fbpx
วิกิพีเดีย

การทดลองโรเซนแฮน

การทดลองโรเซ็นแฮน (อังกฤษ: Rosenhan experiment) เป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงทำเพื่อกำหนดความสมเหตุสมผลของการวินิจฉัยทางจิตเวช โดยนักจิตวิทยา ศ. ดร. เดวิด โรเซ็นแฮนแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science ในปี พ.ศ. 2516 โดยมีรายชื่อว่า "การเป็นคนปกติในที่ที่บ้า (On being sane in insane places)" เป็นงานที่พิจารณาว่าสำคัญและทรงอิทธิพลโดยเป็นการวิจารณ์การวินิจฉัยทางจิตเวช และได้แนวความคิดมาจากการฟังคำบรรยายของจิตแพทย์ R. D. Laing ซึ่ง ดร. โรเซ็นแฮนเริ่มคิดว่ามีวิธีไหนไหมที่ความน่าเชื่อถือของการวินิจฉัยทางจิตเวชสามารถทดสอบได้โดยการทดลอง

อาคารหลักของโรงพยาบาลเซนต์เอลิซาเบธส์ (พ.ศ. 2549) ในนครวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เป็นที่ทำการทดลองโรเซ็นแฮนที่หนึ่ง

การทดลองทำเป็นสองส่วน ส่วนแรกใช้คนปกติแปดคนเป็นคนไข้ปลอม (หญิง 3 ชาย 5 รวมทั้ง ดร. โรเซ็นแฮนเอง) ผู้แกล้งทำเป็นประสาทหลอนได้ยินเสียงเพื่อให้โรงพยาบาลจิตเวช 12 แห่งใน 5 รัฐของสหรัฐอเมริการับเข้าเป็นคนไข้ ซึ่งทั้งหมดก็ได้รับโดยเป็นคนไข้โรคทางจิตเวช หลังจากเข้า รพ. คนไข้ปลอมก็จะทำตัวปกติ และบอกเจ้าหน้าที่ว่าตนรู้สึกปกติและไม่มีประสาทหลอนอะไรอีกต่อไป ทั้งหมดถูกบังคับให้ยอมรับว่าป่วยเป็นโรคจิตและให้ยอมทานยาระงับอาการทางจิตโดยเป็นเงื่อนไขในการให้ออกจาก รพ. ระยะเวลาเฉลี่ยที่คนไข้แต่ละคนใช้เวลาในโรงพยาบาล คือ 19 วัน ทั้งหมดได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท ที่อยู่ใน "ระยะโรคสงบ" ก่อนจะได้กลับบ้าน

ส่วนที่สองเกิดเมื่อมีผู้บริหารโรงพยาบาลหนึ่งที่ไม่พอใจแล้วท้าให้ ดร. โรเซ็นแฮนส่งคนไข้ปลอมไปที่ รพ. ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยจับ ดร. โรเซ็นแฮนก็ตกลงและในอาทิตย์ต่อ ๆ มา ในจำนวนคนไข้ใหม่ 193 คน เจ้าหน้าที่ได้กำหนด 41 คนว่าอาจเป็นคนไข้ปลอม โดยมี 19 คนที่ได้ความสงสัยอย่างน้อยจากจิตแพทย์คนหนึ่งและเจ้าหน้าที่อื่นอีกคน แต่จริง ๆ ดร. โรเซ็นแฮนไม่ได้ส่งใครไปเลย

งานศึกษาสรุปว่า "มันชัดเจนมากว่าเราไม่สามารถแยกแยะคนบ้ากับคนปกติในโรงพยาบาลจิตเวช" และแสดงถึงอันตรายของการลดสภาพความเป็นมนุษย์ และการได้ป้ายว่าเป็นคนไข้โรงพยาบาลจิตเวช แล้วเสนอว่า ศูนย์สุขภาพทางจิตในชุมชนที่เน้นปัญหาและพฤติกรรมโดยเฉพาะแทนการกำหนดโรคโดยชื่อ อาจเป็นวิธีแก้ปัญหา และแนะนำให้ผู้บริการทางจิตเวชรับการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ตระหนักรู้ถึงสภาพความคิด/จิตใจของผู้ทำการบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช

การทดลองโดยคนไข้ปลอม

ดร. โรเซ็นแฮนเอง และผู้ร่วมงานที่สุขภาพจิตปกติ ได้พยายามเข้าโรงพยาบาลจิตเวชโดยโทรศัพท์หาหมอ โดยแกล้งทำเป็นประสาทหลอนได้ยินเสียง และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่ได้รับแจ้งว่าจะมีการทดลอง คนไข้ปลอมรวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาจิตวิทยาอายุในช่วง 20 คนหนึ่ง นักจิตวิทยา 3 คน กุมารแพทย์คนหนึ่ง จิตแพทย์คนหนึ่ง จิตรกรคนหนึ่ง และแม่บ้านอีกคนหนึ่ง ทั้งหมดไม่มีประวัติโรคจิต คนไข้ปลอมใช้ชื่อปลอม และคนที่ทำงานด้านสุขภาพจิตใช้อาชีพปลอมเพื่อไม่ให้ได้รับการบริการหรือการตรวจพิจารณาเป็นพิเศษ แต่นอกจากเรื่องชื่อและอาชีพแล้ว ประวัติอื่น ๆ เป็นเรื่องจริง

ในช่วงการประเมินทางจิตเวชเบื้องต้น พวกเขาอ้างว่าได้ยินเสียงคนเพศเดียวกันซึ่งบ่อยครั้งไม่ชัด แต่ดูเหมือนจะออกเสียคำว่า "empty (ว่าง)", "hollow (กลวง)", "thud (เสียงดังตุ้ม)" และไม่มีอะไรอย่างอื่น คำเหล่านี้เลือกเพื่อชวนให้คิดว่า กำลังมีปัญหาเรื่องว่าเกิดมาทำไม (existential crisis) โดยไม่มีวรรณกรรมวิชาการที่กล่าวถึงคำเหล่านี้ว่าเป็นอาการโรคจิต และ"คนไข้" ก็ไม่ได้แจ้งอาการอะไรอื่น ๆ

ถ้ารับเข้าโรงพยาบาล คนไข้ก็จะ "มีพฤติกรรมปกติ" โดยรายงานว่า รู้สึกปกติและไม่ได้ยินเสียงแล้ว ประวัติโรงพยาบาลที่ขอได้หลังจากการทดลองระบุว่า เจ้าหน้าที่กล่าวถึงคนไข้ปลอมทั้งหมดว่า มีมิตรสัมพันธ์ดีและให้ความร่วมมือ คนไข้ปลอมทั้งหมดได้รับเข้าโรงพยาบาล 12 แห่งในที่ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งโรงพยาบาลเก่า ๆ ที่ได้เงินสนับสนุนไม่เพียงพอในเขตชนบท โรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยในเมืองที่มีชื่อเสียง และโรงพยาบาลเอกชนที่แพงลิ่วแห่งหนึ่ง

แม้ว่าจะแสดงอาการอย่างเดียวกัน แต่ 7 คนกลับได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทในโรงพยาบาลรัฐ และคนหนึ่ง manic-depressive psychosis (ปัจจุบันโรคอารมณ์สองขั้ว) ซึ่งเป็นวินิจฉัยที่มองในแง่ดีกว่าและมีโอกาสหายดีกว่าที่โรงพยาบาลเอกชน คนไข้อยู่ใน รพ. 7-52 วัน โดยเฉลี่ยที่ 19 วัน ทั้งหมดให้กลับบ้านโดยวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทในระยะโรคสงบ (in remission) ซึ่ง ดร. โรเซ็นแฮนถือเป็นหลักฐานว่า ความเจ็บป่วยทางจิตใจมองว่าเป็นภาวะที่ฟื้นสภาพไม่ได้ ซึ่งสร้างมลทินชั่วชีวิต ไม่ใช่โรคที่หายได้

แม้ว่าคนไข้จะจดบันทึกบ่อย ๆ และอย่างเปิดเผยในเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่และของคนไข้อื่น ๆ เจ้าหน้าที่ก็จับไม่ได้สักคนว่าเป็นคนไข้ปลอม แม้ว่า คนไข้ทางจิตเวชอื่น ๆ หลายคนดูเหมือนจะสามารถระบุพวกเขาได้ว่าเป็นคนไข้ปลอม ในการเข้าโรงพยาบาล 3 ครั้งแรก คนไข้อื่น 35 คนจาก 118 คนแสดงความสงสัยว่า คนไข้ปลอมเป็นคนปกติ โดยบางคนแม้แต่เสนอว่า คนไข้ปลอมเป็นนักวิจัยหรือนักข่าวที่กำลังตรวจสอบ รพ. ส่วนบันทึกโรงพยาบาลชี้ว่า เจ้าหน้าที่ตีความพฤติกรรมของคนไข้ปลอมว่าเป็นอาการโรคจิต ยกตัวอย่างเช่น พยาบาลคนหนึ่งกำหนดการจดบันทึกของคนไข้ปลอมว่าเป็น "พฤติกรรมการเขียน (writing behavior)" โดยพิจารณาว่ามันเป็นส่วนของโรค (pathological) ส่วนประวัติคนไข้ที่จริง ๆ เป็นคนปกติก็บันทึกตามที่คาดหวังเหมือนกับคนไข้โรคจิตเภท ตามทฤษฎีหลักที่ใช้ตอนนั้นว่าเป็นสมุฏฐานของโรค

การทดลองกำหนดให้คนไข้ปลอมต้องออกจาก รพ. ได้โดยตนเอง คือให้ รพ. ปล่อยตัวกลับบ้าน แม้ว่าจะได้ว่าจ้างทนายไว้ล่วงหน้าเพื่อกรณีฉุกเฉินถ้าชัดเจนว่า จะไม่ปล่อยคนไข้ปลอมให้กลับบ้านอย่างง่าย ๆ หลังจากรับเข้าโรงพยาบาลและได้การวินิจฉัย คนไข้ปลอมจะไม่ได้กลับบ้านจนกระทั่งตกลงกับจิตแพทย์ว่าตนเป็นโรคจิต และเริ่มทานยารักษาโรคจิต ซึ่งจริง ๆ คนไข้ทิ้งลงในส้วม ไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนที่สังเกตเห็นคนไข้ทิ้งยาและก็ไม่ได้รายงานพฤติกรรมนี้ด้วย

ดร. โรเซ็นแฮน และคนไข้ปลอมอื่น ๆ รายงานความรู้สึกว่าถูกลดสภาพความเป็นมนุษย์ (dehumanization) ถูกบุกรุกภาวะเฉพาะส่วนตัวอย่างรุนแรง และความเบื่อหน่ายเมื่ออยู่ใน รพ. ทรัพย์สมบัติที่ตนมีจะถูกค้นโดยสุ่ม และบางครั้งแม้แต่ถูกสังเกตเมื่อใช้ห้องน้ำ คนไข้รายงานว่า แม้ว่าเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะตั้งใจดี แต่โดยทั่วไปก็ยังลดสภาพความเป็นมนุษย์และปฏิบัติต่อคนไข้เหมือนกับเป็นวัตถุ บ่อยครั้งถกประเด็นเกี่ยวกับคนไข้ต่อหน้าเหมือนกับไม่ได้อยู่ และจะเลี่ยงปฏิสัมพันธ์กับคนไข้โดยตรงยกเว้นเมื่อจำเป็นต่อหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่บางคนมีแนวโน้มที่จะทารุณคนไข้ทางกายหรือทางวาจาเมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นอยู่ใกล้ ๆ มีหมอคนหนึ่งที่กล่าวกับนักศึกษาของตนถึงกลุ่มคนไข้ผู้กำลังแสดงความเบื่อรอรับอาหารกลางวันว่า คนไข้กำลังประสบกับอาการทางจิตเวชแบบ "สนองปาก" (oral-acquisitive) คนไข้พบหมอประมาณ 6.8 นาทีต่อวัน

ผมบอกเพื่อน ๆ บอกครอบครัวว่า "ผมจะออก (จากโรงพยาบาล) ตอนที่ออก แค่นั้นแหละ ผมอยู่ที่นั่นสัก 2-3 วันแล้วจะออก" แต่ไม่มีใครรู้ว่าผมจะต้องอยู่ที่นั่นถึง 2 "เดือน" ... วิธีเดียวที่จะออกได้ก็คือต้องบอกว่า พวกเขา (จิตแพทย์) ถูกต้องแล้ว (เพราะ) หมอบอกว่าผมบ้า (ผมก็เลยต้องบอกว่า) "ผมบ้า แต่กำลังดีขึ้น" นั่นเป็นคำยืนยันมุมมองของพวกเขาต่อผม

— ดร. เดวิด โรเซ็นแฮน ในรายการ The Trap เผยแพร่โดย BBC

การทดลองคนไข้ปลอมที่ไม่มี

ในการทดลองนี้ ดร. โรเซ็นแฮนทำกับโรงพยาบาลแพทย์ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงดี ที่เจ้าหน้าที่ได้ยินถึงผลการทดลองขั้นต้น แต่อ้างว่า ข้อผิดพลาดอย่างเดียวกันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ที่สถาบันของตน ดร. โรเซ็นแฮนจึงเตรียมการกับ รพ. ว่า ในช่วงเวลา 3 เดือน คนไข้ปลอมหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นจะพยายามเข้าโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ของ รพ. จะให้คะแนนคนไข้ใหม่ทุกคนว่า มีโอกาสเป็นคนไข้ปลอมเท่าไร

จากคนไข้ 193 คน 41 คนได้พิจารณาว่าเป็นคนไข้ปลอม และ 42 คนพิจารณาว่าน่าสงสัย แต่ความจริงแล้ว ดร. โรเซ็นแฮนไม่ได้ส่งคนไข้ปลอมไปเลย และคนไข้ที่สงสัยว่าเป็นคนไข้ปลอมทุกคนเป็นคนไข้ธรรมดา ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า "กระบวนการวินิจฉัยที่สามารถพลาดได้ถึงขนาดนี้ไม่สามารถเป็นกระบวนการที่น่าเชื่อถือ"

ผลติดตามและข้อขัดแย้ง

ดร. โรเซ็นแฮนพิมพ์ผลงานของเขาในวารสารวิชาการ Science โดยวิจารณ์ความน่าเชื่อถือของวินิจฉัยทางจิตเวช และการดูแลคนไข้ที่ลดสมรรถภาพลดสภาพมนุษย์ของผู้ร่วมงานของเขาในงานศึกษานี้ ซึ่งเป็นบทความที่จุดชนวนระเบิดความขัดแย้ง โดยมีผู้ป้องกันจิตเวชเป็นจำนวนมาก และอ้างว่า การวินิจฉัยทางจิตเวชต้องอาศัยรายงานประสบการณ์ของคนไข้เอง เพราะฉะนั้น การแกล้งทำเป็นป่วยไม่ได้แสดงปัญหาอะไรอื่น ๆ ในการวินิจฉัย ยกเว้นปัญหาที่คนไข้โกหกเรื่องอาการเจ็บป่วยของตน ในทำนองนี้ จิตแพทย์คนหนึ่ง (Robert Spitzer) อ้างคำของ นพ. ซีมอร์ เค็ตตี เพื่อวิจารณ์งานศึกษาของ ดร. โรเซ็นแฮนในปี 2518 ว่า

ถ้าผมดื่มเลือดสัก 1/4 แกลลอน แล้วปิดบังว่าผมได้ทำอะไร มาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลใดก็ได้แล้วอาเจียนเลือดออก พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ รพ. จะเป็นอะไรที่พยากรณ์ได้ง่ายมาก ถ้าพวกเขากำหนดและรักษาผมว่ามีแผลทางเดินอาหารแบบเลือดออก ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถเถียงได้อย่างน่าเชื่อถือว่า วิทยาทางการแพทย์ไม่รู้จักวิธีการวินิจฉัยสภาพเช่นนั้น

นพ. เค็ตตียังอ้างด้วยว่า ไม่ควรจะคาดหวังให้จิตแพทย์สมมุติว่าคนไข้อาจจะแกล้งป่วย และดังนั้น งานศึกษานี้จึงไม่สมจริง แต่ ดร. โรเซ็นแฮนเรียกว่านี้เป็นความเอนเอียงของผู้ทดลอง (experimenter effect, expectation bias) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาที่เขาค้นพบ (คือหมอคาดหวังว่า คนไข้ป่วย ไม่ใช่ไม่ป่วย) ไม่ใช่เป็นปัญหาเกณฑ์วิธีการทดลองของเขา

งานทดลองมีผลเป็น "การเร่งขบวนการปรับปรุงแก้ไขสถาบันทางจิต และการปล่อยคนไข้ออกจากโรงพยาบาลให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้"

การทดลองที่เกี่ยวข้องกัน

นักข่าวเชิงสืบสวนชาวอเมริกัน เนลลี บลาย ได้แกล้งป่วยเป็นโรคจิตเพื่อที่จะเข้าสถานสงเคราะห์คนวิกลจริตในปี 2430 แล้วรายงานสภาพที่แย่มากในสถาบัน ซึ่งเขาพิมพ์ในบทความ 10 วันในบ้านคนบ้า (Ten Days in a Mad-House) ในปี 2511 นักจิตบำบัดชื่อดัง (ผู้เลี้ยงลูกลิงชิมแปนซีชื่อว่าลูซีเหมือนเด็กมนุษย์) ได้แบ่งจิตแพทย์ 25 คนออกเป็นสองกลุ่มแล้วให้ฟังนักแสดงแสดงบทบาทของคนมีสุขภาพจิตปกติ โดยแจ้งกลุ่มหนึ่งว่านักแสดง "เป็นชายที่น่าสนใจเพราะเขาดูออกจะประสาท (neurotic) แต่ว่าความจริงเขาเป็นโรคจิต (psychotic)" แต่ไม่แจ้งอะไรต่ออีกกลุ่มหนึ่ง แพทย์ 60% ในกลุ่มแรกวินิจฉัยนักแสดงว่าเป็นโรคจิต บ่อยที่สุดโรคจิตเภท ในขณะที่แพทย์ทั้งหมดในกลุ่มควบคุม (กลุ่มหลัง) ไม่ได้วินิจฉัยโรคจิต

งานศึกษา 2531 ดำเนินการโดยให้บันทึกสัมภาษณ์คนไข้แก่จิตแพทย์ 290 คนโดยแจ้งแพทย์ครึ่งหนึ่งว่า คนไข้เป็นคนผิวดำ และอีกครึ่งหนึ่งว่า เป็นคนผิวขาว แล้วสรุปจากผลที่ได้ว่า "แพทย์ดูจะกำหนดความรุนแรง ความน่าสงสัย และความเป็นอันตรายของคนไข้ผิวดำ แม้ว่ารายงานกรณีผู้ป่วยจะเป็นอันเดียวกันกับที่ใช้ในคนไข้ผิวขาว"

นักจิตวิทยาและนักเขียนคนหนึ่ง (Lauren Slater) อ้างว่าได้ทำการทดลองคล้าย ๆ กับของ ดร. โรเซ็นแฮนในหนังสือปี 2547 ของเธอ โดยเขียนว่า เธอได้ไปที่ห้องฉุกเฉินทางจิตเวช 9 แห่งโดยแกล้งเป็นมีประสาทหลอนได้ยินเสียง แล้วได้รับวินิจฉัย "เกือบทุกครั้งว่า" เป็นโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน (psychotic depression) แต่ว่า เมื่อท้าให้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการทดลองนี้ เธอก็ไม่สามารถยืนยันได้

ในปี 2551 รายการทางวิทยาศาสตร์ Horizon ของ BBC ได้ทำการทดลองที่เกี่ยวกันโดยแบ่งเป็น 2 ตอนชื่อว่า "คุณบ้าแค่ไหน (How Mad Are You?)" ซึ่งมีผู้ร่วมงาน 10 คน 5 คนเคยได้วินิจฉัยว่ามีปัญหาสุขภาพจิต และอีก 5 คนไม่เคยมี รายการให้ผู้ชำนาญการทางสุขภาพจิต 3 ท่านทำการวินิจฉัย และข้อท้าทายก็คือให้ระบุบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตโดยพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถพูดกับผู้ร่วมการทดลองหรือสืบหาประวัติเพิ่มขึ้น ผู้ชำนาญการวินิจฉัยคนไข้ถูก 2 คน วินิจฉัยคนไข้ผิดคนหนึ่ง และวินิจฉัยคนปกติ 2 คนว่ามีปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่เหมือนกับการทดลองอื่น ๆ ที่กล่าวถึงแล้ว เป้าหมายของการทดลองนี้ไม่ใช่เพื่อวิจารณ์กระบวนการวินิจฉัย แต่เพื่อลดความเป็นมลทินทางสังคมของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต คือ เพื่อจะแสดงว่า บุคคลที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคจิตสามารถใช้ชีวิตปกติโดยอยู่ร่วมกับปัญหาที่ไม่ปรากฏอาการชัดเจนต่อคนอื่น ๆ โดยพฤติกรรม

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Gaughwin, Peter (2011). "On Being Insane in Medico-Legal Places: The Importance of Taking a Complete History in Forensic Mental Health Assessment". Psychiatry, Psychology and Law. 12 (1): 298–310. doi:10.1375/pplt.12.2.298. S2CID 53771539.
  2. Rosenhan, David (19 January 1973). . Science. 179 (4070): 250–258. Bibcode:1973Sci...179..250R. doi:10.1126/science.179.4070.250. PMID 4683124. S2CID 146772269. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 17 November 2004.
  3. Slater, Lauren (2004). Opening Skinner's Box: Great Psychological Experiments of the Twentieth Century. W. W. Norton. ISBN 0-393-05095-5.
  4. Rosenhan's Experiment: Being Sane in Insane Places speaker's voice over at 2:50 Archived กุมภาพันธ์ 1, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  5. An excerpt from the BBC program with this statement by David Rosenhan can be viewed in Drug Pushers, Drug Users, Antidepressants, & School Shooters.
  6. Kornblum, William (2011). Mitchell, Erin; Jucha, Robert; Chell, John (บ.ก.). Sociology in a Changing World (Google Books) (9th ed.). Cengage learning. p. 195. ISBN 978-1-111-30157-6.
  7. Spitzer, Robert (October 1975). "On pseudoscience in science, logic in remission, and psychiatric diagnosis: a critique of Rosenhan's "On being sane in insane places"". Journal of Abnormal Psychology. 84 (5): 442–52. doi:10.1037/h0077124. PMID 1194504.
  8. Rosenhen, David (1973). "Key Study: On Being Sane in Insane Places".
  9. "The Rosenhan experiment examined". Frontier Psychiatrist.
  10. Kornblum, William (2011). Mitchell, Erin; Jucha, Robert; Chell, John (บ.ก.). Sociology in a Changing World (Google Books) (9th ed.). Cengage learning. p. 195. ISBN 978-1-111-30157-6.
  11. Temerlin, Maurice (October 1968). "Suggestion effects in psychiatric diagnosis". The Journal of Nervous and Mental Disease. 147 (4): 349–353. PMID 5683680.
  12. Loring, Marti; Powell, Brian (March 1988). "Gender, race, and DSM-III: a study of the objectivity of psychiatric diagnostic behavior". Journal of Health and Social Behavior. 29 (1): 1–22. doi:10.2307/2137177. JSTOR 2137177. PMID 3367027.
  13. Moran, Mark (2006-04-07). "Writer Ignites Firestorm With Misdiagnosis Claims". Psychiatric News. American Psychiatric Association. 41 (7): 10–12. ISSN 1559-1255. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  14. "BBC Headroom Horizon: How Mad Are You?". BBC.
  15. How Mad Are You? - Spotlight Archived กรกฎาคม 2, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Slater, Lauren (2004). Opening Skinner's Box: Great Psychological Experiments of the Twentieth Century. W. W. Norton. pp. 64–94. ISBN 0-393-05095-5.
  • On being sane in insane places
  • Rosenhan experiment summary
  • BBC Radio 4, "Mind Changers", Series 4 Episode 1: The Pseudo-Patient Study

การทดลองโรเซนแฮน, การทดลองโรเซ, นแฮน, งกฤษ, rosenhan, experiment, เป, นการทดลองท, อเส, ยงทำเพ, อกำหนดความสมเหต, สมผลของการว, จฉ, ยทางจ, ตเวช, โดยน, กจ, ตว, ทยา, ดร, เดว, โรเซ, นแฮนแห, งมหาว, ทยาล, ยสแตนฟอร, และต, มพ, ในวารสารว, ชาการ, science, ในป, 2516, โดยม,. karthdlxngoresnaehn xngkvs Rosenhan experiment epnkarthdlxngthimichuxesiyngthaephuxkahndkhwamsmehtusmphlkhxngkarwinicchythangcitewch odynkcitwithya s dr edwid oresnaehnaehngmhawithyalysaetnfxrd aelatiphimphinwarsarwichakar Science inpi ph s 2516 odymiraychuxwa karepnkhnpktiinthithiba On being sane in insane places 1 2 epnnganthiphicarnawasakhyaelathrngxiththiphlodyepnkarwicarnkarwinicchythangcitewch 3 aelaidaenwkhwamkhidmacakkarfngkhabrryaykhxngcitaephthy R D Laing sung dr oresnaehnerimkhidwamiwithiihnihmthikhwamnaechuxthuxkhxngkarwinicchythangcitewchsamarththdsxbidodykarthdlxng 4 xakharhlkkhxngorngphyabalesntexlisaebths ph s 2549 innkhrwxchingtn di si sungpccubnelikichaelw epnthithakarthdlxngoresnaehnthihnung karthdlxngthaepnsxngswn swnaerkichkhnpktiaepdkhnepnkhnikhplxm hying 3 chay 5 rwmthng dr oresnaehnexng phuaeklngthaepnprasathhlxnidyinesiyngephuxihorngphyabalcitewch 12 aehngin 5 rthkhxngshrthxemrikarbekhaepnkhnikh sungthnghmdkidrbodyepnkhnikhorkhthangcitewch hlngcakekha rph khnikhplxmkcathatwpkti aelabxkecahnathiwatnrusukpktiaelaimmiprasathhlxnxairxiktxip thnghmdthukbngkhbihyxmrbwapwyepnorkhcitaelaihyxmthanyarangbxakarthangcitodyepnenguxnikhinkarihxxkcak rph rayaewlaechliythikhnikhaetlakhnichewlainorngphyabal khux 19 wn thnghmdidwinicchywaepnorkhcitephth thixyuin rayaorkhsngb kxncaidklbbanswnthisxngekidemuxmiphubriharorngphyabalhnungthiimphxicaelwthaih dr oresnaehnsngkhnikhplxmipthi rph sungcamiecahnathikhxycb dr oresnaehnktklngaelainxathitytx ma incanwnkhnikhihm 193 khn ecahnathiidkahnd 41 khnwaxacepnkhnikhplxm odymi 19 khnthiidkhwamsngsyxyangnxycakcitaephthykhnhnungaelaecahnathixunxikkhn aetcring dr oresnaehnimidsngikhripelyngansuksasrupwa mnchdecnmakwaeraimsamarthaeykaeyakhnbakbkhnpktiinorngphyabalcitewch aelaaesdngthungxntraykhxngkarldsphaphkhwamepnmnusy aelakaridpaywaepnkhnikhorngphyabalcitewch aelwesnxwa sunysukhphaphthangcitinchumchnthiennpyhaaelaphvtikrrmodyechphaaaethnkarkahndorkhodychux xacepnwithiaekpyha aelaaenanaihphubrikarthangcitewchrbkarsuksaephimkhunephuxihtrahnkruthungsphaphkhwamkhid citickhxngphuthakarbabdinorngphyabalcitewch enuxha 1 karthdlxngodykhnikhplxm 2 karthdlxngkhnikhplxmthiimmi 3 phltidtamaelakhxkhdaeyng 4 karthdlxngthiekiywkhxngkn 5 duephim 5 1 echingxrrthaelaxangxing 6 aehlngkhxmulxunkarthdlxngodykhnikhplxm aekikhdr oresnaehnexng aelaphurwmnganthisukhphaphcitpkti idphyayamekhaorngphyabalcitewchodyothrsphthhahmx odyaeklngthaepnprasathhlxnidyinesiyng aelaecahnathiorngphyabalimidrbaecngwacamikarthdlxng khnikhplxmrwmthngnksuksaradbbnthitsuksainsakhacitwithyaxayuinchwng 20 khnhnung nkcitwithya 3 khn kumaraephthykhnhnung citaephthykhnhnung citrkrkhnhnung aelaaembanxikkhnhnung thnghmdimmiprawtiorkhcit khnikhplxmichchuxplxm aelakhnthithangandansukhphaphcitichxachiphplxmephuximihidrbkarbrikarhruxkartrwcphicarnaepnphiess aetnxkcakeruxngchuxaelaxachiphaelw prawtixun epneruxngcringinchwngkarpraeminthangcitewchebuxngtn phwkekhaxangwaidyinesiyngkhnephsediywknsungbxykhrngimchd aetduehmuxncaxxkesiykhawa empty wang hollow klwng thud esiyngdngtum aelaimmixairxyangxun khaehlanieluxkephuxchwnihkhidwa kalngmipyhaeruxngwaekidmathaim existential crisis odyimmiwrrnkrrmwichakarthiklawthungkhaehlaniwaepnxakarorkhcit aela khnikh kimidaecngxakarxairxun tharbekhaorngphyabal khnikhkca miphvtikrrmpkti odyraynganwa rusukpktiaelaimidyinesiyngaelw prawtiorngphyabalthikhxidhlngcakkarthdlxngrabuwa ecahnathiklawthungkhnikhplxmthnghmdwa mimitrsmphnthdiaelaihkhwamrwmmux khnikhplxmthnghmdidrbekhaorngphyabal 12 aehnginthitang inshrthxemrika rwmthngorngphyabaleka thiidenginsnbsnunimephiyngphxinekhtchnbth orngphyabalthidaeninkarodymhawithyalyinemuxngthimichuxesiyng aelaorngphyabalexkchnthiaephngliwaehnghnungaemwacaaesdngxakarxyangediywkn aet 7 khnklbidwinicchywaepnorkhcitephthinorngphyabalrth aelakhnhnung manic depressive psychosis pccubnorkhxarmnsxngkhw sungepnwinicchythimxnginaengdikwaaelamioxkashaydikwathiorngphyabalexkchn khnikhxyuin rph 7 52 wn odyechliythi 19 wn thnghmdihklbbanodywinicchywaepnorkhcitephthinrayaorkhsngb in remission sung dr oresnaehnthuxepnhlkthanwa khwamecbpwythangciticmxngwaepnphawathifunsphaphimid sungsrangmlthinchwchiwit imichorkhthihayidaemwakhnikhcacdbnthukbxy aelaxyangepidephyineruxngphvtikrrmkhxngecahnathiaelakhxngkhnikhxun ecahnathikcbimidskkhnwaepnkhnikhplxm aemwa khnikhthangcitewchxun hlaykhnduehmuxncasamarthrabuphwkekhaidwaepnkhnikhplxm inkarekhaorngphyabal 3 khrngaerk khnikhxun 35 khncak 118 khnaesdngkhwamsngsywa khnikhplxmepnkhnpkti odybangkhnaemaetesnxwa khnikhplxmepnnkwicyhruxnkkhawthikalngtrwcsxb rph swnbnthukorngphyabalchiwa ecahnathitikhwamphvtikrrmkhxngkhnikhplxmwaepnxakarorkhcit yktwxyangechn phyabalkhnhnungkahndkarcdbnthukkhxngkhnikhplxmwaepn phvtikrrmkarekhiyn writing behavior odyphicarnawamnepnswnkhxngorkh pathological swnprawtikhnikhthicring epnkhnpktikbnthuktamthikhadhwngehmuxnkbkhnikhorkhcitephth tamthvsdihlkthiichtxnnnwaepnsmutthankhxngorkhkarthdlxngkahndihkhnikhplxmtxngxxkcak rph idodytnexng khuxih rph plxytwklbban aemwacaidwacangthnayiwlwnghnaephuxkrnichukechinthachdecnwa caimplxykhnikhplxmihklbbanxyangngay hlngcakrbekhaorngphyabalaelaidkarwinicchy khnikhplxmcaimidklbbancnkrathngtklngkbcitaephthywatnepnorkhcit aelaerimthanyarksaorkhcit sungcring khnikhthinglnginswm immiecahnathikhnihnthisngektehnkhnikhthingyaaelakimidraynganphvtikrrmnidwydr oresnaehn aelakhnikhplxmxun rayngankhwamrusukwathukldsphaphkhwamepnmnusy dehumanization thukbukrukphawaechphaaswntwxyangrunaerng aelakhwamebuxhnayemuxxyuin rph thrphysmbtithitnmicathukkhnodysum aelabangkhrngaemaetthuksngektemuxichhxngna khnikhraynganwa aemwaecahnathiduehmuxncatngicdi aetodythwipkyngldsphaphkhwamepnmnusyaelaptibtitxkhnikhehmuxnkbepnwtthu bxykhrngthkpraednekiywkbkhnikhtxhnaehmuxnkbimidxyu aelacaeliyngptismphnthkbkhnikhodytrngykewnemuxcaepntxhnathi odyecahnathibangkhnmiaenwonmthicatharunkhnikhthangkayhruxthangwacaemuximmiecahnathixunxyuikl mihmxkhnhnungthiklawkbnksuksakhxngtnthungklumkhnikhphukalngaesdngkhwamebuxrxrbxaharklangwnwa khnikhkalngprasbkbxakarthangcitewchaebb snxngpak oral acquisitive khnikhphbhmxpraman 6 8 nathitxwn phmbxkephuxn bxkkhrxbkhrwwa phmcaxxk cakorngphyabal txnthixxk aekhnnaehla phmxyuthinnsk 2 3 wnaelwcaxxk aetimmiikhrruwaphmcatxngxyuthinnthung 2 eduxn withiediywthicaxxkidkkhuxtxngbxkwa phwkekha citaephthy thuktxngaelw ephraa hmxbxkwaphmba phmkelytxngbxkwa phmba aetkalngdikhun nnepnkhayunynmummxngkhxngphwkekhatxphm dr edwid oresnaehn inraykar The Trap ephyaephrody BBC 5 karthdlxngkhnikhplxmthiimmi aekikhinkarthdlxngni dr oresnaehnthakborngphyabalaephthysungepnsthabnwicythimichuxesiyngdi thiecahnathiidyinthungphlkarthdlxngkhntn aetxangwa khxphidphladxyangediywknimsamarthekidkhunidthisthabnkhxngtn dr oresnaehncungetriymkarkb rph wa inchwngewla 3 eduxn khnikhplxmhnungkhnhruxmakkwanncaphyayamekhaorngphyabal odyecahnathikhxng rph caihkhaaennkhnikhihmthukkhnwa mioxkasepnkhnikhplxmethaircakkhnikh 193 khn 41 khnidphicarnawaepnkhnikhplxm aela 42 khnphicarnawanasngsy aetkhwamcringaelw dr oresnaehnimidsngkhnikhplxmipely aelakhnikhthisngsywaepnkhnikhplxmthukkhnepnkhnikhthrrmda sungthaihsrupidwa krabwnkarwinicchythisamarthphladidthungkhnadniimsamarthepnkrabwnkarthinaechuxthux 2 phltidtamaelakhxkhdaeyng aekikhdr oresnaehnphimphphlngankhxngekhainwarsarwichakar Science odywicarnkhwamnaechuxthuxkhxngwinicchythangcitewch aelakarduaelkhnikhthildsmrrthphaphldsphaphmnusykhxngphurwmngankhxngekhainngansuksani sungepnbthkhwamthicudchnwnraebidkhwamkhdaeyng 6 odymiphupxngkncitewchepncanwnmak aelaxangwa karwinicchythangcitewchtxngxasyraynganprasbkarnkhxngkhnikhexng ephraachann karaeklngthaepnpwyimidaesdngpyhaxairxun inkarwinicchy ykewnpyhathikhnikhokhkeruxngxakarecbpwykhxngtn inthanxngni citaephthykhnhnung Robert Spitzer xangkhakhxng nph simxr ekhtti ephuxwicarnngansuksakhxng dr oresnaehninpi 2518 wa 7 thaphmdumeluxdsk 1 4 aekllxn aelwpidbngwaphmidthaxair mathihxngchukechinkhxngorngphyabalidkidaelwxaeciyneluxdxxk phvtikrrmkhxngecahnathi rph caepnxairthiphyakrnidngaymak thaphwkekhakahndaelarksaphmwamiaephlthangedinxaharaebbeluxdxxk phmimkhidwaphmcasamarthethiyngidxyangnaechuxthuxwa withyathangkaraephthyimruckwithikarwinicchysphaphechnnn nph ekhttiyngxangdwywa imkhwrcakhadhwngihcitaephthysmmutiwakhnikhxaccaaeklngpwy aeladngnn ngansuksanicungimsmcring 8 aet dr oresnaehneriykwaniepnkhwamexnexiyngkhxngphuthdlxng experimenter effect expectation bias sungepntwbngchipyhathiekhakhnphb khuxhmxkhadhwngwa khnikhpwy imichimpwy imichepnpyhaeknthwithikarthdlxngkhxngekha 9 nganthdlxngmiphlepn karerngkhbwnkarprbprungaekikhsthabnthangcit aelakarplxykhnikhxxkcakorngphyabalihmakthisudethathiepnipid 10 karthdlxngthiekiywkhxngkn aekikhnkkhawechingsubswnchawxemrikn enlli blay idaeklngpwyepnorkhcitephuxthicaekhasthansngekhraahkhnwiklcritinpi 2430 aelwrayngansphaphthiaeymakinsthabn sungekhaphimphinbthkhwam 10 wninbankhnba Ten Days in a Mad House inpi 2511 nkcitbabdchuxdng phueliyngluklingchimaepnsichuxwalusiehmuxnedkmnusy idaebngcitaephthy 25 khnxxkepnsxngklumaelwihfngnkaesdngaesdngbthbathkhxngkhnmisukhphaphcitpkti odyaecngklumhnungwankaesdng epnchaythinasnicephraaekhaduxxkcaprasath neurotic aetwakhwamcringekhaepnorkhcit psychotic aetimaecngxairtxxikklumhnung aephthy 60 inklumaerkwinicchynkaesdngwaepnorkhcit bxythisudorkhcitephth inkhnathiaephthythnghmdinklumkhwbkhum klumhlng imidwinicchyorkhcit 11 ngansuksa 2531 daeninkarodyihbnthuksmphasnkhnikhaekcitaephthy 290 khnodyaecngaephthykhrunghnungwa khnikhepnkhnphiwda aelaxikkhrunghnungwa epnkhnphiwkhaw aelwsrupcakphlthiidwa aephthyducakahndkhwamrunaerng khwamnasngsy aelakhwamepnxntraykhxngkhnikhphiwda aemwarayngankrniphupwycaepnxnediywknkbthiichinkhnikhphiwkhaw 12 nkcitwithyaaelankekhiynkhnhnung Lauren Slater xangwaidthakarthdlxngkhlay kbkhxng dr oresnaehninhnngsuxpi 2547 khxngethx 3 odyekhiynwa ethxidipthihxngchukechinthangcitewch 9 aehngodyaeklngepnmiprasathhlxnidyinesiyng aelwidrbwinicchy ekuxbthukkhrngwa epnorkhsumesraaebbcithlxn psychotic depression aetwa emuxthaihaesdnghlkthanwaidthakarthdlxngni ethxkimsamarthyunynid 13 inpi 2551 raykarthangwithyasastr Horizon khxng BBC idthakarthdlxngthiekiywknodyaebngepn 2 txnchuxwa khunbaaekhihn How Mad Are You sungmiphurwmngan 10 khn 5 khnekhyidwinicchywamipyhasukhphaphcit aelaxik 5 khnimekhymi raykarihphuchanaykarthangsukhphaphcit 3 thanthakarwinicchy aelakhxthathaykkhuxihrabubukhkhlthimipyhasukhphaphcitodyphvtikrrmkhxngbukhkhlehlannethann odythiimsamarthphudkbphurwmkarthdlxnghruxsubhaprawtiephimkhun 14 phuchanaykarwinicchykhnikhthuk 2 khn winicchykhnikhphidkhnhnung aelawinicchykhnpkti 2 khnwamipyhasukhphaphcit aetimehmuxnkbkarthdlxngxun thiklawthungaelw epahmaykhxngkarthdlxngniimichephuxwicarnkrabwnkarwinicchy aetephuxldkhwamepnmlthinthangsngkhmkhxngphuthimipyhasukhphaphcit khux ephuxcaaesdngwa bukhkhlthiekhyidrbkarwinicchywamiorkhcitsamarthichchiwitpktiodyxyurwmkbpyhathiimpraktxakarchdecntxkhnxun odyphvtikrrm 15 duephim aekikh withyasastr aephthysastrkhwamexnexiyngephuxyunyn karwinicchythangkaraephthy enlli blay citewchsastr orkhcitephthechingxrrthaelaxangxing aekikh Gaughwin Peter 2011 On Being Insane in Medico Legal Places The Importance of Taking a Complete History in Forensic Mental Health Assessment Psychiatry Psychology and Law 12 1 298 310 doi 10 1375 pplt 12 2 298 S2CID 53771539 2 0 2 1 Rosenhan David 19 January 1973 On being sane in insane places Science 179 4070 250 258 Bibcode 1973Sci 179 250R doi 10 1126 science 179 4070 250 PMID 4683124 S2CID 146772269 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 17 November 2004 3 0 3 1 Slater Lauren 2004 Opening Skinner s Box Great Psychological Experiments of the Twentieth Century W W Norton ISBN 0 393 05095 5 Rosenhan s Experiment Being Sane in Insane Places speaker s voice over at 2 50 Archived kumphaphnth 1 2015 thi ewyaebkaemchchin An excerpt from the BBC program with this statement by David Rosenhan can be viewed in Drug Pushers Drug Users Antidepressants amp School Shooters Kornblum William 2011 Mitchell Erin Jucha Robert Chell John b k Sociology in a Changing World Google Books 9th ed Cengage learning p 195 ISBN 978 1 111 30157 6 Spitzer Robert October 1975 On pseudoscience in science logic in remission and psychiatric diagnosis a critique of Rosenhan s On being sane in insane places Journal of Abnormal Psychology 84 5 442 52 doi 10 1037 h0077124 PMID 1194504 Rosenhen David 1973 Key Study On Being Sane in Insane Places The Rosenhan experiment examined Frontier Psychiatrist Kornblum William 2011 Mitchell Erin Jucha Robert Chell John b k Sociology in a Changing World Google Books 9th ed Cengage learning p 195 ISBN 978 1 111 30157 6 Temerlin Maurice October 1968 Suggestion effects in psychiatric diagnosis The Journal of Nervous and Mental Disease 147 4 349 353 PMID 5683680 Loring Marti Powell Brian March 1988 Gender race and DSM III a study of the objectivity of psychiatric diagnostic behavior Journal of Health and Social Behavior 29 1 1 22 doi 10 2307 2137177 JSTOR 2137177 PMID 3367027 Moran Mark 2006 04 07 Writer Ignites Firestorm With Misdiagnosis Claims Psychiatric News American Psychiatric Association 41 7 10 12 ISSN 1559 1255 subkhnemux 2009 12 03 BBC Headroom Horizon How Mad Are You BBC How Mad Are You Spotlight Archived krkdakhm 2 2010 thi ewyaebkaemchchin aehlngkhxmulxun aekikh wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa pseudopatient Slater Lauren 2004 Opening Skinner s Box Great Psychological Experiments of the Twentieth Century W W Norton pp 64 94 ISBN 0 393 05095 5 On being sane in insane places Rosenhan experiment summary BBC Radio 4 Mind Changers Series 4 Episode 1 The Pseudo Patient Studyekhathungcak https th wikipedia org w index php title karthdlxngoresnaehn amp oldid 9416980, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม