fbpx
วิกิพีเดีย

ศิลปะประชานิยม

ป๊อปอาร์ต หรือ ศิลปะประชานิยม (อังกฤษ: pop art) เป็นขบวนการหนึ่งของศิลปะที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประมาณ พ.ศ. 2498 มีพลวัตทางศิลปะประมาณ 10 ปีเศษ ล้อไปกับรากฐานบริบทสังคมที่เป็นแบบบริโภคนิยม ศิลปินกลุ่มนี้มีความเชื่อทางศิลปะว่าศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่างฉับพลันทันใดแก่ผู้พบเห็น ดังนั้น เนื้อหาศิลปะของป็อปอาร์ตจึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนและสังคมในปัจจุบันที่กำลังได้รับความสนใจหรือวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้น ซึ่งอาจนับว่าเป็นผลต่อยอดของการเปลี่ยนทิศทางแนวทางศิลปะมาตั้งแต่ศิลปะแนวสัจนิยม (realism) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาจะเริ่มไม่เกี่ยวข้องกับเทพนิยาย ประวัติศาสตร์ หรือศาสนา เหมือนกับงานศิลปะในยุคก่อนหน้า

เพื่อให้การสะท้อนเรื่องราวที่ปรากฏในปัจจุบัน ให้ความรู้สึกในความเป็นปัจจุบันอย่างแท้จริง ศิลปินป็อปอาร์ตได้ใช้วัสดุจริง การปะติด และกลวิธีการดังศิลปินก่อนหน้าได้เคยทดลองทำเอาไว้ ดังเช่นที่กลุ่ม ดาดา (dada) บาศกนิยม (cubism) ลัทธิเหนือจริง (surrealism) และลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม (abstract expresssionism) ปฏิบัติกัน ซึ่งนับเป็นกลวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนั้นนั่นเอง ทั้งนี้การหยิบยกมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของศิลปินแต่ละคนเช่น บางคนสนใจภาพโฆษณา บางคนสนใจดาราภาพยนตร์ บางคนสนใจเครื่องจักรกล บางคนสนใจเรื่องเครื่องนุ่งห่ม ก็มักจะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ตนสนใจดังกล่าวมาจัดวางตำแหน่งอย่างง่าย ๆ ดั่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป

ผู้บุกเบิก

มาร์แซล ดูว์ช็อง (ศิลปินกลุ่มดาดา) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวทางนี้ให้กับศิลปินรุ่นหลัง ผลงานที่ชื่อ "น้ำพุ" (Fountain) ซึ่งเป็นผลงานที่นำโถปัสสาวะมาจัดแสดงของเขาเป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การที่ดูชองป์นำเอาสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันมาจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะชื่อ อาร์มอรีโชว์ ครั้งที่ 2 ที่นิวยอร์กในปี พ.ศ. 2460 ก็หมายที่จะกระตุ้นปฏิกิริยาของคนซึ่งเป้าหมายทางสุนทรียศาสตร์ของเขาคือ "การหาสิ่งอื่นมาแทนที่ศิลปะที่เคยได้รับคำนิยมว่างดงาม" หรือที่ดูว์ช็องเรียกว่า "ศิลปะที่ต้องตา" สิ่งสำคัญของผลงานของเขาคือ ความคิดที่ได้จากบริบทใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

โรเบิร์ต เราส์เชนเบิร์ก หนึ่งในผู้เบิกทางให้กับป็อปอาร์ตเคยกล่าวไว้ว่า เขาไม่เคยเห็นผลงานชิ้นใดงดงามไปกว่าชิ้นงานของดูว์ช็อง

นิยาม

ป็อปอาร์ตเป็นแบบอย่างของศิลปะที่สะท้อนสภาพแท้จริงของสังคมปัจจุบัน ตามความรู้ความเข้าใจของสามัญชนทั่วไป ชั่วขณะหนึ่ง เช่น ดารายอดนิยม คุณภาพอันเลอเลิศของสินค้า คำขวัญ ฯลฯ ศิลปะในกลุ่มนี้แสดงความวุ่นวายของสังคมซึ่งพลุ่งพล่าน สว่างวาบขึ้นมาเหมือนพลุ นิยมในช่วงเวลาที่ไม่นานพอถึงวันรุ่งขึ้นก็อาจจะลืมไปเสียแล้ว อย่างไรก็ตามมีผู้กล่าวเอาไว้ว่า

ศิลปะที่สร้างขึ้นจากสิ่งสัพเพเหระของชีวิตปัจจุบัน เป็นการแสดงความรู้สึกสะท้อนประสบการณ์ทั้งหมดของศิลปินในชั่วขณะเวลาหนึ่ง และสถานที่แห่งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสะท้อนความรู้พื้นฐานธรรมดาที่ศิลปินมีส่วนร่วมอยู่ให้ปรากฏ

รอย ลิกเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) จิตรกรชาวอเมริกัน (ประสบความสำเร็จจากการนำภาพการ์ตูนที่กำลังนิยมมาใส่ไว้บนงานศิลปะของเขา) ได้ให้คำนิยามของป็อปอาร์ตเอาไว้ว่า ในความคิดของฉัน เป็นศิลปะที่ไร้ยางอายมากที่สุดแห่งวัฒนธรรมของพวกเรา กล่าวคือ สิ่งต่าง ๆ ที่เราเกลียดชังมัน แต่บางสิ่งก็มีพลังเหมือนจะทำอะไร ๆ ให้เราดีขึ้นได้เหมือนกัน ... ป็อปอาร์ตก็เป็นจิตรกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมอย่างมาก... ความหมายของผลงานของผมคือการเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งอีกไม่ช้าโลกทั้งมวลก็จะกลายเป็นโลกของอุตสาหกรรม"

 
แอนดี วอร์ฮอล

แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol; พ.ศ. 2471-2530) สะท้อนสังคมอย่างตรงไปตรงมาด้วยการแสดงออกทางจิตรกรรม เขาเป็นคนเดียวเท่านั้นที่นำเอาระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมาใช้กับงานจิตรกรรม เขาเลือกเทคนิคการพิมพ์ฉลุลายผ้า (silk screen) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตแรก ๆ ที่คิดขึ้นมาเพื่อผลิตสินค้าได้คราวละมาก ๆ เขาประกาศอย่างติดตลกว่า จะดีมาก ถ้าทุกคนเปลี่ยนมาพิมพ์ซิลค์สกรีนกันให้หมด คนอื่น ๆ จะได้แยกไม่ออกว่ารูปนี้เป็นงานศิลปะของเขาของแท้หรือเปล่า สำหรับประเด็นที่เขายกมาเป็นหัวข้อในการทำงานนั้นก็มีกิ่งก้านแตกออกมาจากสังคมบริโภคนิยมและจากนิตยสารปกมันของศิลปะเชิงพาณิชย์เช่นกัน เทคนิคในการทำงานของเขาได้ตอกย้ำในเรื่องมาตรฐานของการผลิตจำนวนมากทางอุตสาหกรรม

 
ริชาร์ด แฮมิลตัน

ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamilton) ได้สร้างสรรค์ผลงานโปสเตอร์ภาพตัดปะที่มีคำพูดแดกดันอย่าง Just what is it that makes today's homes so different, so appealing? ผลงานชิ้นนี้เป็นการรวมเอาหลาย ๆ ภาพ และหลาย ๆ วัสดุ เพื่อสร้างสรรค์ออกมาเป็นสิ่งใหม่)

ภายหลังแฮมิลตันได้ทำบัญชีข้อมูลคุณภาพของป็อปอาร์ตเอาไว้ดังนี้)

  • เป็นที่นิยม (popular) (ออกแบบมาเพื่อผู้ชมหมู่มาก)
  • ชั่วครู่ (transient) (เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น)
  • พอใช้ได้ (expendable) (ลืมได้โดยง่าย)
  • ราคาถูก (low cost)
  • ผลิตเป็นจำนวนมาก (mass produced)
  • วัยรุ่น (young) (กลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่น)
  • หลักแหลม (witty)
  • เซ็กซี่ (sexy)
  • มีลูกเล่น (gimmicky)
  • งดงาม (glamorous)
  • เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (big business)

จะเห็นได้ว่าศิลปินป็อปอาร์ตแต่ละคนก็มีแนวทางในการนำเสนอที่แตกต่างกันไป ความเป็นจุดร่วมของศิลปะแนวนี้คงมีจุดร่วมทีเห็นได้ชัดดังหลักการที่แฮมิลตัน ได้เสนอไว้ดังข้างต้น

มุมมองของนักวิจารณ์

นักวิจารณ์ศิลปะบางคนให้ความเห็นว่าป็อปอาร์ตไม่ใช่ศิลปะ แต่เป็นได้เพียงเรื่องราว หรือรูปแบบการโฆษณาง่าย ๆ เท่านั้น จึงไม่มีคุณค่าที่ลึกซึ้งเพียงพอที่จะจัดให้เป็นศิลปะได้ ในขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการบางกลุ่มจัดให้เป็นศิลปะได้แต่ก็ไม่ลงลอยกับกระแสใหญ่

เพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับศิลปะนี้จึงได้มีการจัดประชุมเกี่ยวกับศิลปะป็อปอาร์ตขึ้นโดยตรงในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในอเมริกา (The Museum of Modern Art) การจัดประชุมครั้งนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะบางท่านให้ความเห็นว่า ควรจัดให้ป็อปอาร์ตเป็นศิลปะได้ และควรเรียกแบบอย่างศิลปะที่สะท้อนความเป็นจริงนี้ว่าเป็น "ศิลปะสัจนิยมใหม่" (The New Realism) แต่ในที่สุดก็ได้มติให้ใช้ชื่อว่า "ป็อปอาร์ต" ตามที่นักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษชื่อว่า ลอว์เรนซ์ แอลโลเวย์ (Lawrence Alloway)เป็นผู้คิดคำและเสนอชื่อแก่ศิลปะแนวทางนี้ ในการประชุมที่สถาบันศิลปะร่วมสมัย (Institution of Contemporary Art) ในกรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2497 - 2498 (การจัดแสดงที่มีลักษณะของการถกเถึยงกันครั้งนี้ กลายเป็นแม่แบบของนิทรรศการศิลปะในสมัยต่อมา)

ลอว์เรนซ์ แอลโลเวย์ เป็นหนึ่งในผู้ปกป้องศิลปะแบบป็อปอาร์ตจากการถูกเข้าใจผิด ในเวลานั้นทุกคนไม่ศรัทธาศิลปินป็อปอาร์ตเท่าใดนัก แต่เขาอยากให้สาธารณชนมีความเข้าใจศิลปินที่ถูกต้อง เขาพยายามวิเคราะห์และหาข้อสรุปได้ว่า ป็อปอาร์ตนั้นมีความเชื่อมโยงกับสื่อสารมวลชน แต่เป็นเชิงขบขันและในเชิงโต้แย้งตรง ๆ ผลงานของศิลปินกลุ่มป็อปอาร์ตถูกสร้างขึ้นในบริบทใหม่ นี่คือข้อแตกต่างของศิลปินกลุ่มนี้ที่สำคัญ

ศิลปิน

 
แคลส โอลเดนเบิร์ก
 
เจมส์ โรเซนควิสต์
  • รอย ลิกเทนสไตน์ มีลักษณะเฉพาะตัวด้วยการสร้างงานให้เป็นแนวการ์ตูน เขาหยิบยืมรูปแบบของสิ่งพิมพ์การ์ตูนอุตสาหกรรมที่เล่าเรื่องเป็นช่อง ๆ มีลักษณะพิเศษอยู่ที่การตัดเส้นภาพลายเส้นด้วยเส้นทึบดำ สร้างสีและน้ำหนักของภาพด้วยการใช้แถบเม็ดสี แถบริ้วสี บางครั้งเขาถึงกับนำภาพจากหนังสือการ์ตูนที่วางขายในท้องตลาดมาดัดแปลงเล็กน้อยให้เป็นผลงานของตัวเอง จุดที่พิเศษไปจากการ์ตูนสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรมราคาถูกก็คือ เขานำลักษณะดังกล่าวมาทำเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ เรียกได้ว่า ทำสิ่งพิมพ์ให้เป็นจิตรกรรม ทำศิลปะระดับล่าง (โลว์อาร์ต) ให้เป็นศิลปะชั้นสูง (ไฮอาร์ต) หรือกลับกัน และที่ขาดไม่ได้คือการหยอกล้องานคลาสสิกบรมครู ลิกเทนสไตน์นำภาพชั้นยอดอย่างงานสีน้ำมันภาพโบสถ์อันโด่งดังของโกลด มอแน, ภาพนามธรรมเรขาคณิตของปีต โมนดรียาน และภาพปลาในโหลแก้วของอ็องรี มาติส มาทำเป็นจิตรกรรมและภาพพิมพ์ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรม ดูเหมือนสินค้าแบบประชานิยมในตลาด

ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเขาเช่น ภาพ อะ-อาจจะ (M-Maybe) ซึ่งเป็นภาพสาวผมบลอนด์ นัยน์ตาสีฟ้า กำลังจ้องมองมาที่เรา หรืออาจจะกำลังมองผ่าน เหมือนกำลังคิดอะไรอยู่ เธอสวมถุงมือสีขาว เอียงศีรษะมาทางซ้าย ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไป และใช้สื่อถึงภาวะที่เศร้าหมองว่าทำไมเธอถึงต้องมารออยู่อย่างนี้

  • แอนดี วอร์ฮอล ถือได้ว่าเป็นศิลปินชั้นนำระดับซูเปอร์สตาร์ของอเมริกาหรือของโลกเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นศิลปินที่มีผลงานยอดเยี่ยมเป็นที่ชื่นชอบแล้ว วอร์ฮอลยังเป็นดาวสังคมของนครนิวยอร์กด้วย เรียกได้ว่าทั้งชีวิตและผลงานของเขาเป็น "ป็อป" มาก ๆ เลยทีเดียว ลักษณะเฉพาะตัวของวอร์ฮอลที่ทุกคนรู้จักดีคือ การทำงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคการพิมพ์ฉลุลายผ้าฉลุ เทคนิคดังกล่าวเป็นวิธีการสร้างงานพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรม มักจะใช้ในแวดวงโฆษณาขายสินค้า เช่น ทำโปสเตอร์ บิลบอร์ด และพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้อยืด ในสมัยนั้นเทคนิคนี้ยังถือว่าเป็นของค่อนข้างใหม่ เขา ใช้เทคนิคอุตสาหกรรมนี้พิมพ์ภาพดารา นักร้อง และคนดังระดับตลาดมหาชน เช่น พิมพ์ภาพมาริลีน มอนโร, เอลิซาเบท เทย์เลอร์ และเอลวิส เพรสลีย์ บ้างก็พิมพ์ภาพผลงานจิตรกรรมระดับคลาสสิกที่ขึ้นหิ้งของโลก เช่น ภาพโมนาลิซา ภาพกำเนิดเทพีวีนัสฝีมือบอตตีเชลลี ภาพทั้งหมดนี้ วอร์ฮอลนำมาพิมพ์ด้วยสีฉูดฉาดเตะตาในจำนวนเยอะ ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรียงกันเป็นพรืดแบบสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตซ้ำได้ทีละมาก ๆ ตลาด

มีผลงานที่เป็นที่รู้จักเช่น กระป๋องซุปแคมป์เบลล์ 1 (Campbell’s Soup 1) ธนบัตร 2 ดอลลาร์ 80 ใบ (ด้านหน้าและด้านหลัง) (80 Two Dollar Bills (Front and Rear)) เป็นต้น

  • แคลส โอลเดนเบิร์ก (Claes Oldenburg) ศิลปินชาวอเมริกัน นำเสนอประติมากรรมขนาดใหญ่อันแปลกประหลาดตา และยังมีการทำประติมากรรมนุ่มนิ่ม (soft sculpture) ตัวอย่างเช่นการนำเอาลักษณะรูปร่างของอาหารซึ่งนิยมในสมัยนั้น เช่น แฮมเบอร์เกอร์ มาขยายขนาดและจำลองด้วยการใช้ผ้ายัดนุ่นคล้ายหมอนให้กลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ยักษ์ ผลงานของเขานั้นล้วนแต่สร้างความเร้าใจแก้ผู้พบเห็น

ผลงานที่เป็นที่รู้จักเช่น ตู้ใส่ขนม 1 (Pastry Case 1) เป็นการนำขนมอบที่แตกต่างกัน 9 ชนิด ทำจากผ้าใบหยาบ ๆ หรือผ้าฝ้ายชุบกับปูนปลาสเตอร์ จากนั้นนำไปวางลงบนโครงลวดดัด และลงสีเป็นขั้นตอนสุดท้าย

  • เจมส์ โรเซนควิสต์ (James Rosenquist) นำเสนอโดยการใช้ตราโฆษณาสินค้าขนาดใหญ่ และนำมาปรุงแต่งให้สลับซ้บซ้อนยิ่งขึ้น

มีผลงานที่เป็นที่รู้จัก เช่น ภาพไม่มีชื่อ (โจน ครอว์ฟอร์ด) (Untitled (Joan Crawford)) เป็นภาพในเชิงล้อเลียนของโจน ครอว์ฟอร์ด ดาราภาพยนตร์ผู้ยิ่งใหญ่ โดยภาพของเธอมีลักษณะเหมือนการ์ตูนล้อเลียน เช่น ดวงตาที่กลมโตกับคิ้วโก่งได้รูป ขนตาปลอม ร้อยยิ้มที่กระด้าง ผมที่แข็งเป็นลอน แต่เดิมภาพนี้มีที่มาจากโฆษณาขายบุหรี่

  • ทอม เวสเซลมันน์ (Tom Wesselmann) แสดงออกทั้งด้วยการภาพจิตรกรรมและภาพปะติดซึ่งประกอบด้วยการใช้วัสดุผสานกันอย่างมีชั้นเชิง

ผลงานที่เป็นที่รู้จัก เช่น อ่างอาบน้ำ 3 (Bathtub 3) เป็นการผสมผสานระหว่างภาพเขียนและวัสดุจริง คือ ประตู ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ตะกร้าผ้า และม่านห้องน้ำ เทคนิคดังกล่าวเป็นการเพิ่มความเป็นภาพลวงตามากยิ่งขึ้น หุ่นนิ่งหมายเลข 20 (Still Life No. 20) เป็นการการนำภาพเลียนแบบของโมนดรียานมาผสมผสานกับวัสดุจริง คือ ตู้ หลอดฟลูออเรสเซนซ์ ก๊อกน้ำ สบู่ และที่วางสบู่

  • Eduardo Paolozzi ในปี พ.ศ. 2492 ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีความสร้างสรรค์และหลักแหลมเป็นอย่างมาก ผลงานภาพตัดปะปกนิตยสารและโฆษณา รูปภาพอันดาษดื่นพบเห็นได้ทุกที่ทำให้เขาเกิดความสนใจ)
  • ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamilton; พ.ศ. 2465-2554) สร้างผลงาน "อะไรทำให้บ้านในวันนี้ดูต่างจากเมื่อก่อน, ช่างน่าอยู่เหลือเกิน?" (Just what is it that makes today's homes so different, so appealing?) เป็นภาพปะติดซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งของงานป็อปอาร์ต และเต็มไปด้วยการเสียดสี ด้วยการใช้ภาพร่างกายของชายและหญิงมาแต่งให้สวยงามแต่ไม่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศภายในบ้านเต็มไปด้วยความทันสมัย และองค์ประกอบในภาพเป็นการรวบรวมสื่อทัศนศิลป์สมัยใหม่แทบทุกชนิด เช่น โปสเตอร์ตราสัญลักษณ์ของบริษัท ใบปิดภาพยนตร์
  • เรย์ จอห์นสัน (Ray Johnson)
  • เดริก โบเชียร์ (Derek Boshier)
  • เดวิด ฮ็อกนีย์ (David Hockney)
  • ปีเตอร์ เบลก (Peter Blake)
  • แอลลัน ดาร์แคนเจโล (Allan D’Arcangelo)
  • รอเบิร์ต อินดีแอนา (Robert Indiana)

เชิงอรรถ

  1. ศุภชัย สิงย์ยะบุศย์, รองศาสตราจารย์. ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก(ฉบับสมบูรณ์), กรุงเทพ: โรงพิมพ์สัมพันธ์กราฟิก, 2547; 215.
  2. เคลาส์ ฮอนเนฟ, บุศยมาศ นันทวัน (แปล), ยูทา โกรเซนิค (บรรณาธิการ). ป๊อปอาร์ต ;8-9.
  3. อารี สุทธิพันธุ์. ศิลปนิยม, 2516; 316
  4. อัศนีย์ ชูอรุณ และ เฉลิมศรี ชูอรุณ.แบบอย่างศิลปะตะวันตก, 2528; 144.
  5. เคลาส์ ฮอนเนฟ, บุศยมาศ นันทวัน (แปล), ยูทา โกรเซนิค (บรรณาธิการ).ป๊อปอาร์ต ;8-9.
  6. เคลาส์ ฮอนเนฟ, บุศยมาศ นันทวัน (แปล), ยูทา โกรเซนิค (บรรณาธิการ). ป๊อปอาร์ต ;28.
  7. Eric Shanes. Pop Art ;18.
  8. Eric Shanes. Pop Art ;18.
  9. อารีย์ สุทธิพันธ์. ศิลปะนิยม, 2516; 316-317.
  10. อัศนีย์ ชูอรุณ, 2528; 144
  11. เคลาส์ ฮอนเนฟ, บุศยมาศ นันทวัน (แปล), ยูทา โกรเซนิค (บรรณาธิการ). ป๊อปอาร์ต ;12.
  12. เคลาส์ ฮอนเนฟ, บุศยมาศ นันทวัน (แปล), ยูทา โกรเซนิค (บรรณาธิการ). ป๊อปอาร์ต ;9.
  13. Post-Modernism - ศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art)
  14. เคลาส์ ฮอนเนฟ, บุศยมาศ นันทวัน (แปล), ยูทา โกรเซนิค (บรรณาธิการ). ป๊อปอาร์ต ;52.
  15. Post-Modernism - ศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art)
  16. Pop Art ;17-18.

ลปะประชาน, ยม, อปอาร, หร, งกฤษ, เป, นขบวนการหน, งของศ, ลปะท, เก, ดข, นในสหร, ฐอเมร, กาและอ, งกฤษ, ประมาณ, 2498, พลว, ตทางศ, ลปะประมาณ, เศษ, อไปก, บรากฐานบร, บทส, งคมท, เป, นแบบบร, โภคน, ยม, ลป, นกล, มน, ความเช, อทางศ, ลปะว, าศ, ลปะจะต, องสร, างความต, นเต, นอย,. pxpxart hrux silpaprachaniym xngkvs pop art epnkhbwnkarhnungkhxngsilpathiekidkhuninshrthxemrikaaelaxngkvs praman ph s 2498 miphlwtthangsilpapraman 10 piess lxipkbrakthanbribthsngkhmthiepnaebbbriophkhniym silpinklumnimikhwamechuxthangsilpawasilpacatxngsrangkhwamtunetnxyangchbphlnthnidaekphuphbehn dngnn enuxhasilpakhxngpxpxartcungepneruxngrawthiekiywkhxngkbphukhnthwip odyechphaaxyangyingeruxngrawekiywkbphukhnaelasngkhminpccubnthikalngidrbkhwamsnichruxwiphakswicarninkhnann sungxacnbwaepnphltxyxdkhxngkarepliynthisthangaenwthangsilpamatngaetsilpaaenwscniym realism inchwngklangphuththstwrrsthi 25 dngcaehnidcakenuxhacaerimimekiywkhxngkbethphniyay prawtisastr hruxsasna ehmuxnkbngansilpainyukhkxnhnaephuxihkarsathxneruxngrawthipraktinpccubn ihkhwamrusukinkhwamepnpccubnxyangaethcring silpinpxpxartidichwsducring karpatid aelaklwithikardngsilpinkxnhnaidekhythdlxngthaexaiw dngechnthiklum dada dada baskniym cubism lththiehnuxcring surrealism aelalththisaaedngphlngxarmnaenwnamthrrm abstract expresssionism ptibtikn sungnbepnklwithithiichknxyangaephrhlayinkhnannnnexng thngnikarhyibykmaichkkhunxyukbkhwamsnickhxngsilpinaetlakhnechn bangkhnsnicphaphokhsna bangkhnsnicdaraphaphyntr bangkhnsnicekhruxngckrkl bangkhnsniceruxngekhruxngnunghm kmkcanasingtang thitnsnicdngklawmacdwangtaaehnngxyangngay dngthipraktihehnxyuthwip 1 enuxha 1 phubukebik 2 niyam 3 mummxngkhxngnkwicarn 4 silpin 5 echingxrrthphubukebik aekikhmaraesl duwchxng silpinklumdada idrbkarykyxngwaepnphubukebikaenwthangniihkbsilpinrunhlng phlnganthichux naphu Fountain sungepnphlnganthinaothpssawamacdaesdngkhxngekhaepnthiidrbkhwamsnicepnxyangmak karthiduchxngpnaexasingkhxngekhruxngichinchiwitpracawnmacdaesdnginngannithrrskarsilpachux xarmxriochw khrngthi 2 thiniwyxrkinpi ph s 2460 khmaythicakratunptikiriyakhxngkhnsungepahmaythangsunthriysastrkhxngekhakhux karhasingxunmaaethnthisilpathiekhyidrbkhaniymwangdngam hruxthiduwchxngeriykwa silpathitxngta singsakhykhxngphlngankhxngekhakhux khwamkhidthiidcakbribthihmthiimkhunekhy 2 orebirt erasechnebirkhnunginphuebikthangihkbpxpxartekhyklawiwwa ekhaimekhyehnphlnganchinidngdngamipkwachinngankhxngduwchxngniyam aekikhpxpxartepnaebbxyangkhxngsilpathisathxnsphaphaethcringkhxngsngkhmpccubn tamkhwamrukhwamekhaickhxngsamychnthwip chwkhnahnung echn darayxdniym khunphaphxnelxeliskhxngsinkha khakhwy l silpainklumniaesdngkhwamwunwaykhxngsngkhmsungphlungphlan swangwabkhunmaehmuxnphlu niyminchwngewlathiimnanphxthungwnrungkhunkxaccalumipesiyaelw xyangirktammiphuklawexaiwwasilpathisrangkhuncaksingsphephehrakhxngchiwitpccubn epnkaraesdngkhwamrusuksathxnprasbkarnthnghmdkhxngsilpininchwkhnaewlahnung aelasthanthiaehnghnungethann sungsathxnkhwamruphunthanthrrmdathisilpinmiswnrwmxyuihprakt 3 rxy likethnsitn Roy Lichtenstein citrkrchawxemrikn prasbkhwamsaerccakkarnaphaphkartunthikalngniymmaisiwbnngansilpakhxngekha idihkhaniyamkhxngpxpxartexaiwwa inkhwamkhidkhxngchn epnsilpathiiryangxaymakthisudaehngwthnthrrmkhxngphwkera klawkhux singtang thieraekliydchngmn aetbangsingkmiphlngehmuxncathaxair iheradikhunidehmuxnkn 4 pxpxartkepncitrkrrmthiepnxutsahkrrmxyangmak khwamhmaykhxngphlngankhxngphmkhuxkarepnxutsahkrrm sungxikimchaolkthngmwlkcaklayepnolkkhxngxutsahkrrm 5 aexndi wxrhxl aexndi wxrhxl Andy Warhol ph s 2471 2530 sathxnsngkhmxyangtrngiptrngmadwykaraesdngxxkthangcitrkrrm ekhaepnkhnediywethannthinaexarabbkarphlitinxutsahkrrmmaichkbngancitrkrrm ekhaeluxkethkhnikhkarphimphchlulaypha silk screen sungepnkrabwnkarphlitaerk thikhidkhunmaephuxphlitsinkhaidkhrawlamak ekhaprakasxyangtidtlkwa cadimak thathukkhnepliynmaphimphsilkhskrinknihhmd khnxun caidaeykimxxkwarupniepnngansilpakhxngekhakhxngaethhruxepla 6 sahrbpraednthiekhaykmaepnhwkhxinkarthangannnkmikingkanaetkxxkmacaksngkhmbriophkhniymaelacaknitysarpkmnkhxngsilpaechingphanichyechnkn ethkhnikhinkarthangankhxngekhaidtxkyaineruxngmatrthankhxngkarphlitcanwnmakthangxutsahkrrm richard aehmiltn richard aehmiltn Richard Hamilton idsrangsrrkhphlnganopsetxrphaphtdpathimikhaphudaedkdnxyang Just what is it that makes today s homes so different so appealing phlnganchinniepnkarrwmexahlay phaph aelahlay wsdu ephuxsrangsrrkhxxkmaepnsingihm 7 phayhlngaehmiltnidthabychikhxmulkhunphaphkhxngpxpxartexaiwdngni 8 epnthiniym popular xxkaebbmaephuxphuchmhmumak chwkhru transient epnkaraekpyharayasn phxichid expendable lumidodyngay rakhathuk low cost phlitepncanwnmak mass produced wyrun young klumepahmaykhuxwyrun hlkaehlm witty esksi sexy milukeln gimmicky ngdngam glamorous epnthurkickhnadihy big business caehnidwasilpinpxpxartaetlakhnkmiaenwthanginkarnaesnxthiaetktangknip khwamepncudrwmkhxngsilpaaenwnikhngmicudrwmthiehnidchddnghlkkarthiaehmiltn idesnxiwdngkhangtnmummxngkhxngnkwicarn aekikhnkwicarnsilpabangkhnihkhwamehnwapxpxartimichsilpa aetepnidephiyngeruxngraw hruxrupaebbkarokhsnangay ethann cungimmikhunkhathiluksungephiyngphxthicacdihepnsilpaid inkhnaediywknkminkwichakarbangklumcdihepnsilpaidaetkimlnglxykbkraaesihyephuxihidkhxyutiekiywkbsilpanicungidmikarcdprachumekiywkbsilpapxpxartkhunodytrnginwnthi 13 thnwakhm ph s 2505 thiphiphithphnthsilpasmyihminxemrika The Museum of Modern Art karcdprachumkhrngnn phuthrngkhunwuthithangsilpabangthanihkhwamehnwa khwrcdihpxpxartepnsilpaid aelakhwreriykaebbxyangsilpathisathxnkhwamepncringniwaepn silpascniymihm The New Realism aetinthisudkidmtiihichchuxwa pxpxart tamthinkwicarnsilpachawxngkvschuxwa lxwerns aexlolewy Lawrence Alloway epnphukhidkhaaelaesnxchuxaeksilpaaenwthangni inkarprachumthisthabnsilparwmsmy Institution of Contemporary Art inkrunglxndxn emux ph s 2497 2498 9 10 karcdaesdngthimilksnakhxngkarthkethuyngknkhrngni klayepnaemaebbkhxngnithrrskarsilpainsmytxma 11 lxwerns aexlolewy epnhnunginphupkpxngsilpaaebbpxpxartcakkarthukekhaicphid inewlannthukkhnimsrththasilpinpxpxartethaidnk aetekhaxyakihsatharnchnmikhwamekhaicsilpinthithuktxng ekhaphyayamwiekhraahaelahakhxsrupidwa pxpxartnnmikhwamechuxmoyngkbsuxsarmwlchn aetepnechingkhbkhnaelainechingotaeyngtrng phlngankhxngsilpinklumpxpxartthuksrangkhuninbribthihm nikhuxkhxaetktangkhxngsilpinklumnithisakhy 12 silpin aekikh aekhls oxlednebirk ecms oresnkhwist rxy likethnsitn milksnaechphaatwdwykarsrangnganihepnaenwkartun ekhahyibyumrupaebbkhxngsingphimphkartunxutsahkrrmthielaeruxngepnchxng milksnaphiessxyuthikartdesnphaphlayesndwyesnthubda srangsiaelanahnkkhxngphaphdwykarichaethbemdsi aethbriwsi bangkhrngekhathungkbnaphaphcakhnngsuxkartunthiwangkhayinthxngtladmaddaeplngelknxyihepnphlngankhxngtwexng cudthiphiessipcakkartunsingphimphxutsahkrrmrakhathukkkhux ekhanalksnadngklawmathaepnngancitrkrrmkhnadihy eriykidwa thasingphimphihepncitrkrrm thasilparadblang olwxart ihepnsilpachnsung ihxart hruxklbkn aelathikhadimidkhuxkarhyxklxngankhlassikbrmkhru likethnsitnnaphaphchnyxdxyangngansinamnphaphobsthxnodngdngkhxngokld mxaen phaphnamthrrmerkhakhnitkhxngpit omndriyan aelaphaphplainohlaekwkhxngxxngri matis mathaepncitrkrrmaelaphaphphimphinlksnathiepnsingphimphxutsahkrrm duehmuxnsinkhaaebbprachaniymintlad 13 phlnganthiepnthiruckkhxngekhaechn phaph xa xacca M Maybe sungepnphaphsawphmblxnd nyntasifa kalngcxngmxngmathiera hruxxaccakalngmxngphan ehmuxnkalngkhidxairxyu ethxswmthungmuxsikhaw exiyngsirsamathangsay sungepnphaphthiehnidthwip aelaichsuxthungphawathiesrahmxngwathaimethxthungtxngmarxxyuxyangni 14 aexndi wxrhxl thuxidwaepnsilpinchnnaradbsuepxrstarkhxngxemrikahruxkhxngolkelythiediyw nxkcakcaepnsilpinthimiphlnganyxdeyiymepnthichunchxbaelw wxrhxlyngepndawsngkhmkhxngnkhrniwyxrkdwy eriykidwathngchiwitaelaphlngankhxngekhaepn pxp mak elythiediyw lksnaechphaatwkhxngwxrhxlthithukkhnruckdikhux karthangancitrkrrmdwyethkhnikhkarphimphchlulayphachlu ethkhnikhdngklawepnwithikarsrangnganphimphinradbxutsahkrrm mkcaichinaewdwngokhsnakhaysinkha echn thaopsetxr bilbxrd aelaphimphlwdlaylngbnesuxyud insmynnethkhnikhniyngthuxwaepnkhxngkhxnkhangihm ekha ichethkhnikhxutsahkrrmniphimphphaphdara nkrxng aelakhndngradbtladmhachn echn phimphphaphmarilin mxnor exlisaebth ethyelxr aelaexlwis ephrsliy bangkphimphphaphphlngancitrkrrmradbkhlassikthikhunhingkhxngolk echn phaphomnalisa phaphkaenidethphiwinsfimuxbxttiechlli phaphthnghmdni wxrhxlnamaphimphdwysichudchadetataincanwneyxa saaelwsaela eriyngknepnphrudaebbsinkhaxutsahkrrmthiphlitsaidthilamak tlad 15 miphlnganthiepnthiruckechn krapxngsupaekhmpebll 1 Campbell s Soup 1 thnbtr 2 dxllar 80 ib danhnaaeladanhlng 80 Two Dollar Bills Front and Rear epntn aekhls oxlednebirk Claes Oldenburg silpinchawxemrikn naesnxpratimakrrmkhnadihyxnaeplkprahladta aelayngmikarthapratimakrrmnumnim soft sculpture twxyangechnkarnaexalksnaruprangkhxngxaharsungniyminsmynn echn aehmebxrekxr makhyaykhnadaelacalxngdwykarichphaydnunkhlayhmxnihklayepnaehmebxrekxryks phlngankhxngekhannlwnaetsrangkhwameraicaekphuphbehnphlnganthiepnthiruckechn tuiskhnm 1 Pastry Case 1 epnkarnakhnmxbthiaetktangkn 9 chnid thacakphaibhyab hruxphafaychubkbpunplasetxr caknnnaipwanglngbnokhrnglwddd aelalngsiepnkhntxnsudthay ecms oresnkhwist James Rosenquist naesnxodykarichtraokhsnasinkhakhnadihy aelanamaprungaetngihslbsbsxnyingkhunmiphlnganthiepnthiruck echn phaphimmichux ocn khrxwfxrd Untitled Joan Crawford epnphaphinechinglxeliynkhxngocn khrxwfxrd daraphaphyntrphuyingihy odyphaphkhxngethxmilksnaehmuxnkartunlxeliyn echn dwngtathiklmotkbkhiwokngidrup khntaplxm rxyyimthikradang phmthiaekhngepnlxn aetedimphaphnimithimacakokhsnakhaybuhri thxm ewseslmnn Tom Wesselmann aesdngxxkthngdwykarphaphcitrkrrmaelaphaphpatidsungprakxbdwykarichwsduphsanknxyangmichnechingphlnganthiepnthiruck echn xangxabna 3 Bathtub 3 epnkarphsmphsanrahwangphaphekhiynaelawsducring khux pratu phaechdtw phaechdhna takrapha aelamanhxngna ethkhnikhdngklawepnkarephimkhwamepnphaphlwngtamakyingkhun hunninghmayelkh 20 Still Life No 20 epnkarkarnaphapheliynaebbkhxngomndriyanmaphsmphsankbwsducring khux tu hlxdfluxxersesns kxkna sbu aelathiwangsbu Eduardo Paolozzi inpi ph s 2492 idsrangsrrkhphlnganthimikhwamsrangsrrkhaelahlkaehlmepnxyangmak phlnganphaphtdpapknitysaraelaokhsna rupphaphxndasdunphbehnidthukthithaihekhaekidkhwamsnic 16 richard aehmiltn Richard Hamilton ph s 2465 2554 srangphlngan xairthaihbaninwnnidutangcakemuxkxn changnaxyuehluxekin Just what is it that makes today s homes so different so appealing epnphaphpatidsungmichuxesiyngthisudphaphhnungkhxngnganpxpxart aelaetmipdwykaresiydsi dwykarichphaphrangkaykhxngchayaelahyingmaaetngihswyngamaetimepnthrrmchati brryakasphayinbanetmipdwykhwamthnsmy aelaxngkhprakxbinphaphepnkarrwbrwmsuxthsnsilpsmyihmaethbthukchnid echn opsetxrtrasylksnkhxngbristh ibpidphaphyntrery cxhnsn Ray Johnson edrik obechiyr Derek Boshier edwid hxkniy David Hockney pietxr eblk Peter Blake aexlln daraekhnecol Allan D Arcangelo rxebirt xindiaexna Robert Indiana echingxrrth aekikh suphchy singyyabusy rxngsastracary prawtisastrsilpatawntk chbbsmburn krungethph orngphimphsmphnthkrafik 2547 215 ekhlas hxnenf busymas nnthwn aepl yutha okresnikh brrnathikar pxpxart 8 9 xari suththiphnthu silpniym 2516 316 xsniy chuxrun aela echlimsri chuxrun aebbxyangsilpatawntk 2528 144 ekhlas hxnenf busymas nnthwn aepl yutha okresnikh brrnathikar pxpxart 8 9 ekhlas hxnenf busymas nnthwn aepl yutha okresnikh brrnathikar pxpxart 28 Eric Shanes Pop Art 18 Eric Shanes Pop Art 18 xariy suththiphnth silpaniym 2516 316 317 xsniy chuxrun 2528 144 ekhlas hxnenf busymas nnthwn aepl yutha okresnikh brrnathikar pxpxart 12 ekhlas hxnenf busymas nnthwn aepl yutha okresnikh brrnathikar pxpxart 9 Post Modernism silpapxpxart Pop Art ekhlas hxnenf busymas nnthwn aepl yutha okresnikh brrnathikar pxpxart 52 Post Modernism silpapxpxart Pop Art Pop Art 17 18 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title silpaprachaniym amp oldid 9305559, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม