fbpx
วิกิพีเดีย

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (ฝรั่งเศส: Eugène Viollet-le-Duc, ออกเสียง; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

เบื้องต้น

บิดาของวียอแล-เลอ-ดุกเป็นข้าราชการในปารีสผู้ชอบสะสมหนังสือ การสังสรรค์ของมารดาทุกวันศุกร์มีผู้เข้าร่วมเช่นนักประพันธ์สเตนดาห์ล และ ชาร์ลส์ โอกุสแตง แซงต์-เบอ ส่วนพี่ชายของมารดาเอเตียง-ฌอง เดอเลคลูซผู้เป็น “จิตรกรยามเช้า นักปรัชญายามค่ำ” เป็นผู้รับผิดชอบต่อการศึกษาของวียอแล-เลอ-ดุก ผู้มีแนวโน้มในการเป็นนักวิชาการ, ผู้สนับสนุนรัฐนิยม, ผู้ต่อต้านสถาบันนักบวช, ผู้มีหัวในทางปฏิวัติ ระหว่างการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในปี ค.ศ. 1830 วียอแล-เลอ-ดุกก็สร้างสิ่งกีดขวางและไม่ยอมเข้าศึกษาในโรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศส แต่เข้าทำการศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์ในสำนักงานสถาปนิกของฌาคส์-มารี อุฟ และ อาชีล-ฟรองซัวส์-เรอเน เลอแคลร์โดยตรงแทนที่

การบูรณปฏิสังขรณ์สถาปัตยกรรม

ลักษณะงานปฏิสังขรณ์

 
หนึ่งในปนาลีบนมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีสที่เพิ่มเติมระหว่างการบูรณะโดยวียอแล-เลอ-ดุก

เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1830 ฝรั่งเศสก็เริ่มทำการบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกผู้เพิ่งกลับจากการเดินทางศึกษาในอิตาลีในปี ค.ศ. 1835 ได้รับการว่าจ้างโดยนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีพรอสแพร์ เมอริมีให้ทำการบูรณะแอบบีโรมาเนสก์เวเซอเล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตการทำการบูรณปฏิสังขรณ์อันยาวนานของวียอแล-เลอ-ดุก งานบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีสเป็นงานที่สร้างชื่อเสียงระดับชาติให้แก่วียอแล-เลอ-ดุก งานชิ้นสำคัญๆ อื่นก็ได้แก่ มงต์-แซงต์-มีแชล, คาร์คาโซน, ปราสาทโรเคอเทลเลด และ ปราสาทปิแยร์ฟงด์

งาน “บูรณปฏิสังขรณ์” ของวียอแล-เลอ-ดุกมักจะรวมความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์เข้ากับการเสริมแต่งอย่างสร้างสรร เช่นภายใต้การอำนวยการของวียอแล-เลอ-ดุกในการบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส ไม่แต่จะทำความสะอาดและบูรณะเท่านั้นแต่วียอแล-เลอ-ดุกได้ทำการ “ปรับปรุง” (update) ที่ทำให้ได้รับหอเพิ่มขึ้นอีกหอหนึ่ง (ที่มีลักษณะเป็นมณฑป) นอกไปจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำคือการบูรณปฏิสังขรณ์เมืองล้อมด้วยกำแพงคาร์คาโซนซึ่งวียอแล-เลอ-ดุกก็ใช้การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตามแนวเดียวกัน

ในขณะเดียวกันบรรยากาศทางวัฒนธรรมของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ก็เป็นบรรยากาศที่สับสนที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางทฤษฎีที่อ่อนตัวลง เช่นเมื่อวียอแล-เลอ-ดุกออกแบบสร้างหีบวัตถุมงคลแบบกอธิคสำหรับมงคลวัตถุมงกุฎหนามสำหรับมหาวิหารโนเทรอดามในปี ค.ศ. 1862 ในขณะเดียวกันกับที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงจ้างให้วียอแล-เลอ-ดุกออกแบบรถตู้อย่างหรูหราแบบกอธิคของคริสต์ศตวรรษที่ 14

งานปฏิสังขรณ์ชิ้นสำคัญ

งานบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทปิแยร์ฟงด์ที่ตีความหมายโดยวียอแล-เลอ-ดุกต้องมาหยุดลงเมื่อสิ้นสมัยการปกครองของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1870

อิทธิพลต่อการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์

ทฤษฎีของการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ (historic preservation) ตั้งอยู่ในกรอบของความเป็นทวิภาคระหว่างการรักษาให้คงอยู่ในสภาวะของเวลาที่ทำการอนุรักษ์ และ “การปฏิสังขรณ์” (restoration) หรือการสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อนในอดีต นักวิพากษ์ศิลป์ชาวอังกฤษจอห์น รัสคินเป็นผู้สนับสนุนปรัชญาแรกอย่างแข็งขัน ขณะที่วียอแล-เลอ-ดุกสนับสนุนปรัชญาหลัง วียอแล-เลอ-ดุกกล่าวว่าการปฏิสังขรณ์ “เป็นวิธีในการทำให้สิ่งก่อสร้างกลับไปอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ที่อาจจะมิได้เคยเกิดขึ้นจริงในอดีต” วิธีการการปฏิสังขรณ์ของวียอแล-เลอ-ดุกได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงโดยจอห์น รัสคินว่าเป็น “การทำลายโดยไม่มีซากเดิมเหลือหรอไว้เป็นหลักฐาน การทำลายดังว่าควบไปกับการบรรยายอันไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกทำลายไป”

ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้เมื่อมีการกล่าวถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างหรือภูมิทัศน์ สิ่งที่สูญหายไปในอดีตไม่สามารถที่จะเรียกกลับคืนมาได้ แต่การที่จะทิ้งให้สิ่งก่อสร้างทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลาเพื่อที่จะรักษา “สถานะภาพปัจจุบัน” (status quo) ก็มิได้เป็นทฤษฎีที่สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์เช่นกัน การลอกชั้นต่างๆ ของประวัติศาสตร์ออกจากสิ่งก่อสร้าง ก็เท่ากับเป็นการลอกข้อมูล และ คุณค่าที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันการเพิ่มเติมงานใหม่เช่นที่ทำโดยวียอแล-เลอ-ดุกก็เป็นการช่วยให้ผู้ชมงานได้มองเห็นภาพของประวัติศาตร์ที่มีชีวิตชีวาขึ้น

คาร์คาโซนที่บูรณะโดยวียอแล-เลอ-ดุก

งานเขียน

 
หน้าปก “Dictionnaire Raisonné de L'Architecture Française du XIe au XVIe siècle”, บรรณาธิการ เอ. โมเรล, ปารีส, ค.ศ. 1868

ตลอดอาชีพการงาน วียอแล-เลอ-ดุกเขียนบันทึกและวาดรูปรายละเอียดต่างๆ อย่างประณีตไม่เฉพาะแต่สิ่งก่อสร้างที่ตนเองมีความรับผิดชอบแต่รวมทั้งรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, กอธิค และ เรอเนซองส์ที่กำลังจะถูกรื้อทิ้ง งานบันทึกและภาพวาดเหล่านี้มีประโยชน์ต่องานพิมพ์ของวียอแล-เลอ-ดุก งานศึกษาสถาปัตยกรรมของยุคกลางและยุคเรอเนซองส์ไม่จำกัดเฉพาะแต่งานสถาปัตยกรรมเท่านั้น และยังครอบคลุมไปถึงเฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้า, เครื่องดนตรี, อาวุธ และ อื่นๆ อีกด้วย

งานของวียอแล-เลอ-ดุกครั้งแรกตีพิมพ์เป็นตอนๆ และต่อมาตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มที่ได้แก่:

  • พจนานุกรมสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 16” (ค.ศ. 1854–ค.ศ. 1868) (ฝรั่งเศส: Dictionnaire raisonné de l'architecture française du XIe au XVIe siècle) - ต้นฉบับภาษา (ฝรั่งเศส) พร้อมภาพประกอบเป็นจำนวนมาก
  • พจนานุกรมเฟอร์นิเจอร์ฝรั่งเศสระหว่างสมัยคาโรแล็งเชียงถึงสมัยเรอเนซองส์” (ค.ศ. 1858–ค.ศ. 1870) (ฝรั่งเศส: Dictionnaire raisonné du mobilier français de l'époque Carolingienne à la Renaissance)
  • ข้อคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม” (ฝรั่งเศส: Entretiens sur l'architecture) (2 เล่ม, ค.ศ. 1858–ค.ศ. 1872) - บรรยายขั้นตอนของความเข้าใจแ

ละการศึกษาสถาปัตยกรรมของวียอแล-เลอ-ดุกเอง ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่แตกต่างเป็นอันมากไปจากที่ทำการสอนโดยโรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศส ที่วียอแล-เลอ-ดุกเองหลีกเลี่ยงและเป็นปฏิปักษ์ในวัยหนุ่ม ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ “Discourses on Architecture” โดยสถาปนิกชาวอเมริกันเฮนรี แวน บรันท์ พิมพ์ในปี ค.ศ. 1875 ไม่ถึงสิบปีหลังจากที่ต้นฉบับได้รับการตีพิมพ์

  • ประวัติศาสตร์สิ่งก่อสร้างสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน” (ค.ศ. 1875) (ฝรั่งเศส: Histoire de l'habitation humaine, depuis les temps préhistoriques jusqu'à nos jours) พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษภายใต้ชื่อ “Habitations of Man in All Ages” ในปี ค.ศ. 1876 ในหนังสือเล่มนี้วียอแล-เลอ-ดุกบรรยายประวัติของสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆ
  • L'art russe: ses origines, ses éléments constructifs, son apogée, son avenir” (ค.ศ. 1877) วียอแล-เลอ-ดุกใช้ความรู้ในการอธิบายลักษณะสถาปัตยกรรมรัสเซีย

ทฤษฎีสถาปัตยกรรมและโครงการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่

 
งานออกแบบหอแสดงดนตรี, ค.ศ. 1864, แบบเชิงกอธิคแต่ใช้วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ที่รวมทั้งอิฐ, หิน และ เหล็กหล่อ, “ข้อคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม

วียอแล-เลอ-ดุกถือกันโดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนว่าเป็นนักทฤษฎีคนแรกของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปนิกชั้นนำชาวอังกฤษจอห์น ซัมเมอร์ซันกล่าวว่า “ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมยุโรปมีนักทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่สองคน—ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ และ เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก” ทฤษฎีสถาปัตยกรรมของวียอแล-เลอ-ดุกส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุที่ใช้กับรูปทรงที่เหมาะสมกับวัสดุ และการใช้รูปทรงดังว่านี้ในการสร้างสิ่งก่อสร้าง หัวใจของทฤษฎีของวียอแล-เลอ-ดุกอยู่ที่การใช้วัสดุอย่าง 'ไม่บิดเบือน' (honestly) วียอแล-เลอ-ดุกเชื่อว่ารูปลักษณ์ภายนอกของสิ่งก่อสร้างควรจะสะท้อนให้เห็นถึงการก่อสร้างอย่างมีหลักการของสิ่งก่อสร้าง (rational construction) ใน “ข้อคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม” วียอแล-เลอ-ดุกสรรเสริญการก่อสร้างเทวสถานกรีกว่าเป็นการก่อสร้างอันเป็นหลักการที่เป็นตัวอย่างอันดีของการก่อสร้างสถาปัตยกรรม ตามความเห็นของวียอแล-เลอ-ดุก “สถาปัตยกรรมกรีกคือตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและรูปลักษณ์ภายนอก” แต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าทฤษฎีดังกล่าวมีอิทธิพลโดยตรงจากบทเขียนของจอห์น รัสคินผู้เป็นผู้สนับสนุนทฤษฎีของความเที่ยงตรงในการใช้วัสดุที่เป็นหนึ่งในหลักอันสำคัญเจ็ดประการของสถาปัตยกรรม

ในโครงการสิ่งก่อสร้างใหม่หลายโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จ วียอแล-เลอ-ดุกใช้ทฤษฎีที่มาจากสถาปัตยกรรมกอธิคโดยการใช้ระบบการก่อสร้างตามหลักการในการก่อสร้างโดยใช้วัสดุการก่อสร้างสมัยใหม่เช่นเหล็กหล่อ, นอกจากนั้นก็ยังหันไปหาวัสดุธรรมชาติเช่นใบไม้ และ โครงกระดูกสัตว์ในการเป็นแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะปีกค้างคาว ซึ่งเป็นอิทธิพลที่สะท้อนให้เห็นในการก่อสร้างโครงการหอประชุม

งานวาดโครงเสาค้ำยันเหล็ก (trusswork) ของวียอแล-เลอ-ดุกเป็นงานวาดที่ล้ำยุค งานออกแบบหลายอย่างของวียอแล-เลอ-ดุกเป็นงานที่ต่อมามามีอิทธิพลต่อขบวนการอาร์ตนูโวโดยเฉพาะในงานของเอ็คเตอร์ กุยมาร์ด ที่งานมามีอิทธิพลต่อสถาปนิกอเมริกันต่อมาที่รวมทั้งแฟรงค์ เฟอร์เนสส์, จอห์น เวลล์บอร์น รูท, หลุยส์ ซัลลิแวน และ แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์

อาชีพการทหารและอิทธิพล

อาชีพอีกอาชีพหนึ่งของวียอแล-เลอ-ดุกคือการเป็นทหารที่มีหน้าที่หลักในการป้องกันปารีสระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (ค.ศ. 1870-ค.ศ. 1871) การสงครามครั้งนี้มีอิทธิพลต่อวียอแล-เลอ-ดุกอย่างลึกซึ้ง ถึงกับเป็นแรงบันดาลใจในบั้นปลายของชีวิตวียอแล-เลอ-ดุกให้เขียนเปรียบเทียบระบบการป้องกันที่ถูกต้องของฝรั่งเศสกับประวัติศาสตร์ทางการทหารของเลอ โรช-ปองต์ซึ่งเป็นปราสาทในจินตนาการ ในบทเขียน “ประวัติศาสตร์การก่อสร้างป้อมปราการ” (ฝรั่งเศส: Histoire d'une Forteresse) ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษสองครั้งภายใต้ชื่อ “Annals of a Fortress” หนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนมาจากงานค้นคว้าอันถี่ถ้วนที่เป็นงานที่กึ่งระหว่างนวนิยายและตำราประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์การก่อสร้างป้อมปราการ” มีอิทธิพลต่อปรัชญาของระบบการป้องกันทางทหารของฝรั่งเศส งานวิจารณ์ของวียอแล-เลอ-ดุกเกี่ยวกับผลของปืนใหญ่ (ที่ได้มาจากประสบการณ์ระหว่างสงครามของ ค.ศ. 1870-ค.ศ. 1871) เป็นงานที่สมบูรณ์ที่บรรยายอย่างถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับระบบการป้องกันตัวของฝรั่งเศสมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ผลของทฤษฎีของงานเขียนนี้เห็นได้จากการก่อสร้างระบบการป้องกันที่แวร์เดิงก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และการสร้างแนวมายินโนต์ก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วทฤษฎีของวียอแล-เลอ-ดุกก็เป็นทฤษฎีที่สะท้อนทฤษฎีทางการทหารของฝรั่งเศสในข้อที่ว่า “Deliberate Advance” ที่กล่าวว่าปืนใหญ่และระบบการป้องกันของแนวหลังของกองทัพคือหัวใจสำคัญ

อนุสรณ์

 
การนำลักษณะการสร้างจากทางเหนือของฝรั่งเศสในการสร้างหลังคากรวยแหลมมาใช้ในการสร้างหลังคาคลุมหอทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่คาร์คาโซน

งานบูรณปฏิสังขรณ์เช่นที่ปราสาทปิแยร์ฟงด์เป็นงานที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเป็นอันมาก เพราะวียอแล-เลอ-ดุกมิได้มีจุดประสงค์ในการสร้างใหม่ให้เที่ยงตรงต่อความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นการสร้างเพื่อให้ได้สิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะที่เป็น “สิ่งก่อสร้างที่สมบูรณ์แบบ” เชิงสถาปัตยกรรมของยุคกลาง ระบบการอนุรักษ์สมัยใหม่มีความเห็นว่าการบูรณปฏิสังขรณ์ของวียอแล-เลอ-ดุกเป็นวิธีที่อิสระเกินควร, เป็นวิธีที่สะท้อนถึงความต้องการส่วนตัวของสถาปนิกจนเกินควร, และเป็นงานที่เป็นผลจากการตีความหมายจนเกินควร แต่กระนั้นอนุสรณ์สถานที่วียอแล-เลอ-ดุกมีส่วนในการบูรณปฏิสังขรณ์ก็รอดมาจากการสูญหายไป

อันตอนี เกาดี สถาปนิกชาวกาตาลา ได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกของวียอแล-เลอ-ดุก

บั้นปลายของชีวิต

ในบั้นปลายของชีวิตวียอแล-เลอ-ดุกย้ายไปตั้งหลักฐานอยู่ที่โลซานในสวิตเซอร์แลนด์และไปเสียชีวิตที่นั่นเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1879

อ้างอิง

  1. Summerson, Sir John (1948). Heavenly Mansions and Other essays on Architecture. London: Cresset Press.
  2. Eugène-Emmanuel Viollet-le-Duc. ([1854] 1990). The foundations of architecture. New York: George Braziller. P. 195. (Translated by Kenneth D. Whitehead from the original French.)
  3. John Ruskin. ([1880] 1989). The seven lamps of architecture. New York: Dover Publications. P. 194
  4. Summerson, Sir John (1948). Heavenly Mansions and Other essays on Architecture. London: Cresset Press.
  5. Ochshorn, Jonathan. "Designing Building Failures". Cornell University.
  6. Viollet-Le-Duc, Eugene-Emmanuel (1990). The Architectural Theory of Viollet-Le-Duc: Readings and Commentary. MIT Press.
  • Dictionary of Art Historians: Eugène Emmanuel Viollet-le-Duc

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

เออแฌน, ยอแล, เลอ, บทความน, างอ, งคร, สต, กราช, คร, สต, ทศวรรษ, คร, สต, ศตวรรษ, งเป, นสาระสำค, ญของเน, อหา, ฝร, งเศส, eugène, viollet, ออกเส, ยง, มกราคม, 1814, นยายน, 1879, เป, นสถาปน, กและน, กทฤษฎ, คนสำค, ญชาวฝร, งเศสของคร, สต, ศตวรรษท, อเส, ยงจากงานบ, รณปฏ, . bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha exxaechn wiyxael elx duk frngess Eugene Viollet le Duc xxkesiyng 27 mkrakhm kh s 1814 17 knyayn kh s 1879 epnsthapnikaelankthvsdikhnsakhychawfrngesskhxngkhriststwrrsthi 19 phumichuxesiyngcaknganburnptisngkhrnsingkxsrangcakyukhklang wiyxael elx dukepnsthapnikphumibthbathsakhykhxngkhbwnkarsthaptykrrmfunfukxthikhinfrngessthixyubnphunthankhxngprchyathiwasthaptykrrmkhwrcaepnsingthiaesdngxxkxyang suxtrng thiinthisudkklaymaepnprchyakhxngkhbwnkarkhxngkarfunfusthaptykrrmthnghmdaelaepnrakthankhxnglththismyihmniymthierimkxtwkhunexxaechn wiyxael elx duk enuxha 1 ebuxngtn 2 karburnptisngkhrnsthaptykrrm 2 1 lksnanganptisngkhrn 2 2 nganptisngkhrnchinsakhy 2 3 xiththiphltxkarxnurksthangprawtisastr 3 nganekhiyn 4 thvsdisthaptykrrmaelaokhrngkarsrangsingkxsrangihm 5 xachiphkarthharaelaxiththiphl 6 xnusrn 7 bnplaykhxngchiwit 8 xangxing 9 duephim 10 aehlngkhxmulxunebuxngtn aekikhbidakhxngwiyxael elx dukepnkharachkarinparisphuchxbsasmhnngsux karsngsrrkhkhxngmardathukwnsukrmiphuekharwmechnnkpraphnthsetndahl aela charls oxkusaetng aesngt ebx swnphichaykhxngmardaexetiyng chxng edxelkhlusphuepn citrkryamecha nkprchyayamkha 1 epnphurbphidchxbtxkarsuksakhxngwiyxael elx duk phumiaenwonminkarepnnkwichakar phusnbsnunrthniym phutxtansthabnnkbwch phumihwinthangptiwti rahwangkarptiwtieduxnkrkdakhminpi kh s 1830 wiyxael elx dukksrangsingkidkhwangaelaimyxmekhasuksainorngeriynwicitrsilpaehngfrngess aetekhathakarsuksahakhwamrucakprasbkarninsankngansthapnikkhxngchakhs mari xuf aela xachil frxngsws erxen elxaekhlrodytrngaethnthikarburnptisngkhrnsthaptykrrm aekikhlksnanganptisngkhrn aekikh hnunginpnalibnmhawiharonethrxdamaehngparisthiephimetimrahwangkarburnaodywiyxael elx duk emuxtnkhristthswrrs 1830 frngesskerimthakarburnptisngkhrnsingkxsrangcakyukhklang wiyxael elx dukphuephingklbcakkaredinthangsuksainxitaliinpi kh s 1835 idrbkarwacangodynkprawtisastraelankobrankhdiphrxsaephr emxrimiihthakarburnaaexbbiormaenskewesxel sungepncuderimtnkhxngchiwitkarthakarburnptisngkhrnxnyawnankhxngwiyxael elx duk nganburnptisngkhrnmhawiharonethrxdamaehngparisepnnganthisrangchuxesiyngradbchatiihaekwiyxael elx duk nganchinsakhy xunkidaek mngt aesngt miaechl kharkhaosn prasathorekhxethleld aela prasathpiaeyrfngdngan burnptisngkhrn khxngwiyxael elx dukmkcarwmkhwamepncringthangprawtisastrekhakbkaresrimaetngxyangsrangsrr echnphayitkarxanwykarkhxngwiyxael elx dukinkarburnptisngkhrnmhawiharonethrxdamaehngparis imaetcathakhwamsaxadaelaburnaethannaetwiyxael elx dukidthakar prbprung update thithaihidrbhxephimkhunxikhxhnung thimilksnaepnmnthp nxkipcakkarepliynaeplngelk nxy xun ngansakhyxikchinhnungthithakhuxkarburnptisngkhrnemuxnglxmdwykaaephngkharkhaosnsungwiyxael elx dukkichkarephimetimepliynaeplngtamaenwediywkninkhnaediywknbrryakasthangwthnthrrmkhxngckrwrrdifrngessthi 2 kepnbrryakasthisbsnthithaihekidkhwamepliynaeplngthangthvsdithixxntwlng echnemuxwiyxael elx dukxxkaebbsranghibwtthumngkhlaebbkxthikhsahrbmngkhlwtthumngkudhnamsahrbmhawiharonethrxdaminpi kh s 1862 inkhnaediywknkbthickrphrrdinopeliynthi 3 thrngcangihwiyxael elx dukxxkaebbrthtuxyanghruhraaebbkxthikhkhxngkhriststwrrsthi 14 nganptisngkhrnchinsakhy aekikh khristsasnsthan wdaesngtmari maedxeln ewesxel wdaesngtmaraetng khlaemsiy nieyf mhawiharonethrxdamaehngparis wiharaesngt chaeplinparis phayitefliks dubxng mhawiharaesngtedxnisimiklcakparis wdaesngthluys pwsiy basilikaaesngtnaaesraelaaesngteslesx kharkhaosn wdaesngtaesraenng tulus mhawiharonethrxdamaehngolsan switesxraelnd tukethsbalemuxng aesngt xnotnin narobnn prasath prasathorekhxethleld prasathpiaeyrfngd emuxngkaaephnglxmkharkhaosn prasathkhusiy Chateau d Antoing switesxraelnd prasathaewngaesnsnganburnptisngkhrnprasathpiaeyrfngdthitikhwamhmayodywiyxael elx duktxngmahyudlngemuxsinsmykarpkkhrxngkhxngckrphrrdinopeliynthi 3 inpi kh s 1870 xiththiphltxkarxnurksthangprawtisastr aekikh thvsdikhxngkarxnurksthangprawtisastr historic preservation tngxyuinkrxbkhxngkhwamepnthwiphakhrahwangkarrksaihkhngxyuinsphawakhxngewlathithakarxnurks aela karptisngkhrn restoration hruxkarsrangsingthiimekhymimaaetkxninxdit nkwiphakssilpchawxngkvscxhn rskhinepnphusnbsnunprchyaaerkxyangaekhngkhn khnathiwiyxael elx duksnbsnunprchyahlng wiyxael elx dukklawwakarptisngkhrn epnwithiinkarthaihsingkxsrangklbipxyuinsphaphthismburn thixaccamiidekhyekidkhuncringinxdit 2 withikarkarptisngkhrnkhxngwiyxael elx dukidrbkarwiphakswicarnxyangrunaerngodycxhn rskhinwaepn karthalayodyimmisakedimehluxhrxiwepnhlkthan karthalaydngwakhwbipkbkarbrryayxnimthuktxngekiywkbsingthithukthalayip 3 khxotaeyngdngklawkyngkhngdaenintxmacnkrathngpccubnniemuxmikarklawthungkarburnptisngkhrnimwacaepnsingkxsranghruxphumithsn singthisuyhayipinxditimsamarththicaeriykklbkhunmaid aetkarthicathingihsingkxsrangthrudothrmlngiptamkalewlaephuxthicarksa sthanaphaphpccubn status quo kmiidepnthvsdithisathxnihehnthungprawtisastrechnkn karlxkchntang khxngprawtisastrxxkcaksingkxsrang kethakbepnkarlxkkhxmul aela khunkhathiimsamarthsrangkhunihmid aetinkhnaediywknkarephimetimnganihmechnthithaodywiyxael elx dukkepnkarchwyihphuchmnganidmxngehnphaphkhxngprawtisatrthimichiwitchiwakhun kharkhaosnthiburnaodywiyxael elx duknganekhiyn aekikh hnapk Dictionnaire Raisonne de L Architecture Francaise du XIe au XVIe siecle brrnathikar ex omerl paris kh s 1868 tlxdxachiphkarngan wiyxael elx dukekhiynbnthukaelawadrupraylaexiydtang xyangpranitimechphaaaetsingkxsrangthitnexngmikhwamrbphidchxbaetrwmthngraylaexiydkhxngsingkxsrangaebbsthaptykrrmormaensk kxthikh aela erxensxngsthikalngcathukruxthing nganbnthukaelaphaphwadehlanimipraoychntxnganphimphkhxngwiyxael elx duk ngansuksasthaptykrrmkhxngyukhklangaelayukherxensxngsimcakdechphaaaetngansthaptykrrmethann aelayngkhrxbkhlumipthungefxrniecxr esuxpha ekhruxngdntri xawuth aela xun xikdwyngankhxngwiyxael elx dukkhrngaerktiphimphepntxn aelatxmatiphimphepnchbbrwmelmthiidaek phcnanukrmsthaptykrrmfrngessrahwangkhriststwrrsthi 11 thung 16 kh s 1854 kh s 1868 frngess Dictionnaire raisonne de l architecture francaise du XIe au XVIe siecle tnchbbphasa frngess phrxmphaphprakxbepncanwnmak phcnanukrmefxrniecxrfrngessrahwangsmykhaoraelngechiyngthungsmyerxensxngs kh s 1858 kh s 1870 frngess Dictionnaire raisonne du mobilier francais de l epoque Carolingienne a la Renaissance khxkhidekiywkbsthaptykrrm frngess Entretiens sur l architecture 2 elm kh s 1858 kh s 1872 brryaykhntxnkhxngkhwamekhaicaelakarsuksasthaptykrrmkhxngwiyxael elx dukexng sungepnrabbkarsuksathiaetktangepnxnmakipcakthithakarsxnodyorngeriynwicitrsilpaehngfrngess thiwiyxael elx dukexnghlikeliyngaelaepnptipksinwyhnum chbbaeplepnphasaxngkvs Discourses on Architecture odysthapnikchawxemriknehnri aewn brnth phimphinpi kh s 1875 imthungsibpihlngcakthitnchbbidrbkartiphimph prawtisastrsingkxsrangsahrbepnthixyuxasytngaetsmykxnprawtisastrcnthungpccubn kh s 1875 frngess Histoire de l habitation humaine depuis les temps prehistoriques jusqu a nos jours phimphepnphasaxngkvsphayitchux Habitations of Man in All Ages inpi kh s 1876 inhnngsuxelmniwiyxael elx dukbrryayprawtikhxngsthaptykrrmthixyuxasykhxngmnusyephaphnthutang L art russe ses origines ses elements constructifs son apogee son avenir kh s 1877 wiyxael elx dukichkhwamruinkarxthibaylksnasthaptykrrmrsesiythvsdisthaptykrrmaelaokhrngkarsrangsingkxsrangihm aekikh nganxxkaebbhxaesdngdntri kh s 1864 aebbechingkxthikhaetichwsdukxsrangsmyihmthirwmthngxith hin aela ehlkhlx khxkhidekiywkbsthaptykrrm wiyxael elx dukthuxknodyphuechiywchayhlaykhnwaepnnkthvsdikhnaerkkhxngsthaptykrrmsmyihm sthapnikchnnachawxngkvscxhn smemxrsnklawwa inprawtisastrsthaptykrrmyuorpminkthvsdiphuyingihysxngkhn lixxn battista xlebxrti aela exxaechn wiyxael elx duk 4 thvsdisthaptykrrmkhxngwiyxael elx dukswnihymirakthanmacakkhwamsmphnthrahwangwsduthiichkbrupthrngthiehmaasmkbwsdu aelakarichrupthrngdngwaniinkarsrangsingkxsrang hwickhxngthvsdikhxngwiyxael elx dukxyuthikarichwsduxyang imbidebuxn honestly wiyxael elx dukechuxwaruplksnphaynxkkhxngsingkxsrangkhwrcasathxnihehnthungkarkxsrangxyangmihlkkarkhxngsingkxsrang rational construction in khxkhidekiywkbsthaptykrrm wiyxael elx duksrresriykarkxsrangethwsthankrikwaepnkarkxsrangxnepnhlkkarthiepntwxyangxndikhxngkarkxsrangsthaptykrrm tamkhwamehnkhxngwiyxael elx duk sthaptykrrmkrikkhuxtwxyangkhxngkhwamsmphnthrahwangokhrngsrangaelaruplksnphaynxk 5 aetkmikarsnnisthanknwathvsdidngklawmixiththiphlodytrngcakbthekhiynkhxngcxhn rskhinphuepnphusnbsnunthvsdikhxngkhwamethiyngtrnginkarichwsduthiepnhnunginhlkxnsakhyecdprakarkhxngsthaptykrrminokhrngkarsingkxsrangihmhlayokhrngkarthiyngsrangimesrc wiyxael elx dukichthvsdithimacaksthaptykrrmkxthikhodykarichrabbkarkxsrangtamhlkkarinkarkxsrangodyichwsdukarkxsrangsmyihmechnehlkhlx nxkcaknnkynghniphawsduthrrmchatiechnibim aela okhrngkradukstwinkarepnaerngbndalic odyechphaapikkhangkhaw sungepnxiththiphlthisathxnihehninkarkxsrangokhrngkarhxprachumnganwadokhrngesakhaynehlk trusswork khxngwiyxael elx dukepnnganwadthilayukh nganxxkaebbhlayxyangkhxngwiyxael elx dukepnnganthitxmamamixiththiphltxkhbwnkarxartnuowodyechphaainngankhxngexkhetxr kuymard thinganmamixiththiphltxsthapnikxemrikntxmathirwmthngaefrngkh efxrenss cxhn ewllbxrn ruth hluys slliaewn aela aefrngkh lxyd irt 6 xachiphkarthharaelaxiththiphl aekikhxachiphxikxachiphhnungkhxngwiyxael elx dukkhuxkarepnthharthimihnathihlkinkarpxngknparisrahwangsngkhramfrngess prsesiy kh s 1870 kh s 1871 karsngkhramkhrngnimixiththiphltxwiyxael elx dukxyangluksung thungkbepnaerngbndalicinbnplaykhxngchiwitwiyxael elx dukihekhiynepriybethiybrabbkarpxngknthithuktxngkhxngfrngesskbprawtisastrthangkarthharkhxngelx orch pxngtsungepnprasathincintnakar inbthekhiyn prawtisastrkarkxsrangpxmprakar frngess Histoire d une Forteresse thiidrbkaraeplepnphasaxngkvssxngkhrngphayitchux Annals of a Fortress hnngsuxelmniepnnganekhiynmacakngankhnkhwaxnthithwnthiepnnganthikungrahwangnwniyayaelataraprawtisastr prawtisastrkarkxsrangpxmprakar mixiththiphltxprchyakhxngrabbkarpxngknthangthharkhxngfrngess nganwicarnkhxngwiyxael elx dukekiywkbphlkhxngpunihy thiidmacakprasbkarnrahwangsngkhramkhxng kh s 1870 kh s 1871 epnnganthismburnthibrryayxyangthuktxngtrngtxkhwamepncringekiywkbrabbkarpxngkntwkhxngfrngessmacnthungsngkhramolkkhrngthisxng phlkhxngthvsdikhxngnganekhiynniehnidcakkarkxsrangrabbkarpxngknthiaewredingkxnhnathicaekidsngkhramolkkhrngthihnung aelakarsrangaenwmayinontkxnhnathicaekidsngkhramolkkhrngthisxng emuxphicarnaxyangluksungaelwthvsdikhxngwiyxael elx dukkepnthvsdithisathxnthvsdithangkarthharkhxngfrngessinkhxthiwa Deliberate Advance thiklawwapunihyaelarabbkarpxngknkhxngaenwhlngkhxngkxngthphkhuxhwicsakhyxnusrn aekikh karnalksnakarsrangcakthangehnuxkhxngfrngessinkarsranghlngkhakrwyaehlmmaichinkarsranghlngkhakhlumhxthangtxnitkhxngfrngessthikharkhaosn nganburnptisngkhrnechnthiprasathpiaeyrfngdepnnganthikxihekidkhwamkhdaeyngepnxnmak ephraawiyxael elx dukmiidmicudprasngkhinkarsrangihmihethiyngtrngtxkhwamepncringthangprawtisastr aetepnkarsrangephuxihidsingkxsrangthimilksnathiepn singkxsrangthismburnaebb echingsthaptykrrmkhxngyukhklang rabbkarxnurkssmyihmmikhwamehnwakarburnptisngkhrnkhxngwiyxael elx dukepnwithithixisraekinkhwr epnwithithisathxnthungkhwamtxngkarswntwkhxngsthapnikcnekinkhwr aelaepnnganthiepnphlcakkartikhwamhmaycnekinkhwr aetkrannxnusrnsthanthiwiyxael elx dukmiswninkarburnptisngkhrnkrxdmacakkarsuyhayipxntxni ekadi sthapnikchawkatala idrbxiththiphlepnxnmakcaksthaptykrrmfunfukxthikkhxngwiyxael elx dukbnplaykhxngchiwit aekikhinbnplaykhxngchiwitwiyxael elx dukyayiptnghlkthanxyuthiolsaninswitesxraelndaelaipesiychiwitthinnemuxwnthi 17 knyayn kh s 1879xangxing aekikh Summerson Sir John 1948 Heavenly Mansions and Other essays on Architecture London Cresset Press Eugene Emmanuel Viollet le Duc 1854 1990 The foundations of architecture New York George Braziller P 195 Translated by Kenneth D Whitehead from the original French John Ruskin 1880 1989 The seven lamps of architecture New York Dover Publications P 194 Summerson Sir John 1948 Heavenly Mansions and Other essays on Architecture London Cresset Press Ochshorn Jonathan Designing Building Failures Cornell University Viollet Le Duc Eugene Emmanuel 1990 The Architectural Theory of Viollet Le Duc Readings and Commentary MIT Press Dictionary of Art Historians Eugene Emmanuel Viollet le Ducduephim aekikhsthaptykrrmfunfukxthikhaehlngkhxmulxun aekikh wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb exxaechn wiyxael elx dukekhathungcak https th wikipedia org w index php title exxaechn wiyxael elx duk amp oldid 7297911, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม