fbpx
วิกิพีเดีย

หมวดคำอักษรจีน

หมวดคำอักษรจีน (จีน: 部首; พินอิน: bùshǒu) หมายถึงดัชนีคำศัพท์ในพจนานุกรมภาษาจีน (หรือภาษาอื่นที่ใช้อักษรจีน) ซึ่งแบ่งตามลักษณะของการประกอบอักษร อักษรจีนแต่ละตัวจะถูกจัดเข้าไว้ในหมวดคำเพียงหมวดเดียว เรียงตามลำดับจำนวนขีดและการเขียน และแต่ละหมวดก็จะมีความหมายไปในทางเดียวกัน

การแบ่งอักษรจีนเป็นหมวดคำเริ่มต้นขึ้นในอักษรานุกรมซัวเหวินเจี่ยจื้อ (說文解字) เขียนโดย สวี่ เซิ่น (許慎) นักคัมภีรศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก แต่เดิม สวี่ เซิ่น ได้แบ่งหมวดคำอักษรจีนไว้เป็น 540 หมวด ต่อมาพจนานุกรมคังซีในสมัยราชวงศ์ชิง ได้รวบรวมหมวดคำที่คล้ายกันเข้าจนเหลือ 214 หมวด เช่นเดียวกับพจนานุกรมจงหัว และเมื่อมีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อ พจนานุกรมฮั่นหยู่จึงมีหมวดคำ 200 หมวดเท่านั้น (ส่วนพจนานุกรมซินหัวเรียงลำดับตามพินอิน)

ความหมายของหมวดคำ

การแบ่งอักษรจีนออกเป็นหมวดคำนั้น นอกจากจะสามารถใช้เป็นดัชนีในพจนานุกรมแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความหมายโดยรวมของอักษรจีนที่อยู่ภายใต้หมวดคำหนึ่ง ๆ เพราะหมวดคำทุกหมวดมีความหมายในตัวเอง เช่นหมวดคำ 人 โดยตัวศัพท์เองแปลว่า คน เมื่อประกอบกับส่วนอื่นจึงมีความหมายที่เกี่ยวกับคน หรือกิริยาอาการของคน เช่นคำว่า 从 คนหนึ่งอยู่หน้าอีกคนหนึ่งอยู่หลัง ความหมายโดยรวมจึงหมายถึง เดินตามกัน หรือคำว่า 众 เป็นลักษณะของคนอยู่รวมกันสามคน ความหมายโดยรวมจึงหมายถึง มวลชน หมวดคำอาจมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อผสมกับส่วนอื่น เช่นหมวดคำ 人 อาจแปลงรูปไปเป็น 亻 ใส่ไว้ที่ข้างซ้ายของอักษร อาทิ 休 他 作 เป็นต้น

อักษรหมวดคำหลายหมวดสามารถเขียนโดด ๆ ได้ เป็นคำและมีความหมาย เรียกว่า หมวดคำอิสระ เช่น 口 หมายถึงปาก 女 หมายถึงผู้หญิง 水 หมายถึงน้ำ 火 หมายถึงไฟ เป็นต้น แต่บางหมวดถึงแม้จะมีความหมายแต่ก็ไม่สามารถเขียนโดด ๆ ได้ และไม่ถือเป็นคำ เรียกว่า หมวดคำไม่อิสระ เช่น 宀 หมายถึงหลังคา แต่ไม่เป็นคำ ต้องประกอบกับส่วนอื่นจึงจะเป็นคำได้ บางหมวดก็เป็นเพียงรูปแปลงของหมวดคำอื่นเช่น 忄 และ ⺗ เป็นรูปแปลงของ 心 หมายถึงหัวใจ รูปแปลงเหล่านี้จึงเป็นหมวดย่อยของหมวดคำหลัก และจัดอยู่ในหมวดเดียวกันในลำดับพจนานุกรม

 
หมวดคำ 女 ในคำว่า 媽 (แม่)

ส่วนที่อยู่ถัดจากหมวดคำ อาจให้ความหมายตามลักษณะที่ปรากฏ หรือให้เพียงแค่เสียงอ่านที่ใกล้เคียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น 好 (hǎo) ประกอบด้วยหมวดคำ 女 หมายถึงผู้หญิงและ 子 หมายถึงลูกชาย เนื่องจากชาวจีนมีคตินิยมว่าถ้าผู้หญิงมีลูกชายเป็นเรื่องดี คำนี้จึงแปลว่า ดี ในขณะที่ 媽/妈 (mā) แปลว่า แม่ ประกอบด้วยหมวดคำ 女 หมายถึงผู้หญิงและ 馬/马 (mǎ) ซึ่งเป็นศัพท์เลียนเสียงเท่านั้น (ความหมายแท้จริงของส่วนหลังคือ ม้า ไม่ได้หมายความว่าเป็นม้าตัวเมีย) แต่ก็มีอักษรจีนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้สัมพันธ์กับความหมายของหมวดคำหรือเสียงเลย ในกรณีนี้การจัดหมวดคำเพียงเพื่อให้สามารถค้นหาได้ในพจนานุกรมเท่านั้น ตัวอย่างเช่น 九 (jiǔ) แปลว่าเก้า จัดอยู่ในหมวดคำ 乙 (yǐ) ซึ่งหมายถึงที่สองหรือหักงอ

อักษรจีนต่างรูปของคำที่มีความหมายเดียวกันและอ่านเหมือนกัน โดยเฉพาะกับอักษรโบราณที่เลิกใช้หรือไม่นิยมใช้ หรือเป็นอักษรตัวย่อ-ตัวเต็ม ไม่จำเป็นต้องจัดอยู่ในหมวดคำเดียวกัน เช่น 礦 ตัวย่อ 矿 (kuàng) แปลว่าเหมืองแร่หรือสายแร่ ทั้งสองอยู่ในหมวดคำ 石 (หิน) อักษรต่างรูปของคำนี้คือ 鑛 อยู่ในหมวดคำ 金 (ทอง) อีกตัวอย่างหนึ่ง 後 (hòu) แปลว่าข้างหลังหรือหลังจาก อยู่ในหมวดคำ 彳 (ถนนหรือเดิน) ส่วนตัวย่อคือ 后 พบได้ในหมวดคำ 口 (ปาก)

ตำแหน่งของหมวดคำ

ตำแหน่งของหมวดคำในอักษรจีนอาจจัดวางอยู่ได้หลายตำแหน่ง ทั้งซ้าย ขวา บน ล่าง คลุมบน ห่อล่าง ล้อมรอบ หรือแม้แต่ทับซ้อนเข้าไปข้างใน การจำแนกหมวดคำอักษรจีนจึงต้องอาศัยประสบการณ์การค้นหาบ่อยครั้ง ทราบว่าหมวดคำที่เปลี่ยนรูปมีอะไรบ้าง ปกติแล้วเรามักจะสังเกตได้ว่าหมวดคำกลุ่มหนึ่งมักจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิมตลอดเวลา แต่หากเป็นกรณีพิเศษอื่นก็ต้องจดจำ

ต่อไปนี้เป็นการแยกแยะหมวดคำตามตำแหน่งที่วาง ซึ่งมีเจ็ดประเภทหลักและเจ็ดประเภทย่อย ตำแหน่งเหล่านี้มีการตั้งชื่อในภาษาญี่ปุ่นด้วย

  •   วางข้างซ้าย (偏 เฮ็ง) เช่น 略 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 田 กับส่วน 各
  •   วางข้างขวา (旁 สึกุริ) เช่น 期 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 月 กับส่วน 其
  •   วางข้างบน (冠 คัมมุริ) เช่น 歩 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 止 กับส่วน 少 อีกตัวอย่างหนึ่ง 男 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 田 กับส่วน 力
  •   วางข้างล่าง (脚 อะชิ) เช่น 志 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 心 กับส่วน 士 อีกตัวอย่างหนึ่ง 畠 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 田 กับส่วน 白
    ประเภทย่อยของอะชิ
    •   ประกบข้างบนและข้างล่าง เช่น 亘 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 二 กับส่วน 日
    •   แทรกไว้ตรงกลาง เช่น 昼 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 日 กับส่วนบน 尺 และส่วนล่าง 一
  •   คลุมข้างบนและข้างซ้าย (垂 ทะเระ) เช่น 房 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 戸 กับส่วน 方
  •   ห่อข้างล่างและข้างซ้าย (繞 เนียว) เช่น 起 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 走 กับส่วน 己
  •   ล้อมรอบ (構 คะมะเอะ) เช่น 国 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 囗 กับส่วน 玉
    ประเภทย่อยของคะมะเอะ
    •   ล้อมรอบเปิดข้างล่าง เช่น 間 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 門 กับส่วน 日
    •   ล้อมรอบเปิดข้างบน เช่น 凶 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 凵 กับส่วน 乄
    •   ล้อมรอบเปิดข้างขวา เช่น 医 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 匚 กับส่วน 矢
    •   คลุมข้างบนและข้างขวา เช่น 式 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 弋 กับส่วน 工
    •   ประกบข้างซ้ายและข้างขวา เช่น 街 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 行 กับส่วน 圭

หมวดคำเดียวกันอาจมีตำแหน่งการวางที่แตกต่างกันได้ ทำให้อักษรบางตัวอาจไม่อยู่ในหมวดคำตามที่คาดการณ์ไว้เช่น 聞 อยู่ในหมวดคำ 耳 แทนที่จะเป็น 門; 化 อยู่ในหมวดคำ 匕 แทนที่จะเป็น 人; 章 กับ 意 อยู่ในหมวดคำ 立 กับ 音 ตามลำดับ เป็นต้น

การค้นหาในพจนานุกรม

ปกติแล้วพจนานุกรมจะมีดัชนีเลขหน้าเริ่มต้นสำหรับหมวดคำอักษรจีนตัวนั้น แต่เนื่องจากในหนึ่งหมวดมีคำศัพท์มาก พจนานุกรมหลายเล่มจึงได้รวมคำศัพท์ทั้งหมดเก็บไว้เป็นดัชนีด้วย แล้วลำดับอักษรด้วยจำนวนขีดเพื่อให้ค้นหาง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ต้องการหาคำว่า 拾 เราอาจสามารถเปิดไปดูที่หมวดคำ 手 (รูปแปลงคือ 扌 หมายถึง มือ) แล้วไล่ดูไปจนกว่าจะพบคำที่ต้องการซึ่งอาจใช้เวลามาก แต่ด้วยดัชนีคำศัพท์ทั้งหมด จะต้องนับว่าส่วนที่เหลือวาดอีกกี่ขีดจึงจะครบอักษรทั้งตัว ในกรณีนี้ 合 ประกอบขึ้นจากการเขียน 6 ขีด ในดัชนีคำศัพท์ ณ ตำแหน่ง 手 + 6 ขีด (หรือ 扌 + 6 ขีด) ก็จะมีคำว่า 拾 ปรากฏอยู่ จึงสามารถเปิดไปยังหน้าที่มีคำนั้นอยู่ได้โดยตรง และได้ความหมายว่า เก็บขึ้นมาจากพื้น ข้อเสียของระบบนี้อยู่ที่ตัวผู้ค้นหาหากไม่ทราบว่าหมวดคำคืออะไร หมวดคำรูปแปลงเป็นอย่างไร และมีลำดับขีดเขียนอย่างไร ซึ่งอักษรบางตัวอาจมีการเขียนที่ซับซ้อนจนไม่สามารถแยกแยะ ทำให้ค้นหาไม่เจอก็เป็นได้

พจนานุกรมบางเล่มได้รวมอักษร 〇 หมายถึงเลขศูนย์เข้าไปด้วย ซึ่งเขียนโดยการตวัดครั้งเดียว (1 ขีด) เป็นอักษรพิเศษที่ไม่จัดอยู่ในหมวดใด บางครั้งอาจมีอักษรจีนบางตัวที่จัดหมวดคำไม่ได้ รวมอยู่ท้าย ๆ ดัชนีคำศัพท์ โดยเฉพาะกับพจนานุกรมที่เรียงลำดับตามอักษรจีนตัวย่อ

หมวดคำในคอมพิวเตอร์

ถึงแม้เราจะสามารถใช้อักษรจีนแทนหมวดคำได้โดยตรง แต่ในยูนิโคดก็มีช่วงอักขระที่จองไว้ให้สำหรับหมวดคำอักษรจีนโดยเฉพาะ เพื่อให้สะดวกใช้ในการสร้างดัชนี มีสองช่วงคือหมวดคำแบบคังซีตามดั้งเดิม (U+2F00–U+2FDF) และหมวดคำส่วนขยายที่ใช้กับอักษรตัวย่อ หรือใช้ในภาษาอื่นที่นอกเหนือไปจากภาษาจีน (U+2E80–U+2EFF)


หมวดคำจีนญี่ปุ่นเกาหลี ส่วนเพิ่มเติม
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+2E8x
U+2E9x  
U+2EAx
U+2EBx ⺿
U+2ECx
U+2EDx
U+2EEx
U+2EFx                        


หมวดคำแบบคังซี
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+2F0x
U+2F1x
U+2F2x
U+2F3x ⼿
U+2F4x
U+2F5x
U+2F6x
U+2F7x ⽿
U+2F8x
U+2F9x
U+2FAx
U+2FBx ⾿
U+2FCx
U+2FDx                    


อ้างอิง

  • เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2541. ISBN 978-974-246-307-6
  • เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย ฉบับใหม่ (ฉบับพิมพ์หนังสือตัวเต็ม). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2545. ISBN 978-974-246-643-5
  • นริศ วศินานนท์. ร้อยหมวดคำ จำอักษรจีน. กรุงเทพฯ : ทฤษฎี, 2550. ISBN 978-974-9796-73-3

แหล่งข้อมูลอื่น

หมวดคำอ, กษรจ, 部首, นอ, bùshǒu, หมายถ, งด, ชน, คำศ, พท, ในพจนาน, กรมภาษาจ, หร, อภาษาอ, นท, ใช, กษรจ, งแบ, งตามล, กษณะของการประกอบอ, กษร, กษรจ, นแต, ละต, วจะถ, กจ, ดเข, าไว, ในหมวดคำเพ, ยงหมวดเด, ยว, เร, ยงตามลำด, บจำนวนข, ดและการเข, ยน, และแต, ละหมวดก, จะม, ควา. hmwdkhaxksrcin cin 部首 phinxin bushǒu hmaythungdchnikhasphthinphcnanukrmphasacin hruxphasaxunthiichxksrcin sungaebngtamlksnakhxngkarprakxbxksr xksrcinaetlatwcathukcdekhaiwinhmwdkhaephiynghmwdediyw eriyngtamladbcanwnkhidaelakarekhiyn aelaaetlahmwdkcamikhwamhmayipinthangediywknkaraebngxksrcinepnhmwdkhaerimtnkhuninxksranukrmswehwineciycux 說文解字 ekhiynody swi esin 許慎 nkkhmphirsastrsmyrachwngshntawnxxk aetedim swi esin idaebnghmwdkhaxksrciniwepn 540 hmwd txmaphcnanukrmkhngsiinsmyrachwngsching idrwbrwmhmwdkhathikhlayknekhacnehlux 214 hmwd echnediywkbphcnanukrmcnghw aelaemuxmikarprakasichxksrcintwyx phcnanukrmhnhyucungmihmwdkha 200 hmwdethann swnphcnanukrmsinhweriyngladbtamphinxin enuxha 1 khwamhmaykhxnghmwdkha 2 taaehnngkhxnghmwdkha 3 karkhnhainphcnanukrm 4 hmwdkhainkhxmphiwetxr 5 xangxing 6 aehlngkhxmulxunkhwamhmaykhxnghmwdkha aekikhkaraebngxksrcinxxkepnhmwdkhann nxkcakcasamarthichepndchniinphcnanukrmaelw yngaesdngihehnthungkhwamhmayodyrwmkhxngxksrcinthixyuphayithmwdkhahnung ephraahmwdkhathukhmwdmikhwamhmayintwexng echnhmwdkha 人 odytwsphthexngaeplwa khn emuxprakxbkbswnxuncungmikhwamhmaythiekiywkbkhn hruxkiriyaxakarkhxngkhn echnkhawa 从 khnhnungxyuhnaxikkhnhnungxyuhlng khwamhmayodyrwmcunghmaythung edintamkn hruxkhawa 众 epnlksnakhxngkhnxyurwmknsamkhn khwamhmayodyrwmcunghmaythung mwlchn hmwdkhaxacmiruprangthiepliynaeplngipemuxphsmkbswnxun echnhmwdkha 人 xacaeplngrupipepn 亻 isiwthikhangsaykhxngxksr xathi 休 他 作 epntnxksrhmwdkhahlayhmwdsamarthekhiynodd id epnkhaaelamikhwamhmay eriykwa hmwdkhaxisra echn 口 hmaythungpak 女 hmaythungphuhying 水 hmaythungna 火 hmaythungif epntn aetbanghmwdthungaemcamikhwamhmayaetkimsamarthekhiynodd id aelaimthuxepnkha eriykwa hmwdkhaimxisra echn 宀 hmaythunghlngkha aetimepnkha txngprakxbkbswnxuncungcaepnkhaid banghmwdkepnephiyngrupaeplngkhxnghmwdkhaxunechn 忄 aela epnrupaeplngkhxng 心 hmaythunghwic rupaeplngehlanicungepnhmwdyxykhxnghmwdkhahlk aelacdxyuinhmwdediywkninladbphcnanukrm hmwdkha 女 inkhawa 媽 aem swnthixyuthdcakhmwdkha xacihkhwamhmaytamlksnathiprakt hruxihephiyngaekhesiyngxanthiiklekhiyngxyangidxyanghnung twxyangechn 好 hǎo prakxbdwyhmwdkha 女 hmaythungphuhyingaela 子 hmaythunglukchay enuxngcakchawcinmikhtiniymwathaphuhyingmilukchayepneruxngdi khanicungaeplwa di inkhnathi 媽 妈 ma aeplwa aem prakxbdwyhmwdkha 女 hmaythungphuhyingaela 馬 马 mǎ sungepnsphtheliynesiyngethann khwamhmayaethcringkhxngswnhlngkhux ma imidhmaykhwamwaepnmatwemiy aetkmixksrcinxikcanwnhnungthiimidsmphnthkbkhwamhmaykhxnghmwdkhahruxesiyngely inkrninikarcdhmwdkhaephiyngephuxihsamarthkhnhaidinphcnanukrmethann twxyangechn 九 jiǔ aeplwaeka cdxyuinhmwdkha 乙 yǐ sunghmaythungthisxnghruxhkngxxksrcintangrupkhxngkhathimikhwamhmayediywknaelaxanehmuxnkn odyechphaakbxksrobranthielikichhruximniymich hruxepnxksrtwyx twetm imcaepntxngcdxyuinhmwdkhaediywkn echn 礦 twyx 矿 kuang aeplwaehmuxngaerhruxsayaer thngsxngxyuinhmwdkha 石 hin xksrtangrupkhxngkhanikhux 鑛 xyuinhmwdkha 金 thxng xiktwxyanghnung 後 hou aeplwakhanghlnghruxhlngcak xyuinhmwdkha 彳 thnnhruxedin swntwyxkhux 后 phbidinhmwdkha 口 pak taaehnngkhxnghmwdkha aekikhtaaehnngkhxnghmwdkhainxksrcinxaccdwangxyuidhlaytaaehnng thngsay khwa bn lang khlumbn hxlang lxmrxb hruxaemaetthbsxnekhaipkhangin karcaaenkhmwdkhaxksrcincungtxngxasyprasbkarnkarkhnhabxykhrng thrabwahmwdkhathiepliynrupmixairbang pktiaelweramkcasngektidwahmwdkhaklumhnungmkcaxyuthitaaehnngedimtlxdewla aethakepnkrniphiessxunktxngcdcatxipniepnkaraeykaeyahmwdkhatamtaaehnngthiwang sungmiecdpraephthhlkaelaecdpraephthyxy taaehnngehlanimikartngchuxinphasayipundwy wangkhangsay 偏 ehng echn 略 prakxbkhuncakhmwdkha 田 kbswn 各 wangkhangkhwa 旁 sukuri echn 期 prakxbkhuncakhmwdkha 月 kbswn 其 wangkhangbn 冠 khmmuri echn 歩 prakxbkhuncakhmwdkha 止 kbswn 少 xiktwxyanghnung 男 prakxbkhuncakhmwdkha 田 kbswn 力 wangkhanglang 脚 xachi echn 志 prakxbkhuncakhmwdkha 心 kbswn 士 xiktwxyanghnung 畠 prakxbkhuncakhmwdkha 田 kbswn 白 praephthyxykhxngxachi prakbkhangbnaelakhanglang echn 亘 prakxbkhuncakhmwdkha 二 kbswn 日 aethrkiwtrngklang echn 昼 prakxbkhuncakhmwdkha 日 kbswnbn 尺 aelaswnlang 一 khlumkhangbnaelakhangsay 垂 thaera echn 房 prakxbkhuncakhmwdkha 戸 kbswn 方 hxkhanglangaelakhangsay 繞 eniyw echn 起 prakxbkhuncakhmwdkha 走 kbswn 己 lxmrxb 構 khamaexa echn 国 prakxbkhuncakhmwdkha 囗 kbswn 玉 praephthyxykhxngkhamaexa lxmrxbepidkhanglang echn 間 prakxbkhuncakhmwdkha 門 kbswn 日 lxmrxbepidkhangbn echn 凶 prakxbkhuncakhmwdkha 凵 kbswn 乄 lxmrxbepidkhangkhwa echn 医 prakxbkhuncakhmwdkha 匚 kbswn 矢 khlumkhangbnaelakhangkhwa echn 式 prakxbkhuncakhmwdkha 弋 kbswn 工 prakbkhangsayaelakhangkhwa echn 街 prakxbkhuncakhmwdkha 行 kbswn 圭hmwdkhaediywknxacmitaaehnngkarwangthiaetktangknid thaihxksrbangtwxacimxyuinhmwdkhatamthikhadkarniwechn 聞 xyuinhmwdkha 耳 aethnthicaepn 門 化 xyuinhmwdkha 匕 aethnthicaepn 人 章 kb 意 xyuinhmwdkha 立 kb 音 tamladb epntnkarkhnhainphcnanukrm aekikhpktiaelwphcnanukrmcamidchnielkhhnaerimtnsahrbhmwdkhaxksrcintwnn aetenuxngcakinhnunghmwdmikhasphthmak phcnanukrmhlayelmcungidrwmkhasphththnghmdekbiwepndchnidwy aelwladbxksrdwycanwnkhidephuxihkhnhangaykhun twxyangechn txngkarhakhawa 拾 eraxacsamarthepidipduthihmwdkha 手 rupaeplngkhux 扌 hmaythung mux aelwilduipcnkwacaphbkhathitxngkarsungxacichewlamak aetdwydchnikhasphththnghmd catxngnbwaswnthiehluxwadxikkikhidcungcakhrbxksrthngtw inkrnini 合 prakxbkhuncakkarekhiyn 6 khid indchnikhasphth n taaehnng 手 6 khid hrux 扌 6 khid kcamikhawa 拾 praktxyu cungsamarthepidipynghnathimikhannxyuidodytrng aelaidkhwamhmaywa ekbkhunmacakphun khxesiykhxngrabbnixyuthitwphukhnhahakimthrabwahmwdkhakhuxxair hmwdkharupaeplngepnxyangir aelamiladbkhidekhiynxyangir sungxksrbangtwxacmikarekhiynthisbsxncnimsamarthaeykaeya thaihkhnhaimecxkepnidphcnanukrmbangelmidrwmxksr hmaythungelkhsunyekhaipdwy sungekhiynodykartwdkhrngediyw 1 khid epnxksrphiessthiimcdxyuinhmwdid bangkhrngxacmixksrcinbangtwthicdhmwdkhaimid rwmxyuthay dchnikhasphth odyechphaakbphcnanukrmthieriyngladbtamxksrcintwyxhmwdkhainkhxmphiwetxr aekikhthungaemeracasamarthichxksrcinaethnhmwdkhaidodytrng aetinyuniokhdkmichwngxkkhrathicxngiwihsahrbhmwdkhaxksrcinodyechphaa ephuxihsadwkichinkarsrangdchni misxngchwngkhuxhmwdkhaaebbkhngsitamdngedim U 2F00 U 2FDF aelahmwdkhaswnkhyaythiichkbxksrtwyx hruxichinphasaxunthinxkehnuxipcakphasacin U 2E80 U 2EFF hmwdkhacinyipunekahli swnephimetimUnicode org chart PDF 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E FU 2E8x U 2E9x U 2EAx U 2EBx U 2ECx U 2EDx U 2EEx U 2EFx hmwdkhaaebbkhngsiUnicode org chart PDF 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E FU 2F0x U 2F1x U 2F2x U 2F3x U 2F4x U 2F5x U 2F6x U 2F7x U 2F8x U 2F9x U 2FAx U 2FBx U 2FCx U 2FDx xangxing aekikhethiyrchy exiymwremth phcnanukrm cin ithy krungethph rwmsasn 2541 ISBN 978 974 246 307 6 ethiyrchy exiymwremth phcnanukrm cin ithy chbbihm chbbphimphhnngsuxtwetm krungethph rwmsasn 2545 ISBN 978 974 246 643 5 nris wsinannth rxyhmwdkha caxksrcin krungethph thvsdi 2550 ISBN 978 974 9796 73 3aehlngkhxmulxun aekikh六書 Liushu hlkkarpradisthtwxksrcin ekhruxkhaykhxmulephuxkareriynkarsxnphasacin culalngkrnmhawithyalyekhathungcak https th wikipedia org w index php title hmwdkhaxksrcin amp oldid 9497823, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม