fbpx
วิกิพีเดีย

อียิปต์โบราณ

อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3,150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์นาร์เมอร์ซึ่งเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่เยอะมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความเป็นอาณาจักรอียิปต์โบราณได้ล่มสลายลงเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย แม้กระนั้นเอง อารยธรรมอียิปต์โบราณก็ดำรงอยู่ภายใต้ราชวงศ์ทอเลมีเชื้อสายกรีซและจักรวรรดิโรมัน เกิดการผสมผสานเข้ากับอารยธรรมผู้ปกครองจนเลือนหายไปในที่สุด

พีระมิดแห่งเมมฟิสและสุสานโบราณ หนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงอารยธรรมอียิปต์โบราณที่ชัดเจนที่สุด

อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรก ๆ ที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่เกษตรกร และช่างก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ มากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการสร้างพีระมิด วัด โอเบลิสก์ ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่าง ๆ ในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ ๆ ในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป

ประวัติ

 
แผ่นที่อียิปต์โบราณ, แสดงถึงสถานที่ตั้งเมืองและบริเวณ ในสมัยยุคราชวงศ์ (3150 – 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบแม่น้ำไนล์ เสมือนหนึ่งที่ธรรมชาติหยิบยื่นโอกาสให้แก่มนุษย์ที่จะตั้งถิ่นฐาน พัฒนาการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และสังคม และนับเป็นศูนย์กลางทางสังคมสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษยชาติ ที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ทำให้มนุษย์มีโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรที่ตั้งถิ่นฐานและสังคมที่มีการรวมศูนย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นรากฐานที่สำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษย์ ชนร่อนเร่ที่เก็บของป่าล่าสัตว์เริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณหุบเขาไนล์ในช่วงกลางยุคไพลสโตซีนหรือเมื่อประมาณ 120,000 ปีก่อน กระทั่งช่วงปลายยุคหินเก่า สภาพอากาศที่แห้งแล้งของแอฟริกาตอนเหนือ เริ่มร้อนและแห้งมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ประชากรโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำ

Late Period of ancient EgyptThird Intermediate Period of EgyptNew Kingdom of EgyptSecond Intermediate Period of EgyptMiddle Kingdom of EgyptFirst Intermediate Period of EgyptOld Kingdom of EgyptEarly Dynastic Period (Egypt)

ยุคก่อนราชวงศ์

 
โถในวัฒนธรรม Naqada II ก่อนยุคราชวงศ์

ในยุคก่อนราชวงศ์และราชวงศ์เริ่มแรก สภาพอากาศของอียิปต์แห้งแล้งน้อยกว่าในปัจจุบันมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์ถูกปกคลุมไปด้วยทุ่งหญ้าสะวันนาและมีฝูงสัตว์กีบเท้ากินหญ้า ใบไม้และสัตว์ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากในทุกสภาพแวดล้อมและภูมิภาคไนล์เป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำจำนวนมาก คาดว่าการล่าสัตว์เป็นเรื่องปกติสำหรับชาวอียิปต์และนี่ก็เป็นช่วงเวลาที่สัตว์หลายชนิดถูกนำมาเลี้ยงเป็นครั้งแรก

ราว 5500 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในหุบเขาไนล์ได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์อย่างมั่นคง ระบุได้จากเครื่องปั้นดินเผาและของใช้ส่วนตัว เช่น หวี กำไลและลูกปัด หนึ่งในวัฒนธรรมยุคนี้ที่ใหญ่ที่สุดบริเวณอียิปต์ตอนบน (ตอนใต้) คือวัฒนธรรมบาดาเรียน (Badarian culture) ซึ่งอาจมีต้นกำเนิดในทะเลทรายตะวันตก เป็นที่รู้จักในเรื่องเซรามิกคุณภาพสูง เครื่องมือหิน และการใช้ทองแดง

การมาถึงของวัฒนธรรม Amratian (Naqada I), Gerzeh (Naqada II) และ Semainean (Naqada III) หลังวัฒนธรรมบาดาเรียนนำมาซึ่งการพัฒนาวิทยาการหลายประการ โดยในช่วงวัฒนธรรม Naqada I ชาวอียิปต์ได้นำเข้าหินออบซิเดียนจากเอธิโอเปียเพื่อใช้ในการผลิตใบมีดและวัตถุอื่น ๆ ในสมัย ​​Naqada II มีหลักฐานการติดต่อกับตะวันออกใกล้ โดยเฉพาะคานาอันและชายฝั่งบิบลอส ในช่วงเวลาประมาณ 1,000 ปีนี้ วัฒนธรรม Naqada ได้พัฒนาจากชุมชนเกษตรกรรมเล็ก ๆ เพียงไม่กี่แห่งจนกลายเป็นอารยธรรมที่ทรงพลัง ที่ผู้นำสามารถควบคุมผู้คนและทรัพยากรของหุบเขาไนล์ได้อย่างสมบูรณ์ การจัดตั้งศูนย์อำนาจที่ Nekhen (ในภาษากรีก Hierakonpolis) และต่อมาที่ Abydos ผู้นำของ Naqada III ได้ขยายการครอบครองของอียิปต์ไปทางเหนือตามแม่น้ำไนล์ พวกเขายังค้าขายกับนูเบียทางทิศใต้ โอเอซิสของทะเลทรายทางตะวันตกทางทิศตะวันตก และวัฒนธรรมต่างๆ บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและตะวันออกใกล้ทางทิศตะวันออก อันป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์ - เมโสโปเตเมีย

วัฒนธรรม Naqada ผลิตสินค้าที่หลากหลายซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นและความมั่งคั่งของชนชั้นสูง ตลอดจนของใช้ส่วนตัวในสังคมซึ่งรวมถึงหวี รูปปั้นขนาดเล็ก เครื่องปั้นดินเผาทาสี แจกันหินตกแต่งคุณภาพสูง จานเครื่องสำอาง และเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำไพฑูรย์และงาช้าง พวกเขายังพัฒนาเครื่องเคลือบเซรามิก ที่เรียกว่า "faience" ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายถึงยุคปกครองโดยจักรวรรดิโรมันเพื่อตกแต่งถ้วยเครื่องรางและรูปแกะสลัก และในช่วงท้ายของวัฒนธรรม Naqada ปรากฏการใช้สัญลักษณ์ในลักษณะอักษร ซึ่งในที่สุดจะได้รับการพัฒนาเป็นระบบอักษรอียิปต์โบราณ หรือ "ไฮเออโรกลีฟ" (hieroglyphs) สำหรับการเขียนภาษาอียิปต์โบราณ

ยุคราชวงศ์เริ่มแรก (ราว 3150–2686 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 1–2)

 
นาร์เมอร์พาเล็ต กล่าวถึง การรวมสองดินแดนเป็นหนึ่ง

ยุคราชวงศ์เริ่มแรก (Early Dynastic Period) เป็นช่วงเวลาร่วมสมัยกับช่วงต้นของอารยธรรมสุเมเรียน - อัคคาเดียของเมโสโปเตเมียและเอลามโบราณ

ในคริสต์ศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาล นักบวชชาวอียิปต์ "มาเนโธ" (Manetho) ได้จำแนกและจัดกลุ่มกษัตริย์ หรือ "ฟาโรห์" ตั้งแต่เมเนสจนถึงช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ออกเป็น 30 ราชวงศ์ ซึ่งวิธีการจำแนกที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเขาเริ่มต้นประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการกับกษัตริย์ชื่อ "เมนี" (หรือ เมเนส/Menes ในภาษากรีก) ซึ่งเชื่อกันว่าได้รวมสองอาณาจักรแห่งอียิปต์ตอนบนและตอนล่างเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม การรวมดินแดนให้เป็นหนึ่งดังกล่าวคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าที่นักเขียนชาวอียิปต์โบราณนำเสนอ อีกทั้งยังไม่ค้นพบหลักฐานร่วมสมัยที่อ้างถึงเมเนส ส่งผลให้นักวิชาการบางคนเชื่อว่า เมเนสในตำนานอาจเป็นฟาโรห์นาร์เมอร์ ผู้ซึ่งปรากฏหลักฐานบนนาร์เมอร์พาเล็ตเป็นภาพบุคคลที่สวมเครื่องราชกกุธภัณฑ์เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของการรวมดินแดน

ในยุคราชวงศ์เริ่มแรกซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาลนี้ กษัตริย์พระองค์แรก ๆ ของยุคได้รวมอำนาจในการควบคุมอียิปต์ตอนล่างโดยการตั้งเมืองหลวงที่เมมฟิส ทำให้สามารถควบคุมกำลังแรงงานและเกษตรกรรมในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ตลอดจนเส้นทางการค้าที่สำคัญสู่ลิแวนต์ อำนาจและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของกษัตริย์ในยุคนี้สะท้อนให้เห็นในสุสานแมสตาบาและโครงสร้างหลุมฝังศพที่อะบิดอสที่ใช้เพื่อเฉลิมฉลองกษัตริย์ในฐานะเทพหลังการสวรรคต สถาบันการปกครองที่แข็งแกร่งซึ่งพัฒนาโดยกษัตริย์ทำหน้าที่เพื่อควบคุมรัฐอย่างชอบธรรมในการควบคุมที่ดิน แรงงาน และทรัพยากร นั้นจำเป็นต่อการอยู่รอดและการเติบโตของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

ราชอาณาจักรเก่า (2686–2181 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 3–6)

ความก้าวหน้าที่สำคัญทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะและวิทยาการ เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรเก่า (Old Kingdom) โดยได้รับแรงหนุนจากผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นและจำนวนประชากรที่มากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการบริหารส่วนกลางที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี เห็นได้จาก ความสำเร็จชิ้นเอกของอียิปต์โบราณ อาทิ พีรามิดแห่งกีซาและมหาสฟิงซ์ที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ ภายใต้การดูแลของ "Vizier" และเจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษี มีการประสานงานเพื่อจัดทำชลประทานเพื่อปรับปรุงผลผลิตพืช การเกณฑ์ชาวนาเพื่อทำงานในโครงการก่อสร้าง และจัดตั้งระบบยุติธรรมเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

ด้วยอำนาจการปกครองส่วนกลางที่แข็งแกร่งขึ้น บรรดาอาลักษณ์และเจ้าหน้าที่อื่นที่มีการศึกษาต่างได้รับพระราชทานทรัพย์สินและที่ดิน เพื่อเป็นการตอบแทนจากการรับใช้ฟาโรห์ และฟาโรห์เองยังพระราชทานที่ดินให้กับวัดและผู้ประกอบพิธีฝังพระศพ (mortuary cults) เพื่อให้แน่ใจว่าสถาบันเหล่านี้จะมีทรัพยากรเพียงพอที่จะบูชาฟาโรห์หลังการสวรรคต นักวิชาการเชื่อว่าห้าศตวรรษของการปฏิบัติต่อเนื่องกันของสิ่งเหล่านี้ค่อย ๆ ทำลายเศรษฐกิจของอียิปต์ จนไม่สามารถรองรับการบริหารประเทศแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่ได้อีกต่อไป เมื่ออำนาจของกษัตริย์ลดลง ผู้ปกครองในภูมิภาคที่เรียกว่า "Nomarch" ก็เริ่มท้าทายอำนาจสูงสุดของราชสำนัก ควบคู่กับความแห้งแล้งอย่างรุนแรงในช่วง 2200 ถึง 2150 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่าทำให้ประเทศเข้าสู่ช่วงเวลา 140 ปีแห่งความอดอยากและความขัดแย้งที่เรียกว่า ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง

 
รูปปั้นอาลักษณ์ "The Seated Scribe" จากซัคคารา, ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์; อาลักษณ์เหล่านี้เป็นผู้มีการศึกษา มีหน้าที่ตรวจสอบภาษี จดบันทึกและปกครอง

ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง (2181–2061 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 7–11)

ช่วงต่อระยะที่หนึ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลกลางของอียิปต์ล่มสลายในช่วงท้ายของราชอาณาจักรเก่า โดยไม่สามารถสนับสนุนหรือสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศได้อีกต่อไป ผู้ปกครองในภูมิภาคเองไม่สามารถพึ่งพากษัตริย์เพื่อขอความช่วยเหลือได้ในยามวิกฤต และการขาดแคลนอาหาร และข้อพิพาททางการเมืองที่ตามมาส่งผลให้เกิดความอดอยากและสงครามกลางเมืองขนาดเล็ก แม้กระนั้นผู้นำท้องถิ่นก็ใช้ความเป็นอิสระของพวกเขานี้สร้างวัฒนธรรมที่เฟื่องฟูในต่างจังหวัด การควบคุมทรัพยากรในส่วนภูมิภาคทำให้แต่ละท้องถิ่นร่ำรวยขึ้น เห็นได้จากหลุมฝังศพที่ใหญ่โตและดีขึ้นในทุกชนชั้นทางสังคม ในการสร้างสรรค์ของช่างฝีมือท้องถิ่น ได้มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมซึ่งก่อนหน้านี้จำกัดเฉพาะราชวงศ์ของอาณาจักรเก่ามาใช้และดัดแปลง เหล่านักเขียนเองก็พัฒนารูปแบบวรรณกรรมที่แสดงถึงการมองโลกในแง่ดีและความคิดริเริ่มในยุคนั้น

เมื่อปราศจากอำนาจของฟาโรห์ ผู้ปกครองท้องถิ่นต่างเริ่มแข่งขันกันเพื่อควบคุมดินแดนและอำนาจทางการเมือง เมื่อถึง 2160 ปีก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองในเฮราคลีโอโพลิสได้เข้าครอบครองส่วนทิศเหนือของอียิปต์ตอนล่าง ในขณะที่กลุ่มคู่แข่งที่อยู่ในธีบส์ตระกูลอินเทฟได้ครอบครองอียิปต์ตอนบนทางตอนใต้ เมื่อเหล่าอินเทฟมีอำนาจมากขึ้นและขยายการครอบครองไปทางเหนือจึงเกิดการปะทะกันระหว่างสองตระกูลขึ้น ราว 2055 ปีก่อนคริสตกาล กองกำลังธีบส์ทางตอนเหนือภายใต้เมนทูโฮเตปที่ 2 ในที่สุดก็เอาชนะผู้ปกครองเฮราคลีโอโพลิส เป็นการวมทั้งสองดินแดนอีกครั้งและนำมาซึ่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เรียกว่า ราชอาณาจักรกลาง

ราชอาณาจักรกลาง (2061–1690 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 11–14)

บรรดาฟาโรห์แห่งราชอาณาจักรกลางได้ทำการฟื้นฟูความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศ ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวของงานศิลปะ วรรณกรรม และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ แต่เดิม ฟาโรห์เมนทูโฮเตปที่ 2 และผู้สืบทอดราชวงศ์ที่สิบเอ็ดปกครองประเทศจากเมืองธีบส์ แต่ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสองในราวปี 1985 ก่อนคริสตกาล ได้ทรงย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรไปที่เมืองอิทจ์-ทาวี (Itjtawy) ซึ่งตั้งอยู่ในโอเอสิสไฟยุม (Faiyum Oasis) จากเมืองอิทจ์-ทาวีนี้ ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองได้ดำเนินโครงการถมดินและชลประทานเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้ยกเข้ายึดครองนูเบียซึ่งอุดมไปด้วยเหมืองหินและเหมืองทองคำ ในขณะที่ได้มีการสร้างป้อมป้องกันในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันออก เรียกว่า "กำแพงแห่งผู้ปกครอง" ไว้เพื่อป้องกันการรุกรานจากต่างชาติ

ในทางตรงกันข้ามกับทัศนะของราชอาณาจักรเก่าต่อเทพเจ้าที่เป็นลักษณะขั้นสูงสุด (elitist) ราชอาณาจักรกลางกลับแสดงออกถึงศรัทธาอันแกล่งกล้าส่วนบุคคลต่อเทพเจ้า (expressions of personal piety) วรรณกรรมในยุคนี้มีบทและตัวละครที่ซับซ้อนซึ่งเขียนในรูปแบบที่มั่นใจและคมคาย รูปนูนภาพแกะสลัก และภาพบุคคลบันทึกรายละเอียดที่ละเอียดอ่อนของแต่ละบุคคลซึ่งมาถึงความซับซ้อนทางวิทยาการขั้นสูงใหม่ ๆ

ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่พระองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรกลาง คือ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 โดยทรงอนุญาตให้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวคานาอันที่พูดภาษาเซมิติกจากตะวันออกใกล้เข้าสู่พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เพื่อกำลังแรงงานที่เพียงพอสำหรับการทำเหมืองแร่และการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามกิจกรรมการก่อสร้างและการเหมืองที่ทะเยอทะยานเหล่านี้ รวมกับน้ำท่วมในแม่น้ำไนล์ครั้งรุนแรงในปลายรัชกาลทำให้เศรษฐกิจตึงเครียดและตกต่ำลงอย่างช้า ๆ ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสามและสิบสี่ จนเข้าสู่ยุดช่วงต่อระยะที่สอง

ในช่วงนี้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวคานาอันก็เริ่มควบคุมพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ จนเข้ามามีอำนาจในอียิปต์ในฐานะชาวฮิกซอส

 
คัมภีร์มรณะ แสดงให้เห็นอักษรภาพไฮโรกลิฟ

ช่วงต่อระยะที่สอง (1674–1549 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 15–17)

ประมาณ 1785 ปีก่อนคริสตกาล เมื่ออำนาจของฟาโรหฺ์แห่งราชอาณาจักรกลางอ่อนแอลง ชาวเอเชียตะวันตกที่เรียกว่า ฮิกซอส (Hyksos) ซึ่งตั้งรกรากอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ได้ยึดอำนาจการปกครองของอียิปต์ และตั้งเมืองหลวงที่ "อวาริส" ส่งผลให้รัฐบาลกลางเดิมต้องล่าถอยกลับไปยังปกครองเมืองธีบส์ ฟาโรห์เองถูกปฏิบัติในฐานะเป็นเมืองขึ้นพร้อมทั้งต้องส่งบรรณาการไปยังผู้ปกครองทางเหนือ ในทางกลับกัน ฮิกซอส (หรือ "ผู้ปกครองชาวต่างชาติ") ยังคงรักษารูปแบบการปกครองเดิมของอียิปต์และตั้งตนว่าเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งผสมผสานองค์ประกอบของอียิปต์เข้ากับวัฒนธรรมของพวกตนและของผู้รุกรานอื่น ๆ ได้นำเสนอเครื่องมือใหม่ ๆ ในการทำสงครามเข้ามาในอียิปต์ โดยเฉพาะธนูคอมโพสิทและรถม้าศึก

หลังจากที่กษัตริย์พื้นเมืองของธีบส์ถอยร่นไปทางใต้ ก็พบว่าตนติดอยู่ระหว่างชาวฮิกซอสที่ปกครองทางเหนือ กับชาวคูช ชนเชื่อสายนูเบียซึ่งเป็นพันธมิตรของฮิกซอสทางใต้ หลังจากหลายปีในฐานะผู้ถูกปกครอง ธีบส์ได้รวบรวมความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะท้าทายอำนาจฮิกซอสในความขัดแย้งที่กินเวลานานกว่า 30 ปีจนถึง 1555 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งฟาโรห์เซเคนเอนเร ทาโอและฟาโรห์คาโมสสามารถเอาชนะชาวนูเบียทางตอนใต้ของอียิปต์ได้สำเร็จ แต่ล้มเหลวในการเอาชนะชาวฮิกซอส กระทั่งฟาโรห์อาโมสที่ 1 ประสบความสำเร็จในการรบชนะและล้มล้างฮิกซอสไปจากอียิปต์อย่างถาวร ทรงก่อตั้งราชวงศ์ใหม่และในราชอาณาจักรใหม่ที่กำลังสถาปนาจะตามมา การทหารกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพระองค์ ผู้ซึ่งพยายามขยายพรมแดนของอียิปต์และปกครองดินแดนตะวันออกใกล้

ราชอาณาจักรใหม่ (1549–1077 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 18–20)

 
แผนที่แสดงอาณาเขตภายใต้การปกครองของอียิปต์ที่กว้างใหญ่ที่สุด ในยุคอียิปต์โบราณ (ราว 1450 ปีก่อน ค.ศ.)
 
ฟาโรห์แอเคนาเทน บูชาสุริยเทพ

กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรใหม่ได้สร้างช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยการรักษาพรมแดนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับเพื่อนบ้าน รวมถึงจักรวรรดิมิทันนี อัสซีเรียและคานาอัน การสงครามที่เกิดขึ้นใยนรัชกาลฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 และฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 พระราชนัดดา ได้ขยายอิทธิพลให้อียิปต์จนมีดินแดนที่กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตน ฟาโรห์เมร์เนปทาห์แห่งราชวงศ์ที่สิบเก้าเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ใช้คำว่า "ฟาโรห์"

ในรัชกาลฟาโรห์แฮตเชปซุต ซึ่งเป็นราชินีที่สถาปนาตัวเองเป็นฟาโรห์ ได้ทรงโปรดให้ก่อสร้างและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ได้รับความเสียหายจากฮิกซอส พร้อมทั้งได้ส่งคณะสำรวจทางการค้าไปยังดินแดนพันท์และคาบสมุทรไซไน เมื่อฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 สวรรคตใน 1425 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์มีอาณาจักรที่กินพื้นที่ตั้งแต่เมืองนียาทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ไปจนถึงแก่งที่สี่ของแม่น้ำไนล์ในนูเบีย เปิดช่องทางนำเข้าของที่สำคัญ เช่น สัมฤทธิ์และไม้

ฟาโรห์แห่งราชอาณาจักรใหม่ทรงสนับสนุนสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าอาเมินในเมืองคาร์นัค ทำให้วิหารคาร์นัคเป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์โบราณ พวกพระองค์ยังสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเชิดชูความสำเร็จของพระองค์เองทั้งจริงและในจินตนาการ

ราว 1350 ปีก่อนคริสตกาล ความมั่นคงของราชอาณาจักรใหม่ถูกคุกคาม เมื่อฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 ขึ้นครองราชย์และทำการปฏิรูปที่รุนแรงและวุ่นวาย ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น แอเคนาเทน พร้อมกับบูชาสุริยเทพที่คลุมเครือก่อนหน้านี้พระนามว่า "อาเทน" เป็นเทพสูงสุด ระงับการบูชาเทพส่วนใหญ่องค์อื่น ๆ และย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองใหม่แอเคนาเทน (เมืองอาร์มานาในปัจจุบัน) โดยทุ่มเทให้กับศาสนาและรูปแบบศิลปะใหม่ที่เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่หลังการสวรรคตของแอเคนาเทน ลัทธิของเอเทนก็ถูกละทิ้งอย่างรวดเร็วและศาสนาแบบดั้งเดิมได้รับการฟื้นฟู ฟาโรห์พระองค์ต่อ ๆ มา ตุตันคาเมน ไอย์และโฮเรมเฮบ ต่างได้ทำการลบการกล่าวถึงเรื่องนอกรีตของฟาโรห์แอเคนาเทน (ที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อสมัยอาร์มานา)

ราว 1279 ปีก่อนคริสตกาลฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 หรือที่รู้จักกันในนาม "แรเมซีสมหาราช" เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงโปรดฯ ให้สร้างวิหาร รูปปั้นและเสาโอเบลิสก์จำนวนมาก ทรงมีบุตรมากกว่าฟาโรห์อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุที่ทรงเป็นผู้นำทางทหารที่กล้าหาญ จึงทรงนำกองทัพด้วยพระองค์เองต่อต้านชาวฮิตไทต์ในสมรภูมิคาเดช (ซีเรียในปัจจุบัน) และหลังจากต่อสู้จนถึงทางตัน ในที่สุดก็ตกลงทำสนธิสัญญาสันติภาพที่บันทึกไว้เมื่อประมาณ 1258 ปีก่อนคริสตกาล

อย่างไรก็ตาม ความมั่งคั่งของอียิปต์ทำให้ตกเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการรุกรานของต่างชาติ โดยเฉพาะชาวลิเบียเบอร์เบอร์ทางตะวันตก และกลุ่มชาวเลจากทะเลอีเจียน ในช่วงต้น กองทัพอียิปต์สามารถขับไล่การรุกรานเหล่านี้ได้ แต่ในที่สุดอียิปต์ก็สูญเสียดินแดนที่เหลืออยู่ทางตอนใต้ของคานาอันส่วนใหญ่ให้กับชาวอัสซีเรีย ภัยคุกคามภายนอกเองทำให้ความไม่สงบภายในรุนแรงขึ้น เกิดการทุจริต การปล้นสุสาน และความไม่สงบของสังคม กอปรกับหลังจากฟื้นคืนอำนาจของเหล่านักบวชแห่งวิหารแห่งอาเมินในธีบส์ที่ได้สะสมที่ดินและความมั่งคั่งมากมายและอำนาจที่แผ่ขยายของพวกเขา ทำให้ประเทศแตกสลาย ข้าสู่ยุคช่วงต่อระยะที่สาม

ช่วงต่อระยะที่สาม (1069–653 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 21–25)

หลังการสวรรคตของฟาโรห์แรเมซีสที่ 9 ใน 1078 ปีก่อนคริสตกาล สเมนเดสมีอำนาจปกครองทางตอนเหนือของอียิปต์โดยปกครองจากเมืองแทนิส ในส่วนทางตอนใต้นั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเหล่านักบวชแห่งอาเมินที่เมืองธีบส์โดยยอมรับสเมนเดสเพียงแค่ในนามเท่านั้น ในช่วงเวลานี้ชาวลิเบียได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทางตะวันตก และหัวหน้าของผู้ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้เริ่มมีอำนาจในการปกครองตนเองมากขึ้น ผู้ปกครองชาวลิเบียได้เข้าครอบครองสามเหลี่ยมปากแม่น้ำภายใต้ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1 ใน 945 ปีก่อนคริสตกาล โดยก่อตั้งราชวงศ์ลิเบียหรือ Bubastite ที่จะปกครองต่อไปอีกกว่า 200 ปี ฟาโรห์โชเชงค์ได้ปกครองทางตอนใต้ของอียิปต์อีกครั้งโดยจัดให้สมาชิกพระราชวงค์อยู่ในตำแหน่งนักบวชที่สำคัญ การควบคุมของลิเบียเริ่มลดลงเมื่อราชวงศ์คู่แข่งในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นในลีออนโทโพลิส และชาวคุชที่คุกคามจากทางใต้

 
ฟาโรห์และกษัตริย์ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์; จกาซ้ายไปขวา: Tantamani, ทาฮาร์กา (หลัง), เซนคามานิสเคน, again Tantamani (หลัง), แอสเพลตา, อันลามานิ, again Senkamanisken. Kerma Museum.

ราว 727 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์คุชพระนามว่าปีเย ได้บุกขึ้นเหนือและเข้าครอบครองธีบส์ถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ สถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้านี้ได้สร้างและบูรณะวัด วิหารและอนุสาวรีย์ทั่วทั้งหุบเขาไนล์ ทั้งที่เมมฟิส คาร์นัค คาวา และเจเบล บาร์คาล ฟาโรห์ทาฮาร์กาทรงขยายอาณาเขตจนมีขนาดใหญ่เกือบเทียบเท่าราชอาณาจักรใหม่ การก่อสร้างพีระมิด (ส่วนใหญ่ในประเทศซูดานในปัจจุบัน) กลับมาแพร่หลายอีกครั้งนับตั้งแต่ราชอาณาจักรกลาง

ความเจริญของอียิปต์ลดลงอย่างมากในช่วงปลายยุคช่วงต่อระยะที่สาม พันธมิตรต่างชาติตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอัสซีเรียและเมื่อ 700 ปีก่อนคริสตกาลสงครามระหว่างสองรัฐก็กลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดสงครามขึ้นระหว่าง 671 ถึง 667 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอัสซีเรียเริ่มการพิชิตอียิปต์ ในรัชกาลทาฮาร์กาและทานูทาเมินเต็มไปด้วยความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องกับชาวอัสซีเรีย จนในที่สุดชาวอัสซีเรียก็ขับไล่ชาวคุชกลับไปยังนูเบีย ยึดครองเมืองเมมฟิส และทำลายเหล่าวิหารแห่งธีบส์

ยุคปลาย (653–332 ปีก่อน ค.ศ. : ราชวงศ์ที่ 26–31)

ในยุคปลายนี้ ใน 653 ปีก่อนคริสตกาลฟาโรห์ Psamtik ที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบหก สามารถขับไล่ชาวอัสซีเรียได้ด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาวกรีกซึ่งได้รับคัดเลือกให้จัดตั้งกองทัพเรือแห่งแรกของอียิปต์ อิทธิพลของกรีกขยายตัวอย่างมากเมื่อนครรัฐนอคราติส (Naucratis) กลายเป็นบ้านสำคัญของชาวกรีกในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เมืองหลวงใหม่ภายใต้ราชวงศ์นี้ที่เมืองซาอิสปรากฏให้เห็นการฟื้นตัวในระยะเวลาสั้น ๆ ของเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ใน 525 ปีก่อนคริสตกาลกษัตริย์เปอร์เซีย แคมบิเซสที่ 2 (Cambyses II) ได้เริ่มการพิชิตอียิปต์กระทั่งจับฟาโรห์ Psamtik ที่ 3 ได้ที่สมรภูมิเปลูเซียม แคมบิเซสที่ 2 จึงได้เป็นฟาโรห์อย่างเป็นทางการ แต่ปกครองอียิปต์จากดินแดนเปอร์เซีย ปล่อยให้อียิปต์อยู่ภายใต้การควบคุมของเซแทร็ป มีการปฏิวัติต่อต้านชาวเปอร์เซียที่ประสบความสำเร็จเพียงไม่กี่ครั้งในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช แต่อียิปต์ก็ไม่สามารถเป็นอิสระจากเปอร์เซียได้อย่างถาวร

หลังจากการผนวกดินแดนโดยเปอร์เซีย อียิปต์ได้กลายมาเป็นเขตปกครองหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิดร่วมกับไซปรัสและฟีนิเซีย ช่วงแรกของการปกครองของเปอร์เซียเหนืออียิปต์ภายใต้ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด สิ้นสุดลงใน 402 ปีก่อนคริสตกาล เมื่ออียิปต์ได้รับเอกราชภายใต้ราชวงศ์ชนพื้นเมืองเชื่อสายอียิปต์ โดยราชวงศ์ที่สามสิบกลายมาเป็นราชวงศ์ชนพื้นเมืองสุดท้ายของอียิปต์โบราณ มีฟาโรห์ Nectanebo II เป็นฟาโรห์ชนพื้นเมืองพระองค์สุดท้าย

การกลับมาอยู่ภายการปกครองของเปอร์เซียอีกครั้งเกิดขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดใน 343 ปีก่อนคริสตกาล แต่ไม่นานหลังจากนั้นใน 332 ปีก่อนคริสตกาล Mazaces ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียได้มอบอียิปต์ให้แก่อเล็กซานเดอร์มหาราชโดยไม่มีการต่อสู้

ยุคทอเลมี/เฮลเลนิสต์ (332–30 ปีก่อน ค.ศ.)

ดูบทความหลักที่: ราชอาณาจักรทอเลมี
 
ทอเลมีที่ 4 สวมมงกุฎคู่แห่งอียิปต์

ใน 332 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์มหาราชพิชิตอียิปต์โดยมีการต่อต้านจากชาวเปอร์เซียเพียงเล็กน้อย พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากชาวอียิปต์ในฐานะผู้ปลดปล่อย อาณาจักรมาซิโดเนียทอเลมีสืบทอดประเทศต่อมาโดยใช้ระบอบการปกครองเดิมของอียิปต์เป็นต้นแบบและตั้งนครหลวงใหม่ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย นครนี้แสดงอำนาจและเกียรติภูมิของการปกครองแบบเฮลเลนิสต์ เป็นแหล่งการเรียนรู้และวัฒนธรรมโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ห้องสมุดแห่งอะเล็กซานเดรีย ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรียเป็นจุดเฃเริ่มต้นให้เรือหลายลำที่ยังคงมีการค้าขายให้ล่องผ่านเมือง โดยเฉพาะการค้าขายและผลิตต้นกระดาษปาปิรัส

วัฒนธรรมเฮลเลนิสต์ไม่ได้แทนที่วัฒนธรรมอียิปต์พื้นเมืองทั้งหมดเนื่องจากผู้ปกครองสนับสนุนเพื่อรักษาความภักดีในหมู่ประชาชน เห็นได้จากการสร้างวิหารในแบบของอียิปต์ การสนับสนุนความเชื่อดั้งเดิมและการวาดภาพตัวเองเป็นฟาโรห์ จนเกิดการผสมผสานกันซึ่งวัฒนธรรมและความเชื่อ ถึงกระนั้น ราชวงศ์ทอเลมีก็ถูกท้าทายจากการกบฏของชนพื้นเมือง การแย่งชิงอำนาจกันในหมู่ราชวงศ์ และกลุ่มผู้มีอำนาจในอเล็กซานเดรียที่ก่อตัวขึ้นหลังจากการสวรรคตของทอเลมีที่ 4 นอกจากนี้ เมื่อชาวโรมันต้องพึ่งพาการนำเข้าธัญพืชจากอียิปต์มากขึ้น ชาวโรมันจึงให้ความสนใจอย่างมากในสถานการณ์ทางการเมืองของอียิปต์ ความไม่สงบทั้งในประเทศและภัยจากนอกประเทศทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ส่งผลให้โรมส่งกองกำลังเข้ายึดครองในฐานะหนึ่งจังหวัดของจักรวรรดิโรมัน

ยุคโรมัน (30 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 641)

 
ภาพบุคคลบนมัมมีฟายุม เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผสานวัฒนธรรมอียิปต์และโรมัน

อียิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล หลังจากความพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่อักติอูงของมาร์กุส อันโตนิอุสและพระนางคลีโอพัตราโดยอ็อกตาวิอุส (ต่อมาคือจักรพรรดิเอากุสตุส) ชาวโรมันพึ่งพาการขนส่งธัญพืชจากอียิปต์ และกองทัพโรมันภายใต้การบัญชาของผู้ปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งโดยจักรพรรดิต้องปรากบฎ เก็บภาษีอย่างเคร่งครัดและป้องกันการโจมตีโดยกลุ่มโจรซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงเวลานั้น นครอะเล็กซานเดรียกลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญมากในเส้นทางการค้ากับชาวตะวันออก เนื่องจากสินค้าฟุ่มเฟือยแปลกใหม่เป็นที่ต้องการอย่างมากในกรุงโรม

แม้ว่าชาวอียิปต์จะมีทัศนคติที่ไม่เป็นมิตรต่อชาวโรมันมากกว่าชาวกรีก แต่ประเพณีบางอย่าง เช่น การทำมัมมี่และการบูชาเทพเจ้าดั้งเดิมยังคงดำเนินต่อไป ศิลปะการวาดภาพมัมมี่เฟื่องฟูจนจักรพรรดิโรมันบางพระองค์ทรงโปรดให้วาดภาพพระองค์เองเป็นฟาโรห์ แม้ว่าจะไม่ถึงขนาดที่กระทำกันในยุคทอเลมีก็ตาม ผู้ปกครองหลักอาศัยอยู่นอกอียิปต์และไม่มีการประกอบพิธีตามแบบของกษัตริย์อียิปต์โบราณ การปกครองท้องถิ่นจึงกลายเป็นแบบโรมัน

ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง คริสต์ศาสนาได้หยั่งรากลึกในอียิปต์และมองว่าเป็นอีกลัทธิหนึ่งที่สามารถยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม คริสต์ศาสนาเองก็ต้องช่วงชิงความเลื่อมใสของผองชนที่นับถือศาสนาอียิปต์ดั้งเดิมและศาสนากรีก-โรมันที่เป็นความเชื่อที่นิยมมาแต่เดิม สิ่งนี้นำไปสู่การกดขี่ข่มเหงของผู้เปลี่ยนศาสนา นำมาซึ่งจการกวาดล้างครั้งใหญ่โดยจักรพรรดิดิออเกลติอานุสเริ่มต้นใน ค.ศ. 303 แต่ในท้ายที่สุดศาสนาคริสต์ได้รับชัยชนะ โดยใน ค.ศ. 391 จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 ในฐานะคริสตชนได้ออกกฎหมายที่ห้ามพิธีกรรมนอกรีตและปิดวัด อะเล็กซานเดรียกลายเป็นสถานที่เกิดเหตุจลาจลต่อต้านคนนอกศาสนาครั้งใหญ่โดยมีการทำลายภาพทางศาสนาของภาครัฐและเอกชน ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมทางศาสนาของชาวอียิปต์ดั้งเดิมจึงตกต่ำลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ชาวพื้นเมืองยังคงพูดภาษาของพวกเขา ความสามารถในการอ่านเขียนอักษรอียิปต์โบราณได้หายไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากบทบาทของนักบวชในวิหารของอียิปต์ลดลง ในบางกรณี วัดเองก็ถูกเปลี่ยนเป็นโบสถ์คริสต์หรือถูกทอดทิ้งให้หักพักอยู่กลางทะเลทราย

ในคริสต์ศตวรรษที่สี่ เมื่อโรมันแตกแยกออกเป็นโรมันตะวันตกและตะวันออก อียิปต์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ภายหลังอียิปต์ตกเป็นของซาซาเนียนเปอร์เซียในการพิชิตอียิปต์ของซาซาเนียน (ค.ศ. 618–628) กลับมาเป็นของโรมันอีกครั้งในรัชกาลจักรพรรดิเฮราคลิอัส (ค.ศ. 629–639) จนท้ายที่สุดถูกพิชิตโดยกองทัพมุสลิมรอชิดีน ใน ค.ศ. 639–641 เป็นการยุติการปกครองของโรมันอย่างสมบูรณ์

 
พีระมิดคาเฟร แห่งราชวงศ์ที่ 4 และ สฟิงซ์ บนที่ราบสูงกีซา

ลำดับราชวงศ์

ราชวงศ์ของฟาโรห์
แห่งอียิปต์
 
ปลายยุคก่อนราชวงศ์
ราชวงศ์ต้น
ราชอาณาจักรเก่า
ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง
  • ราชวงศ์ที่เจ็ด
  • ราชวงศ์ที่แปด
  • ราชวงศ์ที่เก้า
  • ราชวงศ์ที่สิบ
  • ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด
(เมืองหลวงที่ธีบส์)
ราชอาณาจักรกลาง
ช่วงต่อระยะที่สอง
ราชอาณาจักรใหม่
  • ราชวงศ์ที่สิบแปด
  • ราชวงศ์ที่สิบเก้า
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบ
ช่วงต่อระยะที่สาม
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า
ยุคปลาย
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด
  • ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า
  • ราชวงศ์ที่สามสิบ
  • ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด
ยุคกรีก-โรมัน
แก้ไขแม่แบบ
  • ปลายยุคก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์โบราณ
  • ยุคราชวงศ์ (ดูได้ที่ ลำดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์)
    • ราชวงศ์ต้นๆ (ราชวงศ์ที่หนึ่ง และ ราชวงศ์ที่สอง)
    • ราชอาณาจักรเก่า (ราชวงศ์ที่สาม ถึง ราชวงศ์ที่หก)
    • ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง (ราชวงศ์ที่เจ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด)
    • ราชอาณาจักรกลาง (ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบสี่)
    • ช่วงต่อระยะที่สอง (ราชวงศ์ที่สิบห้า ถึง ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด)
    • ราชอาณาจักรใหม่ (ราชวงศ์ที่สิบแปด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบ)
    • ช่วงต่อระยะที่สาม (ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า)
    • ยุคปลาย (ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ถึง ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด)
    • ยุคกรีก - โรมัน(พ.ศ. 211 ถึง 1182)
      • กษัตริย์มาซิโดเนีย (พ.ศ. 211 ถึง 238)
      • ราชวงศ์ปโตเลมี (พ.ศ. 238 ถึง 513]
      • อียิปต์ตุส (รัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน พ.ศ. 513 ถึง 1182)
  • มุสลิมบุกอียิปต์ (พ.ศ. 1182)

เชิงอรรถ

  1. With his two principal wives and large harem, Ramesses II sired more than 100 children. (Clayton (1994), p. 146)
  2. From Killebrew & Lehmann (2013), p. 2: "First coined in 1881 by the French Egyptologist G. Maspero (1896), the somewhat misleading term "Sea Peoples" encompasses the ethnonyms Lukka, Sherden, Shekelesh, Teresh, Eqwesh, Denyen, Sikil / Tjekker, Weshesh, and Peleset (Philistines). [Footnote: The modern term "Sea Peoples" refers to peoples that appear in several New Kingdom Egyptian texts as originating from "islands"... The use of quotation marks in association with the term "Sea Peoples" in our title is intended to draw attention to the problematic nature of this commonly used term. It is noteworthy that the designation "of the sea" appears only in relation to the Sherden, Shekelesh, and Eqwesh. Subsequently, this term was applied somewhat indiscriminately to several additional ethnonyms, including the Philistines, who are portrayed in their earliest appearance as invaders from the north during the reigns of Merenptah and Ramesses III."
     ● From Drews (1993), pp. 48–61: "The thesis that a great "migration of the Sea Peoples" occurred ca. 1200 B.C. is supposedly based on Egyptian inscriptions, one from the reign of Merneptah and another from the reign of Ramesses III. Yet in the inscriptions themselves such a migration nowhere appears. After reviewing what the Egyptian texts have to say about 'the sea peoples', one Egyptologist (Wolfgang Helck) recently remarked that although some things are unclear, "eins ist aber sicher: Nach den agyptischen Texten haben wir es nicht mit einer 'Volkerwanderung' zu tun." Thus the migration hypothesis is based not on the inscriptions themselves but on their interpretation."

อ้างอิง

  1. "Chronology". Digital อียิปต์สำหรับมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยวิทยาลัยแห่งลอนดอน. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.
  2. Dodson (2004) หน้า 46
  3. Clayton (1994) หน้า 217
  4. James (2005) หน้า 84
  5. Shaw (2002) หน้า 17, 67–69
  6. Shaw 2003, p. 17.
  7. Ikram 1992, p. 5.
  8. Hayes 1964, p. 220.
  9. Childe 2014.
  10. Aston, Barbara G.; Harrell, James A.; Shaw, Ian. Stone: Obsidian. pp. 46–47. in Nicholson & Shaw (2000)
     ● Aston (1994), pp. 23–26
     ● "Obsidian". Digital Egypt for Universities. University College London. 2002.
     ● "The origin of obsidian used in the Naqada Period in Egypt". Digital Egypt for Universities. University College London. 2000.
  11. Patai 1998.
  12. Shaw 2003, p. 61.
  13. [[#CITEREF|]].
  14. "Faience in different Periods". Digital Egypt for Universities. University College London. 2000. จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2008.
  15. Allen 2000, p. 1.
  16. Robins 2008, p. 32.
  17. Clayton 1994, p. 6.
  18. Clayton 1994, pp. 12–13.
  19. Shaw 2003, p. 70.
  20. "Early Dynastic Egypt". Digital Egypt for Universities. University College London. 2001. จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2008.
  21. James 2005, p. 40.
  22. Shaw 2003, p. 102.
  23. Shaw 2003, pp. 116–117.
  24. Hassan, Fekri (17 February 2011). "The Fall of the Old Kingdom". BBC.
  25. Clayton 1994, p. 69.
  26. Shaw 2003, p. 120.
  27. Shaw 2003, p. 146.
  28. Clayton 1994, p. 29.
  29. Shaw 2003, p. 148.
  30. Shaw 2003, p. 158.
  31. Shaw 2003, pp. 179–182.
  32. Robins 2008, p. 146.
  33. Robins 2008, p. 90.
  34. Shaw 2003, p. 188.
  35. Ryholt 1997, p. 310.
  36. Shaw 2003, p. 189.
  37. Shaw 2003, p. 224.
  38. Bleiberg 2005.
  39. O'Connor & Cline 2001, p. 273.
  40. Tyldesley 2001, pp. 76–77.
  41. James 2005, p. 54.
  42. Cerny 1975, p. 645.
  43. Robinson, Jennifer (2014-09-29). "Rise Of The Black Pharaohs". KPBS Public Media. สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
  44. Shaw 2003, p. 345.
  45. Bonnet, Charles (2006). The Nubian Pharaohs. New York: The American University in Cairo Press. pp. 142–154. ISBN 978-977-416-010-3.
  46. Mokhtar, G. (1990). General History of Africa. California, USA: University of California Press. pp. 161–163. ISBN 978-0-520-06697-7.
  47. Emberling, Geoff (2011). Nubia: Ancient Kingdoms of Africa. New York: Institute for the Study of the Ancient World. pp. 9–11. ISBN 978-0-615-48102-9.
  48. Silverman, David (1997). Ancient Egypt. New York: Oxford University Press. pp. 36–37. ISBN 978-0-19-521270-9.
  49. Shaw 2003, p. 358.
  50. Shaw 2003, p. 383.
  51. Shaw 2003, p. 385.
  52. Shaw 2003, p. 405.
  53. Shaw 2003, p. 411.
  54. Shaw 2003, p. 418.
  55. James 2005, p. 62.
  56. James 2005, p. 63.
  57. Shaw 2003, p. 426.
  58. Shaw 2003, p. 422.
  59. Shaw 2003, p. 431.
  60. Chadwick 2001, p. 373.
  61. MacMullen 1984, p. 63.
  62. Shaw 2003, p. 445.

ดูเพิ่ม

ปต, โบราณ, หร, ไอยค, ปต, เป, นหน, งในอารยธรรมท, เก, าแก, ดในโลก, งอย, ทางตอนตะว, นออกเฉ, ยงเหน, อของทว, ปแอฟร, กา, นท, งแต, ตอนกลางจนถ, งปากแม, ำไนล, จจ, นเป, นท, งของประเทศอ, ปต, อารยธรรมเร, มข, นประมาณ, อนคร, ตศ, กราช, โดยการรวมอำนาจทางการเม, องของอ, ปต, ตอน. xiyiptobran hrux ixykhupt epnhnunginxarythrrmthiekaaekthisudinolk tngxyuthangtxntawnxxkechiyngehnuxkhxngthwipaexfrika miphunthitngaettxnklangcnthungpakaemnainl pccubnepnthitngkhxngpraethsxiyipt xarythrrmxiyiptobranerimkhunpraman 3 150 pikxnkhritskrach 1 odykarrwmxanacthangkaremuxngkhxngxiyipttxnehnuxaelatxnit phayitfaorhnaremxrsungepnfaorhxngkhaerkaehngxiyipt aelamikarphthnaxarythrrmeruxymakwa 5 000 pi 2 prawtikhxngxiyiptobranpraktkhuninchwngrayaewlahnung hruxthiruckknwa rachxanackr mikaraebngyukhsmykhxngxiyiptobranepnrachxanackr swnmakaebngtamrachwngsthikhunmapkkhrxng cnkrathngrachxanackrsudthay hruxthiruckkninchuxwa rachxanackrklang xarythrrmxiyiptxyuinchwngthimikarphthnathieyxamak aelaswnmakldlng sungepnewlaediywknthixiyiptchnphaytxkarthasngkhramcakchatixun dngechnchawxssieriyaelaepxresiy cnkrathngemux 332 pikxnkhristskrach khwamepnxanackrxiyiptobranidlmslaylngemuxphraecaxelksanedxrmharachsamarthyudkhrxngxiyipt aelacdxiyiptepnephiyngcnghwdhnunginckrwrrdimasiodeniy 3 aemkrannexng xarythrrmxiyiptobrankdarngxyuphayitrachwngsthxelmiechuxsaykrisaelackrwrrdiormn ekidkarphsmphsanekhakbxarythrrmphupkkhrxngcneluxnhayipinthisudphiramidaehngemmfisaelasusanobran hnunginsingkxsrangthiaesdngthungxarythrrmxiyiptobranthichdecnthisud xarythrrmxiyiptphthnakarmacaksphaphkhxnglumaemnainl karkhwbkhumrabbchlprathan karkhwbkhumkarphlitphuchphlthangkarekstr phrxmkbphthnaxarythrrmthangsngkhm aelawthnthrrm phunthikhxngxiyiptnnlxmrxbdwythaelthrayesmuxnprakarpxngknkarrukrancakstruphaynxk nxkcakniyngmikarthaehmuxngaer aelaxiyiptyngepnchnchatiaerk thimikarphthnakardwykarekhiyn pradisthtwxksrkhunich karbriharxiyiptennipthangsingpluksrang aelakarekstrkrrm phrxmknnnkmikarphthnakarthangthharkhxngxiyiptthiesrimsrangkhwamaekhngaekrngaekrachxanackr odyprachachncaihkhwamekharphkstriyhruxfaorhesmuxnhnungethpheca faorhmixanacaelaohdraymak thaihkarbriharrachkarbanemuxngaelakarkhwbkhumxanacnnthaidxyangmiprasiththiphaphchawxiyiptobranimidepnephiyngaetekstrkr aelachangkxsrangethann aetyngepnnkkhid nkprchya idmasungkhwamruinsastrtang makmaytlxdkarphthnaxarythrrmkwa 4 000 pi thngindankhnitsastr ethkhnikhkarsrangphiramid wd oxeblisk twxksr aelaethkhnikholyidankrack nxkcakniyngmikarphthnaprasiththiphaphthangdankaraephthy rabbchlprathanaelakarekstrkrrm xiyiptthingmrdksudthayaekxnuchnrunhlngiwkhuxsilpa aelasthaptykrrm sungthukkhdlxknaipichthwolk xnusrnsthanthitang inxiyipttangdungdudnkthxngethiyw nkpraphnthkwahlaystwrrsthiphanma pccubnmikarkhnphbwtthuihm inxiyiptmakmaysungkalngtrwcsxbthungprawtikhwamepnma ephuxepnhlkthanihaekxarythrrmxiyipt aelaepnhlkthanaekxarythrrmkhxngolktxip 4 enuxha 1 prawti 1 1 yukhkxnrachwngs 1 2 yukhrachwngserimaerk raw 3150 2686 pikxn kh s rachwngsthi 1 2 1 3 rachxanackreka 2686 2181 pikxn kh s rachwngsthi 3 6 1 4 chwngtxrayathihnung 2181 2061 pikxn kh s rachwngsthi 7 11 1 5 rachxanackrklang 2061 1690 pikxn kh s rachwngsthi 11 14 1 6 chwngtxrayathisxng 1674 1549 pikxn kh s rachwngsthi 15 17 1 7 rachxanackrihm 1549 1077 pikxn kh s rachwngsthi 18 20 1 8 chwngtxrayathisam 1069 653 pikxn kh s rachwngsthi 21 25 1 9 yukhplay 653 332 pikxn kh s rachwngsthi 26 31 1 10 yukhthxelmi ehlelnist 332 30 pikxn kh s 1 11 yukhormn 30 pikxn kh s kh s 641 2 ladbrachwngs 3 echingxrrth 4 xangxing 5 duephimprawti aekikh aephnthixiyiptobran aesdngthungsthanthitngemuxngaelabriewn insmyyukhrachwngs 3150 30 pikxnkhristskrach khwamxudmsmburnkhxngbriewnrxbaemnainl esmuxnhnungthithrrmchatihyibyunoxkasihaekmnusythicatngthinthan phthnakarekstrkrrm esrsthkic aelasngkhm aelanbepnsunyklangthangsngkhmsakhyinprawtisastrxarythrrmkhxngmnusychati 5 thirablumthixudmsmburnkhxngaemnainlthaihmnusymioxkasphthnaesrsthkickarekstrthitngthinthanaelasngkhmthimikarrwmsunythisbsxnmakkhun sungklayepnrakthanthisakhyinprawtisastrxarythrrmkhxngmnusy 6 chnrxnerthiekbkhxngpalastwerimekhamaxasyxyuinbriewnhubekhainlinchwngklangyukhiphlsotsinhruxemuxpraman 120 000 pikxn krathngchwngplayyukhhineka sphaphxakasthiaehngaelngkhxngaexfrikatxnehnux erimrxnaelaaehngmakkhuneruxy thaihprachakroykyaymatngthinthantamaenwaemna yukhkxnrachwngs aekikh othinwthnthrrm Naqada II kxnyukhrachwngs inyukhkxnrachwngsaelarachwngserimaerk sphaphxakaskhxngxiyiptaehngaelngnxykwainpccubnmak phunthiswnihykhxngxiyiptthukpkkhlumipdwythunghyasawnnaaelamifungstwkibethakinhya ibimaelastwpamikhwamxudmsmburnmakinthuksphaphaewdlxmaelaphumiphakhinlepnthixyuxasykhxngnknacanwnmak khadwakarlastwepneruxngpktisahrbchawxiyiptaelanikepnchwngewlathistwhlaychnidthuknamaeliyngepnkhrngaerk 7 raw 5500 pikxnkhristkal chnephaelk thixasyxyuinhubekhainlidphthnaepnwthnthrrmthiaesdngihehnthungkarkhwbkhumkarekstraelakareliyngstwxyangmnkhng rabuidcakekhruxngpndinephaaelakhxngichswntw echn hwi kailaelalukpd hnunginwthnthrrmyukhnithiihythisudbriewnxiyipttxnbn txnit khuxwthnthrrmbadaeriyn Badarian culture sungxacmitnkaenidinthaelthraytawntk epnthiruckineruxngesramikkhunphaphsung ekhruxngmuxhin aelakarichthxngaedng 8 karmathungkhxngwthnthrrm Amratian Naqada I Gerzeh Naqada II aela Semainean Naqada III hlngwthnthrrmbadaeriynnamasungkarphthnawithyakarhlayprakar 9 odyinchwngwthnthrrm Naqada I chawxiyiptidnaekhahinxxbsiediyncakexthioxepiyephuxichinkarphlitibmidaelawtthuxun 10 insmy Naqada II mihlkthankartidtxkbtawnxxkikl odyechphaakhanaxnaelachayfngbiblxs 11 inchwngewlapraman 1 000 pini wthnthrrm Naqada idphthnacakchumchnekstrkrrmelk ephiyngimkiaehngcnklayepnxarythrrmthithrngphlng thiphunasamarthkhwbkhumphukhnaelathrphyakrkhxnghubekhainlidxyangsmburn karcdtngsunyxanacthi Nekhen inphasakrik Hierakonpolis aelatxmathi Abydos phunakhxng Naqada III idkhyaykarkhrxbkhrxngkhxngxiyiptipthangehnuxtamaemnainl 12 phwkekhayngkhakhaykbnuebiythangthisit oxexsiskhxngthaelthraythangtawntkthangthistawntk aelawthnthrrmtang briewnthaelemdietxrereniyntawnxxkaelatawnxxkiklthangthistawnxxk xnpncuderimtnkhxngkhwamsmphnthrahwangxiyipt emosopetemiy 13 wthnthrrm Naqada phlitsinkhathihlakhlaysungsathxnihehnthungxanacthiephimkhunaelakhwammngkhngkhxngchnchnsung tlxdcnkhxngichswntwinsngkhmsungrwmthunghwi ruppnkhnadelk ekhruxngpndinephathasi aecknhintkaetngkhunphaphsung canekhruxngsaxang aelaekhruxngpradbthithadwythxngkhaiphthuryaelangachang phwkekhayngphthnaekhruxngekhluxbesramik thieriykwa faience sungichknxyangaephrhlaythungyukhpkkhrxngodyckrwrrdiormnephuxtkaetngthwyekhruxngrangaelarupaekaslk 14 aelainchwngthaykhxngwthnthrrm Naqada praktkarichsylksninlksnaxksr sunginthisudcaidrbkarphthnaepnrabbxksrxiyiptobran hrux ihexxorklif hieroglyphs sahrbkarekhiynphasaxiyiptobran 15 yukhrachwngserimaerk raw 3150 2686 pikxn kh s rachwngsthi 1 2 aekikh naremxrphaelt klawthung karrwmsxngdinaednepnhnung 16 yukhrachwngserimaerk Early Dynastic Period epnchwngewlarwmsmykbchwngtnkhxngxarythrrmsuemeriyn xkhkhaediykhxngemosopetemiyaelaexlamobraninkhriststwrrsthisamkxnkhristkal nkbwchchawxiyipt maenoth Manetho idcaaenkaelacdklumkstriy hrux faorh tngaetemenscnthungchwngthiekhamichiwitxyuxxkepn 30 rachwngs sungwithikarcaaenkthiyngkhngichmacnthungpccubn odyekhaerimtnprawtisastrxyangepnthangkarkbkstriychux emni hrux emens Menes inphasakrik sungechuxknwaidrwmsxngxanackraehngxiyipttxnbnaelatxnlangekhadwykn 17 xyangirktam karrwmdinaednihepnhnungdngklawkhadwanacaekidkhunxyangkhxyepnkhxyipmakkwathinkekhiynchawxiyiptobrannaesnx xikthngyngimkhnphbhlkthanrwmsmythixangthungemens sngphlihnkwichakarbangkhnechuxwa emensintananxacepnfaorhnaremxr phusungprakthlkthanbnnaremxrphaeltepnphaphbukhkhlthiswmekhruxngrachkkuthphnthephuxaesdngsylksnkhxngkarrwmdinaedn 18 inyukhrachwngserimaerksungerimkhunemuxpraman 3000 pikxnkhristkalni kstriyphraxngkhaerk khxngyukhidrwmxanacinkarkhwbkhumxiyipttxnlangodykartngemuxnghlwngthiemmfis thaihsamarthkhwbkhumkalngaerngnganaelaekstrkrrminphunthisamehliympakaemnathixudmsmburntlxdcnesnthangkarkhathisakhysuliaewnt xanacaelakhwammngkhngthiephimkhunkhxngkstriyinyukhnisathxnihehninsusanaemstabaaelaokhrngsranghlumfngsphthixabidxsthiichephuxechlimchlxngkstriyinthanaethphhlngkarswrrkht 19 sthabnkarpkkhrxngthiaekhngaekrngsungphthnaodykstriythahnathiephuxkhwbkhumrthxyangchxbthrrminkarkhwbkhumthidin aerngngan aelathrphyakr nncaepntxkarxyurxdaelakaretibotkhxngxarythrrmxiyiptobran 20 rachxanackreka 2686 2181 pikxn kh s rachwngsthi 3 6 aekikh khwamkawhnathisakhythangdansthaptykrrm silpaaelawithyakar ekidkhuninsmyxanackreka Old Kingdom odyidrbaernghnuncakphlphlitthangkarekstrthiephimkhunaelacanwnprachakrthimakkhun sungekidkhunidcakkarbriharswnklangthiidrbkarphthnaxyangdi 21 ehnidcak khwamsaercchinexkkhxngxiyiptobran xathi phiramidaehngkisaaelamhasfingsthisrangkhuninsmyni phayitkarduaelkhxng Vizier aelaecahnathiphuekbphasi mikarprasannganephuxcdthachlprathanephuxprbprungphlphlitphuch kareknthchawnaephuxthanganinokhrngkarkxsrang aelacdtngrabbyutithrrmephuxrksakhwamsngberiybrxy 22 dwyxanackarpkkhrxngswnklangthiaekhngaekrngkhun brrdaxalksnaelaecahnathixunthimikarsuksatangidrbphrarachthanthrphysinaelathidin ephuxepnkartxbaethncakkarrbichfaorh aelafaorhexngyngphrarachthanthidinihkbwdaelaphuprakxbphithifngphrasph mortuary cults ephuxihaenicwasthabnehlanicamithrphyakrephiyngphxthicabuchafaorhhlngkarswrrkht nkwichakarechuxwahastwrrskhxngkarptibtitxenuxngknkhxngsingehlanikhxy thalayesrsthkickhxngxiyipt cnimsamarthrxngrbkarbriharpraethsaebbrwmsunykhnadihyidxiktxip 23 emuxxanackhxngkstriyldlng phupkkhrxnginphumiphakhthieriykwa Nomarch kerimthathayxanacsungsudkhxngrachsank khwbkhukbkhwamaehngaelngxyangrunaernginchwng 2200 thung 2150 pikxnkhristkal 24 echuxknwathaihpraethsekhasuchwngewla 140 piaehngkhwamxdxyakaelakhwamkhdaeyngthieriykwa chwngtxrayathihnung 25 ruppnxalksn The Seated Scribe cakskhkhara rachwngsthihaaehngxiyipt xalksnehlaniepnphumikarsuksa mihnathitrwcsxbphasi cdbnthukaelapkkhrxng chwngtxrayathihnung 2181 2061 pikxn kh s rachwngsthi 7 11 aekikh chwngtxrayathihnungniekidkhunhlngcakrthbalklangkhxngxiyiptlmslayinchwngthaykhxngrachxanackreka odyimsamarthsnbsnunhruxsrangesthiyrphaphthangesrsthkickhxngpraethsidxiktxip phupkkhrxnginphumiphakhexngimsamarthphungphakstriyephuxkhxkhwamchwyehluxidinyamwikvt aelakarkhadaekhlnxahar aelakhxphiphaththangkaremuxngthitammasngphlihekidkhwamxdxyakaelasngkhramklangemuxngkhnadelk aemkrannphunathxngthinkichkhwamepnxisrakhxngphwkekhanisrangwthnthrrmthiefuxngfuintangcnghwd karkhwbkhumthrphyakrinswnphumiphakhthaihaetlathxngthinrarwykhun ehnidcakhlumfngsphthiihyotaeladikhuninthukchnchnthangsngkhm 26 inkarsrangsrrkhkhxngchangfimuxthxngthin idmikarnaexasilpwthnthrrmsungkxnhnanicakdechphaarachwngskhxngxanackrekamaichaeladdaeplng ehlankekhiynexngkphthnarupaebbwrrnkrrmthiaesdngthungkarmxngolkinaengdiaelakhwamkhidrieriminyukhnn 27 emuxprascakxanackhxngfaorh phupkkhrxngthxngthintangerimaekhngkhnknephuxkhwbkhumdinaednaelaxanacthangkaremuxng emuxthung 2160 pikxnkhristkal phupkkhrxnginehrakhlioxophlisidekhakhrxbkhrxngswnthisehnuxkhxngxiyipttxnlang inkhnathiklumkhuaekhngthixyuinthibstrakulxinethfidkhrxbkhrxngxiyipttxnbnthangtxnit emuxehlaxinethfmixanacmakkhunaelakhyaykarkhrxbkhrxngipthangehnuxcungekidkarpathaknrahwangsxngtrakulkhun raw 2055 pikxnkhristkal kxngkalngthibsthangtxnehnuxphayitemnthuohetpthi 2 inthisudkexachnaphupkkhrxngehrakhlioxophlis epnkarwmthngsxngdinaednxikkhrngaelanamasungyukhfunfusilpwithya esrsthkicaelawthnthrrmthieriykwa rachxanackrklang 28 rachxanackrklang 2061 1690 pikxn kh s rachwngsthi 11 14 aekikh brrdafaorhaehngrachxanackrklangidthakarfunfukhwammnkhngaelakhwammngkhngkhxngpraeths dwykarkratunihekidkarfuntwkhxngngansilpa wrrnkrrm aelaokhrngkarkxsrangkhnadihy 29 aetedim faorhemnthuohetpthi 2 aelaphusubthxdrachwngsthisibexdpkkhrxngpraethscakemuxngthibs aetfaorhxemenmehtthi 1 emuxkhunkhrxngrachyepnfaorhphraxngkhaerkkhxngrachwngsthisibsxnginrawpi 1985 kxnkhristkal idthrngyayemuxnghlwngkhxngxanackripthiemuxngxithc thawi Itjtawy sungtngxyuinoxexsisifyum Faiyum Oasis cakemuxngxithc thawini faorhaehngrachwngsthisibsxngiddaeninokhrngkarthmdinaelachlprathanephuxephimphlphlitthangkarekstrinphumiphakh yingipkwann yngidykekhayudkhrxngnuebiysungxudmipdwyehmuxnghinaelaehmuxngthxngkha inkhnathiidmikarsrangpxmpxngkninsamehliympakaemnatawnxxk eriykwa kaaephngaehngphupkkhrxng iwephuxpxngknkarrukrancaktangchati 30 inthangtrngknkhamkbthsnakhxngrachxanackrekatxethphecathiepnlksnakhnsungsud elitist rachxanackrklangklbaesdngxxkthungsrththaxnaeklngklaswnbukhkhltxethpheca expressions of personal piety 31 wrrnkrrminyukhnimibthaelatwlakhrthisbsxnsungekhiyninrupaebbthimnicaelakhmkhay 32 rupnunphaphaekaslk aelaphaphbukhkhlbnthukraylaexiydthilaexiydxxnkhxngaetlabukhkhlsungmathungkhwamsbsxnthangwithyakarkhnsungihm 33 phupkkhrxngthiyingihyphraxngkhsudthaykhxngrachxanackrklang khux faorhxemenmehtthi 3 odythrngxnuyatihphutngthinthanchawkhanaxnthiphudphasaesmitikcaktawnxxkiklekhasuphunthisamehliympakaemnainl ephuxkalngaerngnganthiephiyngphxsahrbkarthaehmuxngaeraelakarkxsrang xyangirktamkickrrmkarkxsrangaelakarehmuxngthithaeyxthayanehlani rwmkbnathwminaemnainlkhrngrunaernginplayrchkalthaihesrsthkictungekhriydaelatktalngxyangcha inchwngplayrachwngsthisibsamaelasibsi cnekhasuyudchwngtxrayathisxng 34 inchwngniphutngthinthanchawkhanaxnkerimkhwbkhumphunthisamehliympakaemna cnekhamamixanacinxiyiptinthanachawhiksxs 34 khmphirmrna aesdngihehnxksrphaphihorklif chwngtxrayathisxng 1674 1549 pikxn kh s rachwngsthi 15 17 aekikh praman 1785 pikxnkhristkal emuxxanackhxngfaorh aehngrachxanackrklangxxnaexlng chawexechiytawntkthieriykwa hiksxs Hyksos sungtngrkrakxyubriewnsamehliympakaemnainlidyudxanackarpkkhrxngkhxngxiyipt aelatngemuxnghlwngthi xwaris sngphlihrthbalklangedimtxnglathxyklbipyngpkkhrxngemuxngthibs faorhexngthukptibtiinthanaepnemuxngkhunphrxmthngtxngsngbrrnakaripyngphupkkhrxngthangehnux 35 inthangklbkn hiksxs hrux phupkkhrxngchawtangchati yngkhngrksarupaebbkarpkkhrxngedimkhxngxiyiptaelatngtnwaepnkstriy phrxmthngphsmphsanxngkhprakxbkhxngxiyiptekhakbwthnthrrmkhxngphwktnaelakhxngphurukranxun idnaesnxekhruxngmuxihm inkarthasngkhramekhamainxiyipt odyechphaathnukhxmophsithaelarthmasuk 36 hlngcakthikstriyphunemuxngkhxngthibsthxyrnipthangit kphbwatntidxyurahwangchawhiksxsthipkkhrxngthangehnux kbchawkhuch chnechuxsaynuebiysungepnphnthmitrkhxnghiksxsthangit hlngcakhlaypiinthanaphuthukpkkhrxng thibsidrwbrwmkhwamaekhngaekrngephiyngphxthicathathayxanachiksxsinkhwamkhdaeyngthikinewlanankwa 30 picnthung 1555 pikxnkhristkal 35 sungfaorhesekhnexner thaoxaelafaorhkhaomssamarthexachnachawnuebiythangtxnitkhxngxiyiptidsaerc aetlmehlwinkarexachnachawhiksxs krathngfaorhxaomsthi 1 prasbkhwamsaercinkarrbchnaaelalmlanghiksxsipcakxiyiptxyangthawr thrngkxtngrachwngsihmaelainrachxanackrihmthikalngsthapnacatamma karthharklayepnsingthisakhythisudsahrbphraxngkh phusungphyayamkhyayphrmaednkhxngxiyiptaelapkkhrxngdinaedntawnxxkikl 37 rachxanackrihm 1549 1077 pikxn kh s rachwngsthi 18 20 aekikh aephnthiaesdngxanaekhtphayitkarpkkhrxngkhxngxiyiptthikwangihythisud inyukhxiyiptobran raw 1450 pikxn kh s faorhaexekhnaethn buchasuriyethph kstriyaehngrachxanackrihmidsrangchwngewlaaehngkhwamrungeruxngxyangimekhypraktmakxn odykarrksaphrmaednaelaesrimsrangkhwamsmphnththangkarthutkbephuxnban rwmthungckrwrrdimithnni xssieriyaelakhanaxn karsngkhramthiekidkhuniynrchkalfaorhthutomsthi 1 aelafaorhthutomsthi 3 phrarachndda idkhyayxiththiphlihxiyiptcnmidinaednthikwangihythisudinprawtisastrtn faorhemrenpthahaehngrachwngsthisibekaepnkstriyphraxngkhaerkthiichkhawa faorh inrchkalfaorhaehtechpsut sungepnrachinithisthapnatwexngepnfaorh idthrngoprdihkxsrangaelasxmaesmsingkxsrangcanwnmak odyechphaathiidrbkhwamesiyhaycakhiksxs phrxmthngidsngkhnasarwcthangkarkhaipyngdinaednphnthaelakhabsmuthrisin emuxfaorhthutomsthi 3 swrrkhtin 1425 pikxnkhristkal xiyiptmixanackrthikinphunthitngaetemuxngniyathangtawntkechiyngehnuxkhxngsieriy ipcnthungaekngthisikhxngaemnainlinnuebiy epidchxngthangnaekhakhxngthisakhy echn smvththiaelaimfaorhaehngrachxanackrihmthrngsnbsnunsingkxsrangkhnadihyephuxxuthisaedethphecaxaemininemuxngkharnkh thaihwiharkharnkhepnwiharthiihythisudinxiyiptobran 38 phwkphraxngkhyngsrangxnusawriyephuxechidchukhwamsaerckhxngphraxngkhexngthngcringaelaincintnakarraw 1350 pikxnkhristkal khwammnkhngkhxngrachxanackrihmthukkhukkham emuxfaorhxaemnohethpthi 4 khunkhrxngrachyaelathakarptirupthirunaerngaelawunway thrngepliynphranamepn aexekhnaethn phrxmkbbuchasuriyethphthikhlumekhruxkxnhnaniphranamwa xaethn epnethphsungsud rangbkarbuchaethphswnihyxngkhxun aelayayemuxnghlwngipyngemuxngihmaexekhnaethn emuxngxarmanainpccubn odythumethihkbsasnaaelarupaebbsilpaihmthiekidmacakkarepliynaeplngkhrngni aethlngkarswrrkhtkhxngaexekhnaethn lththikhxngexethnkthuklathingxyangrwderwaelasasnaaebbdngedimidrbkarfunfu faorhphraxngkhtx ma tutnkhaemn ixyaelaohermehb tangidthakarlbkarklawthungeruxngnxkritkhxngfaorhaexekhnaethn thipccubnruckkninchuxsmyxarmana 39 raw 1279 pikxnkhristkalfaorhaeremsisthi 2 hruxthiruckkninnam aeremsismharach esdckhunkhrxngrachy thrngoprd ihsrangwihar ruppnaelaesaoxebliskcanwnmak thrngmibutrmakkwafaorhxun inprawtisastr a dwyehtuthithrngepnphunathangthharthiklahay cungthrngnakxngthphdwyphraxngkhexngtxtanchawhitithtinsmrphumikhaedch sieriyinpccubn aelahlngcaktxsucnthungthangtn inthisudktklngthasnthisyyasntiphaphthibnthukiwemuxpraman 1258 pikxnkhristkal 40 xyangirktam khwammngkhngkhxngxiyiptthaihtkepnepahmaysakhysahrbkarrukrankhxngtangchati odyechphaachawliebiyebxrebxrthangtawntk aelaklumchawelcakthaelxieciyn b inchwngtn kxngthphxiyiptsamarthkhbilkarrukranehlaniid aetinthisudxiyiptksuyesiydinaednthiehluxxyuthangtxnitkhxngkhanaxnswnihyihkbchawxssieriy phykhukkhamphaynxkexngthaihkhwamimsngbphayinrunaerngkhun ekidkarthucrit karplnsusan aelakhwamimsngbkhxngsngkhm kxprkbhlngcakfunkhunxanackhxngehlankbwchaehngwiharaehngxaemininthibsthiidsasmthidinaelakhwammngkhngmakmayaelaxanacthiaephkhyaykhxngphwkekha thaihpraethsaetkslay khasuyukhchwngtxrayathisam 41 chwngtxrayathisam 1069 653 pikxn kh s rachwngsthi 21 25 aekikh hlngkarswrrkhtkhxngfaorhaeremsisthi 9 in 1078 pikxnkhristkal semnedsmixanacpkkhrxngthangtxnehnuxkhxngxiyiptodypkkhrxngcakemuxngaethnis inswnthangtxnitnnxyuphayitkarpkkhrxngkhxngehlankbwchaehngxaeminthiemuxngthibsodyyxmrbsemnedsephiyngaekhinnamethann 42 inchwngewlanichawliebiyidekhamatngthinthaninsamehliympakaemnathangtawntk aelahwhnakhxngphutngthinthanehlanierimmixanacinkarpkkhrxngtnexngmakkhun phupkkhrxngchawliebiyidekhakhrxbkhrxngsamehliympakaemnaphayitfaorhochechngkhthi 1 in 945 pikxnkhristkal odykxtngrachwngsliebiyhrux Bubastite thicapkkhrxngtxipxikkwa 200 pi faorhochechngkhidpkkhrxngthangtxnitkhxngxiyiptxikkhrngodycdihsmachikphrarachwngkhxyuintaaehnngnkbwchthisakhy karkhwbkhumkhxngliebiyerimldlngemuxrachwngskhuaekhnginsamehliympakaemnaekidkhuninlixxnothophlis aelachawkhuchthikhukkhamcakthangit faorhaelakstriyrachwngsthiyisibhaaehngxiyipt ckasayipkhwa Tantamani thaharka hlng 43 esnkhamanisekhn again Tantamani hlng aexsephlta xnlamani again Senkamanisken Kerma Museum raw 727 pikxnkhristkal kstriykhuchphranamwapiey idbukkhunehnuxaelaekhakhrxbkhrxngthibsthungsamehliympakaemna sthapnarachwngsthiyisibha 44 faorhaehngrachwngsthiyisibhaniidsrangaelaburnawd wiharaelaxnusawriythwthnghubekhainl thngthiemmfis kharnkh khawa aelaecebl barkhal 45 faorhthaharkathrngkhyayxanaekhtcnmikhnadihyekuxbethiybetharachxanackrihm karkxsrangphiramid swnihyinpraethssudaninpccubn klbmaaephrhlayxikkhrngnbtngaetrachxanackrklang 46 47 48 khwamecriykhxngxiyiptldlngxyangmakinchwngplayyukhchwngtxrayathisam phnthmitrtangchatitkxyuphayitxiththiphlkhxngxssieriyaelaemux 700 pikxnkhristkalsngkhramrahwangsxngrthkklayepnsingthihlikeliyngimid ekidsngkhramkhunrahwang 671 thung 667 pikxnkhristkal chawxssieriyerimkarphichitxiyipt inrchkalthaharkaaelathanuthaeminetmipdwykhwamkhdaeyngxyangtxenuxngkbchawxssieriy cninthisudchawxssieriykkhbilchawkhuchklbipyngnuebiy yudkhrxngemuxngemmfis aelathalayehlawiharaehngthibs 49 yukhplay 653 332 pikxn kh s rachwngsthi 26 31 aekikh inyukhplayni in 653 pikxnkhristkalfaorh Psamtik thi 1 aehngrachwngsthiyisibhk samarthkhbilchawxssieriyiddwykhwamchwyehluxkhxngthharrbcangchawkriksungidrbkhdeluxkihcdtngkxngthpheruxaehngaerkkhxngxiyipt xiththiphlkhxngkrikkhyaytwxyangmakemuxnkhrrthnxkhratis Naucratis klayepnbansakhykhxngchawkrikinsamehliympakaemnainl emuxnghlwngihmphayitrachwngsnithiemuxngsaxispraktihehnkarfuntwinrayaewlasn khxngesrsthkicaelawthnthrrm aetin 525 pikxnkhristkalkstriyepxresiy aekhmbiessthi 2 Cambyses II iderimkarphichitxiyiptkrathngcbfaorh Psamtik thi 3 idthismrphumiepluesiym aekhmbiessthi 2 cungidepnfaorhxyangepnthangkar aetpkkhrxngxiyiptcakdinaednepxresiy plxyihxiyiptxyuphayitkarkhwbkhumkhxngesaethrp mikarptiwtitxtanchawepxresiythiprasbkhwamsaercephiyngimkikhrnginchwngstwrrsthi 5 kxnkhristskrach aetxiyiptkimsamarthepnxisracakepxresiyidxyangthawr 50 hlngcakkarphnwkdinaednodyepxresiy xiyiptidklaymaepnekhtpkkhrxnghnungkhxngckrwrrdiepxresiyxakhiemnidrwmkbisprsaelafiniesiy chwngaerkkhxngkarpkkhrxngkhxngepxresiyehnuxxiyiptphayitrachwngsthiyisibecd sinsudlngin 402 pikxnkhristkal emuxxiyiptidrbexkrachphayitrachwngschnphunemuxngechuxsayxiyipt odyrachwngsthisamsibklaymaepnrachwngschnphunemuxngsudthaykhxngxiyiptobran mifaorh Nectanebo II epnfaorhchnphunemuxngphraxngkhsudthaykarklbmaxyuphaykarpkkhrxngkhxngepxresiyxikkhrngekidkhuninchwngrachwngsthisamsibexdin 343 pikxnkhristkal aetimnanhlngcaknnin 332 pikxnkhristkal Mazaces phupkkhrxngchawepxresiyidmxbxiyiptihaekxelksanedxrmharachodyimmikartxsu 51 yukhthxelmi ehlelnist 332 30 pikxn kh s aekikh dubthkhwamhlkthi rachxanackrthxelmi thxelmithi 4 swmmngkudkhuaehngxiyipt in 332 pikxnkhristkal xelksanedxrmharachphichitxiyiptodymikartxtancakchawepxresiyephiyngelknxy phraxngkhthrngidrbkartxnrbcakchawxiyiptinthanaphupldplxy xanackrmasiodeniythxelmisubthxdpraethstxmaodyichrabxbkarpkkhrxngedimkhxngxiyiptepntnaebbaelatngnkhrhlwngihmthiemuxngxaelksanedriy nkhrniaesdngxanacaelaekiyrtiphumikhxngkarpkkhrxngaebbehlelnist epnaehlngkareriynruaelawthnthrrmodymisunyklangxyuthihxngsmudaehngxaelksanedriy 52 praphakharaehngxelksanedriyepncudekherimtniheruxhlaylathiyngkhngmikarkhakhayihlxngphanemuxng odyechphaakarkhakhayaelaphlittnkradaspapirs 53 wthnthrrmehlelnistimidaethnthiwthnthrrmxiyiptphunemuxngthnghmdenuxngcakphupkkhrxngsnbsnunephuxrksakhwamphkdiinhmuprachachn ehnidcakkarsrangwiharinaebbkhxngxiyipt karsnbsnunkhwamechuxdngedimaelakarwadphaphtwexngepnfaorh cnekidkarphsmphsanknsungwthnthrrmaelakhwamechux thungkrann rachwngsthxelmikthukthathaycakkarkbtkhxngchnphunemuxng karaeyngchingxanackninhmurachwngs aelaklumphumixanacinxelksanedriythikxtwkhunhlngcakkarswrrkhtkhxngthxelmithi 4 54 nxkcakni emuxchawormntxngphungphakarnaekhathyphuchcakxiyiptmakkhun chawormncungihkhwamsnicxyangmakinsthankarnthangkaremuxngkhxngxiyipt khwamimsngbthnginpraethsaelaphycaknxkpraethsthaihsthankarnelwraylng sngphlihormsngkxngkalngekhayudkhrxnginthanahnungcnghwdkhxngckrwrrdiormn 55 yukhormn 30 pikxn kh s kh s 641 aekikh phaphbukhkhlbnmmmifayum epntwxyangthichdecnkhxngkarphsanwthnthrrmxiyiptaelaormn xiyiptklayepnswnhnungkhxngckrwrrdiormninpithi 30 kxnkhristkal hlngcakkhwamphayaephinyuththnawithixktixungkhxngmarkus xnotnixusaelaphranangkhlioxphtraodyxxktawixus txmakhuxckrphrrdiexakustus chawormnphungphakarkhnsngthyphuchcakxiyipt aelakxngthphormnphayitkarbychakhxngphupkkhrxngthiidrbkaraetngtngodyckrphrrditxngprakbd ekbphasixyangekhrngkhrdaelapxngknkarocmtiodyklumocrsungepnpyhaihyinchwngewlann 56 nkhrxaelksanedriyklayepnsunyklangthisakhymakinesnthangkarkhakbchawtawnxxk enuxngcaksinkhafumefuxyaeplkihmepnthitxngkarxyangmakinkrungorm 57 aemwachawxiyiptcamithsnkhtithiimepnmitrtxchawormnmakkwachawkrik aetpraephnibangxyang echn karthammmiaelakarbuchaethphecadngedimyngkhngdaenintxip 58 silpakarwadphaphmmmiefuxngfucnckrphrrdiormnbangphraxngkhthrngoprdihwadphaphphraxngkhexngepnfaorh aemwacaimthungkhnadthikrathakninyukhthxelmiktam phupkkhrxnghlkxasyxyunxkxiyiptaelaimmikarprakxbphithitamaebbkhxngkstriyxiyiptobran karpkkhrxngthxngthincungklayepnaebbormn 58 tngaetklangkhriststwrrsthihnung khristsasnaidhyngraklukinxiyiptaelamxngwaepnxiklththihnungthisamarthyxmrbid xyangirktam khristsasnaexngktxngchwngchingkhwameluxmiskhxngphxngchnthinbthuxsasnaxiyiptdngedimaelasasnakrik ormnthiepnkhwamechuxthiniymmaaetedim singninaipsukarkdkhikhmehngkhxngphuepliynsasna namasungckarkwadlangkhrngihyodyckrphrrdidixxekltixanuserimtnin kh s 303 aetinthaythisudsasnakhristidrbchychna 59 odyin kh s 391 ckrphrrdiethxxdxsixusthi 1 inthanakhristchnidxxkkdhmaythihamphithikrrmnxkritaelapidwd 60 xaelksanedriyklayepnsthanthiekidehtuclacltxtankhnnxksasnakhrngihyodymikarthalayphaphthangsasnakhxngphakhrthaelaexkchn 61 dwyehtuniwthnthrrmthangsasnakhxngchawxiyiptdngedimcungtktalngeruxy inkhnathichawphunemuxngyngkhngphudphasakhxngphwkekha khwamsamarthinkarxanekhiynxksrxiyiptobranidhayipxyangcha enuxngcakbthbathkhxngnkbwchinwiharkhxngxiyiptldlng inbangkrni wdexngkthukepliynepnobsthkhristhruxthukthxdthingihhkphkxyuklangthaelthray 62 inkhriststwrrsthisi emuxormnaetkaeykxxkepnormntawntkaelatawnxxk xiyiptklaymaepnswnhnungkhxngckrwrrdiormntawnxxkthimiemuxnghlwngxyuthikrungkhxnsaetntionepil phayhlngxiyipttkepnkhxngsasaeniynepxresiyinkarphichitxiyiptkhxngsasaeniyn kh s 618 628 klbmaepnkhxngormnxikkhrnginrchkalckrphrrdiehrakhlixs kh s 629 639 cnthaythisudthukphichitodykxngthphmuslimrxchidin in kh s 639 641 epnkaryutikarpkkhrxngkhxngormnxyangsmburn phiramidkhaefr aehngrachwngsthi 4 aela sfings bnthirabsungkisaladbrachwngs aekikhrachwngskhxngfaorh aehngxiyipt playyukhkxnrachwngsrachwngstnrachwngsthihnung rachwngsthisxngrachxanackreka rachwngsthisam rachwngsthisi rachwngsthiha rachwngsthihkchwngtxrayathihnung rachwngsthiecd rachwngsthiaepd rachwngsthieka rachwngsthisib rachwngsthisibexd emuxnghlwngthithibs rachxanackrklang rachwngsthisibexd thwthngxiyipt rachwngsthisibsxng rachwngsthisibsam rachwngsthisibsichwngtxrayathisxng rachwngsthisibha rachwngsthisibhk rachwngsthisibecdrachxanackrihm rachwngsthisibaepd rachwngsthisibeka rachwngsthiyisibchwngtxrayathisam rachwngsthiyisibexd rachwngsthiyisibsxng rachwngsthiyisibsam rachwngsthiyisibsi rachwngsthiyisibhayukhplay rachwngsthiyisibhk rachwngsthiyisibecd rachwngsthiyisibaepd rachwngsthiyisibeka rachwngsthisamsib rachwngsthisamsibexdyukhkrik ormn rachwngsthxelmi ckrwrrdiormnaekikhaemaebbplayyukhkxnrachwngsaehngxiyiptobran yukhrachwngs duidthi ladbrachwngsaelafaorhaehngxiyipt rachwngstn rachwngsthihnung aela rachwngsthisxng rachxanackreka rachwngsthisam thung rachwngsthihk chwngtxrayathihnung rachwngsthiecd thung rachwngsthisibexd rachxanackrklang rachwngsthisibexd thung rachwngsthisibsi chwngtxrayathisxng rachwngsthisibha thung rachwngsthisibecd rachxanackrihm rachwngsthisibaepd thung rachwngsthiyisib chwngtxrayathisam rachwngsthiyisibexd thung rachwngsthiyisibha yukhplay rachwngsthiyisibhk thung rachwngsthisamsibexd yukhkrik ormn ph s 211 thung 1182 kstriymasiodeniy ph s 211 thung 238 rachwngspotelmi ph s 238 thung 513 xiyipttus rthhnungkhxngckrwrrdiormn ph s 513 thung 1182 muslimbukxiyipt ph s 1182 echingxrrth aekikh With his two principal wives and large harem Ramesses II sired more than 100 children Clayton 1994 p 146 From Killebrew amp Lehmann 2013 p 2 First coined in 1881 by the French Egyptologist G Maspero 1896 the somewhat misleading term Sea Peoples encompasses the ethnonyms Lukka Sherden Shekelesh Teresh Eqwesh Denyen Sikil Tjekker Weshesh and Peleset Philistines Footnote The modern term Sea Peoples refers to peoples that appear in several New Kingdom Egyptian texts as originating from islands The use of quotation marks in association with the term Sea Peoples in our title is intended to draw attention to the problematic nature of this commonly used term It is noteworthy that the designation of the sea appears only in relation to the Sherden Shekelesh and Eqwesh Subsequently this term was applied somewhat indiscriminately to several additional ethnonyms including the Philistines who are portrayed in their earliest appearance as invaders from the north during the reigns of Merenptah and Ramesses III From Drews 1993 pp 48 61 The thesis that a great migration of the Sea Peoples occurred ca 1200 B C is supposedly based on Egyptian inscriptions one from the reign of Merneptah and another from the reign of Ramesses III Yet in the inscriptions themselves such a migration nowhere appears After reviewing what the Egyptian texts have to say about the sea peoples one Egyptologist Wolfgang Helck recently remarked that although some things are unclear eins ist aber sicher Nach den agyptischen Texten haben wir es nicht mit einer Volkerwanderung zu tun Thus the migration hypothesis is based not on the inscriptions themselves but on their interpretation xangxing aekikh Chronology Digital xiyiptsahrbmhawithyaly mhawithyalywithyalyaehnglxndxn subkhnemux 2008 03 25 Dodson 2004 hna 46 Clayton 1994 hna 217 James 2005 hna 84 Shaw 2002 hna 17 67 69 Shaw 2003 p 17 Ikram 1992 p 5 Hayes 1964 p 220 Childe 2014 Aston Barbara G Harrell James A Shaw Ian Stone Obsidian pp 46 47 in Nicholson amp Shaw 2000 Aston 1994 pp 23 26 Obsidian Digital Egypt for Universities University College London 2002 The origin of obsidian used in the Naqada Period in Egypt Digital Egypt for Universities University College London 2000 Patai 1998 Shaw 2003 p 61 CITEREF Faience in different Periods Digital Egypt for Universities University College London 2000 ekb cakaehlngedimemux 30 March 2008 Allen 2000 p 1 Robins 2008 p 32 Clayton 1994 p 6 Clayton 1994 pp 12 13 Shaw 2003 p 70 Early Dynastic Egypt Digital Egypt for Universities University College London 2001 ekb cakaehlngedimemux 4 March 2008 James 2005 p 40 Shaw 2003 p 102 Shaw 2003 pp 116 117 Hassan Fekri 17 February 2011 The Fall of the Old Kingdom BBC Clayton 1994 p 69 Shaw 2003 p 120 Shaw 2003 p 146 Clayton 1994 p 29 Shaw 2003 p 148 Shaw 2003 p 158 Shaw 2003 pp 179 182 Robins 2008 p 146 Robins 2008 p 90 34 0 34 1 Shaw 2003 p 188 35 0 35 1 Ryholt 1997 p 310 Shaw 2003 p 189 Shaw 2003 p 224 Bleiberg 2005 O Connor amp Cline 2001 p 273 Tyldesley 2001 pp 76 77 James 2005 p 54 Cerny 1975 p 645 Robinson Jennifer 2014 09 29 Rise Of The Black Pharaohs KPBS Public Media subkhnemux 2021 03 28 Shaw 2003 p 345 Bonnet Charles 2006 The Nubian Pharaohs New York The American University in Cairo Press pp 142 154 ISBN 978 977 416 010 3 Mokhtar G 1990 General History of Africa California USA University of California Press pp 161 163 ISBN 978 0 520 06697 7 Emberling Geoff 2011 Nubia Ancient Kingdoms of Africa New York Institute for the Study of the Ancient World pp 9 11 ISBN 978 0 615 48102 9 Silverman David 1997 Ancient Egypt New York Oxford University Press pp 36 37 ISBN 978 0 19 521270 9 Shaw 2003 p 358 Shaw 2003 p 383 Shaw 2003 p 385 Shaw 2003 p 405 Shaw 2003 p 411 Shaw 2003 p 418 James 2005 p 62 James 2005 p 63 Shaw 2003 p 426 58 0 58 1 Shaw 2003 p 422 Shaw 2003 p 431 Chadwick 2001 p 373 MacMullen 1984 p 63 Shaw 2003 p 445 duephim aekikhixykhupt ckrwrrdixiyipt xiyiptobrankxnyukhrachwngs xiyiptobranyukhrachwngs tananethphecaaehngixykhupt silpaxiyiptobran ladbrachwngs bthkhwamekiywkbprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy prawtisastrekhathungcak https th wikipedia org w index php title xiyiptobran amp oldid 9499928, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม