fbpx
วิกิพีเดีย

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (อังกฤษ: anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ

มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 งานยุคแรก ๆ ของสมาคมการวิจัยจิตวิญญาณ (Society for Psychical Research) บอกเป็นนัยว่า อัตราร้อยละ 10 ของประชากรจะประสบกับประสาทหลอนอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ส่วนงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ก็ได้ยืนยันประเด็นนี้แล้ว แม้ว่า ความถี่ของอุบัติการณ์นี้แตกต่างกัน แล้วแต่ลักษณะของประสบการณ์และความหมายที่ใช้ของคำว่า "ประสาทหลอน" แต่โดยพื้นฐาน มีหลักฐานเกี่ยวกับอุบัติการณ์นี้ที่ชัดเจนแล้ว

ประเภท

อุบัติการณ์ที่น่าสนใจที่สุด (ซึ่งจะกล่าวถึงเหตุผลต่อไป) ก็คือประสบการณ์ผิดธรรมดาที่เหมือนจริงอย่างยิ่ง

การปรากฏของบุคคลหรือสิ่งของ

ประสบการณ์ผิดธรรมดาที่สามัญอย่างหนึ่งก็คือ การปรากฏของบุคคลหรือสิ่งของ (apparitional experience) ซึ่งจำกัดความได้ว่า เป็นปรากฏการณ์ที่มีการรับรู้ว่ามีบุคคลอื่นหรือว่ามีสิ่งของที่ไม่มีอยู่จริง ๆ ผู้ที่รายงานปรากฏการณ์นี้ด้วยตนเองมักจะรายงานถึงการรับรู้ถึงรูปคล้ายคน แต่ว่าการรับรู้ถึงสัตว์ และถึงวัตถุอื่น ๆ ก็ยังมีด้วย ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ สิ่งที่ปรากฏคล้ายคนโดยมากจะไม่ใช่บุคคลที่คนนั้นรู้จัก และสำหรับในบุคคลที่รู้จัก คนที่ปรากฏนั้นจะไม่ใช่คนที่ตายแล้ว

ประสบการณ์ออกนอกร่าง

คนโดยมากมักจะคิดถึงประสบการณ์ออกนอกร่าง (Out-of-body experiences) ว่ามีความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ใกล้ตาย (near-death experience) แต่จริง ๆ แล้ว หลักฐานกลับชี้ว่า ประสบการณ์ออกนอกร่างโดยมากไม่ได้เกิดขึ้นตอนที่ใกล้ตาย แต่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความตื่นตัวระดับที่สูงมากหรือระดับที่ต่ำมาก

ดร. แม็คเคลียรี ได้เสนอว่า ระดับความตื่นตัวที่เหมือนจะขัดแย้งกันอย่างนี้สามารถอธิบายได้ว่า การนอนหลับไม่ใช่เกิดขึ้นในภาวะที่มีความตื่นตัวต่ำและมีความรู้สึกทางประสาทสัมผัสน้อยลงโดยทั่วไปเพียงเท่านั้น แต่ยังเกิดในภาวะที่มีความเครียดจัดและมีความตื่นตัวสูงด้วย ถ้าอธิบายโดยใช้แนวทางนี้ ก็จะอธิบายได้ว่า ประสบการณ์ออกนอกร่างเกิดขึ้นเพราะกระบวนการนอนหลับขั้นที่ 1 ได้เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ยังตื่นอยู่

ประสบการณ์ออกนอกร่างสามารถพิจารณาว่าเป็นอาการประสาทหลอน[ต้องการอ้างอิง] เพราะเป็นประสบการณ์รับรู้หรือคล้ายการรับรู้ ซึ่งสิ่งที่รับรู้ไม่ได้มีอยู่จริง ๆ ทางกายภาพ ดังนั้น ข้อมูลประสาทสัมผัสจริง ๆ ที่บุคคลนั้นได้รับ (ถ้ามี) ในช่วงประสบการณ์ ก็จะไม่ตรงกลับกับการรับรู้ถึงโลกรอบตัวของบุคคลนั้น

เหมือนกับประสบการณ์เกี่ยวกับประสาทหลอนอย่างอื่น ๆ ผลสำรวจประชากรพบว่า ประสบการณ์นี้ค่อนข้างสามัญ โดยมีความชุกที่อัตราร้อยละ 15-20 ค่าที่แตกต่างกันเชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะความต่างของกลุ่มประชากรที่สุ่มตรวจสอบ และความแตกต่างของความหมายของคำว่า ประสบการณ์ออกนอกร่าง ที่ใช้ในการสำรวจ

ความฝันและความฝันรู้ตัว

ข้อมูลเพิ่มเติม: ความฝัน

ความฝันได้รับคำนิยามจากชนบางพวก (เช่นสารานุกรมบริตานิกา) ว่าเป็นประสบการณ์คล้ายประสาทหลอนในช่วงที่นอน

ส่วน ความฝันรู้ตัว หรือ ความฝันชัดเจน (อังกฤษ: lucid dream) มีนิยามคือ เป็นความฝันที่ผู้ฝันรู้ตัวว่ากำลังหลับและฝันอยู่ นายแพทย์ชาวดัตช์ชื่อว่าเฟร็ดเดอริก แวน อีเด็นใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า lucid dream เป็นคนแรก เป็นผู้ได้ศึกษาความฝันประเภทนี้โดยศึกษาความฝันของตนเอง คำว่า lucid มุ่งหมายว่า ผู้ฝันมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะปัจจุบันของตน ไม่ใช่หมายถึงว่า ความฝันนั้นมีความชัดเจนขนาดไหน แม้เป็นเช่นนั้น ความฝันรู้ตัวก็มีลักษณะอย่างหนึ่งคือ มีระดับความชัดเจนสูงเหมือนกับกำลังประสบเหตุการณ์นั้นจริง ๆ จนกระทั่งว่าผู้ฝันอาจจะถึงกับใช้เวลาในการเช็คดู และชมสิ่งแวดล้อมที่กำลังประสบว่า เหมือนกันกับที่พบในชีวิตจริง ๆ

ความฝันรู้ตัวเกิดขึ้นเมื่อกำลังหลับอยู่ แต่บางครั้งพิจารณาว่าเป็นอาการประสาทหลอน เหมือนกับความฝันที่ไม่รู้ตัวแต่มีความชัดเจนสูงเหมือนกับเกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็นอาการประสาทหลอน ซึ่งเป็นอาการที่มีนิยามว่า "ประสบการณ์เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสจริง ๆ แต่ความจริงไม่มีการกระตุ้นที่เหมาะสมที่ประสาทสัมผัส"

การตื่นนอนเทียม

ส่วน การตื่นนอนเทียม (อังกฤษ: False awakenings) หมายถึงบุคคลนั้นเหมือนกับจะตื่นขึ้น จากการฝันปกติหรือฝันแบบรู้ตัว แต่จริง ๆ แล้ว ยังหลับอยู่ บางครั้งประสบการณ์นี้จะเหมือนจริงมาก (เช่นเหมือนกับจะตื่นขึ้นในห้องนอนของตน) จนกระทั่งว่า ความรู้สึกตัวว่ากำลังฝันอยู่ จะไม่ปรากฏโดยทันที และบางครั้งจะไม่รู้ตัวจนกระทั่งตื่นขึ้นจริง ๆ แล้วจึงรู้ตัวว่า สิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นเป็นอาการประสาทหลอน ประสบการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยในบุคคลที่ฝึกการฝันแบบรู้ตัว แต่ว่า ก็เกิดขึ้นเองด้วย และมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการผีอำ (อังกฤษ: sleep paralysis)

ประสาทหลอนที่ทำให้เกิดขึ้นในห้องแล็บ

อาการประสาทหลอนหรือประสบการณ์ผิดธรรมดาที่เหมือนกับในคนโรคจิตเหล่านี้ เป็นความเปลี่ยนแปลงของการรับรู้เหตุการณ์ตามความเป็นจริงในระดับสูง แต่จริง ๆ แล้ว การรับรู้โดยทั่ว ๆ ไปต้องอาศัยการตีความ คือสิ่งที่เรารับรู้นั้นมีอิทธิพลอย่างสูงจากประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อน และจากความคาดหวังของเรา บุคคลที่มักจะมีอาการประสาทหลอน คือบุคคลที่ได้คะแนนสูงในการทดสอบทางจิตวิทยาที่วัดความบวกของ schizotypy ผู้มักจะแจ้งถึงตัวกระตุ้น ที่ไม่ได้มีจริง ๆ ภายใต้สภาพการทดลองที่มีการรับรู้ที่คลุมเครือ

ภายใต้การทดสอบเพื่อตรวจจับคำที่กำลังเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็วทางตา นักศึกษาชั้นปริญญาตรีที่ได้คะแนนสูงจากการวัดความบวกของ schizotypy จะมีอัตราสูงในการรับรู้คำที่ไม่มี คือแจ้งว่า เห็นคำที่ไม่ได้ปรากฏในระหว่างการทดลอง การได้คะแนนสูงเมื่อวัดความบวกของ schizotypy ดูเหมือนจะเป็นตัวพยากรณ์การรับรู้ที่ไม่ตรงกับความจริงในการทดลองในห้องแล็บ แต่ตัวแปรบางอย่างเช่น จำนวนตัวกระตุ้น (perceptual load) และความถี่ (คือความเร็ว) ของตัวกระตุ้นที่ปรากฏ ก็มีควาสำคัญระดับวิกฤติเพื่อให้เกิดการรับรู้ที่ผิดไปจากความจริงด้วย คือ ถ้าการตรวจจับสิ่งที่ต้องการหาไม่ต้องใช้ความพยายามมาก หรือถ้าการรับรู้ถึงสิ่งนั้นต้องอาศัยการแปลผลในระบบต่าง ๆ ของสมองมาก ปรากฏการณ์นี้ก็จะไม่เกิดขึ้น

เสียงหลอน

เสียงหลอน โดยเฉพาะที่เป็นเสียงพูด มักเข้าใจกันว่าเป็นอาการเฉพาะอย่างหนึ่งของคนไข้โรคจิตเภท แต่จริง ๆ แล้ว บุคคลปกติก็รายงานถึงการได้ยินเสียงหลอนในระดับที่น่าแปลกใจเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยเบ็นทอลล์และนักวิจัยสเลด พบว่า อัตราร้อยละ 15.4 ของนักศึกษาชายจำนวน 150 คน กล้าที่จะยืนยันความนี้ว่า "ในอดีต ผมได้ประสบการได้ยินเสียงของคน แต่กลับพบว่าไม่มีคนอื่นในที่นั้น" นักวิจัยทั้งสองยังกล่าวต่อไปอีกว่า

... ไม่น้อยกว่า 17.5% (ของนักศึกษา) พร้อมที่จะตอบคำถามนี้ว่า "ผมบ่อยครั้งได้ยินเสียงที่กล่าวความคิดของผมออกมาให้ได้ยิน" ด้วยคำตอบว่า "เป็นอย่างนี้จริง ๆ " (แต่ว่า จริง ๆ แล้ว) การได้ยินแบบสุดท้ายนี้ปกติจะได้รับการพิจารณาว่า เป็นอาการเบื้องต้นของโรคจิตเภท

นักวิจัยกรีนและ ดร. แม็คเครียรี พบว่า 14% ผู้ตอบคำถามอาสาสมัครแจ้งการได้ยินหลอนแบบล้วน ๆ และเกือบครึ่งหนึ่งของบุคคลเหล่านั้น ได้ยินเสียงพูดทั้งที่ชัดเจนและไม่ชัดเจน ตัวอย่างหนึ่งก็คือนายวิศวกรคนหนึ่งซึ่งต้องทำการตัดสินใจทางอาชีพที่ยากอย่างหนึ่ง ผู้ซึ่งเมื่อกำลังอยู่ในโรงหนังได้ยินเสียงพูดที่ "ดังและชัดเจน" ว่า "คุณรู้ไหมว่า คุณทำอย่างนี้ไม่ได้หรอก" นายวิศวกรคนนั้นกล่าวเพิ่มอีกด้วยว่า

เสียงนั้นชัดเจนกังวานดีจนกระทั่งว่าผมต้องหันไปมองเพื่อนของผม ผู้ที่กำลังดูหนังอยู่อย่างเพลิดเพลิน ผมรู้สึกอัศจรรย์ใจแต่ก็สบายใจด้วยเมื่อมีความชัดเจนแล้วว่า มีผมคนเดียวเท่านั้นที่ได้ยินเสียงนั้น

กรณีนี้เป็นเหมือนตัวอย่างที่นักวิจัยโพซี่และลอสช์ เรียกว่า "ได้ยินเสียงปลอบโยนหรือให้คำแนะนำที่ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นความคิดของตนเอง" ซึ่งพวกเขาประมาณว่า ร้อยละ 10 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอเมริกันในกลุ่มการทดสอบของพวกเขาได้พบกับประสบการณ์เช่นนี้

ความรู้สึกว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย

นี้เป็นประสบการณ์ที่ขัดแย้งกันที่บุคคลมีความรู้สึกที่ชัดเจนว่า มีคนอื่นอยู่ด้วย เป็นคนที่บางครั้ง รู้จัก บางครั้ง ไม่รู้จัก แต่ว่า ไม่ได้มีความรู้สึกอะไร ๆ จากประสาทสัมผัส

นักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวอเมริกันยุคศตวรรษที่ 19 ชื่อว่า วิลเลียม เจมส์ พรรณนาประสบการณ์เช่นนี้ไว้ว่า

จากคำของคนที่มีประสบการณ์นี้ ว่าเป็นความรู้สึกในใจที่แน่นอนและมั่นใจ ประกอบพร้อมกับความเชื่อว่ามีบุคคลนั้นอยู่ในที่นั้นจริง ๆ เป็นความเชื่อที่มีกำลังเท่าที่จะมีได้เหมือนได้รับข้อมูลทางประสาทสัมผัส แม้ว่า จริง ๆ แล้ว จะไม่มีข้อมูลจากประสาทสัมผัส ปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนจะเกิดขึ้นจากความคิดล้วน ๆ แต่ที่มาประกอบพร้อมกับกับความรู้สึกเร่งเร้าที่ปกติจะมากับความรู้สึกทางประสาทสัมผัส

คำอธิบายต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของประสบการณ์ประเภทนี้

สามีของดิฉันเสียชีวิตไปในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1945 ต่อมาวันหนึ่งหลังจากนั้นอีก 26 ปี ในขณะที่ดิฉันอยู่ที่โบสถ์ ดิฉันรู้สึกว่าเขากำลังยืนอยู่ข้าง ๆ ดิฉันเมื่อกำลังร้องเพลงสวดอยู่ ดิฉันรู้สึกว่า ถ้าหันหน้าไปทางนั้นก็จะเห็นเขา ความรู้สึกนี้มีกำลังมากจนดิฉันถึงกับร้องไห้ และดิฉันก็ไม่ได้คิดถึงเขาจนกระทั่งรู้สึกว่าเขามาอยู่ที่ข้าง ๆ ดิฉันไม่ได้เคยมีความรู้สึกแบบนี้ และความรู้สึกนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกตั้งแต่นั้น

ประสบการณ์เช่นนี้มีลักษณะเหมือนกับประสาทหลอนยกเว้นอยู่อย่างเดียว คือ นักวิจัยสเลดและเบ็นทอลล์ได้เสนอความหมายของคำว่า ประสาทหลอน (อังกฤษ: hallucination) ไว้ว่า

ประสบการณ์เหมือนกับการรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่

  1. เกิดโดยไม่มีตัวกระตุ้นที่เหมาะสม
  2. มีกำลังหรือผลเหมือนกับมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสนั้นจริง ๆ
  3. ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจใต้การบังคับของคนที่ประสบความรู้สึกเช่นนั้น

ประสบการณ์ที่เพิ่งกล่าวถึงมีลักษณะที่ 2 และที่ 3 ของคำนิยามนั้น นอกจากนั้น อาจจะสามารถเพิ่มลักษณะอีกอย่างหนึ่งได้ด้วย คือบุคคลที่เหมือนกับจะมี จะอยู่ที่ตำแหน่งหนึ่ง ๆ ที่ชัดเจนภายในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยนัยนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า ประสบการณ์นี้มีลักษณะหลอนมากกว่าประสบการณ์อย่างอื่น ๆ เช่น สิ่งที่เห็นก่อนจะหลับหรือก่อนจะตื่น ที่อาจจะรู้สึกโดยเป็นวัตถุภายนอก แต่เป็นวัตถุภายนอกที่อยู่ในจิตใจของตน

ความรู้สึกถึงคนตาย

ความรู้สึกถึงญาติที่พึ่งตาย เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกที่ชัดเจน หรืออาจจะเป็นความรู้สึกแบบคลุมเครือว่ามีอยู่ นักวิจัยรีซ ทำการสัมภาษณ์คนม่าย 293 คนผู้อาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศเวลส์ พบว่า 14% มีประสาทหลอนทางตาเกี่ยวกับคู่ครองที่จากไป 13.3% มีประสาทหลอนทางหู และ 2.7% มีประสาทหลอนทางสัมผัส แต่ว่า มีความเหลื่อมล้ำกันบ้างในระหว่างกลุ่มบุคคลเหล่านั้น เพราะว่าบางคนมีประสาทหลอนมากกว่าทางประสาทสัมผัสเดียว ที่น่าสนใจก็คือ ในหัวข้อก่อน (ความรู้สึกว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย) มี 46.7% ของผู้ที่ได้รับการสำรวจทั้งหมด ที่แจ้งความรู้สึกถึงคู่ครองที่ตายไป และแม้งานศึกษาอื่น ๆ ที่ศึกษาความรู้สึกว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย ก็พบว่าประมาณ 50% มีความรู้สึกถึงคู่ครองที่ตายไปแล้วเหมือนกัน

การมีความรู้สึกถึงคนที่ตายไปแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นข้ามเชื้อชาติ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่มีการถือเอาต่าง ๆ กันตามวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษายุคต้น ๆ ที่สุดงานหนึ่งที่พิมพ์ในวารสารชาวตะวันตกที่มีการตรวจสอบโดยผู้มีความชำนาญสาขาเดียวกัน ได้ทำการตรวจสอบประสบการณ์ของคนม่ายชาวญี่ปุ่น แล้วพบว่า 90% มีความรู้สึกถึงคู่ครองที่ตายไป แต่ว่า โดยเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของชาวตะวันตก คนม่ายเหล่านั้นไม่ได้วิตกกังวลถึงความผิดปกติทางจิตของตน แต่อธิบายปรากฏการณ์นั้นตามคำสอนศาสนาของตน

ในโลกตะวันตก งานศึกษาที่กล่าวถึงปรากฏการณ์นี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้รับอิทธิพลจากความคิดเชิงจิตวิเคราะห์ และมักจะพิจารณาปรากฏการณ์เหล่านั้นว่าเป็นพฤติกรรมเชิงปฏิเสธ ตามเชิงการวิเคราะห์ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ที่กล่าวไว้ในบทความ "Mourning and Melancholia (การไว้ทุกข์กับความหดหู่เศร้าใจ)" โดยเป็นการ "ยึดถือบุคคล (หรือวัตถุ) นั้นไว้ สื่อโดยอาการโรคจิตที่เป็นประสาทหลอน ที่เป็นไปตามความอยากจะให้เป็นอย่างนั้น"

ส่วนในช่วงทศวรรษที่พึ่งผ่าน ๆ มานี้ โดยต่อยอดหลักฐานสากลว่าประสบการณ์เช่นนี้เป็นการปรับตัว สมมุติฐานว่าเป็นความสัมพันธ์ทางใจที่ยังไม่ขาด ที่เสนอโดยคณะของนักวิจัยคลาส (1996) เสนอว่า ประสบการณ์เช่นนี้สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเรื่องปกติ และอาจเป็นตัวช่วยให้เกิดการปรับตัว แม้ในวัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้ด้วย

ดังนั้น ตั้งแต่งานศึกษาของคลาสมา ได้มีงานศึกษาต่อ ๆ มา ที่ได้พรรณนาโดยมากถึงประโยชน์ที่ได้จากประสบการณ์อย่างนี้ โดยเฉพาะเมื่อสามารถสร้างความเข้าใจได้โดยใช้คำสอนของศาสนา แม้ว่า โดยมากประสบการณ์อย่างนี้มักจะทำให้ผู้ประสบเกิดความสบายใจ แต่ว่า ยังมีบุคคลจำนวนหนึ่งแม้จะน้อย ที่ได้ประสบการณ์ที่น่าพรั่นพรึง ดังนั้น ก็ยังมีงานวิจัยที่กำลังเป็นไปอยู่ เช่นของนักวิจัยฟิลด์และนักวิจัยอื่น ๆ เพื่อศึกษาว่า เมื่อไรความสัมพันธ์ทางใจที่ยังไม่ขาดอย่างนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประสบ และเมื่อไร อาจจะมีผลเสีย

ผลต่อทฤษฎีต่าง ๆ

ทฤษฎีทางจิตวิทยา

ความสำคัญของประสบการณ์ผิดธรรมดาเช่นประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายที่มีต่อทฤษฎีทางจิตวิทยา อยู่ที่ความเกี่ยวข้องของมันต่อทฤษฎีที่วิเคราะห์ว่าเป็นอาการของโรค และทฤษฎีที่วิเคราะห์ว่ามีการเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ในแต่ละบุคคล ในทฤษฎีว่าเป็นโรค ภาวะโรคจิตต่าง ๆ เช่นภาวะที่มีในโรคจิตเภทหรือในโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) เป็นอาการของโรค ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะแบ่งกลุ่มบุคคลออกเป็นสองส่วน คือเป็นพวกที่มีหรือไม่มีโรค เหมือนกับที่บุคคลมีหรือไม่มีโรคทางกายเช่นวัณโรคเป็นต้น

นัยตรงกันข้ามกัน ในทฤษฎีว่ามีการเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ในแต่ละบุคคล ประชากรทั้งหมดมีประสบการณ์นี้ในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งมีคำเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า psychoticism (โดย H.J.Eysenck), schizotypy (โดย Gordon Claridge), หรือ psychosis-proneness

การเกิดขึ้นเองของประสาทหลอนแม้ในบุคคลที่มีสุขภาพดี ไม่ได้เสพยา หรือมีสภาวะร่างกายที่ผิดปกติแบบชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า ดูเหมือนจะเป็นหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีว่าประสาทหลอนเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ในแต่ละบุคคล ถ้าจะอธิบายเป็นอย่างอื่นจากทฤษฎีนี้ ก็จะต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการแอบแฝงของโรค โดยที่ประสบการณ์เหล่านี้เป็นอาการของโรคหรือเป็นอาการก่อนโรคจะเกิดขึ้น แต่นี่เป็นสมมุติฐานที่ต้องอาศัยหลักฐานอื่นที่ยังไม่มี มาช่วยสนับสนุน

ทฤษฎีทางปรัชญา

หลักฐานจากประสบการณ์ประสาทหลอน เป็นข้อยืนยันที่มักจะใช้ในการสนับสนุนทฤษฎีสัจนิยมโดยตัวแทนเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีสัจนิยมโดยตรง ทฤษฎีสัจนิยมโดยตัวแทนเสนอว่า เมื่อมีการรับรู้คุณลักษณะของโลก เราไม่ได้รับรู้คุณลักษณะเหล่านั้นโดยตรง เหมือนกับที่สามัญสำนึกอาจจะบอกเรา[ต้องการอ้างอิง], แต่เราสามารถรับรู้ตัวแทน (หรือแบบจำลอง) ของคุณลักษณะของโลกที่มีอยู่ในใจเพียงเท่านั้น ข้อมูลตัวแทนนั้นจะแม่นยำแค่ไหนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ขณะนั้น กับสุขภาพ และกับองค์ประกอบอื่น ๆ

โดยนัยตรงกันข้าม ทฤษฎีสัจนิยมโดยตรงเสนอว่า ความรู้สึกการรับรู้ส่วนที่ไม่ประกอบด้วยความคิดตรงกับความจริงของโลก และเมื่อมีการรับรู้คุณลักษณะของโลก ให้พึงพิจารณาว่า เรามีการรับรู้โลกนั้นโดยตรง โดยไม่ผ่านตัวแทนอะไร ๆ ที่อยู่ในใจ

แต่ว่า มีความชัดเจนแล้วว่า เหมือนกับประสบการณ์ที่กล่าวถึงในการปรากฏของบุคคลหรือสิ่งของ โลกที่บุคคลนั้นกำลังรับรู้ และโลกที่มีอยู่จริง ๆ ในขณะนั้น ไม่เหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่สำหรับบุคคลนั้น ประสบการณ์ผิดธรรมดานั้นอาจจะไม่มีความแตกต่างจากการรับรู้แบบปกติธรรมดาอะไร ๆ เลย ดร. แม็คเคลียรี เสนอว่า ปรากฏการณ์ที่เห็นได้จากประสบการณ์เช่นนี้ ยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีสัจนิยมโดยตัวแทนเหนือทฤษฎีสัจนิยมโดยตรง

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Gurney, E., Myers, F.W.H. and Podmore, F. (1886) . Phantasms of the Living, Vols. I and II. London: Trubner and Co..
  2. Sidgwick, Eleanor; Johnson, Alice; and others (1894) . Report on the Census of Hallucinations, London: Proceedings of the Society for Psychical Research, Vol. X.
  3. See Slade, P.D. and Bentall, R.P. (1988) . Sensory Deception: a scientific analysis of hallucination. London: Croom Helm, for a review.
  4. See, for example, Green, C., and McCreery, C. (1975) . Apparitions. London: Hamish Hamilton, pp. 192-196.
  5. Apparitions, pp. 197-199.
  6. Apparitions, pp. 178-183.
  7. Irwin, H.J. (1985) . Flight of Mind: a psychological study of the out-of-body experience. Metuchen, New Jersey: The Scarecrow Press.
  8. McCreery, C. (2008) . Dreams and psychosis: a new look at an old hypothesis. Psychological Paper No. 2008-1. Oxford: Oxford Forum. Online PDF 2019-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Oswald, I. (1962) . Sleeping and Waking: Physiology and Psychology. Amsterdam: Elsevier.
  10. See Irwin, op.cit., for a review.
  11. "Dream".
  12. van Eeden, F. (1913) . A study of dreams. Proceedings of the Society for Psychical Research, 26, Part 47, pp. 431-461.
  13. See Green, C. (1968) . Lucid Dreams. London: Hamish Hamilton, for examples.
  14. Drever, (1952) . A Dictionary of Psychology. London: Penguin.
  15. Cf. Green C. and McCreery C. (1994) . Lucid Dreaming: the Paradox of Consciousness During Sleep. London: Routledge. Chapter 7.
  16. อาการผีอำ (อังกฤษ: sleep paralysis) เป็นปรากฏการณ์ในขณะที่ใกล้จะหลับหรือกำลังตื่น ที่บุคคลนั้นเคลื่อนไหวไม่ได้
  17. schizotypy เป็นความคิดทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ที่ระบุบุคลิกภาพและประสบการณ์ต่าง ๆ ของบุคคลเป็นแนวต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่สภาวะปกติแต่ไม่สนใจใครมีความคิดสร้างสรรค์สูง จนกระทั่งถึงสภาวะแบบสุด ๆ ที่มักจะเกี่ยวข้องกับโรคจิต โดยเฉพาะโรคจิตเภท
  18. Bentall R.P, & Slade P.D. (1985) . Reality testing and auditory hallucinations: a signal detection analysis. British Journal of Clinical Psychology, 24, 159 -169.
  19. Tsakanikos, E. & Reed, P. (2005) . Seeing words that are not there: detection biases in psychometric schizotypy. British Journal of Clinical Psychology, 44, 295-299
  20. Tsakanikos, E. & Reed, P. (2005) . Do positive schizotypal symptoms predict false perceptual experiences in non-clinical population? Journal of Nervous and Mental Diseases, 193, 809-812.
  21. Tsakanikos, E. (2006) . Perceptual biases and positive schizotypy: the role of perceptual load. Personality and Individual Differences, 41, 951-958.
  22. Reed, P., Wakefield, D., Harris, J., Parry, J., Cella, M. & Tsakanikos, E. (2008) . Seeing non-existing events: effects of environmental conditions, schizotypal symptoms and sub-clinical characteristics. Journal of Behavior Therapy & Experimental Psychiatry, 39, 276-291.
  23. Tsakanikos, E. (2006) . Perceptual biases and positive schizotypy: the role of perceptual load. Personality and Individual Differences, 41, 951-958.
  24. Bentall R.P. and Slade P.D. (1985) . Reliability of a scale measuring disposition towards hallucination: a brief report. Personality and Individual Differences, 6, 527 529.
  25. Green and McCreery, Apparitions, op.cit. p.85.
  26. Apparitions, pp. 85-86.
  27. Posey, T.B. and Losch, M.E. (1983) . Auditory hallucinations of hearing voices in 375 normal subjects. Imagination, Cognition and Personality, 3, 99-113.
  28. James, W. (1890; 1950) . Principles of Psychology, Volume II. New York, Dover Publications, pp. 322-3.
  29. Green and McCreery, Apparitions, op.cit., p.118.
  30. Slade and Bentall, op.cit., p.23.
  31. Leaning, F.E. (1925) . An introductory study of hypnagogic phenomena. Proceedings of the Society for Psychical Research, 35, 289-409.
  32. Mavromatis, A. (1987) . Hypnagogia: the Unique State of Consciousness Between Wakefulness and Sleep. London: Routledge and Kegan Paul.
  33. Rees, W.D. (1971) . The hallucinations of widowhood. British Medical Journal, 4, 37-41.
  34. Datson, S.L., & Marwit, S.J. (1997) . Personality constructs and perceived presence of deceased loved ones. Death Studies, 21, 131-146.
  35. Olson, P.R., Suddeth, J.A., Peterson, P.A., & Egelhoff, C. (1985) . Hallucinations of widowhood. Journal of the American Geriatric Society, "33", 543-547.
  36. Steffen, E., & Coyle, A. (2012) . 'Sense of presence' experiences in bereavement and their relationship to mental health: A critical examination of a continuing controversy. In C. Murray (Ed.) . Mental health and anomalous experience, New York: Nova Science Publishers.
  37. Yamamoto, J., Okonogi, K., I wasaki, T., & Yoshimura, S. (1969) . Mourning in Japan. American Journal of Psychiatry, 125, 1660-1665.
  38. Freud, S. (1917) . Mourning and melancholia. In J. Strachey (Ed. and Trans.) . The standard edition of the complete psychological works of Sigmund Freud (Vol. XIV) (pp. 252-268) . London: Hogarth Press.
  39. Klass, D., Silverman, P.R., & Nickman, S. (Eds.) . (1996) . Continuing bonds: New understandings of grief. Bristol: Taylor & Francis.
  40. Kwilecki, S. (2011) . Ghosts, meaning, and faith: After-death communications in bereavement narratives. Death Studies", 35, 219-243.
  41. Steffen, E., & Coyle, A. (2011) . Sense of presence experiences and meaning-making in bereavement: A qualitative analysis.Death Studies, 35, 579-609.
  42. Field, N.P., & Filanosky, C. (2010) . Continuing bonds, risk factors for complicated grief, and adjustment to bereavement. Death Studies, 34, 1-29.
  43. For a discussion of the concept of schizotypy and its variants, cf. McCreery, C. and Claridge, G. (2002) . Healthy schizotypy: the case of out-of-the-body experiences. Personality and Individual Differences, 32, 141-154.
  44. Berrios G E (2005) On Fantastic Apparitions of Vision and Johannes Müller. History of Psychiatry 16: 229-246.
  45. McCreery, C. (2006) . "Perception and Hallucination: the Case for Continuity." Philosophical Paper No. 2006-1. Oxford: Oxford Forum. Online PDF

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Aleman, A & Laroi, F. (2008) . Hallucinations: the science of idiosyncratic perception. Washington: American Psychological Association.
  • Birchwood, Max J., Chadwick, Paul, and Trower, Peter (1996) . Cognitive Therapy for Delusions, Voices and Paranoia. New York: John Wiley & Sons Inc.
  • Cardeña, E., Lynn, S.J., & Krippner, S. (2000) . Varieties of anomalous experience: Examining the scientific evidence. American Psychological Association.
  • Johnson, Fred H., (1978) . The Anatomy of Hallucinations. Chicago: Nelson-Hall.
  • Murray, C. (Ed.) (2012) . Mental health and anomalous experience. New York: Nova Science Publishers.
  • Pearson, R.S. (2005) The Experience of Hallucinations in Religious Practice. Seattle: Telical Books.
  • Aleman, A & Laroi, F. (2008) . Hallucinations: the science of idiosyncratic perception. Washington: American Psychological Association.

ประสบการณ, ดธรรมดา, งกฤษ, anomalous, experiences, หร, อท, เร, ยก, ประสาทหลอนไม, าย, เก, ดข, นได, ในบ, คคลท, ขภาพกายและใจด, แม, ไม, จจ, ยภายนอกช, วคราวอย, างอ, เช, นความล, การใช, สารออกฤทธ, อจ, ตประสาท, หร, อภาวะขาดความร, กจากประสาทส, มผ, สป, จจ, นเป, นท, ยอมร,. prasbkarnphidthrrmda xngkvs anomalous experiences hruxthieriyk prasathhlxnimray ekidkhunidinbukhkhlthimisukhphaphkayaelaicdi aemimmipccyphaynxkchwkhrawxyangxun echnkhwamla karichsarxxkvththitxcitprasath hruxphawakhadkhwamrusukcakprasathsmphspccubnepnthiyxmrbkwangkhwangaelwwa prasbkarnprasathhlxnimidekidechphaainkhnikhorkhcithruxbukhkhlpktithimiphawaphidpktiethann aetyngekidkhunexnginkhnpktiinxtraswnthisakhy thng thimisukhphaphthidiaelaimidmiphawaekhriydhruxkhwamphidpktixyangxun mikarephimphunhlkthankhxngprasbkarnaebbni mamakwahnungstwrrsaelw karsuksaeruxngprasathhlxnthiimmiphlrayerimkhuntngaetpi kh s 1886 nganyukhaerk khxngsmakhmkarwicycitwiyyan Society for Psychical Research 1 2 bxkepnnywa xtrarxyla 10 khxngprachakrcaprasbkbprasathhlxnxyangnxykhrnghnunginchiwit swnnganwicyerw nikidyunynpraednniaelw aemwa khwamthikhxngxubtikarnniaetktangkn aelwaetlksnakhxngprasbkarnaelakhwamhmaythiichkhxngkhawa prasathhlxn aetodyphunthan mihlkthanekiywkbxubtikarnnithichdecnaelw 3 enuxha 1 praephth 1 1 karpraktkhxngbukhkhlhruxsingkhxng 1 2 prasbkarnxxknxkrang 1 3 khwamfnaelakhwamfnrutw 1 3 1 kartunnxnethiym 1 4 prasathhlxnthithaihekidkhuninhxngaelb 1 5 esiynghlxn 1 6 khwamrusukwamikhnxunxyudwy 1 7 khwamrusukthungkhntay 2 phltxthvsditang 2 1 thvsdithangcitwithya 2 2 thvsdithangprchya 3 duephim 4 echingxrrthaelaxangxing 5 aehlngkhxmulxunpraephth aekikhxubtikarnthinasnicthisud sungcaklawthungehtuphltxip kkhuxprasbkarnphidthrrmdathiehmuxncringxyangying karpraktkhxngbukhkhlhruxsingkhxng aekikh prasbkarnphidthrrmdathisamyxyanghnungkkhux karpraktkhxngbukhkhlhruxsingkhxng apparitional experience sungcakdkhwamidwa epnpraktkarnthimikarrbruwamibukhkhlxunhruxwamisingkhxngthiimmixyucring phuthiraynganpraktkarnnidwytnexngmkcaraynganthungkarrbruthungrupkhlaykhn aetwakarrbruthungstw 4 aelathungwtthuxun kyngmidwy 5 thinasnicxyanghnungkkhux singthipraktkhlaykhnodymakcaimichbukhkhlthikhnnnruck aelasahrbinbukhkhlthiruck khnthipraktnncaimichkhnthitayaelw 6 prasbkarnxxknxkrang aekikh khnodymakmkcakhidthungprasbkarnxxknxkrang Out of body experiences wamikhwamekiywkhxngkbprasbkarnikltay near death experience aetcring aelw hlkthanklbchiwa prasbkarnxxknxkrangodymakimidekidkhuntxnthiikltay aetcaekidkhuninsthankarnthimikhwamtuntwradbthisungmakhruxradbthitamak 7 dr aemkhekhliyri 8 idesnxwa radbkhwamtuntwthiehmuxncakhdaeyngknxyangnisamarthxthibayidwa karnxnhlbimichekidkhuninphawathimikhwamtuntwtaaelamikhwamrusukthangprasathsmphsnxylngodythwipephiyngethann aetyngekidinphawathimikhwamekhriydcdaelamikhwamtuntwsungdwy 9 thaxthibayodyichaenwthangni kcaxthibayidwa prasbkarnxxknxkrangekidkhunephraakrabwnkarnxnhlbkhnthi 1 idekidkhunthng thiyngtunxyuprasbkarnxxknxkrangsamarthphicarnawaepnxakarprasathhlxn txngkarxangxing ephraaepnprasbkarnrbruhruxkhlaykarrbru sungsingthirbruimidmixyucring thangkayphaph dngnn khxmulprasathsmphscring thibukhkhlnnidrb thami inchwngprasbkarn kcaimtrngklbkbkarrbruthungolkrxbtwkhxngbukhkhlnnehmuxnkbprasbkarnekiywkbprasathhlxnxyangxun phlsarwcprachakrphbwa prasbkarnnikhxnkhangsamy odymikhwamchukthixtrarxyla 15 20 10 khathiaetktangknechuxwaekidkhunephraakhwamtangkhxngklumprachakrthisumtrwcsxb aelakhwamaetktangkhxngkhwamhmaykhxngkhawa prasbkarnxxknxkrang thiichinkarsarwc khwamfnaelakhwamfnrutw aekikh khxmulephimetim khwamfn khwamfnidrbkhaniyamcakchnbangphwk echnsaranukrmbritanika waepnprasbkarnkhlayprasathhlxninchwngthinxn 11 swn khwamfnrutw hrux khwamfnchdecn xngkvs lucid dream miniyamkhux epnkhwamfnthiphufnrutwwakalnghlbaelafnxyu nayaephthychawdtchchuxwaefrdedxrik aewn xiednichsphthphasaxngkvswa lucid dream epnkhnaerk 12 epnphuidsuksakhwamfnpraephthniodysuksakhwamfnkhxngtnexng khawa lucid munghmaywa phufnmikhwamekhaicekiywkbsphawapccubnkhxngtn imichhmaythungwa khwamfnnnmikhwamchdecnkhnadihn aemepnechnnn khwamfnrutwkmilksnaxyanghnungkhux miradbkhwamchdecnsungehmuxnkbkalngprasbehtukarnnncring cnkrathngwaphufnxaccathungkbichewlainkarechkhdu aelachmsingaewdlxmthikalngprasbwa ehmuxnknkbthiphbinchiwitcring 13 khwamfnrutwekidkhunemuxkalnghlbxyu aetbangkhrngphicarnawaepnxakarprasathhlxn ehmuxnkbkhwamfnthiimrutwaetmikhwamchdecnsungehmuxnkbekidkhuncring sungphicarnaidwaepnxakarprasathhlxn sungepnxakarthiminiyamwa prasbkarnehmuxnkbsingthiekidkhunthangprasathsmphscring aetkhwamcringimmikarkratunthiehmaasmthiprasathsmphs 14 kartunnxnethiym aekikh swn kartunnxnethiym xngkvs False awakenings hmaythungbukhkhlnnehmuxnkbcatunkhun cakkarfnpktihruxfnaebbrutw aetcring aelw ynghlbxyu 15 bangkhrngprasbkarnnicaehmuxncringmak echnehmuxnkbcatunkhuninhxngnxnkhxngtn cnkrathngwa khwamrusuktwwakalngfnxyu caimpraktodythnthi aelabangkhrngcaimrutwcnkrathngtunkhuncring aelwcungrutwwa singthiphungekidkhunepnxakarprasathhlxn prasbkarnechnniekidkhunbxyinbukhkhlthifukkarfnaebbrutw aetwa kekidkhunexngdwy aelamkcaekidkhunphrxmkbxakarphixa xngkvs sleep paralysis 16 prasathhlxnthithaihekidkhuninhxngaelb aekikh xakarprasathhlxnhruxprasbkarnphidthrrmdathiehmuxnkbinkhnorkhcitehlani epnkhwamepliynaeplngkhxngkarrbruehtukarntamkhwamepncringinradbsung aetcring aelw karrbruodythw iptxngxasykartikhwam khuxsingthierarbrunnmixiththiphlxyangsungcakprasbkarnthiekhymimakxn aelacakkhwamkhadhwngkhxngera bukhkhlthimkcamixakarprasathhlxn khuxbukhkhlthiidkhaaennsunginkarthdsxbthangcitwithyathiwdkhwambwkkhxng schizotypy 17 phumkcaaecngthungtwkratun thiimidmicring phayitsphaphkarthdlxngthimikarrbruthikhlumekhrux 18 19 phayitkarthdsxbephuxtrwccbkhathikalngekhluxnthiipxyangrwderwthangta nksuksachnpriyyatrithiidkhaaennsungcakkarwdkhwambwkkhxng schizotypy camixtrasunginkarrbrukhathiimmi khuxaecngwa ehnkhathiimidpraktinrahwangkarthdlxng 20 karidkhaaennsungemuxwdkhwambwkkhxng schizotypy duehmuxncaepntwphyakrnkarrbruthiimtrngkbkhwamcringinkarthdlxnginhxngaelb aettwaeprbangxyangechn canwntwkratun perceptual load 21 aelakhwamthi khuxkhwamerw khxngtwkratunthiprakt 22 kmikhwasakhyradbwikvtiephuxihekidkarrbruthiphidipcakkhwamcringdwy khux thakartrwccbsingthitxngkarhaimtxngichkhwamphyayammak hruxthakarrbruthungsingnntxngxasykaraeplphlinrabbtang khxngsmxngmak praktkarnnikcaimekidkhun 23 esiynghlxn aekikh esiynghlxn odyechphaathiepnesiyngphud mkekhaicknwaepnxakarechphaaxyanghnungkhxngkhnikhorkhcitephth aetcring aelw bukhkhlpktikraynganthungkaridyinesiynghlxninradbthinaaeplkicehmuxnkn yktwxyangechn nkwicyebnthxllaelankwicyseld 24 phbwa xtrarxyla 15 4 khxngnksuksachaycanwn 150 khn klathicayunynkhwamniwa inxdit phmidprasbkaridyinesiyngkhxngkhn aetklbphbwaimmikhnxuninthinn nkwicythngsxngyngklawtxipxikwa imnxykwa 17 5 khxngnksuksa phrxmthicatxbkhathamniwa phmbxykhrngidyinesiyngthiklawkhwamkhidkhxngphmxxkmaihidyin dwykhatxbwa epnxyangnicring aetwa cring aelw karidyinaebbsudthaynipkticaidrbkarphicarnawa epnxakarebuxngtnkhxngorkhcitephth nkwicykrinaela dr aemkhekhriyri 25 phbwa 14 phutxbkhathamxasasmkhraecngkaridyinhlxnaebblwn aelaekuxbkhrunghnungkhxngbukhkhlehlann idyinesiyngphudthngthichdecnaelaimchdecn twxyanghnungkkhuxnaywiswkrkhnhnungsungtxngthakartdsinicthangxachiphthiyakxyanghnung phusungemuxkalngxyuinornghnngidyinesiyngphudthi dngaelachdecn wa khunruihmwa khunthaxyangniimidhrxk naywiswkrkhnnnklawephimxikdwywa esiyngnnchdecnkngwandicnkrathngwaphmtxnghnipmxngephuxnkhxngphm phuthikalngduhnngxyuxyangephlidephlin phmrusukxscrryicaetksbayicdwyemuxmikhwamchdecnaelwwa miphmkhnediywethannthiidyinesiyngnn 26 krniniepnehmuxntwxyangthinkwicyophsiaelalxsch 27 eriykwa idyinesiyngplxboynhruxihkhaaenanathiimidrusukwaepnkhwamkhidkhxngtnexng sungphwkekhapramanwa rxyla 10 khxngnksuksamhawithyalyxemrikninklumkarthdsxbkhxngphwkekhaidphbkbprasbkarnechnni khwamrusukwamikhnxunxyudwy aekikh niepnprasbkarnthikhdaeyngknthibukhkhlmikhwamrusukthichdecnwa mikhnxunxyudwy epnkhnthibangkhrng ruck bangkhrng imruck aetwa imidmikhwamrusukxair cakprasathsmphsnkcitwithyaaelankprchyachawxemriknyukhstwrrsthi 19 chuxwa wileliym ecms phrrnnaprasbkarnechnniiwwa cakkhakhxngkhnthimiprasbkarnni waepnkhwamrusukinicthiaennxnaelamnic prakxbphrxmkbkhwamechuxwamibukhkhlnnxyuinthinncring epnkhwamechuxthimikalngethathicamiidehmuxnidrbkhxmulthangprasathsmphs aemwa cring aelw caimmikhxmulcakprasathsmphs praktkarnniduehmuxncaekidkhuncakkhwamkhidlwn aetthimaprakxbphrxmkbkbkhwamrusukerngerathipkticamakbkhwamrusukthangprasathsmphs 28 khaxthibaytxipniepntwxyangkhxngprasbkarnpraephthni samikhxngdichnesiychiwitipineduxnmithunayn pi kh s 1945 txmawnhnunghlngcaknnxik 26 pi inkhnathidichnxyuthiobsth dichnrusukwaekhakalngyunxyukhang dichnemuxkalngrxngephlngswdxyu dichnrusukwa thahnhnaipthangnnkcaehnekha khwamrusuknimikalngmakcndichnthungkbrxngih aeladichnkimidkhidthungekhacnkrathngrusukwaekhamaxyuthikhang dichnimidekhymikhwamrusukaebbni aelakhwamrusuknikimidekidkhunxiktngaetnn 29 prasbkarnechnnimilksnaehmuxnkbprasathhlxnykewnxyuxyangediyw khux nkwicyseldaelaebnthxllidesnxkhwamhmaykhxngkhawa prasathhlxn xngkvs hallucination iwwa prasbkarnehmuxnkbkarrbruthangprasathsmphsthi ekidodyimmitwkratunthiehmaasm mikalnghruxphlehmuxnkbmikarrbruthangprasathsmphsnncring imidxyuitxanacciticitkarbngkhbkhxngkhnthiprasbkhwamrusukechnnn 30 prasbkarnthiephingklawthungmilksnathi 2 aelathi 3 khxngkhaniyamnn nxkcaknn xaccasamarthephimlksnaxikxyanghnungiddwy khuxbukhkhlthiehmuxnkbcami caxyuthitaaehnnghnung thichdecnphayinsingaewdlxmrxb tw odynyni xaccaklawidwa prasbkarnnimilksnahlxnmakkwaprasbkarnxyangxun echn singthiehnkxncahlbhruxkxncatun thixaccarusukodyepnwtthuphaynxk aetepnwtthuphaynxkthixyuincitickhxngtn 31 32 khwamrusukthungkhntay aekikh khwamrusukthungyatithiphungtay epnpraktkarnthiekidkhunbxy sungxaccaepnkhwamrusukthichdecn hruxxaccaepnkhwamrusukaebbkhlumekhruxwamixyu nkwicyris 33 thakarsmphasnkhnmay 293 khnphuxasyxyuinphakhklangkhxngpraethsewls phbwa 14 miprasathhlxnthangtaekiywkbkhukhrxngthicakip 13 3 miprasathhlxnthanghu aela 2 7 miprasathhlxnthangsmphs aetwa mikhwamehluxmlaknbanginrahwangklumbukhkhlehlann ephraawabangkhnmiprasathhlxnmakkwathangprasathsmphsediyw thinasnickkhux inhwkhxkxn khwamrusukwamikhnxunxyudwy mi 46 7 khxngphuthiidrbkarsarwcthnghmd thiaecngkhwamrusukthungkhukhrxngthitayip aelaaemngansuksaxun thisuksakhwamrusukwamikhnxunxyudwy kphbwapraman 50 mikhwamrusukthungkhukhrxngthitayipaelwehmuxnkn 34 35 karmikhwamrusukthungkhnthitayipaelwepnsingthiekidkhunkhamechuxchati aetepnpraktkarnthimikarthuxexatang kntamwthnthrrmsingaewdlxm 36 yktwxyangechn ngansuksayukhtn thisudnganhnungthiphimphinwarsarchawtawntkthimikartrwcsxbodyphumikhwamchanaysakhaediywkn idthakartrwcsxbprasbkarnkhxngkhnmaychawyipun aelwphbwa 90 mikhwamrusukthungkhukhrxngthitayip 37 aetwa odyepriybethiybkbprasbkarnkhxngchawtawntk khnmayehlannimidwitkkngwlthungkhwamphidpktithangcitkhxngtn aetxthibaypraktkarnnntamkhasxnsasnakhxngtninolktawntk ngansuksathiklawthungpraktkarnniinchwngkhriststwrrsthi 20 idrbxiththiphlcakkhwamkhidechingcitwiekhraah aelamkcaphicarnapraktkarnehlannwaepnphvtikrrmechingptiesth tamechingkarwiekhraahkhxngsikmund frxydthiklawiwinbthkhwam Mourning and Melancholia kariwthukkhkbkhwamhdhuesraic odyepnkar yudthuxbukhkhl hruxwtthu nniw suxodyxakarorkhcitthiepnprasathhlxn thiepniptamkhwamxyakcaihepnxyangnn 38 swninchwngthswrrsthiphungphan mani odytxyxdhlkthansaklwaprasbkarnechnniepnkarprbtw smmutithanwaepnkhwamsmphnththangicthiyngimkhad thiesnxodykhnakhxngnkwicykhlas 1996 39 esnxwa prasbkarnechnnisamarthphicarnaidwaepneruxngpkti aelaxacepntwchwyihekidkarprbtw aeminwthnthrrmkhxngchawtawntkiddwydngnn tngaetngansuksakhxngkhlasma idmingansuksatx ma thiidphrrnnaodymakthungpraoychnthiidcakprasbkarnxyangni odyechphaaemuxsamarthsrangkhwamekhaicidodyichkhasxnkhxngsasna 40 41 aemwa odymakprasbkarnxyangnimkcathaihphuprasbekidkhwamsbayic aetwa yngmibukhkhlcanwnhnungaemcanxy thiidprasbkarnthinaphrnphrung dngnn kyngminganwicythikalngepnipxyu echnkhxngnkwicyfildaelankwicyxun 42 ephuxsuksawa emuxirkhwamsmphnththangicthiyngimkhadxyangni caepnpraoychntxphuprasb aelaemuxir xaccamiphlesiyphltxthvsditang aekikhthvsdithangcitwithya aekikh khwamsakhykhxngprasbkarnphidthrrmdaechnprasathhlxnthiimmiphlraythimitxthvsdithangcitwithya xyuthikhwamekiywkhxngkhxngmntxthvsdithiwiekhraahwaepnxakarkhxngorkh aelathvsdithiwiekhraahwamikarekidkhuninradbtang inaetlabukhkhl inthvsdiwaepnorkh phawaorkhcittang echnphawathimiinorkhcitephthhruxinorkhxarmnsxngkhw bipolar disorder epnxakarkhxngorkh sungodythrrmchatiaelwcaaebngklumbukhkhlxxkepnsxngswn khuxepnphwkthimihruximmiorkh ehmuxnkbthibukhkhlmihruximmiorkhthangkayechnwnorkhepntnnytrngknkhamkn inthvsdiwamikarekidkhuninradbtang inaetlabukhkhl prachakrthnghmdmiprasbkarnniinradbtang kn sungmikhaeriykepnphasaxngkvswa psychoticism ody H J Eysenck schizotypy ody Gordon Claridge hrux psychosis proneness 43 karekidkhunexngkhxngprasathhlxnaeminbukhkhlthimisukhphaphdi imidesphya hruxmisphawarangkaythiphidpktiaebbchwkhrawxyangxun echnkhwamla duehmuxncaepnhlkthansnbsnunthvsdiwaprasathhlxnekidkhuninradbtang inaetlabukhkhl 44 thacaxthibayepnxyangxuncakthvsdini kcatxngtngsmmtithanekiywkbkrabwnkaraexbaefngkhxngorkh odythiprasbkarnehlaniepnxakarkhxngorkhhruxepnxakarkxnorkhcaekidkhun aetniepnsmmutithanthitxngxasyhlkthanxunthiyngimmi machwysnbsnun thvsdithangprchya aekikh hlkthancakprasbkarnprasathhlxn epnkhxyunynthimkcaichinkarsnbsnunthvsdiscniymodytwaethnephuxepriybethiybkbthvsdiscniymodytrng thvsdiscniymodytwaethnesnxwa emuxmikarrbrukhunlksnakhxngolk eraimidrbrukhunlksnaehlannodytrng ehmuxnkbthisamysanukxaccabxkera txngkarxangxing aeterasamarthrbrutwaethn hruxaebbcalxng khxngkhunlksnakhxngolkthimixyuinicephiyngethann khxmultwaethnnncaaemnyaaekhihnkhunxyukbsthankarnkhnann kbsukhphaph aelakbxngkhprakxbxun odynytrngknkham thvsdiscniymodytrngesnxwa khwamrusukkarrbruswnthiimprakxbdwykhwamkhidtrngkbkhwamcringkhxngolk aelaemuxmikarrbrukhunlksnakhxngolk ihphungphicarnawa eramikarrbruolknnodytrng odyimphantwaethnxair thixyuinicaetwa mikhwamchdecnaelwwa ehmuxnkbprasbkarnthiklawthunginkarpraktkhxngbukhkhlhruxsingkhxng olkthibukhkhlnnkalngrbru aelaolkthimixyucring inkhnann imehmuxnkn thng thisahrbbukhkhlnn prasbkarnphidthrrmdannxaccaimmikhwamaetktangcakkarrbruaebbpktithrrmdaxair ely dr aemkhekhliyri 45 esnxwa praktkarnthiehnidcakprasbkarnechnni yunynkhwamthuktxngkhxngthvsdiscniymodytwaethnehnuxthvsdiscniymodytrngduephim aekikhscniymodytrngaelaodyxxmechingxrrthaelaxangxing aekikh Gurney E Myers F W H and Podmore F 1886 Phantasms of the Living Vols I and II London Trubner and Co Sidgwick Eleanor Johnson Alice and others 1894 Report on the Census of Hallucinations London Proceedings of the Society for Psychical Research Vol X See Slade P D and Bentall R P 1988 Sensory Deception a scientific analysis of hallucination London Croom Helm for a review See for example Green C and McCreery C 1975 Apparitions London Hamish Hamilton pp 192 196 Apparitions pp 197 199 Apparitions pp 178 183 Irwin H J 1985 Flight of Mind a psychological study of the out of body experience Metuchen New Jersey The Scarecrow Press McCreery C 2008 Dreams and psychosis a new look at an old hypothesis Psychological Paper No 2008 1 Oxford Oxford Forum Online PDF Archived 2019 02 04 thi ewyaebkaemchchin Oswald I 1962 Sleeping and Waking Physiology and Psychology Amsterdam Elsevier See Irwin op cit for a review Dream van Eeden F 1913 A study of dreams Proceedings of the Society for Psychical Research 26 Part 47 pp 431 461 See Green C 1968 Lucid Dreams London Hamish Hamilton for examples Drever 1952 A Dictionary of Psychology London Penguin Cf Green C and McCreery C 1994 Lucid Dreaming the Paradox of Consciousness During Sleep London Routledge Chapter 7 xakarphixa xngkvs sleep paralysis epnpraktkarninkhnathiiklcahlbhruxkalngtun thibukhkhlnnekhluxnihwimid schizotypy epnkhwamkhidthangcitwithyaxyanghnung thirabubukhlikphaphaelaprasbkarntang khxngbukhkhlepnaenwtxenuxngerimtngaetsphawapktiaetimsnicikhrmikhwamkhidsrangsrrkhsung cnkrathngthungsphawaaebbsud thimkcaekiywkhxngkborkhcit odyechphaaorkhcitephth Bentall R P amp Slade P D 1985 Reality testing and auditory hallucinations a signal detection analysis British Journal of Clinical Psychology 24 159 169 Tsakanikos E amp Reed P 2005 Seeing words that are not there detection biases in psychometric schizotypy British Journal of Clinical Psychology 44 295 299 Tsakanikos E amp Reed P 2005 Do positive schizotypal symptoms predict false perceptual experiences in non clinical population Journal of Nervous and Mental Diseases 193 809 812 Tsakanikos E 2006 Perceptual biases and positive schizotypy the role of perceptual load Personality and Individual Differences 41 951 958 Reed P Wakefield D Harris J Parry J Cella M amp Tsakanikos E 2008 Seeing non existing events effects of environmental conditions schizotypal symptoms and sub clinical characteristics Journal of Behavior Therapy amp Experimental Psychiatry 39 276 291 Tsakanikos E 2006 Perceptual biases and positive schizotypy the role of perceptual load Personality and Individual Differences 41 951 958 Bentall R P and Slade P D 1985 Reliability of a scale measuring disposition towards hallucination a brief report Personality and Individual Differences 6 527 529 Green and McCreery Apparitions op cit p 85 Apparitions pp 85 86 Posey T B and Losch M E 1983 Auditory hallucinations of hearing voices in 375 normal subjects Imagination Cognition and Personality 3 99 113 James W 1890 1950 Principles of Psychology Volume II New York Dover Publications pp 322 3 Green and McCreery Apparitions op cit p 118 Slade and Bentall op cit p 23 Leaning F E 1925 An introductory study of hypnagogic phenomena Proceedings of the Society for Psychical Research 35 289 409 Mavromatis A 1987 Hypnagogia the Unique State of Consciousness Between Wakefulness and Sleep London Routledge and Kegan Paul Rees W D 1971 The hallucinations of widowhood British Medical Journal 4 37 41 Datson S L amp Marwit S J 1997 Personality constructs and perceived presence of deceased loved ones Death Studies 21 131 146 Olson P R Suddeth J A Peterson P A amp Egelhoff C 1985 Hallucinations of widowhood Journal of the American Geriatric Society 33 543 547 Steffen E amp Coyle A 2012 Sense of presence experiences in bereavement and their relationship to mental health A critical examination of a continuing controversy In C Murray Ed Mental health and anomalous experience New York Nova Science Publishers Yamamoto J Okonogi K I wasaki T amp Yoshimura S 1969 Mourning in Japan American Journal of Psychiatry 125 1660 1665 Freud S 1917 Mourning and melancholia In J Strachey Ed and Trans The standard edition of the complete psychological works of Sigmund Freud Vol XIV pp 252 268 London Hogarth Press Klass D Silverman P R amp Nickman S Eds 1996 Continuing bonds New understandings of grief Bristol Taylor amp Francis Kwilecki S 2011 Ghosts meaning and faith After death communications in bereavement narratives Death Studies 35 219 243 Steffen E amp Coyle A 2011 Sense of presence experiences and meaning making in bereavement A qualitative analysis Death Studies 35 579 609 Field N P amp Filanosky C 2010 Continuing bonds risk factors for complicated grief and adjustment to bereavement Death Studies 34 1 29 For a discussion of the concept of schizotypy and its variants cf McCreery C and Claridge G 2002 Healthy schizotypy the case of out of the body experiences Personality and Individual Differences 32 141 154 Berrios G E 2005 On Fantastic Apparitions of Vision and Johannes Muller History of Psychiatry 16 229 246 McCreery C 2006 Perception and Hallucination the Case for Continuity Philosophical Paper No 2006 1 Oxford Oxford Forum Online PDFaehlngkhxmulxun aekikhAleman A amp Laroi F 2008 Hallucinations the science of idiosyncratic perception Washington American Psychological Association Birchwood Max J Chadwick Paul and Trower Peter 1996 Cognitive Therapy for Delusions Voices and Paranoia New York John Wiley amp Sons Inc Cardena E Lynn S J amp Krippner S 2000 Varieties of anomalous experience Examining the scientific evidence American Psychological Association Johnson Fred H 1978 The Anatomy of Hallucinations Chicago Nelson Hall Murray C Ed 2012 Mental health and anomalous experience New York Nova Science Publishers Pearson R S 2005 The Experience of Hallucinations in Religious Practice Seattle Telical Books Aleman A amp Laroi F 2008 Hallucinations the science of idiosyncratic perception Washington American Psychological Association ekhathungcak https th wikipedia org w index php title prasbkarnphidthrrmda amp oldid 9572646 hallucination, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม