fbpx
วิกิพีเดีย

คิม อิล-ซ็อง

คิม อิล-ซ็อง (เกาหลี김일성; ฮันจา金日成; อาร์อาร์Kim Il-sŏng; เอ็มอาร์Gim Il-seong, 15 เมษายน พ.ศ. 2455 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2515 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ พ.ศ. 2515 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2537 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนถึง พ.ศ. 2537 คิม อิล-ซ็องเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้เผด็จการในระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือ โดยดำรงตำแหน่งอยู่ในอำนาจในฐานะผู้นำของประเทศเกาหลีเหนือเป็นเวลายาวนานถึงสี่สิบกว่าปี ดำรงตำแหน่งในช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่สงครามเย็นและสงครามเกาหลี มีการพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลขึ้นมาสำหรับคิม อิล-ซ็องโดยเฉพาะ หลังคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว รัฐบาลเกาหลีเหนือภายใต้การนำของประธานาธิบดีคิม จ็อง-อิล บุตรชาย ได้ให้สมญานามแก่เขาว่า "ประธานาธิบดีตลอดกาล" (Eternal President เกาหลี영원한 주석; ฮันจาYeongwonhan Juseok) เมื่อ พ.ศ. 2554

คิม อิล-ซ็อง
김일성
ประธานาธิบดีตลอดกาลแห่งประเทศเกาหลีเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
ก่อนหน้า ไม่มี
ถัดไป คิม จ็อง-อิล
นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศเกาหลีเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2491 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
ก่อนหน้า ไม่มี
ถัดไป คิม อิล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2455
มันกย็องแด เปียงยาง จังหวัดพย็องอันใต้ เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
เสียชีวิต 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 (82 ปี)
เปียงยาง เกาหลีเหนือ
พรรคการเมือง พรรคแรงงานเกาหลี
คู่สมรส คิม จ็อง-ซุก
คิม ซ็อง-แอ
บุตร คิม จ็อง-อิล
คิม มัน-อิล
คิม กย็อง-ฮี
คิม กย็อง-จิน
คิม พย็อง-อิล
คิม ย็อง-อิล
ศาสนา อเทวนิยม
ลายมือชื่อ
การเข้าเป็นทหาร
รับใช้  สหภาพโซเวียต
 เกาหลีเหนือ
สังกัด กองทัพโซเวียต (กองทัพแดง)
กองทัพประชาชนเกาหลี
ประจำการ
  • 1941–1945
  • 1948–1994
ยศ แทวอนซู (จอมพลสูงสุด)
บังคับบัญชา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
การยุทธ์
อนุสาวรีย์คิม อิล-ซ็อง

ประวัติ

ชีวิตวัยเยาว์

อัตชีวประวัติของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง นั้นได้มาจากตัวประธานาธิบดีเองและการจัดพิมพ์ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งข้องเท็จจริงบางประการนั้นขัดแย้งกับหลักฐานจากภายนอก ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 เดิมมีชื่อว่า คิม ซ็อง-จู (เกาหลี김성주; ฮันจา金成柱) ที่หมู่บ้านมันกย็องแด ในเมืองเปียงยาง จังหวัดพย็องอันใต้ของเกาหลีเหนือในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนโตของคิม ฮย็อง-จิก (เกาหลี김형직) และคัง พัน-ซ็อก (เกาหลี강반석) มีน้องชายสองคนได้แก่ คิม ช็อล-จู และคิม ย็อง-จู:15 ครอบครัวของคิม ซ็อง-จู นับถือคริสต์ศาสนานิกายเพรสไบทีเรียน บิดา คิม ฮย็อง-จิก เป็นครู เกาหลีในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้นประสบปัญหาภาวะข้าวยากหมากแพงเป็นเหตุให้ครอบครัวของคิม อิล-ซ็อง อพยพย้ายไปอาศัยยังมณฑลจี๋หลิน แคว้นแมนจูเรีย ของสาธารณรัฐจีนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2463 เมื่อคิม ซ็อง-จู นั้นยังอายุน้อย

 
คิม ซ็อง-จู ในมณฑลจี๋หลิน ปี พ.ศ. 2470

การรบในแมนจูเรีย

คิม อิล-ซ็อง ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่มณฑลจี๋หลิน เนื่องจากเติบโตมาในแมนจูเรีย คิม อิล-ซ็อง จึงพูดภาษาจีนกลางเป็นหลักและบางหลักฐานบอกว่า คิม อิล-ซ็อง นั้นพูดภาษาเกาหลีได้น้อยมากในวัยเยาว์ ชีวประวัติซึ่งแต่งโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือบรรยายว่าคิม อิล-ซ็อง มีบทบาทและมีความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวปลดแอกเกาหลีจากการปกครองของญี่ปุ่น และยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถูกทางการสาธารณรัฐจีนจับกุมตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ไม่พบหลักฐานรายละเอียดว่า คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร เมื่อ พ.ศ. 2474 คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีเดียวกันนั้นเองเกิดเหตุการณ์มุกเดน เป็นเหตุให้จักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ารุกรานแมนจูเรีย นำไปสู่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 คิม ซ็อง-จู จึงได้เข้าร่วมทหารกองโจรคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้เพื่อต้านทานการรุกรานของญี่ปุ่น ระหว่างการต่อสู้ต้านทานญี่ปุ่นภายใต้ธงของรัฐบาลจีนนั้น คิม ซ็อง-จู ได้รู้จักกับเว่ย์ เจิ้งหมิน (Wei Zhengmin) ผู้บังคับบัญชาชาวจีนซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางด้านลัทธิคอมมิวนิสต์และเปรียนเสมือนเป็นอาจารย์ของคิม ซ็อง-จู

พ.ศ. 2478 คิม ซ็องจูเปลี่ยนชื่อของตนเองเป็นคิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง ไต่เต้าสายการบังคับบัญชาของกองทัพจีนในแมนจูเรียขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งได้เป็นผู้บังคับบัญชามีกองกำลังเป็นของตนเอง สงครามจีน-ญี่ปุ่นอันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองยืดเยื้อยาวนานจนกระทั่งกองทัพฝ่ายจีนในแมนจูเรียถูกลดทอนกำลังลงและสูญเสียผู้บังคับบัญชาไปมาก คิม อิล-ซ็อง ซึ่งในขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาเพียงไม่กี่คนของจีนที่ยังมีชีวิตรอด ถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตีจนต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำอามูร์เข้าไปยังอาณาเขตของสหภาพโซเวียต เมื่อ พ.ศ. 2483 คิม อิล-ซ็อง พำนักอยู่ที่เมืองเวียตสกอย (Vyatskoye) ดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk Krai) ประเทศรัสเซียในปัจจุบัน และเข้าร่วมกองทัพแดง ของสหภาพโซเวียต ที่เมืองเวียดสกอยในปี พ.ศ. 2484 คิม อิล-ซ็อง ได้สมรสกับนางคิม จ็อง-ซุก (เกาหลี김정숙) นางคิม จ็อง-ซุก ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกคือ คิม จ็อง-อิล ในปีเดียวกัน

หนทางสู่ผู้นำเกาหลีเหนือ

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และทัพโซเวียตเข้ายึดเมืองเปียงยาง เกาหลีพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และด้วยมติของสหประชาชาติให้เกาหลีอยู่ในภาวะทรัสตี (Trusteeship) โดยสหภาพโซเวียตเข้ากำกับดูแลดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ ในขณะที่สหรัฐอเมริกากำกับดูแลเกาหลีทางตอนใต้ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตต้องการสรรหาผู้นำชาวเกาหลีซึ่งจะปกครองเกาหลีส่วนเหนือที่อยู่ภายใต้การล่าอาณานิคมของโซเวียตต่อไป ลาฟเรนตี เบเรีย (Lavrentiy Beria) ได้แนะนำคิม อิล-ซ็อง ต่อสตาลิน ให้เป็นผู้ปกครองดินแดนเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง จึงเดินทางกลับมายังเกาหลีโดยเทียบท่าที่เมืองวอนซันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 ในเดือนธันวาคมสหภาพโซเวียตประกาศให้คิม อิล-ซ็อง เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานล่าอาณานิคมเกาหลี แม้ว่าพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเดิมนั้นมีที่ทำการอยู่ที่โซล และมีหัวหน้าอยู่ก่อนแล้วคือพัก ฮ็อน-ย็อง (เกาหลี박헌영) ด้วยการสนับสนุนของสหภาพโซเวียต คิม อิล-ซ็อง จึงสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์สูงสุดของเกาหลีเหนือได้สำเร็จ

นอกเหนือจากคิม อิล-ซ็อง สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะรวบรวมบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ของชาวเกาหลีที่ให้การสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาสู่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 พรรคประชาชนใหม่ของคิม ดู-บง (เกาหลี김두봉) และพรรคแรงงานเกาหลีที่โซลของนายพัก ฮ็อน-ย็อง ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคแรงงานแห่งเกาหลีของนายคิม อิล-ซ็อง กลายเป็นสภาประชาชนชั่วคราวแห่งเกาหลีเหนือ โดยมีคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้นำ แต่ทว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานนั้นตกเป็นของคิม ดู-บง ในฐานะผู้นำของสภาประชาชนคิม อิล-ซ็อง ได้ปฏิรูประบบที่ดินในเกาหลี ซึ่งในสมัยการปกครองของญี่ปุ่นนั้นดินแดนส่วนใหญ่ในเกาหลีมีนายทุนชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ คิม อิล-ซ็อง ได้จัดสรรที่ดินใหม่ทั้งหมดตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สหประชาชาติมีมติให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งที่โซลมีอำนาจปกครองทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหภาพโซเวียตไม่เห็นชอบด้วย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่โซลนำโดยอี ซึง-มัน (Yi Seung-man; เกาหลี이승만) ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนต่อมากันยายน พ.ศ. 2491 สหภาพโซเวียตจึงยกระดับสภาประชาชนเกาหลีเหนือขึ้นเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea; DPRK) โดยมีนายคิม อิล-ซ็อง เป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง จัดตั้งกองทัพล่าอาณานิคมเกาหลี เพื่อเป็นกองกำลังทหารประจำรัฐ คิม อิล-ซ็อง รวบรวมพรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ในเกาหลีจัดตั้งเป็น แนวร่วมล่าอาณานิคมเพื่อเอกภาพแห่งปิตุภูมิ (Democratic Front of the Reunification of the Fatherland) โดยมีพรรคแรงงานล่าอาณานิคมแห่งเกาหลีของคิม อิล-ซ็อง เป็นแกนนำหลัก

นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง นิยมการบริหารประเทศในแบบของโจเซฟ สตาลิน จนนำมาเป็นแบบอย่าง คิม อิล-ซ็อง เริ่มการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล (cult of personality) ของเขาเองขึ้นมา เริ่มมีการเรียกคิม อิล-ซ็อง ว่า "ท่านผู้นำ" (Great Leader) รูปปั้นเสมือนของคิม อิล-ซ็อง ก็เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน

นางคิม จ็อง-ซุก สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภรรยาคนแรกของคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นมารดาของคิม จ็อง-อิล ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สองคือ คิม มัน-อิล (เกาหลี김만일) ใน พ.ศ. 2487 และได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนโตคนแรกคือ คิม คย็อง-ฮี (เกาหลี김경희) เมื่อ พ.ศ. 2489 แต่ทว่าคิม มัน-อิล ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำในสระว่ายน้ำใน พ.ศ. 2490 ด้วยอายุเพียงสามปี จากนั้นใน พ.ศ. 2492 นางคิม จ็อง-ซุก ก็เสียชีวิตจากการให้กำเนิดบุตรคนที่สี่ คิม อิล-ซ็อง สมรสใหม่ในอีกสามปีต่อมา พ.ศ. 2495 กับเลขานุการส่วนตัว คิม ซ็อง-แอ (เกาหลี김성애) ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี

สงครามเกาหลี

ดูบทความหลักที่: สงครามเกาหลี

เมื่อจัดตั้งรัฐทั้งสองในคาบสมุทรเกาหลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถอนกำลังของตนออกจากคาบสมุทรเกาหลีใน พ.ศ. 2492 นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง เล็งเห็นว่ากองกำลังทหารของฝ่ายเกาหลีใต้นั้นอ่อนแอเมื่อปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงเสนอต่อสตาลินว่าจะเข้ารุกรานเกาหลีใต้เพื่อรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ซึ่งฝ่ายสตาลินนั้นเห็นด้วยเนื่องจากคาดการณ์ว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ถอนกำลังไปหมดแล้วจะไม่เข้าช่วยฝ่ายเกาหลีใต้ สตาลินจึงจัดให้มีการฝึกการรบและติดอาวุธที่ทันสมัยให้แก่กองทัพล่าอาณานิคมประชาชนเกาหลีเพื่อเตรียมการณ์สำหรับการรุกรานเกาหลีใต้ สำหรับฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตงนั้น ยังคงลังเลที่จะให้การสนับสนุนแก่เกาหลีเหนือ เนื่องจากเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าช่วยเกาหลีใต้อย่างแน่นอน

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 คิม อิล-ซ็อง มอบหมายให้ ชเว ยง-ก็อน (เกาหลี최용건) ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี นำกองทัพประชาชนเกาหลีเข้ารุกรานเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 และเข้าบุกยึดนครโซลได้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของฝ่ายเกาหลีเหนือและลงมติให้ประเทศสมาชิกส่งกองกำลังรวมในนามของสหประชาชาติเข้าต้านทานการรุกรานของเกาหลีเหนือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ตัดสินใจนำส่งทัพเข้าช่วยเหลือฝ่ายเกาหลีใต้ ทัพอเมริกาเอาชนะทัพเกาหลีเหนือได้ในยุทธการวงรอบปูซาน และทัพผสมนานาชาติในนามของสหประชาชาติยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ในเดือนกันยายนทัพฝ่ายเกาหลีใต้สามารถยึดนครโซลคืนไปได้ ทัพเกาหลีเหนือจึงล่าถอยกลับไปเหนือเส้นขนานที่ 38

การรุกรานเกาหลีใต้ของคิม อิล-ซ็อง ใน พ.ศ. 2493 เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของคิม อิล-ซ็อง ทัพผสมสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติเมื่อยุติการรุกรานของเกาหลีเหนือได้แล้ว ก็หวังผลการรวมคาบสมุทรเกาหลีไว้กับรัฐบาลที่โซล จึงยกพลขึ้นเหนือจากเส้นขนานที่ 38 ในเดือนตุลาคม เข้ารุกรานเกาหลีเหนือ เข้ายึดเมืองเปียงยางได้ กองทัพประชาชนเกาหลีแตกพ่าย คิม อิล-ซ็อง หลบหนีจากเมืองเปียงยางไปยังมณฑลจี๋หลินของสาธารณรัฐจีน เมื่อทัพสหรัฐอเมริกายกพลมาจนใกล้ถึงแม่น้ำยาลู ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกานั้นเข้ามาคุกคามใกล้เคียงกับเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมากจนเกินทน จึงส่งเผิง เต๋อหฺวาย (จีน: 彭德怀, Péng Déhuái) นำกองทัพอาสาประชาชนเข้าช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติไม่ทันตั้งตัวถูกโจมตีจนล่าถอยกลับลงมาสู่เส้นขนานที่ 38 กองทัพสหประชาชาติ กองทัพอาสาประชาชนของจีน และกองทัพประชาชนเกาหลี เจรจาทำข้อตกลงสงบศึกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่หมู่บ้านพันมุนจ็อม (เกาหลี판문점) ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดเขตปลอดทหาร ความกว้างสี่กิโลเมตรระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ

สงครามเกาหลีเป็นความล้มเหลวพ่ายแพ้ของคิม อิล-ซ็อง ด้วยการช่วยเหลือของกองทัพอาสาสมัครประชาชนของจีนจึงสามารถขับให้กองทัพสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติออกไปจากเกาหลีเหนือได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยต่อมาได้บิดเบือนประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามเกาหลี โดยกล่าวว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เริ่มการรุกรานเกาหลีเหนือก่อน และเกาหลีเหนือได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในสงครามโดยที่สามารถขับไล่กองทัพล่าอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาออกไปได้

รวบรวมอำนาจและกำจัดคู่แข่ง

หลังสงครามเกาหลีเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูประเทศ คิม อิล-ซ็อง ริเริ่มแนวความคิดช็อลลีมา (Chollima Movement; เกาหลี천리마운동) หรือ "ม้าหมื่นลี้" เป็นแนวความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรรมชาติและทรัพยากรคนอย่างหนักหน่วง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศจากสงครามเกาหลี ทำให้เกาหลีเหนือมีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (command economy) ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากถูกเกณฑ์เข้าเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อเร่งผลผลิตออกมาใช้ในประเทศ

ในสมัยต้นของเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง มิได้เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจเพียงคนเดียวในเกาหลีเหนือ แต่ทว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยนั้นประกอบไปด้วยฝ่ายการเมืองถึงสี่ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายกองโจรแมนจูเรียคือฝ่ายของคิม อิล-ซ็อง ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนสหภาพโซเวียต ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลจีน และฝ่ายคอมมิวนิสต์จากเกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของคิม อิล-ซ็อง คือ ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนจีนหรือที่เรียกว่า ฝ่ายย็อนอัน (เกาหลี연안파) นำโดยนายคิม ดู-บง และชเว ชัง-อิก (เกาหลี최창익) พ.ศ. 2496 คิม อิล-ซ็อง โทษฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีใต้ ซึ่งนำโดยนายพัก ฮ็อน-ย็อง ว่าเป็นสาเหตุทำให้กองทัพประชาชนเกาหลีไม่ได้รับการตอบรับจากชาวเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี พัก ฮ็อน-ย็อง และสมาชิกฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่างถูกจับกุมดำเนินคดีต่อหน้าสาธารณชน (show trial) และจำนวนมากถูกตัดสินโทษประหารชีวิตหรือหายไปอย่างไร้ร่องรอย พัก ฮ็อน-ย็อง ถูกตัดสินโทษประหารใน พ.ศ. 2498

ผู้นำโซเวียตคนใหม่ นิกิตา ครุสชอฟ มีนโยบายต่อต้านลัทธิสตาลิน โดยผู้นำคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ซึ่งมีความนิยมในตัวสตาลินต่างถูกขับออกจากอำนาจ คิม อิล-ซ็อง ผู้นิยมสตาลิน (Stalinist) ถูกทางการสหภาพโซเวียตเรียกเข้ารายงานตัวที่มอสโกใน พ.ศ. 2499 เพื่อพบครุสชอฟ ครุสชอฟได้กล่าวตำหนิถึงวิธีการบริหารประเทศแบบสตาลินของคิม อิล-ซ็อง ได้แก่ความเผด็จการและการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล และเน้นย้ำให้คิม อิล-ซ็อง เห็นถึงหลักการของภาวะผู้นำร่วม (collective leadership) ขณะที่คิม อิล-ซ็อง อยู่ที่เมืองมอสโคนั้น ฝ่ายย็อนอันได้ฉวยโอกาสนี้พยายามก่อการยึดอำนาจจากคิม อิล-ซ็อง โดยชเว ชัง-อิก ได้กล่าวสุนทรพจน์ตำหนิการบริหารประเทศของคิมว่ารวบอำนาจไว้ในมือของตนแต่เพียงผู้เดียวเป็นเผด็จการ แต่ทว่าสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของฝ่ายย็อนอัน เมื่อคิม อิล-ซ็อง เดินทางกลับมาจึงสั่งให้มีการสอบสวนจับกุมผู้นำฝ่ายย็อนอันทั้งหลาย คิม ดู-บง ผู้นำฝ่ายย็อนอันแม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อการครั้งนี้แต่ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับชเว ชัง-อิก ผู้ริเริ่มในการก่อการครั้งนี้

ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โดยให้นายคิม อิล-ซ็อง ดำรงตำแหน่งเป็น "ประธานาธิบดี" ซึ่งได้รับเลือกจากสภาประชาชนสูงสุด (Supreme People's Assembly) ซึ่งมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลีมีเสียงข้างมากอยู่

กำเนิดแนวความคิดจูเช

ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักของรัฐบาลเกาหลีภายใต้การนำของคิม อิล-ซ็อง กับสหภาพโซเวียตนำโดยนิกิตา ครุสชอฟ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เกาหลีเหนือขาดความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจคอมมิวนิสต์ทั้งสอง หลังสงครามเกาหลีเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือยังคงสามารถฟื้นฟูและอยู่รอดได้จากการผลิตภายในประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษ 1970 วิกฤตราคาน้ำมันโลก ประกอบกับการลงทุนมหาศาลของรัฐบาลเกาหลีเหนือไปกับการทหารทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือถดถอยลง ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งอย่างเกาหลีใต้กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมและทุนนิยม ในคณะเดียวกันนั้นคิม อิล-ซ็อง ได้ริเริ่มแนวความคิดจูเช (เกาหลี주체) อันเป็นแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์แบบสตาลินนิสต์ในรูปแบบของเกาหลีเหนือเอง อันประกอบไปด้วยการพึ่งพาตนเองโดยสมบูรณ์แบบในสามด้าน ได้แก่ ทางด้านการเมือง (เป็นอิสระจากการครอบงำของทั้งโซเวียตและจีน) ทางเศรษฐกิจ และทางการทหาร รวมทั้งมีลัทธิบูชาตัวบุคคลของคิม อิล-ซ็อง หลังจากที่การกู้เงินจากต่างชาติเพื่อมาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไม่ประสบความสำเร็จ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงตัดสินใจที่จะปิดประเทศตัดสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตกับประเทศอื่น ๆ เกือบทั้งหมด รัฐบาลเกาหลีออกประกาศนโยบายจูเชออกมาอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2525

อย่างไรก็ตามนโยบายจูเชกลับยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือให้ตกต่ำลงไปอีก เมื่อขาดความช่วยเหลือจากภายนอก เมื่อการผลิตภายในประเทศล้มเหลวในช่วงทศวรรษ 1990 อันเนื่องมากจากภัยธรรมชาติทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารข้าวยากหมากแพงขึ้นทั่วไปในประเทศ นำไปสู่ทุพภิกขภัยเกาหลีเหนือ ซึ่งรัฐบาลเกาหลีได้ให้ชื่อเหตุการณ์ภาวะอดอยากในครั้งนี้ว่า "การเดินทัพอันยากลำบาก" (เกาหลี고난의 행군) ในช่วง พ.ศ. 2537 ถึง 2541 ทำให้มีประชาชนขาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตไปเป็นจำนวนประมาณ 240,000 ถึง 3,500,000 คน ในขณะเดียวกันนั้นรัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงครอบงำประชาชนด้วยลัทธิจูเชและลัทธิบูชานายคิม อิล-ซ็อง ต่อไป และแก้ไขปัญหาภาวะความอดอยากอย่างไร้ประสิทธิภาพ

บั้นปลายชีวิตและการส่งต่ออำนาจ

คิม อิล-ซ็อง หมายมั่นที่จะให้บุตรชายคนโตของตนที่เกิดจากภรรยาคนแรกคือ นายคิม จ็อง-อิล เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีต่อไป โดยใน พ.ศ. 2507 นายคิม จ็อง-อิล ได้รับการแต่งตั้งเข้าทำงานในแผนกจัดระเบียบและวางแนวทาง (Organization and Guidance Department) ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี อันเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อปูทางสำหรับคิม จ็อง-อิล ให้ขึ้นสู่อำนาจโดยเฉพาะ ต่อมาใน พ.ศ. 2516 คิม จ็อง-อิล ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ความก้าวหน้าทางการเมืองของคิม จ็อง-อิล ทำให้นานาชาติคาดการณ์ว่าเขาน่าจะเป็นผูสืบทอดต่อจากคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา พ.ศ. 2534 คิม จ็อง-อิล ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี เป็นการแสดงออกของนายคิม อิล-ซ็อง ว่า คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายนั้นเป็นผู้สืบทอดอำนาจอย่างแท้จริง การสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาของนายคิม จ็อง-อิล ทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นรัฐเผด็จการแบบสืบทอด หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยพฤตินัย

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง แห่งเกาหลีเหนือ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเมื่ออายุ 82 ปี หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง ผ่านไปแล้วกว่า 34 ชั่วโมง รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง อย่างเป็นทางการ และประกาศช่วงเวลาการไว้ทุกข์เป็นเวลาสิบวัน ซึ่งงานรื่นเริงทุกชนิดถูกห้าม มีชาวเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีศพของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง กว่าหนึ่งพันคนในวันที่ 17 กรกฎาคม ศพของคิม อิล-ซ็อง ตั้งไว้ที่วังสุริยะคึมซูซัน (Kumsusan Palace of the Sun) ในเมืองเปียงยาง อันเป็นที่พำนักอยู่เดิมของประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ

"ประธานาธิบดีตลอดกาล"

หลังจากที่ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายได้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลี และตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defence Commission) แต่คิม จ็อง-อิล นั้นไม่ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีต่อจากบิดา การแก้ไขรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2538 ได้ยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีและยกย่องให้อดีตประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็องนั้น เป็น"ประธานาธิบดีตลอดกาล" (Eternal President; เกาหลี영원한 주석) การแก้ไขรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2556 ยังคงยืนยันสถานะความเป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของคิม อิล-ซ็อง

ปัจจุบันสถานที่และสถาบันหลายแห่งในเกาหลีเหนือใช้ชื่อของคิม อิล-ซ็อง อันเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิบูชาตัวบุคคล ยกตัวอย่างเช่น จตุรัสคิมอิลซ็อง (Kim Il-sung Square) อันเป็นจตุรัสใหญ่ของนครเปียงยาง หรือ มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง

ครอบครัว

อ้างอิง

  1. "김일성, 쿠바의 '혁명영웅' 체게바라를 만난 날". DailyNK (ภาษาเกาหลี). 15 April 2008.
  2. Hoare, James E. (2012) Historical Dictionary of Democratic People's Republic of Korea
  3. http://www.dailynk.com/english/read.php?num=11335&cataId=nk03600
  4. Baik Bong (1973). Kim il Sung: Volume I: From Birth to Triumphant Return to Homeland. Beirut, Lebanon: Dar Al-talia.
  5. Kimjongilia – The Movie – Learn More
  6. "PETER HITCHENS: North Korea, the last great Marxist bastion, is a real-life Truman show". Daily Mail. London. 8 October 2007.
  7. Byrnes, Sholto (7 May 2010). "The Rage Against God, By Peter Hitchens". The Independent. London.
  8. Jasper Becker (May 1, 2005). Rogue Regime : Kim Jong Il and the Looming Threat of North Korea. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-803810-8.
  9. Lintner, Bertil. Great Leader, Dear Leader: Demystifying North Korea under the Kim Clan. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books, 2005.
  10. http://ysfine.com/wisdom/wk01.html Beria/Kim Il-sung
  11. http://www.scmp.com/article/727755/kim-il-sungs-secret-history
  12. Bradley K. Martin (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. Thomas Dunne Books. p. 51. ISBN 978-0-312-32322-6.
  13. Bradley K. Martin (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. Thomas Dunne Books. p. 56. ISBN 978-0-312-32322-6.
  14. Weathersby, Kathryn, The Soviet Role in the Early Phase of the Korean War, The Journal of American-East Asian Relations 2, no. 4 (Winter 1993): 432
  15. Goncharov, Sergei N., Lewis, John W. and Xue Litai, Uncertain Partners: Stalin, Mao, and the Korean War (1993)
  16. Mansourov, Aleksandr Y., Stalin, Mao, Kim, and China’s Decision to Enter the Korean War, 16 September – 15 October 1950: New Evidence from the Russian Archives, Cold War International History Project Bulletin, Issues 6–7 (Winter 1995/1996): 94–107
  17. Blair, Clay, The Forgotten War: America in Korea, Naval Institute Press (2003).
  18. Ho Jong-ho et al. (1977) The US Imperialists Started the Korean War
  19. http://gopkorea.blogs.com/flyingyangban/2005/02/the_aborted_ove.html

อง, เกาหล, 김일성, นจา, 金日成, อาร, อาร, sŏng, เอ, มอาร, seong, เมษายน, 2455, กรกฎาคม, 2537, เป, นผ, นำคนแรกของสาธารณร, ฐประชาธ, ปไตยประชาชนเกาหล, ดำรงตำแหน, งนายกร, ฐมนตร, งแต, อต, งประเทศเม, 2492, 2515, และดำรงตำแหน, งประธานาธ, บด, งแต, 2515, กระท, งถ, งแก, อส, ญ. khim xil sxng ekahli 김일성 hnca 金日成 xarxar Kim Il sŏng exmxar Gim Il seong 15 emsayn ph s 2455 8 krkdakhm ph s 2537 epnphunakhnaerkkhxngsatharnrthprachathipityprachachnekahli darngtaaehnngnaykrthmntritngaetkxtngpraethsemux ph s 2492 thung ph s 2515 aeladarngtaaehnngprathanathibditngaet ph s 2515 krathngthungaekxsykrrmemux ph s 2537 1 nxkcakniyngdarngtaaehnnghwhnaphrrkhaerngnganekahli tngaet ph s 2493 cnthung ph s 2537 khim xil sxngepnthiruckkwangkhwanginthanaphuephdckarinrabxbkhxmmiwnistkhxngpraethsekahliehnux odydarngtaaehnngxyuinxanacinthanaphunakhxngpraethsekahliehnuxepnewlayawnanthungsisibkwapi darngtaaehnnginchwngsakhyinprawtisastrxnidaeksngkhrameynaelasngkhramekahli mikarphthnalththibuchabukhkhlkhunmasahrbkhim xil sxngodyechphaa hlngkhim xil sxng thungaekxsykrrmipaelw rthbalekahliehnuxphayitkarnakhxngprathanathibdikhim cxng xil butrchay idihsmyanamaekekhawa prathanathibditlxdkal Eternal President ekahli 영원한 주석 hnca Yeongwonhan Juseok 2 emux ph s 2554khim xil sxng김일성prathanathibditlxdkalaehngpraethsekahliehnuxdarngtaaehnng 28 thnwakhm ph s 2515 8 krkdakhm ph s 2537kxnhna immithdip khim cxng xilnaykrthmntriaehngpraethsekahliehnuxdarngtaaehnng 9 knyayn ph s 2491 28 thnwakhm ph s 2515kxnhna immithdip khim xilkhxmulswnbukhkhlekid 15 emsayn ph s 2455mnkyxngaed epiyngyang cnghwdphyxngxnit ekahliphayitkarpkkhrxngkhxngyipunesiychiwit 8 krkdakhm ph s 2537 82 pi epiyngyang ekahliehnuxphrrkhkaremuxng phrrkhaerngnganekahlikhusmrs khim cxng sukkhim sxng aexbutr khim cxng xilkhim mn xilkhim kyxng hikhim kyxng cinkhim phyxng xilkhim yxng xilsasna xethwniymlaymuxchuxkarekhaepnthharrbich shphaphosewiyt ekahliehnuxsngkd kxngthphosewiyt kxngthphaedng kxngthphprachachnekahlipracakar 1941 19451948 1994ys aethwxnsu cxmphlsungsud bngkhbbycha phubychakarthharsungsudkaryuthth sngkhramolkkhrngthi 2sngkhramekahlixnusawriykhim xil sxng enuxha 1 prawti 1 1 chiwitwyeyaw 1 2 karrbinaemncueriy 1 3 hnthangsuphunaekahliehnux 1 4 sngkhramekahli 1 5 rwbrwmxanacaelakacdkhuaekhng 1 6 kaenidaenwkhwamkhidcuech 1 7 bnplaychiwitaelakarsngtxxanac 2 prathanathibditlxdkal 3 khrxbkhrw 4 xangxingprawti aekikhchiwitwyeyaw aekikh xtchiwprawtikhxngprathanathibdikhim xil sxng nnidmacaktwprathanathibdiexngaelakarcdphimphkhxngrthbalekahliehnux sungkhxngethccringbangprakarnnkhdaeyngkbhlkthancakphaynxk prathanathibdikhim xil sxng ekidemuxwnthi 15 emsayn ph s 2455 3 4 edimmichuxwa khim sxng cu ekahli 김성주 hnca 金成柱 thihmubanmnkyxngaed inemuxngepiyngyang cnghwdphyxngxnitkhxngekahliehnuxinpccubn epnbutrchaykhnotkhxngkhim hyxng cik ekahli 김형직 aelakhng phn sxk ekahli 강반석 minxngchaysxngkhnidaek khim chxl cu aelakhim yxng cu 4 15 khrxbkhrwkhxngkhim sxng cu nbthuxkhristsasnanikayephrsibthieriyn 5 6 7 bida khim hyxng cik epnkhru ekahliinkhnannxyuphayitkarpkkhrxngkhxngckrwrrdiyipun ekahliphayitkarpkkhrxngkhxngyipunnnprasbpyhaphawakhawyakhmakaephngepnehtuihkhrxbkhrwkhxngkhim xil sxng xphyphyayipxasyyngmnthlcihlin aekhwnaemncueriy khxngsatharnrthcinemuxpraman ph s 2463 emuxkhim sxng cu nnyngxayunxy khim sxng cu inmnthlcihlin pi ph s 2470 karrbinaemncueriy aekikh khim xil sxng idrbkarsuksakhntnthimnthlcihlin enuxngcaketibotmainaemncueriy khim xil sxng cungphudphasacinklangepnhlkaelabanghlkthanbxkwa khim xil sxng nnphudphasaekahliidnxymakinwyeyaw 8 chiwprawtisungaetngodyrthbalekahliehnuxbrryaywakhim xil sxng mibthbathaelamikhwamkratuxruxrninkarekhluxnihwpldaexkekahlicakkarpkkhrxngkhxngyipun aelayudmninlththikhxmmiwnist cnkrathngthukthangkarsatharnrthcincbkumtw sungraylaexiydehlaniimsamarthphisucnidwaepnkhxethccringhruxim imphbhlkthanraylaexiydwa khim sxng cu ekharwmlththikhxmmiwnistidxyangir emux ph s 2474 khim sxng cu ekharwmphrrkhkhxmmiwnistcin inpiediywknnnexngekidehtukarnmukedn epnehtuihckrwrrdiyipunykthphekharukranaemncueriy naipsusngkhramcin yipunkhrngthi 2 khim sxng cu cungidekharwmthharkxngocrkhxmmiwnistcintxsuephuxtanthankarrukrankhxngyipun rahwangkartxsutanthanyipunphayitthngkhxngrthbalcinnn khim sxng cu idruckkbewy ecinghmin Wei Zhengmin phubngkhbbychachawcinsungmixiththiphltxaenwkhwamkhidthangdanlththikhxmmiwnistaelaepriynesmuxnepnxacarykhxngkhim sxng cuph s 2478 khim sxngcuepliynchuxkhxngtnexngepnkhim xil sxng khim xil sxng itetasaykarbngkhbbychakhxngkxngthphcininaemncueriykhunmatamladb cnkrathngidepnphubngkhbbychamikxngkalngepnkhxngtnexng sngkhramcin yipunxnepnswnhnungkhxngsngkhramolkkhrngthisxngyudeyuxyawnancnkrathngkxngthphfaycininaemncueriythukldthxnkalnglngaelasuyesiyphubngkhbbychaipmak khim xil sxng sunginkhnannepnhnunginphubngkhbbychaephiyngimkikhnkhxngcinthiyngmichiwitrxd thukkxngthphyipunocmticntxnglathxykhamaemnaxamurekhaipyngxanaekhtkhxngshphaphosewiyt emux ph s 2483 khim xil sxng phankxyuthiemuxngewiytskxy Vyatskoye dinaednhabarxfskh Khabarovsk Krai praethsrsesiyinpccubn aelaekharwmkxngthphaedng khxngshphaphosewiyt thiemuxngewiydskxyinpi ph s 2484 khim xil sxng idsmrskbnangkhim cxng suk ekahli 김정숙 nangkhim cxng suk idihkaenidbutrchaykhnaerkkhux khim cxng xil inpiediywkn 9 hnthangsuphunaekahliehnux aekikh eduxnsinghakhm ph s 2488 ckrwrrdiyipunprakasyxmcanntxsngkhramolkkhrngthisxng aelathphosewiytekhayudemuxngepiyngyang ekahliphncakkarepnxananikhmkhxngyipun aeladwymtikhxngshprachachatiihekahlixyuinphawathrsti Trusteeship odyshphaphosewiytekhakakbduaeldinaednekahlithangtxnehnux inkhnathishrthxemrikakakbduaelekahlithangtxnit ocesf stalin Joseph Stalin phunashphaphosewiyttxngkarsrrhaphunachawekahlisungcapkkhrxngekahliswnehnuxthixyuphayitkarlaxananikhmkhxngosewiyttxip lafernti eberiy Lavrentiy Beria idaenanakhim xil sxng txstalin 3 10 11 ihepnphupkkhrxngdinaednekahliehnux khim xil sxng cungedinthangklbmayngekahliodyethiybthathiemuxngwxnsnineduxnknyayn ph s 2488 11 12 ineduxnthnwakhmshphaphosewiytprakasihkhim xil sxng epnhwhnaphrrkhaerngnganlaxananikhmekahli 13 aemwaphrrkhaerngnganaehngekahliedimnnmithithakarxyuthiosl aelamihwhnaxyukxnaelwkhuxphk hxn yxng ekahli 박헌영 dwykarsnbsnunkhxngshphaphosewiyt khim xil sxng cungsamarthkawkhunepnphunakhxmmiwnistsungsudkhxngekahliehnuxidsaerc 11 13 nxkehnuxcakkhim xil sxng shphaphosewiytidphyayamthicarwbrwmbukhkhlaelaxngkhkrtang khxngchawekahlithiihkarsnbsnunlththikhxmmiwnistekhamasurthbalekahliehnux ineduxnkumphaphnth ph s 2489 phrrkhprachachnihmkhxngkhim du bng ekahli 김두봉 aelaphrrkhaerngnganekahlithioslkhxngnayphk hxn yxng thukyubrwmekhakbphrrkhaerngnganaehngekahlikhxngnaykhim xil sxng klayepnsphaprachachnchwkhrawaehngekahliehnux odymikhim xil sxng epnphuna aetthwataaehnnghwhnaphrrkhaerngngannntkepnkhxngkhim du bng inthanaphunakhxngsphaprachachnkhim xil sxng idptiruprabbthidininekahli sunginsmykarpkkhrxngkhxngyipunnndinaednswnihyinekahliminaythunchawyipunepnecakhxng khim xil sxng idcdsrrthidinihmthnghmdtamhlkkarkhxnglththikhxmmiwnisteduxnphvscikayn ph s 2490 shprachachatimimtiihrthbalthimacakeluxktngthioslmixanacpkkhrxngthwthngkhabsmuthrekahli sungepnkhxtklngthishphaphosewiytimehnchxbdwy eduxnsinghakhm ph s 2491 rthbalthimacakkareluxktngthioslnaodyxi sung mn Yi Seung man ekahli 이승만 prakascdtngsatharnrthekahliineduxntxmaknyayn ph s 2491 shphaphosewiytcungykradbsphaprachachnekahliehnuxkhunepn satharnrthprachathipityprachachnekahli Democratic People s Republic of Korea DPRK odyminaykhim xil sxng epnnaykrthmntri naykrthmntrikhim xil sxng cdtngkxngthphlaxananikhmekahli ephuxepnkxngkalngthharpracarth khim xil sxng rwbrwmphrrkhkhxmmiwnistxun inekahlicdtngepn aenwrwmlaxananikhmephuxexkphaphaehngpituphumi Democratic Front of the Reunification of the Fatherland odymiphrrkhaerngnganlaxananikhmaehngekahlikhxngkhim xil sxng epnaeknnahlknaykrthmntrikhim xil sxng niymkarbriharpraethsinaebbkhxngocesf stalin cnnamaepnaebbxyang khim xil sxng erimkarsranglththibuchatwbukhkhl cult of personality khxngekhaexngkhunma erimmikareriykkhim xil sxng wa thanphuna Great Leader ruppnesmuxnkhxngkhim xil sxng kerimpraktkhuninsmyniechnknnangkhim cxng suk suphaphstrihmayelkhhnungphrryakhnaerkkhxngkhim xil sxng phuepnmardakhxngkhim cxng xil idihkaenidbutrchaykhnthisxngkhux khim mn xil ekahli 김만일 in ph s 2487 aelaidihkaenidbutrsawkhnotkhnaerkkhux khim khyxng hi ekahli 김경희 emux ph s 2489 aetthwakhim mn xil idesiychiwitcakkarcmnainsrawaynain ph s 2490 dwyxayuephiyngsampi caknnin ph s 2492 nangkhim cxng suk kesiychiwitcakkarihkaenidbutrkhnthisi khim xil sxng smrsihminxiksampitxma ph s 2495 kbelkhanukarswntw khim sxng aex ekahli 김성애 rahwangchwngsngkhramekahli sngkhramekahli aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramekahli emuxcdtngrththngsxnginkhabsmuthrekahliepnthieriybrxyaelw thngshrthxemrikaaelashphaphosewiytidthxnkalngkhxngtnxxkcakkhabsmuthrekahliin ph s 2492 naykrthmntrikhim xil sxng elngehnwakxngkalngthharkhxngfayekahliitnnxxnaexemuxprascakkarsnbsnunkhxngshrthxemrika cungesnxtxstalinwacaekharukranekahliitephuxrwmkhabsmuthrekahliihepnhnungphayitkarpkkhrxngkhxngrthbalkhxmmiwnist 14 15 16 sungfaystalinnnehndwyenuxngcakkhadkarnwashrthxemrikasungidthxnkalngiphmdaelwcaimekhachwyfayekahliit stalincungcdihmikarfukkarrbaelatidxawuththithnsmyihaekkxngthphlaxananikhmprachachnekahliephuxetriymkarnsahrbkarrukranekahliit 17 sahrbfaysatharnrthprachachncin phayitkarnakhxngehma ecxtngnn yngkhnglngelthicaihkarsnbsnunaekekahliehnux enuxngcakehmaecxtngmikhwamehnwafayshrthxemrikacatxngekhachwyekahliitxyangaennxneduxnmithunayn ph s 2493 khim xil sxng mxbhmayih chew yng kxn ekahli 최용건 phubngkhbbychasungsudkhxngkxngthphprachachnekahli nakxngthphprachachnekahliekharukranekahliitkhamesnkhnanthi 38 aelaekhabukyudnkhroslid khnamntrikhwammnkhngaehngshprachachatipranamkarkrathakhxngfayekahliehnuxaelalngmtiihpraethssmachiksngkxngkalngrwminnamkhxngshprachachatiekhatanthankarrukrankhxngekahliehnux fayshrthxemrikaphayitkarnakhxngprathanathibdiaehrri exs thruaemn tdsinicnasngthphekhachwyehluxfayekahliit thphxemrikaexachnathphekahliehnuxidinyuththkarwngrxbpusan aelathphphsmnanachatiinnamkhxngshprachachatiykphlkhunbkthiemuxngxinchxn ineduxnknyaynthphfayekahliitsamarthyudnkhroslkhunipid thphekahliehnuxcunglathxyklbipehnuxesnkhnanthi 38karrukranekahliitkhxngkhim xil sxng in ph s 2493 epnkhwamlmehlwkhrngihykhxngkhim xil sxng thphphsmshrthxemrikaaelashprachachatiemuxyutikarrukrankhxngekahliehnuxidaelw khwngphlkarrwmkhabsmuthrekahliiwkbrthbalthiosl cungykphlkhunehnuxcakesnkhnanthi 38 ineduxntulakhm ekharukranekahliehnux ekhayudemuxngepiyngyangid kxngthphprachachnekahliaetkphay khim xil sxng hlbhnicakemuxngepiyngyangipyngmnthlcihlinkhxngsatharnrthcin emuxthphshrthxemrikaykphlmacniklthungaemnayalu faysatharnrthprachachncinphayitkarnakhxngehmaecxtngmikhwamehnwafayshrthxemrikannekhamakhukkhamiklekhiyngkbekhtaednkhxngsatharnrthprachachncinmakcnekinthn cungsngephing etxh way cin 彭德怀 Peng Dehuai nakxngthphxasaprachachnekhachwyfayekahliehnux odyfayshrthxemrikaaelashprachachatiimthntngtwthukocmticnlathxyklblngmasuesnkhnanthi 38 kxngthphshprachachati kxngthphxasaprachachnkhxngcin aelakxngthphprachachnekahli ecrcathakhxtklngsngbsukineduxnkrkdakhm ph s 2496 thihmubanphnmuncxm ekahli 판문점 thngsxngfaytklngthicakahndekhtplxdthhar khwamkwangsikiolemtrrahwangekhtaednkhxngthngsxngpraethssngkhramekahliepnkhwamlmehlwphayaephkhxngkhim xil sxng dwykarchwyehluxkhxngkxngthphxasasmkhrprachachnkhxngcincungsamarthkhbihkxngthphshrthxemrikaaelashprachachatixxkipcakekahliehnuxid xyangirktamrthbalekahliehnuxinsmytxmaidbidebuxnprawtisastrinchwngsngkhramekahli odyklawwafayshrthxemrikaepnphuerimkarrukranekahliehnuxkxn 18 aelaekahliehnuxidrbchychnaxyangthwmthninsngkhramodythisamarthkhbilkxngthphlaxananikhmkhxngshrthxemrikaxxkipid khim xil sxng inkarlngnamkhxtklnghyudying sngkhramekahli pi ph s 2496 rwbrwmxanacaelakacdkhuaekhng aekikh hlngsngkhramekahliepnchwngewlaaehngkarfunfupraeths khim xil sxng rierimaenwkhwamkhidchxllima Chollima Movement ekahli 천리마운동 hrux mahmunli epnaenwkhwamkhidkhxngkarichthrphyakrthrrrmchatiaelathrphyakrkhnxyanghnkhnwng ihekidpraoychnsungsudephuxthicafunfupraethscaksngkhramekahli thaihekahliehnuxmirabbesrsthkicaebbbngkhb command economy chawekahliehnuxcanwnmakthukeknthekhaepnaerngnganinxutsahkrrmtang khxngrthbal ephuxerngphlphlitxxkmaichinpraethsinsmytnkhxngekahliehnux khim xil sxng miidepnphunakhxmmiwnistthimixanacephiyngkhnediywinekahliehnux aetthwarthbalekahliehnuxinsmynnprakxbipdwyfaykaremuxngthungsifay idaek faykxngocraemncueriykhuxfaykhxngkhim xil sxng faythiihkarsnbsnunshphaphosewiyt faythiihkarsnbsnunrthbalcin aelafaykhxmmiwnistcakekahliit sungfaythiepnkhuaekhngthisakhythisudkhxngkhim xil sxng khux faythiihkarsnbsnuncinhruxthieriykwa fayyxnxn ekahli 연안파 naodynaykhim du bng aelachew chng xik ekahli 최창익 ph s 2496 khim xil sxng othsfaykhxmmiwnistekahliit sungnaodynayphk hxn yxng waepnsaehtuthaihkxngthphprachachnekahliimidrbkartxbrbcakchawekahliitinsngkhramekahli phk hxn yxng aelasmachikfaykhxmmiwnisttangthukcbkumdaeninkhditxhnasatharnchn show trial aelacanwnmakthuktdsinothspraharchiwithruxhayipxyangirrxngrxy phk hxn yxng thuktdsinothspraharin ph s 2498phunaosewiytkhnihm nikita khruschxf minoybaytxtanlththistalin odyphunakhxmmiwnisttang sungmikhwamniymintwstalintangthukkhbxxkcakxanac khim xil sxng phuniymstalin Stalinist thukthangkarshphaphosewiyteriykekharayngantwthimxsokin ph s 2499 ephuxphbkhruschxf khruschxfidklawtahnithungwithikarbriharpraethsaebbstalinkhxngkhim xil sxng idaekkhwamephdckaraelakarsranglththibuchatwbukhkhl aelaennyaihkhim xil sxng ehnthunghlkkarkhxngphawaphunarwm collective leadership 19 khnathikhim xil sxng xyuthiemuxngmxsokhnn fayyxnxnidchwyoxkasniphyayamkxkaryudxanaccakkhim xil sxng odychew chng xik idklawsunthrphcntahnikarbriharpraethskhxngkhimwarwbxanaciwinmuxkhxngtnaetephiyngphuediywepnephdckar aetthwasmachikphrrkhkhnxun inrthbalimehndwykbkaryudxanackhxngfayyxnxn emuxkhim xil sxng edinthangklbmacungsngihmikarsxbswncbkumphunafayyxnxnthnghlay khim du bng phunafayyxnxnaemcaimidmiswnrwminkarkxkarkhrngniaetkthuktdsinothspraharchiwit echnediywkbchew chng xik phurieriminkarkxkarkhrngniinpi ph s 2515 rthbalekahliehnuxprakasrangrththrrmnuychbbihmepliynaeplngrabbkarpkkhrxng odyihnaykhim xil sxng darngtaaehnngepn prathanathibdi sungidrbeluxkcaksphaprachachnsungsud Supreme People s Assembly sungmiphrrkhaerngnganaehngekahlimiesiyngkhangmakxyu kaenidaenwkhwamkhidcuech aekikh khwamsmphnththiimdinkkhxngrthbalekahliphayitkarnakhxngkhim xil sxng kbshphaphosewiytnaodynikita khruschxf aelasatharnrthprachachncin thaihekahliehnuxkhadkhwamchwyehluxcakpraethsmhaxanackhxmmiwnistthngsxng hlngsngkhramekahliesrsthkickhxngekahliehnuxyngkhngsamarthfunfuaelaxyurxdidcakkarphlitphayinpraeths xyangirktaminchwngthswrrs 1970 wikvtrakhanamnolk prakxbkbkarlngthunmhasalkhxngrthbalekahliehnuxipkbkarthharthaihesrsthkickhxngekahliehnuxthdthxylng inkhnathiesrsthkickhxngpraethskhuaekhngxyangekahliitkalngetibotxyangkawkraodddwykarptiwtixutsahkrrmaelathunniym inkhnaediywknnnkhim xil sxng idrierimaenwkhwamkhidcuech ekahli 주체 xnepnaenwkhidlththikhxmmiwnistaebbstalinnistinrupaebbkhxngekahliehnuxexng xnprakxbipdwykarphungphatnexngodysmburnaebbinsamdan idaek thangdankaremuxng epnxisracakkarkhrxbngakhxngthngosewiytaelacin thangesrsthkic aelathangkarthhar rwmthngmilththibuchatwbukhkhlkhxngkhim xil sxng hlngcakthikarkuengincaktangchatiephuxmalngthuninxutsahkrrmehmuxngaerimprasbkhwamsaerc rthbalekahliehnuxcungtdsinicthicapidpraethstdsmphnththangkarkhaaelakarthutkbpraethsxun ekuxbthnghmd rthbalekahlixxkprakasnoybaycuechxxkmaxyangepnthangkarin ph s 2525xyangirktamnoybaycuechklbyingtxkyasaetimesrsthkickhxngekahliehnuxihtktalngipxik emuxkhadkhwamchwyehluxcakphaynxk emuxkarphlitphayinpraethslmehlwinchwngthswrrs 1990 xnenuxngmakcakphythrrmchatithaihekidphawakhadaekhlnxaharkhawyakhmakaephngkhunthwipinpraeths naipsuthuphphikkhphyekahliehnux sungrthbalekahliidihchuxehtukarnphawaxdxyakinkhrngniwa karedinthphxnyaklabak ekahli 고난의 행군 inchwng ph s 2537 thung 2541 thaihmiprachachnkhawekahliehnuxesiychiwitipepncanwnpraman 240 000 thung 3 500 000 khn inkhnaediywknnnrthbalekahliehnuxyngkhngkhrxbngaprachachndwylththicuechaelalththibuchanaykhim xil sxng txip aelaaekikhpyhaphawakhwamxdxyakxyangirprasiththiphaph bnplaychiwitaelakarsngtxxanac aekikh khim xil sxng hmaymnthicaihbutrchaykhnotkhxngtnthiekidcakphrryakhnaerkkhux naykhim cxng xil epnphusubthxdtaaehnngphunakhxngphrrkhaerngnganaehngekahlitxip odyin ph s 2507 naykhim cxng xil idrbkaraetngtngekhathanganinaephnkcdraebiybaelawangaenwthang Organization and Guidance Department khxngphrrkhaerngnganaehngekahli xnepnhnwynganthicdtngkhunmaephuxputhangsahrbkhim cxng xil ihkhunsuxanacodyechphaa txmain ph s 2516 khim cxng xil idrbkareluxntaaehnngihepnelkhathikarphrrkhaerngnganaehngekahli khwamkawhnathangkaremuxngkhxngkhim cxng xil thaihnanachatikhadkarnwaekhanacaepnphusubthxdtxcakkhim xil sxng phuepnbida ph s 2534 khim cxng xil idrbtaaehnngphubychakarsungsudkhxngkxngthphprachachnekahli epnkaraesdngxxkkhxngnaykhim xil sxng wa khim cxng xil phuepnbutrchaynnepnphusubthxdxanacxyangaethcring karsubthxdtaaehnngtxcakbidakhxngnaykhim cxng xil thaihekahliehnuxklayepnrthephdckaraebbsubthxd hruxsmburnayasiththirachyodyphvtinywnthi 8 krkdakhm ph s 2537 prathanathibdikhim xil sxng aehngekahliehnux thungaekxsykrrmdwyorkhhwickhadeluxdemuxxayu 82 pi hlngcakkarthungaekxsykrrmkhxngkhim xil sxng phanipaelwkwa 34 chwomng rthbalekahliehnuxcungprakaskarthungaekxsykrrmkhxngkhim xil sxng xyangepnthangkar aelaprakaschwngewlakariwthukkhepnewlasibwn sungnganruneringthukchnidthukham michawekahliehnuxekharwmphithisphkhxngprathanathibdikhim xil sxng kwahnungphnkhninwnthi 17 krkdakhm sphkhxngkhim xil sxng tngiwthiwngsuriyakhumsusn Kumsusan Palace of the Sun inemuxngepiyngyang xnepnthiphankxyuedimkhxngprathanathibdiphulwnglb prathanathibditlxdkal aekikhhlngcakthiprathanathibdikhim xil sxng thungaekxsykrrmipaelw khim cxng xil phuepnbutrchayidsubthxdtaaehnngelkhathikarphrrkhaerngnganekahli xnepntaaehnngsungsudkhxngphrrkhaerngnganekahli aelataaehnngprathankhnakrrmathikarpxngknpraeths Chairman of the National Defence Commission aetkhim cxng xil nnimidkhundarngtaaehnngepnprathanathibditxcakbida karaekikhrththrrmnuypiph s 2538 idykeliktaaehnngprathanathibdiaelaykyxngihxditprathanathibdikhim xil sxngnn epn prathanathibditlxdkal Eternal President ekahli 영원한 주석 karaekikhrththrrmnuypiph s 2556 yngkhngyunynsthanakhwamepnprathanathibditlxdkalkhxngkhim xil sxngpccubnsthanthiaelasthabnhlayaehnginekahliehnuxichchuxkhxngkhim xil sxng xnepnswnhnungkhxnglththibuchatwbukhkhl yktwxyangechn cturskhimxilsxng Kim Il sung Square xnepnctursihykhxngnkhrepiyngyang hrux mhawithyalykhimxilsxngkhrxbkhrw aekikhpu khim ob hyxn ekahli 김보현 ph s 2414 2498 ya li ob xik ekahli 리보익 ph s 2419 2502 bida khim hyxng cik ekahli 김형직 ph s 2427 2469 marda khng phn sxk ekahli 강반석 ph s 2435 2475 phinxng khim chxl cu ekahli 김철주 khim yxng cu ekahli 김영주 phrryakhnaerk khim cxng suk ekahli 김정숙 ph s 2460 2492 butrchaykhnaerk khim cxng xil butrchaykhnthi 2 khim mn xil ekahli 김만일 ph s 2487 2490 butrsawkhnaerk khim kyxng hi ekahli 김경희 ph s 2489 pccubn smrskb chng sxng aethk phrryakhnthi 2 khim sxng aex ekahli 김성애 ph s 2471 2557 butrsawkhnthi 2 khim kyxng suk ekahli 김경숙 ph s 2494 pccubn butrchaykhnthi 3 khim phyxng xil ekahli 김평일 ph s 2497 pccubn butrchaykhnthi 4 khim yxng xil ekahli 김영일 ph s 2498 pccubn butrsawkhnthi 3 khim kyxng cin ekahli 김경진 xangxing aekikh 김일성 쿠바의 혁명영웅 체게바라를 만난 날 DailyNK phasaekahli 15 April 2008 Hoare James E 2012 Historical Dictionary of Democratic People s Republic of Korea 3 0 3 1 http www dailynk com english read php num 11335 amp cataId nk03600 4 0 4 1 Baik Bong 1973 Kim il Sung Volume I From Birth to Triumphant Return to Homeland Beirut Lebanon Dar Al talia Kimjongilia The Movie Learn More PETER HITCHENS North Korea the last great Marxist bastion is a real life Truman show Daily Mail London 8 October 2007 Byrnes Sholto 7 May 2010 The Rage Against God By Peter Hitchens The Independent London Jasper Becker May 1 2005 Rogue Regime Kim Jong Il and the Looming Threat of North Korea Oxford University Press ISBN 978 0 19 803810 8 Lintner Bertil Great Leader Dear Leader Demystifying North Korea under the Kim Clan Chiang Mai Thailand Silkworm Books 2005 http ysfine com wisdom wk01 html Beria Kim Il sung 11 0 11 1 11 2 http www scmp com article 727755 kim il sungs secret history Bradley K Martin 2004 Under the Loving Care of the Fatherly Leader North Korea and the Kim Dynasty Thomas Dunne Books p 51 ISBN 978 0 312 32322 6 13 0 13 1 Bradley K Martin 2004 Under the Loving Care of the Fatherly Leader North Korea and the Kim Dynasty Thomas Dunne Books p 56 ISBN 978 0 312 32322 6 Weathersby Kathryn The Soviet Role in the Early Phase of the Korean War The Journal of American East Asian Relations 2 no 4 Winter 1993 432 Goncharov Sergei N Lewis John W and Xue Litai Uncertain Partners Stalin Mao and the Korean War 1993 Mansourov Aleksandr Y Stalin Mao Kim and China s Decision to Enter the Korean War 16 September 15 October 1950 New Evidence from the Russian Archives Cold War International History Project Bulletin Issues 6 7 Winter 1995 1996 94 107 Blair Clay The Forgotten War America in Korea Naval Institute Press 2003 Ho Jong ho et al 1977 The US Imperialists Started the Korean War http gopkorea blogs com flyingyangban 2005 02 the aborted ove htmlekhathungcak https th wikipedia org w index php title khim xil sxng amp oldid 9448977, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม