fbpx
วิกิพีเดีย

ภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: geography, กรีก: γεωγραφία แปลว่า "การพรรณนาเกี่ยวกับโลก") เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาเกี่ยวกับพื้นดิน ภูมิประเทศ ประชากร และปรากฏการณ์บนโลก บุคคลแรกที่ใช้คำว่า γεωγραφία คือเอราทอสเทนีส (276–194 ปีก่อน ค.ศ.) ภูมิศาสตร์ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและความซับซ้อนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ่งไม่เฉพาะแต่ในรูปธรรมแต่ยังรวมถึงความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

แผนที่กายภาพของโลกพร้อมกับเส้นแบ่งเขตการปกครองใน ค.ศ. 2016

โดยทั่วไปภูมิศาสตร์มักถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาหลักคือภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นที่และสถานที่ ขณะที่ภูมิศาสตร์กายภาพเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันประกอบด้วย บรรยากาศภาค อุทกภาค ชีวภาค และธรณีภาค

สี่ขนบธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในการวิจัยทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและมนุษย์ การศึกษาพื้นที่ของสถานที่และภูมิภาค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินกับมนุษย์ และวิทยาศาสตร์โลก ภูมิศาสตร์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "สาขาวิชาแห่งโลก" และ "ตัวเชื่อมระหว่างมนุษย์และวิทยาศาสตร์กายภาพ"

บทนำ

นักภูมิศาสตร์ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักทำแผนที่และผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับลำดับและชื่อของสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับภูมินามวิทยาและการทำแผนที่แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของนักภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่และการกระจายของฐานข้อมูลเชิงเวลาจากปรากฏการณ์ กระบวนการ คุณลักษณะ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพื้นที่และสถานที่ส่งผลต่อความหลากหลายของสิ่งต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สุขภาพ ภูมิอากาศ พืช และสัตว์ ทำให้ภูมิศาสตร์มีความเป็นสหวิทยาการสูง ลักษณะการเป็นสหวิทยาการของวิธีการทางภูมิศาสตร์ขึ้นอยู่กับความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์รวมถึงแบบรูปเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้น

ภูมิศาสตร์สามารถแบ่งสาขาออกกว้างๆ ได้ออกเป็นสองสาขา คือ ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างว่ามนุษย์สามารถรังสรรค์ จัดการ มีมุมมองและอิทธิพลต่อพื้นที่นั้นอย่างไร ในภายหลังได้มีการมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติว่าสิ่งมีชีวิต ภูมิอากาศ ดิน น้ำ และธรณีสัณฐานมีผลและปฏิสัมพันธ์อย่างไร ความแตกต่างระหว่างวิธีการศึกษาเหล่านี้นำไปสู่​​การเกิดสาขาที่สามซึ่งผสานกันระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์คือ ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์

แขนงวิชา

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์กายภาพ

ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นสาขาที่มุ่งเน้นการศึกษาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์โลก เพื่อเข้าใจลักษณะและปัญหาของธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศ และชีวภาค

ภูมิศาสตร์มนุษย์

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์มนุษย์

ภูมิศาสตร์มนุษย์เป็นสาขาที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาการศึกษาแบบรูปและกระบวนการอันเกิดจากสังคมมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมทั้งมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ

แนวทางต่าง ๆ ในการศึกษาภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เกิดขึ้นใหม่และรวมถึง:

  • ภูมิศาสตร์พฤติกรรม
  • ภูมิศาสตร์สตรีนิยม
  • ทฤษฎีทางวัฒนธรรม
  • ภูมิปรัชญา

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่อธิบายถึงลักษณะเชิงพื้นที่ของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติของโลก การศึกษาภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงลักษณะดั้งเดิมของภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ตลอดจนวิธีการที่สังคมมนุษย์กำหนดกรอบความคิดให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นตัวเชื่อมระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์อันเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญของทั้งสองสาขาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จึงจำเป็นที่ต้องมีวิธีแบบใหม่ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงและพลวัต ตัวอย่างของการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการภาวะฉุกเฉิน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน นิเวศวิทยาการเมือง

ภูมิสารสนเทศ

ดูบทความหลักที่: ภูมิสารสนเทศ

ภูมิสารสนเทศเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคเชิงพื้นที่แบบดั้งเดิมในการทำแผนที่และศึกษาภูมิประเทศร่วมกับการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 เทคนิคต่างๆ ของภูมิสารสนเทศเป็นที่แพร่หลายในสาขาวิชาอื่นมากมาย เช่น จีไอเอส และการรับรู้จากระยะไกล นอกจากนี้ภูมิสารสนเทศยังส่งผลต่อ​​การฟื้นฟูหน่วยงานทางภูมิศาสตร์บางส่วนซึ่งถูกลดสถานะลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ

ภูมิสารสนเทศมีความครอบคลุมกับสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่อย่างมาก เช่น การทำแผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การรับรู้จากระยะไกล และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

ภูมิศาสตร์ภูมิภาคเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงท​​ุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไรทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมและมนุษย์ที่อยู่อาศัยในภูมิภาคนั้นด้วย ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังมีผลต่อภูมิภาคาภิวัตน์ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้วิธีที่เหมาะสมในการแบ่งพื้นที่ออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย

ภูมิศาสตร์ภูมิภาคถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการหนึ่งสำหรับการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ (คล้ายคลึงกับการปฏิวัติเชิงปริมาณ หรือภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์)

สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • การผังเมือง การวางแผนภาค และการวางแผนเชิงพื้นที่ เป็นการใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ช่วยในการกำหนดแนวทางในการพัฒนา (หรือไม่พัฒนา) ที่ดินให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ความปลอดภัย ความสวยงาม โอกาสทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทางธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น การวางแผนพื้นที่ของเมือง นคร และชนบทโดยส่วนมากจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 วอลเตอร์ ไอสาร์ดได้นำเสนอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อเป็นพื้นฐานหาคำตอบทางภูมิศาสตร์โดยเน้นเชิงปริมาณมากขึ้น ตรงข้ามกับการใช้แนวโน้มเชิงพรรณนาที่อยู่ในแบบแผนดั้งเดิม วิทยาศาสตร์ภูมิภาคประกอบด้วยองค์ความรู้ซึ่งในมิติเชิงพื้นที่ใช้เป็นบทบาทพื้นฐาน เช่น การจัดการทรัพยากร ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง การวางแผนภาคและเมือง การขนส่งและการสื่อสาร ภูมิศาสตร์มนุษย์ การกระจายของประชากร นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเชิงคุณภาพ
  • วิทยาดาวเคราะห์ โดยทั่วไปภูมิศาสตร์จะมีความเกี่ยวข้องเฉพาะกับโลก อย่างไรก็ตามภูมิศาสตร์ก็สามารถนำมาใช้ในการศึกษาถึงโลกอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและนอกเหนือไปจากระบบสุริยะ วิทยาดาวเคราะห์เป็นการศึกษาระบบที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยา ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น อังคารวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับดาวอังคาร) ได้รับการเสนอแต่ยังไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
  • วิทยาศาสตร์ดาวเทียม โดยศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในการเป็นเครื่องมือศึกษาทางภูมิศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์โลก หรือ โลกศาสตร์ นำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาโลกในด้านที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิศาสตร์
  • วิศวกรรมสำรวจ ใช้หลักทางวิศวกรรมมาใช้ในการช่วยศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยครอบคลุมรวมไปถึง วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมธรณี วิศวกรรมชลศาสตร์ วิศวกรรมทรัพยากรธรณี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า และ วิชาการทำแผนที่

เทคนิค

แผนที่เป็นเครื่องมือหลักสำคัญขององค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งการทำแผนที่แบบดั้งเดิมได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์และการใช้คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในปัจจุบัน

ในการศึกษานักภูมิศาสตร์จะคำนึงถึงสี่ปัจจัย ประกอบด้วย

  • เป็นระบบ (Systematic) — องค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละประเภทสามารถใช้ได้สำหรับทุกพื้นที่
  • ภูมิภาค (Regional) — การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบสำหรับภูมิภาคที่เจาะจงหรือที่ตั้งบนโลกในแต่ละประเภท
  • พรรณนา (Descriptive) — ระบุคุณสมบัติและลักษณะของประชากรในแหล่งที่ตั้ง
  • วิเคราะห์ (Analytical) — ว่า ทำไม (why) เราจึงพบคุณสมบัติและลักษณะของประชากรในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เจาะจงนั้น

การทำแผนที่

 
แผนที่นิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1770 โดยเจมส์ คุก
ดูบทความหลักที่: การทำแผนที่

การทำแผนที่เป็นการศึกษาถึงการแสดงลักษณะพื้นผิวโลกด้วยสัญลักษณ์แบบนามธรรมซึ่งมีการเติบโตมาช้านานอันเป็นผลจากเทคนิคการเขียนถึงสภาพความเป็นจริงที่พัฒนามากขึ้น และแม้ว่าภูมิศาสตร์สาขาต่าง ๆ จะใช้แผนที่เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ แต่ความจริงแล้วองค์ความรู้ของการทำแผนที่นั้นมีมากพอที่จะแยกออกมาเป็นสาขาต่างหาก

นักทำแผนที่ต้องเรียนรู้ถึงจิตวิทยาการรู้คิดและการยศาสตร์เพื่อเข้าใจถึงการสื่อข้อมูลสัญลักษณ์เกี่ยวกับโลกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมทางจิตวิทยาเพื่อให้ผู้อ่านแผนที่เข้าใจข้อมูลได้ ตลอดจนภูมิมาตรศาสตร์และคณิตศาสตร์ขั้นสูงเพื่อเข้าใจว่ารูปร่างของโลกส่งผลต่อการผิดเพี้ยนของตำแหน่งสัญลักษณ์บนแผนที่ซึ่งฉายไปยังวัสดุพื้นผิวราบเรียบได้อย่างไร จึงกล่าวได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งว่าการทำแผนที่กำเนิดจากการที่สาขาวิชาทางภูมิศาสตร์มีการเติบโตที่ใหญ่ขึ้น นักภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่จะยกตัวอย่างว่าแผนที่เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจทางภูมิศาสตร์ในวัยเด็กของพวกเขา

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ดูบทความหลักที่: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือจีไอเอส (GIS) เป็นการจัดการถึงการจัดเก็บและการเรียกคืนข้อมูลเกี่ยวกับโลกด้วยคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติซึ่งมีความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีไอเอสต้องเข้าใจถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลนอกเหนือไปจากสาขาอื่น ๆ ทางภูมิศาสตร์ด้วย จีไอเอสเป็นการปฏิวัติสาขาวิชาการทำแผนที่โดยนำซอฟต์แวร์จีไอเอสมาช่วยในการทำแผนที่เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน จีไอเอสยังหมายถึงการใช้ซอฟต์แวร์และเทคนิคทางจีไอเอสเพื่อทดแทน วิเคราะห์ และคาดการณ์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ในบริบทนี้จีไอเอสเป็นตัวแทนสำหรับภูมิสารสนเทศศาสตร์

การรับรู้จากระยะไกล

ดูบทความหลักที่: การรับรู้จากระยะไกล

การรับรู้จากระยะไกลเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการรับข้อมูลของลักษณะพื้นผิวโลกจากระยะไกล ข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลมีการได้มาหลายรูปแบบ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องรับรู้แบบพกพา (hand-held sensors) นักภูมิศาสตร์จำนวนมากใช้การรับรู้จากระยะไกลเพื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิประเทศ ทะเล และบรรยากาศของโลก เนื่องจากการรับรู้จากระยะไกลสามารถ

  • ค้นหาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ซึ่งมีความหลากหลายของพื้นที่หลายระดับ (ตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงทั่วโลก)
  • ทำให้สรุปจากมุมมองของพื้นที่ที่สนใจได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้
  • แสดงข้อมูลเชิงคลื่นนอกเหนือจากส่วนที่มองเห็นได้จากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
  • อำนวยความสะดวกในการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือพื้นที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร

ข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลอาจถูกใช้ร่วมในการวิเคราะห์ร่วมกับชั้นข้อมูลเชิงดิจิทัลอื่น ๆ (เช่นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)

วิธีเชิงปริมาณ

ดูบทความหลักที่: ธรณีสถิติ

ธรณีสถิติจัดการกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยเฉพาะการประยุกต์กับระเบียบวิธีทางสถิติเพื่อสำรวจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางภูมิศาสตร์ ธรณีสถิติถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขา ตลอดจนอุทกวิทยา ธรณีวิทยา การสำรวจปิโตรเลียม การวิเคราะห์ลมฟ้าอากาศ การผังเมือง โลจิสติกส์ และวิทยาการระบาด พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับธรณีสถิติได้มาจากการวิเคราะห์การกระจุก การวิเคราะห์การจำแนกเชิงเส้น สถิติไร้พารามิเตอร์ และความหลากหลายของสาขาวิชาอื่น ๆ การประยุกต์ของธรณีสถิติถูกใช้อย่างมากบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประมาณค่าในช่วง นักภูมิศาสตร์เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในกระบวนการของเทคนิคเชิงปริมาณ

วิธีเชิงคุณภาพ

ดูบทความหลักที่: ชาติพันธุ์วรรณนา

วิธีเชิงคุณภาพทางภูมิศาสตร์หรือเทคนิคการวิจัยทางชาติพันธุ์วิทยาถูกใช้โดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์ ในภูมิศาสตร์วัฒนธรรมมีแบบแผนของการใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพและยังใช้ในสาขามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกถูกใช้โดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์นำมาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Harper, Douglas. "Online Etymology Dictionary". Etymonline.com. Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  2. "Geography". The American Heritage Dictionary/ of the English Language, Fourth Edition. Houghton Mifflin Company. สืบค้นเมื่อ 9 October 2006.
  3. Eratosthenes (2010-01-24). Eratosthenes' Geography. Translated by Roller, Duane W. Princeton University Press (ตีพิมพ์ 24 January 2010). ISBN 9780691142678.
  4. Pidwirny, Dr. Michael; Jones, Scott. "CHAPTER 1: Introduction to Physical Geography". Physicalgeography.net. University of British Columbia Okanagan. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  5. Bonnett, Alastair (2008-01-16). What is Geography?. SAGE Publications (ตีพิมพ์ 16 January 2008). ISBN 9781849206495. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  6. Johnston, Ron (2000). "Human Geography". ใน Johnston, Ron; Gregory, Derek; Pratt, Geraldine; และคณะ (บ.ก.). The Dictionary of Human Geography. Oxford: Blackwell. pp. 353–360.
  7. Pattison, William D. (Summer 1990). "The Four Traditions of Geography" (PDF). Journal of Geography. National Council for Geographic Education (ตีพิมพ์ 1964). September/October 1990 (5): 202–206. doi:10.1080/00221349008979196. ISSN 0022-1341. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  8. Hayes-Bohanan, James. "What is Environmental Geography, Anyway? October 9, 2006"
  9. An introduction to Settlement Geography. Cambridge university press. 1990.
  10. . AAG Career Guide: Jobs in Geography and related Geographical Sciences. Association of American Geographers. Archived from the original on October 6, 2006. Retrieved July 19, 2016.

ศาสตร, งกฤษ, geography, กร, γεωγραφία, แปลว, การพรรณนาเก, ยวก, บโลก, เป, นสาขาทางว, ทยาศาสตร, งเน, นถ, งการศ, กษาเก, ยวก, บพ, นด, ประเทศ, ประชากร, และปรากฏการณ, บนโลก, คคลแรกท, ใช, คำว, γεωγραφία, อเอราทอสเทน, อน, ครอบคล, มสาขาต, าง, งเน, นความเข, าใจเก, ยวก, . phumisastr xngkvs geography krik gewgrafia aeplwa karphrrnnaekiywkbolk 1 epnsakhathangwithyasastrthimungennthungkarsuksaekiywkbphundin phumipraeths prachakr aelapraktkarnbnolk 2 bukhkhlaerkthiichkhawa gewgrafia khuxexrathxsethnis 276 194 pikxn kh s 3 phumisastrkhrxbkhlumsakhatang thimungennkhwamekhaicekiywkbolkaelakhwamsbsxnrahwangmnusyaelathrrmchatithiekidkhunsungimechphaaaetinrupthrrmaetyngrwmthungkhwamepnmaaelakarepliynaeplngthiekidkhunaephnthikayphaphkhxngolkphrxmkbesnaebngekhtkarpkkhrxngin kh s 2016 odythwipphumisastrmkthukaebngxxkepnsxngsakhahlkkhuxphumisastrmnusyaelaphumisastrkayphaph 4 5 phumisastrmnusyekiywkhxngkbkarsuksathungphukhn chumchn wthnthrrm esrsthkic aelaptismphnthkbsingaewdlxm dwykarsuksakhwamsmphnthkhxngsingtang bnphunthiaelasthanthi 6 khnathiphumisastrkayphaphekiywkhxngkbkarsuksathungkrabwnkaraelaaebbrupinsingaewdlxmthangthrrmchatixnprakxbdwy brryakasphakh xuthkphakh chiwphakh aelathrniphakhsikhnbthrrmeniymthangprawtisastrinkarwicythangphumisastrprakxbdwy karwiekhraahechingphunthikhxngpraktkarnthrrmchatiaelamnusy karsuksaphunthikhxngsthanthiaelaphumiphakh karsuksakhwamsmphnthrahwangphundinkbmnusy aelawithyasastrolk 7 phumisastridrbkarklawkhanwaepn sakhawichaaehngolk aela twechuxmrahwangmnusyaelawithyasastrkayphaph enuxha 1 bthna 2 aekhnngwicha 2 1 phumisastrkayphaph 2 2 phumisastrmnusy 2 3 phumisastrsingaewdlxm 2 4 phumisarsneths 2 5 phumisastrphumiphakh 2 6 sakhaxun thiekiywkhxng 3 ethkhnikh 3 1 karthaaephnthi 3 2 rabbsarsnethsphumisastr 3 3 karrbrucakrayaikl 3 4 withiechingpriman 3 5 withiechingkhunphaph 4 duephim 5 xangxingbthna aekikhnkphumisastridrbkarcdihxyuinklumediywkbnkthaaephnthiaelaphuthithakarsuksaekiywkbladbaelachuxkhxngsthanthitang aemwankphumisastrcaidrbkarfukfnekiywkbphuminamwithyaaelakarthaaephnthiaetkimthuxwaepnhnathihlkkhxngnkphumisastr nkphumisastrepnphusuksaekiywkbphunthiaelakarkracaykhxngthankhxmulechingewlacakpraktkarn krabwnkar khunlksna tlxdcnptismphnthrahwangmnusykbsingaewdlxm 8 enuxngcakphunthiaelasthanthisngphltxkhwamhlakhlaykhxngsingtang echn esrsthsastr sukhphaph phumixakas phuch aelastw thaihphumisastrmikhwamepnshwithyakarsung lksnakarepnshwithyakarkhxngwithikarthangphumisastrkhunxyukbkhwamsnicekiywkbkhwamsmphnthrahwangpraktkarnthangkayphaphaelamnusyrwmthungaebbrupechingphunthithiekidkhun 9 phumisastrsamarthaebngsakhaxxkkwang idxxkepnsxngsakha khux phumisastrmnusyaelaphumisastrkayphaph sunginxditswnihycamungennthungsingaewdlxmsrrkhsrangwamnusysamarthrngsrrkh cdkar mimummxngaelaxiththiphltxphunthinnxyangir inphayhlngidmikarmungennthungsingaewdlxmthangthrrmchatiwasingmichiwit phumixakas din na aelathrnisnthanmiphlaelaptismphnthxyangir 10 khwamaetktangrahwangwithikarsuksaehlaninaipsu karekidsakhathisamsungphsanknrahwangphumisastrkayphaphaelaphumisastrmnusykhux phumisastrsingaewdlxm sungepnkarsuksaptismphnthrahwangsingaewdlxmaelamnusy 8 aekhnngwicha aekikhphumisastrkayphaph aekikh dubthkhwamhlkthi phumisastrkayphaph phumisastrkayphaphepnsakhathimungennkarsuksathungsphaphthangphumisastrthiekiywkhxngkbwithyasastrolk ephuxekhaiclksnaaelapyhakhxngthrniphakh xuthkphakh brryakas aelachiwphakh phumisastrkayphaphsamarthaebngpraephthxxkidxik echn chiwphumisastr phumixakaswithya brryakassastraelaxutuniymwithya phumisastrchayfng karcdkarsingaewdlxmaelakarcdkarphyphibti phumimatrsastr thrniwithya brrphchiwinwithyaaelathrnisnthanwithya withyatharnaaekhng xuthkwithya chltharwithyaaelaxuthksastr niewswithyaphumithsn smuthrsastr pthphiwithya phumisastrbrrphkal withyasastrkhwxethxrnariphumisastrmnusy aekikh dubthkhwamhlkthi phumisastrmnusy phumisastrmnusyepnsakhathimungennthungkarsuksakarsuksaaebbrupaelakrabwnkarxnekidcaksngkhmmnusy sungkhrxbkhlumthngmnusy karemuxng wthnthrrm sngkhm aelaesrsthkic phumisastrmnusysamarthaebngpraephthxxkidxik echn phumisastrwthnthrrm phumisastrkarphthna phumisastresrsthkic phumisastrsukhphaph phumisastrechingprawtiaelaphumisastrechingewla phumisastrkaremuxngaelaphumirthsastr phumisastrprachakrhruxprachakrsastr phumisastrsasna phumisastrsngkhm phumisastrkarkhnsng phumisastrkarthxngethiyw phumisastremuxngaenwthangtang inkarsuksaphumisastrmnusythiekidkhunihmaelarwmthung phumisastrphvtikrrm phumisastrstriniym thvsdithangwthnthrrm phumiprchyaphumisastrsingaewdlxm aekikh dubthkhwamhlkthi phumisastrsingaewdlxm phumisastrsingaewdlxmepnsakhahnungkhxngphumisastrthixthibaythunglksnaechingphunthikhxngkarmiptismphnthrahwangmnusyaelathrrmchatikhxngolk karsuksaphumisastrsingaewdlxmcaepnthicatxngekhaicthunglksnadngedimkhxngphumisastrkayphaphaelaphumisastrmnusytlxdcnwithikarthisngkhmmnusykahndkrxbkhwamkhidihkbsingaewdlxmdwyphumisastrsingaewdlxmidklayepntwechuxmrahwangphumisastrkayphaphaelaphumisastrmnusyxnenuxngmacakkhwamechiywchaykhxngthngsxngsakhathiephimkhun rwmthungkhwamsmphnthkhxngmnusykbkarepliynaeplngsphaphaewdlxmsungmiphlmacakkraaesolkaphiwtnaelakarepliynaeplngthangethkhonolyi cungcaepnthitxngmiwithiaebbihminkarekhaickhwamsmphnthkhxngkarepliynaeplngaelaphlwt twxyangkhxngkarsuksaekiywkbphumisastrsingaewdlxm idaek karcdkarphawachukechin karcdkarthrphyakrsingaewdlxm khwamyngyun niewswithyakaremuxng phumisarsneths aekikh dubthkhwamhlkthi phumisarsneths aebbcalxngradbsungechingelkh DEM phumisarsnethsepnsakhahnungkhxngphumisastrthiekidkhuncakkarichethkhnikhechingphunthiaebbdngediminkarthaaephnthiaelasuksaphumipraethsrwmkbkarnakhxmphiwetxrmaprayuktinchwngklangkhristthswrrs 1950 ethkhnikhtang khxngphumisarsnethsepnthiaephrhlayinsakhawichaxunmakmay echn ciixexs aelakarrbrucakrayaikl nxkcakniphumisarsnethsyngsngphltx karfunfuhnwynganthangphumisastrbangswnsungthukldsthanalnginchwngkhristthswrrs 1950 odyechphaainxemrikaehnuxphumisarsnethsmikhwamkhrxbkhlumkbsakhathiekiywkhxngkbkarwiekhraahechingphunthixyangmak echn karthaaephnthi rabbsarsnethsphumisastr GIS karrbrucakrayaikl aelarabbkahndtaaehnngbnolk GPS phumisastrphumiphakh aekikh dubthkhwamhlkthi phumisastrphumiphakh phumisastrphumiphakhepnsakhahnungkhxngphumisastrthisuksathungth ukphumiphakhkhxngolksungaetlaphumiphakhmikhwamaetktangechphaatw hlksakhykhxngphumisastrphumiphakhkhuxephuxekhaicthungexklksnaelalksnaechphaatwkhxngphumiphakhnn waepnxyangirthngineruxngkhxngsphaphaewdlxmaelamnusythixyuxasyinphumiphakhnndwy phumisastrphumiphakhyngmiphltxphumiphakhaphiwtnsungkhrxbkhlumthungkarichwithithiehmaasminkaraebngphunthixxkepnphumiphakhtang dwyphumisastrphumiphakhthuxwaepnhnunginwithikarhnungsahrbkarsuksaxngkhkhwamrutang thangphumisastr khlaykhlungkbkarptiwtiechingpriman hruxphumisastrechingwiphaks sakhaxun thiekiywkhxng aekikh karphngemuxng karwangaephnphakh aelakarwangaephnechingphunthi epnkarichxngkhkhwamruthangphumisastrchwyinkarkahndaenwthanginkarphthna hruximphthna thidinihepniptameknththikahnd echn khwamplxdphy khwamswyngam oxkasthangesrsthkic karxnurksmrdkthangwthnthrrmthangthrrmchatihruxmnusysrangkhun epntn karwangaephnphunthikhxngemuxng nkhr aelachnbthodyswnmakcaprayuktichxngkhkhwamruthangphumisastr withyasastrphumiphakh inchwngkhristthswrrs 1950 wxletxr ixsardidnaesnxekiywkbwithyasastrphumiphakhephuxepnphunthanhakhatxbthangphumisastrodyennechingprimanmakkhun trngkhamkbkarichaenwonmechingphrrnnathixyuinaebbaephndngedim withyasastrphumiphakhprakxbdwyxngkhkhwamrusunginmitiechingphunthiichepnbthbathphunthan echn karcdkarthrphyakr thvsdithaelthitng karwangaephnphakhaelaemuxng karkhnsngaelakarsuxsar phumisastrmnusy karkracaykhxngprachakr niewswithyaphumithsn aelasingaewdlxmechingkhunphaph withyadawekhraah odythwipphumisastrcamikhwamekiywkhxngechphaakbolk xyangirktamphumisastrksamarthnamaichinkarsuksathungolkxun idechnkn echn dawekhraahinrabbsuriyaaelanxkehnuxipcakrabbsuriya withyadawekhraahepnkarsuksarabbthimikhnadihykwaolksungodythwipcaepnsakhahnungkhxngdarasastrhruxckrwalwithya twxyangxun echn xngkharwithya karsuksaekiywkbdawxngkhar idrbkaresnxaetyngimidichknxyangaephrhlay withyasastrdawethiym odysuksaekiywkbkarichpraoychncakdawethiyminkarepnekhruxngmuxsuksathangphumisastr withyasastrolk hrux olksastr nawithyasastrmaichinkarsuksaolkindanthiepnpraoychntxphumisastr wiswkrrmsarwc ichhlkthangwiswkrrmmaichinkarchwysuksathangphumisastr odykhrxbkhlumrwmipthung wiswkrrmpiotreliym wiswkrrmehmuxngaer wiswkrrmsingaewdlxm wiswkrrmthrni wiswkrrmchlsastr wiswkrrmthrphyakrthrni wiswkrrmoytha wiswkrrmiffa aela wichakarthaaephnthiethkhnikh aekikhaephnthiepnekhruxngmuxhlksakhykhxngxngkhkhwamruthangphumisastrthungkhwamsmphnthechingphunthitang sungkarthaaephnthiaebbdngedimidrbkarphthnaihthnsmymakkhunsahrbkarwiekhraahthangphumisastraelakarichkhxmphiwetxridklayepnrakthankhxngrabbsarsnethsphumisastr GIS inpccubninkarsuksankphumisastrcakhanungthungsipccy prakxbdwy epnrabb Systematic xngkhkhwamrutang thangphumisastrinaetlapraephthsamarthichidsahrbthukphunthi phumiphakh Regional karwiekhraahkhwamsmphnthxyangepnrabbsahrbphumiphakhthiecaacnghruxthitngbnolkinaetlapraephth phrrnna Descriptive rabukhunsmbtiaelalksnakhxngprachakrinaehlngthitng wiekhraah Analytical wa thaim why eracungphbkhunsmbtiaelalksnakhxngprachakrinphunthithangphumisastrthiecaacngnnkarthaaephnthi aekikh aephnthiniwsiaelndinpi kh s 1770 odyecms khuk dubthkhwamhlkthi karthaaephnthi karthaaephnthiepnkarsuksathungkaraesdnglksnaphunphiwolkdwysylksnaebbnamthrrmsungmikaretibotmachananxnepnphlcakethkhnikhkarekhiynthungsphaphkhwamepncringthiphthnamakkhun aelaaemwaphumisastrsakhatang caichaephnthiepnswnhnungkhxngkarnaesnxphlkarwiekhraah aetkhwamcringaelwxngkhkhwamrukhxngkarthaaephnthinnmimakphxthicaaeykxxkmaepnsakhatanghaknkthaaephnthitxngeriynruthungcitwithyakarrukhidaelakarysastrephuxekhaicthungkarsuxkhxmulsylksnekiywkbolkihmiprasiththiphaphmakthisud rwmthungphvtikrrmthangcitwithyaephuxihphuxanaephnthiekhaickhxmulid tlxdcnphumimatrsastraelakhnitsastrkhnsungephuxekhaicwaruprangkhxngolksngphltxkarphidephiynkhxngtaaehnngsylksnbnaephnthisungchayipyngwsduphunphiwraberiybidxyangir cungklawidodyimmikhxkhdaeyngwakarthaaephnthikaenidcakkarthisakhawichathangphumisastrmikaretibotthiihykhun nkphumisastrswnihycayktwxyangwaaephnthiepncuderimtnkhxngkhwamsnicthangphumisastrinwyedkkhxngphwkekha rabbsarsnethsphumisastr aekikh dubthkhwamhlkthi rabbsarsnethsphumisastr rabbsarsnethsphumisastrhruxciixexs GIS epnkarcdkarthungkarcdekbaelakareriykkhunkhxmulekiywkbolkdwykhxmphiwetxrodyxtonmtisungmikhwamthuktxngtamwtthuprasngkhkhxngkhxmul phuechiywchaydanciixexstxngekhaicthungwithyakarkhxmphiwetxraelarabbthankhxmulnxkehnuxipcaksakhaxun thangphumisastrdwy ciixexsepnkarptiwtisakhawichakarthaaephnthiodynasxftaewrciixexsmachwyinkarthaaephnthiekuxbthnghmdinpccubn ciixexsynghmaythungkarichsxftaewraelaethkhnikhthangciixexsephuxthdaethn wiekhraah aelakhadkarnkhwamsmphnthechingphunthi inbribthniciixexsepntwaethnsahrbphumisarsnethssastr karrbrucakrayaikl aekikh dubthkhwamhlkthi karrbrucakrayaikl karrbrucakrayaiklepnsastrekiywkbkarrbkhxmulkhxnglksnaphunphiwolkcakrayaikl khxmulcakkarrbrucakrayaiklmikaridmahlayrupaebb echn phaphthaydawethiym phaphthaythangxakas rwmthungkhxmulthiidrbcakekhruxngrbruaebbphkpha hand held sensors nkphumisastrcanwnmakichkarrbrucakrayaiklephuxidkhxmulekiywkbphumipraeths thael aelabrryakaskhxngolk enuxngcakkarrbrucakrayaiklsamarth khnhakhxmultamwtthuprasngkhsungmikhwamhlakhlaykhxngphunthihlayradb tngaetthxngthincnthungthwolk thaihsrupcakmummxngkhxngphunthithisnicidngaykhun chwyihsamarthekhathungphunthihangiklaelaimsamarthekhathungid aesdngkhxmulechingkhlunnxkehnuxcakswnthimxngehnidcaksepktrmaemehlkiffa xanwykhwamsadwkinkarsuksathungkarepliynaeplngkhunlksnahruxphunthiinchwngewlatang waepnxyangirkhxmulcakkarrbrucakrayaiklxacthukichrwminkarwiekhraahrwmkbchnkhxmulechingdicithlxun echninrabbsarsnethsphumisastr withiechingpriman aekikh dubthkhwamhlkthi thrnisthiti thrnisthiticdkarkbkarwiekhraahkhxmulechingpriman odyechphaakarprayuktkbraebiybwithithangsthitiephuxsarwcpraktkarnthiekidkhunthangphumisastr thrnisthitithuknamaichxyangkwangkhwanginhlakhlaysakha tlxdcnxuthkwithya thrniwithya karsarwcpiotreliym karwiekhraahlmfaxakas karphngemuxng olcistiks aelawithyakarrabad phunthanthangkhnitsastrsahrbthrnisthitiidmacakkarwiekhraahkarkracuk karwiekhraahkarcaaenkechingesn sthitiirpharamietxr aelakhwamhlakhlaykhxngsakhawichaxun karprayuktkhxngthrnisthitithukichxyangmakbnrabbsarsnethsphumisastr odyechphaaxyangyingsahrbkarpramankhainchwng nkphumisastrepnphumiswnrwmxyangoddedninkrabwnkarkhxngethkhnikhechingpriman withiechingkhunphaph aekikh dubthkhwamhlkthi chatiphnthuwrrnna withiechingkhunphaphthangphumisastrhruxethkhnikhkarwicythangchatiphnthuwithyathukichodynkphumisastrmnusy inphumisastrwthnthrrmmiaebbaephnkhxngkarichethkhnikhkarwicyechingkhunphaphaelayngichinsakhamanusywithyaaelasngkhmwithya karsngektaebbmiswnrwmaelakarsmphasnechinglukthukichodynkphumisastrmnusynamasungkhxmulechingkhunphaphduephim aekikhhaaekneruxngthangphumisastrxangxing aekikh Harper Douglas Online Etymology Dictionary Etymonline com Online Etymology Dictionary subkhnemux 10 November 2016 Geography The American Heritage Dictionary of the English Language Fourth Edition Houghton Mifflin Company subkhnemux 9 October 2006 Eratosthenes 2010 01 24 Eratosthenes Geography Translated by Roller Duane W Princeton University Press tiphimph 24 January 2010 ISBN 9780691142678 Pidwirny Dr Michael Jones Scott CHAPTER 1 Introduction to Physical Geography Physicalgeography net University of British Columbia Okanagan subkhnemux 10 November 2016 Bonnett Alastair 2008 01 16 What is Geography SAGE Publications tiphimph 16 January 2008 ISBN 9781849206495 subkhnemux 10 November 2016 Johnston Ron 2000 Human Geography in Johnston Ron Gregory Derek Pratt Geraldine aelakhna b k The Dictionary of Human Geography Oxford Blackwell pp 353 360 Pattison William D Summer 1990 The Four Traditions of Geography PDF Journal of Geography National Council for Geographic Education tiphimph 1964 September October 1990 5 202 206 doi 10 1080 00221349008979196 ISSN 0022 1341 subkhnemux 10 November 2016 8 0 8 1 Hayes Bohanan James What is Environmental Geography Anyway October 9 2006 An introduction to Settlement Geography Cambridge university press 1990 What is geography AAG Career Guide Jobs in Geography and related Geographical Sciences Association of American Geographers Archived from the original on October 6 2006 Retrieved July 19 2016 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title phumisastr amp oldid 9378467, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม