fbpx
วิกิพีเดีย

ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุในท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ

ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี

การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว

ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน

ในปี ค.ศ. 2019 เป็นการครบรอบ 410 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปี ค.ศ.2019 เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น

ประวัติ

ดาราศาสตร์นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับตั้งแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เขาย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อ ๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกล ๆ ก็ยังเห็นว่าพื้นผิวของโลกแบน จึงคิดกันว่าโลกแบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้แสง สี ความร้อน ซึ่งก็คือ ดวงอาทิตย์ ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเรามาก

การศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรก ๆ เป็นการเฝ้าดูและคาดเดาการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก่อนยุคสมัยที่กล้องโทรทรรศน์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น มีสิ่งปลูกสร้างโบราณหลายแห่งที่เชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับการเฝ้าศึกษาทางดาราศาสตร์ เช่น สโตนเฮนจ์ นอกจากนี้การเฝ้าศึกษาดวงดาวยังมีความสำคัญต่อพิธีกรรม ความเชื่อ และเป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมการเพาะปลูก รวมถึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงระยะเวลา วัน เดือน ปี

เมื่อสังคมมีวิวัฒนาการขึ้นในดินแดนต่าง ๆ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ก็ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมโสโปเตเมีย กรีก จีน อียิปต์ อินเดีย และ มายา เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของธรรมชาติแห่งจักรวาลกว้างขวางขึ้น ผลการศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรก ๆ จะเป็นการบันทึกแผนที่ตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ อันเป็นศาสตร์ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า การวัดตำแหน่งดาว (astrometry) ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่าง ๆ เริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้น ธรรมชาติการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก นำไปสู่แนวคิดเชิงปรัชญาเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น ความเชื่อดั้งเดิมคือโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่ไปโดยรอบ แนวคิดนี้เรียกว่า แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (geocentric model)

มีการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญไม่มากนักก่อนการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ตัวอย่างการค้นพบเช่น ชาวจีนสามารถประเมินความเอียงของแกนโลกได้ประมาณหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนค้นพบว่าปรากฏการณ์จันทรคราสจะเกิดขึ้นซ้ำเป็นช่วงเวลา เรียกว่า วงรอบซารอส และช่วงสองร้อยปีก่อนคริสตกาล ฮิปปาร์คัส นักดาราศาสตร์ชาวกรีก สามารถคำนวณขนาดและระยะห่างของดวงจันทร์ได้

ตลอดช่วงยุคกลาง การค้นพบทางดาราศาสตร์ในยุโรปกลางมีน้อยมากจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่มีการค้นพบใหม่ ๆ มากมายในโลกอาหรับและภูมิภาคอื่นของโลก มีนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับหลายคนที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานสำคัญแก่วิทยาการด้านนี้ เช่น Al-Battani และ Thebit รวมถึงคนอื่น ๆ ที่ค้นพบและตั้งชื่อให้แก่ดวงดาวด้วยภาษาอารบิก ชื่อดวงดาวเหล่านี้ยังคงมีที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

 
ภาพร่างการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ทำให้เห็นว่าพื้นผิวดวงจันทร์นั้นขรุขระ

ในยุคเรอเนซองส์ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ได้นำเสนอแนวคิดแบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมากจากศาสนจักร ทว่าได้รับการยืนยันรับรองจากงานศึกษาของกาลิเลโอ กาลิเลอี และ โยฮันเนส เคปเลอร์ โดยที่กาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงแบบใหม่ขึ้นในปี ค.ศ. 1609 ทำให้สามารถเฝ้าสังเกตดวงดาวและนำผลจากการสังเกตมาช่วยยืนยันแนวคิดนี้

เคปเลอร์ได้คิดค้นระบบแบบใหม่ขึ้นโดยปรับปรุงจากแบบจำลองเดิมของโคเปอร์นิคัส ทำให้รายละเอียดการโคจรต่าง ๆ ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ที่ศูนย์กลางสมบูรณ์ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แต่เคปเลอร์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอทฤษฎีนี้เนื่องจากกฎหมายในยุคสมัยนั้น จนกระทั่งต่อมาถึงยุคสมัยของเซอร์ ไอแซค นิวตัน ผู้คิดค้นหลักกลศาสตร์ท้องฟ้าและกฎแรงโน้มถ่วงซึ่งสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ นิวตันยังได้คิดค้นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขึ้นด้วย

การค้นพบใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมไปกับการพัฒนาขนาดและคุณภาพของกล้องโทรทรรศน์ที่ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำรายชื่อดาวอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกโดย ลาซายล์ ต่อมานักดาราศาสตร์ชื่อ วิลเลียม เฮอร์เชล ได้จัดทำรายการโดยละเอียดของเนบิวลาและกระจุกดาว ค.ศ. 1781 มีการค้นพบดาวยูเรนัส ซึ่งเป็นการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นครั้งแรก ค.ศ. 1838 มีการประกาศระยะทางระหว่างดาวเป็นครั้งแรกโดยฟรีดดริค เบสเซล หลังจากตรวจพบพารัลแลกซ์ของดาว 61 Cygni

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ออยเลอร์ คลาเราต์ และดาเลมเบิร์ต ได้คิดค้นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาสามวัตถุ (three-body problem หรือ n-body problem) ทำให้การประมาณการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และดาวเคราะห์สามารถทำได้แม่นยำขึ้น งานชิ้นนี้ได้รับการปรับปรุงต่อมาโดย ลากรองจ์ และ ลาปลาส ทำให้สามารถประเมินมวลของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ได้

การค้นพบสำคัญทางดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การถ่ายภาพ และสเปกโตรสโคป เราทราบว่าดวงดาวต่าง ๆ ที่แท้เป็นดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ของเรานั่นเอง แต่มีอุณหภูมิ มวล และขนาดที่แตกต่างกันไป

การค้นพบว่า ดาราจักรของเราหรือดาราจักรทางช้างเผือกนี้ เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่รวมตัวอยู่ด้วยกัน เพิ่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง พร้อมกับการค้นพบการมีอยู่ของดาราจักรอื่น ๆ ต่อมาจึงมีการค้นพบว่า เอกภพกำลังขยายตัว โดยดาราจักรต่าง ๆ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกจากเรา การศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่ยังค้นพบวัตถุท้องฟ้าใหม่ ๆ อีกหลายชนิด เช่น เควซาร์ พัลซาร์ เบลซาร์ และดาราจักรวิทยุ ผลจากการค้นพบเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางฟิสิกส์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบกับวัตถุประหลาดอื่น ๆ เช่น หลุมดำ และดาวนิวตรอน ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์จักรวาลวิทยามีความก้าวหน้าอย่างมากตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบบจำลองบิกแบงได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ เช่น การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล กฎของฮับเบิล และการที่มีธาตุต่าง ๆ มากมายอย่างไม่คาดคิดในจักรวาลภายนอก

ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

 
กล้องโทรทรรศน์วิทยุจำนวนมากเรียงรายในลานกว้าง ที่รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐ

ในทางดาราศาสตร์ สารสนเทศส่วนใหญ่ได้จากการตรวจหาและวิเคราะห์โฟตอนซึ่งเป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า แต่อาจได้จากข้อมูลที่มากับรังสีคอสมิก นิวตริโน ดาวตก และในอนาคตอันใกล้อาจได้จากคลื่นความโน้มถ่วง

การแบ่งหมวดของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์สามารถแบ่งได้ตามการสังเกตการณ์สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านต่าง ๆ โดยการสังเกตการณ์บางย่านสเปกตรัมสามารถกระทำได้บนพื้นผิวโลก แต่บางย่านจะสามารถทำได้ในชั้นบรรยากาศสูงหรือในอวกาศเท่านั้น การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในย่านสเปกตรัมต่าง ๆ แสดงดังรายละเอียดต่อไปนี้

ดาราศาสตร์วิทยุ

ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์วิทยุ

ดาราศาสตร์วิทยุเป็นการตรวจหาการแผ่รังสีในความยาวคลื่นที่ยาวกว่า 1 มิลลิเมตร (ระดับมิลลิเมตรถึงเดคาเมตร) เป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่แตกต่างจากการศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์รูปแบบอื่น ๆ เพราะเป็นการศึกษาคลื่นวิทยุซึ่งถือว่าเป็นคลื่นจริง ๆ มากกว่าเป็นการศึกษาอนุภาคโฟตอน จึงสามารถตรวจวัดได้ทั้งแอมปลิจูดและเฟสของคลื่นวิทยุซึ่งจะทำได้ยากกว่ากับคลื่นที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่านี้

คลื่นวิทยุที่แผ่จากวัตถุดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งอาจอยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน โดยมากแล้วการแผ่คลื่นวิทยุที่ตรวจจับได้บนโลกมักอยู่ในรูปแบบของการแผ่รังสีซิงโครตรอน ซึ่งเกิดจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก นอกจากนี้สเปกตรัมที่เกิดจากแก๊สระหว่างดาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนที่ 21 เซนติเมตร จะสามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุ

วัตถุดาราศาสตร์ที่สามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุมีมากมาย รวมไปถึงซูเปอร์โนวา แก๊สระหว่างดาว พัลซาร์ และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์

ดาราศาสตร์เชิงแสง

ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์เชิงแสง

การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์เชิงแสงเป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด คือการสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยดวงตามนุษย์ โดยอาศัยเครื่องมือช่วยบ้างเช่น กล้องโทรทรรศน์ ภาพที่มองเห็นถูกบันทึกเอาไว้โดยการวาด จนกระทั่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงมีการบันทึกภาพสังเกตการณ์ด้วยเครื่องมือถ่ายภาพ ภาพสังเกตการณ์ยุคใหม่มักใช้อุปกรณ์ตรวจจับแบบดิจิตอล ที่นิยมอย่างมากคืออุปกรณ์จับภาพแบบซีซีดี แม้ว่าแสงที่ตามองเห็นจะมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 4000 Å ถึง 7000 Å (400-700 nm) แต่อุปกรณ์ตรวจจับเหล่านี้ก็มักจะมีความสามารถสังเกตภาพที่มีการแผ่รังสีแบบใกล้อัลตราไวโอเลต และใกล้อินฟราเรดได้ด้วย

ดาราศาสตร์อินฟราเรด

ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์อินฟราเรด

ดาราศาสตร์อินฟราเรด เป็นการตรวจหาและวิเคราะห์การแผ่รังสีในช่วงคลื่นอินฟราเรด (คือช่วงความยาวคลื่นที่ยาวกว่าแสงสีแดง) ยกเว้นในช่วงคลื่นที่ใกล้เคียงกับแสงที่ตามองเห็น การแผ่รังสีอินฟราเรดจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปมากแล้วชั้นบรรยากาศจะปลดปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมาแทน ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดจึงจำเป็นต้องทำที่ระดับบรรยากาศที่สูงและแห้ง หรือออกไปสังเกตการณ์ในอวกาศ การศึกษาดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดมีประโยชน์มากในการศึกษาวัตถุที่เย็นเกินกว่าจะแผ่รังสีคลื่นแสงที่ตามองเห็นออกมาได้ เช่น ดาวเคราะห์ และแผ่นจานดาวฤกษ์ (circumstellar disk) ยิ่งคลื่นอินฟราเรดมีความยาวคลื่นมาก จะสามารถเดินทางผ่านกลุ่มเมฆฝุ่นได้ดีกว่าแสงที่ตามองเห็นมาก ทำให้เราสามารถเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เกิดใหม่ในเมฆโมเลกุลและในใจกลางของดาราจักรต่าง ๆ ได้ โมเลกุลบางชนิดปลดปล่อยคลื่นอินฟราเรดออกมาแรงมาก ซึ่งทำให้เราสามารถศึกษาลักษณะทางเคมีในอวกาศได้ เช่น การตรวจพบน้ำบนดาวหาง เป็นต้น

ดาราศาสตร์พลังงานสูง

ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต

ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงม่วง คือประมาณ 10-3200 Å (10-320 นาโนเมตร) แสงที่ความยาวคลื่นนี้จะถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์จึงต้องกระทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในห้วงอวกาศ การศึกษาดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตจะใช้ในการศึกษาการแผ่รังสีความร้อนและเส้นการกระจายตัวของสเปกตรัมจากดาวฤกษ์สีน้ำเงินร้อนจัด (ดาวโอบี) ที่ส่องสว่างมากในช่วงคลื่นนี้ รวมไปถึงดาวฤกษ์สีน้ำเงินในดาราจักรอื่นที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการสำรวจระดับอัลตราไวโอเลต วัตถุอื่น ๆ ที่มีการศึกษาแสงอัลตราไวโอเลตได้แก่ เนบิวลาดาวเคราะห์ ซากซูเปอร์โนวา และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ อย่างไรก็ดี แสงอัลตราไวโอเลตจะถูกฝุ่นระหว่างดวงดาวดูดซับหายไปได้ง่าย ดังนั้นการตรวจวัดแสงอัลตราไวโอเลตจากวัตถุจึงต้องนำมาปรับปรุงค่าให้ถูกต้องด้วย

ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์

ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์

ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ คือการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ โดยทั่วไปวัตถุจะแผ่รังสีเอ็กซ์ออกมาจากการแผ่รังสีซิงโครตรอน (เกิดจากอิเล็กตรอนแกว่งตัวเป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก) จากการแผ่ความร้อนของแก๊สเบาบางที่อุณหภูมิสูงกว่า 107 เคลวิน (เรียกว่า การแผ่รังสี bremsstrahlung) และจากการแผ่ความร้อนของแก๊สหนาแน่นที่อุณหภูมิสูงกว่า 107 เคลวิน (เรียกว่า การแผ่รังสีของวัตถุดำ) คลื่นรังสีเอ็กซ์มักถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์จึงทำได้โดยอาศัยบัลลูนที่ลอยตัวสูงมาก ๆ หรือจากจรวด หรือจากยานสำรวจอวกาศเท่านั้น แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ที่สำคัญได้แก่ ระบบดาวคู่รังสีเอ็กซ์ พัลซาร์ ซากซูเปอร์โนวา ดาราจักรชนิดรี กระจุกดาราจักร และแกนกลางดาราจักรกัมมันต์

ดาราศาสตร์รังสีแกมมา

ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์รังสีแกมมา

ดาราศาสตร์รังสีแกมมาเป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุดของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า เราสามารถสังเกตการณ์รังสีแกมมาโดยตรงได้จากดาวเทียมรอบโลก เช่น หอดูดาวรังสีแกมมาคอมป์ตัน หรือกล้องโทรทรรศน์เชเรนคอฟ กล้องเชเรนคอฟไม่ได้ตรวจจับรังสีแกมมาโดยตรง แต่ตรวจจับแสงวาบจากแสงที่ตามองเห็นอันเกิดจากการที่รังสีแกมมาถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป

แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาโดยมากมาจากการเกิดแสงวาบรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรังสีแกมมาที่แผ่ออกจากวัตถุเพียงชั่วไม่กี่มิลลิวินาทีหรืออาจนานหลายพันวินาทีก่อนที่มันจะสลายตัวไป แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาชั่วคราวเช่นนี้มีจำนวนกว่า 90% ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาทั้งหมด มีแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นแหล่งกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ พัลซาร์ ดาวนิวตรอน และวัตถุที่อาจกลายไปเป็นหลุมดำได้ เช่น นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์

การสังเกตการณ์อื่นนอกเหนือจากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า

นอกเหนือจากการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์โดยการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว ยังมีการสังเกตการณ์อื่น ๆ ที่ทำได้บนโลกเพื่อศึกษาวัตถุในระยะไกลมาก ๆ

ในการศึกษาดาราศาสตร์นิวตริโน นักดาราศาสตร์จะใช้ห้องทดลองใต้ดินพิเศษเช่น SAGE, GALLEX, และ Kamioka II/III เพื่อทำการตรวจจับนิวตริโน ซึ่งเป็นอนุภาคที่เกิดจากดวงอาทิตย์ แต่ก็อาจพบจากซูเปอร์โนวาด้วย เราสามารถตรวจหารังสีคอสมิกซึ่งประกอบด้วยอนุภาคพลังงานสูงได้ขณะที่มันปะทะกับชั้นบรรยากาศของโลก เครื่องมือตรวจจับนิวตริโนในอนาคตอาจมีความสามารถพอจะตรวจจับนิวตริโนที่เกิดจากรังสีคอสมิกในลักษณะนี้ได้

การเฝ้าสังเกตการณ์อีกแบบหนึ่งคือการสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง ตัวอย่างหอสังเกตการณ์ลักษณะนี้ เช่น Laser Interferometer Gravitational Observatory (LIGO) แต่การตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วงยังเป็นไปได้ยากอยู่

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ ซึ่งทำได้โดยการสังเกตการณ์โดยตรงผ่านยานอวกาศ รวมถึงการเก็บข้อมูลระหว่างที่ยานเดินทางผ่านวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ โดยใช้เซ็นเซอร์ระยะไกล ใช้ยานสำรวจเล็กลงจอดบนวัตถุเป้าหมายเพื่อทำการศึกษาพื้นผิว หรือศึกษาจากตัวอย่างวัตถุที่เก็บมาจากปฏิบัติการอวกาศบางรายการที่สามารถนำชิ้นส่วนตัวอย่างกลับมาทำการวิจัยต่อได้

ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี

ในการศึกษาดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี มีการใช้เครื่องมือหลากหลายชนิดรวมถึงแบบจำลองการวิเคราะห์ต่าง ๆ รวมถึงการจำลองแบบคำนวณทางคณิตศาสตร์ในคอมพิวเตอร์ เครื่องมือแต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์แตกต่างกันไป แบบจำลองการวิเคราะห์ของกระบวนการจะเหมาะสำหรับใช้ศึกษาถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอันสามารถสังเกตได้ ส่วนแบบจำลองคณิตศาสตร์สามารถแสดงถึงการมีอยู่จริงของปรากฏการณ์และผลกระทบต่าง ๆ ที่เราอาจจะมองไม่เห็น.

นักดาราศาสตร์ทฤษฎีล้วนกระตือรือร้นที่จะสร้างแบบจำลองทฤษฎีเพื่อระบุถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากผลสังเกตการณ์ที่ได้รับ เพื่อช่วยให้ผู้สังเกตการณ์สามารถเลือกใช้หรือปฏิเสธแบบจำลองแต่ละชนิดได้ตามที่เหมาะสมกับข้อมูล นักดาราศาสตร์ทฤษฎียังพยายามสร้างหรือปรับปรุงแบบจำลองให้เข้ากับข้อมูลใหม่ ๆ ในกรณีที่เกิดความไม่สอดคล้องกัน ก็มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงแบบจำลองเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันกับข้อมูล ในบางกรณีถ้าพบข้อมูลที่ขัดแย้งกับแบบจำลองอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็อาจจะต้องล้มเลิกแบบจำลองนั้นไปก็ได้

หัวข้อต่าง ๆ ที่นักดาราศาสตร์ทฤษฎีสนใจศึกษาได้แก่ วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของดาวฤกษ์ การก่อตัวของดาราจักร โครงสร้างขนาดใหญ่ของวัตถุในเอกภพ กำเนิดของรังสีคอสมิก ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และฟิสิกส์จักรวาลวิทยา รวมถึงฟิสิกส์อนุภาคในทางดาราศาสตร์ด้วย การศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์เป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ใช้ตรวจวัดคุณสมบัติของโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ ที่ซึ่งแรงโน้มถ่วงมีบทบาทสำคัญต่อปรากฏการณ์ทางกายภาพต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานของการศึกษาฟิสิกส์หลุมดำ และการศึกษาคลื่นแรงโน้มถ่วง ยังมีทฤษฎีกับแบบจำลองอื่น ๆ อีกซึ่งเป็นที่ยอมรับและร่วมศึกษากันโดยทั่วไป ในจำนวนนี้รวมถึงแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม ทฤษฎีบิกแบง การพองตัวของจักรวาล สสารมืด และ พลังงานมืด ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อสำคัญในการศึกษาดาราศาสตร์ในปัจจุบัน

ตัวอย่างหัวข้อการศึกษาดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี มีดังนี้

กระบวนการทางฟิสิกส์ เครื่องมือทางดาราศาสตร์ แบบจำลองทางทฤษฎี การทำนายปรากฏการณ์
ความโน้มถ่วง กล้องโทรทรรศน์วิทยุ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ การสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์
นิวเคลียร์ฟิวชั่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล การขยายตัวของเอกภพ อายุของเอกภพ
บิกแบง สเปกโทรสโกปี การพองตัวของจักรวาล ความแบนของเอกภพ
ความผันผวนควอนตัม ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป หลุมดำที่ใจกลางดาราจักรแอนดรอเมดา
การยุบตัวของความโน้มถ่วง การเกิดของธาตุต่าง ๆ

สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์สุริยะ

 
ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในรังสีอัลตราไวโอเลตจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ TRACE แสดงให้เห็นทรงกลมโฟโตสเฟียร์
ดูบทความหลักที่: ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ เป็นเป้าหมายการศึกษาทางดาราศาสตร์ยอดนิยมแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 8 นาทีแสง เป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ในแถบลำดับหลักโดยเป็นดาวแคระประเภท G2 V มีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์ของเรานี้ไม่นับว่าเป็นดาวแปรแสง แต่มีความเปลี่ยนแปลงในการส่องสว่างอยู่เป็นระยะอันเนื่องจากจากรอบปรากฏของจุดดับบนดวงอาทิตย์ อันเป็นบริเวณที่พื้นผิวดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวอื่น ๆ อันเนื่องมาจากผลของความเข้มข้นสนามแม่เหล็ก

ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างมากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดอายุของมัน นับแต่เข้าสู่แถบลำดับหลักก็ได้ส่องสว่างมากขึ้นถึง 40% แล้ว ความเปลี่ยนแปลงการส่องสว่างของดวงอาทิตย์ตามระยะเวลานี้มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อโลกด้วย ตัวอย่างเช่นการเกิดปรากฏการณ์ยุคน้ำแข็งสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง (Little Ice Age) ระหว่างช่วงยุคกลาง ก็เชื่อว่าเป็นผลมาจาก Maunder Minimum

พื้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นเรียกว่า โฟโตสเฟียร์ เหนือพื้นผิวนี้เป็นชั้นบาง ๆ เรียกชื่อว่า โครโมสเฟียร์ จากนั้นเป็นชั้นเปลี่ยนผ่านซึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ชั้นนอกสุดมีอุณหภูมิสูงที่สุด เรียกว่า โคโรนา

ใจกลางของดวงอาทิตย์เรียกว่าย่านแกนกลาง เป็นเขตที่มีอุณหภูมิและความดันมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เหนือจากย่านแกนกลางเรียกว่าย่านแผ่รังสี (radiation zone) เป็นที่ซึ่งพลาสมาแผ่คลื่นพลังงานออกมาในรูปของรังสี ชั้นนอกออกมาเป็นย่านพาความร้อน (convection zone) ซึ่งสสารแก๊สจะเปลี่ยนพลังงานกลายไปเป็นแก๊ส เชื่อว่าย่านพาความร้อนนี้เป็นกำเนิดของสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์

ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคของพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะแผ่ออกไปจนกระทั่งถึงแนว heliopause เมื่อลมสุริยะทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้เกิดแนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนและออโรร่า ในตำแหน่งที่เส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกไหลเวียนในชั้นบรรยากาศ

วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์

 
การหักเหของลมสุริยะจากผลของสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์
ดูบทความหลักที่: วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์

วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ตลอดจนถึงบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบด้วย วัตถุในระบบสุริยะจะเป็นที่นิยมศึกษาค้นคว้ามากกว่า ในช่วงแรกสามารถสังเกตการณ์ได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ต่อมาจึงใช้การสังเกตการณ์โดยยานอวกาศมาช่วย การศึกษาสาขานี้ทำให้เราเข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบดาวเคราะห์ได้ดีขึ้น แม้จะมีการค้นพบใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาก็ตาม

วัตถุในระบบสุริยะสามารถแบ่งออกได้เป็น ดาวเคราะห์รอบใน แถบดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์รอบนอก ในกลุ่มดาวเคราะห์รอบในประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ส่วนในกลุ่มดาวเคราะห์รอบนอกเป็นดาวแก๊สยักษ์ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก พลูโต พ้นจากดาวเนปจูนไปจะมีแถบไคเปอร์ และกลุ่มเมฆออร์ต ซึ่งแผ่กว้างเป็นระยะทางถึงหนึ่งปีแสง

ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากแผ่นจานฝุ่นที่หมุนวนรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ นานาเช่น การดึงดูดของแรงโน้มถ่วง การปะทะ การแตกสลาย และการรวมตัวกัน แผ่นจานฝุ่นเหล่านั้นก็ก่อตัวเป็นรูปร่างที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) แรงดันการแผ่รังสีของลมสุริยะจะพัดพาเอาสสารที่ไม่สามารถรวมตัวกันติดให้กระจายหายไป คงเหลือแต่ส่วนของดาวเคราะห์ที่มีมวลมากพอจะดึงดูดบรรยากาศชั้นแก๊สของตัวเอาไว้ได้ ดาวเคราะห์ใหม่เหล่านี้ยังมีการดึงดูดและปลดปล่อยสสารในตัวตลอดช่วงเวลาที่ถูกเศษสะเก็ดดาวย่อย ๆ ปะทะตลอดเวลา การปะทะเหล่านี้ทำให้เกิดหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดั่งเช่นที่ปรากฏบนพื้นผิวดวงจันทร์ ผลจากการปะทะนี้ส่วนหนึ่งอาจทำให้ดาวเคราะห์ก่อนเกิดแตกชิ้นส่วนออกมาและกลายไปเป็นดวงจันทร์ของมันก็ได้

เมื่อดาวเคราะห์เหล่านี้มีมวลมากพอ โดยรวมเอาสสารที่มีความหนาแน่นแบบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน กระบวนการนี้ทำให้ดาวเคราะห์ก่อตัวเป็นดาวแบบต่าง ๆ คือแกนกลางเป็นหิน หรือโลหะ ล้อมรอบด้วยชั้นเปลือก และพื้นผิวภายนอก แกนกลางของดาวเคราะห์อาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ แกนกลางของดาวเคราะห์บางดวงสามารถสร้างสนามแม่เหล็กของตัวเองขึ้นมาได้ ซึ่งช่วยปกป้องชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนั้น ๆ จากผลกระทบของลมสุริยะ

ความร้อนภายในของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์เป็นผลจากการปะทะกันที่ทำให้เกิดโครงร่างและสารกัมมันตรังสี (เช่น ยูเรเนียม ธอเรียม และ 26Al ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บางดวงสะสมความร้อนไว้มากพอจะทำให้เกิดกระบวนการทางธรณีวิทยาเช่น ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว ส่วนพวกที่สามารถสะสมชั้นบรรยากาศของตัวเองได้ ก็จะมีกระบวนการกัดกร่อนของลมและน้ำ ดาวเคราะห์ที่เล็กกว่าจะเย็นตัวลงเร็วกว่า และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาจะหยุดลงเว้นแต่หลุมบ่อจากการถูกชนเท่านั้น

ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์

 
เนบิวลาดาวเคราะห์รูปมด ที่แผ่แก๊สออกมาจากศูนย์กลางดาวฤกษ์ที่แตกดับในลักษณะสมมาตร ต่างจากการระเบิดโดยทั่วไป
ดูบทความหลักที่: ดาวฤกษ์

การศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจกับเอกภพ วิทยาการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดวงดาวเกิดขึ้นมาจากการสังเกตการณ์และการพยายามสร้างทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นภายในดวงดาว

ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นในย่านอวกาศที่มีฝุ่นและแก๊สอยู่หนาแน่น เรียกชื่อว่าเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ เมื่อเกิดภาวะที่ไม่เสถียร ส่วนประกอบของเมฆอาจแตกสลายไปภายใต้แรงโน้มถ่วง และทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิดขึ้น บริเวณที่มีความหนาแน่นของแก๊สและฝุ่นสูงมากพอ และร้อนมากพอ จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งทำให้เกิดดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักขึ้น ธาตุที่กำเนิดขึ้นในแกนกลางของดาวฤกษ์โดยมากเป็นธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียมทั้งสิ้น

คุณลักษณะต่าง ๆ ของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับมวลเริ่มต้นของดาวฤกษ์นั้น ๆ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีความส่องสว่างสูง และจะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากแกนกลางของมันเองไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหล่านี้จะค่อย ๆ แปรเปลี่ยนกลายไปเป็นฮีเลียม ดาวฤกษ์ก็จะวิวัฒนาการไป การเกิดฟิวชั่นของฮีเลียมจะต้องใช้อุณหภูมิแกนกลางที่สูงกว่า ดังนั้นดาวฤกษ์นั้นก็จะขยายตัวใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มความหนาแน่นแกนกลางของตัวเองด้วย ดาวแดงยักษ์จะมีช่วงอายุที่สั้นก่อนที่เชื้อเพลิงฮีเลียมจะถูกเผาผลาญหมดไป ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าจะผ่านกระบวนการวิวัฒนาการได้มากกว่า โดยที่มีธาตุหนักหลอมรวมอยู่ในตัวเพิ่มมากขึ้น

การสิ้นสุดชะตากรรมของดาวฤกษ์ก็ขึ้นอยู่กับมวลของมันเช่นกัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรามากกว่า 8 เท่าจะแตกสลายกลายไปเป็นซูเปอร์โนวา ขณะที่ดาวฤกษ์ที่เล็กกว่าจะกลายไปเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และวิวัฒนาการต่อไปเป็นดาวแคระขาว ซากของซูเปอร์โนวาคือดาวนิวตรอนที่หนาแน่น หรือในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรากว่า 3 เท่า มันจะกลายไปเป็นหลุมดำ สำหรับดาวฤกษ์ที่เป็นระบบดาวคู่อาจมีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป เช่นอาจมีการถ่ายเทมวลแก่กันแล้วกลายเป็นดาวแคระขาวแบบคู่ซึ่งสามารถจะกลายไปเป็นซูเปอร์โนวาได้ การเกิดเนบิวลาดาวเคราะห์และซูเปอร์โนวาเป็นการกระจายสสารธาตุออกไปสู่สสารระหว่างดาว หากไม่มีกระบวนการนี้แล้ว ดาวฤกษ์ใหม่ ๆ (และระบบดาวเคราะห์ของมัน) ก็จะก่อตัวขึ้นมาจากเพียงไฮโดรเจนกับฮีเลียมเท่านั้น

ดาราศาสตร์ดาราจักร

 
การสังเกตการณ์และศึกษาโครงสร้างแขนกังหันของดาราจักรทางช้างเผือก
ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์ดาราจักร

ระบบสุริยะของเราโคจรอยู่ภายในดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน และเป็นดาราจักรสมาชิกแห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น ดาราจักรนี้เป็นกลุ่มแก๊ส ฝุ่น ดาวฤกษ์ และวัตถุอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่หมุนวนไปรอบกัน โดยมีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อกันทำให้ดึงดูดกันไว้ ตำแหน่งของโลกอยู่ที่แขนฝุ่นกังหันด้านนอกข้างหนึ่งของดาราจักร ดังนั้นจึงมีบางส่วนของทางช้างเผือกที่ถูกบังไว้และไม่สามารถมองเห็นได้

ที่ใจกลางของทางช้างเผือกมีลักษณะคล้ายดุมกังหันขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของหลุมดำมวลยวดยิ่ง รอบ ๆ ดุมกังหันเป็นแขนก้นหอยชั้นต้นมี 4 ปลายหมุนอยู่รอบ ๆ แกน เป็นย่านที่มีการเกิดใหม่ของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ มีดาวฤกษ์แบบดารากร 1 ที่อายุเยาว์อยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ส่วนจานของก้นหอยประกอบด้วยทรงกลมฮาโล อันประกอบด้วยดาวฤกษ์แบบดารากร 2 ที่มีอายุมากกว่า ทั้งยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นที่เรียกกันว่า กระจุกดาวทรงกลม

ที่ว่างระหว่างดวงดาวมีสสารระหว่างดาวบรรจุอยู่ เป็นย่านที่มีวัตถุต่าง ๆ อยู่อย่างเบาบางมาก บริเวณที่หนาแน่นที่สุดคือเมฆโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนและธาตุอื่น ๆ ที่เป็นย่านกำเนิดของดาวฤกษ์ ในช่วงแรกจะมีการก่อตัวเป็นเนบิวลามืดรูปร่างประหลาดก่อน จากนั้นเมื่อมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นมาก ๆ ก็จะเกิดการแตกสลายแล้วก่อตัวใหม่เป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด

เมื่อมีดาวฤกษ์มวลมากปรากฏขึ้นมากเข้า มันจะเปลี่ยนเมฆโมเลกุลให้กลายเป็นบริเวณเอชทูซึ่งเป็นย่านเรืองแสงเต็มไปด้วยแก๊สและพลาสมา ลมดาวฤกษ์กับการระเบิดซูเปอร์โนวาของดาวเหล่านี้จะทำให้กลุ่มเมฆกระจายตัวกันออกไป แล้วเหลือแต่เพียงกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งที่เกาะกลุ่มกันเป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปกระจุกดาวเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ กระจายห่างกันออกไป แล้วกลายไปเป็นประชากรดาวดวงหนึ่งในทางช้างเผือก

การศึกษาจลนศาสตร์ของมวลสารในทางช้างเผือกและดาราจักรต่าง ๆ ทำให้เราทราบว่า มวลที่มีอยู่ในดาราจักรนั้นแท้จริงมีมากกว่าสิ่งที่เรามองเห็น ทฤษฎีเกี่ยวกับสสารมืดจึงเกิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ แม้ว่าธรรมชาติของสสารมืดยังคงเป็นสิ่งลึกลับไม่มีใครอธิบายได้

ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ

 
ภาพแสดงวัตถุทรงรีสีน้ำเงินจำนวนมากที่เป็นภาพสะท้อนของดาราจักรแห่งเดียวกัน เป็นผลกระทบจากเลนส์ความโน้มถ่วงที่เกิดจากกระจุกดาราจักรสีเหลืองใกล้ศูนย์กลางของภาพ

การศึกษาวัตถุที่อยู่ในห้วงอวกาศอื่นนอกเหนือจากดาราจักรของเรา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร การศึกษารูปร่างลักษณะและการจัดประเภทของดาราจักร การสำรวจดาราจักรกัมมันต์ การศึกษาการจัดกลุ่มและกระจุกดาราจักร ซึ่งในหัวข้อหลังนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล

ดาราจักรส่วนใหญ่จะถูกจัดกลุ่มตามรูปร่างลักษณะที่ปรากฏ เข้าตามหลักเกณฑ์ของการจัดประเภทดาราจักร ซึ่งมีกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ดาราจักรชนิดก้นหอย ดาราจักรชนิดรี และดาราจักรไร้รูปแบบ

ลักษณะของดาราจักรคล้ายคลึงกับชื่อประเภทที่กำหนด ดาราจักรชนิดรีจะมีรูปร่างในภาคตัดขวางคล้ายคลึงกับรูปวงรี ดาวฤกษ์จะโคจรไปแบบสุ่มโดยไม่มีทิศทางที่แน่ชัด ดาราจักรประเภทนี้มักไม่ค่อยมีฝุ่นระหว่างดวงดาวหลงเหลือแล้ว ย่านกำเนิดดาวใหม่ก็ไม่มี และดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีอายุมาก เรามักพบดาราจักรชนิดรีที่บริเวณใจกลางของกระจุกดาราจักร หรืออาจเกิดขึ้นจากการที่ดาราจักรขนาดใหญ่สองแห่งปะทะแล้วรวมตัวเข้าด้วยกันก็ได้

ดาราจักรชนิดก้นหอยมักมีรูปทรงค่อนข้างแบน เหมือนแผ่นจานหมุน และส่วนใหญ่จะมีหลุมดำมวลยวดยิ่งเป็นดุมหรือมีแกนรูปร่างคล้ายคานที่บริเวณใจกลาง พร้อมกับแขนก้นหอยสว่างแผ่ออกไปเป็นวง แขนก้นหอยนี้เป็นย่านของฝุ่นที่เป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์อายุน้อยมวลมากจะทำให้แขนนี้ส่องสว่างเป็นสีฟ้า ส่วนที่รอบนอกของดาราจักรมักเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์อายุมาก ดาราจักรทางช้างเผือกของเราและดาราจักรแอนดรอเมดาก็เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย

ดาราจักรไร้รูปแบบมักมีรูปร่างปรากฏไม่แน่ไม่นอน ไม่ใช่ทั้งดาราจักรชนิดรีหรือชนิดก้นหอย ประมาณหนึ่งในสี่ของจำนวนดาราจักรทั้งหมดที่พบเป็นดาราจักรชนิดไร้รูปแบบนี้ รูปร่างอันแปลกประหลาดของดาราจักรมักทำให้เกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงแปลก ๆ ขึ้นด้วย

ดาราจักรกัมมันต์คือดาราจักรที่มีการเปล่งสัญญาณพลังงานจำนวนมากออกมาจากแหล่งกำเนิดอื่นนอกเหนือจากดาวฤกษ์ ฝุ่น และแก๊ส แหล่งพลังงานนี้เป็นย่านเล็ก ๆ แต่หนาแน่นมากซึ่งอยู่ในแกนกลางดาราจักร โดยทั่วไปเชื่อกันว่ามีหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่ที่นั่นซึ่งเปล่งพลังงานรังสีออกมาเมื่อมีวัตถุใด ๆ ตกลงไปในนั้น ดาราจักรวิทยุคือดาราจักรกัมมันต์ชนิดหนึ่งที่ส่องสว่างมากในช่วงสเปกตรัมของคลื่นวิทยุ มันจะเปล่งลอนของแก๊สออกมาเป็นจำนวนมาก ดาราจักรกัมมันต์ที่แผ่รังสีพลังงานสูงออกมาได้แก่ ดาราจักรเซย์เฟิร์ต เควซาร์ และเบลซาร์ เชื่อว่าเควซาร์เป็นวัตถุที่ส่องแสงสว่างมากที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในเอกภพ

โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลประกอบด้วยกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก โครงสร้างนี้มีการจัดลำดับชั้นโดยที่ระดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดคือ มหากระจุกของดาราจักร เหนือกว่านั้นมวลสารจะมีการโยงใยกันในลักษณะของใยเอกภพและกำแพงเอกภพ ส่วนที่ว่างระหว่างนั้นมีแต่สุญญากาศ

จักรวาลวิทยา

ดูบทความหลักที่: จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ

จักรวาลวิทยา (อังกฤษ: cosmology; มาจากคำในภาษากรีกว่า κοσμος "cosmos" หมายถึง เอกภพ และ λογος หมายถึง การศึกษา) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเอกภพทั้งหมดในภาพรวม

การสังเกตการณ์โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ช่วยให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับพื้นฐานของจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ ได้แก่ ทฤษฎีบิกแบง ซึ่งกล่าวว่าเอกภพของเรากำเนิดมาจากจุดเพียงจุดเดียว หลังจากนั้นจึงขยายตัวขึ้นเป็นเวลากว่า 13.7 พันล้านปีมาแล้ว หลักการของทฤษฎีบิกแบงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ในปี ค.ศ. 1965

ตลอดช่วงเวลาการขยายตัวของเอกภพนี้ เอกภพได้ผ่านขั้นตอนของวิวัฒนาการมามากมายหลายครั้ง ในช่วงแรก ทฤษฎีคาดการณ์ว่าเอกภพน่าจะผ่านช่วงเวลาการพองตัวของจักรวาลที่รวดเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันและเสมอกันในทุกทิศทางในสภาวะเริ่มต้น หลังจากนั้น นิวคลีโอซินทีสิสจึงทำให้เกิดธาตุต่าง ๆ ขึ้นมากมายในเอกภพยุคแรก

เมื่อมีอะตอมแรกเกิดขึ้น จึงมีการแผ่รังสีผ่านอวกาศ ปลดปล่อยพลังงานออกมาดั่งที่ทุกวันนี้เรามองเห็นเป็นรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล เอกภพขยายตัวผ่านช่วงเวลาของยุคมืดเพราะไม่ค่อยมีแหล่งกำเนิดพลังงานของดาวฤกษ์

เริ่มมีการจัดโครงสร้างลำดับชั้นของสสารขึ้นนับแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของสสาร สสารที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นบริเวณหนาแน่นที่สุดกลายไปเป็นกลุ่มเมฆแก๊สและดาวฤกษ์ยุคแรกสุด ดาวฤกษ์มวลมากเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของกระบวนการแตกตัวทางไฟฟ้าซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของธาตุหนักมากมายที่อยู่ในเอกภพยุคเริ่มต้น

ผลจากแรงโน้มถ่วงทำให้มีการดึงดูดรวมกลุ่มกันเกิดเป็นใยเอกภพ มีช่องสุญญากาศเป็นพื้นที่ว่าง หลังจากนั้นโครงสร้างของแก๊สและฝุ่นก็ค่อย ๆ รวมตัวกันเกิดเป็นดาราจักรยุคแรกเริ่ม เมื่อเวลาผ่านไป มันดึงดูดสสารต่าง ๆ เข้ามารวมกันมากขึ้น และมีการจัดกลุ่มโครงสร้างเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุกดาราจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างขนาดใหญ่คือมหากระจุกดาราจักร

โครงสร้างพื้นฐานที่สุดของจักรวาลคือการมีอยู่ของสสารมืดและพลังงานมืด ในปัจจุบันเราเชื่อกันว่าทั้งสองสิ่งนี้มีอยู่จริง และเป็นส่วนประกอบถึงกว่า 96% ของความหนาแน่นทั้งหมดของเอกภพ เหตุนี้การศึกษาฟิสิกส์ในยุคใหม่จึงเป็นความพยายามทำความเข้าใจกับองค์ประกอบเหล่านี้

ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น

การศึกษาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  • โบราณดาราศาสตร์ (Archaeoastronomy) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการดาราศาสตร์ในยุคโบราณหรือยุคดั้งเดิม โดยพิจารณาถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรม อาศัยหลักฐานในทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาเข้ามาช่วย
  • ชีววิทยาดาราศาสตร์ (Astrobiology) เป็นการศึกษาการมาถึงและวิวัฒนาการของระบบชีววิทยาในเอกภพ ที่สำคัญคือการศึกษาและตรวจหาความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตในโลกอื่น
  • เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry) เป็นการศึกษาลักษณะทางเคมีที่พบในอวกาศ นับแต่การก่อตัว การเกิดปฏิกิริยา และการสูญสลาย มักใช้ในการศึกษาเมฆโมเลกุล รวมถึงดาวฤกษ์อุณหภูมิต่ำต่าง ๆ เช่น ดาวแคระน้ำตาลและดาวเคราะห์ ส่วน เคมีจักรวาล (Cosmochemistry) เป็นการศึกษาลักษณะทางเคมีที่พบในระบบสุริยะ รวมถึงกำเนิดของธาตุและการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของไอโซโทป ทั้งสองสาขานี้คาบเกี่ยวกันระหว่างศาสตร์ทางเคมีและดาราศาสตร์

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับ การวัดตำแหน่งดาว (Astrometry) และกลศาสตร์ท้องฟ้า (Celestial Mechanics) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า การระบุพิกัดและจลนศาสตร์ของวัตถุท้องฟ้า ลักษณะของวงโคจร ความโน้มถ่วง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชากลศาสตร์และฟิสิกส์

ดาราศาสตร์สมัครเล่น

ดูบทความหลักที่: ดาราศาสตร์สมัครเล่น
 
นักดาราศาสตร์สมัครเล่นสามารถเฝ้าสังเกตสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ และบ่อยครั้งที่ผลการสังเกตการณ์ของพวกเขากลายเป็นหัวข้อสำคัญทางวิชาการ

ดาราศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่บุคคลทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างมากที่สุด

นับแต่อดีตมา นักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้สังเกตพบวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญมากมายด้วยเครื่องมือที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง เป้าหมายในการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์สมัครเล่นโดยมากได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาวหาง ฝนดาวตก และวัตถุในห้วงอวกาศลึกอีกจำนวนหนึ่งเช่น กระจุกดาว กระจุกดาราจักร หรือเนบิวลา สาขาวิชาย่อยสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์สมัครเล่น คือการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการถ่ายภาพในท้องฟ้ายามราตรี นักดาราศาสตร์สมัครเล่นส่วนมากจะเจาะจงเฝ้าสังเกตวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์บางอย่างที่พวกเขาสนใจเป็นพิเศษ

ส่วนใหญ่แล้วนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในคลื่นที่ตามองเห็น แต่ก็มีการทดลองเล็ก ๆ อยู่บ้างที่กระทำในช่วงคลื่นอื่นนอกจากคลื่นที่ตามองเห็น เช่นการใช้ฟิลเตอร์แบบอินฟราเรดติดบนกล้องโทรทรรศน์ หรือการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นต้น นักดาราศาสตร์สมัครเล่นผู้บุกเบิกในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ คือ คาร์ล แจนสกี (Karl Jansky) ผู้เริ่มเฝ้าสังเกตท้องฟ้าในช่วงคลื่นวิทยุตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 ยังมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ประดิษฐ์เองที่บ้าน หรือใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่แต่เดิมสร้างมาเพื่องานวิจัยทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้งานได้ด้วย

มีบทความทางดาราศาสตร์มากมายที่ส่งมาจากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น อันที่จริงแล้ว นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่มือสมัครเล่นก็สามารถมีส่วนร่วมหรือเขียนบทความสำคัญ ๆ ขึ้นมาได้ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นสามารถตรวจวัดวงโคจรโดยละเอียดของดาวเคราะห์ขนาดเล็กได้ พวกเขาค้นพบดาวหาง และทำการเฝ้าสังเกตดาวแปรแสง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้นักดาราศาสตร์สมัครเล่นมีความสามารถในการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น และหลาย ๆ ภาพก็เป็นภาพปรากฏการณ์อันสำคัญทางดาราศาสตร์ด้วย

ปีดาราศาสตร์สากล 2009

ดูบทความหลักที่: ปีดาราศาสตร์สากล

ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีที่ครบรอบ 400 ปี นับจากกาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นเพื่อทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ และพบหลักฐานยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลที่นำเสนอโดย นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ไม่นานก่อนหน้านั้น การค้นพบนี้ถือเป็นการปฏิวัติแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับจักรวาล และเป็นการบุกเบิกการศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามที่เทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาขึ้น

องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีดาราศาสตร์สากล โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2008 กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่กรุงปารีส ในวันที่ 15-16 มกราคม ค.ศ. 2009

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Definition at Answer.com
  2. Definition at Merriam-Webster.com
  3. Definition at BrainyQuote.com
  4. Albrecht Unsöld (2001). The New Cosmos: An Introduction to Astronomy and Astrophysics. Berlin, New York: Springer. ISBN 3-540-67877-8. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  5. George Forbes (1909) (Free e-book from Project Gutenberg). History of Astronomy. London: Watts & Co.. http://www.gutenberg.org/etext/8172.
  6. Eclipses and the Saros 2007-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-28.
  7. Hipparchus of Rhodes School of Mathematics and Statistics, University of St Andrews, Scotland. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-28.
  8. Arthur Berry (1961). A Short History of Astronomy From Earliest Times Through the Nineteenth Century. New York: Dover Publications, Inc.
  9. Michael Hoskin, บ.ก. (1999). The Cambridge Concise History of Astronomy. Cambridge University Press. ISBN 0-521-57600-8.
  10. Arthur Berry (1961). A Short History of Astronomy From Earliest Times Through the Nineteenth Century. New York: Dover Publications, Inc..
  11. "Electromagnetic Spectrum". NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08.
  12. A. N. Cox, editor (2000). Allen's Astrophysical Quantities. New York: Springer-Verlag. ISBN 0-387-98746-0.
  13. F. H. Shu (1982). The Physical Universe. Mill Valley, California: University Science Books. ISBN 0-935702-05-9.
  14. P. Moore (1997). Philip's Atlas of the Universe. Great Britain: George Philis Limited. ISBN 0-540-07465-9.
  15. Staff (2003-09-11). "Why infrared astronomy is a hot topic", ESA. เก็บข้อมูลเมื่อ 11 สิงหาคม 2008.
  16. "Infrared Spectroscopy - An Overview" 2008-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NASA/IPAC. เก็บข้อมูลเมื่อ 11 สิงหาคม 2008.
  17. Penston, Margaret J. (2002-08-14). "The electromagnetic spectrum". Particle Physics and Astronomy Research Council. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-17.
  18. G. A. Tammann, F. K. Thielemann, D. Trautmann (2003). "Opening new windows in observing the Universe" 2006-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Europhysics News. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-22.
  19. H. Roth, A Slowly Contracting or Expanding Fluid Sphere and its Stability, Phys. Rev. (39, p;525–529, 1932)
  20. A.S. Eddington, Internal Constitution of the Stars
  21. Johansson, Sverker (2003-07-27). "The Solar FAQ". Talk.Origins Archive. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-11.
  22. Lerner & K. Lee Lerner, Brenda Wilmoth (2006). "Environmental issues : essential primary sources.". Thomson Gale. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-11.
  23. Pogge, Richard W. (1997). "The Once & Future Sun" 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (lecture notes). New Vistas in Astronomy 2007-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เก็บข้อมูลเมื่อ 2005-12-07.
  24. D. P. Stern, M. Peredo (2004-09-28). "The Exploration of the Earth's Magnetosphere". NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-22.
  25. J. F. Bell III, B. A. Campbell, M. S. Robinson (2004). Remote Sensing for the Earth Sciences: Manual of Remote Sensing (3rd ed.). John Wiley & Sons. http://marswatch.tn.cornell.edu/rsm.html. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-23.
  26. E. Grayzeck, D. R. Williams (2006-05-11). "Lunar and Planetary Science". NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-21.
  27. Roberge, Aki (1997-05-05). "Planetary Formation and Our Solar System". Carnegie Institute of Washington—Department of Terrestrial Magnetism. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-11.
  28. Roberge, Aki (1998-04-21). "The Planets After Formation". Department of Terrestrial Magnetism. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-23.
  29. J.K. Beatty, C.C. Petersen, A. Chaikin, ed. (1999). The New Solar System (4th ed.). Cambridge press. ISBN 0-521-64587-5.
  30. "Stellar Evolution & Death" 2008-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NASA Observatorium. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-06-08.
  31. Jean Audouze, Guy Israel, ed. (1994). The Cambridge Atlas of Astronomy (3rd ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-43438-6.
  32. Ott, Thomas (2006-08-24). "The Galactic Centre". Max-Planck-Institut für extraterrestrische Physik. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08.
  33. Faulkner, Danny R. (1993). "The Role Of Stellar Population Types In The Discussion Of Stellar Evolution" 2011-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CRS Quarterly 30 (1) : 174–180. http://www.creationresearch.org/crsq/articles/30/30_1/StellarPop.html 2011-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เก็บข้อมูลเมื่อ 8 September 2006.
  34. Hanes, Dave (2006-08-24). "Star Formation; The Interstellar Medium" Archived 2006-10-02 ที่ archive.today. Queen's University. Retrieved on 2006-09-08.
  35. Van den Bergh, Sidney (1999). "The Early History of Dark Matter". Publications of the Astronomy Society of the Pacific. 111: 657–660. doi:10.1086/316369.[ลิงก์เสีย]
  36. Keel, Bill (2006-08-01). "Galaxy Classification". University of Alabama. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08.
  37. "Active Galaxies and Quasars". NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08.
  38. Zeilik, Michael (2002). Astronomy: The Evolving Universe (8th ed.). Wiley. ISBN 0-521-80090-0.
  39. Hinshaw, Gary (2006-07-13). "Cosmology 101: The Study of the Universe". NASA WMAP. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-10.
  40. "Galaxy Clusters and Large-Scale Structure". University of Cambridge. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08.
  41. Preuss, Paul. "Dark Energy Fills the Cosmos". U.S. Department of Energy, Berkeley Lab. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08.
  42. Mims III, Forrest M. (1999). "Amateur Science--Strong Tradition, Bright Future". Science. 284 (5411): 55–56. doi:10.1126/science.284.5411.55. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06. Astronomy has traditionally been among the most fertile fields for serious amateurs [...]
  43. "The Americal Meteor Society". สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  44. Lodriguss, Jerry. "Catching the Light: Astrophotography". สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  45. F. Ghigo (2006-02-07). "Karl Jansky and the Discovery of Cosmic Radio Waves". National Radio Astronomy Observatory. สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  46. "Cambridge Amateur Radio Astronomers". สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  47. "The International Occultation Timing Association". สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  48. "Edgar Wilson Award". Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  49. "American Association of Variable Star Observers". AAVSO. สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
  50. "International Year Of Astronomy 2009" 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Oneindia (Dec 30, 2008). เก็บข้อมูลเมื่อ 9 มกราคม 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ "ปีดาราศาสตร์สากล 2009" (อังกฤษ)
  • สมาคมดาราศาสตร์ไทย (ไทย)
  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (ไทย)
  • โครงการเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน (ไทย)
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 2004-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) (ไทย)
  • โครงการลีซ่า โครงการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ โดยหอดูดาวเกิดแก้ว สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ไทย)
  • ดาราศาสตร์ดอตคอม (ไทย)
  • ดูดาวดอตคอม (ไทย)
  • องค์การนาซา (อังกฤษ)
  • วารสารดาราศาสตร์ Astronomy.com (อังกฤษ)
  • เว็บไซต์ทางการ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (อังกฤษ)

ดาราศาสตร, อว, ชาว, ทยาศาสตร, กษาว, ตถ, ในท, องฟ, อาท, ดาวฤกษ, ดาวเคราะห, ดาวหาง, และดาราจ, กร, รวมท, งปรากฏการณ, ทางธรรมชาต, าง, เก, ดข, นนอกช, นบรรยากาศของโลก, โดยศ, กษาเก, ยวก, บว, ฒนาการ, กษณะทางกายภาพ, ทางเคม, ทางอ, ยมว, ทยา, และการเคล, อนท, ของว, ตถ, องฟ. darasastr khuxwichawithyasastrthisuksawtthuinthxngfa xathi dawvks dawekhraah dawhang aeladarackr rwmthngpraktkarnthangthrrmchatitang thiekidkhunnxkchnbrryakaskhxngolk odysuksaekiywkbwiwthnakar lksnathangkayphaph thangekhmi thangxutuniymwithya aelakarekhluxnthikhxngwtthuthxngfa tlxdcnthungkarkaenidaelawiwthnakarkhxngexkphph 1 2 3 darackrthangchangephuxk bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha darasastrepnhnunginsakhakhxngwithyasastrthiekaaekthisud nkdarasastrinwthnthrrmobransngektkarndwngdawbnthxngfainewlaklangkhun aelawtthuthangdarasastrhlayxyangkidthukkhnphberuxymatamyukhsmy xyangirktam klxngothrthrrsnepnsingpradisththicaepnkxnthicamikarphthnamaepnwithyasastrsmyihm tngaetxditkal darasastrprakxbipdwsakhathihlakhlayechn karwdtaaehnngdaw karedineruxdarasastr darasastrechingsngektkarn karsrangptithin aelarwmthngohrasastr aetdarasastrthukwnnithukcdwamikhwamhmayehmuxnkbfisiksdarasastr tngaetkhriststwrrsthi 20 epntnma darasastridaebngxxkepnsxngsakhaidaek darasastrechingsngektkarn aeladarasastrechingthvsdi darasastrechingsngektkarncaihkhwamsakhyipthikarekbaelakarwiekhraahkhxmul odykarichkhwamruthangkayphaphebuxngtnepnhlk swndarasastrechingthvsdiihkhwamsakhyipthikarphthnakhxmphiwetxrhruxaebbcalxngechingwiekhraah ephuxxthibaywtthuthxngfaaelapraktkarntang thngsxngsakhaniepnxngkhprakxbsungknaelakn klawkhux darasastrechingthvsdiichxthibayphlcakkarsngektkarn aeladarasastrechingsngektkarnichinkarrbrxngphlcakthangthvsdikarkhnphbsingtang ineruxngkhxngdarasastrthiephyaephrodynkdarasastrsmkhrelnnnmikhwamsakhymak aeladarasastrkepnhnunginwithyasastrcanwnnxysakhathinkdarasastrsmkhrelnyngkhngmibthbath odyechphaakarkhnphbhruxkarsngektkarnpraktkarnthiekidkhunephiyngchwkhrawimkhwrsbsnrahwangdarasastrobrankbohrasastr sungepnkhwamechuxthinaexaehtukarnaelaphvtikrrmkhxngmnusyipekiywoyngkbtaaehnngkhxngwtthuthxngfa aemwathngdarasastraelaohrasastrekidmacakcudrwmediywkn aelamiswnhnungkhxngwithikarsuksathiehmuxnkn echnkarbnthuktaaehnngdaw ephemeris aetthngsxngxyangkaetktangkn 4 inpi kh s 2019 epnkarkhrbrxb 410 pikhxngkarphisucnaenwkhideruxngdwngxathityepnsunyklangkhxngckrwal khxng niokhelas okhepxrnikhs xnepnkarphlikkhtiaelaokhnkhwamechuxekaaekeruxngolkepnsunyklangkhxngckrwalkhxngxrisotetilthimimaeninnan odykarichklxngothrthrrsnsngektkarnthangdarasastrkhxngkalieloxsungchwyyunynaenwkhidkhxngokhepxrnikhs xngkhkarshprachachaticungidprakasihpi kh s 2019 epnpidarasastrsakl miepahmayephuxihsatharnchnidmiswnrwmaelathakhwamekhaickbdarasastrmakyingkhun enuxha 1 prawti 1 1 karptiwtithangwithyasastr 2 darasastrechingsngektkarn 2 1 darasastrwithyu 2 2 darasastrechingaesng 2 3 darasastrxinfraerd 2 4 darasastrphlngngansung 2 4 1 darasastrrngsixltraiwoxelt 2 4 2 darasastrrngsiexks 2 4 3 darasastrrngsiaekmma 2 5 karsngektkarnxunnxkehnuxcaksepktrmaemehlkiffa 3 darasastrechingthvsdi 4 sakhawichahlkkhxngdarasastr 4 1 darasastrsuriya 4 2 withyasastrdawekhraah 4 3 darasastrdawvks 4 4 darasastrdarackr 4 5 darasastrdarackrnxkrabb 4 6 ckrwalwithya 5 sastrthiekiywkhxngkbsakhaxun 6 darasastrsmkhreln 7 pidarasastrsakl 2009 8 duephim 9 xangxing 10 aehlngkhxmulxunprawti aekikhdarasastrnbepnwichathiekaaekthisudwichahnung ephraanbtngaetmimnusyxyubnolk ekhayxmidehnidsmphskbsingaewdlxmtamthrrmchatiesmxma aelwkerimsngektcdcaaelaelatx kn echn emuxmxngxxkiprxbtwehnphundinrab duxxkipikl kyngehnwaphunphiwkhxngolkaebn cungkhidknwaolkaebn mxngfaehnokhngkhlayfachihruxodm midawihehnekhluxnkhamsirsaipthukkhun klangwnmilukklmaesngca ihaesng si khwamrxn sungkkhux dwngxathity thiekhluxnkhunmaaelwklbkhxbfaip dwngxathitycungmikhwamsakhykberamakkarsuksadarasastrinyukhaerk epnkarefaduaelakhadedakarekhluxnthikhxngwtthuthxngfaehlannthisamarthmxngehniddwytaepla kxnyukhsmythiklxngothrthrrsncathukpradisthkhun misingpluksrangobranhlayaehngthiechuxwaepnsthanthisahrbkarefasuksathangdarasastr echn sotnehnc nxkcaknikarefasuksadwngdawyngmikhwamsakhytxphithikrrm khwamechux aelaepnkarbngbxkthungkarepliynvdukal sungepnpccysakhytxsngkhmekstrkrrmkarephaapluk rwmthungepnekhruxngbngchithungrayaewla wn eduxn pi 5 emuxsngkhmmiwiwthnakarkhunindinaedntang karsngektkarnthangdarasastrksbsxnmakkhun odyechphaaxyangyingin emosopetemiy krik cin xiyipt xinediy aela maya erimmiaenwkhidekiywkbkhwamsmphnthkhxngthrrmchatiaehngckrwalkwangkhwangkhun phlkarsuksadarasastrinyukhaerk caepnkarbnthukaephnthitaaehnngkhxngdwngdawtang xnepnsastrthipccubneriykknwa karwdtaaehnngdaw astrometry phlcakkarefasngektkarnthaihaenwkhidekiywkbkarekhluxnthikhxngdwngdawtang erimkxtwepnruprangkhun thrrmchatikarekhluxnthikhxngdwngxathity dwngcnthr aelaolk naipsuaenwkhidechingprchyaephuxphyayamxthibaypraktkarnehlann khwamechuxdngedimkhuxolkepnsunyklangkhxngckrwal odymidwngxathity dwngcnthr aeladwngdawtang ekhluxnthiipodyrxb aenwkhidnieriykwa aebbcalxngaebbolkepnsunyklangckrwal geocentric model mikarkhnphbthangdarasastrthisakhyimmaknkkxnkarpradisthklxngothrthrrsn twxyangkarkhnphbechn chawcinsamarthpraeminkhwamexiyngkhxngaeknolkidpramanhnungphnpikxnkhristkal chawbabiolnkhnphbwapraktkarncnthrkhrascaekidkhunsaepnchwngewla eriykwa wngrxbsarxs 6 aelachwngsxngrxypikxnkhristkal hipparkhs nkdarasastrchawkrik samarthkhanwnkhnadaelarayahangkhxngdwngcnthrid 7 tlxdchwngyukhklang karkhnphbthangdarasastrinyuorpklangminxymakcnkrathngthungkhriststwrrsthi 13 aetmikarkhnphbihm makmayinolkxahrbaelaphumiphakhxunkhxngolk minkdarasastrchawxahrbhlaykhnthimichuxesiyngaelasrangphlngansakhyaekwithyakardanni echn Al Battani aela Thebit rwmthungkhnxun thikhnphbaelatngchuxihaekdwngdawdwyphasaxarbik chuxdwngdawehlaniyngkhngmithiichxyucnthungpccubn 8 9 karptiwtithangwithyasastr aekikh phaphrangkarsngektkarndwngcnthrkhxngkalielox thaihehnwaphunphiwdwngcnthrnnkhrukhra inyukherxensxngs niokhelas okhepxrnikhs idnaesnxaenwkhidaebbcalxngdwngxathityepnsunyklang sungthuktxtanxyangmakcaksasnckr thwaidrbkaryunynrbrxngcakngansuksakhxngkalielox kalielxi aela oyhnens ekhpelxr odythikalieloxidpradisthklxngothrthrrsnhkehaesngaebbihmkhuninpi kh s 1609 thaihsamarthefasngektdwngdawaelanaphlcakkarsngektmachwyyunynaenwkhidniekhpelxridkhidkhnrabbaebbihmkhunodyprbprungcakaebbcalxngedimkhxngokhepxrnikhs thaihraylaexiydkarokhcrtang khxngdawekhraahaeladwngxathitythisunyklangsmburnthuktxngmakyingkhun aetekhpelxrkimprasbkhwamsaercinkarnaesnxthvsdinienuxngcakkdhmayinyukhsmynn cnkrathngtxmathungyukhsmykhxngesxr ixaeskh niwtn phukhidkhnhlkklsastrthxngfaaelakdaerngonmthwngsungsamarthxthibaykarekhluxnthikhxngdawekhraahidxyangsmburn niwtnyngidkhidkhnklxngothrthrrsnaebbsathxnaesngkhundwykarkhnphbihm ekidkhuneruxy phrxmipkbkarphthnakhnadaelakhunphaphkhxngklxngothrthrrsnthidiyingkhun mikarcdtharaychuxdawxyanglaexiydepnkhrngaerkody lasayl txmankdarasastrchux wileliym ehxrechl idcdtharaykarodylaexiydkhxngenbiwlaaelakracukdaw kh s 1781 mikarkhnphbdawyuerns sungepnkarkhnphbdawekhraahdwngihmepnkhrngaerk kh s 1838 mikarprakasrayathangrahwangdawepnkhrngaerkodyfriddrikh ebsesl hlngcaktrwcphbpharlaelkskhxngdaw 61 Cygnirahwangkhriststwrrsthi 19 xxyelxr khlaerat aeladaelmebirt idkhidkhnkhnitsastrekiywkbpyhasamwtthu three body problem hrux n body problem thaihkarpramankarekhluxnthikhxngdwngcnthraeladawekhraahsamarththaidaemnyakhun nganchinniidrbkarprbprungtxmaody lakrxngc aela laplas thaihsamarthpraeminmwlkhxngdawekhraahaeladwngcnthridkarkhnphbsakhythangdarasastrprasbkhwamsaercmakkhunemuxmiethkhonolyiihm echn karthayphaph aelasepkotrsokhp erathrabwadwngdawtang thiaethepndawvksthimilksnakhlaykhlungkbdwngxathitykhxngerannexng aetmixunhphumi mwl aelakhnadthiaetktangknip 10 karkhnphbwa darackrkhxngerahruxdarackrthangchangephuxkni epnklumkhxngdawvksthirwmtwxyudwykn ephingekidkhuninkhriststwrrsthi 20 niexng phrxmkbkarkhnphbkarmixyukhxngdarackrxun txmacungmikarkhnphbwa exkphphkalngkhyaytw odydarackrtang kalngekhluxnthihangxxkcakera karsuksadarasastryukhihmyngkhnphbwtthuthxngfaihm xikhlaychnid echn ekhwsar phlsar eblsar aeladarackrwithyu phlcakkarkhnphbehlaninaipsukarphthnathvsdithangfisiksephuxxthibaypraktkarnkhxngwtthuehlaniepriybethiybkbwtthuprahladxun echn hlumda aeladawniwtrxn sastrthangdanfisiksckrwalwithyamikhwamkawhnaxyangmaktlxdkhriststwrrsthi 20 aebbcalxngbikaebngidrbkarsnbsnuncakhlkthantang thikhnphbodynkdarasastraelankfisiks echn karaephrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwal kdkhxnghbebil aelakarthimithatutang makmayxyangimkhadkhidinckrwalphaynxkdarasastrechingsngektkarn aekikh klxngothrthrrsnwithyucanwnmakeriyngrayinlankwang thirthniwemksiok shrth dubthkhwamhlkthi darasastrechingsngektkarn inthangdarasastr sarsnethsswnihyidcakkartrwchaaelawiekhraahoftxnsungepnkaraephrngsiaemehlkiffa 11 aetxacidcakkhxmulthimakbrngsikhxsmik niwtrion dawtk aelainxnakhtxniklxacidcakkhlunkhwamonmthwngkaraebnghmwdkhxngdarasastrechingsngektkarnsamarthaebngidtamkarsngektkarnsepktrmaemehlkiffainyantang odykarsngektkarnbangyansepktrmsamarthkrathaidbnphunphiwolk aetbangyancasamarththaidinchnbrryakassunghruxinxwkasethann karsngektkarndarasastrinyansepktrmtang aesdngdngraylaexiydtxipni darasastrwithyu aekikh dubthkhwamhlkthi darasastrwithyu darasastrwithyuepnkartrwchakaraephrngsiinkhwamyawkhlunthiyawkwa 1 milliemtr radbmilliemtrthungedkhaemtr 12 epnkarsuksadarasastrthiaetktangcakkarsuksadarasastrechingsngektkarnrupaebbxun ephraaepnkarsuksakhlunwithyusungthuxwaepnkhluncring makkwaepnkarsuksaxnuphakhoftxn cungsamarthtrwcwdidthngaexmplicudaelaefskhxngkhlunwithyusungcathaidyakkwakbkhlunthimikhwamyawkhluntakwani 12 khlunwithyuthiaephcakwtthudarasastrcanwnhnungxacxyuinrupkhxngkaraephrngsikhwamrxn odymakaelwkaraephkhlunwithyuthitrwccbidbnolkmkxyuinrupaebbkhxngkaraephrngsisingokhrtrxn sungekidcakkarthixielktrxnekhluxnthiepnkhabrxbesnaerngsnamaemehlk 12 nxkcaknisepktrmthiekidcakaeksrahwangdaw odyechphaaxyangyingesnsepktrmkhxngihodrecnthi 21 esntiemtr casamarthsngektidinchwngkhlunwithyu 13 12 wtthudarasastrthisamarthsngektidinchwngkhlunwithyumimakmay rwmipthungsuepxronwa aeksrahwangdaw phlsar aelaniwekhliysdarackrkmmnt 13 12 darasastrechingaesng aekikh dubthkhwamhlkthi darasastrechingaesng karsngektkarndarasastrechingaesngepnkarsuksadarasastrthiekaaekthisud 14 khuxkarsngektkarnthxngfadwydwngtamnusy odyxasyekhruxngmuxchwybangechn klxngothrthrrsn phaphthimxngehnthukbnthukexaiwodykarwad cnkrathngchwngplaykhriststwrrsthi 19 aelatlxdkhriststwrrsthi 20 cungmikarbnthukphaphsngektkarndwyekhruxngmuxthayphaph phaphsngektkarnyukhihmmkichxupkrntrwccbaebbdicitxl thiniymxyangmakkhuxxupkrncbphaphaebbsisidi aemwaaesngthitamxngehncamikhwamyawkhlunxyurahwang 4000 A thung 7000 A 400 700 nm 14 aetxupkrntrwccbehlanikmkcamikhwamsamarthsngektphaphthimikaraephrngsiaebbiklxltraiwoxelt aelaiklxinfraerdiddwy darasastrxinfraerd aekikh dubthkhwamhlkthi darasastrxinfraerd darasastrxinfraerd epnkartrwchaaelawiekhraahkaraephrngsiinchwngkhlunxinfraerd khuxchwngkhwamyawkhlunthiyawkwaaesngsiaedng ykewninchwngkhlunthiiklekhiyngkbaesngthitamxngehn karaephrngsixinfraerdcathukchnbrryakaskhxngolkdudsbipmakaelwchnbrryakascapldplxyrngsixinfraerdxxkmaaethn dngnnkarsngektkarninchwngkhlunxinfraerdcungcaepntxngthathiradbbrryakasthisungaelaaehng hruxxxkipsngektkarninxwkas karsuksadarasastrinchwngkhlunxinfraerdmipraoychnmakinkarsuksawtthuthieynekinkwacaaephrngsikhlunaesngthitamxngehnxxkmaid echn dawekhraah aelaaephncandawvks circumstellar disk yingkhlunxinfraerdmikhwamyawkhlunmak casamarthedinthangphanklumemkhfuniddikwaaesngthitamxngehnmak thaiherasamarthefasngektdawvksekidihminemkhomelkulaelainicklangkhxngdarackrtang id 15 omelkulbangchnidpldplxykhlunxinfraerdxxkmaaerngmak sungthaiherasamarthsuksalksnathangekhmiinxwkasid echn kartrwcphbnabndawhang epntn 16 darasastrphlngngansung aekikh phaphthaydarackr M81 inrngsixltraiwoxelt odyklxngothrthrrsnxwkas GALEX darasastrrngsixltraiwoxelt aekikh dubthkhwamhlkthi darasastrrngsixltraiwoxelt darasastrrngsixltraiwoxeltepnkarsuksawtthuthangdarasastrinchwngkhwamyawkhlunsnkwaaesngmwng khuxpraman 10 3200 A 10 320 naonemtr 12 aesngthikhwamyawkhlunnicathukchnbrryakaskhxngolkdudsbip dngnnkarsngektkarncungtxngkrathathichnbrryakasrxbnxk hruxinhwngxwkas karsuksadarasastrrngsixltraiwoxeltcaichinkarsuksakaraephrngsikhwamrxnaelaesnkarkracaytwkhxngsepktrmcakdawvkssinaenginrxncd dawoxbi thisxngswangmakinchwngkhlunni rwmipthungdawvkssinaenginindarackrxunthiepnepahmaysakhyinkarsarwcradbxltraiwoxelt wtthuxun thimikarsuksaaesngxltraiwoxeltidaek enbiwladawekhraah saksuepxronwa aelaniwekhliysdarackrkmmnt 12 xyangirkdi aesngxltraiwoxeltcathukfunrahwangdwngdawdudsbhayipidngay dngnnkartrwcwdaesngxltraiwoxeltcakwtthucungtxngnamaprbprungkhaihthuktxngdwy 12 darasastrrngsiexks aekikh dubthkhwamhlkthi darasastrrngsiexks darasastrrngsiexks khuxkarsuksawtthuthangdarasastrinchwngkhwamyawkhlunkhxngrngsiexks odythwipwtthucaaephrngsiexksxxkmacakkaraephrngsisingokhrtrxn ekidcakxielktrxnaekwngtwepnkhabrxbesnaerngsnamaemehlk cakkaraephkhwamrxnkhxngaeksebabangthixunhphumisungkwa 107 ekhlwin eriykwa karaephrngsi bremsstrahlung aelacakkaraephkhwamrxnkhxngaekshnaaennthixunhphumisungkwa 107 ekhlwin eriykwa karaephrngsikhxngwtthuda 12 khlunrngsiexksmkthukchnbrryakaskhxngolkdudsbip dngnnkarsngektkarninchwngkhwamyawkhlunkhxngrngsiexkscungthaidodyxasybllunthilxytwsungmak hruxcakcrwd hruxcakyansarwcxwkasethann aehlngkaenidrngsiexksthisakhyidaek rabbdawkhurngsiexks phlsar saksuepxronwa darackrchnidri kracukdarackr aelaaeknklangdarackrkmmnt 12 darasastrrngsiaekmma aekikh dubthkhwamhlkthi darasastrrngsiaekmma darasastrrngsiaekmmaepnkarsuksawtthuthangdarasastrinchwngkhwamyawkhlunthisnthisudkhxngsepktrmaemehlkiffa erasamarthsngektkarnrngsiaekmmaodytrngidcakdawethiymrxbolk echn hxdudawrngsiaekmmakhxmptn hruxklxngothrthrrsnechernkhxf klxngechernkhxfimidtrwccbrngsiaekmmaodytrng aettrwccbaesngwabcakaesngthitamxngehnxnekidcakkarthirngsiaekmmathukchnbrryakaskhxngolkdudsbip 17 aehlngkaenidrngsiaekmmaodymakmacakkarekidaesngwabrngsiaekmma sungepnrngsiaekmmathiaephxxkcakwtthuephiyngchwimkimilliwinathihruxxacnanhlayphnwinathikxnthimncaslaytwip aehlngkaenidrngsiaekmmachwkhrawechnnimicanwnkwa 90 khxngaehlngkaenidrngsiaekmmathnghmd miaehlngkaenidrngsiaekmmaephiyng 10 ethannthiepnaehlngkaenidaebbthawr idaek phlsar dawniwtrxn aelawtthuthixacklayipepnhlumdaid echn niwekhliysdarackrkmmnt 12 karsngektkarnxunnxkehnuxcaksepktrmaemehlkiffa aekikh nxkehnuxcakkarsngektkarndarasastrodykaraephrngsikhlunaemehlkiffaaelw yngmikarsngektkarnxun thithaidbnolkephuxsuksawtthuinrayaiklmak inkarsuksadarasastrniwtrion nkdarasastrcaichhxngthdlxngitdinphiessechn SAGE GALLEX aela Kamioka II III ephuxthakartrwccbniwtrion sungepnxnuphakhthiekidcakdwngxathity aetkxacphbcaksuepxronwadwy 12 erasamarthtrwcharngsikhxsmiksungprakxbdwyxnuphakhphlngngansungidkhnathimnpathakbchnbrryakaskhxngolk ekhruxngmuxtrwccbniwtrioninxnakhtxacmikhwamsamarthphxcatrwccbniwtrionthiekidcakrngsikhxsmikinlksnaniid 12 karefasngektkarnxikaebbhnungkhuxkarsngektkarnkhlunkhwamonmthwng twxyanghxsngektkarnlksnani echn Laser Interferometer Gravitational Observatory LIGO aetkartrwchakhlunkhwamonmthwngyngepnipidyakxyu 18 nxkcakni yngmikarsuksadarasastrdawekhraah sungthaidodykarsngektkarnodytrngphanyanxwkas rwmthungkarekbkhxmulrahwangthiyanedinthangphanwtthuthxngfatang odyichesnesxrrayaikl ichyansarwcelklngcxdbnwtthuepahmayephuxthakarsuksaphunphiw hruxsuksacaktwxyangwtthuthiekbmacakptibtikarxwkasbangraykarthisamarthnachinswntwxyangklbmathakarwicytxiddarasastrechingthvsdi aekikhinkarsuksadarasastrechingthvsdi mikarichekhruxngmuxhlakhlaychnidrwmthungaebbcalxngkarwiekhraahtang rwmthungkarcalxngaebbkhanwnthangkhnitsastrinkhxmphiwetxr ekhruxngmuxaetlachnidlwnmipraoychnaetktangknip aebbcalxngkarwiekhraahkhxngkrabwnkarcaehmaasahrbichsuksathungsingthikalngcaekidkhunxnsamarthsngektid swnaebbcalxngkhnitsastrsamarthaesdngthungkarmixyucringkhxngpraktkarnaelaphlkrathbtang thieraxaccamxngimehn 19 20 nkdarasastrthvsdilwnkratuxruxrnthicasrangaebbcalxngthvsdiephuxrabuthungsingthicaekidkhuntxipcakphlsngektkarnthiidrb ephuxchwyihphusngektkarnsamartheluxkichhruxptiesthaebbcalxngaetlachnididtamthiehmaasmkbkhxmul nkdarasastrthvsdiyngphyayamsranghruxprbprungaebbcalxngihekhakbkhxmulihm inkrnithiekidkhwamimsxdkhlxngkn kmiaenwonmthicaprbprungaebbcalxngelknxyephuxihekhaknkbkhxmul inbangkrnithaphbkhxmulthikhdaeyngkbaebbcalxngxyangmakemuxewlaphanipnan kxaccatxnglmelikaebbcalxngnnipkidhwkhxtang thinkdarasastrthvsdisnicsuksaidaek wiwthnakaraelakarepliynaeplngkhxngdawvks karkxtwkhxngdarackr okhrngsrangkhnadihykhxngwtthuinexkphph kaenidkhxngrngsikhxsmik thvsdismphththphaphthwip aelafisiksckrwalwithya rwmthungfisiksxnuphakhinthangdarasastrdwy karsuksafisiksdarasastrepnesmuxnekhruxngmuxsakhythiichtrwcwdkhunsmbtikhxngokhrngsrangkhnadihyinexkphph thisungaerngonmthwngmibthbathsakhytxpraktkarnthangkayphaphtang aelaepnphunthankhxngkarsuksafisikshlumda aelakarsuksakhlunaerngonmthwng yngmithvsdikbaebbcalxngxun xiksungepnthiyxmrbaelarwmsuksaknodythwip incanwnnirwmthungaebbcalxngaelmbda sidiexm thvsdibikaebng karphxngtwkhxngckrwal ssarmud aela phlngnganmud sungkalngepnhwkhxsakhyinkarsuksadarasastrinpccubntwxyanghwkhxkarsuksadarasastrechingthvsdi midngni krabwnkarthangfisiks ekhruxngmuxthangdarasastr aebbcalxngthangthvsdi karthanaypraktkarnkhwamonmthwng klxngothrthrrsnwithyu wiwthnakarkhxngdawvks karsinxayukhykhxngdawvksniwekhliyrfiwchn klxngothrthrrsnxwkashbebil karkhyaytwkhxngexkphph xayukhxngexkphphbikaebng sepkothrsokpi karphxngtwkhxngckrwal khwamaebnkhxngexkphphkhwamphnphwnkhwxntm darasastrrngsiexks thvsdismphththphaphthwip hlumdathiicklangdarackraexndrxemdakaryubtwkhxngkhwamonmthwng karekidkhxngthatutang sakhawichahlkkhxngdarasastr aekikhdarasastrsuriya aekikh phaphthaydwngxathityinrngsixltraiwoxeltcakklxngothrthrrsnxwkas TRACE aesdngihehnthrngklmofotsefiyr dubthkhwamhlkthi dwngxathity dwngxathity epnepahmaykarsuksathangdarasastryxdniymaehnghnung xyuhangcakolkippraman 8 nathiaesng epndawvkssungxyuinaethbladbhlkodyepndawaekhrapraephth G2 V mixayupraman 4 6 phnlanpi dwngxathitykhxngeraniimnbwaepndawaepraesng aetmikhwamepliynaeplnginkarsxngswangxyuepnrayaxnenuxngcakcakrxbpraktkhxngcuddbbndwngxathity xnepnbriewnthiphunphiwdwngxathitymixunhphumitakwaphunphiwxun xnenuxngmacakphlkhxngkhwamekhmkhnsnamaemehlk 21 dwngxathitysxngaesngswangmakkhuneruxy tlxdxayukhxngmn nbaetekhasuaethbladbhlkkidsxngswangmakkhunthung 40 aelw khwamepliynaeplngkarsxngswangkhxngdwngxathitytamrayaewlanimiphlkrathbxyangsakhytxolkdwy 22 twxyangechnkarekidpraktkarnyukhnaaekhngsn chwnghnung Little Ice Age rahwangchwngyukhklang kechuxwaepnphlmacak Maunder Minimum 23 phunphiwrxbnxkkhxngdwngxathitythieramxngehneriykwa ofotsefiyr ehnuxphunphiwniepnchnbang eriykchuxwa okhromsefiyr caknnepnchnepliynphansungmixunhphumiephimsungkhunxyangmak chnnxksudmixunhphumisungthisud eriykwa okhornaicklangkhxngdwngxathityeriykwayanaeknklang epnekhtthimixunhphumiaelakhwamdnmakphxcathaihekidptikiriyaniwekhliyrfiwchn ehnuxcakyanaeknklangeriykwayanaephrngsi radiation zone epnthisungphlasmaaephkhlunphlngnganxxkmainrupkhxngrngsi chnnxkxxkmaepnyanphakhwamrxn convection zone sungssaraekscaepliynphlngnganklayipepnaeks echuxwayanphakhwamrxnniepnkaenidkhxngsnamaemehlkthithaihekidcuddbbndwngxathity 21 lmsuriyaekidcakxnuphakhkhxngphlasmathiihlxxkcakdwngxathity sungcaaephxxkipcnkrathngthungaenw heliopause emuxlmsuriyathaptikiriyakbsnamaemehlkkhxngolk thaihekidaenwkaraephrngsiaewnxlelnaelaxxorra intaaehnngthiesnaerngsnamaemehlkolkihlewiyninchnbrryakas 24 withyasastrdawekhraah aekikh karhkehkhxnglmsuriyacakphlkhxngsnamaemehlkkhxngdawekhraah dubthkhwamhlkthi withyasastrdawekhraah withyasastrdawekhraahepnsakhawichathisuksaekiywkbxngkhprakxbkhxngdawekhraah dwngcnthr dawekhraahaekhra dawhang dawekhraahnxy aelawtthuthxngfaxun thiokhcrrxbdwngxathity tlxdcnthungbrrdadawekhraahnxkrabbdwy wtthuinrabbsuriyacaepnthiniymsuksakhnkhwamakkwa inchwngaerksamarthsngektkarnidphanklxngothrthrrsn txmacungichkarsngektkarnodyyanxwkasmachwy karsuksasakhanithaiheraekhaickarekidaelawiwthnakarkhxngrabbdawekhraahiddikhun aemcamikarkhnphbihm ekidkhuntlxdewlaktam 25 wtthuinrabbsuriyasamarthaebngxxkidepn dawekhraahrxbin aethbdawekhraahnxy aeladawekhraahrxbnxk inklumdawekhraahrxbinprakxbdwy dawphuth dawsukr olk aeladawxngkhar swninklumdawekhraahrxbnxkepndawaeksyks idaek dawphvhsbdi dawesar dawyuerns dawenpcun aeladawekhraahhinkhnadelk phluot 26 phncakdawenpcunipcamiaethbikhepxr aelaklumemkhxxrt sungaephkwangepnrayathangthunghnungpiaesngdawekhraahkxtwkhuncakaephncanfunthihmunwnrxb dwngxathity emuxphankrabwnkartang nanaechn kardungdudkhxngaerngonmthwng karpatha karaetkslay aelakarrwmtwkn aephncanfunehlannkkxtwepnruprangthieriykwa dawekhraahkxnekid protoplanet aerngdnkaraephrngsikhxnglmsuriyacaphdphaexassarthiimsamarthrwmtwkntidihkracayhayip khngehluxaetswnkhxngdawekhraahthimimwlmakphxcadungdudbrryakaschnaekskhxngtwexaiwid dawekhraahihmehlaniyngmikardungdudaelapldplxyssarintwtlxdchwngewlathithukesssaekddawyxy pathatlxdewla karpathaehlanithaihekidhlumbxbnphunphiwdawekhraahdngechnthipraktbnphunphiwdwngcnthr phlcakkarpathaniswnhnungxacthaihdawekhraahkxnekidaetkchinswnxxkmaaelaklayipepndwngcnthrkhxngmnkid 27 emuxdawekhraahehlanimimwlmakphx odyrwmexassarthimikhwamhnaaennaebbtang ekhaiwdwykn krabwnkarnithaihdawekhraahkxtwepndawaebbtang khuxaeknklangepnhin hruxolha lxmrxbdwychnepluxk aelaphunphiwphaynxk aeknklangkhxngdawekhraahxacepnkhxngaekhnghruxkhxngehlwkid aeknklangkhxngdawekhraahbangdwngsamarthsrangsnamaemehlkkhxngtwexngkhunmaid sungchwypkpxngchnbrryakaskhxngdawekhraahdwngnn cakphlkrathbkhxnglmsuriya 28 khwamrxnphayinkhxngdawekhraahhruxdwngcnthrepnphlcakkarpathaknthithaihekidokhrngrangaelasarkmmntrngsi echn yuereniym thxeriym aela 26Al dawekhraahaeladwngcnthrbangdwngsasmkhwamrxniwmakphxcathaihekidkrabwnkarthangthrniwithyaechn phuekhaifaelaaephndinihw swnphwkthisamarthsasmchnbrryakaskhxngtwexngid kcamikrabwnkarkdkrxnkhxnglmaelana dawekhraahthielkkwacaeyntwlngerwkwa aelapraktkarnthangthrniwithyacahyudlngewnaethlumbxcakkarthukchnethann 29 darasastrdawvks aekikh enbiwladawekhraahrupmd thiaephaeksxxkmacaksunyklangdawvksthiaetkdbinlksnasmmatr tangcakkarraebidodythwip dubthkhwamhlkthi dawvks karsuksaekiywkbdawvksaelawiwthnakarkhxngdawvksepnphunthansakhyinkarthakhwamekhaickbexkphph withyakarfisiksdarasastrkhxngdwngdawekidkhunmacakkarsngektkarnaelakarphyayamsrangthvsdiephuxthakhwamekhaic rwmthungkarsrangaebbcalxngkhxmphiwetxrephuxsuksaphlthiekidkhunphayindwngdawdawvksthuxkaenidkhuninyanxwkasthimifunaelaaeksxyuhnaaenn eriykchuxwaemkhomelkulkhnadyks emuxekidphawathiimesthiyr swnprakxbkhxngemkhxacaetkslayipphayitaerngonmthwng aelathaihekidepndawvkskxnekidkhun briewnthimikhwamhnaaennkhxngaeksaelafunsungmakphx aelarxnmakphx caekidptikiriyaniwekhliyrfiwchn sungthaihekiddawvksinaethbladbhlkkhun 30 thatuthikaenidkhuninaeknklangkhxngdawvksodymakepnthatuthihnkkwaihodrecnaelahieliymthngsinkhunlksnatang khxngdawvkskhunxyukbmwlerimtnkhxngdawvksnn dawvksthimimwlmakcamikhwamsxngswangsung aelacaichechuxephlingihodrecncakaeknklangkhxngmnexngipxyangrwderw emuxewlaphanip echuxephlingihodrecnehlanicakhxy aeprepliynklayipepnhieliym dawvkskcawiwthnakarip karekidfiwchnkhxnghieliymcatxngichxunhphumiaeknklangthisungkwa dngnndawvksnnkcakhyaytwihykhun khnaediywknkephimkhwamhnaaennaeknklangkhxngtwexngdwy dawaedngykscamichwngxayuthisnkxnthiechuxephlinghieliymcathukephaphlayhmdip dawvksthimimwlmakkwacaphankrabwnkarwiwthnakaridmakkwa odythimithatuhnkhlxmrwmxyuintwephimmakkhunkarsinsudchatakrrmkhxngdawvkskkhunxyukbmwlkhxngmnechnkn dawvksthimimwlmakkwadwngxathitykhxngeramakkwa 8 ethacaaetkslayklayipepnsuepxronwa khnathidawvksthielkkwacaklayipepnenbiwladawekhraah aelawiwthnakartxipepndawaekhrakhaw sakkhxngsuepxronwakhuxdawniwtrxnthihnaaenn hruxinkrnithidawvksnnmimwlmakkwadwngxathitykhxngerakwa 3 etha mncaklayipepnhlumda 31 sahrbdawvksthiepnrabbdawkhuxacmiwiwthnakarthiaetktangxxkip echnxacmikarthayethmwlaekknaelwklayepndawaekhrakhawaebbkhusungsamarthcaklayipepnsuepxronwaid karekidenbiwladawekhraahaelasuepxronwaepnkarkracayssarthatuxxkipsussarrahwangdaw hakimmikrabwnkarniaelw dawvksihm aelarabbdawekhraahkhxngmn kcakxtwkhunmacakephiyngihodrecnkbhieliymethann darasastrdarackr aekikh karsngektkarnaelasuksaokhrngsrangaekhnknghnkhxngdarackrthangchangephuxk dubthkhwamhlkthi darasastrdarackr rabbsuriyakhxngeraokhcrxyuphayindarackrthangchangephuxk sungepndarackrchnidknhxymikhan aelaepndarackrsmachikaehnghnunginklumthxngthin darackrniepnklumaeks fun dawvks aelawtthuxun xikcanwnmakthihmunwniprxbkn odymiaerngonmthwngkrathatxknthaihdungdudkniw taaehnngkhxngolkxyuthiaekhnfunknghndannxkkhanghnungkhxngdarackr dngnncungmibangswnkhxngthangchangephuxkthithukbngiwaelaimsamarthmxngehnidthiicklangkhxngthangchangephuxkmilksnakhlaydumknghnkhnadihy sungechuxwaepnthitngkhxnghlumdamwlywdying rxb dumknghnepnaekhnknhxychntnmi 4 playhmunxyurxb aekn epnyanthimikarekidihmkhxngdawvksdaeninxyu midawvksaebbdarakr 1 thixayueyawxyuinyanniepncanwnmak swncankhxngknhxyprakxbdwythrngklmhaol xnprakxbdwydawvksaebbdarakr 2 thimixayumakkwa thngyngepnthitngkhxngklumdawvkshnaaennthieriykknwa kracukdawthrngklm 32 33 thiwangrahwangdwngdawmissarrahwangdawbrrcuxyu epnyanthimiwtthutang xyuxyangebabangmak briewnthihnaaennthisudkhuxemkhomelkul sungprakxbdwyomelkulkhxngihodrecnaelathatuxun thiepnyankaenidkhxngdawvks inchwngaerkcamikarkxtwepnenbiwlamudruprangprahladkxn caknnemuxmikhwamhnaaennephimkhunmak kcaekidkaraetkslayaelwkxtwihmepndawvkskxnekid 34 emuxmidawvksmwlmakpraktkhunmakekha mncaepliynemkhomelkulihklayepnbriewnexchthusungepnyaneruxngaesngetmipdwyaeksaelaphlasma lmdawvkskbkarraebidsuepxronwakhxngdawehlanicathaihklumemkhkracaytwknxxkip aelwehluxaetephiyngklumkhxngdawvkscanwnhnungthiekaaklumknepnkracukdawepidxayunxy emuxewlaphanipkracukdawehlanikcakhxy kracayhangknxxkip aelwklayipepnprachakrdawdwnghnunginthangchangephuxkkarsuksaclnsastrkhxngmwlsarinthangchangephuxkaeladarackrtang thaiherathrabwa mwlthimixyuindarackrnnaethcringmimakkwasingthieramxngehn thvsdiekiywkbssarmudcungekidkhunephuxxthibaypraktkarnni aemwathrrmchatikhxngssarmudyngkhngepnsingluklbimmiikhrxthibayid 35 darasastrdarackrnxkrabb aekikh phaphaesdngwtthuthrngrisinaengincanwnmakthiepnphaphsathxnkhxngdarackraehngediywkn epnphlkrathbcakelnskhwamonmthwngthiekidcakkracukdarackrsiehluxngiklsunyklangkhxngphaph dubthkhwamhlkthi darasastrdarackrnxkrabb karsuksawtthuthixyuinhwngxwkasxunnxkehnuxcakdarackrkhxngera epnkarsuksaekiywkbkaenidaelawiwthnakarkhxngdarackr karsuksarupranglksnaaelakarcdpraephthkhxngdarackr karsarwcdarackrkmmnt karsuksakarcdklumaelakracukdarackr sunginhwkhxhlngnimikhwamsakhyxyangyinginkarthakhwamekhaickbokhrngsrangkhnadihykhxngckrwaldarackrswnihycathukcdklumtamrupranglksnathiprakt ekhatamhlkeknthkhxngkarcdpraephthdarackr sungmiklumihy idaek darackrchnidknhxy darackrchnidri aeladarackrirrupaebb 36 lksnakhxngdarackrkhlaykhlungkbchuxpraephththikahnd darackrchnidricamirupranginphakhtdkhwangkhlaykhlungkbrupwngri dawvkscaokhcripaebbsumodyimmithisthangthiaenchd darackrpraephthnimkimkhxymifunrahwangdwngdawhlngehluxaelw yankaeniddawihmkimmi aeladawvksswnihycamixayumak eramkphbdarackrchnidrithibriewnicklangkhxngkracukdarackr hruxxacekidkhuncakkarthidarackrkhnadihysxngaehngpathaaelwrwmtwekhadwyknkiddarackrchnidknhxymkmirupthrngkhxnkhangaebn ehmuxnaephncanhmun aelaswnihycamihlumdamwlywdyingepndumhruxmiaeknruprangkhlaykhanthibriewnicklang phrxmkbaekhnknhxyswangaephxxkipepnwng aekhnknhxyniepnyankhxngfunthiepntnkaenidkhxngdawvks dawvksxayunxymwlmakcathaihaekhnnisxngswangepnsifa swnthirxbnxkkhxngdarackrmkepnklumkhxngdawvksxayumak darackrthangchangephuxkkhxngeraaeladarackraexndrxemdakepndarackrchnidknhxydarackrirrupaebbmkmiruprangpraktimaenimnxn imichthngdarackrchnidrihruxchnidknhxy pramanhnunginsikhxngcanwndarackrthnghmdthiphbepndarackrchnidirrupaebbni ruprangxnaeplkprahladkhxngdarackrmkthaihekidptikiriyaaerngonmthwngaeplk khundwydarackrkmmntkhuxdarackrthimikareplngsyyanphlngngancanwnmakxxkmacakaehlngkaenidxunnxkehnuxcakdawvks fun aelaaeks aehlngphlngnganniepnyanelk aethnaaennmaksungxyuinaeknklangdarackr odythwipechuxknwamihlumdamwlywdyingxyuthinnsungeplngphlngnganrngsixxkmaemuxmiwtthuid tklngipinnn darackrwithyukhuxdarackrkmmntchnidhnungthisxngswangmakinchwngsepktrmkhxngkhlunwithyu mncaeplnglxnkhxngaeksxxkmaepncanwnmak darackrkmmntthiaephrngsiphlngngansungxxkmaidaek darackresyefirt ekhwsar aelaeblsar echuxwaekhwsarepnwtthuthisxngaesngswangmakthisudethathiepnthiruckinexkphph 37 okhrngsrangkhnadihykhxngckrwalprakxbdwyklumaelakracukdarackrcanwnmak okhrngsrangnimikarcdladbchnodythiradbchnthiihythisudkhux mhakracukkhxngdarackr ehnuxkwannmwlsarcamikaroyngiykninlksnakhxngiyexkphphaelakaaephngexkphph swnthiwangrahwangnnmiaetsuyyakas 38 ckrwalwithya aekikh dubthkhwamhlkthi ckrwalwithyaechingkayphaph ckrwalwithya xngkvs cosmology macakkhainphasakrikwa kosmos cosmos hmaythung exkphph aela logos hmaythung karsuksa epnkarsuksaekiywkbexkphphthnghmdinphaphrwmkarsngektkarnokhrngsrangkhnadihykhxngexkphph epnsakhawichahnungthieriykwa ckrwalwithyaechingkayphaph chwyiheramikhwamekhaicxyangluksungekiywkbkarkaenidaelawiwthnakarkhxngckrwal thvsdithiepnthiyxmrbodythwipsahrbphunthankhxngckrwalwithyasmyihm idaek thvsdibikaebng sungklawwaexkphphkhxngerakaenidmacakcudephiyngcudediyw hlngcaknncungkhyaytwkhunepnewlakwa 13 7 phnlanpimaaelw hlkkarkhxngthvsdibikaebngerimtnkhuntngaetkarkhnphbrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwal inpi kh s 1965tlxdchwngewlakarkhyaytwkhxngexkphphni exkphphidphankhntxnkhxngwiwthnakarmamakmayhlaykhrng inchwngaerk thvsdikhadkarnwaexkphphnacaphanchwngewlakarphxngtwkhxngckrwalthirwderwmhasal sungepnhnungediywknaelaesmxkninthukthisthanginsphawaerimtn hlngcaknn niwkhlioxsinthisiscungthaihekidthatutang khunmakmayinexkphphyukhaerkemuxmixatxmaerkekidkhun cungmikaraephrngsiphanxwkas pldplxyphlngnganxxkmadngthithukwnnieramxngehnepnrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwal exkphphkhyaytwphanchwngewlakhxngyukhmudephraaimkhxymiaehlngkaenidphlngngankhxngdawvks 39 erimmikarcdokhrngsrangladbchnkhxngssarkhunnbaeterimmikarepliynaeplngkhwamhnaaennkhxngssar ssarthirwmklumknxyuepnbriewnhnaaennthisudklayipepnklumemkhaeksaeladawvksyukhaerksud dawvksmwlmakehlaniepncudkaenidkhxngkrabwnkaraetktwthangiffasungechuxwaepntnkaenidkhxngthatuhnkmakmaythixyuinexkphphyukherimtnphlcakaerngonmthwngthaihmikardungdudrwmklumknekidepniyexkphph michxngsuyyakasepnphunthiwang hlngcaknnokhrngsrangkhxngaeksaelafunkkhxy rwmtwknekidepndarackryukhaerkerim emuxewlaphanip mndungdudssartang ekhamarwmknmakkhun aelamikarcdklumokhrngsrangekhadwyknepnklumaelakracukdarackr sungepnswnhnunginokhrngsrangkhnadihykhuxmhakracukdarackr 40 okhrngsrangphunthanthisudkhxngckrwalkhuxkarmixyukhxngssarmudaelaphlngnganmud inpccubneraechuxknwathngsxngsingnimixyucring aelaepnswnprakxbthungkwa 96 khxngkhwamhnaaennthnghmdkhxngexkphph ehtunikarsuksafisiksinyukhihmcungepnkhwamphyayamthakhwamekhaickbxngkhprakxbehlani 41 sastrthiekiywkhxngkbsakhaxun aekikhkarsuksadarasastraelafisiksdarasastrthikawhnamakkhun thaihmikhwamekiywkhxngkbwithyasastrsakhaxunmakyingkhun dngni obrandarasastr Archaeoastronomy epnkarsuksaekiywkbwithyakardarasastrinyukhobranhruxyukhdngedim odyphicarnathungsphaphsngkhmaelawthnthrrm xasyhlkthaninthangobrankhdiaelamanusywithyaekhamachwy chiwwithyadarasastr Astrobiology epnkarsuksakarmathungaelawiwthnakarkhxngrabbchiwwithyainexkphph thisakhykhuxkarsuksaaelatrwchakhwamepnipidkhxngsingmichiwitinolkxun ekhmidarasastr Astrochemistry epnkarsuksalksnathangekhmithiphbinxwkas nbaetkarkxtw karekidptikiriya aelakarsuyslay mkichinkarsuksaemkhomelkul rwmthungdawvksxunhphumitatang echn dawaekhranatalaeladawekhraah swn ekhmickrwal Cosmochemistry epnkarsuksalksnathangekhmithiphbinrabbsuriya rwmthungkaenidkhxngthatuaelakarepliynaeplngsdswnkhxngixosothp thngsxngsakhanikhabekiywknrahwangsastrthangekhmiaeladarasastrnxkcakni yngmikarsuksaekiywkb karwdtaaehnngdaw Astrometry aelaklsastrthxngfa Celestial Mechanics sungsuksaekiywkbtaaehnngaelakarepliynaeplngtaaehnngkhxngwtthuthxngfa karrabuphikdaelaclnsastrkhxngwtthuthxngfa lksnakhxngwngokhcr khwamonmthwng aelaxun thiekiywkhxngkbwichaklsastraelafisiksdarasastrsmkhreln aekikhdubthkhwamhlkthi darasastrsmkhreln nkdarasastrsmkhrelnsamarthefasngektsingthisnicepnphiess aelabxykhrngthiphlkarsngektkarnkhxngphwkekhaklayepnhwkhxsakhythangwichakar darasastr epnsakhawichahnungthangwithyasastrthibukhkhlthwipsamarthmiswnrwmidxyangmakthisud 42 nbaetxditma nkdarasastrsmkhrelnidsngektphbwtthuthxngfaaelapraktkarnthangdarasastrthisakhymakmaydwyekhruxngmuxthiphwkekhasrangkhunmaexng epahmayinkarsngektkarnkhxngnkdarasastrsmkhrelnodymakidaek dwngcnthr dawekhraah dawvks dawhang fndawtk aelawtthuinhwngxwkaslukxikcanwnhnungechn kracukdaw kracukdarackr hruxenbiwla sakhawichayxysakhahnungkhxngdarasastrsmkhreln khuxkarthayphaphthangdarasastr sungekiywkhxngkbwithikarthayphaphinthxngfayamratri nkdarasastrsmkhrelnswnmakcaecaacngefasngektwtthuthxngfahruxpraktkarnbangxyangthiphwkekhasnicepnphiess 43 44 swnihyaelwnkdarasastrsmkhrelncasngektkarndarasastrinkhlunthitamxngehn aetkmikarthdlxngelk xyubangthikrathainchwngkhlunxunnxkcakkhlunthitamxngehn echnkarichfiletxraebbxinfraerdtidbnklxngothrthrrsn hruxkarichklxngothrthrrsnwithyu epntn nkdarasastrsmkhrelnphubukebikinkarsngektkarndarasastrwithyu khux kharl aecnski Karl Jansky phuerimefasngektthxngfainchwngkhlunwithyutngaetkhristthswrrs 1930 yngminkdarasastrsmkhrelnxikcanwnhnungthiichklxngothrthrrsnpradisthexngthiban hruxichklxngothrthrrsnwithyuthiaetedimsrangmaephuxnganwicythangdarasastr aetpccubnidepidihbukhkhlthwipekhaipichnganiddwy 45 46 mibthkhwamthangdarasastrmakmaythisngmacaknkdarasastrsmkhreln xnthicringaelw niepnhnunginimkisakhawichathangwithyasastrthimuxsmkhrelnksamarthmiswnrwmhruxekhiynbthkhwamsakhy khunmaid nkdarasastrsmkhrelnsamarthtrwcwdwngokhcrodylaexiydkhxngdawekhraahkhnadelkid phwkekhakhnphbdawhang aelathakarefasngektdawaepraesng khwamkawhnakhxngethkhonolyidicitxlthaihnkdarasastrsmkhrelnmikhwamsamarthinkarthayphaphthangdarasastriddiyingkhun aelahlay phaphkepnphaphpraktkarnxnsakhythangdarasastrdwy 47 48 49 pidarasastrsakl 2009 aekikhdubthkhwamhlkthi pidarasastrsakl pi kh s 2009 epnpithikhrbrxb 400 pi nbcakkalieloxidpradisthklxngothrthrrsnkhunephuxthakarsngektkarnthangdarasastr aelaphbhlkthanyunynaenwkhiddwngxathityepnsunyklangckrwalthinaesnxody niokhelas okhepxrnikhs imnankxnhnann karkhnphbnithuxepnkarptiwtiaenwkhidphunthanekiywkbckrwal aelaepnkarbukebikkarsuksadarasastryukhihmodyxasyklxngothrthrrsn sungmikhwamkawhnayingkhuntamthiethkhonolyikhxngklxngothrthrrsnphthnakhunxngkhkarshprachachaticungidprakasihpi kh s 2009 epnpidarasastrsakl odyidprakasxyangepnthangkaremuxwnthi 20 thnwakhm kh s 2008 kickrrmtang daeninkarodyshphnthdarasastrsakl aelaidrbkarsnbsnuncakxngkhkaryuensok sungepnhnwynganhnungkhxngshprachachatithirbphidchxbngandankarsuksa withyasastr aelawthnthrrm miphithiepidxyangepnthangkarthikrungparis inwnthi 15 16 mkrakhm kh s 2009 50 duephim aekikh darasastrpidarasastrsakl nkdarasastr klumdaw bnidrayahangkhxngckrwal rabbsuriya klxngothrthrrsn karsarwcxwkas smakhmdarasastrithyxangxing aekikh Definition at Answer com Definition at Merriam Webster com Definition at BrainyQuote com Albrecht Unsold 2001 The New Cosmos An Introduction to Astronomy and Astrophysics Berlin New York Springer ISBN 3 540 67877 8 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help George Forbes 1909 Free e book from Project Gutenberg History of Astronomy London Watts amp Co http www gutenberg org etext 8172 Eclipses and the Saros Archived 2007 10 30 thi ewyaebkaemchchin NASA ekbkhxmulemux 2007 10 28 Hipparchus of Rhodes School of Mathematics and Statistics University of St Andrews Scotland ekbkhxmulemux 2007 10 28 Arthur Berry 1961 A Short History of Astronomy From Earliest Times Through the Nineteenth Century New York Dover Publications Inc Michael Hoskin b k 1999 The Cambridge Concise History of Astronomy Cambridge University Press ISBN 0 521 57600 8 Arthur Berry 1961 A Short History of Astronomy From Earliest Times Through the Nineteenth Century New York Dover Publications Inc Electromagnetic Spectrum NASA ekbkhxmulemux 2006 09 08 12 00 12 01 12 02 12 03 12 04 12 05 12 06 12 07 12 08 12 09 12 10 12 11 12 12 A N Cox editor 2000 Allen s Astrophysical Quantities New York Springer Verlag ISBN 0 387 98746 0 13 0 13 1 F H Shu 1982 The Physical Universe Mill Valley California University Science Books ISBN 0 935702 05 9 14 0 14 1 P Moore 1997 Philip s Atlas of the Universe Great Britain George Philis Limited ISBN 0 540 07465 9 Staff 2003 09 11 Why infrared astronomy is a hot topic ESA ekbkhxmulemux 11 singhakhm 2008 Infrared Spectroscopy An Overview Archived 2008 10 05 thi ewyaebkaemchchin NASA IPAC ekbkhxmulemux 11 singhakhm 2008 Penston Margaret J 2002 08 14 The electromagnetic spectrum Particle Physics and Astronomy Research Council ekbkhxmulemux 2006 08 17 G A Tammann F K Thielemann D Trautmann 2003 Opening new windows in observing the Universe Archived 2006 11 16 thi ewyaebkaemchchin Europhysics News ekbkhxmulemux 2006 08 22 H Roth A Slowly Contracting or Expanding Fluid Sphere and its Stability Phys Rev 39 p 525 529 1932 A S Eddington Internal Constitution of the Stars 21 0 21 1 Johansson Sverker 2003 07 27 The Solar FAQ Talk Origins Archive ekbkhxmulemux 2006 08 11 Lerner amp K Lee Lerner Brenda Wilmoth 2006 Environmental issues essential primary sources Thomson Gale ekbkhxmulemux 2006 09 11 Pogge Richard W 1997 The Once amp Future Sun Archived 2007 10 11 thi ewyaebkaemchchin lecture notes New Vistas in Astronomy Archived 2007 10 31 thi ewyaebkaemchchin ekbkhxmulemux 2005 12 07 D P Stern M Peredo 2004 09 28 The Exploration of the Earth s Magnetosphere NASA ekbkhxmulemux 2006 08 22 J F Bell III B A Campbell M S Robinson 2004 Remote Sensing for the Earth Sciences Manual of Remote Sensing 3rd ed John Wiley amp Sons http marswatch tn cornell edu rsm html ekbkhxmulemux 2006 08 23 E Grayzeck D R Williams 2006 05 11 Lunar and Planetary Science NASA ekbkhxmulemux 2006 08 21 Roberge Aki 1997 05 05 Planetary Formation and Our Solar System Carnegie Institute of Washington Department of Terrestrial Magnetism ekbkhxmulemux 2006 08 11 Roberge Aki 1998 04 21 The Planets After Formation Department of Terrestrial Magnetism ekbkhxmulemux 2006 08 23 J K Beatty C C Petersen A Chaikin ed 1999 The New Solar System 4th ed Cambridge press ISBN 0 521 64587 5 Stellar Evolution amp Death Archived 2008 02 10 thi ewyaebkaemchchin NASA Observatorium ekbkhxmulemux 2006 06 08 Jean Audouze Guy Israel ed 1994 The Cambridge Atlas of Astronomy 3rd ed Cambridge University Press ISBN 0 521 43438 6 Ott Thomas 2006 08 24 The Galactic Centre Max Planck Institut fur extraterrestrische Physik ekbkhxmulemux 2006 09 08 Faulkner Danny R 1993 The Role Of Stellar Population Types In The Discussion Of Stellar Evolution Archived 2011 05 14 thi ewyaebkaemchchin CRS Quarterly 30 1 174 180 http www creationresearch org crsq articles 30 30 1 StellarPop html Archived 2011 05 14 thi ewyaebkaemchchin ekbkhxmulemux 8 September 2006 Hanes Dave 2006 08 24 Star Formation The Interstellar Medium Archived 2006 10 02 thi archive today Queen s University Retrieved on 2006 09 08 Van den Bergh Sidney 1999 The Early History of Dark Matter Publications of the Astronomy Society of the Pacific 111 657 660 doi 10 1086 316369 lingkesiy Keel Bill 2006 08 01 Galaxy Classification University of Alabama ekbkhxmulemux 2006 09 08 Active Galaxies and Quasars NASA ekbkhxmulemux 2006 09 08 Zeilik Michael 2002 Astronomy The Evolving Universe 8th ed Wiley ISBN 0 521 80090 0 Hinshaw Gary 2006 07 13 Cosmology 101 The Study of the Universe NASA WMAP ekbkhxmulemux 2006 08 10 Galaxy Clusters and Large Scale Structure University of Cambridge ekbkhxmulemux 2006 09 08 Preuss Paul Dark Energy Fills the Cosmos U S Department of Energy Berkeley Lab ekbkhxmulemux 2006 09 08 Mims III Forrest M 1999 Amateur Science Strong Tradition Bright Future Science 284 5411 55 56 doi 10 1126 science 284 5411 55 subkhnemux 2008 12 06 Astronomy has traditionally been among the most fertile fields for serious amateurs The Americal Meteor Society subkhnemux 2006 08 24 Lodriguss Jerry Catching the Light Astrophotography subkhnemux 2006 08 24 F Ghigo 2006 02 07 Karl Jansky and the Discovery of Cosmic Radio Waves National Radio Astronomy Observatory subkhnemux 2006 08 24 Cambridge Amateur Radio Astronomers subkhnemux 2006 08 24 The International Occultation Timing Association subkhnemux 2006 08 24 Edgar Wilson Award Harvard Smithsonian Center for Astrophysics subkhnemux 2006 08 24 American Association of Variable Star Observers AAVSO subkhnemux 2006 08 24 International Year Of Astronomy 2009 Archived 2009 01 04 thi ewyaebkaemchchin Oneindia Dec 30 2008 ekbkhxmulemux 9 mkrakhm 2009 aehlngkhxmulxun aekikh darasastrkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb darasastrewbistxyangepnthangkar pidarasastrsakl 2009 xngkvs smakhmdarasastrithy ithy sthabnwicydarasastraehngchati ithy okhrngkarekhruxkhaysarsnethsdarasastrsahrborngeriyn ithy sunywithyasastrephuxkarsuksa Archived 2004 07 01 thi ewyaebkaemchchin thxngfacalxngkrungethph ithy okhrngkarlisa okhrngkareriynrueruxngwithyasastrolkaelaxwkas odyhxdudawekidaekw snbsnunodysankngankxngthunsnbsnunkarwicy ithy darasastrdxtkhxm ithy dudawdxtkhxm ithy xngkhkarnasa xngkvs warsardarasastr Astronomy com xngkvs ewbistthangkar klxngothrthrrsnxwkashbebil xngkvs ekhathungcak https th wikipedia org w index php title darasastr amp oldid 9671026, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม