fbpx
วิกิพีเดีย

บัมบอชชันตี

บัมบอชชันตี (อิตาลี: Bamboccianti) คือกลุ่มจิตรกรภาพชีวิตประจำวันผู้ทำงานในกรุงโรมราวตั้งแต่ ค.ศ. 1625 ไปจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิตรกรกลุ่มที่ว่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวดัตช์และชาวฟลานเดอส์ที่นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญในการวาดภาพชาวบ้านชาวนามาจากศิลปะการเขียนภาพของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 16 เข้ามายังอิตาลีด้วย และมักจะสร้างงานเขียนขนาดเล็กที่เรียกว่า "จิตรกรรมตู้" หรือ งานกัดกรดของภาพชีวิตประจำวันของชนชั้นแรงงานในกรุงโรมหรือนอกเมืองในชนบทออกไป จิตรกรหลายคนเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า "ศิลปินกลุ่มเบนท์วูเกิลส์" ภาพเขียนของจิตรกรกลุ่มนี้ได้รับการตีความหมายว่าเป็นสัจนิยมของ "ภาพสะท้อนของโรมและชีวิตในกรุงโรมที่แท้จริง" "โดยไม่สร้างความแตกต่างหรือทำการเปลี่ยนแปลง" ของสิ่งที่ศิลปินเห็น หัวข้อที่วาดมักจะเป็นภาพคนขายอาหารหรือเครื่องดื่ม, ชาวนา, หญิงกำลังรีดนม, ทหารยามพักผ่อนหรือหาความสำราญ, ขอทาน หรือที่จิตรกรบาโรกชาวอิตาลีซัลวาตอร์ โรซาบรรยายเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็น "หัวเรื่องของคนตามถนน, คนขี้โกง, คนฉวยกระเป๋า, คนขี้เมาและตระกละ, คนสูบยามอมแมม และหัวข้อ 'โสมม' อื่น ๆ" ตรงกันข้ามกับหัวเรื่องที่วาด งานจิตรกรรมเหล่านี้กลับขายกันได้ในราคาสูงให้แก่นักสะสม

"งานเลี้ยงสนุกในบรรยากาศแบบอิตาลี" โดย คาเรล ดูฌาร์แดงส์

ศิลปิน

คำว่า "บัมบอชชันตี" เดิมมาจาก "ศิลปินกลุ่มเบนท์วูเกิลส์" ที่ใช้เรียกจิตรกรชาวดัตช์เปียเตอร์ ฟาน เลเออร์ว่า "Il Bamboccio" ผู้ที่มักจะมีศิลปินเกาะกลุ่มกันอยู่ขณะที่พำนักอยู่ในอิตาลี (ค.ศ. 1625-ค.ศ. 1639). ชื่อเล่นที่แปลว่า "เด็กอัปลักษณ์" หรือ "หุ่น" เป็นนัยยะถึงรูปร่างหน้าตาและร่างกายของเปียเตอร์ ฟาน เลเออร์ กลุ่มจิตรกรกลุ่มบัมบอชชันตีกลุ่มแรกก็ได้แก่ Andries Both, Jan Both, Karel Dujardin, Jan Miel, Johannes Lingelbach และจิตรกรชาวอิตาลีมีเกลันเจโล แชร์กวอซซี เซบัสเตียง บูร์ดง ก็เป็นสมาชิกของกลุ่มนี้เมื่อเริ่มงานอาชีพ สมาชิกบัมบอชชันตีผู้อื่นก็ได้แก่ Michiel Sweerts, Thomas Wijck, Dirck Helmbreker, Jan Asselyn, Anton Goubou, Willem Reuter และJacob van Staveren งานของจิตรกรกลุ่มบัมบอชชันตีมามีอิทธิพลต่อศิลปินโรโกโกต่อมา เช่น อันโตนีโอ ชีฟรอนดี, ปีเอโตร ลองกี, จูเซปเป มารีอา เกรสปี, จาโกโม เชรูตี และอาเลสซันโดร มัญญัสโก[ต้องการอ้างอิง] และงานเขียนเกี่ยวกับภาพชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในโรมก็ยังดำเนินต่อมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยงานเขียนของบาร์โตโลเมโอ ปีเนลลี และอากิลเล ปีเนลลี, อันเดรอา โลกาเตลลี และปาโอโล โมนัลดี

ลักษณะ

นักบันทึกศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัมบัตติสตา ปัสเซรี บรรยายงานเขียนของเลเออร์ว่าเป็นการ "เปิดหน้าต่าง" ที่แสดงบรรยากาศของโลกรอบตัวเลเออร์ ที่เป็นคำที่เหมาะสมในการบรรยายลักษณะงานโดยทั่วไปของกลุ่มศิลปินบัมบอชชันตี:

era singular nel represetar la veritá schietta, e pura nell'esser suo, che li suoi quadri parevano una finestra aperta pe le quale fussero veduti quelli suoi successi; senza alcun divario, et alterazione.— จัมบัตติสตา ปัสเซรี

ปฏิกิริยา

แม้ว่างานจิตรกรรมของกลุ่มบัมบอชชันตีจะประสบกับความสำเร็จ แต่นักทฤษฎีศิลปะและสถาบันศิลปะในกรุงโรมมักจะไม่นิยมงานเขียนประเภทนี้ เพราะถือกันว่าภาพเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเป็นงานศิลปะระดับต่ำที่สุดในบรรดา "ลำดับคุณค่าของศิลปะ" ความนิยมของภาพเขียนที่ขายได้ดีให้กับผู้อุปถัมภ์ผู้มีการศึกษาและเป็นชนชั้นสูงยิ่งทำให้เป็นข้อขัดเคืองของศิลปินผู้นิยมเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ซึ่งถือกันว่าเป็นศิลปะระดับสูงที่เป็นที่ยอมรับของอักกาเดเมียดีซันลูกาซึ่งเป็นสถาบันศิลปะหลักของอิตาลี ตัวอย่างเช่นเมื่อซัลวาตอร์ โรซาผู้เขียนภาพเสียดสี "Pittura" (ราว ค.ศ. 1650) ตัดพ้ออย่างขมขื่นเกี่ยวกับรสนิยมของผู้อุปถัมภ์ผู้ที่ยอมรับศิลปะเกี่ยวกับชีวิตประจำวันว่า:

Quel che aboriscon vivo, aman dipinto. (ไทย: ชิงชังในชีวิตจริงของเขาแต่ก็รักที่จะซื้อภาพเขียนของชีวิตของเขามานั่งชื่นชม)— ซัลวาตอร์ โรซา

ปฏิกิริยาโดยทั่วไปแล้ว (เช่น ปฏิกิริยาของซัลวาตอร์ โรซา) เป็นปฏิกิริยาที่มิใช้ปฏิกิริยาต่อศิลปินแต่เป็นปฏิกิริยาต่อผู้ที่ซื้อหาภาพ ตัวศิลปินเองมักได้รับการชื่นชมเช่นฟาน เลเออร์ผู้ที่ขายงานเขียนได้ในราคาสูง และแชร์กวอซซีที่มีโอกาสได้สังสรรค์กับผู้ดีมีตระกูล และเป็นเพื่อนกับศิลปินเช่นปีเอโตร ดา กอร์โตนา นอกจากนั้นแล้วเพราะความที่ศิลปินส่วนใหญ่ในกลุ่มเป็นชาวต่างประเทศที่เขียนงานแบบนอกสถาบัน และมักจะเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า "ศิลปินกลุ่มเบนท์วูเกิลส์" ที่เป็นกลุ่มเชิงกลุ่มศิลปินอาชีพแต่มีชื่อเสียงไปในทางเฮฮาสนุกสนานเสียมากกว่า

อ้างอิง

  1. Levine, p. 570.
  2. Haskell, pp. 132–134. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "haskell" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Levine, pp. 569–570. The quotation is from Levine (p. 570).
  4. Briganti, p. 2.
  5. Haskell, p. 135.
  6. Brigstocke
  7. Slive, pp. 236–237; Briganti, ix.
  8. Briganti, 36.
  9. Briganti, pp. 6–12.
  10. Haskell, p. 132.
  11. Roworth, 611–617.
  12. Haskell, p. 134
  13. Haskell, p. 142.
  14. Haskell, pp. 135–136.
  15. Haskell, p. 20.

บรรณานุกรม

  • Briganti, Giuliano (1983). The bamboccianti the painters of everyday life in seventeenth century Rome. U. Bozzi.
  • Brigstocke, Hugh. "Bourdon, Sébastien," Grove Art Online. Oxford University Press, [October 30, 2007].
  • Haskell, Francis (1993). "Chapter 8". Patrons and Painters: Art and Society in Baroque Italy. Yale University Press. ISBN 0300025378.
  • Levine, David A. (December 1988), "The Roman Limekilns of the Bamboccianti", The Art Bulletin, 70: 569–589, doi:10.2307/3051103CS1 maint: date and year (link)
  • Roworth, Wendy W. (December 1981), "A Date for Salvator Rosa's Satire on Painting and the Bamboccianti in Rome", The Art Bulletin, 63: 611–617, doi:10.2307/3050166CS1 maint: date and year (link)
  • Slive, Seymour (1995). "Italianate and Classical Painting". Pelican History of Art, Dutch Painting 1600-1800. Penguin Books Ltd. pp. 225–245.
  • Wittkower, Rudolf (1993). "Chapter 4". Pelican History of Art, Art and Architecture Italy, 1600-1750. 1980. Penguin Books Ltd. p. 323.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บัมบอชชันตี

มบอชช, นต, บทความน, ใช, ระบบคร, สต, กราช, เพราะอ, างอ, งคร, สต, กราชและคร, สต, ศตวรรษ, หร, ออย, างใดอย, างหน, ตาล, bamboccianti, อกล, มจ, ตรกรภาพช, ตประจำว, นผ, ทำงานในกร, งโรมราวต, งแต, 1625, ไปจนถ, งปลายคร, สต, ศตวรรษท, ตรกรกล, มท, าน, วนใหญ, เป, นชาวด, ตช, . bthkhwamniichrabbkhristskrach ephraaxangxingkhristskrachaelakhriststwrrs hruxxyangidxyanghnung bmbxchchnti xitali Bamboccianti khuxklumcitrkrphaphchiwitpracawnphuthanganinkrungormrawtngaet kh s 1625 ipcnthungplaykhriststwrrsthi 17 citrkrklumthiwaniswnihyepnchawdtchaelachawflanedxsthinaexakhwamrukhwamechiywchayinkarwadphaphchawbanchawnamacaksilpakarekhiynphaphkhxngenethxraelndkhxngkhriststwrrsthi 16 ekhamayngxitalidwy 1 aelamkcasrangnganekhiynkhnadelkthieriykwa citrkrrmtu hrux ngankdkrdkhxngphaphchiwitpracawnkhxngchnchnaerngnganinkrungormhruxnxkemuxnginchnbthxxkip 2 citrkrhlaykhnepnsmachikkhxngklumthieriyktnexngwa silpinklumebnthwuekils phaphekhiynkhxngcitrkrklumniidrbkartikhwamhmaywaepnscniymkhxng phaphsathxnkhxngormaelachiwitinkrungormthiaethcring 3 odyimsrangkhwamaetktanghruxthakarepliynaeplng khxngsingthisilpinehn 4 hwkhxthiwadmkcaepnphaphkhnkhayxaharhruxekhruxngdum chawna hyingkalngridnm thharyamphkphxnhruxhakhwamsaray khxthan 2 hruxthicitrkrbaorkchawxitalislwatxr orsabrryayemuxklangkhriststwrrsthi 17 waepn hweruxngkhxngkhntamthnn khnkhiokng khnchwykraepa khnkhiemaaelatrakla khnsubyamxmaemm aelahwkhx osmm xun 3 trngknkhamkbhweruxngthiwad ngancitrkrrmehlaniklbkhayknidinrakhasungihaeknksasm 5 nganeliyngsnukinbrryakasaebbxitali ody khaerl ducharaedngs enuxha 1 silpin 2 lksna 3 ptikiriya 4 xangxing 5 brrnanukrm 6 duephim 7 aehlngkhxmulxunsilpin aekikhkhawa bmbxchchnti edimmacak silpinklumebnthwuekils thiicheriykcitrkrchawdtchepiyetxr fan elexxrwa Il Bamboccio phuthimkcamisilpinekaaklumknxyukhnathiphankxyuinxitali kh s 1625 kh s 1639 3 chuxelnthiaeplwa edkxplksn hrux hun epnnyyathungrupranghnataaelarangkaykhxngepiyetxr fan elexxr 3 klumcitrkrklumbmbxchchntiklumaerkkidaek Andries Both Jan Both Karel Dujardin Jan Miel Johannes Lingelbach aelacitrkrchawxitalimieklnecol aechrkwxssi esbsetiyng burdng kepnsmachikkhxngklumniemuxerimnganxachiph 6 smachikbmbxchchntiphuxunkidaek Michiel Sweerts Thomas Wijck Dirck Helmbreker Jan Asselyn Anton Goubou Willem Reuter aelaJacob van Staveren 7 ngankhxngcitrkrklumbmbxchchntimamixiththiphltxsilpinorokoktxma echn xnotniox chifrxndi piexotr lxngki cuespep marixa ekrspi caokom echruti aelaxaelssnodr myysok txngkarxangxing aelanganekhiynekiywkbphaphchiwitpracawnthiekidkhuninormkyngdaenintxmacnkrathngkhriststwrrsthi 19 odynganekhiynkhxngbarotolemox pienlli aelaxakilel pienlli xnedrxa olkaetlli aelapaoxol omnldi 8 lksna aekikhnkbnthuksilpakhxngkhriststwrrsthi 17 cmbttista psesri brryaynganekhiynkhxngelexxrwaepnkar epidhnatang thiaesdngbrryakaskhxngolkrxbtwelexxr thiepnkhathiehmaasminkarbrryaylksnanganodythwipkhxngklumsilpinbmbxchchnti era singular nel represetar la verita schietta e pura nell esser suo che li suoi quadri parevano una finestra aperta pe le quale fussero veduti quelli suoi successi senza alcun divario et alterazione cmbttista psesri 9 10 ptikiriya aekikhaemwangancitrkrrmkhxngklumbmbxchchnticaprasbkbkhwamsaerc aetnkthvsdisilpaaelasthabnsilpainkrungormmkcaimniymnganekhiynpraephthni ephraathuxknwaphaphekhiynekiywkbchiwitpracawnepnngansilparadbtathisudinbrrda ladbkhunkhakhxngsilpa 2 khwamniymkhxngphaphekhiynthikhayiddiihkbphuxupthmphphumikarsuksaaelaepnchnchnsungyingthaihepnkhxkhdekhuxngkhxngsilpinphuniymekhiyncitrkrrmprawtisastrsungthuxknwaepnsilparadbsungthiepnthiyxmrbkhxngxkkaedemiydisnlukasungepnsthabnsilpahlkkhxngxitali 2 11 twxyangechnemuxslwatxr orsaphuekhiynphaphesiydsi Pittura raw kh s 1650 tdphxxyangkhmkhunekiywkbrsniymkhxngphuxupthmphphuthiyxmrbsilpaekiywkbchiwitpracawnwa Quel che aboriscon vivo aman dipinto ithy chingchnginchiwitcringkhxngekhaaetkrkthicasuxphaphekhiynkhxngchiwitkhxngekhamanngchunchm slwatxr orsa 11 12 ptikiriyaodythwipaelw echn ptikiriyakhxngslwatxr orsa epnptikiriyathimiichptikiriyatxsilpinaetepnptikiriyatxphuthisuxhaphaph 13 twsilpinexngmkidrbkarchunchmechnfan elexxrphuthikhaynganekhiynidinrakhasung aelaaechrkwxssithimioxkasidsngsrrkhkbphudimitrakul aelaepnephuxnkbsilpinechnpiexotr da kxrotna 14 nxkcaknnaelwephraakhwamthisilpinswnihyinklumepnchawtangpraethsthiekhiynnganaebbnxksthabn aelamkcaepnsmachikkhxngklumthieriyktnexngwa silpinklumebnthwuekils thiepnklumechingklumsilpinxachiphaetmichuxesiyngipinthangehhasnuksnanesiymakkwa 15 xangxing aekikh Levine p 570 2 0 2 1 2 2 2 3 Haskell pp 132 134 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imsmehtusmphl miniyamchux haskell hlaykhrngdwyenuxhatangkn 3 0 3 1 3 2 3 3 Levine pp 569 570 The quotation is from Levine p 570 Briganti p 2 Haskell p 135 Brigstocke Slive pp 236 237 Briganti ix Briganti 36 Briganti pp 6 12 Haskell p 132 11 0 11 1 Roworth 611 617 Haskell p 134 Haskell p 142 Haskell pp 135 136 Haskell p 20 brrnanukrm aekikhBriganti Giuliano 1983 The bamboccianti the painters of everyday life in seventeenth century Rome U Bozzi Brigstocke Hugh Bourdon Sebastien Grove Art Online Oxford University Press October 30 2007 Haskell Francis 1993 Chapter 8 Patrons and Painters Art and Society in Baroque Italy Yale University Press ISBN 0300025378 Levine David A December 1988 The Roman Limekilns of the Bamboccianti The Art Bulletin 70 569 589 doi 10 2307 3051103 CS1 maint date and year link Roworth Wendy W December 1981 A Date for Salvator Rosa s Satire on Painting and the Bamboccianti in Rome The Art Bulletin 63 611 617 doi 10 2307 3050166 CS1 maint date and year link Slive Seymour 1995 Italianate and Classical Painting Pelican History of Art Dutch Painting 1600 1800 Penguin Books Ltd pp 225 245 Wittkower Rudolf 1993 Chapter 4 Pelican History of Art Art and Architecture Italy 1600 1750 1980 Penguin Books Ltd p 323 duephim aekikhsilpatawntk citrkrrmyukhthxngkhxngenethxraelndaehlngkhxmulxun aekikh wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb bmbxchchntiekhathungcak https th wikipedia org w index php title bmbxchchnti amp oldid 6517330, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม