fbpx
วิกิพีเดีย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จโต, หลวงปู่โต, สมเด็จวัดระฆัง
เกิด17 เมษายน พ.ศ. 2331
มรณภาพ22 มิถุนายน พ.ศ. 2415
อายุ84
บรรพชาพ.ศ. 2343
อุปสมบทพ.ศ. 2351
พรรษา64
วัดวัดระฆังโฆสิตาราม
จังหวัดธนบุรี
สังกัดมหานิกาย
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

ประวัติ

ชาติภูมิ

 
รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ประดิษฐานที่วัดไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวกันว่าท่านเกิดในเรือของมารดาซึ่งจอดเทียบท่าอยู่หน้าวัดแห่งนี้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี) เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ[ก] อย่างไรก็ดีมารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา)[ข] เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง[ค]

สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

บรรพชาและอุปสมบท

 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 จวบจนท่านมรณภาพในช่วงต้นรัชกาลที่ 5

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นเปรียญธรรมจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

จริยาวัตร

ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลัก และไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใด ๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล

ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่าง ๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

สมณศักดิ์

 
หลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ ปูชนียสถานแห่งสุดท้ายที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้สร้างไว้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ "พระเทพกระวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า

สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ

สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"

ปัจฉิมวัย

ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

คำสอน

 
โต๊ะหมู่บูชาตั้งอัฐิธาตุบำเพ็ญกุศล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น

"บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ..."

"ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"

รูปเหมือนของสมเด็จโต

 
ความศรัทธาในตัวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ทำให้เกิดความนิยมสร้างรูปหล่อเหมือนตัวจริงของท่านประดิษฐานตามวัดต่างๆ โดยทั่วไป (ในภาพนี้ รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ)

เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระมหาเกจิเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือยิ่งนับแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบันผู้ศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ทำการสร้างรูปเหมือน รูปเคารพจำลองของท่านไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "รูปหล่อสมเด็จ" ตามหลักฐานฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ระบุว่ารูปจำลองรูปแรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) คือรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดเกศไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปั้นหุ่นลงรักปิดทองโดยหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมาประกร) หน้าตัก 40.2 เซนติเมตร หล่อขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ได้หล่อเมื่อปีใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2444 ดังความในสำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช 2444 ดังนี้

เมืองสิงหบุรี

วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๐
ถึงกรมหลวงเทวะวงษวโรปการ

"......เวลาเช้า ๒ โมงออกจากพลับพลาเมืองอ่างทอง มาจนเวลา ๕ โมงเช้าถึงวัดไชโย ได้แวะขึ้นที่วัด...ในมุขหลังพระอุโบสถรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มีเค้าจำได้ แต่หนุ่มไปกว่าเมื่อเวลาถึงมรณภาพสักหน่อยหนึ่ง..."— พระราชหัตถเลขา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔

(ซ้าย) รูปเหมือนสมเด็จโตในพระวิหารวัดระฆังโฆสิตาราม (ขวา) รูปเหมือนสมเด็จโตในท่านับลูกประคำ เป็นรูปเหมือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่จดจำของคนในปัจจุบัน โดยได้ถอดแบบมาจากรูปถ่ายจริงของท่านเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่

อย่างไรก็ดี รูปเคารพท่านที่เป็นที่แพร่หลายคือรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่สร้างขึ้นและประดิษฐานอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นไม่นานหลังจากได้สร้างรูปเคารพรูปแรกขึ้นและนำไปประดิษฐานที่วัดไชโยวรวิหาร ก่อนปี พ.ศ. 2444 มีขนาดหน้าตัก 48 เซนติเมตร ลักษณะนั่งสมาธิ โดยเคยมีงานแห่สมโภชรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในวัน แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี แต่ปัจจุบันได้เลิกจัดไปแล้ว ปัจจุบันรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของวัดระฆังโฆสิตาราม ยังคงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหน้าพระอุโบสถของวัด มีผู้คนเคารพนับถือมากราบไหว้สักการะมากในปัจจุบัน

ในช่วงหลัง มีผู้นำรูปถ่ายเมื่อครั้งมีชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในท่านับลูกประคำ ไปจัดสร้างเป็นรูปหล่อและรูปเหมือนเพื่อสักการบูชา จนเป็นที่แพร่หลาย และเป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จนถึงปัจจุบัน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตมากมาย เพื่อให้สมชื่อโต ของสมเด็จท่าน โดยรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ขนาดใหญ่ เช่นที่ วิหารสมเด็จโต มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สมเด็จโตองค์ใหญ่ปางเทศนาธรรม วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี สมเด็จโตองค์ใหญ่ วัดตาลเจ็ดยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมเด็จโตองค์ใหญ่ที่สุดในโลก วัดสระลงเรือ จังหวัดกาญจนบุรี และที่วัดสามัคคีบรรพต จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

เชิงอรรถ

หมายเหตุ

ตำบลท่าอิฐในที่นี้ หมายถึงตำบลเมืองท่าค้าขายของเมืองเหนือในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปัจจุบันคือแถบ 3 หมู่บ้านโบราณริมน้ำน่านคือ บ้านท่าอิฐ บ้านท่าเสา และบ้านคุ้งตะเภา ในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ (สมัยนั้นชื่ออำเภอบางโพ) จังหวัดอุตรดิตถ์ (สมัยนั้นชื่อแขวงพิไชย) ในปัจจุบัน

เมืองเหนือในที่นี้หมายถึงคำเรียกของชาวเมืองเหนือในสมัยอยุธยาจนถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหมายถึงเมืองสุโขทัย พิษณุโลก พิชัย (อุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) พิจิตร กำแพงเพชร อันเป็นกลุ่มหัวเมืองเหนือในสมัยอยุธยา หรือบ้านเมืองที่เคยอยู่ในเขตแคว้นของสุโขทัยแต่เดิม

หากถือตามหลักฐานของพระครูกัลยาณานุกูลที่กล่าวว่ามารดาของท่านเป็นคนท่าอิฐ นางเกตุ ที่ขึ้นล่องเรือลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ย่อมมีความสอดคล้องกับประวัติของเมืองอุตรดิตถ์ ที่กล่าวว่าช่วงกรุงศรีแตก แถบอุตรดิตถ์ไม่ได้รับผลกระทบเพราะอยู่นอกทางเดินทัพ ทำให้แถบนี้มีคนแถบเมืองเหนือมาอาศัยหลบภัยมาก จนมีการตั้งชุมนุมพระฝางเป็นเมืองใหญ่ ในช่วงหลังชุมนุมเจ้าพระฝางแตกในปี พ.ศ. 2313 เมืองท่าอิฐได้โรยราไปพักหนึ่งจนถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เมืองพระฝางซึ่งอยู่เหนือท่าอิฐที่เคยเป็นชุมนุมใหญ่ก็ได้ทรุดโทรมจนหมดความสำคัญลง ทำให้ช่วงหลังครอบครัวมารดาของท่านจึงอพยพย้ายถิ่นมาทำมาหากินทางแถบเมืองใต้ (ภาคกลาง) แต่ช่วงหลัง ตำบลท่าอิฐก็เริ่มมีความเจริญสืบมาจนสมัยรัชกาลที่ 5

อ้างอิง
  1. พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 66-67
  2. คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2554). พระเครื่องเบญจภาคี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://angsila.cs.buu.ac.th/~it471452/phrathai/page2-5.html 2012-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. ข่าวพระเครื่องคมชัดลึก. (2554). สุดยอดการเช่าพระแห่งปี ๕๒. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.komchadluek.net/detail/20091229/42948/สุดยอดการเช่าพระแห่งปี๕๒.html
  4. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช 1129-1130. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้าที่ 351.
  5. พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. รองปก
  6. จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ต.ท่าหลวง กล่าวว่า สมเด็จโตเกิดในเรือซึ่งขณะนั้นลอยลำอยู่หน้าวัดไก่จ้น
  7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” :2466. ไม่ทราบสำนักพิมพ์​
  8. พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 9-13
  9. ผู้จัดการออนไลน์. (2545). สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=517
  10. เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์.
  11. วัดระฆังโฆสิตาราม. (2541). ของดีวัดระฆัง. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.. หน้า 214. ISBN 974-89521-3-4
  12. ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร. (2554). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.watrakang.com/biography.php
  13. ตรียัมปวาย. (2495). พระสมเด็จ. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).
  14. ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร. (2554). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.watrakang.com/biography.php
  15. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 84-86. ISBN 974-417-530-3
  16. พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 56
  17. พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 92-93
  18. คำเทศนาของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
  19. พระมหาเฮง อิฏฐาจาโร, . (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์. หน้า 152
  20. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2465). พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ 5. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทย. หน้า 3
  21. เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์. หน้า152-153
  22. เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ISBN 9789743648847
  23. __________. (2543). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. หน้า 104.
  24. วิบูลย์ บูรณารมย์. (2540). ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท.
  25. __________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช 1129-1130. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).
  26. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2465). พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ 5. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทย. หน้า 47

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์.
  • ตรียัมปวาย. (2495). พระสมเด็จ. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).
  • พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร.
  • ธวัชชัย อิศรางกูร. (2510). สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม. นครหลวง : โรงพิมพ์อักษรสมัย.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ถัดไป
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน)    
เจ้าคณะอรัญวาสี
(พ.ศ. 2407 — พ.ศ. 2415)
  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)


สมเด, จพระพ, ฒาจารย, โต, รห, มร, นามเด, โต, หร, อนามท, ยมเร, ยก, สมเด, จโต, หลวงป, โต, หร, สมเด, จว, ดระฆ, เป, นพระภ, กษ, มหาน, กาย, เป, นพระมหาเถระร, ปสำค, ญท, ได, บความน, ยมน, บถ, ออย, างมากในประเทศไทย, านเคยดำรงตำแหน, งเจ, าอาวาสว, ดระฆ, งโฆส, ตารามวรมหาว, . smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi namedim ot hruxnamthiniymeriyk smedcot hlwngpuot hrux smedcwdrakhng epnphraphiksumhanikay epnphramhaethrarupsakhythiidrbkhwamniymnbthuxxyangmakinpraethsithy thanekhydarngtaaehnngecaxawaswdrakhngokhsitaramwrmhawiharinsmyrchkalthi 4 5smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi smedcot hlwngpuot smedcwdrakhngekid17 emsayn ph s 2331mrnphaph22 mithunayn ph s 2415xayu84brrphchaph s 2343xupsmbthph s 2351phrrsa64wdwdrakhngokhsitaramcnghwdthnburisngkdmhanikaytaaehnngecaxawaswdrakhngokhsitaramwrmhawiharswnhnungkhxngsaranukrmphraphuththsasnasmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi nbepnphraekciethracaryphumiptipthacriyawtrnaeluxmis epnthiekharphnbthuxthwipmatngaetthanyngmichiwitxyu tngaetphramhakstriycnthungsamychn 1 aelanxkcakcriyawtrdankhwamsmthaxnoddednkhxngthanaelw thanyngthrngkhunthangdanwichchakhathaxakhm emttamhaniym odyechphaaxyangyingwtthumngkhl phrasmedc thithanidsrangkhunephuxepnphuththbucha idthukcdekhainphraekhruxngebycphakhi hruxsudyxdkhxngphraekhruxngwtthumngkhl 1 in 5 khxngpraethsithy 2 aelamirakhasuxkhayinpccubntxxngkhepnrakhanblanbath 3 dwyptipthacriyawtraelakhunwiessxscrrykhxngthan thaihphuththsasnikchnchawithyekharphnbthuxwathanepnxmtaethracaryruphnungkhxngemuxngithy aelamiphunbthuxcanwnmakinpccubn enuxha 1 prawti 1 1 chatiphumi 1 2 brrphchaaelaxupsmbth 1 3 criyawtr 1 4 smnskdi 1 5 pcchimwy 2 khasxn 3 rupehmuxnkhxngsmedcot 4 echingxrrth 5 hnngsuxxanephimetim 6 duephim 7 aehlngkhxmulxunprawti aekikhchatiphumi aekikh ruphlxkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi pradisthanthiwdikcn xaephxthaerux cnghwdphrankhrsrixyuthya klawknwathanekidineruxkhxngmardasungcxdethiybthaxyuhnawdaehngni smedcphraphuthacary ekidinrchsmyphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharach hlngsrangkrungrtnoksinthridaelw 7 pi 4 emuxwnphvhsbdi eduxn 5 khun 12 kha piwxk culskrach 1150 ewlaphrabinthbat trngkbwnthi 17 emsayn ph s 2331 5 n banikcn banthahlwng xaephxthaerux 6 cnghwdphrankhrsrixyuthya 7 mardabidakhxngthanepnikhrimthrabaenchd miphuklawprawtikhxngthaninswnniaetktangkniphlaychbb echn chbbkhxngphrayathiphoksa klawwa mardakhxngthanchuxnangngud butrkhxngnayphlkbnangla chawnaemuxngkaaephngephchr 8 hruxchbbkhxngphrakhruklyananukul ehng xitthacaor klawwa mardakhxngthanchuxektu khnthaxith xaephxbangoph k 9 10 11 xyangirkdimardakhxngthanepnchawemuxngehnux khaeriykinsmyxyuthya kh ephraathukaehlngxangxingklawtrngknwamardakhxngthanepnchawemuxngehnuxaetidlngmathamahakinaethbphakhklanginchwnghlng kh sahrbbidakhxngthannn chbbkhxngphrayathiphoksa klawwathanepnoxrsnxkeswtchtrkhxngphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharach khrngthrngphraxisriyysepnecaphrayackri swnchbbkhxngphrakhruklyananukul aelachbbkhxngtriympwayklawwathanepnoxrsinphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly aelaaeminchbbkhxngtriympwaycamikhxsnnisthanephuxyunynhlaykhx aetxyangirktam prawtithngsxngchbbklawtrngknephiyngwa khxsnnisthanwadwybidakhxngthannnepnephiyngeruxngelasungchawbaninsmynnklawaelaechuxknodythwip 12 13 brrphchaaelaxupsmbth aekikh smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi darngtaaehnngthangkhnasngkhepnecaxawaswdrakhngokhsitaram insmyrchkalthi 4 cwbcnthanmrnphaphinchwngtnrchkalthi 5 emuxthungwyphxsmkhwraelw idbrrphchaepnsamenremux ph s 2343 txmapraktwaphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkoprdaelaemttasamenrotepnxyangying khrnxayukhrbxupsmbthpi ph s 2350 cungthrngphrakrunaoprdekla ihepnnakhhlwng xupsmbth n wdphrasrirtnsasdaram mismedcphraxriywngsyan smedcphrasngkhrach suk yansngwr epnphraxupchchay michayanaminphuththsasnawa ph rh mrsi 14 enuxngcakepnepriyythrrmcungeriykwa phramhaot manbaetnn txmaphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly idoprdekla ihrbphramhaotiwinphrabrmrachupthmph criyawtr aekikh thanmixupnisythasingidtamkhwamphxickhxngtn imthuxexakhwamniymkhxphuxunepnhlk 15 aelaimprarthnaysskdihruxlaphskkaraid aemidsuksaphrathrrmwinycnaetkchan kimyxmekhasxbepriyythrrm khrnthungrchsmyphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhwcathrngtngthanepnphrarachakhna aetthanimyxmrb cungkhngepnphramhaotmatlxdrchkaltxmaklawknwa phramhaotidxxkthudngkhiptamsthanthitang aelaidsrangpuchniysthaninthitang kn echn srangphraphuththisyasniwthiwdstux tablthahlwng xaephxthaerux cnghwdphrankhrsrixyuthya srangphraphuththruphlwngphxot wdichoy cnghwdxangthxng epntn sungpuchniysthanthukaehngthithansrangcamikhnadihyotsmkbchuxkhxngthanxyuesmx karcasrangpuchniysthankhnadihyechnnilwnaettxngichthunthrphyaelaaerngngancanwnmakinkarkxsrangcungcathaidsaerc singehlanicungepnekhruxnghmayaesdngthungkhwamsrththaaelabarmikhxngthan sungepnthiekharpheluxmiskhxngphuththsasnikchninyanthithanidthudngkhphanipxyangchdecn smnskdi aekikh hlwngphxot phrasrixriyemtitry wdxinthrwihar krungethph puchniysthanaehngsudthaythismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi idsrangiw inrchsmyphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw phraxngkhoprdpranphramhaotepnxyangying inpi ph s 2395 phraxngkhcungidphrarachthansmnskdiphramhaotepnkhrngaerk epnphrarachakhnathi phrathrrmkiti aeladarngtaaehnngepnecaxawaswdrakhngokhsitaram khnannthanxayu 65 pi odypktiaelwphramhaotmkphyayamhlikeliyngkarrbphrarachthansmnskdi aetdwyehtuphlbangprakar thaihthantxngyxmrbphrarachthansmnskdiinthisud xik 2 pitxma ph s 2397 thancungidrbkareluxnsmnskdiepnphrarachakhnachnphuihythi phraethphkrawi hlngcaknnxik 10 pi ph s 2407 cungthrngphrakrunaoprdekla sthapnasmnskdikhunsmedcphrarachakhnathi smedcphraphuthacary mirachthinnamtamcarukinhirybtwa smedcphraphuthacary xenksthanpricha wisuththsilcrryasmbti niphththutkhun sirisunthrphrtcarik xryyikkhnisr smnnikrmhaprinayk tripidkoksl wimlsilkhnth sthit n wdrakhngokhsitaramwrmhawihar phraxaramhlwng 15 smnskdidngklawninbepnsmnskdichnsungsudaelaepnchnsudthaythithanidrbtrabcnkrathngthungwnmrnphaph khnthwipniymeriykthanwa smedcot hrux smedcwdrakhng swnkhninyukhrwmsmykbthaneriykthanwa khrwot 16 pcchimwy aekikh rawpi ph s 2410 smedcphraphuthacary ot idmaepnprathankxsrangpuchniywtthukhrngsudthaythisakhykhxngthan khux phraphuththruphlwngphxot phrasrixriyemtitry thiwdxinthrwihar insmynneriykwa wdbangkhunphrhmin thwakarkxsrangkyngimthnsaerc odykhnannkxxngkhphraidthungephiyngradbphranaphi sadux smedcphraphuthacary ot kidmrnphaphbnsalaekawdbangkhunphrhmin n wnesar aerm 2 kha eduxn 8 piwxk trngkbwnthi 22 mithunayn ph s 2415 inrchkalphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw sirirwmxayuid 84 pi xyuinsmnephs 64 phrrsa epnecaxawaskhrxngwdrakhngokhsitaramid 20 pikhasxn aekikh otahmubuchatngxthithatubaephykusl smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi inphraxuobsthwdrakhngokhsitaram wikikhakhmmikhakhmekiywkb smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi epnphraekciethracarythiepnthiekharphnbthuxnxkcakdankhathaxakhmaelw thanyngiddarngtnepnphusmtha mknxysnods imprarthnalaphys karaesdngxxkkhxngthantambnthukhlkthaninsmyhlng mkbnthukthungkhwamepnphraethraphumiemtta darngsilacarwtrepnthieluxmissrththakhxngkhnthwip xyangirktam exksarthibnthukprawtikhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi iwepnhmwdhmuchnekasud khuxexksarchbbkhxngmhaxamatytriphrayathiphyoksa sxn olhnnth sungepnchbbthirwbrwmody m l phramhaswang esniywngs n xyuthya thirwbrwmkhuninpi ph s 2473 17 imidbnthukkhasxnkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi iwepnhmwdhmu ephiyngaetklawthungehtukarntang inchwngchiwitkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi tangkrrmtangwarakn tamthiphurwbrwmidbnthukmacakpakkhaphumichiwitrwmsmykbsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi ethannxyangirkdi inpccubnidpraktmikhasxntang sungechuxknwaepnkhasxnkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi thiepnthiniymnbthuxknthwip odyimmikarxangxingthimathiaenchd echn buyeraimekhysrang ikhrthiihncamachwyeca 18 lukexy kxnthicaekhaipkhxbarmihlwngphxxngkhid ecacatxngmithunkhxngtwexng khuxbarmikhxngtnlngthunipkxn emuxbarmikhxngecaimphxcungkhxykhxyumbarmikhnxunmachwy michannecacaexatwimrxd ephraahnisininbuybarmithiipethiywkhxyummacnphntw emuxthabuythakuslidbarmima ktxngexaipphxnichhniekhacnhmdimmixairehluxtidtw aelwecacamixairiwinphphhna hmnsrangbarmiiw aelwfadincachwyexng cngcaiwna emuxyngimthungewlaethphecaxngkhidcakhidchwyecaimid khrnemuxthungewla thwfacbdinktanecaimxyu cngxyaiperngethwdafadin emuxbuyeraimekhysrangiwelycamiikhrthiihnmachwyeca 18 rupehmuxnkhxngsmedcot aekikh khwamsrththaintwsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi khxngphuththsasnikchninpraethsithy thaihekidkhwamniymsrangruphlxehmuxntwcringkhxngthanpradisthantamwdtang odythwip inphaphni ruphlxkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi xyuthangdansaykhxngphaph enuxngcaksmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi epnphramhaekciethracaryphuepnthiekharphnbthuxyingnbaetemuxkhrngthithanyngmichiwitxyu cnthungpccubnphusrththainsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi idthakarsrangrupehmuxn rupekharphcalxngkhxngthaniwtamsthanthitang makmay odyeriykxyangimepnthangkarwa ruphlxsmedc tamhlkthanchbbkhxngphrakhruklyananukul ehng xitthacaor rabuwarupcalxngrupaerkkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi khuxruphlxthipradisthanthiwdeksichoywrwihar insmyrchkalthi 5 pnhunlngrkpidthxngodyhlwngwicitrnvml phung ptimaprakr hnatk 40 2 esntiemtr hlxkhunthiwdrakhngokhsitaram aetidhlxemuxpiidimprakt aetsnnisthanwasrangkxnpi ph s 2444 19 dngkhwaminsaenaphrarachhtthelkha phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwkhrawesdcpraphasmnthlfayehnux phuththskrach 2444 dngni emuxngsinghburiwnthi 4 tulakhm r s 120 thungkrmhlwngethwawngsworpkar ewlaecha 2 omngxxkcakphlbphlaemuxngxangthxng macnewla 5 omngechathungwdichoy idaewakhunthiwd inmukhhlngphraxuobsthrupsmedcphraphuthacary ot miekhacaid aethnumipkwaemuxewlathungmrnphaphskhnxyhnung 20 phrarachhtthelkha phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw rchkalthi 5 khrawesdcpraphasmnthlfayehnux phuththskrach 2444 say rupehmuxnsmedcotinphrawiharwdrakhngokhsitaram khwa rupehmuxnsmedcotinthanblukprakha epnrupehmuxnthimiexklksnechphaathiepnthicdcakhxngkhninpccubn odyidthxdaebbmacakrupthaycringkhxngthanemuxkhrngyngmichiwitxyu xyangirkdi rupekharphthanthiepnthiaephrhlaykhuxruphlxsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi thisrangkhunaelapradisthanxyuthiwdrakhngokhsitaram snnisthanwasrangkhunimnanhlngcakidsrangrupekharphrupaerkkhunaelanaippradisthanthiwdichoywrwihar kxnpi ph s 2444 mikhnadhnatk 48 esntiemtr lksnanngsmathi odyekhyminganaehsmophchruphlxecaprakhunsmedc inwn aerm 3 kha eduxn 12 khxngthukpi 21 aetpccubnidelikcdipaelw pccubnruphlxsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi khxngwdrakhngokhsitaram yngkhngpradisthanxyuinphrawiharhnaphraxuobsthkhxngwd miphukhnekharphnbthuxmakrabihwskkaramakinpccubninchwnghlng miphunarupthayemuxkhrngmichiwitkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi inthanblukprakha ipcdsrangepnruphlxaelarupehmuxnephuxskkarbucha cnepnthiaephrhlay aelaepnexklksnkhxngsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi cnthungpccubn thngkhnadelkaelakhnadihyotmakmay ephuxihsmchuxot khxngsmedcthan odyrupehmuxnsmedcphraphuthacary ot ph rh mrsi khnadihy echnthi wiharsmedcot mulnithismedcphraphuthacary xaephxsikhiw cnghwdnkhrrachsima smedcotxngkhihypangethsnathrrm wdobsth cnghwdpthumthani smedcotxngkhihy wdtalecdyxd cnghwdpracwbkhirikhnth smedcotxngkhihythisudinolk wdsralngerux cnghwdkaycnburi aelathiwdsamkhkhibrrpht cnghwdchlburi epntnechingxrrth aekikhhmayehtuk tablthaxithinthini hmaythungtablemuxngthakhakhaykhxngemuxngehnuxinsmyplaykrungsrixyuthyatxtnkrungrtnoksinthr sungpccubnkhuxaethb 3 hmubanobranrimnanankhux banthaxith banthaesa aelabankhungtaepha inekhtxaephxemuxngxutrditth smynnchuxxaephxbangoph cnghwdxutrditth smynnchuxaekhwngphiichy inpccubn 22 kh emuxngehnuxinthinihmaythungkhaeriykkhxngchawemuxngehnuxinsmyxyuthyacnthungchwngtnkrungrtnoksinthr sunghmaythungemuxngsuokhthy phisnuolk phichy xutrditthinpccubn phicitr kaaephngephchr xnepnklumhwemuxngehnuxinsmyxyuthya hruxbanemuxngthiekhyxyuinekhtaekhwnkhxngsuokhthyaetedim 23 kh hakthuxtamhlkthankhxngphrakhruklyananukulthiklawwamardakhxngthanepnkhnthaxith nangektu thikhunlxngeruxlngmathamahakinaethbphakhklanginchwnghlngtngkrungrtnoksinthr yxmmikhwamsxdkhlxngkbprawtikhxngemuxngxutrditth 24 thiklawwachwngkrungsriaetk aethbxutrditthimidrbphlkrathbephraaxyunxkthangedinthph thaihaethbnimikhnaethbemuxngehnuxmaxasyhlbphymak cnmikartngchumnumphrafangepnemuxngihy inchwnghlngchumnumecaphrafangaetkinpi ph s 2313 25 emuxngthaxithidoryraipphkhnungcnthungchwngtnrtnoksinthr emuxngphrafangsungxyuehnuxthaxiththiekhyepnchumnumihykidthrudothrmcnhmdkhwamsakhylng 26 thaihchwnghlngkhrxbkhrwmardakhxngthancungxphyphyaythinmathamahakinthangaethbemuxngit phakhklang aetchwnghlng tablthaxithkerimmikhwamecriysubmacnsmyrchkalthi 5 xangxing phrayathiphoksa sxn olhnnthn 2419 prawtismedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphwithyakr hna 66 67 khnawithyakarsarsneths mhawithyalyburpha 2554 phraekhruxngebycphakhi xxn iln ekhathungidcak http angsila cs buu ac th it471452 phrathai page2 5 html Archived 2012 03 17 thi ewyaebkaemchchin khawphraekhruxngkhmchdluk 2554 sudyxdkarechaphraaehngpi 52 xxn iln ekhathungidcak http www komchadluek net detail 20091229 42948 sudyxdkarechaphraaehngpi52 html m p p phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha rahwangclacl culskrach 1129 1130 krungethph m p th hnathi 351 phrayathiphoksa sxn olhnnthn 2419 prawtismedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphwithyakr rxngpk cakkhabxkelakhxngchawban t thahlwng klawwa smedcotekidineruxsungkhnannlxylaxyuhnawdikcn smedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr 2466 imthrabsankphimph phrayathiphoksa sxn olhnnthn 2419 prawtismedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphwithyakr hna 9 13 phucdkarxxniln 2545 smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi xxn iln aehlngthima http forum uamulet com view topic aspx bid 2 amp qid 517 ehng xitthacaor phramha 2492 prawtisngekhpsmedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphkvsnpkrn wdrakhngokhsitaram 2541 khxngdiwdrakhng krungethphmhankhr m p th hna 214 ISBN 974 89521 3 4 hxngsmudwdrakhngokhsitaramwrmhawihar 2554 prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi xxn iln aehlngthima http www watrakang com biography php triympway 2495 phrasmedc krungethph m p th hxngsmudwdrakhngokhsitaramwrmhawihar 2554 prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi xxn iln aehlngthima http www watrakang com biography php 15 0 15 1 smmxmrphnthu phraecabrmwngsethx krmphra eruxngtngphrarachakhnaphuihyinkrungrtnoksinthr elm 1 krungethph krmsilpakr 2545 428 hna hna 84 86 ISBN 974 417 530 3 phrayathiphoksa sxn olhnnthn 2419 prawtismedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphwithyakr hna 56 phrayathiphoksa sxn olhnnthn 2419 prawtismedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphwithyakr hna 92 93 18 0 18 1 khaethsnakhxng smedcphraphuthacary ot phrhmrngsi phramhaehng xitthacaor 2492 prawtisngekhpsmedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphkvsnpkrn hna 152 culcxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphra 2465 phrarachhtthelkha khrawesdcmnthlfayehnux inrchkalthi 5 nbinhnngsuxeruxngethiywthitang epnphakhthi 5 krungethph orngphimphithy hna 3 ehng xitthacaor phramha 2492 prawtisngekhpsmedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphkvsnpkrn hna152 153 ethwpraphas makkhlay 2553 khungtaepha cakxditsupccubn phthnakarthangprawtisastr praephniwthnthrrm khwamechux aelaphumipyyathxngthin krungethph orngphimphaehngmhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly ISBN 9789743648847 2543 wthnthrrm phthnakarthangprawtisastr exklksnaelaphumipyya cnghwdxutrditth krungethph krathrwngmhadithy krathrwngsuksathikar krmsilpakr hna 104 wibuly burnarmy 2540 tananemuxngxutrdisth phimphkhrngthi 2 xutrditth orngphimphphi xxfesthxarth m p p phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha rahwangclacl culskrach 1129 1130 krungethph m p th culcxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphra 2465 phrarachhtthelkha khrawesdcmnthlfayehnux inrchkalthi 5 nbinhnngsuxeruxngethiywthitang epnphakhthi 5 krungethph orngphimphithy hna 47hnngsuxxanephimetim aekikhehng xitthacaor phramha 2492 prawtisngekhpsmedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphkvsnpkrn triympway 2495 phrasmedc krungethph m p th phrayathiphoksa sxn olhnnthn 2419 prawtismedcphraphuthacary ot krungethph orngphimphwithyakr thwchchy xisrangkur 2510 smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi wdrakhngokhsitaram nkhrhlwng orngphimphxksrsmy duephim aekikhwikisxrs mingantnchbbekiywkb prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi aemnakphraokhnng phrasmedcwdrakhng phrakhathachinbychr wdrakhngokhsitaramwrmhawihar wdichoywrwiharaehlngkhxmulxun aekikhkhxmulxyangepnthangkarkhxngphraxaramhlwng prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi ewbistxyangepnthangkarkhxngwdrakhngokhsitaramwrmhawihar www watrakang com prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi Archived 2011 09 02 thi ewyaebkaemchchin ewbistxyangepnthangkarkhxngwdxinthrwihar phraxaramhlwng www watindharaviharn org prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi Archived 2010 08 02 thi ewyaebkaemchchin ewbistxyangepnthangkarkhxngwdeksichoywrwihar www watchaiyo com khxmulprawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi cakewbistxun prawtiphraxriysngkhithy ewbistthrrmaithy www dhammathai org prawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi phrasmedcwdrakhng khxmulkhdlxkcakexksartnchbb chiwprawtismedcphraphuthacary ot phrh mrsi cakbnthukkhxng mhaxamatytriphrayathiphoksa sxn olhnnthn ewbistpratusuthrrm www dharma gateway com khxmulsuxwidithsn phaphyntrprawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi lingkesiy ewbistphuththkhun www buddhakhun org phaphyntrprawtismedcphraphuthacary ot ph rh mrsi Archived 2009 07 03 thi ewyaebkaemchchin ewbistphlngcit www palungjit com com khxmmxns miphaphaelasuxekiywkb Somdej Phra Buddhacarya Toh Brahmaramsi kxnhna smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi thdipsmedcphraphuthacary sn ecakhnaxrywasi ph s 2407 ph s 2415 smedcphraphuthacary phuk ekhathungcak https th wikipedia org w index php title smedcphraphuthacary ot ph rh mrsi amp oldid 9753904, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม