาระหว, างประเท. tamkhwaminthrrmnuykrungormwadwysalxayarahwangpraeths Rome Statute of the International Criminal Court xnepnsnthisyyacdtngsalxayarahwangpraethsnn bukhkhlhruxxngkhkrcaaecngkhwamdaeninkhdithixyuinxanackhxngsalxayarahwangpraethstxsalnnkid 1 thabukhkhlepnphuyun eriykwa rxngthukkh complain tharthphakhisalkdi hruxelkhathikarshprachachatikdi epnphuyun eriykwa esnxkhxha refer aelaeriykrwmknwa klawoths communicate 2 nbtngaetsineduxnknyayn 2553 sanknganxykarsalxayarahwangpraethsidrbkhaklawothsaelw 8 874 chbb incanwnnn 4 002 chbbthukykemuxtrwcebuxngtnaelwphbwa xyunxkxanacsalodyaecngchd 1 aelanbtngaeteduxnminakhm 2554 salxayarahwangpraethskalngsubswneruxngrawinsatharnrthprachathipitykhxngok inpraethsyuknda insatharnrthaexfrikaklang indarfur praethssudan inpraethsekhnya inpraethsliebiy aelainpraethsoktdiwwr rwmecderuxngdwykn 3 kbthngkalngphiekhraahodylaexiydsungeruxngrawxun xikhlayeruxng rwmthungeruxngrawinpraethsxfkanisthan praethschad praethsokhlxmebiy chnwnkasa aelapraethscxreciy 4 5 enuxha 1 withiphicarna 1 1 xanacsal 1 2 karklawoths 1 2 1 kartrwcebuxngtn 1 2 2 karraynganmulthan aelakarphiekhraahodylaexiyd 1 3 karsubswn 2 xangxingwithiphicarna aekikhxanacsal aekikh xanaccharakhdikhxngsalxayarahwangpraethsnnaebngepnsampraephth khux 6 7 8 xanactamsarakhxngkhdi jurisdiction ratione materiae klawkhux salcathakhdiidkaetthimienuxhasaraekiywkbkhwamphidxayathankhalangephaphnthu khwamphidxayatxmnusychati khwamphidxayasngkhram aelakhwamphidxayathanrukran xanactambukhkhl jurisdiction ratione personae aelaxanactamdinaedn jurisdiction ratione tertiis hruxthieriykwa ekhtsal territorial jurisdiction klawkhux salcathakhdiidkaetechphaathiwadwykhwamphidsungekidkhun n dinaednkhxngrthphakhisal hruxsungphuthuxsychatirthphakhiehlannkrathakhun hruxkhwamphidsungxyunxkenguxnikhdngklaw aetelkhathikarshprachachatiyuneruxngrawkhxihsalphicarna hruxrththiekiywkhxngaethlngyxmrbxanacsalaelw aetimwaxyangirkdi txngepnkrnithisalphayinimsamarthhruximsmkhrcadaeninkhdiaelwdwy xanactamewla jurisdiction ratione temporis klawkhux salcathakhdiidkaetechphaathiwadwykhwamphidsungekidkhuninhruxhlngcakwnthi 1 krkdakhm 2545 xnepnwnerimichthrrmnuykrungormbngkhbaelwethannkarklawoths aekikh thrrmnuykrungormwa bukhkhlhruxxngkhkrcaaecngkhwamdaeninkhdithixyuinxanacsaltxsalkid odyihaecngthixykar khaklawothsehlanicaidrbkarphiekhraahsamchn khux kartrwcebuxngtn initial review karraynganmulthan basic reporting aelakarphiekhraahodylaexiyd intensive analysis kxnerimsubswntamkhaklawothsnntxip 1 kartrwcebuxngtn aekikh emuxidrbkhaklawothsaelwthukkhrng xykartxng phiekhraahkhwamrayaerngaehngkhxmulthiidrb aelwwinicchywa mimulphxcaerimsubswnhruxim 9 thiphanma mikhaklawothscanwnmakthukykinrahwangkarphiekhraahchnni enuxngcakpraktwa xyunxkxanacsalodyaecngchd tamkhxmulthangsthititngaetwnthi 1 kumphaphnth 2549 rxylaaepdsibkhxngkhaklawothsthiidrbnnthukyk enuxngcak rxyla 5 xyunxkxanactamewla ephraaekiywenuxngkbehtukarnthiekidkhunkxnwnthi 1 krkdakhm 2545 rxyla 24 xyunxkxanactamsarakhxngkhdi caphwknimkwadwykhnekhaemuxng khwampramathelinelxthangaephthy khwammnkhngthangsngkhm baehncbanay aelaaerngngan rxyla 13 xyunxkxanactambukhkhlhruxtamdinaedn rxyla 38 prakt aecngchdwaimmimulephiyngphx manifestly ill founded caphwknimkkhadehtuphlinkarichsiththithangsalhlayprakar hruximrabuehtuphldngklaw echn klawhawamikarsmkhbkhidkn aetimraburaylaexiyd hruxepneruxngkaremuxngphayinpraethshruxthxngthinkarraynganmulthan aelakarphiekhraahodylaexiyd aekikh emuxwinicchyaelwwaeruxngthiklawothsnnxyuinxanacsal khaklawothskcaekhasu karraynganmulthan ephux phiekhraahthwipinthangkhxethccringaelakhxkdhmay aelapramwlkhxhatlxdcnkhxmultang thimiphrxmxyuaelw misthitiwarahwangeduxnkrkdakhm 2546 thungeduxnkumphaphnth 2549 mikhaklawothsxyuinchnraynganmulthanniyisibsamchbbemuxphanchnraynganmulthannaelw khaklawothscaidrbkarphiekhraahodylaexiyd ephuxpramwlkhxmulphisdarcakaehlngkhxmulepid phiekhraahkarkrathakhwamphidxyangepnrabb trwcpccysi aeswnghakhxmulephimetim aelathakhdisbsxn kcawangaephnkarsubswnxyangmiskyphaph misthitiwa tngaeteduxnsinghakhm 2552 epntnma mikhdisibrayxyuinchnphiekhraahodylaexiyd rwmthung eruxngrawinpraethsxfkanisthan praethschad praethsokhlxmebiy praethsoktdiwwr praethscxreciy aelapraethsekhnya 4 karsubswn aekikh duephimthi karsubswnkhxngsalxayarahwangpraethskhrnaelw xykarcaphiekhraah pccysi four factors dngtxipni ephuxerimsubswnxyangepnthangkar khux miehtukhwrechuxhruximwamikarkrathakhwamphidxayasungxyuinxanacsal khwamphidxayannrayaernghruxim khwamphidxayannimxyuinxanacxngkhkrtulakarphayinaelwichhruxim salradbpraethsimsamarthhruximetmicthakhdiaelwichhruxim aela khdiepnpraoychnaekkhwamyutithrrmhruximxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 International Criminal Court September 2010 Communications Referrals and Preliminary Examinations Accessed 27 February 2011 International Criminal Court Referrals and Communications PDF Accessed 20 March 2008 International Criminal Court 2010 Situations and casesAccessed 1 January 2010 4 0 4 1 International Criminal Court 20 August 2008 ICC Prosecutor confirms situation in Georgia under analysis Accessed on 20 August 2008 ICC prosecutor eyes possible Afghanistan war crimes Reuters 2009 09 09 du khx 12 aela 13 aehng thrrmnuykrungorm du khx 17 aehng thrrmnuykrungorm du khx 20 aehng thrrmnuykrungorm Article 15 of the Rome Statute Accessed 20 March 2008 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karrxngthukkhtxsalxayarahwangpraeths amp oldid 9615302, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม