fbpx
วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา

ปฐมบทของเมืองท่า Singora

นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5-6 การปรากฏตัวของเมืองท่า และแหล่งโบราณคดีที่แสดงว่า มีผู้คนจากต่างแดนเข้ามาปะทะสัมพันธ์ น่าจะมีเหตุผลจาก การแสวงหาโชคลาภและโภคทรัพย์ของผู้คนทางตะวันตกดั่งเช่น กรีซ และ โรมัน จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาของการค้นพบเส้นทางการค้าทางทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ คู่ขนานและเชื่อมโครงข่ายกับเส้นทางการค้าทางบก

ต่อมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 ได้เกิดอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และความปลอดภัย ในการใช้เส้นทางบกระหว่างดินแดนทางตะวันตกและตะวันออก โดยเฉพาะพวกโรมันและรัฐในกลุ่มเอเชียกลาง จึงหันมาใช้เส้นทางทะเลแทน เพื่อใช้ค้าขายติดต่อกับอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างสองทวีปในระยะแรกๆนี้ ไม่ใช่เป็นการเดินทางแบบรวดเดียวถึงกันตลอด แต่ต้องมีจุดหยุดพักเป็นระยะๆ โดยอาศัยเมืองท่า และสถานีพักสินค้า เพื่อถ่ายสินค้า เพิ่มเติมน้ำจืดและอาหาร รวมไปถึงการซ่อมแซมเรือ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

ทั้งนี้หากย้อนกลับมาพิจารณาจากทำเลที่ตั้งของภาคใต้ของประเทศไทย ที่เป็นคาบสมุทรตั้งอยู่ระหว่างประเทศที่เป็นอู่อารยะธรรม คือ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศแถบอาหรับปอร์เซีย และ ประเทศแถบชวา-มาลายู จะพบว่า ดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นดินแดนที่อยู่ในตำแหน่งเส้นทางการค้าขายทางทะเล รวมถึงเป็นดินแดนที่พ่อค้าชาวแขกมัวร์ ใช้เส้นทางนี้เดินทางค้าขายทางเรือ โดยอาศัยลมสินค้าในสมัยโบราณที่จำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีการต่อเรือ รวมถึงการเดินเรือซึ่งในสมัยนั้น ต้องอาศัยทิศทางและกำลังลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเดินทางจากอินเดียไปยังจีน และอาศัยลมมรสุมจากตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเดินทางจากจีนไปยังอินเดีย และบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรไปถึงเส้นห้าองศาเหนือ เป็นพื้นที่อันตรายเพราะเป็นเขตจุดเริ่มต้นของลมสินค้า ลมจะสงบนิ่ง (ไร้กระแสลม เรียกว่าโดลดรัม Doldrums) เมื่อลมเบาบางจนทำให้เรือสินค้าเคลื่อนที่ไม่ได้ ที่เรียกว่า “ตกโลก” ก็เป็นการบังคับให้พ่อค้าต้องแวะตามเมืองท่าชายฝั่งภาคใต้ของไทย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรเพื่อจอดซ่อมแซมเรือ เติมน้ำจืดและอาหาร รวมถึงขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรกลางทางในรอบปี โดยการขนถ่าย แลกเปลี่ยนสินค้านี่เอง ทำให้เมืองท่าต่างๆในคาบสมุทรทางภาคใต้ของไทยในสมัยที่มีการเดินเรือทะเล มีความเจริญรุดหน้า จากการค้าขายเป็นอันมาก นอกจากนั้น สินค้าที่สำคัญที่ผลักดันให้ชาวตะวันตกต้องแสวงหาและเดินทางมายังเมืองท่าในคาบสมุทรมาลายูคือ เครื่องเทศ เช่น ว่าน กระวาน ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย พริกไทย กานพลู อบเชย ดีปลี จันทน์เทศ ทำให้เส้นทางการเดินเรือดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางเครื่องเทศ

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จากเมืองท่า Singora สู่ Songkhla ในปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 โดยมีศูนย์กลางการปกครอง หรือ สถานที่ตั้งเมือง 3 แห่งโดยสามารถลำดับจากพัฒนาการ ได้แก่

  1. เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง (ก่อนพุทธศตวรรษ ที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23)
  2. เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
  3. เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

ซึ่งสามารถอธิบายลำดับของความเป็นมาก่อนหลังที่มีเรื่องราวเชื่อมต่อกัน ได้ดังต่อไปนี้

สมัยเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง

เป็นยุคที่น่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 โดยพิจารณาจากเจดีย์บนยอดเขาน้อยที่กำหนดอายุได้ไม่น้อยกว่า พุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยปรากฏชื่อในเอกสารต่างๆของพ่อค้าชาวตะวันตกว่า Singora บ้าง Singor บ้าง น่าจะมีชื่อเมือง สิงขร สิงคะ แปลว่าจอม ที่สูงสุดยอดเขา และภาษาไทยว่า “สิงขร” เป็นความหมายที่สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลา โดยช่วงเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของ เจ้าเมืองและ ปฐมพลเมืองชาวมุสลิม ซึ่งได้อพยพและนำพลพรรคชาวแขกชวา หนีภัยจากโจรสลัดที่คุกคามอย่างหนัก ในแถบหมู่เกาะชวาล่องเรือมาขึ้นฝั่งบริเวณฝั่งหัวเขาแดง โดยปรากฏในเอกสารชาวต่างชาติที่มาค้าขาย เป็นต้นว่าในสำเนาจดหมายของนายแมร์ เทนเฮาท์แมน จากอยุธยา มีไปจนถึงนายเฮนดริก แจนเซน นายพานิชย์คนที่ 1 ชาวดัตช์ ที่ปัตตานีในปี พ.ศ. 2156 ออกชื่อเจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้นว่า “โมกุล” แต่ในบันทึกบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้กล่าวถึงเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2165 เรียกชื่อเจ้าเมืองว่า “ดาโต๊ะโกมอลล์” จึงพอสรุปได้ว่า ผู้สร้างเมืองฝั่งหัวเขาแดงประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นมุสลิมที่ชาวอังกฤษในสมัยอยุทธยาเรียกว่า “โมกุล” และ ชาว ดัตช์ เรียกว่า “โมกอล” โดย ดาโต๊ะโมกุล ได้ตั้งเมืองสงขลาบริเวณหัวเขาแดง เขาค่ายม่วงและ เขาน้อย ซึ่งน่าจะอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2153 - 2154 ซึ่งตรงกับสมัยพระเอกาทศรถ สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ซึ่งเป็นเชื้อสายโดยตรงของสุลต่านสุไลมาน ได้เล่าว่า ประมาณ พ.ศ. 2145 ดาโต๊ะโมกอลซึ่งเคยปกครองเมืองสาเลย์ ที่เป็นเมืองลูก ของจาการ์ตา บนเกาะชวา (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) ได้อพยพครอบครัว และบริวารหนีภัย การล่าเมืองขึ้น (ซึ่งใช้ปืนใหญ่จากเรือปืนยิงขึ้นฝั่งที่เรียกว่า Gunship policy) ลงเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา เข้าใจว่าตระกูลนี้คงเคยเป็นตระกูลปกครองบ้านเมืองมาก่อน เมื่อเจอทำเลเหมาะสมหัวเขาแดง ท่านดะโต๊ะ โมกอล ก็ได้นำบริวารขึ้นบก แล้วช่วยกันสร้างบ้านแปลงเมือง และ ดัดแปลงบริเวณปากทางเข้าทะเลสาบสงขลาให้เป็นท่าจอดเรือขนาดใหญ่ ที่สามารถรับเรือสำเภา หรือ เรือกำปั่นที่ประกอบธุรกิจการค้าทางทะเล แวะเข้าจอดเทียบท่าได้ จนเมืองหัวเขาแดงในสมัยนั้น กลายเป็นเมืองท่าเรือระหว่างประเทศไป กิติศัพย์นี้โด่งดังไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148 - 2153) จึงได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้ดะโต๊ะ โมกอล เป็นข้าหลวงใหญ่ของพระเจ้ากรุงสยาม ประจำเมืองพัทลุงอยู่ที่หัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา

สุลต่านผู้ครองเมืองสงขลาได้ปกครองเมืองแบบรัฐสุลต่าน ของราชวงศ์ ออโตมาน ซึ่งการปกครองแบบนี้แพร่หลายเข้ามายังเกาะสุมาตรา เกาะชวา และรัฐสุลต่านต่างๆ ทางปลายแหลมมาลายู โดยสุลต่านผู้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนี่ จึงดำรงค์ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ส่วนบุตรชาย สามคนคือ มุสตาฟา ฮุสเซน และ ฮัสซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงทาง กองทัพเรือ ผู้บัญชาการป้อม และ ตำแหน่งการปกครองอื่นๆ ในระบอบการปกครองแบบสุลต่าน

ปฐมการค้า กับ ฮอลันดา

ในระยะแรกของการตั้งเมืองสงขลา เจ้าเมืองได้ยอมรับในการตกเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา โดยสุรต่านผู้ครองเมือง ได้จัดส่งเครื่องราชบรรณาการซึ่งประกอบด้วยดอกไม้เงิน และ ดอกไม้ทอง แก่กรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าเมืองสงขลาได้กำหนดทิศทางของการพัฒนาเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นลักษณะเมืองท่า ทำกิจการในแลกเปลี่ยนสินค้าในระดับนานาชาติ โดยเมืองท่านี้ได้ทำการค้าขายกับ ฮอลันดา โปรตุเกตุ อังกฤษ จีน อินเดีย และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศคู่ค้าประเทศแรกๆ ที่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีต่อ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และสามารถขยายความสัมพันธ์ทางการค้า มายังสงขลาคือ ฮอลันดา โดยเฉพาะระหว่างปี พ.ศ. 2171 - 2201 เป็นสมัยที่ฮอลันดา มีความมั่งคั่งจาก การผูกขาดเครื่องเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยฮอลันดาสามารถกำจัดคู่แข่งทางการค้าอื่นๆเช่น โปรตุเกตุ อังกฤษ และ พ่อค้ามุสลิม ให้ห่างจากเส้นทางการค้า มีผลทำให้ให้ฮอลันดามีความมั่งคั่ง และ มีอำนาจขึ้นในยุโรป และ ตะวันออกไกล ครั้นถึงปี พ.ศ. 2584 ชาวดัตช์สามารถยึดเมืองมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญได้จากโปรตุเกส จึงใช้มะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับจีน และญี่ปุ่นโดยตรง โดยมีบันทึกหลายๆ ฉบับ ได้กล่าวถึงการค้าขายบริเวณเมืองท่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ดังนี้

  • จดหมายของนายคอร์เนลิส ฟอน นิวรุท จากห้างดัตช์ ที่กรุงศรีอยุทธยา ไปถึงหอการค้าเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. 2160 กล่าวถึงเมืองสงขลาไว้ว่า “ขณะนี้พ่อค้าสำคัญๆได้สัญญาว่าจะแวะเมืองสิงขระ (สงขลาฝั่งหัวเขาแดง)"
  • จดหมายของ จูร์แคง ชาวอังกฤษได้รายงานไปที่ห้างอังกฤษ บนเกาะชวาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2164 ได้กล่าวถึงการค้าขายที่เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงไว้ว่า “พวกดัชใช้เรือขนาดเล็กที่เรียกว่า แวงเกอร์ โดยมีเรือขนาดเล็กนี้มีอยู่ประมาณ 4-5 ลำ ประจำที่สิงขระ เพื่อกว้านซื้อพริกไทยจากพ่อค้าชาวพื้นเมืองที่เข้ามาขายให้"
  • บันทึกของ โยเกสต์ สเกาเตน ผู้จัดการห้างฮอลันดา ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง หนังสือแต่งเมื่อ พ.ศ. 2179 ดังคำแปลในประชุมพงศาวดาร ภาค 76 กล่าวว่า “พวกเราชาวฮอลันดาได้เข้ามาอยู่ในอาณาจักรสยามได้ 30 ปีแล้ว และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพระมหากัตริย์ตลอดมา การค้าขายของเราถึงจะไม่ได้รับกำไรมากมายจนเกินไป แต่กระนั้นพวกเรายังได้รับไมตรีจิต มิตรภาพจากพระมหากษัตริย์ มากกว่าชนชาติยุโรปอื่นได้รับ” ซึ่งสอดคล้องกับการพบสุสานของชาวฮอลันดา อยู่ณ บริเวณสุสาน วิลันดา ในบริเวณพื้นที่เมืองเก่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง

เนื่องจากการที่เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นเมืองคู่ค้าที่สำคัญ กับฮอลันดา ทำให้เมืองสงขลาได้รับการคุ้มครอง และ การสนับสุนด้านต่างๆ จากฮอลันดาเป็นอย่างมาก จนกระทั่งทำให้เมืองสงขลา โดย สุลต่านสุไลมาน ฉวยโอกาส แข็งเมืองในช่วงกบฏกรุงศรีอยุธยาใน รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งผลจากการแข็งเมืองนี้เองทำให้ สุลต่านสุไลมานประกาศตัวเป็น พระเจ้าสงขลาที่ 1 และ ดำเนินการค้าโดยตรงกับนานาประเทศโดยเฉพาะ ประเทศฮอลันดา ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ฮอลันดาได้ทำการค้าเพื่อเอาใจ และสัมพันธ์ด้านประโยชน์ทางการค้า ทั้งกรุงศรีอยุธยาและสงขลา ไปในคราเดียวกัน ดั่งปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าปราสาททอง แห่งอยุธยาได้เคย ขอให้ฮอลันดาช่วยปราบกบฏเมืองสงขลา แต่ฮอลันดากลับไม่ได้ตั้งใจช่วยอย่างจริงจังตามที่ได้แสดงเจตนาไว้ ซ้ำยังให้ความช่วยเหลือเมืองสงขลาด้วยในคราเดียวกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง กับฮอลันดา ยิ่งทวีความแน่นแฟ้นขึ้นตามลำดับ โดยไม่มีบทบาทของกรุงศรีอยุธยามาแทรกแซง จนฮอลันดาสนใจจะเปิดสถานีการค้ากับเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง

ตามบันทึกของ ซามูเอล พอทท์ส ซึ่งไปสำรวจภาวะตลาดในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2221 ได้บรรยายว่าเจ้าเมืองสงขลาต้อนรับเป็นอย่างดีที่วังของเมือง แสดงความเป็นกันเอง พร้อมทั้งตั้งข้อเสนอหลายอย่างที่เป็นการจูงใจให้เข้าไปค้าขาย เช่น จะไม่เก็บอากรบ้าน จะหาบ้านและที่อยู่ให้ โดยปรากฏหลักฐานสนับสนุนเรื่องนี้จากจากแผนที่ซึ่งทำโดยชาวฝรั่งเศส ได้ระบุว่า มีหมู่บ้านของชาวฮอลันดาปรากฏอยู่ในแผนที่ นอกเหนือจากการปรากฏหลักฐานของสุสานชาวดัตช์ อยู่ใก้ลที่ฝังศพ สุลต่านสุไลมานซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง โดยมีหลุมศพเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ประมาณ 22 หลุม ซึ่งชาวบ้านได้เรียกที่ฝังศพนี้ว่า “วิลันดา” ซึ่ง หนึ่งในยี่สิบสอง หลุมนี้อาจเป็นตัว ซามูเอล พอทท์ส หรือ พรรคพวกเองก็เป็นได้

ความสัมพันธ์ทางการค้ากับอังกฤษที่นำมาสู่เมืองแห่ง 20 ป้อมปืน

ความเป็นคู่แข่งทางการค้าระหว่างฮอลันดา กับ อังกฤษได้นำมาสู่การคานอำนาจของหัวเมืองต่างๆ ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา เช่น ขณะที่สงขลามีปฏิสัมพันธ์ทางการค้าและการเมืองที่ดีต่อ ฮอลันดา นั้นอังกฤษก็ได้เริ่มมุ่งความสนใจทางการค้ากับ เมืองปัตตานีที่เป็นเมืองท่าอยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และ พยายามที่จะขยับขยายการค้ามาสู่ สงขลา ดังบันทึก ฉบับหนึ่งที่เขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษ กล่าวถึงการค้าที่เมืองสิงขระว่า “จะไม่เป็นการผิดหวัง หากคิดจะสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่ สิงขระ ( Singora ) ข้าพเจ้าคิดว่าเราอาจจะใช้สิงขระ เป็นที่สำหรับตระเวณหาสินค้าจากบริเวณใกล้เคียง เพื่อจัดส่งให้แก่ห้างของเราที่กรุงสยาม โคชินไชน่า บอเนียว และญี่ปุ่นได้อย่างดี” โดยจาการค้าขายกับต่างชาตินี่เองทำให้เมืองสิงขระ ที่นำโดย “ดาโต๊ะโมกอล” ได้พัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการค้าขายระดับนานาชาติ และ เพื่อสร้างความปลอดภัย และ รักษาเมืองจากการปล้นสะดมจากโจรสลัดซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากในขณะนั้น การพัฒาเมืองจึงได้รวมไปถึงการสร้าง ป้อมปืนใหญ่บริเวณบนเขา และ ที่ราบในชัยภูมิต่างๆถึง 20 ป้อมปืน รวมไปถึงการสร้าง ประตูเมือง และ คูดินรอบเมือง โดยได้รับการสนับสนุน เทคโนโลยี และ อาวุธ จากพ่อค้าชาวอังกฤษ แลกกับการที่อังกฤษมาตั้งห้างที่สงขลา ทั้งนี้ตรงกับหลักฐานตามที่นาย ลามาร์ ชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกแผนผังเมืองไว้เมื่อ พ.ศ. 2230 ประกอบด้วย ประตูเมือง และ ป้อมปืน 17 ป้อม

จากการที่สงขลาแข็งเมือง ทำให้พ่อค้าชาวอังกฤษเห็นช่องทางในการลดค่าภาษีที่จะต้องส่งให้แก่กรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ให้ของกำนัล แก่เจ้าเมือง สิงขระ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำการค้าขายในแถบนี้ได้แล้วดังบันทึกอันหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษว่า “การตั้งคลังสินค้าขึ้นที่นี่ยังจะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับห้างอีกด้วย เพราะที่นี่ไม่เก็บอากรขนอนเลย เพียงแต่เสียของกำนัลให้แก่ดาโต๊ะโมกอลล์ (เจ้าเมืองสงขลา) ก็อาจนำเงินสินค้าผ่านไปได้ โดยผลจากการประกาศแข็งเมือง และ ตั้งตนเป็นพระเจ้าสงขลาที่ 1 ของสุลต่านสุไลมัน (บุตรของดาโต๊ะโมกอล) จึงเสมือนการเปิดโอกาสให้เมืองสงขลาในระยะนี้เจิญถึงจุดสูงสุด ถึงขั้นมีการผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง โดยมี คำว่า “สงขลา. เป็นภาษาไทยบนหรียญ ภาษายาวีสองคำ อ่านว่า นะครี-ซิงเกอร์ แปลว่านครสงขลา และมีภาษาจีนอีก ห้าคำ เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานในช่วงเวลาการผลิตเหรียญแต่สันนิษฐานจากภาษา แขก ที่ปรากฏบนเหรียญ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในช่วงเวลาที่เจ้าเมืองแขกปกครองสงขลาอยู่เกือบ 40 ปี ทำให้เรา และ สามารถคาดการณ์ถึงสภาพเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของเมืองสงขลาในขณะนั้นได้

ดังนั้นหลังจากปี พ.ศ. 2185 สุลต่านสุไลมานก็ตั้งต้นเป็นเอกราช สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเมืองเสงขลา ดำเนินการค้ากับ ฮอลันดา อังกฤษ และประเทศอื่นๆ โดยตรงไม่ผ่านการส่งอากรสู่อยุธยาทำให้ พระเจ้าปราสาททอง กษัทติย์ ของอยุธยาในขณะนั้น ต้องส่งกองทหารมาปราบหลายครั้งตลอดรัชการของพระองค์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสงขลาแห่งนี้ ได้ตั้งเมืองอยู่ในชัยภูมิที่ดี และ มีการก่อสร้างกำแพงเมือง คันคู ตลอดจน ป้อมปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันเมืองทั้งทางน้ำและทางบกมากกว่า ยี่สิบป้อม (บางเล่มก็ระบุว่า 17 ป้อมผู้เขียนอยู่ระหว่างค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม) ดังหลักฐานจากข้อเขียนของ วัน วลิต (Van Vliet) ผู้แทนบริษัท Dutch East India CO,Ltd. ประจำกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนเมืองสุรต่านที่หัวเขาแดง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2185 ได้เขียนรายงานไว้ว่า พระเจ้าปราสาททอง ได้เคยส่งกองเรือจากกรุงศรีอยุธยามาร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสงขลา) ทำการโจมตีเมืองสงขลาถึงสองครั้งในช่วงเวลาเพียง สองปี แต่ต้องประสพความพ่ายแพ้ไปทั้งสองครั้ง

ต่อมา เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้ถูกกองทัพ ทั้งทางบก และ ทางทะเล ตีแตกในปี พ.ศ. 2223 ถัดมาในรัชการ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏในจดหมายเหตุของมองซิเออ เวเรต์ ชาวฝรั่งเศส ที่มาค้าขายในอยุธยา ใน พ.ศ. 2230 ว่า “พระเจ้ากรุงสยามได้ส่งกองทัพเรือซึ่งมีเรือรบมาเป็นอันมาก ให้มาตีเมืองสงขลาเป็นอย่างมาก และ ได้ใช้แผนล่อลวงผู้รักษาป้อมแห่งหนึ่งให้มีใจออกห่างจากนายตน จากนั้นทหารกรุงศรีอยุธยาจึงได้ลอบเข้าไปทางประตูดังกล่าวเปิดประตูให้ทหารเข้ามาทำลาย และ เผาเมือง โดยเพลิงได้ลุกลามจนไหม้ เมืองตลอดจนวังของเจ้าพระยาสงขลาหมดสิ้นอีกทั้ง ทหารกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพเข้าไปในเมืองทำลาย ป้อม ประตู หอรบ และบ้านเมืองจนเหลือแต่แผ่นดิน เพราะเกรงว่าจะมีคนคิดกบฏขึ้นมาอีก”

ส่วนอีกบันทึกหนึ่งได้เล่าไว้ว่า กองเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ร่วมกับกองทัพจากนครศรีธรรมราช ได้ยกทัพเรือมาดอบล้อมเมืองสุรต่านที่หัวเขาแดง โดยมีพระยารามเดโช เป็นแม่ทัพใหญ่ ครั้นแล้วกองทัพทั้ง สอง ฝ่ายก็ได้เริ่มทำยุธนาการกันทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีลูกเรือชาวดัตช์ที่มารักษาการณ์ อยู่ที่สถานีการค้าของบริษัท Dutch East India Co.Ltd. ที่หัวเขาแดง เข้าช่วยฝ่ายสุลต่านเมืองเขาแดง เข้ารบกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏที่ฝังศพของทหารอาสาชาวดัตช์ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของกุโบร์ที่ฝังศพของสุรต่านสุลัยมาน โดยในบันทึกได้บรยายรายละเอียดว่าในคืนวันหนึ่งขณะที่ปืนใหญ่จากเรือรบของนครศรีธรรมราช กำลังกระหน่ำยิงเมืองหัวเขาแดงทหารซึ่งอยู่ที่ป้อมเมืองสงขลาของสุรต่านมุสตาฟา (บุตร สุลต่านสุไลมาน) จำนวนสองคนได้ทำการทรยศจุดคบไฟโยนลงจากบนภูเขาใส่บ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ซึ่งส่วนมากจะมุงด้วยหลังคาใบจาก จึงได้เกิดไฟไหม้ขึ้น ทำให้เกิดโกลาหลอลม่านกันขึ้น จนกระทั่งกองทัพกรุงศรีอยุธยา และ เมืองนครศรีธรรมราชสามารถยกพลขึ้นบกได้หลายจุด เช้าวันรุ่งขึ้น มุสตาฟาและ ฮุสเซน และ ฮัสซัน น้องชาย เข้าพบและยอมจำนนแก่แม่ทัพใหญ่ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

ผลที่สุดจึงปรากฏว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระบรมราชโองการ ให้ยุบเลิกเมือง สุลต่าน ที่หัวเขาแดง ล้วกวาดต้อนกองกำลัง และ บริวารทั้งหมดออกจากพื้นที่ แล้วลงเรืออพยพแบ่งเป็นสองพวกคือ คนที่มีอยุหกสิบปีขึ้นไป ให้อพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่ที่หมู่บ้านสงขลา เมืองไชยา (ในพื้นที่ จ สุราษฎธานี ห่างจากสงขลา ห้าร้อยกิโลเมตรทางตอนเหนือ) ส่วนคนหนุ่มคนสาว รวมทั้งลูกเจ้าเมืองทั้ง สาม ของสุรต่านสุไลมาน ให้อพยพเข้าไปอยู่ในกรุงศรีอยุธยา หลังจากเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงถูกทำลายแล้วทางกรุงศรีอยุธยามีนโยบายจะยกเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ ดังหลักฐานจากหนังสือสัญญาที่ฟอนคอนทำไว้ที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พศ” 2228 ระบุไว้ว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามยกเมืองสงขลา และ เมืองขึ้นของสงขลา พระราชทานให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และ พระราชทานพระราชานุญาตให้พระจ้ากรุงฝรั่งเศสสร้างป้อม หรือจัดทำอะไรในเมืองสงขลาได้แล้วแต่พระทัย” แต่ข้อนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิเศษข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากเมืองสงขลาในขณะนั้นอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนักเพราะถูกทำลายจนหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม เมืองสงขลาฝั่งหัวขาแดงก็ยังมีการสร้างกำแพงหรือขอบเขตของเมืองด้วยไม้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก้ได้โยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน อยู่ฝั่งแหลมสนซึ่งอยู่ทางฟากเขาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งชุมชนนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน )

สมัยเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน

หนีความทุกข์ยากหลังสงครามเมือง : Singora สู่เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ภายหลัง เมื่อเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาทำลายจนหมดสิ้น เมื่อ พ.ศ. 2223 ประชาชนชาวสงขลาฝั่งหัวเขาแดงที่เหลืออยู่ ได้ย้ายชุมชนไปสร้างเมืองใหม่ ณ เมืองสงขลาแห่งที่สองนี้ ที่รู้จักกันในชื่อว่าเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน โดยเมืองนี้เป็นเมืองที่ไม่ได้รับการวางแผนในการสร้างเมืองตั้งแต่ต้น ประกอบกับเป็นเมืองที่ถูกสร้างเนื่องจากการย้ายเมืองภายหลังจากสงคราม ดังนั้นลักษณะของเมืองจึงเป็นเมืองที่ถูกสร้างกันอย่างง่ายๆ บนพื้นที่เชิงเขาติดทะเล ถัดจากตำแหน่งเมืองสงขลาเดิมที่ถูกทำลายลงไปอีกด้านหนึ่งของฝากเขา เนื่องจากเป็นที่ตั้งเมืองที่อยู่บนเชิงเขา ทำให้เมืองสงลาแห่งที่สองนี้ในภายหลังประสบกับปัญหาการขาดแคนน้ำจืดอุปโภค และ ปัญหาการมีพื้นที่ในทางราบไม่เพียงพอกับการขยายและเติบโตของเมือง ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดการย้ายเมืองในเวลาต่อมา ลักษณะการสร้างบ้านเรือนของสงขลาฝั่งแหลมสน ส่วนใหญ่บ้านเรือนจะทำด้วยวัสดุไม่ถาวร เช่น ไม้ และ ใบจาก ในลักาณะเรือนเครื่องสับ จึงทำให้หลงเหลือร่องรอย และ หลักฐานไม่มากนัก เนื่องจากประชากรในการสร้างเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านธรรมดาสามัญชน ประกอบกับขนาด และ อณาเขต รวมไปถึง อำนาจการปกครองของเมืองสงขลาได้ลดฐานะเป็นแค่เมืองเล็กๆ ของเมืองบริวาร ของเมืองพัทลุง ดังนั้นเจ้าเมืองสงขลาคนแรกจึงถูกแต่งตั้งโดยพระยาจักกรี และ พระยาพิชัยราชา เป็นเพียงแค่การคัดเลือกชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ “โยม” มาดำรงตำแหน่งเป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน และ ในคราวเดียวกันนั่นเอง ยังมีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ นายเหยี่ยง แซ่เฮา ชาวจีน ซึ่งอพยพ มาจาก เมือง เจียงจิ้งหู มลฑลฟูเจี้ยน ได้เสนอบัญชีทรัพย์สิน และบริวารของตน เพื่อแลกกับสัมปทานผูกขาดธุรกิจรังนกบน เกาะสี่เกาะห้า ในทะเลสาบสงขลา เจ้าพระยาทั้งสองจึงพิจารณา แต่งตั้งให้ นายเหยี่ยง แซ่เฮา เป็นหลวงอินทคีรีสมบัติ นายอาการรังนกเกาะสี่เกาะห้า

พระสงขลาได้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ดำริว่า พระสงขลา (โยม) หย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติราชการ จึงให้หลวงอินทคีรีสมบัติ (เหยียง แซ่เฮา) ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เกาะสี่เกาะห้า เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ เจ้าเมืองสงขลา คนถัดมาซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งต่อมาได้ปกครองเมืองสงขลา มาถึง 8 รุ่น ในการปกครองสงขลาในช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาของการทำหน้าที่ปกป้องอณาเขต และ รับใช้ราชการปกครองแทน เมืองหลวง ซึ่งตรงกับกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 ปัญหาหลักของการปกครองสงขลาคือการส่งกำลังไปร่วมกำกับและควบคุมหัวเมืองแขกต่างๆ ให้อยู่ในความสงบ โดยมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรบหลายครั้ง ทำให้เจ้าเมืองสงขลา ในรุ่นต่างๆได้มีโอกาสแสดงความสามารถ และ ความภัคดีทางการรบ โดยในสมัยสงขลา ครั้งนี้มีเมือง แขก ปัตตานี ได้ถูกแยกออกเป็น เจ็ดหัวเมืองย่อย ได้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสงขลา ซึ่งต่อมาชื่อเมืองต่างๆได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อถนน ในครั้งตั้งเมืองใหม่ ณ ฝั่งบ่อยาง เมืองทั้งเจ็ดมีรายชื่อดังนี้ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองเมืองยะลา เมืองรามันห์ เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ และ เมืองสุดท้ายที่เข้ามาอยู่ใต้การกำกับดูแลของสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2379 คือเมืองสตูลใ นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 และตรงกับ เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน เนื่องจากเมืองสงขลาฝั่งแหลมสนเป็นเมืองที่ถูกสร้างอย่างง่ายๆ เพื่อรองรับการหนีภัยในช่วงเมืองแตก ทำให้เกิดปัญหาและ ข้อขัดข้องในการพัฒนาเมืองหลายประการตามมา ส่งผลต่อการพิจารณาย้ายเมืองในเวลาต่อมาไม่นานนัก

สมัยเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

สร้างเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง สู่ความรุ่งเรือง และความมั่งคั่งของเมืองท่า จนถึงเมืองท่องเที่ยว จากการขยายตัวของเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภค ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่บริเวณสงขลาฝั่งแหลมสน เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเมืองรวมถึง อาจเป็นอุปสรรคของการขยายตัวเป็นเมืองท่าในอนาคต ซึ่งจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ น่าจะเป็นข้อได้เปรียบ แต่เนื่องจากมีพื้นที่ในแนวราบไม่เพียงพอ จึงทำให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองสงขลาใหม่ที่ตำบลบ่อยาง (สถานที่ปัจจุบัน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ซึ่งเมืองใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ยังคงรักษาความเป็นเมืองท่าไว้อย่างเดิม โดยในเบื้องต้นของการสร้างเมือง เจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมืองยาว 1200 เมตร และ ประตูเมือง สิบประตู ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 หลังจากนั้นจึงได้วางหลักเมือง (ไม้ชัยพฤษ์พระราชทาน) และสมโภชน์หลักเมืองในปี พ.ศ. 2385 และเรียกบริเวณพื้นที่นี้ว่า “เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง” ก่อนที่เจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง) จะถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2408

ถัดจากนั้น เจ้าพระยาคีรี ลำดับต่อมา ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาต่อ และ ได้ดำเนินการพัฒนาสงขลาในลักษณะเมืองกันชนระหว่างเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และ เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองพุทธศาสนิกชน โดยเมืองสงขลาได้อยู่ภายใต้การปกครองของสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งมี นายเหยียง แซ่เฮา เป็นต้นสกุล รวมเจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลา บ่อยาง ดังนี้

ลำดับที่ 1. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360 – 2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง
ลำดับที่ 2. พระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ. 2390 – 2408
ลำดับที่ 3. พระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) พ.ศ. 2408 – 2427
ลำดับที่ 4. พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม ณ สงขลา) พ.ศ. 2427 – 2431
ลำดับที่ 5. พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431 – 2439

หลังจากพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาได้ประมาณปีเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จราชดำเนินมายังเมืองสงขลา และได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อสร้างเจดีย์ บนยอดเขาตังกวน ระหว่างปี พ.ศ. 2437-2439 เมืองสงขลาได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยตั้งมลฑลนครศีธรรมราช ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และ หัวเมืองแขกอีก เจ็ดเมือง โดยมี พระวิจิตร (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่เมืองสงขลาบ่อยาง และลดบทบาทเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองแบบเจ้าเมืองไปด้วย ทั้งนี้เจ้าเมืองคนสุดท้ายในสายสกุล ณ สงขลา ที่ปกครองเมืองสงขลามามากกว่า แปดรุ่น ต่อมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนการปกครองอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมด และยกระดับสงขลา ขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

อ้างอิง

  1. สุทธิวงศ์.โครงสร้างฯ 2544: 43
  2. ประเสริฐ ,สภาพอากาศฯม2536, 14-15 .สุทธิวงศ์, สายใยฯ ใน Plural peninsular proceeding, 2004, 71
  3. สุทธิวงศ์.โครงสร้างฯ 2544:41-42
  4. นันทนา สุตตุล 2513:63, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545 : 55
  5. ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ. 2512:176, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545 : 55
  6. สกรรจ์ จันทรัตน์ และ สงบส่งเมือง, 2532:29 , ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545 : 55
  7. สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง บทบาทของสุรต่านฯ, สงขลาศึกษา, 2535, 157
  8. อำพัน ณ พัทลุง 2531: 102 - 103, ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, 2544: 65 - 66
  9. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา, หจก. ภาพพิมพ์, 2544 : 73
  10. นันทนา สุตกุล. 2513: 81, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545 : 56
  11. ไพโรจน์ เกษมแม่นกิจ. 2512: 38, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545 : 56
  12. สังข์ พัฒโนทัย, 2516: 197,ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, 2544: 73
  13. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา, หจก. ภาพพิมพ์,2 544: 73 - 74
  14. ยงยุทธ ชูแว่น , 2529: 38, ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, 2544 :74
  15. ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน, 2530: 58, ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา, หจก. ภาพพิมพ์, 2544: 74
  16. ไพโรจน์ เกษมแม่นกิจ. 2512: 176 - 177, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 56
  17. La marre 1687, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 56
  18. ไพโรจน์ เกษมแม่นกิจ. 2512: 176 - 177, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 56
  19. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภานุพันธุวงค์วรเดช, 2504: 77, ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, 2544: 64
  20. สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง บทบาทของสุรต่านฯ, สงขลาศึกษา, 2535, 158
  21. ศึกษาภัณฑ์พานิช, ประชุมพงศวดาร เล่ม 25:308, รศ. ทวีสักดิ์ ล้อมลิ้ม, ความสัมพันธ์ฯ, สงขลาศึกษา, 2534: 109
  22. สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง บทบาทของสุรต่านฯ, สงขลาศึกษา, 2535, 159 - 160
  23. หอสมุดแห่งชาติ, 2507: 141, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 59
  24. Lamare. 1682: 36, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 59
  25. ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 59
  26. หลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจน์วงศ์) พ.ศ. 2481: 26, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 60
  27. วิเชียรคีรี (ชม) พ.ศ. 2506 :36 - 37, ฝ่ายประมวลเอกสารและ จดหมายเหตุ. 2545: 60
  28. สงบ ส่งเมือง, พ.ศ. 2521: 67-70, ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2545: 64
  29. ฝ่ายประมวลเอกสาร และจดหมายเหตุ. 2545: 64 - 66

ประว, ศาสตร, เม, องสงขลา, บทความน, อาจต, องการตรวจสอบต, นฉบ, ในด, านไวยากรณ, ปแบบการเข, ยน, การเร, ยบเร, ยง, ณภาพ, หร, อการสะกด, ณสามารถช, วยพ, ฒนาบทความได, เน, อหา, ปฐมบทของเม, องท, singora, ฒนาการทางประว, ศาสตร, จากเม, องท, singora, songkhla, ในป, จจ, สม, ยเ. bthkhwamnixactxngkartrwcsxbtnchbb indaniwyakrn rupaebbkarekhiyn kareriyberiyng khunphaph hruxkarsakd khunsamarthchwyphthnabthkhwamidenuxha 1 pthmbthkhxngemuxngtha Singora 2 phthnakarthangprawtisastrcakemuxngtha Singora su Songkhla inpccubn 2 1 smyemuxngsngkhlafnghwekhaaedng 2 1 1 pthmkarkha kb hxlnda 2 1 2 khwamsmphnththangkarkhakbxngkvsthinamasuemuxngaehng 20 pxmpun 2 2 smyemuxngsngkhlafngaehlmsn 2 3 smyemuxngsngkhlafngbxyang 3 xangxingpthmbthkhxngemuxngtha Singora aekikhnbtngaetphuththstwrrsthi 5 6 karprakttwkhxngemuxngtha aelaaehlngobrankhdithiaesdngwa miphukhncaktangaednekhamapathasmphnth nacamiehtuphlcak karaeswnghaochkhlaphaelaophkhthrphykhxngphukhnthangtawntkdngechn kris aela ormn cungthaihchwngewladngklaw epnchwngewlakhxngkarkhnphbesnthangkarkhathangthaelthiekidkhunihm khukhnanaelaechuxmokhrngkhaykbesnthangkarkhathangbktxmaemuxrawphuththstwrrsthi 8 idekidxupsrrkhthangphumisastraelakhwamplxdphy inkarichesnthangbkrahwangdinaednthangtawntkaelatawnxxk odyechphaaphwkormnaelarthinklumexechiyklang cunghnmaichesnthangthaelaethn ephuxichkhakhaytidtxkbxinediy exechiytawnxxkechiyngit aelacin odykaredinthangechuxmrahwangsxngthwipinrayaaerkni imichepnkaredinthangaebbrwdediywthungkntlxd aettxngmicudhyudphkepnraya odyxasyemuxngtha aelasthaniphksinkha ephuxthaysinkha ephimetimnacudaelaxahar rwmipthungkarsxmaesmerux cakcudhnungipyngxikcudhnung 1 thngnihakyxnklbmaphicarnacakthaelthitngkhxngphakhitkhxngpraethsithy thiepnkhabsmuthrtngxyurahwangpraethsthiepnxuxaryathrrm khux praethscin praethsxinediy praethsaethbxahrbpxresiy aela praethsaethbchwa malayu caphbwa dinaednthangphakhitkhxngpraethsithy epndinaednthixyuintaaehnngesnthangkarkhakhaythangthael rwmthungepndinaednthiphxkhachawaekhkmwr ichesnthangniedinthangkhakhaythangerux odyxasylmsinkhainsmyobranthicakdodysphaphphumisastr aelaethkhonolyikartxerux rwmthungkaredineruxsunginsmynn txngxasythisthangaelakalnglmmrsumtawntkechiyngit ephuxedinthangcakxinediyipyngcin aelaxasylmmrsumcaktawnxxkechiyngehnux ephuxedinthangcakcinipyngxinediy aelabriewnehnuxesnsunysutripthungesnhaxngsaehnux epnphunthixntrayephraaepnekhtcuderimtnkhxnglmsinkha lmcasngbning irkraaeslm eriykwaodldrm Doldrums emuxlmebabangcnthaiheruxsinkhaekhluxnthiimid thieriykwa tkolk 2 kepnkarbngkhbihphxkhatxngaewatamemuxngthachayfngphakhitkhxngithy sungxyuthangtxnehnuxkhxngesnsunysutrephuxcxdsxmaesmerux etimnacudaelaxahar rwmthungkhnthaysinkhakhamkhabsmuthrklangthanginrxbpi odykarkhnthay aelkepliynsinkhaniexng thaihemuxngthatanginkhabsmuthrthangphakhitkhxngithyinsmythimikaredineruxthael mikhwamecriyrudhna cakkarkhakhayepnxnmak nxkcaknn sinkhathisakhythiphlkdnihchawtawntktxngaeswnghaaelaedinthangmayngemuxngthainkhabsmuthrmalayukhux ekhruxngeths echn wan krawan khing kha khmin krachay phrikithy kanphlu xbechy dipli cnthneths thaihesnthangkaredineruxdngklaw idchuxwaepnesnthangekhruxngeths 3 phthnakarthangprawtisastrcakemuxngtha Singora su Songkhla inpccubn aekikhprawtisastremuxngsngkhlaiderimtnxyangaethcring pramanphuththstwrrsthi 22 24 odymisunyklangkarpkkhrxng hrux sthanthitngemuxng 3 aehngodysamarthladbcakphthnakar idaek emuxngsngkhlafnghwekhaaedng kxnphuththstwrrs thi 22 thungplayphuththstwrrsthi 23 emuxngsngkhlafngaehlmsn emuxngsngkhlafngbxyangsungsamarthxthibayladbkhxngkhwamepnmakxnhlngthimieruxngrawechuxmtxkn iddngtxipni smyemuxngsngkhlafnghwekhaaedng aekikh epnyukhthinacamimakxnphuththstwrrsthi 22 thungplayphuththstwrrsthi 23 odyphicarnacakecdiybnyxdekhanxythikahndxayuidimnxykwa phuththstwrrsthi 17 18 odypraktchuxinexksartangkhxngphxkhachawtawntkwa Singora bang Singor bang nacamichuxemuxng singkhr singkha aeplwacxm thisungsudyxdekha aelaphasaithywa singkhr epnkhwamhmaythisxdkhlxngkbthitngemuxngsngkhla odychwngemuxngsngkhlafnghwekhaaedngnixyuphayitkarpkkhrxngkhxng ecaemuxngaela pthmphlemuxngchawmuslim sungidxphyphaelanaphlphrrkhchawaekhkchwa hniphycakocrsldthikhukkhamxyanghnk inaethbhmuekaachwalxngeruxmakhunfngbriewnfnghwekhaaedng odypraktinexksarchawtangchatithimakhakhay epntnwainsaenacdhmaykhxngnayaemr ethnehathaemn cakxyuthya miipcnthungnayehndrik aecnesn nayphanichykhnthi 1 chawdtch thipttaniinpi ph s 2156 xxkchuxecaemuxngsngkhlainkhnannwa omkul 4 aetinbnthukbristhxinediytawnxxkkhxngxngkvs idklawthungemuxngsngkhlainpi ph s 2165 eriykchuxecaemuxngwa daotaokmxll 5 cungphxsrupidwa phusrangemuxngfnghwekhaaedngpramanklangphuththstwrrsthi 22 epnmuslimthichawxngkvsinsmyxyuththyaeriykwa omkul aela chaw dtch eriykwa omkxl ody daotaomkul idtngemuxngsngkhlabriewnhwekhaaedng ekhakhaymwngaela ekhanxy sungnacaxyurahwang ph s 2153 2154 6 sungtrngkbsmyphraexkathsrth suphthr sukhnthaphirmy n phthlung sungepnechuxsayodytrngkhxngsultansuilman idelawa praman ph s 2145 daotaomkxlsungekhypkkhrxngemuxngsaely thiepnemuxngluk khxngcakarta bnekaachwa xinodniesiyinpccubn idxphyphkhrxbkhrw aelabriwarhniphy karlaemuxngkhun sungichpunihycakeruxpunyingkhunfngthieriykwa Gunship policy lngeruxsaephamakhunfngthibriewnbanhwekhaaedng aekhwngemuxngsngkhla ekhaicwatrakulnikhngekhyepntrakulpkkhrxngbanemuxngmakxn emuxecxthaelehmaasmhwekhaaedng thandaota omkxl kidnabriwarkhunbk aelwchwyknsrangbanaeplngemuxng aela ddaeplngbriewnpakthangekhathaelsabsngkhlaihepnthacxderuxkhnadihy thisamarthrberuxsaepha hrux eruxkapnthiprakxbthurkickarkhathangthael aewaekhacxdethiybthaid cnemuxnghwekhaaednginsmynn klayepnemuxngthaeruxrahwangpraethsip kitisphyniodngdngipcnthungkrungsrixyuthya dwyehtunismedcphraexkathsrth ph s 2148 2153 cungidmiphrabrmrachoxngkar aetngtngihdaota omkxl epnkhahlwngihykhxngphraecakrungsyam pracaemuxngphthlungxyuthihwekhaaedng aekhwngemuxngsngkhla 7 sultanphukhrxngemuxngsngkhlaidpkkhrxngemuxngaebbrthsultan khxngrachwngs xxotman sungkarpkkhrxngaebbniaephrhlayekhamayngekaasumatra ekaachwa aelarthsultantang thangplayaehlmmalayu odysultanphupkkhrxngemuxngsngkhlafnghwekhaaedngidnbthuxsasnaxislam nikaysuni cungdarngkhtaaehnngcularachmntri swnbutrchay samkhnkhux mustafa husesn aela hssn idrbkaraetngtngihdarngtaaehnngsungthang kxngthpherux phubychakarpxm aela taaehnngkarpkkhrxngxun inrabxbkarpkkhrxngaebbsultan 8 pthmkarkha kb hxlnda aekikh inrayaaerkkhxngkartngemuxngsngkhla ecaemuxngidyxmrbinkartkepnemuxngthixyuphayitkarpkkhrxngkhxngkrungsrixyuthya odysurtanphukhrxngemuxng idcdsngekhruxngrachbrrnakarsungprakxbdwydxkimengin aela dxkimthxng aekkrungsrixyuthya odyecaemuxngsngkhlaidkahndthisthangkhxngkarphthnaemuxngsngkhlafnghwekhaaedngepnlksnaemuxngtha thakickarinaelkepliynsinkhainradbnanachati odyemuxngthaniidthakarkhakhaykb hxlnda oprtuektu xngkvs cin xinediy aela frngess sungpraethskhukhapraethsaerk thisamarthmismphnthphaphthiditx krungsrixyuthya sungepnemuxnghlwngkhxngpraethsithy aelasamarthkhyaykhwamsmphnththangkarkha mayngsngkhlakhux hxlnda odyechphaarahwangpi ph s 2171 2201 epnsmythihxlnda mikhwammngkhngcak karphukkhadekhruxngethsaetephiyngphuediyw odyhxlndasamarthkacdkhuaekhngthangkarkhaxunechn oprtuektu xngkvs aela phxkhamuslim ihhangcakesnthangkarkha miphlthaihihhxlndamikhwammngkhng aela mixanackhuninyuorp aela tawnxxkikl khrnthungpi ph s 2584 chawdtchsamarthyudemuxngmalakasungepnsunyklangkarkhathangthaelthisakhyidcakoprtueks cungichmalakaepnsunyklangkarkhakhaykbcin aelayipunodytrng 9 odymibnthukhlay chbb idklawthungkarkhakhaybriewnemuxngthasngkhlafnghwekhaaedng dngni cdhmaykhxngnaykhxrenlis fxn niwruth cakhangdtch thikrungsrixyuththya ipthunghxkarkhaemuxngxmsetxrdm praethshxlnda emux ph s 2160 klawthungemuxngsngkhlaiwwa khnaniphxkhasakhyidsyyawacaaewaemuxngsingkhra sngkhlafnghwekhaaedng 10 cdhmaykhxng curaekhng chawxngkvsidraynganipthihangxngkvs bnekaachwaemuxwnthi 14 thnwakhm ph s 2164 idklawthungkarkhakhaythiemuxngsngkhlafnghwekhaaedngiwwa phwkdchicheruxkhnadelkthieriykwa aewngekxr odymieruxkhnadelknimixyupraman 4 5 la pracathisingkhra ephuxkwansuxphrikithycakphxkhachawphunemuxngthiekhamakhayih 11 bnthukkhxng oyekst sekaetn phucdkarhanghxlnda insmyphraecaprasaththxng hnngsuxaetngemux ph s 2179 dngkhaaeplinprachumphngsawdar phakh 76 klawwa phwkerachawhxlndaidekhamaxyuinxanackrsyamid 30 piaelw aelaidrbkartxnrbepnxyangdicakphramhaktriytlxdma karkhakhaykhxngerathungcaimidrbkairmakmaycnekinip aetkrannphwkerayngidrbimtricit mitrphaphcakphramhakstriy makkwachnchatiyuorpxunidrb 12 sungsxdkhlxngkbkarphbsusankhxngchawhxlnda xyun briewnsusan wilnda inbriewnphunthiemuxngekasngkhlafnghwekhaaedngenuxngcakkarthiemuxngsngkhlafnghwekhaaedngepnemuxngkhukhathisakhy kbhxlnda thaihemuxngsngkhlaidrbkarkhumkhrxng aela karsnbsundantang cakhxlndaepnxyangmak cnkrathngthaihemuxngsngkhla ody sultansuilman chwyoxkas aekhngemuxnginchwngkbtkrungsrixyuthyain rchsmyphraecaprasaththxng sungphlcakkaraekhngemuxngniexngthaih sultansuilmanprakastwepn phraecasngkhlathi 1 aela daeninkarkhaodytrngkbnanapraethsodyechphaa praethshxlnda sungaethbcaeriykidwa hxlndaidthakarkhaephuxexaic aelasmphnthdanpraoychnthangkarkha thngkrungsrixyuthyaaelasngkhla ipinkhraediywkn dngprakthlkthanwa phraecaprasaththxng aehngxyuthyaidekhy khxihhxlndachwyprabkbtemuxngsngkhla aethxlndaklbimidtngicchwyxyangcringcngtamthiidaesdngectnaiw sayngihkhwamchwyehluxemuxngsngkhladwyinkhraediywkn thaihkhwamsmphnthrahwangemuxngsngkhlafnghwekhaaedng kbhxlnda yingthwikhwamaennaefnkhuntamladb odyimmibthbathkhxngkrungsrixyuthyamaaethrkaesng cnhxlndasniccaepidsthanikarkhakbemuxngsngkhlafnghwekhaaedngtambnthukkhxng samuexl phxthths sungipsarwcphawatladinexesiyemuxpi ph s 2221 idbrryaywaecaemuxngsngkhlatxnrbepnxyangdithiwngkhxngemuxng aesdngkhwamepnknexng phrxmthngtngkhxesnxhlayxyangthiepnkarcungicihekhaipkhakhay echn caimekbxakrban cahabanaelathixyuih 13 odyprakthlkthansnbsnuneruxngnicakcakaephnthisungthaodychawfrngess idrabuwa mihmubankhxngchawhxlndapraktxyuinaephnthi nxkehnuxcakkarprakthlkthankhxngsusanchawdtch xyuiklthifngsph sultansuilmansungxyuthangtxnehnuxkhxngemuxngsngkhlafnghwekhaaedng odymihlumsphehlanikracdkracayxyupraman 22 hlum 14 sungchawbanideriykthifngsphniwa wilnda sung hnunginyisibsxng hlumnixacepntw samuexl phxthths hrux phrrkhphwkexngkepnid 15 khwamsmphnththangkarkhakbxngkvsthinamasuemuxngaehng 20 pxmpun aekikh khwamepnkhuaekhngthangkarkharahwanghxlnda kb xngkvsidnamasukarkhanxanackhxnghwemuxngtang phayitkarpkkhrxngkhxngkrungsrixyuthya echn khnathisngkhlamiptismphnththangkarkhaaelakaremuxngthiditx hxlnda nnxngkvskiderimmungkhwamsnicthangkarkhakb emuxngpttanithiepnemuxngthaxyuthangtxnitkhxngsngkhla aela phyayamthicakhybkhyaykarkhamasu sngkhla dngbnthuk chbbhnungthiekhiynodyphxkhachawxngkvs klawthungkarkhathiemuxngsingkhrawa caimepnkarphidhwng hakkhidcasrangkhlngsinkhakhnadihykhunthi singkhra Singora khaphecakhidwaeraxaccaichsingkhra epnthisahrbtraewnhasinkhacakbriewniklekhiyng ephuxcdsngihaekhangkhxngerathikrungsyam okhchinichna bxeniyw aelayipunidxyangdi 16 odycakarkhakhaykbtangchatiniexngthaihemuxngsingkhra thinaody daotaomkxl idphthnaemuxngxyangrwderwephuxrxngrbkarkhakhayradbnanachati aela ephuxsrangkhwamplxdphy aela rksaemuxngcakkarplnsadmcakocrsldsungekidkhunxyangmakinkhnann karphthaemuxngcungidrwmipthungkarsrang pxmpunihybriewnbnekha aela thirabinchyphumitangthung 20 pxmpun rwmipthungkarsrang pratuemuxng aela khudinrxbemuxng odyidrbkarsnbsnun ethkhonolyi aela xawuth cakphxkhachawxngkvs aelkkbkarthixngkvsmatnghangthisngkhla thngnitrngkbhlkthantamthinay lamar chawfrngess idbnthukaephnphngemuxngiwemux ph s 2230 prakxbdwy pratuemuxng aela pxmpun 17 pxm 17 cakkarthisngkhlaaekhngemuxng thaihphxkhachawxngkvsehnchxngthanginkarldkhaphasithicatxngsngihaekkrungsrixyuthya ephiyngaetihkhxngkanl aekecaemuxng singkhra ephiyngelknxy ksamarththakarkhakhayinaethbniidaelwdngbnthukxnhnung sungekhiynodyphxkhachawxngkvswa kartngkhlngsinkhakhunthiniyngcachwyihimtxngesiykhaichcaysahrbhangxikdwy ephraathiniimekbxakrkhnxnely ephiyngaetesiykhxngkanlihaekdaotaomkxll ecaemuxngsngkhla kxacnaenginsinkhaphanipid 18 odyphlcakkarprakasaekhngemuxng aela tngtnepnphraecasngkhlathi 1 khxngsultansuilmn butrkhxngdaotaomkxl cungesmuxnkarepidoxkasihemuxngsngkhlainrayanieciythungcudsungsud thungkhnmikarphlitengintrakhunichexng odymi khawa sngkhla epnphasaithybnhriyy phasayawisxngkha xanwa nakhri singekxr aeplwankhrsngkhla aelamiphasacinxik hakha 19 enuxngcakimprakthlkthaninchwngewlakarphlitehriyyaetsnnisthancakphasa aekhk thipraktbnehriyy cungsnnisthanwanacaxyuinchwngewlathiecaemuxngaekhkpkkhrxngsngkhlaxyuekuxb 40 pi thaihera aela samarthkhadkarnthungsphaphesrsthkicthirungeruxngkhxngemuxngsngkhlainkhnanniddngnnhlngcakpi ph s 2185 sultansuilmanktngtnepnexkrach sthapnatnexngepnecaemuxngesngkhla daeninkarkhakb hxlnda xngkvs aelapraethsxun odytrngimphankarsngxakrsuxyuthyathaih phraecaprasaththxng ksthtiy khxngxyuthyainkhnann txngsngkxngthharmaprabhlaykhrngtlxdrchkarkhxngphraxngkh aetimsaercenuxngcaksngkhlaaehngni idtngemuxngxyuinchyphumithidi aela mikarkxsrangkaaephngemuxng khnkhu tlxdcn pxmpunihythimiprasiththiphaphsung ephuxpxngknemuxngthngthangnaaelathangbkmakkwa yisibpxm bangelmkrabuwa 17 pxmphuekhiynxyurahwangkhnhakhxmulephimetim dnghlkthancakkhxekhiynkhxng wn wlit Van Vliet phuaethnbristh Dutch East India CO Ltd pracakrungsrixyuthya sungekhyedinthangmaeyuxnemuxngsurtanthihwekhaaedng emuxwnthi 3 kumphaphnth ph s 2185 idekhiynraynganiwwa phraecaprasaththxng idekhysngkxngeruxcakkrungsrixyuthyamarwmkbkxngthphemuxngnkhrsrithrrmrach sungxyuthangtxnehnuxkhxngsngkhla thakarocmtiemuxngsngkhlathungsxngkhrnginchwngewlaephiyng sxngpi aettxngprasphkhwamphayaephipthngsxngkhrng 20 txma emuxngsngkhlafnghwekhaaedngidthukkxngthph thngthangbk aela thangthael tiaetkinpi ph s 2223 thdmainrchkar smysmedcphranarayn aehngkrungsrixyuthya dngpraktincdhmayehtukhxngmxngsiexx ewert chawfrngess thimakhakhayinxyuthya in ph s 2230 wa phraecakrungsyamidsngkxngthpheruxsungmieruxrbmaepnxnmak ihmatiemuxngsngkhlaepnxyangmak aela idichaephnlxlwngphurksapxmaehnghnungihmiicxxkhangcaknaytn caknnthharkrungsrixyuthyacungidlxbekhaipthangpratudngklawepidpratuihthharekhamathalay aela ephaemuxng odyephlingidluklamcnihm emuxngtlxdcnwngkhxngecaphrayasngkhlahmdsinxikthng thharkrungsrixyuthyaidykthphekhaipinemuxngthalay pxm pratu hxrb aelabanemuxngcnehluxaetaephndin ephraaekrngwacamikhnkhidkbtkhunmaxik 21 swnxikbnthukhnungidelaiwwa kxngeruxcakkrungsrixyuthyaidrwmkbkxngthphcaknkhrsrithrrmrach idykthpheruxmadxblxmemuxngsurtanthihwekhaaedng odymiphrayaramedoch epnaemthphihy khrnaelwkxngthphthng sxng faykiderimthayuthnakarknthngklangwnaelaklangkhun odymilukeruxchawdtchthimarksakarn xyuthisthanikarkhakhxngbristh Dutch East India Co Ltd thihwekhaaedng ekhachwyfaysultanemuxngekhaaedng ekharbkbkxngthphemuxngnkhrsrithrrmrach dngpraktthifngsphkhxngthharxasachawdtch sungxyuthangtawnxxkkhxngkuobrthifngsphkhxngsurtansulyman odyinbnthukidbryayraylaexiydwainkhunwnhnungkhnathipunihycakeruxrbkhxngnkhrsrithrrmrach kalngkrahnayingemuxnghwekhaaedngthharsungxyuthipxmemuxngsngkhlakhxngsurtanmustafa butr sultansuilman canwnsxngkhnidthakarthryscudkhbifoynlngcakbnphuekhaisbaneruxnrasdrthitngxyubriewnechingekha sungswnmakcamungdwyhlngkhaibcak cungidekidifihmkhun thaihekidoklahlxlmanknkhun cnkrathngkxngthphkrungsrixyuthya aela emuxngnkhrsrithrrmrachsamarthykphlkhunbkidhlaycud echawnrungkhun mustafaaela husesn aela hssn nxngchay ekhaphbaelayxmcannaekaemthphihy ecaemuxngnkhrsrithrrmrachphlthisudcungpraktwa smedcphranaraynmharachmiphrabrmrachoxngkar ihyubelikemuxng sultan thihwekhaaedng lwkwadtxnkxngkalng aela briwarthnghmdxxkcakphunthi aelwlngeruxxphyphaebngepnsxngphwkkhux khnthimixyuhksibpikhunip ihxphyphiptnghlkaehlngihmthihmubansngkhla emuxngichya inphunthi c surasdthani hangcaksngkhla harxykiolemtrthangtxnehnux swnkhnhnumkhnsaw rwmthnglukecaemuxngthng sam khxngsurtansuilman ihxphyphekhaipxyuinkrungsrixyuthya 22 hlngcakemuxngsngkhlafnghwekhaaedngthukthalayaelwthangkrungsrixyuthyaminoybaycaykemuxngsngkhlaihfrngess aetfrngessimyxmrb dnghlkthancakhnngsuxsyyathifxnkhxnthaiwthiemuxnglphburi emuxwnthi 11 thnwakhm phs 2228 rabuiwwa smedcphraecakrungsyamykemuxngsngkhla aela emuxngkhunkhxngsngkhla phrarachthanihphraecakrungfrngess aela phrarachthanphrarachanuyatihphracakrungfrngesssrangpxm hruxcdthaxairinemuxngsngkhlaidaelwaetphrathy 23 aetkhxnithangfayfrngessidptiesskhxesnxdngklaw enuxngcakemuxngsngkhlainkhnannxyuinsphaphesiyhayxyanghnkephraathukthalaycnhmdsin xyangirktam emuxngsngkhlafnghwkhaaedngkyngmikarsrangkaaephnghruxkhxbekhtkhxngemuxngdwyim 24 aetprachachnswnihykidoykyayiptngbaneruxn xyufngaehlmsnsungxyuthangfakekhaxikdanhnung sungchumchnnitxmaidphthnaepnemuxngsngkhlafngaehlmsn 25 smyemuxngsngkhlafngaehlmsn aekikh hnikhwamthukkhyakhlngsngkhramemuxng Singora suemuxngsngkhlafngaehlmsn phayhlng emuxemuxngsngkhlafnghwekhaaedng thukkxngthphkrungsrixyuthyathalaycnhmdsin emux ph s 2223 prachachnchawsngkhlafnghwekhaaedngthiehluxxyu idyaychumchnipsrangemuxngihm n emuxngsngkhlaaehngthisxngni thiruckkninchuxwaemuxngsngkhlafngaehlmsn odyemuxngniepnemuxngthiimidrbkarwangaephninkarsrangemuxngtngaettn prakxbkbepnemuxngthithuksrangenuxngcakkaryayemuxngphayhlngcaksngkhram dngnnlksnakhxngemuxngcungepnemuxngthithuksrangknxyangngay bnphunthiechingekhatidthael thdcaktaaehnngemuxngsngkhlaedimthithukthalaylngipxikdanhnungkhxngfakekha enuxngcakepnthitngemuxngthixyubnechingekha thaihemuxngsnglaaehngthisxngniinphayhlngprasbkbpyhakarkhadaekhnnacudxupophkh aela pyhakarmiphunthiinthangrabimephiyngphxkbkarkhyayaelaetibotkhxngemuxng sungepnpyhahlkthithaihekidkaryayemuxnginewlatxma lksnakarsrangbaneruxnkhxngsngkhlafngaehlmsn swnihybaneruxncathadwywsduimthawr echn im aela ibcak inlkanaeruxnekhruxngsb cungthaihhlngehluxrxngrxy aela hlkthanimmaknk enuxngcakprachakrinkarsrangemuxngswnihyepnchawbanthrrmdasamychn prakxbkbkhnad aela xnaekht rwmipthung xanackarpkkhrxngkhxngemuxngsngkhlaidldthanaepnaekhemuxngelk khxngemuxngbriwar khxngemuxngphthlung 26 dngnnecaemuxngsngkhlakhnaerkcungthukaetngtngodyphrayackkri aela phrayaphichyracha epnephiyngaekhkarkhdeluxkchawbankhnhnungchux oym madarngtaaehnngepnphrasngkhla ecaemuxngsngkhlafngaehlmsn aela inkhrawediywknnnexng yngmichawcinkhnhnungchux nayehyiyng aeseha chawcin sungxphyph macak emuxng eciyngcinghu mlthlfueciyn idesnxbychithrphysin aelabriwarkhxngtn ephuxaelkkbsmpthanphukkhadthurkicrngnkbn ekaasiekaaha inthaelsabsngkhla ecaphrayathngsxngcungphicarna aetngtngih nayehyiyng aeseha epnhlwngxinthkhirismbti nayxakarrngnkekaasiekaaha 27 phrasngkhlaidpkkhrxngemuxngsngkhlafngaehlmsn xyucnthungpi ph s 2317 smedcphraecakrungthnburi iddariwa phrasngkhla oym hyxnsmrrthphaphinkarptibtirachkar cungihhlwngxinthkhirismbti ehyiyng aeseha sungepnnayxakrrngnk ekaasiekaaha eluxntaaehnngepn hlwngsuwrrnkhirismbti ecaemuxngsngkhla khnthdmasungnbwaepnkarerimtnsayskul n sngkhla sungtxmaidpkkhrxngemuxngsngkhla mathung 8 run inkarpkkhrxngsngkhlainchwngewlaninbepnchwngewlakhxngkarthahnathipkpxngxnaekht aela rbichrachkarpkkhrxngaethn emuxnghlwng sungtrngkbkrungrtnoksinthr pkkhrxngodyphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly rchkarthi 2 pyhahlkkhxngkarpkkhrxngsngkhlakhuxkarsngkalngiprwmkakbaelakhwbkhumhwemuxngaekhktang ihxyuinkhwamsngb odymiehtukarntang thiekiywenuxngkbkarrbhlaykhrng thaihecaemuxngsngkhla inruntangidmioxkasaesdngkhwamsamarth aela khwamphkhdithangkarrb odyinsmysngkhla khrngnimiemuxng aekhk pttani idthukaeykxxkepn ecdhwemuxngyxy idmaxyuphayitkarkakbduaelkhxngsngkhla sungtxmachuxemuxngtangidthuknaiptngepnchuxthnn inkhrngtngemuxngihm n fngbxyang emuxngthngecdmiraychuxdngni emuxngpttani emuxnghnxngcik emuxngemuxngyala emuxngramnh emuxngyahring emuxngsayburi aelaemuxngraaenga aela emuxngsudthaythiekhamaxyuitkarkakbduaelkhxngsngkhla inchwngpi ph s 2379 khuxemuxngstuli nsmyphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkarthi 3 aelatrngkb ecaphrayawiechiyrkhiri ethiynesng pkkhrxngemuxngsngkhlafngaehlmsn enuxngcakemuxngsngkhlafngaehlmsnepnemuxngthithuksrangxyangngay ephuxrxngrbkarhniphyinchwngemuxngaetk thaihekidpyhaaela khxkhdkhxnginkarphthnaemuxnghlayprakartamma sngphltxkarphicarnayayemuxnginewlatxmaimnannk smyemuxngsngkhlafngbxyang aekikh srangemuxngsngkhlafngbxyang sukhwamrungeruxng aelakhwammngkhngkhxngemuxngtha cnthungemuxngthxngethiyw cakkarkhyaytwkhxngemuxngsngkhlafngaehlmsn thaihpyhakarkhadaekhlnnacudephuxkarxupophkhbriophkh thwikhwamrunaerngmakkhun prakxbkbphunthibriewnsngkhlafngaehlmsn epnphunthiladchnechingekha thaihepnxupsrrkhtxkarkhyaytwkhxngemuxngrwmthung xacepnxupsrrkhkhxngkarkhyaytwepnemuxngthainxnakht sungcaklksnathangphumisastr nacaepnkhxidepriyb aetenuxngcakmiphunthiinaenwrabimephiyngphx cungthaihecaphrayawiechiyrkhiri ethiynesng iptngemuxngsngkhlaihmthitablbxyang sthanthipccubn tngaet ph s 2379 sungemuxngihmthisrangkhun kyngkhngrksakhwamepnemuxngthaiwxyangedim odyinebuxngtnkhxngkarsrangemuxng ecaphrayakhiri ethiynesng n sngkhla iderimsrangpxm kaaephngemuxngyaw 1200 emtr aela pratuemuxng sibpratu tngaet ph s 2379 hlngcaknncungidwanghlkemuxng imchyphvsphrarachthan aelasmophchnhlkemuxnginpi ph s 2385 aelaeriykbriewnphunthiniwa emuxngsngkhlafngbxyang kxnthiecaphrayakhiri ethiynesng cathungaekkrrminpi ph s 2408thdcaknn ecaphrayakhiri ladbtxma idepnecaemuxngsngkhlatx aela iddaeninkarphthnasngkhlainlksnaemuxngknchnrahwangemuxngpttani sungepnemuxngmuslimthixyuthangtxnitkhxngsngkhla aela emuxngnkhrsrithrrmrachsungepnemuxngphuththsasnikchn odyemuxngsngkhlaidxyuphayitkarpkkhrxngkhxngsayskul n sngkhla sungmi nayehyiyng aeseha epntnskul rwmecaemuxngsayskul n sngkhlathipkkhrxngemuxngsngkhla bxyang dngni ladbthi 1 phrayawiechiyrkhiri ethiynesng n sngkhla ph s 2360 2390 phuerimsrangemuxngsngkhla bxyang ladbthi 2 phrayawiechiyrkhiri buysng n sngkhla ph s 2390 2408 ladbthi 3 phrayawiechiyrkhiri emn n sngkhla ph s 2408 2427 ladbthi 4 phrayawiechiyrkhiri chum n sngkhla ph s 2427 2431 ladbthi 5 phrayawiechiyrkhiri chm n sngkhla ph s 2431 2439 dd hlngcakphrayawiechiyrkhiri emn n sngkhla idepnecaemuxngsngkhlaidpramanpiess phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw rchkalthi 4 idesdcrachdaeninmayngemuxngsngkhla aelaidphrarachthanenginbangswnephuxsrangecdiy bnyxdekhatngkwn 28 rahwangpi ph s 2437 2439 emuxngsngkhlaidepliynaeplngkarpkkhrxng odysmedcphraculcxmeklaecaxyuhwrchkalthi 5 idptirupkarpkkhrxngepnaebbmnthlethsaphibal odytngmlthlnkhrsithrrmrach prakxbdwy nkhrsrithrrmrach phthlung sngkhla aela hwemuxngaekhkxik ecdemuxng odymi phrawicitr pn sukhum lngmaepnkhahlwngphiesswakarmnthlnkhrsrithrrmrach sungtaaehnngthitngxakharthiwakarxyuthiemuxngsngkhlabxyang aelaldbthbathecaemuxngepnphuwarachkaremuxng sungthuxwaepnkarsinsudyukhkarpkkhrxngaebbecaemuxngipdwy thngniecaemuxngkhnsudthayinsayskul n sngkhla thipkkhrxngemuxngsngkhlamamakkwa aepdrun txmapraethsithyidprbepliynkarpkkhrxngxikhlaykhrng cnkrathnginpi ph s 2475 rthbalidepliynaeplngkarpkkhrxngodyykelikrabbedimthnghmd aelaykradbsngkhla khunepncnghwdhnungkhxngpraethsithy 29 xangxing aekikh suththiwngs okhrngsrang 2544 43 praesrith sphaphxakasm2536 14 15 suththiwngs sayiy in Plural peninsular proceeding 2004 71 suththiwngs okhrngsrang 2544 41 42 nnthna suttul 2513 63 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 55 iphorcn eksaemnkic 2512 176 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 55 skrrc cnthrtn aela sngbsngemuxng 2532 29 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 55 suphthr sukhnthaphirmy n phthlung bthbathkhxngsurtan sngkhlasuksa 2535 157 xaphn n phthlung 2531 102 103 srismr sriebycphlangkur 2544 65 66 srismr sriebycphlangkur prawtisastremuxngsngkhla hck phaphphimph 2544 73 nnthna sutkul 2513 81 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 56 iphorcn eksmaemnkic 2512 38 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 56 sngkh phthonthy 2516 197 srismr sriebycphlangkur 2544 73 srismr sriebycphlangkur prawtisastremuxngsngkhla hck phaphphimph 2 544 73 74 yngyuthth chuaewn 2529 38 srismr sriebycphlangkur 2544 74 m l chynimitr nwrtn 2530 58 srismr sriebycphlangkur prawtisastremuxngsngkhla hck phaphphimph 2544 74 iphorcn eksmaemnkic 2512 176 177 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 56 La marre 1687 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 56 iphorcn eksmaemnkic 2512 176 177 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 56 smedcphraecabrmwngsethx krmphrayaphanuphnthuwngkhwredch 2504 77 srismr sriebycphlangkur 2544 64 suphthr sukhnthaphirmy n phthlung bthbathkhxngsurtan sngkhlasuksa 2535 158 suksaphnthphanich prachumphngswdar elm 25 308 rs thwiskdi lxmlim khwamsmphnth sngkhlasuksa 2534 109 suphthr sukhnthaphirmy n phthlung bthbathkhxngsurtan sngkhlasuksa 2535 159 160 hxsmudaehngchati 2507 141 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 59 Lamare 1682 36 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 59 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 59 hlwngsriwrwtr phin cnthorcnwngs ph s 2481 26 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 60 wiechiyrkhiri chm ph s 2506 36 37 faypramwlexksaraela cdhmayehtu 2545 60 sngb sngemuxng ph s 2521 67 70 faypramwlexksaraelacdhmayehtu 2545 64 faypramwlexksar aelacdhmayehtu 2545 64 66ekhathungcak https th wikipedia org w index php title prawtisastremuxngsngkhla amp oldid 7520255, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม