fbpx
วิกิพีเดีย

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

สวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ: Switzerland; เยอรมัน: die Schweiz; ฝรั่งเศส: la Suisse; อิตาลี: Svizzera; รูมันช์: Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (อังกฤษ: Swiss Confederation; ละติน: Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม

สมาพันธรัฐสวิส

Confoederatio Helvetica (ละติน)
Confédération Suisse (ฝรั่งเศส)
Schweizerischen Eidgenossenschaft (เยอรมัน)
Confederazione Svizzera (อิตาลี)
เมืองหลวงไม่มี (โดยนิตินัย)
แบร์น (โดยพฤตินัย)
เมืองใหญ่สุดซือริช
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษารูมันช์
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบอบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงภายใต้คณะผู้อำนวยการที่เป็นอิสระจากสภานิติบัญญัติ
• คณะมนตรีสหพันธ์
ยูอีลี เมาเรอร์ (ประธานาธิบดี)
ซีโมเนตตา ซอมมารูกา (รองประธานาธิบดี)
อาแล็ง แบร์แซ
กาย พาร์เมลิน
อิกนาซิโอ คาสซิส
วิโอลา อัมเฮิรด์
คาริน เคลเลอร์-ซุสเตอร์
• นายกรัฐมนตรี
วัลเตอร์ ทรูนเฮิรร์
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งสมาพันธ์
เอกราช 
กฎบัตรสหพันธ์
• ประกาศ
1 สิงหาคม 1291
• เป็นที่ยอมรับ
24 ตุลาคม 1648
• รัฐสหพันธ์
12 กันยายน 1848
พื้นที่
• รวม
41,285 ตารางกิโลเมตร (15,940 ตารางไมล์) (133)
4.2
ประชากร
• ก.ย. 2557 ประมาณ
8,183,800 (96)
198 ต่อตารางกิโลเมตร (512.8 ต่อตารางไมล์) (65)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2017 (ประมาณ)
• รวม
$ 516.650 พันล้าน
$ 61,359
จีดีพี (ราคาตลาด)2017 (ประมาณ)
• รวม
$ 680.645 พันล้าน
$ 80,836
จีนี (2018) 29.7
ต่ำ · 19
HDI (2019) 0.955
สูงมาก · 2
สกุลเงินฟรังก์สวิส (CHF)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (DST)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์41
โดเมนบนสุด.ch

การก่อตั้งสมาพันธรัฐสวิสเก่าเกิดขึ้นในช่วงปลายยุคกลางซึ่งเป็นผลมาจากชัยชนะทางการทหารที่มีต่อออสเตรียและเบอร์กันดี ความเป็นอิสระของสวิสจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการใน Peace of Westphalia ในปี 1648 กฎบัตรของรัฐบาลกลางปี ​​ค.ศ. 1291 ถือเป็นเอกสารสำคัญซึ่งรับรองการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์และมีการเฉลิมฉลองในวันชาติสวิส นับตั้งแต่การปฏิรูปในช่วงศตวรรษที่ 16 สวิตเซอร์แลนด์ยังคงดำเนินนโยบายอันแน่วแน่ในการเป็นกลางด้านสงคราม และเป็นประเทศที่ปราศจากสงครามระหว่างประเทศนับตั้งแต่ปี 1815 และไม่ได้เข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติจนกระทั่งปี 2002 อย่างไรก็ตามสวิตเซอร์แลนด์ได้ดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศอย่างแข็งขันและยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสันติภาพทั่วโลกอยู่บ่อยครั้ง สวิตเซอร์แลนด์ยังเป็นแหล่งกำเนิดของสภากาชาดซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรด้านมนุษยธรรมที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งขององค์กรระหว่างประเทศมากมายรวมถึงสำนักงานสหประชาชาติที่กรุงเจนีวาซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือยูโรโซน อย่างไรก็ตามสวิตเซอร์แลนด์ยังคงมีส่วนร่วมในพื้นที่เชงเก้นและตลาดของยุโรปผ่านสนธิสัญญาทวิภาคี

สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศที่ความมั่งคั่งสูงที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสูงที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกและได้รับการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่มีระบบการจัดเก็บภาษีที่มีคุณภาพสูง สวิตเซอร์แลนด์ยังถือเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนามนุษย์สูง เมืองต่าง ๆ ในประเทศ เช่น ซูริค, เจนีวา และบาเซิล ล้วนติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพชีวิตสูงถึงแม้ว่าจะมีค่าครองชีพที่สูงที่สุดในโลกก็ตาม ในปี 2020 IMD ได้จัดอันดับให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศอันดับหนึ่งซึ่งดึงดูดแรงงานที่มีทักษะในการเข้ามาทำงาน และสภาเศรษฐกิจโลก ได้จัดอันดับให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก

ภูมิศาสตร์

 
แผนที่กายภาพ (Physical Map) ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พื้นที่มากกว่า 70% เป็นเขตภูเขา คือ เทือกเขาแอลป์ มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำทิซิโน และแม่น้ำอิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีเพียง หินแกรนิต หินปูน และหินที่ใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางของทวีปยุโรปและมีพรมแดนติดกับหลายประเทศด้วยกัน สวิสเซอร์แลนด์ได้รับสมญานามว่า "หลังคาแห่งทวีปยุโรป" เนื่องด้วยมีเทือกเขาสูงสลับแซมด้วยดงดอกไม้ป่าและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ และยังมีภูเขาใหญ่น้อยสลับกับป่าไม้ที่แทรกตัวอยู่ตามเนินเขา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีพื้นที่ประมาณ 41,287 ตารางกิโลเมตร และ เป็นประเทศที่มีทะเลสาบมาก ลักษณะของภูมิประเทศจึงไม่ค่อยมีพื้นที่ราบ

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริตสกาล พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อย ๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่าง ๆ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลชนเผ่าเคลท์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาเคลติก) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมันตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่น ๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา

ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่น ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมืองบาเซิล, คูร์, เจนีวา, ซูริค ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches

ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณปีคริตศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่งบิชอป ขึ้นตามเมืองต่าง ๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง

หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อย ๆ เริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่าง ๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่าเบอร์กันดี เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำโรน และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวกอลามานนิค ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อย ๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่าง ๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองซังคท์กัลเลิน และ ซูริค เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฎหมายต่าง ๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญาเวอร์ดัน ขึ้นในปี ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์โลทาร์ ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ลุดวิจชาวเยอรมัน ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของเผ่าเบอร์กันดี และ อลามันนิค แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ออตโตที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ในปี ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์รูดอล์ฟ ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับสบวร์กสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291

ยุคของอดีตสมาพันธรัฐสวิส

ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือสมาพันธรัฐสวิสอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1291 เมื่อมณฑล 3 มณฑลในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กและมีการทำสงครามกันเรื่อยมา ในปี1315 กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทำสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรียกชื่อกลุ่มการรวมตัวของมณฑล 8 มณฑลนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของมณฑลต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ จนเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 1513 ก็มีมณฑลเข้าร่วมทั้งหมด 13 มณฑล

ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันในปี 1513 แล้ว ก็ยังคงมีการทำสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจุจบันอยู่เรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครามทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years´War ค.ศ. 1618-1648) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอำนาจภายในทวีปยุโรป สงคราม 30 ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1648

ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐเฮลเวติค ในปี ค.ศ. 1798 ทำให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี 1803 ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมมณฑลต่าง ๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต 6 เขต คือ ขึ้นเป็นมณฑลใหม่ ในปี 1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนมณฑลเข้าไปอีก 3 มณฑล ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี 1848 (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการ 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทำให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่ำลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นครเจนีวาได้กลายเป็นที่ตั้งของสันนิบาตชาติ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลาง นาซีเยอรมนีได้วางแผนที่จะยึดประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อเส้นทางในเทือกเขาแอลป์ระหว่างเยอรมนี-อิตาลี แต่ทางสวิตเซอร์แลนด์ได้ตักเตือนว่า ถ้ากองทัพเยอรมันบุกเข้ามายังสวิตเซอร์แลนด์ ประชาชนทั้งหมดจะลุกขึ้นต่อต้านอย่างถึงที่สุดเพราะประชาชนชาวสวิตนั้นได้เป็นทหารกันหมดแล้วและพร้อมจะระดมพลได้ทุกเมื่อ นอกจากนั้นจะระเบิดทำลายถนนเส้นทางอีกด้วย จึงทำให้นาซีเยอรมันต้องยกเลิกโจมตีไปทำให้สวิตเซอร์แลนด์สามารถรักษาความเป็นกลางและเอกราชไว้ได้ตลอดมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสำคัญในทางด้านเศรษฐกิจในช่วงสงครามโลก​ครั้งที่สอง คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฎหมายของพวกนาซีเยอรมัน

ครั้งหนึ่ง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เคยมีความพยายามที่จะส่งกองทัพเยอรมันบุกสวิตเซอร์แลนด์ แม้สวิตเซอร์แลนด์จะประกาศความเป็นกลางมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ปฏิบัติการดังกล่าว เรียกกันว่า Operation Tannenbaum มีความพยายามตั้งแต่ปี 1940-1944 แต่ไม่เคยมีการบุกจริง มีเพียงความเห็นของฝั่งเยอรมนีที่มองว่า ระบอบการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพวกอนาธิปไตยที่น่ารังเกียจ และพวกเขาคืออีกหนึ่งศัตรูที่แท้จริงของเยอรมนี เป็นสิวเสี้ยนบนใบหน้าของยุโรป และพวกเขาลืมไปแล้วพวกเขาคือส่วนหนึ่งของเรา (ชนเชื้อสายเยอรมันเป็นหนึ่งในเชื้อสายสำคัญของชาวสวิตเซอร์แลนด์) ในความเป็นจริง สวิตเซอร์แลนด์ก็มีการเตรียมรับมือกับเยอรมนีเช่นกัน เห็นได้จากค่าใช้จ่ายทางการทหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ภายหลังจากที่นาซีขึ้นครองอำนาจในเยอรมนีแล้วจาก 15 ล้านฟรังค์ เป็น 90 ล้านฟรังค์ อย่างไรก็ตาม การรบไม่เคยเกิดขึ้นจริง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในสวิตเซอร์แลนด์ที่ยากต่อการส่งกำลังรบ รวมทั้งความวุ่นวายในแนวรบอื่นๆ อีกทั้งความไม่แน่นอนของอิตาลี ซึ่งต่อมาถูกกองกำลังสัมพันธมิตรบุกโจมตีจากทางใต้ ทำให้แผนการ Tannenbaum ถูกยกเลิกไปในที่สุด

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ขึ้น โดยมีสำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา และสำนักงานภาคพื้นยุโรปที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ในอาคารที่เคยเป็นที่ตั้งของ สันนิบาตชาติ เดิม) ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันยึดมั่นในหลักการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ต่อมาในปี 2548 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำการลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศในสนธิสัญญาเช็งเก็น (Schengen Agreement)

ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเช็งเก็น นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาตเช็งเก็น (Schengen Visa) แบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเช็งเก็นสามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มเช็งเก็นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่มเช็งเก็นมีด้วยกันทั้งหมด 27 ประเทศรวมทั้ง ประเทศเบลเยียม, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศอิตาลี, ประเทศลักเซมเบิร์ก, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศกรีซ, ประเทศโปรตุเกส, ประเทศสเปน, ประเทศเยอรมนี, ประเทศออสเตรีย, ประเทศฟินแลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศไอซ์แลนด์, ประเทศมอลตา, สาธารณรัฐเช็ก, ประเทศเอสโตเนีย, ประเทศฮังการี, ประเทศโปแลนด์, ประเทศสโลวาเกีย, ประเทศสโลวีเนีย, ประเทศลัตเวีย, ประเทศลิทัวเนีย ประเทศโมนาโก และ ประเทศโครเอเชีย

การเมืองการปกครอง

 
พระราชวังสหพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์

แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญและรัฐบาลท้องถิ่นของตนเองโดยมีอิสระจากการบริหารราชการของส่วนกลาง อำนาจนิติบัญญัติของสมาพันธ์ฯ อยู่ที่รัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly)

บริหาร

ในการบริหารราชการส่วนกลาง อำนาจบริหารจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีเรียกว่า the Federal Council ซึ่งมีสมาชิกเรียกว่า Federal Councillor (มนตรีแห่งสมาพันธ์) มีทั้งหมด 7 คน ทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานในหน่วยงานระดับกระทรวง 7 แห่ง รัฐสภาแห่งสมาพันธ์เป็นผู้เลือกมนตรีแห่งสมาพันธ์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และในจำนวนมนตรีแห่งสมาพันธ์ทั้ง 7 คน จะได้รับเลือกจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ผลัดเปลี่ยนกันครั้งละหนึ่งคน เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี โดยมีสถานะเป็น “the first among equals” ดังนั้น ประธานาธิบดีสวิสจึงไม่มีการเยือนต่างประเทศในฐานะประมุขแห่งรัฐ

นิติบัญญัติ

ซึ่งประกอบด้วยสภาแห่งชาติ (National Council) และ สภาแห่งรัฐ (Council of States) ทั้งสองสภามีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันสภาแห่งชาติ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงมีจำนวน 200 คน แต่ละรัฐจะมีจำนวนผู้แทนของตนมากน้อยตามจำนวนประชากร (1:34,000) แต่อย่างน้อยที่สุด แต่ละรัฐจะมีผู้แทน 1 คน สภาแห่งรัฐ มีจำนวนสมาชิก 46 คน โดยแต่ละรัฐมีผู้แทน 2 คน การดำเนินงานที่สำคัญของรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ กระทำผ่าน standing committees ด้านต่าง ๆ อาทิ การคลัง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการวิจัย การทหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน ฯลฯ

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา สวิตเซอร์แลนด์ได้ปกครองและบริหารโดยพรรคการเมืองหลัก 4 พรรค ได้แก่ พรรค Radical Democratic (RDP) พรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค Christian Democratic People’s Party (CDP) และพรรค Swiss People’s Party (SVP) ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า แต่ละพรรคจะได้รับจัดสรรตำแหน่งมนตรีของสมาพันธ์พรรคละ 2 คน ยกเว้น Swiss People’s Party ได้ 1 คน นอกจากนั้น ผู้จะดำรงตำแหน่งมนตรีแห่งสมาพันธ์จะมาจาก Canton เดียวกันเกิน 1 คนไม่ได้ และเป็น ธรรมเนียมว่าจะต้องมีผู้แทนจาก 3 Canton หลัก ได้แก่ Zurich, Berne และ Vaud แห่งละ 1 คน ลักษณะพิเศษของระบบประชาธิปไตยแบบสวิสคือ อำนาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติมิได้อยู่ที่สภาแต่อยู่ที่ประชาชนโดยตรง เพราะตามรัฐธรรมนูญประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (referendum) และการริเริ่ม (initiative) กล่าวคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้านโดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ ส่วนอำนาจในการริเริ่มของประชาชนจะสามารถใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ

ตุลาการ

ด้านอำนาจตุลาการ ศาลชั้นต้นและศาลชั้นกลางจะเป็นศาลของมณฑล โดยใช้กฎหมายสมาพันธ์ร่วมด้วย และ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรง แม้แต่ผู้พิพากษาสมทบก็อาจเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับเลือกจากคนในท้องถิ่น ส่วนศาลฎีกาแห่งสมาพันธ์ (Federal Supreme Court) มี ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ เพื่อเน้นการแบ่งแยกอำนาจจากรัฐบาลกลางที่กรุงแบร์น ศาลฎีกาเป็นทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา ประกอบด้วยผู้พิพากษาประมาณ 30 คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์

การแบ่งเขตการปกครอง

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) สวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่มีลักษณะการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง เรียกว่า สมาพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วย 26 รัฐ (อังกฤษ: cantons, เยอรมัน: Kanton) ได้แก่

 
เขตการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์
รัฐ เมืองหลวงรัฐ รัฐ เมืองหลวงรัฐ
  อาร์เกา อาเรา   *นิดวัลเดิน ชสตันส์
  *อัพเพินท์เซลล์เอาส์เซอร์โรเดิน เฮริเซา   *ออบวัลเดิน ซาร์เนิน
  *อัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน อัพเพินท์เซลล์   ชัฟเฮาเซิน ชัฟเฮาเซิน
  *บาเซิล-ลันท์ชัฟท์ ลีสทาล   ชวีซ ชวีซ
  *บาเซิล-ชตัดท์ บาเซิล   โซโลทวร์น โซโลทวร์น
  แบร์น แบร์น   ซังคท์กัลเลิน ซังคท์กัลเลิน
  ฟรีบูร์ ฟรีบูร์   ทัวร์เกา เฟราเอินเฟ็ลท์
  เจนีวา เจนีวา   ตีชีโน เบลลินโซนา
  กลารุส กลารุส   อูรี อัลท์ดอร์ฟ
  เกราบึนเดิน คูร์   วาเล ซียง
  ชูรา เดอเลมง   โว โลซาน
  ลูเซิร์น ลูเซิร์น   ซูค ซูค
  เนอชาแตล เนอชาแตล   ซือริช ซือริช
*กิ่งรัฐมีเหล่านี้มีผู้แทนเพียงหนึ่งคน (ปกติมีสอง) ในสภาแห่งรัฐสวิส

รัฐเหล่านี้มีประชากรเป็นจำนวนระหว่าง 15,000 คน (รัฐอัพเพินท์เซลล์ อินเนอร์โรเดิน) และ 1,253,500 คน (รัฐซือริช) และมีขนาดพื้นที่ระหว่าง 37 ตารางกิโลเมตร (รัฐบาเซิล-ชตัดท์) และ 7,105 ตารางกิโลเมตร (รัฐเกราบึนเดิน) รัฐแต่ละแห่งจะมี เทศบาล (อังกฤษ: communes, เยอรมัน: Gemeinden) รวมทั้งหมด 2,889 เขตเทศบาล

ชื่อต่อไปนี้เป็นเขตปกครองที่มีดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์โอบล้อมอยู่: บือซิงเงิน (Büsingen) เป็นดินแดนของประเทศเยอรมนี และกัมปีโอเนดีอิตาเลีย (Campione d'Italia) เป็นดินแดนของประเทศอิตาลี

 
การประชุมเมืองแบบ Landsgemeinde เป็นรูปแบบเก่าของประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งยังปฏิบัติอยู่ในรัฐสองรัฐ

ประชาธิปไตยโดยตรง

ประชาธิปไตยโดยตรงและสหพันธรัฐ เป็นเอกลักษณ์ของระบบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์ ประชาชนชาวสวิสแต่ละคนจะอยู่ใต้การปกครอง 3 ระดับ คือ เทศบาล รัฐ/แคนทอน และสหพันธรัฐ

รัฐธรรมนูญปี 2391/2542 ได้กำหนดกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงหลายอย่าง การปกครองแบบนี้บางครั้งจึงเรียกว่า "ประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง" หรือ "ประชาธิปไตยโดยตรงแบบมีผู้แทน" กลไกเยี่ยงนี้ในระดับสหพันธรัฐที่เรียกว่า "สิทธิประชาชน" (อังกฤษ: popular rights, เยอรมัน: Volksrechte, ฝรั่งเศส: droits populaires, อิตาลี: Diritti popolari) รวมสิทธิการเสนอ "การริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐโดยประชาชน" และ "การขอ/ลงประชามติ" ที่สามารถล้มกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาได้

กระบวนการนี้ทำให้ประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจต่อสู้กับกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา ถ้าสามารถรวบรวมลายเซ็น 50,000 รายหลังจากที่กฎหมายประกาศใช้เป็นทางการภายใน 100 วัน ถ้าสำเร็จ ก็จะมีการจัดให้ออกเสียงทั้งประเทศ ที่ประชาชนจะตัดสินโดยเสียงข้างมากว่า จะยอมรับหรือไม่ยอมรับกฎหมาย รัฐ 8 รัฐร่วมกันยังสามารถร้องให้มีการลงประชามติต่อกฎหมายของสหพันธรัฐได้ด้วย

โดยคล้าย ๆ กัน การริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐโดยประชาชนอนุญาตให้ประชาชนร้องให้ลงประชามติเพื่อเพิ่มบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ถ้าสามารถรวบรวมลายเซ็น 100,000 รายได้ภายใน 18 เดือน แต่รัฐบาลทั้งฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถเสนอการเพิ่มบทบัญญัติตอบโต้เคียงคู่กับที่ประชาชนเสนอ โดยประชาชนจะบ่งความชอบใจในบัตรเลือกตั้งเผื่อกรณีที่ข้อเสนอของประชาชนและข้อเสนอตอบโต้ทั้งสองได้คะแนนเสียงยอมรับเหมือนกัน การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเสนอโดยประชาชนหรือรัฐสภา ต้องได้คะแนนเสียงข้างมากจากทั้งประชาชนทั่วประเทศและรัฐทุกรัฐ

นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์

ก่อนปี ค.ศ. 1980 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ยึดหลักการ 4 ประการ คือ ความเป็นกลาง (neutrality) ความมีน้ำหนึ่งใจเดียว (solidarity) ความเป็นสากล (universality) และความเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (availability) ต่อมาเมื่อกิจการต่างประเทศเริ่มมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจการสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ การเงิน สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย และการที่โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และหน่วยงานหรือ องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมีบทบาทในกิจการต่างประเทศมากขึ้น ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศ และได้จัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 90 ซึ่งได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐบาลในปี ค.ศ. 1993 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์สำหรับปี 2545 สรุปได้ดังนี้

การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

สวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญลำดับแรกต่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขององค์การสหประชาชาติ ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค ได้ให้ความเห็นชอบต่อการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว และได้จัดการลงประชามติทั่วประเทศในวันที่ 3 มีนาคม 2545 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1986 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่ประชาชนสวิสส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงจะเสียความเป็นกลางซึ่งเป็นนโยบายหลักของประเทศตลอดมา แต่ในการลงประชามติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2002เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนสวิสและเสียงส่วนใหญ่ของรัฐ (Canton) ได้ลงมติให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติของสมาพันธรัฐสวิส โดยผู้ลงมติเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 54.61 ผู้ลงมติไม่เห็นด้วยร้อยละ 45.39 และรัฐ (Canton) ที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยมีจำนวน 12 รัฐ จากจำนวนรัฐ ทั้งหมด 23 รัฐ การลง ประชามติครั้งนี้มีประชาชนออกมาใช้สิทธิร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ สมาพันธรัฐสวิสได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก สหประชาชาติอย่างเป็นทางการและได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในช่วงการประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002

การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรป

รัฐบาลสวิสชุดปัจจุบันได้ประกาศเป็นนโยบายแน่ชัดที่จะเข้าไปมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศให้มากขึ้น อาทิ การจะเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และการพยายามจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1992 สวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรป (European Economic Area) แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ รัฐบาลจึงหาทางออกโดยการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 เพื่อทำความตกลงทวิภาคีใน 7 สาขา คือ การเคลื่อนย้ายบุคคลและแรงงานเสรี การวิจัย การขนส่งทางบก การบิน การเปิดเสรีทางการค้า การให้สิทธิภาคเอกชนของประเทศสหภาพยุโรปและ

สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปประมูลหรือดำเนินกิจกรรมที่เป็นการจัดซื้อโดยรัฐในอีกประเทศหนึ่งได้เท่าเทียมคนชาติ การลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1999 สวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้ ลงนามความตกลงดังกล่าวซึ่งสภาแห่งชาติของสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และผ่านการลงประชามติจากประชาชนร้อยละ 62.7 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 รวมทั้งได้ผ่านการให้สัตยาบันจากรัฐสภาเบลเยี่ยมเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศสุดท้ายแล้วเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากนั้น รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มการเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปอีก 10 สาขา คือ การบริการ การจ่ายเงินบำนาญ การแปรรูปสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อม สถิติ การศึกษา กิจการเยาวชน บัญชีเงินฝากธนาคาร ความร่วมมือเพื่อต่อต้านการฉ้อโกง และความร่วมมือด้านการศาสนา กิจการตำรวจและการอพยพย้ายถิ่นฐาน อย่างไรก็ตาม มีกระแสเรียกร้องให้เปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปโดยทันทีเพื่อเร่งรัดการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรัฐบาลสวิสไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องนี้ เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะพร้อมเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปในช่วงระหว่างปี 2004-2007 และอาจพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหลังปี 2010 แต่เมื่อมีประชาชน 100,000 คน เข้าชื่อเรียกร้องให้จัดการลงประชามติ รัฐบาลสวิสก็ได้จัดการลงประชามติขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2001 ผลปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 76.7 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สนับสนุนการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรป จะเป็นชาวสวิสในเขตสวิส ฝรั่งเศส ในขณะที่ชาวสวิสเยอรมันเกินร้อยละ 85 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย

ความสัมพันธ์ทวิภาคีสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศเอเชีย-แปซิฟิก

รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเอเชียแปซิฟิก ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และได้เริ่มมิติใหม่ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยี แต่ นาย Deiss ได้ยอมรับว่ารัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์มีบทบาทแข็งขันในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน อินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียกลาง เช่น คีร์กิซสถาน ซึ่งความช่วยเหลือส่วนใหญ่จะทำในกรอบความร่วมมือพหุภาคีภายใต้องค์การระหว่างประเทศ และมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ (pool of experts) กว่า 600 คน ซึ่งพร้อมจะเดินทางไปให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี สำหรับอัฟกานิสถานนั้น สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปมีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การกาชาดสากล (ICRC) เป็นมูลค่ากว่า 17 ล้านฟรังค์สวิสในปี ค.ศ. 2001 โดยให้ความสำคัญกับการ ช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี แต่จะไม่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพ และในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2002 สวิตเซอร์แลนด์กำหนดจะเปิดสำนักงานติดต่อ (coordination Office) ที่กรุงคาบูล แต่ในขณะนี้ยังใช้ช่องทางการติดต่อผ่านสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำปากีสถาน

กองทัพ

 
เครื่องบินรบ F/A-18 Hornet ของกองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์

กองกำลังสวิสประกอบด้วยกองทัพบกและกองทัพอากาศ ซึ่งมาจากทหารเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 20 ถึง 34 ปี (ในกรณีพิเศษไม่เกิน 50 ปี) สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลจึงไม่มีกองทัพเรือ อย่างไรก็ตามในทะเลสาบที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านจะใช้เรือลาดตระเวนทางทหารติดอาวุธเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยมีกฎหมายห้ามมิให้พลเมืองสวิสรับราชการในกองทัพต่างประเทศยกเว้น Swiss Guards of the Vatican หรือเว้นแต่เป็นพลเมืองสองสัญชาติในต่างประเทศและอาศัยอยู่ที่นั่น

รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์มีกฎหมายอนุญาตให้ทหารทุกคนสามารถเก็บรักษาอาวุธไว้ ณ ที่พักอาศัยของตนเองได้ และสวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกองกำลังอาสาเพศหญิง ซึ่งประชากรหญิงหลายคนสมัครใจเข้าร่วมกองทัพสวิสโดยทุกปีทุกปีจะมีผู้เข้ารับการฝึก ณ ค่ายทหารประมาณ 20,000 คนเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 18 ถึง 21 สัปดาห์

เศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจ

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลงจากร้อยละ 60 ของปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เหลือเพียงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เป็นต้นมา มีแรงงานเพียงร้อยละ 5 ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม

ภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และภาคบริการเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2539 (ค.ศ. 1991 - 1996) เป็นผลจากมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด ของสวิตเซอร์แลนด์เองและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของสวิตเซอร์แลนด์

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2542 (ค.ศ. 1997 - 1999) สภาวะเศรษฐกิจสวิตเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี มาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ธนาคารชาติสวิสนำมาใช้ทำให้ค่าของเงินฟรังก์สวิตลดลงเกือบร้อยละ 10 รวมทั้งสภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยที่เอื้อให้การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยให้การบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นด้วย

แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะมีค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสามของประเทศอุตสาหกรรมรองจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แรงงานที่มีคุณภาพสูง บวกกับต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

ภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์มีการจ้างงานกว่าสองในสามของการจ้างงานทั้งหมด รายได้ประชาชาติกว่าสองในสามมาจากภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ ภาคบริการผู้ผลิต อาทิ บริการด้านการเงิน การประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งทำรายได้ถึงหนึ่งในสาม

  • ภาคบริการการจำหน่าย เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม
  • ภาคบริการสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา ภาคราชการ บริการด้านวัฒนธรรม และ การพักผ่อน
  • ภาคบริการบุคคล (personal services) อาทิ การท่องเที่ยว บริการต่าง ๆ สำหรับครัวเรือน และบริการรายบุคคลอื่น ๆ

ภาคอุตสาหกรรมของสวิตเซอร์แลนด์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ประเทศจะมีขนาดเล็กแต่มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ ด้านอาหาร (Nestle) เวชภัณฑ์ (Novartis, Roche) วิศวกรรม (ABB) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ทำรายได้จากการส่งออกสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการผลิตสินค้าพวกเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและเครื่องเหล็ก การแข็งค่าของเงินฟรังก์ทำให้ภาคอุตสาหกรรมพยายามลดค่าใช้จ่ายโดยการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของสวิตเซอร์แลนด์เป็นอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่ง ในปี 2543 GDP ต่อหัว สูงถึง 33,464 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นที่สามของโลกรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 3.4 ในปี 2543 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบสิบปี

ปี พ.ศ. 2543 เศรษฐกิจสวิสเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เป็นต้นมาเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการอ่อนค่าเงินฟรังก์สวิส GDP ในปี 2543 มีอัตราร้อยละ 3.4 การส่งออกเพิ่มเป็นสองเท่าในขณะที่การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 10.3 (เทียบกับร้อยละ 9 ของปี 2542) ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.6

กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงแปดเดือนแรกของปี ค.ศ. 2001 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่า 88,533 ล้านฟรังก์ และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นมูลค่า 88,719 ฟรังก์ ขาดดุลการค้า 90.5 ล้านฟรังก์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจปี 2000

ธนาคาร UBS ประเมินว่า เศรษฐกิจสวิสจะเติบโตร้อยละ 1 ในปี ค.ศ. 2002 แต่สมาพันธรัฐสวิสจะไม่ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนช่วงครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2001 ทั้งนี้ เป็นผลจากนโยบายและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและทันการณ์ของธนาคารชาติสวิสและเนื่องจากตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นสูง ในไตรมาสที่สองของปี ค.ศ. 2001 GDP ของสมาพันธรัฐสวิสเติบโตร้อยละ 1.7 โดยเฉลี่ยการเติบโตในแต่ละไตรมาสอยู่ประมาณร้อยละ1.5 – 2 ซึ่งสูงกว่าเยอรมนี (-0.1) ฝรั่งเศส (1) และอิตาลี (0.1) แต่ตัวเลขการ เติบโตในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2001 และดัชนีต่าง ๆ ชี้ว่าการเติบโตเริ่มช้าลง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มลดลงในไตรมาสที่สองเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินฟรังก์สวิสสูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มในอัตราที่ต่ำ UBS คาดว่าปี ค.ศ. 2002 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเหลือเพียงร้อยละ 1 และอัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 2002 จะเท่ากับร้อยละ 1 เพราะปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ราคาสินค้าจะไม่สูงขึ้นมาก อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง อัตราการเพิ่มค่าจ้างแรงงานก็จะช้าลง และเงินฟรังก์สวิสที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากราคาสินค้าเข้าที่เพิ่มขึ้น

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

สวิตเซอร์แลนด์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นภูเขา เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ที่สามารถทำการเพาะปลูก ซึ่งผลิตผลการเกษตรสามารถรองรับความต้องการด้านอาหารของประเทศได้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง แต่สวิสขาดแคลนวัตถุดิบ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกกลับไปในรูปของผลิตภัณฑ์คุณภาพ จึงต้องนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ คู่ค้าสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ได้แก่สมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development – OECD) เศรษฐกิจสวิสผูกพันกับเศรษฐกิจยุโรปอย่างมากโดยเฉพาะเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์นำเข้าจากสหภาพยุโรปร้อยละ 63 (เยอรมนีร้อยละ 23) และส่งออกไปสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 (เยอรมนีร้อยละ 33)

สวิตเซอร์แลนด์ขาดดุลการค้าตลอดมาเว้นแต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าลดลง แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะขาดดุลการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) แต่สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลการค้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเช่น สเปน โปรตุเกส และประเทศกำลังพัฒนา เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางเวชกรรม นาฬิกา และอัญมณี เป็นสินค้าส่งออกหลักของสวิตเซอร์แลนด์ สินค้านำเข้าหลักได้แก่เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า นาฬิกา เคมีภัณฑ์

ผลผลิตทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง การส่งออกภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปี 1996-1999 เพิ่มประมาณร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมด การท่องเที่ยวก็เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมบริการ

สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ประชาชาติสูงสุดของโลก การได้ดุลจำนวนมากนี้เป็นผลจากการทำธุรกรรมด้านบริการ โดยเฉพาะภาคการเงิน บริษัทสวิสลงทุนในต่างประเทศมากกว่าบริษัทต่างประเทศมาลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 2.5 เท่า การลงทุนทางตรงของสวิตเซอร์แลนด์ในต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหภาพยุโรปมีสัดส่วนการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์เป็นสองในสามของการลงทุนต่างประเทศในสวิตเซอร์แลนด์

การท่องเที่ยว

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในสวิตเซอร์แลนด์

โครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคม และ โทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

สาธารณสุข

การศึกษา

เนื่องจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ การศึกษาและแหล่งการเรียนรู้จึงการเป็นทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จึงถูกกล่าวถึงว่ามีระบบการศึกษาที่ดีแห่งหนึ่งของโลกเนื่องจากรัฐแต่ละรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริการทางศึกษา ระดับอนุบาล มัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย ทำให้การศึกษานี้อาจจะแตกต่างกันในระหว่างรัฐ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีมหาวิทยาลัยรวม 11 แห่ง ซึ่ง 9 แห่งดำเนินการโดยรัฐต่างๆ อีก 2 แห่งดำเนินการโดยสมาพันธรัฐ โดยแบ่งระดับการศึกษาออกดังต่อไปนี้:

1. ระดับอนุบาล

เด็กๆชาวสวิสไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าเรียนระดับอนุบาลหรือผู้ปกครองอาจจะให้บุตรหลานเข้าเรียนระดับอนุบาลเป็นเวลา 1 ปีหรือ 2 ปีก็ได้

2. ระดับประถมศึกษา

เป็นระบบการศึกษาภาคบังคับ โดยก่อนที่นักเรียนจะเข้าเรียนโรงเรียนประถมศึกษา นักเรียนส่วนใหญ่มักจะเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลก่อน

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยทั่วไปจะต่อจากประถมศึกษาอีก 3 ปี (เกรด 7 ถึงเกรด 9) แต่ในบางรัฐระดับนี้จะต่อจากประถมศึกษาอีก 5 ปี โดยเริ่มต้นที่เกรด 5 และบางรัฐจะต่อจากประถมศึกษาอีก 4 ปี (โดยเริ่มต้นที่เกรด 6) ในระดับนี้จะให้การศึกษาโดยทั่วไป และเตรียมตัวสำหรับนักเรียนที่จะเข้าเรียนการศึกษาสายอาชีวะระดับพื้นฐาน หรือสำหรับนักเรียนที่จะโอนเข้าสู่โรงเรียนสายสามัญในระดับมัธยมปลาย

4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับนี้จะแยกระหว่างนักเรียนที่ต้องการเรียนสายสามัญและสายอาชีวะ โดยนักเรียนที่เรียนสายสามัญจะเลือกเรียนได้ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (Matura School / Gymnasien) หรือโรงเรียนเฉพาะทาง (Specialised Middle Schools / Fachmittelschulen) ส่วนนักเรียนที่ต้องการจะมุ่งสู่สายอาชีพโดยตรงจะเข้าสู่การศึกษาในสายอาชีวะซึ่งระบบการศึกษาอาชีวะจะขึ้นตรงต่อกฎหมายตามรัฐบาลกลางของประเทศ

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (Matura School / Gymnasien) ตั้งอยู่ในรัฐทุกรัฐของประเทศ นักเรียนจะเริ่มสมัครเรียนได้เมื่อจบเกรด 9 หรือเกรด 10 (อายุ 13/14 ปี) จากนั้นจึงเรียนต่อ 4 ปีในกรณีส่วนใหญ่ และในบางรัฐที่ใช้ภาษาเยอรมันในการสื่อสารอาจะมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่เริ่มตั้งแต่เกรด 7 (Langzeitgymnasium; ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี) หลังจากผ่านการสอบในระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ว นักเรียนจะได้รับใบรับรองจากทางโรงเรียนซึ่งสามารถนำใบรับรองนี้เป็นเอกสารในการเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือมหาวิทยาลัยครู

โรงเรียนเฉพาะทาง (Specialised Middle Schools / Fachmittelschulen) เป็นโรงเรียนทางด้านสายสามัญซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและในระดับการศึกษาทางอาชีพ ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเตรียมตัวเข้าเรียนในระดับสายอาชีพในวิทยาลัยอาชีวะระดับสูง และในมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยสาขาที่เข้าเรียนได้แก่ สาขาสุขภาพและการทำงานเพื่อสังคม, การศึกษาและการออกแบบ, ศิลปะ โดยจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 3 ปี

5. ระดับอุดมศึกษา

การศึกษาในระดับอาชีวะขั้นสูง (Higher Vocational Education and Training) ให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษานอกมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการศึกษาในสวิสซึ่งหาได้ยากในประเทศอื่น ๆ โดยหลักสูตรการเรียนจะเป็นสายอาชีพและบทบาทความเป็นผู้นำ เพื่อฝึกพนักงานและบุคคลที่ผ่านการศึกษาอาชีวะระดับพื้นฐานแล้ว

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2012 ประชากรประมาณ 7,908,000 ล้านคน เป็นชาวสวิตเยอรมันร้อยละ 65 สวิตฝรั่งเศสร้อยละ 18 สวิตอิตาเลียน ร้อยละ 10 รูมันช์ ร้อยละ 1 อื่น ๆ ร้อยละ 9

ศาสนา

ศาสนาในสวิตเซอร์แลนด์ – 2012
religion percent
โรมันคาทอลิก
  
38.2%
โปรเตสแตนต์
  
26.9%
ไม่ได้นับถือศาสนา
  
21.4%
ศาสนาคริสต์อื่นๆ
  
5.7%
อิสลาม
  
4.9%
ยูดาย
  
0.3%
อื่นๆ
  
1.3%

ประชาชนร้อยละ 48 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 44 นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 8 นับถือศาสนาอื่น ๆ

ภาษา

ดูบทความหลักที่: ภาษาในสวิตเซอร์แลนด์

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีภาษาราชการทั้งสิ้น 4 ภาษาได้แก่ ภาษาเยอรมัน (ร้อยละ 64) เป็นภาษาที่มีการพูดกว้างขวางที่สุดในประเทศ ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 19 รัฐใน 26 รัฐ, ภาษาฝรั่งเศส (ร้อยละ 19) คนส่วนใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้นจะอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศ โดยมี 4 รัฐด้วยกันคือ เจนีวา, ชูรา, นิดวัลเดิน และโว และมีอีก 3 รัฐ (เบิร์น, ฟรีบูร์ก และวาเล) ที่ใช้ทั้งภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสในการสื่อสาร, ภาษาอิตาเลียน (ร้อยละ 8 ) ทางภาคใต้ในรัฐทีชิโน และอีก 4 หมู่บ้านทางใต้ของรัฐเกราบึนเดิน และ โรมันช์ (ร้อยละ 1) (Rhaeto-Romanic – ภาษาละตินโบราณ) ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในรัฐเกราบึนเดินซึ่งใช้ภาษาในการสื่อสารมากถึง 3 ภาษา (ภาษาโรมาเนีย, ภาษาเยอรมัน และภาษาอิตาลี) ซึ่งภาษาโรมาเนียนั้นจะคล้ายกับภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส ซึ่งมีรากฐานของภาษามาจากละติน และยังใช้พูดกันในชนกลุ่มน้อยของ มณฑล กริซองส์ (Grisons) นอกจากนี้สวิตเซอร์แลนด์ยังถือว่าเป็นชาติที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

 
ภาษาทางการในประเทศสวิตเซอร์แลนด์:
   เยอรมัน (62.7%; 72.5%)
   ฝรั่งเศส (20.4%; 21.0%)
   อิตาลี (6.5%; 4.3%)
   รูมันช์ (0.5%; 0, 6%)

กีฬา

ดูบทความหลักที่: สวิตเซอร์แลนด์ในโอลิมปิก และ สวิตเซอร์แลนด์ในพาราลิมปิก

วัฒนธรรม

แหล่งมรดกโลก

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญและได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลกทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ คอนแวนต์นักบุญจอห์นของคณะเบเนดิกตินที่มึชไตร์, คอนแวนต์แซ็ง-กาล, กรุงแบร์น (เมืองหลวงของประเทศ), ปราสาทสามหลัง กำแพง และแนวป้องกันของเมืองตลาดนัดแห่งเบลลินโซนา, ลาโว ไร่องุ่นขั้นบันได, ทางรถไฟสายรีเชียในภูมิทัศน์แม่น้ำอัลบูลา / แบร์นีนา, ลาโช-เดอ-ฟง, แหล่งที่อยู่อาศัยแบบเรือนยกพื้นยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยรอบเทือกเขาแอลป์ และงานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย

นอกจากนี้ยังมีมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 3 แห่งได้แก่ ยุงเฟรา-อาเลทช์ ภูเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์, มอนเตซานจอร์โจ และแอ่งแปรสันฐานซาร์โดนา

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมถือได้ว่าเป็นจุดเด่นอีกด้านหนึ่งของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและยังคงความสมบูรณ์แบบ สถาปัตยกรรมโกธิคตามโบสถ์ในเมืองต่าง ๆ เช่น โบสถ์เมือง Bern เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสถาปัตยกรรมในสมัยเรเนซองส์ (Renaissance) และ แบบบารอค (Barock) ซึ่งสามารถพบเห็นได้บริเวณทะเลสาบเจนีวาซึ่งมีพื้นที่ติดกับประเทศฝรั่งเศส

ดนตรี และ นาฎศิลป์

อาหาร

 
ฟงดูว์ อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์

สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางด้านอาหารมาจากหลากหลายเชื้อชาติ เช่น ประเทศอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส และเป็นประเทศที่ผลิตนมและชีสที่ได้คุณภาพระดับโลก ทำให้อาหารของที่นี่จะมีเนยและชีสเป็นส่วนประกอบในเกือบทุกเมนู อาหารของสวิตเซอร์แลนด์จะเน้นที่รสชาติที่ดีเลิศที่มาจากคุณภาพที่ดีของวัตถุดิบ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในอดีตเป็นเมืองเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกมันฝรั่งและการทำชีส ซึ่งชีสสวิสที่มีชื่อเสียงอย่างมาก นั่นคือ Emmental Cheese, Gruyère, Vacherin, และAppenzeller นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบที่มีชื่อเสียงอย่างมากนั่นคือช็อคโกแล็ต ช็อคโกแล็ตสวิสมีหลากหลายขนาด, รูปร่าง และกลิ่น และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในช็อคโกแล็ตที่ดีที่สุดในโลกด้วยการควบคุมคุณภาพในโรงงานผลิตและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทางสมาคมผู้ผลิตช็อคโกแล็ตสวิส (Chocosuisse) เคยกล่าวไว้ว่าชาวสวิสเป็นผู้ที่บริโภคช็อคโกแล็ตมากที่สุดในโลก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีอาหารที่ขึ้นชื่อและมีชือเสียงระดับโลกมากมาย เช่น ฟงดูว์ชีส (Cheese Fondue), โรสตี (Rösti, มันฝรั่งหั่นฝอย ผสมกับชีสที่ละลายแล้ว), Basler Leckerli (ขนมของเมือง Basel บิสกิสแบบดั้งเดิมของประเทศสวิตเซอร์แลนด์), Zürcher Geschnetzeltes (เนื้อลูกวัวย่าง), พายตับบด,พายเนื้อบด (Luzerner Chugelipastete)

อ้างอิง

  1. Switzerland Constitution, article 70, "Languages": (1) The official languages of the Federation are German, French, and Italian. Romansh is an official language for communicating with persons of Romansh language. (2) The Cantons designate their official languages. In order to preserve harmony between linguistic communities, they respect the traditional territorial distribution of languages, and take into account the indigenous linguistic minorities.
  2. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
  3. (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 30 April 2020. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  4. Berner, Elizabeth Kay; Berner, Robert A. (2012-04-22). Global Environment: Water, Air, and Geochemical Cycles - Second Edition (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-4276-6.
  5. "Switzerland Map and Satellite Image". geology.com.
  6. "The history of Switzerland". www.myswissalps.com.
  7. https://plus.google.com/+UNESCO (2019-09-12). "Geneva Liaison Office". UNESCO (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Schengen Area - Visa Information for Schengen Countries". SchengenVisaInfo.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Switzerland". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  10. Taylor, Chloe (2019-05-20). "These cities offer the best quality of life in the world, according to Deutsche Bank". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
  11. "Paris and Zurich are now the world's costliest cities due to COVID-19". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-18.
  12. "Global Competitiveness Report 2019". World Economic Forum (ภาษาอังกฤษ).
  13. "10. วัฒนธรรมของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - ธีรภัทร์ ไตรณรงค์". sites.google.com.
  14. "ข้อมูลการท่องเที่ยว ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - nexttour.com". www.nexttour.com.
  15. "Switzerland's History". history-switzerland.geschichte-schweiz.ch.
  16. "Brief History of Switzerland". www.nationsonline.org.
  17. "Brief History of Switzerland". www.nationsonline.org.
  18. "Switzerland - History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  19. "Brief History of Switzerland". www.nationsonline.org.
  20. https://www.eda.admin.ch/dam/PRS-Web/en/dokumente/die-schweiz-in-der-zeit-der-weltkriege_EN.pdf
  21. Tourismus, Schweiz. "World War II". Switzerland Tourism (ภาษาอังกฤษ).
  22. Oord, Christian (2019-02-02). "To This Day, The Myth Still Abounds: Why Didn't The Germans Invade Switzerland?". WAR HISTORY ONLINE (ภาษาอังกฤษ).
  23. https://www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/shows/nazis/readings/halbrook.html
  24. https://www.admin.ch/gov/en/start/federal-council/political-system-of-switzerland/swiss-federalism.html
  25. Knoepfel, Peter; Papadopoulos, Yannis; Sciarini, Pascal; Vatter, Adrian; Häusermann, Silja, บ.ก. (2014). Handbuch der Schweizer Politik - Manuel de la politique suisse (ภาษาเยอรมัน และ ฝรั่งเศส) (5 ed.). Zürich, Switzerland: Verlag Neue Zürcher Zeitung, NZZ libro. ISBN 978-3-03823-866-9.
  26. Gross, Andreas: Popular rights in German, French and Italian in the online Historical Dictionary of Switzerland. Version of 2015-04-22.
  27. "Switzerland's political system". Berne, Switzerland: The Federal Council. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
  28. Kaufmann, Bruno (2007-05-18). "How direct democracy makes Switzerland a better place". The Telegraph. London, UK. สืบค้นเมื่อ 2009-12-09.
  29. "Swiss Armed Forces". Swiss Armed Forces (ภาษาอังกฤษ).
  30. "Swiss Army". europeforvisitors.com.
  31. Föllmi, Reto; Fuest, Angela; an de Meulen, Philipp; Micheli, Martin; Schmidt, Torsten; Zwick, Lina (2018-09-17). "Openness and productivity of the Swiss economy". Swiss Journal of Economics and Statistics. 154 (1): 17. doi:10.1186/s41937-018-0021-3. ISSN 2235-6282. PMC 6214328. PMID 30443509.CS1 maint: PMC format (link)
  32. "Switzerland Economy: Population, GDP, Inflation, Business, Trade, FDI, Corruption". www.heritage.org (ภาษาอังกฤษ).
  33. "Switzerland Economic Snapshot - OECD". www.oecd.org.
  34. "Economy of Switzerland". www.about.ch.
  35. "Swiss Economy – Facts and Figures". www.eda.admin.ch (ภาษาอังกฤษ).
  36. Montpellier, Charlotte de. "Switzerland: Economic activity is growing strongly, beating peers". ING Think (ภาษาอังกฤษ).
  37. "SmileCampus : ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การศึกษาประเทศสวิตเซอร์แลนด์". www.smilecampus.com.
  38. "SmileCampus : ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การศึกษาประเทศสวิตเซอร์แลนด์". www.smilecampus.com.
  39. RMUTT-Ing. "ระบบการศึกษาของสวิตเซอร์แลนด์ - เรียนต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์". Study Hotel in Swiss (ภาษาอังกฤษ).
  40. "General Information & Education System Switzerland - ข้อมูลทั่วไป และ ระบบการศึกษา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์". www.e-abroad.com.
  41. "Ständige Wohnbevölkerung ab 15 Jahren nach Religions- / Konfessionszugehörigkeit, 2011" (XLS). bfs.admin.ch (Statistics) (ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส, และ อิตาลี). Neuchâtel: Swiss Federal Statistical Office, 2011. 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-12-22.
  42. Tourismus, Schweiz. "Language distribution". Switzerland Tourism (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Languages spoken in Switzerland | SwissVistas". www.swissvistas.com (ภาษาอังกฤษ).
  44. Swiss Federal Statistical Office. "Languages and religions - Data, indicators". สืบค้นเมื่อ 2007-10-09. The first number refers to the share of languages within total population. The second refers to the Swiss citizens only.
  45. "5 ขุมทรัพย์ แหล่งท่องเที่ยว สวิตเซอร์แลนด์". https://www.thansettakij.com/. External link in |website= (help)
  46. "10. วัฒนธรรมของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - ธีรภัทร์ ไตรณรงค์". sites.google.com.
  47. "Switzerland อาหารประจำชาติของสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)". Ekthana. 2013-03-10.
  48. Rosalie. "Sejarah Dan Cara Membuat Mie Tradisional Dari Cina". The Worldwide Gourmet Refrensi Makanan dan Resep Dunia (ภาษาอังกฤษ).
  49. "อาหารท้องถิ่น". ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Switzerland. 2017-02-16.
  50. "ทัวร์ยุโรป กินอะไรดีที่สวิตเซอร์แลนด์ - Avenue". avenue.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
  หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
  หนังสือ จากวิกิตำรา
  คำคม จากวิกิคำคม
  ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
  ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
  เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
  แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย

  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว

  • เว็บไซต์สภาสหพันธ์สวิส (อังกฤษ)
  • เว็บไซต์ข้อมูลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Switzerland.com (อังกฤษ)
  • เว็บไซต์ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Myswitzerland.com (อังกฤษ)
  • เว็บไซต์ข้อมูลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย (ไทย)
  • ข้อมูลประเทศสวิตเซอร์แลนด์จากเวิลด์แฟกต์บุก ซีไอเอ สหรัฐอเมริกา (อังกฤษ)
  • สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ) (ไทย)
  • สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อังกฤษ)
  • รูปภาพเกี่ยวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ฟลิคเกอร์

ประเทศสว, ตเซอร, แลนด, สว, ตเซอร, แลนด, งกฤษ, switzerland, เยอรม, schweiz, ฝร, งเศส, suisse, ตาล, svizzera, นช, svizra, อทางการว, สมาพ, นธร, ฐสว, งกฤษ, swiss, confederation, ละต, confoederatio, helvetica, เป, นประเทศขนาดเล, กท, ไม, ทางออกส, ทะเล, และต, งอย, ใน. switesxraelnd xngkvs Switzerland eyxrmn die Schweiz frngess la Suisse xitali Svizzera rumnch Svizra michuxthangkarwa smaphnthrthswis xngkvs Swiss Confederation latin Confoederatio Helvetica epnpraethskhnadelkthiimmithangxxksuthael aelatngxyuinthwipyuorptawntk 4 odymiphrmaedntidkb praethseyxrmni praethsfrngess praethsxitali praethsxxsetriy aelapraethsliketnsitn 5 nxkcakcamikhwamepnklangthangkaremuxngaelw switesxraelndnbwamikarrwmmuxknrahwangpraethsepnxyangmak enuxngcakepnthitngkhxngxngkhkrnanachatihlayaehng nxkcaknilksnakhxngpraethsyngkhlaykbpraethsebleyiymsmaphnthrthswisConfoederatio Helvetica latin Confederation Suisse frngess Schweizerischen Eidgenossenschaft eyxrmn Confederazione Svizzera xitali thngchati traaephndinkhakhwy hnungediywsuthngpwng thngpwngsuhnungediywephlngchati swissalm source source track track track track track track track track track emuxnghlwngimmi odynitiny aebrn odyphvtiny emuxngihysudsuxrichphasarachkarphasafrngess phasaeyxrmn phasaxitali aelaphasarumnch 1 karpkkhrxngshphnthsatharnrthrabxbprachathipitykungthangtrngphayitkhnaphuxanwykarthiepnxisracaksphanitibyyti khnamntrishphnthyuxili emaerxr prathanathibdi siomentta sxmmaruka rxngprathanathibdi xaaelng aebraeskay pharemlinxiknasiox khassiswioxla xmehirdkharin ekhlelxr susetxr naykrthmntriwletxr thrunehirrsphanitibyytirthsphaaehngsmaphnthexkrach kdbtrshphnth prakas1 singhakhm 1291 epnthiyxmrb24 tulakhm 1648 rthshphnth12 knyayn 1848phunthi rwm41 285 tarangkiolemtr 15 940 tarangiml 133 aehlngna 4 2prachakr k y 2557 praman8 183 800 96 khwamhnaaenn198 txtarangkiolemtr 512 8 txtarangiml 65 cidiphi xanacsux 2017 praman rwm 516 650 phnlan txhw 61 359cidiphi rakhatlad 2017 praman rwm 680 645 phnlan txhw 80 836cini 2018 29 7 2 ta 19HDI 2019 0 955 3 sungmak 2skulenginfrngkswis CHF ekhtewlaUTC 1 CET vdurxn DST UTC 2 CEST rhsothrsphth41odemnbnsud chbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha karkxtngsmaphnthrthswisekaekidkhuninchwngplayyukhklangsungepnphlmacakchychnathangkarthharthimitxxxsetriyaelaebxrkndi khwamepnxisrakhxngswiscakckrwrrdiormnxnskdisiththiidrbkaryxmrbxyangepnthangkarin Peace of Westphalia 6 inpi 1648 kdbtrkhxngrthbalklangpi kh s 1291 thuxepnexksarsakhysungrbrxngkarkxtngpraethsswitesxraelndaelamikarechlimchlxnginwnchatiswis nbtngaetkarptirupinchwngstwrrsthi 16 switesxraelndyngkhngdaeninnoybayxnaenwaeninkarepnklangdansngkhram aelaepnpraethsthiprascaksngkhramrahwangpraethsnbtngaetpi 1815 aelaimidekharwmkbxngkhkarshprachachaticnkrathngpi 2002 xyangirktamswitesxraelndiddaeninnoybaydantangpraethsxyangaekhngkhnaelayngmiswnekiywkhxngkbkrabwnkarsrangsntiphaphthwolkxyubxykhrng switesxraelndyngepnaehlngkaenidkhxngsphakachadsungepnhnunginxngkhkrdanmnusythrrmthiekaaekaelaepnthiruckmakthisudinolk xikthngyngepnthitngkhxngxngkhkrrahwangpraethsmakmayrwmthungsanknganshprachachatithikrungecniwasungmikhnadihyepnxndbthisxngkhxngolk 7 switesxraelndthuxepnhnunginsmachikphukxtngkhxngsmakhmkarkhaesriaehngyuorp aetimidepnswnhnungkhxngekhtesrsthkicyuorphruxyuorosn xyangirktamswitesxraelndyngkhngmiswnrwminphunthiechngeknaelatladkhxngyuorpphansnthisyyathwiphakhi 8 switesxraelndthuxepnhnunginpraethsthiphthnaaelwaelaepnpraethsthikhwammngkhngsungthisud nxkcakniyngthuxepnpraethsthimiphlitphnthmwlrwmphayinpraethssungthisudepnxndb 8 khxngolkaelaidrbkarphicarnawaepnemuxngthimirabbkarcdekbphasithimikhunphaphsung switesxraelndyngthuxepnpraethsthimikhwamsamarthinkaraekhngkhnthangesrsthkicaelakarphthnamnusysung 9 emuxngtang inpraeths echn surikh ecniwa aelabaesil lwntidxndbemuxngthimikhunphaphchiwitsung 10 thungaemwacamikhakhrxngchiphthisungthisudinolkktam 11 inpi 2020 IMD idcdxndbihswitesxraelndepnpraethsxndbhnungsungdungdudaerngnganthimithksainkarekhamathangan aelasphaesrsthkicolk idcdxndbihswitesxraelndepnpraethsthimixtrakaraekhngkhnsungepnxndbthi 5 khxngolk 12 enuxha 1 phumisastr 2 prawtisastr 2 1 yukhkxnprawtisastr 2 2 yukhkhxngxditsmaphnthrthswis 2 3 chwngsngkhramolkkhrngthi 1 aelakhrngthi 2 2 4 yukhhlngsngkhramolkkhrngthi 2 3 karemuxngkarpkkhrxng 3 1 brihar 3 2 nitibyyti 3 3 tulakar 3 4 karaebngekhtkarpkkhrxng 3 5 prachathipityodytrng 4 noybaytangpraethskhxngswitesxraelnd 4 1 karekhaepnsmachikxngkhkarshprachachati 4 2 karecrcathwiphakhikbshphaphyuorp 4 3 khwamsmphnththwiphakhiswitesxraelndkbpraethsexechiy aepsifik 5 kxngthph 6 esrsthkic 6 1 phawaesrsthkic 6 2 karkhadkarnsphawaesrsthkicpi 2000 6 3 karphthnathangesrsthkic 6 4 karthxngethiyw 7 okhrngsrangphunthan 7 1 khmnakhm aela othrkhmnakhm 7 2 withyasastr aela ethkhonolyi 7 3 satharnsukh 7 4 karsuksa 8 prachakrsastr 8 1 echuxchati 8 2 sasna 8 3 phasa 8 4 kila 9 wthnthrrm 9 1 aehlngmrdkolk 9 2 sthaptykrrm 9 3 dntri aela nadsilp 9 4 xahar 10 xangxing 11 aehlngkhxmulxunphumisastr aekikh aephnthikayphaph Physical Map khxngpraethsswitesxraelnd phunthimakkwa 70 epnekhtphuekha khux ethuxkekhaaexlp miaemnasakhy khux aemnairn aemnaorn aemnathision aelaaemnaxin thrphyakrthrrmchatithisakhymiephiyng hinaekrnit hinpun aelahinthiichinkarkxsrangethann praethsswitesxraelndepnpraethsthimikhnadkhxnkhangelkaelaimmithangxxksuthael enuxngcaktngxyuicklangkhxngthwipyuorpaelamiphrmaedntidkbhlaypraethsdwykn 13 swisesxraelndidrbsmyanamwa hlngkhaaehngthwipyuorp enuxngdwymiethuxkekhasungslbaesmdwydngdxkimpaaelathunghyasahrbeliyngstw aelayngmiphuekhaihynxyslbkbpaimthiaethrktwxyutameninekha praethsswisesxraelnd miphunthipraman 41 287 tarangkiolemtr aela epnpraethsthimithaelsabmak lksnakhxngphumipraethscungimkhxymiphunthirab 14 prawtisastr aekikhyukhkxnprawtisastr aekikh emux 10 000 pikxnkhritskal phwkklumnklastwaelaklumkhnerrxnidyaythinthanekhamaxyuxasyinekhtthangtxnehnuxkhxngethuxkekhaaexlp Alp sunginpccubnkkhuxphunthibriewn Graubunden icklangpraethsswitesxraelndepnkhrngaerk 15 txmakidmikarkhyayxanaekhtxxkiperuxy tamphunthibriewnlumthaelsabtang cnkrathngemuxpraman 400 pikxnkhristkalchnephaekhlth Celt khuxklumchnchatithiphudphasaekhltik iderimyaythinthancakthangeyxrmntxnit ekhaipsuphunthilumthaelsabintxnklangkhxngpraethsswitesxraelndephimmakkhun odythangdantawnxxkkhxngswitesxraelndepnthixyuxasykhxngphwk Raetia swnthangdantawntkthukkhrxbkhrxngodychaw Helvetii nxkcaknnkyngmichnephaxun thikracdkracayiptamswntang khxngpraethsswitesxraelndxikepncanwnmak khux chnepha Lepontier thangaekhwn Tessin chnepha Seduner inekht Wallis aelathaelsabecniwa 16 txmaemuxekhasuyukhrungeruxngkhxngxanackrormninpraman 58 pikxnkhristkal chnephaormnphayitkarnakhxngcueliys sisar Julius Caesar idekhaocmtiaelayuddinaednkhxngchnepha Helvetii aeladinaednswnxun ekhaepnswnhnungkhxngxanackrormn chwngniexngthiiderimthikarkxsrangthnnhnthangaelarabbphngemuxngkhuninpraethsswitesxraelndkhunepnkhrngaerk echn inbriewnemuxngbaesil khur ecniwa surikh inpccubn odymisunyklangxyuthiemuxng Avenchesinchwngplaykhxngyukhsmyormn pramanpikhritstwrrsthi 4 thung 6 sasnakhristidephyaephekhamainekhtpraethsswitesxraelnd thaihidmikartngtaaehnngbichxp khuntamemuxngtang aelaechuxknwaxanackrormnklmslaylnginchwngniexng 17 hlngcakthixanackrormnkhxy erimesuxmlng phwkchaweyxrmnephatang kxphyphekhamatngthinthanekhamainekhtniaethn 18 odychnephaebxrkndi ekhamayudkhrxngbriewnthangaethb Jura thangtxnehnuxkhxngethuxkekhaaexlp briewnaemnaorn aelathaelsabecniwa swnphwkxlamannikh idtngthinthanxyubriewnlumaemnairn Rhein swnkarephyaephsasnakyngkhngmixyueruxy odyphranksxnsasnaekhamamibthbathsakhyinekhtemuxngtang rwmthngyngmikarsrangwdkhunepnkhrngaerkthiemuxngsngkhthklelin aela surikh emuxerimekhasuyukhormnxnskdisiththi Holy Roman Empire sungxanackrniepnxanackrkhxngckrrrdicharlmayaehngeyxrmnhruxeriykwaepnxanackrormnxnskdisiththiaehngchnchatieyxrmn sungimidekiywkhxngkbxanackrormninsmyyukhkxnprawtisastraetxyangid kidmikarnarabbkdhmaytang ekhamaichinpraethsswitesxraelnd 19 odymikarrangsnthisyyaewxrdn khuninpi kh s 834 odyphunthibriewntawntkkhxngswitesxraelnd Burgundain tkxyuphayitkarpkkhrxngkhxngkstriyolthar thi 1 aelathangdantawnxxk Alamannic xyuphayitkarpkkhrxngkhxngkstriyludwicchaweyxrmn instwrrsthi 10 emuxrabbkarpkkhrxngaebbichkdhmayesuxmlng phwkchnephaaemkyar Magyar kekhamathalayemuxngihytang khxngephaebxrkndi aela xlamnnikh aettxmaemuxkstriyxxtotthi 1 thasngkhramchnaphwkchnephaaemkyarinpi kh s 955 kmikarrwmphunthibriewnkhxng 2 chnephaekhadwyknepnswnhnungkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththi xikkhrng aelayngidmikarrwbrwmaekhwntang ekhaepnswnhnungkhxngxanackrormnxnskdisiththi xanackrnithukpkkhrxngodyrachwngshbsbwrk Habsburg dynasty ipcnkrathngkstriyrudxlf thi 1 aehngrachwngshbsbwrksinphrachnmemuxwnthi 15 krkdakhm 1291 yukhkhxngxditsmaphnthrthswis aekikh chwngthithuxidwaepnchwngkhxngkarkxtngpraethsswitesxraelndhruxsmaphnthrthswisxyangepnthangkarerimkhunemuxwnthi 1 singhakhm kh s 1291 emuxmnthl 3 mnthlinekhtethuxkekhaaexlp khux Uri Schwyz aela Unterwalden idrwmtwknkhunepnxditsmaphnthrthswis Old Swiss Conferderation hruxthieriykepnphasaeyxrmnwa Alte Eidgenossenschaft sungkarrwmklumniimidepnipephuxtxngkaraeykxxkepnpraeths aetephiyngephuxtxngkarcatxtanxanackhxngrachwngshbsbwrk xyangirktamkarrwmklumkhrngniimidrbkaryxmrbcakrachwngshbsbwrkaelamikarthasngkhramkneruxyma inpi1315 klumkhxngchawbanthiepnthharkhxngswisinsmynnkthasngkhramchnathharkhxngrachwngshbsbwrkinsngkhram Morgaten hlngcaknnemuxng Zurich Lucerne Glarus Zug aela Bern kidekharwmepnxditsmaphnthrthswis aelaidmikareriykchuxklumkarrwmtwkhxngmnthl 8 mnthlniwa Schwyz phayhlngcakkarrwmtwniaelw kyngkhngmikarrwmtwkhxngmnthltang xyueruxy cnemuxsinsudpi kh s 1513 kmimnthlekharwmthnghmd 13 mnthlphayhlngcakthimikarrwmtwkninpi 1513 aelw kyngkhngmikarthasngkhramknphayinphunthikhxngpraethsswitesxraelndinpcucbnxyueruxy odyswnihycaepnsngkhramthangsasna aetsngkhramthiyawnanthisud khux sngkhram 30 pi Thirty Years War kh s 1618 1648 sunginchwngaerkkhxngsngkhramniepnsngkhramrahwangsasnakhristnikaykhathxlikkbopraetsaetnth aettxmasngkhramidkhyaywngkwangipepnsngkhramkarkhyayxanacphayinthwipyuorp sngkhram 30 pisinsudlngemuxmikarprakassntiphaph Peace of Westphalia aelasubenuxngmacak Peace of Westphalia niexng praethssmaphnthrthswitesxraelndprakasaeyktwxxkcakxanackrormnxnskdisiththixyangepnthangkarinpi kh s 1648inyukhthirachwngskhxngfrngesserimekhamamibthbathinprawtisastryuorp kxngthphkhxngnopeliyn Napolean Bonaparte kekhakhrxbkhrxngswitesxraelndaelasthapnaepnsatharnrthehlewtikh inpi kh s 1798 thaihdinaednkhxngswitesxraelndthukrwmekhaipepnswnhnungkhxngpraethsfrngess txmainpi 1803 phayitkarpkkhrxngkhxngnopeliynidmikarrwbrwmmnthltang insmaphnthrthswisxikkhrngnxkcaknnyngidsthapnaekht 6 ekht khux khunepnmnthlihm inpi 1815 idmikarsthapnasmaphnthrthswiskhunmaihm thikhxngekrsaehngewiynna Congress of Vienna khun odymikarephimcanwnmnthlekhaipxik 3 mnthl inkhxngekrsniexngidmikarlngnamihpraethsswitesxraelndepnpraethsthiepnklangthangkaremuxng khuxepnkarprakaswapraethsswitesxraelndcaepnesnaebngekhtaednimihmikarthasngkhramknrahwangfrngess eyxrmni aelaxxsetriy aelaidmikarprakasichrththrrmnuyinpi 1848 Fereral Constitution sunginrththrrmnuyrabuihemuxng Bern epnemuxnghlwngkhxngsmaphnthrth odymiphasathiichepnphasathangkar 3 phasa khux phasaeyxrmn phasafrngess aelaphasaxitali chwngsngkhramolkkhrngthi 1 aelakhrngthi 2 aekikh inchwngsngkhramolkkhrngthi 1 aelakhrngthi 2 praethsswitesxraelndidwangtwepnklangthangdankarthhar 20 bthbathsakhyephiyngxyangediywkhxngpraethsswitesxraelndinsngkhramolkkhrngthi 1 kkhuxkarsngsphakachadekhamachwyehlux emuxsngkhramolkphanphnip klinxayaehngsngkhramklbthaihesrsthkickhxngswitesxraelndtktalng 21 aelaerimfunfukhunihminchwngpi ph s 2473 kh s 1930 yukhniyngepnyukhaehngkarthuxkaenidkhxngsilpinchuxdngxikdwy phayhlngsngkhramolkkhrngthi 1 nkhrecniwaidklayepnthitngkhxngsnnibatchatiinchwngsngkhramolkkhrngthi 2 thungaemwapraethsswitesxraelndcawangtwepnklang nasieyxrmniidwangaephnthicayudpraethsswitesxraelndephuxesnthanginethuxkekhaaexlprahwangeyxrmni xitali aetthangswitesxraelndidtketuxnwa thakxngthpheyxrmnbukekhamayngswitesxraelnd prachachnthnghmdcalukkhuntxtanxyangthungthisudephraaprachachnchawswitnnidepnthharknhmdaelwaelaphrxmcaradmphlidthukemux nxkcaknncaraebidthalaythnnesnthangxikdwy cungthaihnasieyxrmntxngykelikocmtiipthaihswitesxraelndsamarthrksakhwamepnklangaelaexkrachiwidtlxdmainsngkhramolkkhrngthi 2 aetswitesxraelndklbmibthbathsakhyinthangdanesrsthkicinchwngsngkhramolk khrngthisxng khuxthnakharkhxngpraethsswitesxraelndidklayepnsthanthiephuxichaelkepliynenginphidkdhmaykhxngphwknasieyxrmnkhrnghnung xdxlf hitelxr ekhymikhwamphyayamthicasngkxngthpheyxrmnbukswitesxraelnd 22 aemswitesxraelndcaprakaskhwamepnklangmahlayrxypiaelwktam ptibtikardngklaw eriykknwa Operation Tannenbaum mikhwamphyayamtngaetpi 1940 1944 aetimekhymikarbukcring miephiyngkhwamehnkhxngfngeyxrmnithimxngwa rabxbkaremuxngkhxngswitesxraelnd epnphwkxnathipitythinarngekiyc aelaphwkekhakhuxxikhnungstruthiaethcringkhxngeyxrmni 23 epnsiwesiynbnibhnakhxngyuorp aelaphwkekhalumipaelwphwkekhakhuxswnhnungkhxngera chnechuxsayeyxrmnepnhnunginechuxsaysakhykhxngchawswitesxraelnd inkhwamepncring switesxraelndkmikaretriymrbmuxkbeyxrmniechnkn ehnidcakkhaichcaythangkarthharthiephimsungkhunxyangminyyasakhy phayhlngcakthinasikhunkhrxngxanacineyxrmniaelwcak 15 lanfrngkh epn 90 lanfrngkh xyangirktam karrbimekhyekidkhuncring enuxngcaksphaphphumipraethsinswitesxraelndthiyaktxkarsngkalngrb rwmthngkhwamwunwayinaenwrbxun xikthngkhwamimaennxnkhxngxitali sungtxmathukkxngkalngsmphnthmitrbukocmticakthangit thaihaephnkar Tannenbaum thukykelikipinthisud yukhhlngsngkhramolkkhrngthi 2 aekikh phayhlngcaksngkhramolkkhrngthi 2 sinsudlnginpi ph s 2488 kh s 1945 idmikarkxtngxngkhkarshprachachati khun odymisanknganihythishrthxemrika aelasanknganphakhphunyuorpthinkhrecniwa praethsswitesxraelnd inxakharthiekhyepnthitngkhxng snnibatchati edim praethshlaypraethsidekharwmepnsmachikkhxngxngkhkarshprachatiaetpraethsswitesxraelnd sungepnecabanklbimidekharwmepnsmachikinsmyaerk enuxngcakswitesxraelndyunynyudmninhlkkarkhwamepnklangxyangekhrngkhrd odyxngkhkarsaklaehngaerkthiswisekharwmepnsmachikphayhlngsngkhramolkkhrngthi 2 khuxxngkhkar UNESCO sungekharwminpi ph s 2491 kh s 1948 praethsswitesxraelndtdsinicekharwmepnsmachikkhxngxngkhkarshprachachatiemuxpi ph s 2545 kh s 2002 txmainpi 2548 prachachnchawswitesxraelndidthakarlngprachamtiephuxihpraethsswitesxraelndekharwmepnpraethsinsnthisyyaechngekn Schengen Agreement tamkhxkahndinsnthisyyaechngekn nkthxngethiywthimiibxnuyatechngekn Schengen Visa aebbmltiephilkhxngpraethsidpraethshnungsungepnsmachikkhxngklumechngeknsamarthedinthangekhaxxkpraethsxun inklumechngeknidodyimtxngkhxwisakhxngpraethsnn pccubnpraethsinklumechngeknmidwyknthnghmd 27 praethsrwmthng praethsebleyiym praethsfrngess praethsxitali praethslkesmebirk praethsenethxraelnd praethsednmark praethskris praethsoprtueks praethssepn praethseyxrmni praethsxxsetriy praethsfinaelnd praethsswiedn praethsnxrewy praethsixsaelnd praethsmxlta satharnrthechk praethsexsoteniy praethshngkari praethsopaelnd praethssolwaekiy praethssolwieniy praethsltewiy praethslithweniy praethsomnaok aela praethsokhrexechiykaremuxngkarpkkhrxng aekikh phrarachwngshphnthrthswitesxraelnd aetlarthmirththrrmnuyaelarthbalthxngthinkhxngtnexngodymixisracakkarbriharrachkarkhxngswnklang xanacnitibyytikhxngsmaphnth xyuthirthsphaaehngsmaphnth Federal Assembly brihar aekikh inkarbriharrachkarswnklang xanacbriharcaxyuthikhnarthmntrieriykwa the Federal Council sungmismachikeriykwa Federal Councillor mntriaehngsmaphnth mithnghmd 7 khn thahnathikhwbkhumbriharnganinhnwynganradbkrathrwng 7 aehng rthsphaaehngsmaphnthepnphueluxkmntriaehngsmaphnth miwaradarngtaaehnng 4 pi aelaincanwnmntriaehngsmaphnththng 7 khn caidrbeluxkcakrthsphaaehngsmaphnthphldepliynknkhrnglahnungkhn ephuxdarngtaaehnngprathanathibdisungmiwarakardarngtaaehnng 1 pi odymisthanaepn the first among equals dngnn prathanathibdiswiscungimmikareyuxntangpraethsinthanapramukhaehngrth 24 nitibyyti aekikh sungprakxbdwysphaaehngchati National Council aela sphaaehngrth Council of States thngsxngsphamixanachnathiechnediywknsphaaehngchati idrbeluxktngcakprachachnodytrngmicanwn 200 khn aetlarthcamicanwnphuaethnkhxngtnmaknxytamcanwnprachakr 1 34 000 aetxyangnxythisud aetlarthcamiphuaethn 1 khn sphaaehngrth micanwnsmachik 46 khn odyaetlarthmiphuaethn 2 khn kardaeninnganthisakhykhxngrthsphaaehngsmaphnth krathaphan standing committees dantang xathi karkhlng kartangpraeths esrsthkic withyasastraelakarwicy karthhar sukhphaphaelasingaewdlxm karkhmnakhm phlngngan lnbtngaet kh s 1959 epntnma switesxraelndidpkkhrxngaelabriharodyphrrkhkaremuxnghlk 4 phrrkh idaek phrrkh Radical Democratic RDP phrrkh Social Democratic Party SDP phrrkh Christian Democratic People s Party CDP aelaphrrkh Swiss People s Party SVP sungepnthrrmeniymptibtiwa aetlaphrrkhcaidrbcdsrrtaaehnngmntrikhxngsmaphnthphrrkhla 2 khn ykewn Swiss People s Party id 1 khn nxkcaknn phucadarngtaaehnngmntriaehngsmaphnthcamacak Canton ediywknekin 1 khnimid aelaepn thrrmeniymwacatxngmiphuaethncak 3 Canton hlk idaek Zurich Berne aela Vaud aehngla 1 khn lksnaphiesskhxngrabbprachathipityaebbswiskhux xanacsungsudinthangnitibyytimiidxyuthisphaaetxyuthiprachachnodytrng ephraatamrththrrmnuyprachachnmisiththiinkarxxkesiyngprachamti referendum aelakarrierim initiative klawkhux kdhmaythukchbbthiphansphaaehngsmaphnthaelw cayngimmiphlbngkhbich epnkdhmay catxngrxihkhrb 90 wnesiykxn inrahwangnnprachachncamisiththikhdkhanodycatxngekhachuxrwmknimnxykwa 50 000 khn ephuxihmikarcdthaprachamti swnxanacinkarrierimkhxngprachachncasamarthichinkaraekikhrththrrmnuy odyprachachntxngekhachuxrwmknimnxykwa 100 000 khn ephuxihprachachnthngpraethslngprachamti tulakar aekikh danxanactulakar salchntnaelasalchnklangcaepnsalkhxngmnthl odyichkdhmaysmaphnthrwmdwy aela prachachnepnphueluxktngphuphiphaksaodytrng aemaetphuphiphaksasmthbkxacepnbukhkhlthiprakxbxachiphxun thiidrbeluxkcakkhninthxngthin swnsaldikaaehngsmaphnth Federal Supreme Court mi thitngxyuthiemuxngolsann ephuxennkaraebngaeykxanaccakrthbalklangthikrungaebrn saldikaepnthngsalaephngaelasalxaya prakxbdwyphuphiphaksapraman 30 khn thiidrbeluxktngcakrthsphaaehngsmaphnth karaebngekhtkarpkkhrxng aekikh nbtngaet kh s 1848 ph s 2391 switesxraelndiderimichrabbkarpkkhrxngprachathipityaebbrthspha aetmilksnakarrwmtwkhxngrthtang xyuphayitrthbalklang eriykwa smaphnthrth sungprakxbdwy 26 rth xngkvs cantons eyxrmn Kanton idaek ekhtkarpkkhrxngkhxngswitesxraelnd rth emuxnghlwngrth rth emuxnghlwngrth xareka xaera nidwledin chstns xphephinthesllexasesxroredin ehriesa xxbwledin sarenin xphephinthesllxinenxroredin xphephinthesll chfehaesin chfehaesin baesil lnthchfth listhal chwis chwis baesil chtdth baesil osolthwrn osolthwrn aebrn aebrn sngkhthklelin sngkhthklelin fribur fribur thwreka efraexineflth ecniwa ecniwa tichion ebllinosna klarus klarus xuri xlthdxrf ekrabunedin khur wael siyng chura edxelmng ow olsan luesirn luesirn sukh sukh enxchaaetl enxchaaetl suxrich suxrich kingrthmiehlanimiphuaethnephiynghnungkhn pktimisxng insphaaehngrthswis rthehlanimiprachakrepncanwnrahwang 15 000 khn rthxphephinthesll xinenxroredin aela 1 253 500 khn rthsuxrich aelamikhnadphunthirahwang 37 tarangkiolemtr rthbaesil chtdth aela 7 105 tarangkiolemtr rthekrabunedin rthaetlaaehngcami ethsbal xngkvs communes eyxrmn Gemeinden rwmthnghmd 2 889 ekhtethsbalchuxtxipniepnekhtpkkhrxngthimidinaednkhxngswitesxraelndoxblxmxyu buxsingengin Busingen epndinaednkhxngpraethseyxrmni aelakmpioxendixitaeliy Campione d Italia epndinaednkhxngpraethsxitali karprachumemuxngaebb Landsgemeinde epnrupaebbekakhxngprachathipityodytrng sungyngptibtixyuinrthsxngrth prachathipityodytrng aekikh khxmulephimetim karlngkhaaennesiynginswitesxraelnd karlngprachamtiodybngkhb aela karlngprachamtiodyeluxk prachathipityodytrngaelashphnthrth epnexklksnkhxngrabbkarpkkhrxngkhxngswitesxraelnd 25 prachachnchawswisaetlakhncaxyuitkarpkkhrxng 3 radb khux ethsbal rth aekhnthxn aelashphnthrthrththrrmnuypi 2391 2542 idkahndklikthangprachathipityodytrnghlayxyang karpkkhrxngaebbnibangkhrngcungeriykwa prachathipitykungodytrng hrux prachathipityodytrngaebbmiphuaethn klikeyiyngniinradbshphnthrththieriykwa siththiprachachn xngkvs popular rights eyxrmn Volksrechte frngess droits populaires xitali Diritti popolari 26 rwmsiththikaresnx karrierimepliynrththrrmnuyshphnthrthodyprachachn aela karkhx lngprachamti thisamarthlmkdhmaythixxkodyrthsphaid 27 28 krabwnkarnithaihprachachnklumidklumhnungxactxsukbkdhmaythixxkodyrthspha thasamarthrwbrwmlayesn 50 000 rayhlngcakthikdhmayprakasichepnthangkarphayin 100 wn thasaerc kcamikarcdihxxkesiyngthngpraeths thiprachachncatdsinodyesiyngkhangmakwa cayxmrbhruximyxmrbkdhmay rth 8 rthrwmknyngsamarthrxngihmikarlngprachamtitxkdhmaykhxngshphnthrthiddwy 27 odykhlay kn karrierimepliynrththrrmnuyshphnthrthodyprachachnxnuyatihprachachnrxngihlngprachamtiephuxephimbthbyytiinrththrrmnuy thasamarthrwbrwmlayesn 100 000 rayidphayin 18 eduxn aetrthbalthngfaybriharhruxfaynitibyytiksamarthesnxkarephimbthbyytitxbotekhiyngkhukbthiprachachnesnx odyprachachncabngkhwamchxbicinbtreluxktngephuxkrnithikhxesnxkhxngprachachnaelakhxesnxtxbotthngsxngidkhaaennesiyngyxmrbehmuxnkn karepliynrththrrmnuy imwacaesnxodyprachachnhruxrthspha txngidkhaaennesiyngkhangmakcakthngprachachnthwpraethsaelarththukrthnoybaytangpraethskhxngswitesxraelnd aekikhkxnpi kh s 1980 noybaytangpraethskhxngswitesxraelndyudhlkkar 4 prakar khux khwamepnklang neutrality khwamminahnungicediyw solidarity khwamepnsakl universality aelakhwamepnpraoychntxswnrwm availability txmaemuxkickartangpraethserimmiswnekiywphnkbkickarsakhaxun odyechphaaesrsthkic karengin singaewdlxm aelakdhmay aelakarthiolkekhasuyukholkaphiwthnaelahnwynganhrux xngkhkrtang iderimmibthbathinkickartangpraethsmakkhun thaihswitesxraelndtxngprbepliynnoybaykartangpraeths aelaidcdthasmudpkkhawwadwynoybaytangpraethsswitesxraelndinstwrrsthi 90 sungidrb khwamehnchxbcakrthbalinpi kh s 1993 noybaytangpraethskhxngswitesxraelndsahrbpi 2545 srupiddngni karekhaepnsmachikxngkhkarshprachachati aekikh switesxraelndihkhwamsakhyladbaerktxkarekhaepnsmachikxngkhkarshprachachati khnanirthbaliderngrnrngkhihprachachnekhaicaelatrahnkthungkhwamsakhykhxngxngkhkarshprachachati inswnkhxngphrrkhrwmrthbalthngsiphrrkh idihkhwamehnchxbtxkarekhaepnsmachikdngklaw aelaidcdkarlngprachamtithwpraethsinwnthi 3 minakhm 2545 odykxnhnannemuxeduxnminakhm kh s 1986 rthbalswitesxraelndidcdkarlngprachamtikarekhaepnsmachikshprachachati aetprachachnswisswnihyimehndwyenuxngcakekrngcaesiykhwamepnklangsungepnnoybayhlkkhxngpraethstlxdma aetinkarlngprachamtiemuxwnthi 3 minakhm kh s 2002esiyngswnihykhxngprachachnswisaelaesiyngswnihykhxngrth Canton idlngmtiihkhwamehnchxbkarekhaepnsmachikshprachachatikhxngsmaphnthrthswis odyphulngmtiehndwykhidepnrxyla 54 61 phulngmtiimehndwyrxyla 45 39 aelarth Canton thiesiyngswnihyehndwymicanwn 12 rth cakcanwnrth thnghmd 23 rth karlng prachamtikhrngnimiprachachnxxkmaichsiththirxyla 57 7 thngni smaphnthrthswisidyunibsmkhrekhaepnsmachik shprachachatixyangepnthangkaraelaidekhaepnsmachikxngkhkarshprachachatiinchwngkarprachumshprachachatismysamy khrngthi 57 ineduxnknyayn kh s 2002 karecrcathwiphakhikbshphaphyuorp aekikh rthbalswischudpccubnidprakasepnnoybayaenchdthicaekhaipmibthbathinewthikaremuxngrahwangpraethsihmakkhun xathi karcaekhaepnsmachikshprachachati aelakarphyayamcasmkhrekhaepnsmachikshphaphyuorp enuxngcakehnwa switesxraelndcaimsamarthxyuxyangoddediywidxiktxip inpi kh s 1992 switesxraelndidcdkarlngprachamtiekiywkbkarekhaepnsmachikekhtkarkhaesriyuorp European Economic Area aetimidrbkhwamehnchxb rthbalcunghathangxxkodykarepidkarecrcakbshphaphyuorptngaeteduxnthnwakhm kh s 1994 ephuxthakhwamtklngthwiphakhiin 7 sakha khux karekhluxnyaybukhkhlaelaaerngnganesri karwicy karkhnsngthangbk karbin karepidesrithangkarkha karihsiththiphakhexkchnkhxngpraethsshphaphyuorpaelaswitesxraelndekhaippramulhruxdaeninkickrrmthiepnkarcdsuxodyrthinxikpraethshnungidethaethiymkhnchati karldxupsrrkhkarkharahwangkn aelaemuxwnthi 21 mithunayn kh s 1999 switesxraelndaelashphaphyuorpid lngnamkhwamtklngdngklawsungsphaaehngchatikhxngswitesxraelndidihstyabnkhwamtklng emuxwnthi 8 tulakhm kh s 1999 aelaphankarlngprachamticakprachachnrxyla 62 7 emuxwnthi 21 phvsphakhm kh s 2000 rwmthngidphankarihstyabncakrthsphaebleyiymepnpraethssmachikshphaphyuorppraethssudthayaelwemuxeduxnthnwakhm kh s 2001 sunghlngcaknn rthbalswitesxraelndiderimkarecrcathwiphakhikbshphaphyuorpxik 10 sakha khux karbrikar karcayenginbanay karaeprrupsinkhaekstr singaewdlxm sthiti karsuksa kickareyawchn bychienginfakthnakhar khwamrwmmuxephuxtxtankarchxokng aelakhwamrwmmuxdankarsasna kickartarwcaelakarxphyphyaythinthan xyangirktam mikraaeseriykrxngihepidkarecrcakbshphaphyuorpodythnthiephuxerngrdkarekhaepnsmachikshphaphyuorpkhxngswitesxraelnd sungrthbalswisimehndwykbkhxeriykrxngni enuxngcakehnwa switesxraelndcaphrxmepidkarecrcakbshphaphyuorpinchwngrahwangpi 2004 2007 aelaxacphrxmthicaekhaepnsmachikshphaphyuorphlngpi 2010 aetemuxmiprachachn 100 000 khn ekhachuxeriykrxngihcdkarlngprachamti rthbalswiskidcdkarlngprachamtikhunemuxwnthi 4 minakhm 2001 phlpraktwaprachachnkwarxyla 76 7 lngkhaaennimehndwy sungswnihyphusnbsnunkarepidkarecrcakbshphaphyuorp caepnchawswisinekhtswis frngess inkhnathichawswiseyxrmnekinrxyla 85 lngkhaaennimehndwy khwamsmphnththwiphakhiswitesxraelndkbpraethsexechiy aepsifik aekikh rthbalswitesxraelndihkhwamsakhytxkarphthnakhwamrwmmuxkbpraethsexechiyaepsifik thngindankaremuxng esrsthkic aelaiderimmitiihmtxkarphthnakhwamrwmmuxdanethkhonolyi aet nay Deiss idyxmrbwarthbalswitesxraelndmibthbathaekhngkhninkarchwyehluxphthnapraethsexechiyit echn pakisthan enpal phuthan xinediy bngkhlaeths aelaexechiyklang echn khirkissthan sungkhwamchwyehluxswnihycathainkrxbkhwamrwmmuxphhuphakhiphayitxngkhkarrahwangpraeths aelamiklumphuechiywchayinsakhatang pool of experts kwa 600 khn sungphrxmcaedinthangipihkhwamrwmmuxchwyehluxdanethkhonolyi sahrbxfkanisthannn switesxraelndekhaipmibthbaththnginkarecrcadankaremuxngaelaidmxbkhwamchwyehluxdanmnusythrrmphansankngankhahlwngihyphuliphyaehngshprachachati UNHCR aelaxngkhkarkachadsakl ICRC epnmulkhakwa 17 lanfrngkhswisinpi kh s 2001 odyihkhwamsakhykbkar chwyehluxfunfupraethsaelakarykradbkhwamepnxyukhxngstri aetcaimekharwminkxngkalngrksasntiphaph aelainkhrungaerkkhxngpi kh s 2002 switesxraelndkahndcaepidsankngantidtx coordination Office thikrungkhabul aetinkhnaniyngichchxngthangkartidtxphansthanexkxkhrrachthutswitesxraelndpracapakisthankxngthph aekikh ekhruxngbinrb F A 18 Hornet khxngkxngthphxakasswitesxraelnd kxngkalngswisprakxbdwykxngthphbkaelakxngthphxakas sungmacakthhareknthepnswnihyodymichwngxayutngaet 20 thung 34 pi inkrniphiessimekin 50 pi switesxraelndepnpraethsthiimmithangxxksuthaelcungimmikxngthpherux xyangirktaminthaelsabthimiphrmaedntidkbpraethsephuxnbancaicheruxladtraewnthangthhartidxawuthemuxekidehtuchukechin odymikdhmayhammiihphlemuxngswisrbrachkarinkxngthphtangpraethsykewn Swiss Guards of the Vatican hruxewnaetepnphlemuxngsxngsychatiintangpraethsaelaxasyxyuthinn 29 rthbalswitesxraelndmikdhmayxnuyatihthharthukkhnsamarthekbrksaxawuthiw n thiphkxasykhxngtnexngid aelaswitesxraelndthuxepnhnunginpraethsthimikxngkalngxasaephshying sungprachakrhyinghlaykhnsmkhricekharwmkxngthphswisodythukpithukpicamiphuekharbkarfuk n khaythharpraman 20 000 khnepnrayaewlatngaet 18 thung 21 spdah 30 esrsthkic aekikhphawaesrsthkic aekikh inchwngkhriststwrrsthi 19 20 idmikarprbepliynokhrngsrangesrsthkickhrngihykhxngswitesxraelnd karcangnganinphakhekstrkrrmldlngcakrxyla 60 khxngpi ph s 2393 kh s 1850 ehluxephiyngrxyla 30 inpi ph s 2454 kh s 1911 aelatngaetpi ph s 2533 kh s 1990 epntnma miaerngnganephiyngrxyla 5 thixyuinphakhekstrkrrmphakhxutsahkrrmerimmibthbathtngaetpi ph s 2423 kh s 1880 aelaphakhbrikarerimekhamatngaetchwngthswrrsaerkkhxngkhriststwrrsthi 20 phawaesrsthkictktainchwngpi ph s 2534 2539 kh s 1991 1996 epnphlcakmatrkarthangkarenginthiekhmngwd khxngswitesxraelndexngaelakarchalxtwthangesrsthkickhxngpraethskhukhahlkkhxngswitesxraelnd 31 inchwngpi ph s 2540 2542 kh s 1997 1999 sphawaesrsthkicswiterimfuntwtxenuxnginxtrarxyla 1 8 txpi matrkartang ephuxkratunkaretibotthangesrsthkicthithnakharchatiswisnamaichthaihkhakhxngenginfrngkswitldlngekuxbrxyla 10 rwmthngsphawakaretibotkhxngesrsthkicolk epnpccythiexuxihkarsngxxkkhxngswitesxraelndephimkhun inkhnaediywknphawakarcangnganphayinpraethsthiephimkhunkchwyihkarbriophkhphayinpraethssungkhundwy 32 aemwaswitesxraelndcamikhacangaerngngansungepnxndbsamkhxngpraethsxutsahkrrmrxngcakednmarkaelanxrewy aetemuxethiybkbxtraenginefxthikhxnkhangta aerngnganthimikhunphaphsung bwkkbtnthunthangsngkhmthikhxnkhangta thaihswitesxraelndidrbkarcdxndbepnpraethsthimikhwamsamarththangkaraekhngkhnsungsudepnxndbthi 9 khxngolk inpi ph s 2543 kh s 2000 phakhbrikarkhxngswitesxraelndmikarcangngankwasxnginsamkhxngkarcangnganthnghmd rayidprachachatikwasxnginsammacakphakhbrikar thisakhyidaek phakhbrikarphuphlit xathi brikardankarengin karpraknphy thurkicxsngharimthrphy aelaxun thiekiywkhxngsungtharayidthunghnunginsam 33 phakhbrikarkarcahnay echn karkha karkhnsng karsuxsarothrkhmnakhm phakhbrikarsngkhm echn sukhphaph karsuksa phakhrachkar brikardanwthnthrrm aela karphkphxn phakhbrikarbukhkhl personal services xathi karthxngethiyw brikartang sahrbkhrweruxn aelabrikarraybukhkhlxun 34 phakhxutsahkrrmkhxngswitesxraelndichethkhonolyikhnsung aempraethscamikhnadelkaetmibristhkhamchatimakmaythitngxyuinswitesxraelnd xathi danxahar Nestle ewchphnth Novartis Roche wiswkrrm ABB xutsahkrrmekhruxngckrkl ekhmiphnth aelaewchphnth tharayidcakkarsngxxksungsudkhxngswitesxraelnd karcangnganphakhxutsahkrrmkwakhrunghnungxyuinphakhkarphlitsinkhaphwkekhruxngckrkl ekhruxngiffaaelaekhruxngehlk karaekhngkhakhxngenginfrngkthaihphakhxutsahkrrmphyayamldkhaichcayodykarphthnaphlphlitihmikhunphaphsungmakkhun xutsahkrrmekhruxngckrklkhxngswitesxraelndepnxutsahkrrmthidithisudinolk pccubnswitesxraelndepnpraethsthimngkhngthisudpraethshnung inpi 2543 GDP txhw sungthung 33 464 dxllarshrth sungsungepnthisamkhxngolkrxngcakyipun aelashrthxemrika karetibotthangesrsthkicephimkhuncakrxyla 1 5 inpikxn epnrxyla 3 4 inpi 2543 sungepnxtrasungsudinrxbsibpipi ph s 2543 esrsthkicswisetibotsungsudnbtngaetpi ph s 2532 kh s 1989 epntnmaenuxngcakkarkhyaytwkhxngesrsthkicolk xtradxkebiythita aelakarxxnkhaenginfrngkswis GDP inpi 2543 mixtrarxyla 3 4 karsngxxkephimepnsxngethainkhnathikarnaekhakephimsungkhun karlngthunephimepnrxyla 10 3 ethiybkbrxyla 9 khxngpi 2542 swnxtrakarwangnganldlngcakrxyla 2 7 epnrxyla 2 xtraenginefxrxyla 1 6krathrwngkarkhlngraynganwa inchwngaepdeduxnaerkkhxngpi kh s 2001 karsngxxkephimkhunrxyla 5 khidepnmulkha 88 533 lanfrngk aelanaekhaephimkhunrxyla 2 4 khidepnmulkha 88 719 frngk khaddulkarkha 90 5 lanfrngk xtrakarwangnganxyuthirxyla 1 7 sungthuxwaxyuineknththitaemuxethiybkbpithiphanma karkhadkarnsphawaesrsthkicpi 2000 aekikh thnakhar UBS praeminwa esrsthkicswiscaetibotrxyla 1 inpi kh s 2002 aetsmaphnthrthswiscaimtkxyuinphawaesrsthkicthdthxyehmuxnchwngkhrungaerkkhxngpi kh s 2001 thngni epnphlcaknoybayaelakardaeninkarxyangmiprasiththiphaphaelathnkarnkhxngthnakharchatiswisaelaenuxngcaktladaerngnganmikhwamyudhyunsung initrmasthisxngkhxngpi kh s 2001 GDP khxngsmaphnthrthswisetibotrxyla 1 7 odyechliykaretibotinaetlaitrmasxyupramanrxyla1 5 2 sungsungkwaeyxrmni 0 1 frngess 1 aelaxitali 0 1 aettwelkhkar etibotinkhrungaerkkhxngpi kh s 2001 aeladchnitang chiwakaretiboterimchalng khaichcayinkarlngthunerimldlnginitrmasthisxngenuxngcakesrsthkicolkchalxtw khaenginfrngkswissungkhunaelakalngsuxkhxngphubriophkhphayinpraethsephiminxtrathita UBS khadwapi kh s 2002 karetibotthangesrsthkiccaehluxephiyngrxyla 1 aelaxtraenginefxpi kh s 2002 caethakbrxyla 1 ephraapccytang xathi rakhasinkhacaimsungkhunmak xtradxkebiythildlng xtrakarephimkhacangaerngngankcachalng aelaenginfrngkswisthiaekhngkhakhuncachwyldphlkrathbcakrakhasinkhaekhathiephimkhun karphthnathangesrsthkic aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidswitesxraelndkhadaekhlnthrphyakrthrrmchati phunthi 2 in 3 khxngpraethsepnphuekha ephiyng 1 in 4 khxngphunthithnghmdethann thisamarththakarephaapluk sungphlitphlkarekstrsamarthrxngrbkhwamtxngkardanxaharkhxngpraethsidekinkwakhrunghnung aetswiskhadaekhlnwtthudib cungtxngnaekhawtthudibaelasngxxkklbipinrupkhxngphlitphnthkhunphaph cungtxngnaekhasinkhaaelawtthudib khukhasakhykhxngswitesxraelndidaeksmachikxngkhkarkhwamrwmmuxthangesrsthkicaelakarphthna Organization for Economic Cooperation and Development OECD esrsthkicswisphukphnkbesrsthkicyuorpxyangmakodyechphaaeyxrmni switesxraelndnaekhacakshphaphyuorprxyla 63 eyxrmnirxyla 23 aelasngxxkipshphaphyuorpkwarxyla 80 eyxrmnirxyla 33 35 switesxraelndkhaddulkarkhatlxdmaewnaetinchwngesrsthkicchalxtwchwngthswrrs 1960 sungsngphlihkarnaekhaldlng aemwaswitesxraelndcakhaddulkarkhakbpraethsxutsahkrrmswnihykhxngyuorp ykewnxngkvs aetswitesxraelndiddulkarkhacakpraethsthiphthnanxykwaechn sepn oprtueks aelapraethskalngphthna ekhruxngckrkl xupkrniffa ekhmiphnth phlitphnththangewchkrrm nalika aelaxymni epnsinkhasngxxkhlkkhxngswitesxraelnd sinkhanaekhahlkidaekekhruxngckrkl xupkrniffa nalika ekhmiphnth 36 phlphlitthangkarekstr olha singthx aelaekhruxngaetngkay sungaesdngihehnwaswitesxraelndepnpraethsthinaekhawtthudibodyichaerngnganthimikhunphaphsungkhxngtnaeprrupihepnsinkhaxutsahkrrmthimimulkhasung karsngxxkphakhbrikarkhxngswitesxraelndinchwngpi 1996 1999 ephimpramanrxyla 6 5 txpi odymisdswnrxyla 20 khxngkarsngxxkthnghmd karthxngethiywkepnswnsakhykhxngxutsahkrrmbrikarswitesxraelndiddulbychiedinsaphdepnsdswntxrayidprachachatisungsudkhxngolk kariddulcanwnmakniepnphlcakkarthathurkrrmdanbrikar odyechphaaphakhkarengin bristhswislngthunintangpraethsmakkwabristhtangpraethsmalngthuninswitesxraelndpraman 2 5 etha karlngthunthangtrngkhxngswitesxraelndintangpraethsswnihyxyuinshphaphyuorp aela shrthxemrika inkhnathishphaphyuorpmisdswnkarlngthuninswitesxraelndepnsxnginsamkhxngkarlngthuntangpraethsinswitesxraelnd karthxngethiyw aekikh dubthkhwamhlkthi karthxngethiywinswitesxraelnd swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidokhrngsrangphunthan aekikhkhmnakhm aela othrkhmnakhm aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidwithyasastr aela ethkhonolyi aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidsatharnsukh aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarsuksa aekikh enuxngcakpraethsswitesxraelndimmithrphyakrthangthrrmchati karsuksaaelaaehlngkareriynrucungkarepnthrphyakrsakhy dngnn praethsswitesxraelndcungthukklawthungwamirabbkarsuksathidiaehnghnungkhxngolkenuxngcakrthaetlarthmihnathirbphidchxbinkarbrikarthangsuksa radbxnubal mthymsuksa mhawithyaly thaihkarsuksanixaccaaetktangkninrahwangrth 37 praethsswitesxraelndmimhawithyalyrwm 11 aehng sung 9 aehngdaeninkarodyrthtang xik 2 aehngdaeninkarodysmaphnthrth odyaebngradbkarsuksaxxkdngtxipni 38 1 radbxnubaledkchawswisimcaepnthicatxngekhaeriynradbxnubalhruxphupkkhrxngxaccaihbutrhlanekhaeriynradbxnubalepnewla 1 pihrux 2 pikid2 radbprathmsuksaepnrabbkarsuksaphakhbngkhb odykxnthinkeriyncaekhaeriynorngeriynprathmsuksa nkeriynswnihymkcaekhaeriyninorngeriynxnubalkxn3 radbmthymsuksatxntninradbmthymsuksatxntnodythwipcatxcakprathmsuksaxik 3 pi ekrd 7 thungekrd 9 aetinbangrthradbnicatxcakprathmsuksaxik 5 pi odyerimtnthiekrd 5 aelabangrthcatxcakprathmsuksaxik 4 pi odyerimtnthiekrd 6 inradbnicaihkarsuksaodythwip aelaetriymtwsahrbnkeriynthicaekhaeriynkarsuksasayxachiwaradbphunthan hruxsahrbnkeriynthicaoxnekhasuorngeriynsaysamyinradbmthymplay 39 4 radbmthymsuksatxnplayradbnicaaeykrahwangnkeriynthitxngkareriynsaysamyaelasayxachiwa odynkeriynthieriynsaysamycaeluxkeriynidinorngeriynetriymxudmsuksa Matura School Gymnasien hruxorngeriynechphaathang Specialised Middle Schools Fachmittelschulen swnnkeriynthitxngkarcamungsusayxachiphodytrngcaekhasukarsuksainsayxachiwasungrabbkarsuksaxachiwacakhuntrngtxkdhmaytamrthbalklangkhxngpraethsorngeriynetriymxudmsuksa Matura School Gymnasien tngxyuinrththukrthkhxngpraeths nkeriyncaerimsmkhreriynidemuxcbekrd 9 hruxekrd 10 xayu 13 14 pi caknncungeriyntx 4 piinkrniswnihy aelainbangrththiichphasaeyxrmninkarsuxsarxacamiorngeriynetriymxudmsuksathierimtngaetekrd 7 Langzeitgymnasium ichrayaewlaeriynthnghmd 6 pi hlngcakphankarsxbinradbetriymxudmsuksaaelw nkeriyncaidrbibrbrxngcakthangorngeriynsungsamarthnaibrbrxngniepnexksarinkarekhaeriynradbmhawithyaly sthabnethkhonolyiaehngchati hruxmhawithyalykhruorngeriynechphaathang Specialised Middle Schools Fachmittelschulen epnorngeriynthangdansaysamysungphthnamacakorngeriynetriymxudmsuksaaelainradbkarsuksathangxachiph sungehmaasahrbnkeriynthicaetriymtwekhaeriyninradbsayxachiphinwithyalyxachiwaradbsung aelainmhawithyalywithyasastrprayukt odysakhathiekhaeriynidaek sakhasukhphaphaelakarthanganephuxsngkhm karsuksaaelakarxxkaebb silpa odycaichewlaeriynthnghmd 3 pi5 radbxudmsuksakarsuksainradbxachiwakhnsung Higher Vocational Education and Training ihkarsuksainradbxudmsuksanxkmhawithyaly sungepnlksnaechphaakhxngkarsuksainswissunghaidyakinpraethsxun odyhlksutrkareriyncaepnsayxachiphaelabthbathkhwamepnphuna ephuxfukphnknganaelabukhkhlthiphankarsuksaxachiwaradbphunthanaelw 40 prachakrsastr aekikhechuxchati aekikh inwnthi 31 krkdakhm 2012 prachakrpraman 7 908 000 lankhn epnchawswiteyxrmnrxyla 65 switfrngessrxyla 18 switxitaeliyn rxyla 10 rumnch rxyla 1 xun rxyla 9 sasna aekikh sasnainswitesxraelnd 2012 41 religion percentormnkhathxlik 38 2 opretsaetnt 26 9 imidnbthuxsasna 21 4 sasnakhristxun 5 7 xislam 4 9 yuday 0 3 xun 1 3 prachachnrxyla 48 nbthuxnikayormnkhathxlik rxyla 44 nbthuxnikayopretsaetnth rxyla 8 nbthuxsasnaxun phasa aekikh dubthkhwamhlkthi phasainswitesxraelndpraethsswitesxraelndmiphasarachkarthngsin 4 phasaidaek 42 phasaeyxrmn rxyla 64 epnphasathimikarphudkwangkhwangthisudinpraeths thangphakhklangaelaphakhtawnxxkechiyngehnux rwm 19 rthin 26 rth phasafrngess rxyla 19 khnswnihythiphudphasafrngessinpraethsswitesxraelndnncaxyuinphakhtawntkkhxngpraeths odymi 4 rthdwyknkhux ecniwa chura nidwledin aelaow aelamixik 3 rth ebirn friburk aelawael thiichthngphasaeyxrmnaelafrngessinkarsuxsar phasaxitaeliyn rxyla 8 thangphakhitinrththichion aelaxik 4 hmubanthangitkhxngrthekrabunedin aela ormnch rxyla 1 Rhaeto Romanic phasalatinobran swnihycathukichinrthekrabunedinsungichphasainkarsuxsarmakthung 3 phasa phasaormaeniy phasaeyxrmn aelaphasaxitali sungphasaormaeniynncakhlaykbphasaxitaeliynaelafrngess sungmirakthankhxngphasamacaklatin aelayngichphudkninchnklumnxykhxng mnthl krisxngs Grisons nxkcakniswitesxraelndyngthuxwaepnchatithisuxsarphasaxngkvsidepnxyangdi 43 phasathangkarinpraethsswitesxraelnd 44 eyxrmn 62 7 72 5 frngess 20 4 21 0 xitali 6 5 4 3 rumnch 0 5 0 6 kila aekikh dubthkhwamhlkthi switesxraelndinoxlimpik aela switesxraelndinpharalimpikwthnthrrm aekikhaehlngmrdkolk aekikh praethsswitesxraelndmiaehlngthxngethiywsungmikhwamsakhyaelaidrbkarcdihepnmrdkolkthngsin 12 aehng odyaebngepnmrdkolkthangwthnthrrmcanwn 9 aehng idaek khxnaewntnkbuycxhnkhxngkhnaebendiktinthimuchitr khxnaewntaesng kal krungaebrn emuxnghlwngkhxngpraeths prasathsamhlng kaaephng aelaaenwpxngknkhxngemuxngtladndaehngebllinosna laow irxngunkhnbnid thangrthifsayriechiyinphumithsnaemnaxlbula aebrnina laoch edx fng aehlngthixyuxasyaebberuxnykphunyukhkxnprawtisastrodyrxbethuxkekhaaexlp aelangansthaptykrrmkhxngelxkxrbusieynxkcakniyngmimrdkolkthangthrrmchatixik 3 aehngidaek yungefra xaelthch phuekhaaexlpinswitesxraelnd mxnetsancxroc aelaaexngaeprsnthansarodna 45 sthaptykrrm aekikh sthaptykrrmthuxidwaepncudednxikdanhnungkhxngpraethsswitesxraelndsungmisthaptykrrmthiswyngamaelayngkhngkhwamsmburnaebb 46 sthaptykrrmokthikhtamobsthinemuxngtang echn obsthemuxng Bern epntn nxkcaknnyngmisthaptykrrminsmyerensxngs Renaissance aela aebbbarxkh Barock sungsamarthphbehnidbriewnthaelsabecniwasungmiphunthitidkbpraethsfrngess dntri aela nadsilp aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidxahar aekikh fngduw xaharthikhunchuxthisudkhxngswitesxraelnd switesxraelndepnpraethsthiidrbxiththiphlthangdanxaharmacakhlakhlayechuxchati 47 echn praethsxitali eyxrmn frngess aelaepnpraethsthiphlitnmaelachisthiidkhunphaphradbolk thaihxaharkhxngthinicamienyaelachisepnswnprakxbinekuxbthukemnu xaharkhxngswitesxraelndcaennthirschatithidielisthimacakkhunphaphthidikhxngwtthudib 48 praethsswitesxraelndinxditepnemuxngekstrkrrm odyechphaakarplukmnfrngaelakarthachis sungchisswisthimichuxesiyngxyangmak nnkhux Emmental Cheese Gruyere Vacherin aelaAppenzeller nxkcakniyngmiwtthudibthimichuxesiyngxyangmaknnkhuxchxkhokaelt chxkhokaeltswismihlakhlaykhnad ruprang aelaklin aelathuxidwaepnhnunginchxkhokaeltthidithisudinolkdwykarkhwbkhumkhunphaphinorngnganphlitaelamikarphthnaxyangtxenuxng odythangsmakhmphuphlitchxkhokaeltswis Chocosuisse ekhyklawiwwachawswisepnphuthibriophkhchxkhokaeltmakthisudinolk 49 praethsswitesxraelndmixaharthikhunchuxaelamichuxesiyngradbolkmakmay echn fngduwchis Cheese Fondue orsti Rosti mnfrnghnfxy phsmkbchisthilalayaelw Basler Leckerli khnmkhxngemuxng Basel biskisaebbdngedimkhxngpraethsswitesxraelnd Zurcher Geschnetzeltes enuxlukwwyang phaytbbd phayenuxbd Luzerner Chugelipastete 50 xangxing aekikh Switzerland Constitution article 70 Languages 1 The official languages of the Federation are German French and Italian Romansh is an official language for communicating with persons of Romansh language 2 The Cantons designate their official languages In order to preserve harmony between linguistic communities they respect the traditional territorial distribution of languages and take into account the indigenous linguistic minorities Gini coefficient of equivalised disposable income EU SILC survey ec europa eu Eurostat subkhnemux 20 October 2019 Human Development Report 2019 phasaxngkvs United Nations Development Programme 10 December 2019 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 30 April 2020 subkhnemux 10 December 2019 Berner Elizabeth Kay Berner Robert A 2012 04 22 Global Environment Water Air and Geochemical Cycles Second Edition phasaxngkvs Princeton University Press ISBN 978 1 4008 4276 6 Switzerland Map and Satellite Image geology com The history of Switzerland www myswissalps com https plus google com UNESCO 2019 09 12 Geneva Liaison Office UNESCO phasaxngkvs Schengen Area Visa Information for Schengen Countries SchengenVisaInfo com phasaxngkvs Switzerland Forbes phasaxngkvs Taylor Chloe 2019 05 20 These cities offer the best quality of life in the world according to Deutsche Bank CNBC phasaxngkvs Paris and Zurich are now the world s costliest cities due to COVID 19 euronews phasaxngkvs 2020 11 18 Global Competitiveness Report 2019 World Economic Forum phasaxngkvs 10 wthnthrrmkhxngpraethsswitesxraelnd thirphthr itrnrngkh sites google com khxmulkarthxngethiyw praethsswitesxraelnd nexttour com www nexttour com Switzerland s History history switzerland geschichte schweiz ch Brief History of Switzerland www nationsonline org Brief History of Switzerland www nationsonline org Switzerland History Encyclopedia Britannica phasaxngkvs Brief History of Switzerland www nationsonline org https www eda admin ch dam PRS Web en dokumente die schweiz in der zeit der weltkriege EN pdf Tourismus Schweiz World War II Switzerland Tourism phasaxngkvs Oord Christian 2019 02 02 To This Day The Myth Still Abounds Why Didn t The Germans Invade Switzerland WAR HISTORY ONLINE phasaxngkvs https www pbs org wgbh pages frontline shows nazis readings halbrook html https www admin ch gov en start federal council political system of switzerland swiss federalism html Knoepfel Peter Papadopoulos Yannis Sciarini Pascal Vatter Adrian Hausermann Silja b k 2014 Handbuch der Schweizer Politik Manuel de la politique suisse phasaeyxrmn aela frngess 5 ed Zurich Switzerland Verlag Neue Zurcher Zeitung NZZ libro ISBN 978 3 03823 866 9 Gross Andreas Popular rights in German French and Italian in the online Historical Dictionary of Switzerland Version of 2015 04 22 27 0 27 1 Switzerland s political system Berne Switzerland The Federal Council subkhnemux 2016 06 24 Kaufmann Bruno 2007 05 18 How direct democracy makes Switzerland a better place The Telegraph London UK subkhnemux 2009 12 09 Swiss Armed Forces Swiss Armed Forces phasaxngkvs Swiss Army europeforvisitors com Follmi Reto Fuest Angela an de Meulen Philipp Micheli Martin Schmidt Torsten Zwick Lina 2018 09 17 Openness and productivity of the Swiss economy Swiss Journal of Economics and Statistics 154 1 17 doi 10 1186 s41937 018 0021 3 ISSN 2235 6282 PMC 6214328 PMID 30443509 CS1 maint PMC format link Switzerland Economy Population GDP Inflation Business Trade FDI Corruption www heritage org phasaxngkvs Switzerland Economic Snapshot OECD www oecd org Economy of Switzerland www about ch Swiss Economy Facts and Figures www eda admin ch phasaxngkvs Montpellier Charlotte de Switzerland Economic activity is growing strongly beating peers ING Think phasaxngkvs SmileCampus praethsswitesxraelnd karsuksapraethsswitesxraelnd www smilecampus com SmileCampus praethsswitesxraelnd karsuksapraethsswitesxraelnd www smilecampus com RMUTT Ing rabbkarsuksakhxngswitesxraelnd eriyntxthipraethsswitesxraelnd Study Hotel in Swiss phasaxngkvs General Information amp Education System Switzerland khxmulthwip aela rabbkarsuksa praethsswisesxraelnd www e abroad com Standige Wohnbevolkerung ab 15 Jahren nach Religions Konfessionszugehorigkeit 2011 XLS bfs admin ch Statistics phasaeyxrmn frngess aela xitali Neuchatel Swiss Federal Statistical Office 2011 2013 05 30 subkhnemux 2013 12 22 Tourismus Schweiz Language distribution Switzerland Tourism phasaxngkvs Languages spoken in Switzerland SwissVistas www swissvistas com phasaxngkvs Swiss Federal Statistical Office Languages and religions Data indicators subkhnemux 2007 10 09 The first number refers to the share of languages within total population The second refers to the Swiss citizens only 5 khumthrphy aehlngthxngethiyw switesxraelnd https www thansettakij com External link in website help 10 wthnthrrmkhxngpraethsswitesxraelnd thirphthr itrnrngkh sites google com Switzerland xaharpracachatikhxngswitesxraelnd Switzerland Ekthana 2013 03 10 Rosalie Sejarah Dan Cara Membuat Mie Tradisional Dari Cina The Worldwide Gourmet Refrensi Makanan dan Resep Dunia phasaxngkvs xaharthxngthin praethsswitesxraelnd Switzerland 2017 02 16 thwryuorp kinxairdithiswitesxraelnd Avenue avenue co th aehlngkhxmulxun aekikhkhunsamarthhakhxmulekiywkb praethsswitesxraelnd idodykhnhacakokhrngkarphinxngkhxngwikiphiediy hakhwamhmay cakwikiphcnanukrm hnngsux cakwikitara khakhm cakwikikhakhm khxmultnchbb cakwikisxrs phaphaelasux cakkhxmmxns enuxhakhaw cakwikikhaw aehlngeriynru cakwikiwithyaly praethsswitesxraelnd khxmulkarthxngethiywcak wikithxngethiyw ewbistsphashphnthswis xngkvs ewbistkhxmulpraethsswitesxraelnd Switzerland com xngkvs ewbistkhxmulkarthxngethiywpraethsswitesxraelnd Myswitzerland com xngkvs ewbistkhxmulpraethsswitesxraelnd cakkrathrwngkartangpraeths praethsithy ithy khxmulpraethsswitesxraelndcakewildaefktbuk siixex shrthxemrika xngkvs sthanexkxkhrrachthutithy pracakrungaebrn praethsswitesxraelnd xngkvs ithy sthanexkxkhrrachthutswitesxraelnd pracakrungethphmhankhr praethsithy xngkvs rupphaphekiywkbpraethsswitesxraelnd thiflikhekxrekhathungcak https th wikipedia org w index php title praethsswitesxraelnd amp oldid 9550285, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม