fbpx
วิกิพีเดีย

ดีเอ็นเอ

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (อังกฤษ: deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ

โครงสร้างเกลียวคู่ดีเอ็นเอ

ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส

ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหัส

โครงสร้าง

ดีเอ็นเอเป็นพอลิเมอร์สายยาวที่ประกอบจากหน่วยย่อยซ้ำ ๆ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ ตามที่ถูกค้นพบครั้งแรกโดย เจมส์ ดี. วัตสันและฟรานซิส คริก โครงสร้างดีเอ็นเอในทุกสปีชีส์ประกอบด้วยสายเกลียวสองสายพันรอบแกนเดียวกัน แต่ละสายมีความยาวเกลียว 34 อังสตรอม (3.4 นาโนเมตร) และรัศมี 10 อังสตรอม (1.0 นาโนเมตร) ในอีกการศึกษาหนึ่ง ซึ่งวัดในสารละลายบางชนิด พบว่า สายดีเอ็นเอวัดความกว้างได้ 22 ถึง 26 อังสตรอม (2.2 ถึง 2.6 นาโนเมตร) และหนึ่งหน่วยนิวคลีโอไทด์วัดความยาวได้ 3.3 อังสตรอม (0.33 นาโนเมตร) แม้ว่าแต่ละหน่วยที่ซ้ำ ๆ กันนี้จะมีขนาดเล็กมาก แต่พอลิเมอร์ดีเอ็นเอกลับมีขนาดใหญ่มาก โดยประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์หลายล้านหน่วย ตัวอย่างเช่น โครโมโซมหมายเลข 1 ซึ่งเป็นโครโมโซมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาว 220 ล้านคู่เบส

ในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอมักไม่ปรากฏเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่พบเป็นโมเลกุลคู่ที่ยึดกันอย่างแน่นหนา ทั้งสองสายนี้พันกันเหมือนกับไม้เลื้อยในรูปเกลียวคู่ หน่วยซ้ำนิวคลีโอไทด์มีทั้งส่วนแกนกลางของโมเลกุล ซึ่งยึดสายเข้าด้วยกัน กับนิวคลีโอเบส ซึ่งมีปฏิกิริยากับดีเอ็นเออีกเกลียวหนึ่ง น้ำตาลที่เชื่อมกับนิวคลีโอเบส เรียกว่า นิวคลีโอไซด์ ส่วนนิวคลีโอไซด์ที่เชื่อมกับหมู่ฟอสเฟตหนึ่งหมู่หรือมากกว่า เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เชื่อมกันหลาย ๆ ตัว เรียกว่า พอลินิวคลีโอไทด์

แกนกลางของสายดีเอ็นเอเป็นหน่วยย่อยน้ำตาลกับฟอสเฟต น้ำตาลในดีเอ็นเอ คือ 2-ดีออกซีไรโบส ซึ่งเป็นน้ำตาลเพนโทส (5 คาร์บอน) น้ำตาลถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยหมู่ฟอสเฟต ซึ่งสร้างพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่างคาร์บอนอะตอมที่สามและที่ห้าของวงแหวนน้ำตาลที่อยู่ติดกัน พันธะที่อสมมาตรนี้ หมายความว่า สายดีเอ็นเอมีทิศทาง ในเกลียวคู่ ทิศทางของนิวคลีโอไทด์สายหนึ่งจะตรงกันข้ามกับทิศทางในอีกสายหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ทั้งสองสายขนานกันในทิศตรงข้าม (antiparallel) ปลายอสมมาตรของสายดีเอ็นเอ เรียกว่า 5′ (ไพรม์) และ 3′ โดยที่ 5′ มีหมู่ฟอสเฟต และที่ปลาย 3′ มีหมู่ไฮดรอกซิล ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างดีเอ็นเอกับอาร์เอ็นเอ คือ น้ำตาล โดยที่ 2-ดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอจะถูกแทนที่ด้วยไรโบสซึ่งเป็นน้ำตาลเพนโทสอีกชนิดหนึ่ง ในอาร์เอ็นเอ

เกลียวคู่ดีเอ็นเอเกิดเสถียรภาพได้ด้วยแรงสองแรง คือ พันธะไฮโดรเจนระหว่างนิวคลีโอไทด์และอันตรกิริยาระหว่างเบสที่ซ้อนกัน (base-stacking interaction) ในนิวคลีโอเบสอะโรมาติก ในสิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยน้ำของเซลล์ พันธะพายควบคู่ของเบสนิวคลีโอไทด์อยู่ในแนวตั้งฉากกับแกนของโมเลกุลดีเอ็นเอ ซึ่งลดอันตรกิริยากับเปลือกน้ำ และพลังงานอิสระกิบส์ตามลำดับ เบสทั้งสี่ที่พบในดีเอ็นเอ ได้แก่ อะดีนีน (ตัวย่อ A) ไซโทซีน (C) กวานีน (G) และไทมีน (T) เบสทั้งสี่นี้ติดกับน้ำตาล/ฟอสเฟตเพื่อเกิดเป็นนิวคลีโอไทด์ที่สมบูรณ์

นิวคลีโอเบสจำแนกได้เป็นสองประเภท เพียวรีน A และ G เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิกที่มีวงแหวนห้าเหลี่ยมและหกเหลี่ยมอย่างละวง กับไพริมิดีน C และ T ที่เป็นวงแหวนห้าเหลี่ยม ส่วนนิวคลีโอเบสไพริมิดีนอีกตัวหนึ่ง ยูราซิล (U) มักแทนที่ไทมีนในอาร์เอ็นเอ และต่างจากไทมีนตรงที่ขาดหมู่เมทิลไปหนึ่งหมู่ในวงแหวน

อ้างอิง

  1. Russell, Peter (2001). iGenetics. New York: Benjamin Cummings. ISBN 0-8053-4553-1.
  2. Watson J.D.; Crick F.H.C. (1953). "A Structure for Deoxyribose Nucleic Acid" (PDF). Nature. 171 (4356): 737–738. Bibcode:1953Natur.171..737W. doi:10.1038/171737a0. PMID 13054692.
  3. Mandelkern M; Elias J; Eden D; Crothers D (1981). "The dimensions of DNA in solution". J Mol Biol. 152 (1): 153–161. doi:10.1016/0022-2836(81)90099-1. PMID 7338906.
  4. Gregory S; Barlow, KF; และคณะ (2006). "The DNA sequence and biological annotation of human chromosome 1". Nature. 441 (7091): 315–21. Bibcode:2006Natur.441..315G. doi:10.1038/nature04727. PMID 16710414.
  5. Berg J.; Tymoczko J.; Stryer L. (2002). Biochemistry. W. H. Freeman and Company. ISBN 0-7167-4955-6.
  6. Abbreviations and Symbols for Nucleic Acids, Polynucleotides and their Constituents IUPAC-IUB Commission on Biochemical Nomenclature (CBN). Retrieved 3 January 2006.
  7. Ghosh A; Bansal M (2003). "A glossary of DNA structures from A to Z". Acta Crystallogr D. 59 (4): 620–6. doi:10.1107/S0907444903003251. PMID 12657780.
  8. Yakovchuk P; Protozanova E; Frank-Kamenetskii MD (2006). "Base-stacking and base-pairing contributions into thermal stability of the DNA double helix". Nucleic Acids Res. 34 (2): 564–574. doi:10.1093/nar/gkj454. PMC 1360284. PMID 16449200.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: DNA
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ DNA
  • DNA ที่เว็บไซต์ Curlie

เอ, นเอ, กรดด, ออกซ, ไรโบน, วคล, งกฤษ, deoxyribonucleic, acid, หร, อย, อเป, เป, นกรดน, วคล, กท, คำส, งพ, นธ, กรรมซ, งถ, กใช, ในพ, ฒนาการและการทำหน, าท, ของส, งม, ตท, กชน, ดเท, าท, ทราบ, ยกเว, นอาร, เอ, นเอไวร, วนของซ, งบรรจ, อม, ลพ, นธ, กรรมน, เร, ยกว, ทำนองเด. krddixxksiirobniwkhlixik xngkvs deoxyribonucleic acid hruxyxepn diexnex epnkrdniwkhlixikthimikhasngphnthukrrmsungthukichinphthnakaraelakarthahnathikhxngsingmichiwitthukchnidethathithrab ykewnxarexnexiwrs swnkhxngdiexnexsungbrrcukhxmulphnthukrrmnieriykwa yin thanxngediywkn ladbdiexnexxun mikhwammunghmaydanokhrngsrang hruxekiywkhxngkbkarkhwbkhumkarichkhxmulphnthukrrmni diexnex xarexnexaelaoprtinepnhnunginsammhomelkulhlkthisakhyinsingmichiwitthukchnidthithrabokhrngsrangekliywkhudiexnex diexnexprakxbdwyphxliemxrsxngsayyawprakxbcakhnwyyxy eriykwa niwkhlioxithd odymiaeknklangepnnatalaelahmufxseftechuxmtxkndwyphnthaexsethxr thngsxngsaynicderiynginthisthangtrngknkham cungepn antiparallel natalaetlatwmiomelkulhnunginsichnidekaaxyu khux niwkhlioxebs hruxeriyksn wa ebs ladbkhxngniwkhlioxebsthngsichnidnitamaeknklangthiekharhskhxmulphnthukrrm khxmulnixanodyichrhsphnthukrrm sungkahndladbkhxngkrdxamioninoprtin rhsnithukxanodykarkhdlxkdiexnexepnkrdniwkhlixikxarexnexthiekiywkhxnginkhbwnkarthieriykwa karthxdrhsdiexnexphayinesllmikarcdraebiybepnokhrngsrangyaw eriykwa okhromosm rahwangkaraebngesll okhromosmehlanithukkhdlxkinkhbwnkarkarthayaebbdiexnex thaihaetlaesllmichudokhromosmthismburnkhxngtwexng singmichiwityukharioxt stw phuch fngicaelaophrthist ekbdiexnexswnmakiwinniwekhliys aeladiexnexbangswnxyuinxxraekenll echn imothkhxnedriyaelakhlxorphlast 1 inthangtrngkham oprkharioxt aebkhthieriyaelaxarekhiy ekbdiexnexiwechphaainisothphlassum inokhromosm oprtinokhrmatin echn hisotnbibxdaelacdrupaebbkhxngdiexnex okhrngsrangbibxdehlaninaxntrkiriyarahwangdiexnexkboprtinxun chwykhwbkhumswnkhxngdiexnexthicathukthxdrhsokhrngsrang aekikhdiexnexepnphxliemxrsayyawthiprakxbcakhnwyyxysa eriykwa niwkhlioxithd tamthithukkhnphbkhrngaerkody ecms di wtsnaelafransis khrik okhrngsrangdiexnexinthukspichisprakxbdwysayekliywsxngsayphnrxbaeknediywkn aetlasaymikhwamyawekliyw 34 xngstrxm 3 4 naonemtr aelarsmi 10 xngstrxm 1 0 naonemtr 2 inxikkarsuksahnung sungwdinsarlalaybangchnid phbwa saydiexnexwdkhwamkwangid 22 thung 26 xngstrxm 2 2 thung 2 6 naonemtr aelahnunghnwyniwkhlioxithdwdkhwamyawid 3 3 xngstrxm 0 33 naonemtr 3 aemwaaetlahnwythisa knnicamikhnadelkmak aetphxliemxrdiexnexklbmikhnadihymak odyprakxbdwyniwkhlioxithdhlaylanhnwy twxyangechn okhromosmhmayelkh 1 sungepnokhromosmmnusythimikhnadihythisud mikhwamyaw 220 lankhuebs 4 insingmichiwit diexnexmkimpraktepnomelkulediyw aetphbepnomelkulkhuthiyudknxyangaennhna 2 5 thngsxngsayniphnknehmuxnkbimeluxyinrupekliywkhu hnwysaniwkhlioxithdmithngswnaeknklangkhxngomelkul sungyudsayekhadwykn kbniwkhlioxebs sungmiptikiriyakbdiexnexxikekliywhnung natalthiechuxmkbniwkhlioxebs eriykwa niwkhlioxisd swnniwkhlioxisdthiechuxmkbhmufxsefthnunghmuhruxmakkwa eriykwa niwkhlioxithd phxliemxrthiprakxbdwyniwkhlioxithdechuxmknhlay tw eriykwa phxliniwkhlioxithd 6 aeknklangkhxngsaydiexnexepnhnwyyxynatalkbfxseft 7 natalindiexnex khux 2 dixxksiirobs sungepnnatalephnoths 5 kharbxn natalthukechuxmekhadwyknodyhmufxseft sungsrangphnthafxsofidexsethxrrahwangkharbxnxatxmthisamaelathihakhxngwngaehwnnatalthixyutidkn phnthathixsmmatrni hmaykhwamwa saydiexnexmithisthang inekliywkhu thisthangkhxngniwkhlioxithdsayhnungcatrngknkhamkbthisthanginxiksayhnung hruxxacklawidwa thngsxngsaykhnankninthistrngkham antiparallel playxsmmatrkhxngsaydiexnex eriykwa 5 iphrm aela 3 odythi 5 mihmufxseft aelathiplay 3 mihmuihdrxksil khxaetktangthisakhyprakarhnungrahwangdiexnexkbxarexnex khux natal odythi 2 dixxksiirobsindiexnexcathukaethnthidwyirobssungepnnatalephnothsxikchnidhnung inxarexnexekliywkhudiexnexekidesthiyrphaphiddwyaerngsxngaerng khux phnthaihodrecnrahwangniwkhlioxithdaelaxntrkiriyarahwangebsthisxnkn base stacking interaction inniwkhlioxebsxaormatik 8 insingaewdlxmthiprakxbdwynakhxngesll phnthaphaykhwbkhukhxngebsniwkhlioxithdxyuinaenwtngchakkbaeknkhxngomelkuldiexnex sungldxntrkiriyakbepluxkna aelaphlngnganxisrakibstamladb ebsthngsithiphbindiexnex idaek xadinin twyx A isothsin C kwanin G aelaithmin T ebsthngsinitidkbnatal fxseftephuxekidepnniwkhlioxithdthismburnniwkhlioxebscaaenkidepnsxngpraephth ephiywrin A aela G epnsarprakxbehethxoriskhlikthimiwngaehwnhaehliymaelahkehliymxyanglawng kbiphrimidin C aela T thiepnwngaehwnhaehliym swnniwkhlioxebsiphrimidinxiktwhnung yurasil U mkaethnthiithmininxarexnex aelatangcakithmintrngthikhadhmuemthiliphnunghmuinwngaehwnxangxing aekikh Russell Peter 2001 iGenetics New York Benjamin Cummings ISBN 0 8053 4553 1 2 0 2 1 Watson J D Crick F H C 1953 A Structure for Deoxyribose Nucleic Acid PDF Nature 171 4356 737 738 Bibcode 1953Natur 171 737W doi 10 1038 171737a0 PMID 13054692 Mandelkern M Elias J Eden D Crothers D 1981 The dimensions of DNA in solution J Mol Biol 152 1 153 161 doi 10 1016 0022 2836 81 90099 1 PMID 7338906 Gregory S Barlow KF aelakhna 2006 The DNA sequence and biological annotation of human chromosome 1 Nature 441 7091 315 21 Bibcode 2006Natur 441 315G doi 10 1038 nature04727 PMID 16710414 Berg J Tymoczko J Stryer L 2002 Biochemistry W H Freeman and Company ISBN 0 7167 4955 6 Abbreviations and Symbols for Nucleic Acids Polynucleotides and their Constituents IUPAC IUB Commission on Biochemical Nomenclature CBN Retrieved 3 January 2006 Ghosh A Bansal M 2003 A glossary of DNA structures from A to Z Acta Crystallogr D 59 4 620 6 doi 10 1107 S0907444903003251 PMID 12657780 Yakovchuk P Protozanova E Frank Kamenetskii MD 2006 Base stacking and base pairing contributions into thermal stability of the DNA double helix Nucleic Acids Res 34 2 564 574 doi 10 1093 nar gkj454 PMC 1360284 PMID 16449200 aehlngkhxmulxun aekikh wikikhakhmphasaxngkvs mikhakhmthiklawody hruxekiywkb DNA wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa DNA wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb DNA DNA thiewbist Curlie bthkhwamekiywkbchiwekhmi ekhmixinthriy aelaomelkulchiwphaphniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmulekhathungcak https th wikipedia org w index php title diexnex amp oldid 9384084, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม