fbpx
วิกิพีเดีย

การแทรกแซงของสหรัฐในชิลี

แม่แบบ:การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา

บทบาทของสหรัฐอเมริกาในประเทศชิลีเริ่มมีบทบาทให้เห็นตั้งแต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่เหตุการณ์การเรียกร้องเอกราชของชิลีเป็นต้นมา แต่การแสดงบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่เด่นชัดที่สุดเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของชิลี และใช้อำนาจในการล้มล้างรัฐบาลที่ขัดผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา

การเข้ามามีบทบาทของสหรัฐอเมริกาในชิลีก่อนคริสต์ศตวรรษที 20 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีเกี่ยวข้องกับประเทศชิลีตั้งแต่ในสงครามแปซิฟิก (Pacific War) ในปี 1879 – 1883 โดยสงครามครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างชิลีกับประเทศเปรูและโบลิเวีย ซึ่งผลของสงครามฝ่ายชิลีเป็นผู้ชนะ มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ทำให้ชิลีได้ดินแดนของเปรูและดินแดนชายฝั่งของโบลิเวีย

มูลเหตุที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องในสงครามครั้งนี้เพราะในประเทศเปรู มีนักธุรกิจชาวอเมริกันเข้าไปทำธุรกิจอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อสงครามเกิดขึ้นแล้ว สหรัฐอเมริกาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาหนทางในการปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของชาวอเมริกันในประเทศเปรู รวมไปถึงหาทางขัดขวางไม่ให้ชิลีได้รับชัยชนะ เพราะถ้าชิลีชนะสงคราม โอกาสที่นักธุรกิจอเมริกันจะทำธุรกิจอาจจะประสบภาวะยากลำบาก และอาจมีนักธุรกิจชาวอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็ไม่สามารถช่วยเหลือประเทศเปรูได้ จนกระทั่งชิลีสามารถยึดเมืองหลวงของเปรูคือเมืองลิมาได้ แม้ในขั้นต้นสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีเจมส์ การ์ฟีลด์มีความคิดที่จะใช้กองทัพเรือโจมตีชิลี แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบกองเรืออเมริกาในเวลานั้นยังไม่พร้อมที่จะรบกับกองเรือของชิลี จึงเปลี่ยนบทบาทของตนในการเป็นผู้เจรจาแทนที่จะทำสงครามกับชิลี ทางสหรัฐอเมริกาพยายามเจรจากับชิลีให้ชิลีคืนดินแดนที่ยึดมาได้ให้กับเปรูและโบลิเวีย ซึ่งบริเวณนั้นเป็นแหล่งแร่ไนเตรนและทองแดง และมีนักธุรกิจชาวอเมริกันทำธุรกิจกันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ชิลีไม่ยอม และเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเป็นกลาง ท้ายที่สุดจึงต้องยอมให้ชิลียึดดินแดนในบริเวณนั้นไป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาเข้ามีความสัมพันธ์กับชิลีครั้งแรกในฐานะตัวกลางในการเจรจาระหว่างชิลีและประเทศเปรูและโบลิเวีย เพื่อหาหนทางในการรักษาผลประโยชน์ของชาวอเมริกันในดินแดนเปรูให้ได้ รวมไปถึงชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้อิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษในบริเวณนี้มีมากเกินไป

อีกเหตุการณ์หนึ่งก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกามีบทบาทในชิลีคือครั้งสงครามกลางเมืองชิลีในปี ค.ศ. 1891 เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์แรกที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในประเทศชิลีโดยตรง กล่าวคือในขณะนั้น เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประธานาธิบดีมานูเอล บัลมาเชดา (Mauel Balmaceda) กับรัฐสภาเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับรายได้จากบรรษัทข้ามชาติในแหล่งแร่ไนเตรตและทองแดง ความขัดแย้งลุกลามไปจนถึงการเกิดสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในเหตุการณ์ครั้งนี้ผ่านการขอร้องของฝ่ายประธานาธิบดีเพื่อช่วยเหลือให้ชนะสงคราม ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาเล็งเห็นประโยชน์ว่าหากเข้าร่วมกับฝ่ายประธานาธิบดีจะมีโอกาสและกำไรจากแหล่งแร่ไนเตรดและทองแดงมากขึ้น สหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนทั้งทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตามผลของสงครามฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะโดยการช่วยเหลือของอังกฤษ หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้อังกฤษได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากการทำธุรกิจในชิลีและส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและชิลีก่อนสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 เป็นไปในทางที่ไม่ดีมากนัก

เมื่อเริ่มต้นคริตศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาประกาศใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี (Good Neighbor Policy) เพื่อลดแรงต่อต้านจากชาติต่างๆในลาตินอเมริกา จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ เพื่อปกป้องธุรกิจของประชาชนชาวอเมริกัน โดยนโยบายมีหลักการสำคัญคือจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติในลาตินอเมริกา ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเริ่มได้รับความไว้วางใจจากชาติอื่นๆในลาตินอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเทศชิลีด้วย ดังนั้นนักธุรกิจชาวอเมริกันเริ่มเข้าไปประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ไนเตรดและเหมืองแร่ทองแดงมากขึ้น จนสามารถควบคุมกิจการเหมืองแร่ของชิลีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมืองแร่ทองแดง การที่สหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมกิจการเหมืองแร่ของชิลีได้เท่ากับว่าสหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมระบบเศรษฐกิจของชิลีได้ แม้ว่าการเข้ามาของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้จะส่งผลให้ชิลีสามารถสร้างรายได้จากทองแดงอย่างมหาศาล แต่รายได้นั้นเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เพราะรายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่ในกลุ่มบริษัทของนายทุนชาวอเมริกัน

หากกล่าวโดยสรุปคือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศชิลีสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเน้นความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนเป็นหลัก ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองมีไม่มากนัก เพราะเป็นเพียงการให้การสนับสนุนต่อกลุ่มต่างๆเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้จะเริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นการแทรกแซงการเมืองภายในของชิลี เพราะสหรัฐอเมริกาเกิดความกังวลว่าฝ่ายซ้ายจะขึ้นมาครองอำนาจในประเทศชิลี

เหมืองทองแดง Chuquicamata ในปี 1925 ซึ่งชิลีได้มาเมื่อคราวชนะสงครามแปซิฟิก

สหรัฐอเมริกากับความพยายามในการต่อต้านฝ่ายซ้ายในชิลี (1946 – 1970)

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านพ้นไป การเมืองโลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจนคือฝ่ายเสรีประชาธิปไตยนำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา และฝ่ายสังคมนิยมนำโดยสหภาพโซเวียต ทั้งสองฝ่ายต่างใช้ความพยายามในหลายๆวิถีทางที่เป็นไปได้ในการขยายอิทธิพลและป้องกันอิทธิพลของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งสหรัฐอเมริกามองว่าเป็นสิ่งที่สั่นคลอนอำนาจของตนเอง

 
กรรมกรชาวชิลีเดินขบวนสนับสนุนนายซัลวาดอร์ อัลเยนเดในการเลือกตั้งปี 1964

เมื่อย้อนกลับมามองสภาพการณ์ในประเทศชิลี ในขณะนั้นสังคมชิลีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่างเห็นได้ชัดเจนคือกลุ่มนายทุนกับกลุ่มกรรมกร ซึ่งกลุ่มกรรมกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมกรในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไนเตรดและเหมืองแร่ทองแดง ต่างได้รับการกดขี่จากนายจ้างและไม่ได้รับความเท่าเทียม รวมทั้งสวัสดิการที่ไม่ดีพอ ดังนั้นความคิดแบบมาร์กซิสจึงเริ่มเข้ามาเผยแพร่แก่กลุ่มกรรมกรเป็นลำดับแรก ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ชิลีและพรรคสังคมนิยมได้ถือกำเนิดขึ้น

อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาเกิดความรู้สึกเป็นกังวลอย่างยิ่งและเกรงว่าหากประเทศชิลีมีรัฐบาลเป็นคอมมิวนิสต์หรือเป็นสังคมจะเป็นผลร้ายต่อประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งในด้านของเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของภูมิภาค กล่าวคือ กิจการเหมืองแร่ไนเตรดและทองแดงอาจถูกยึดเป็นของรัฐ รวมถึงมีประเทศที่มีอุดมการณ์สังคมนิยมอยู่ใกล้ประเทศของตนด้วย รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาจึงกดดันรัฐบาลของประเทศชิลีนำโดยนายกาเบรียล กอนซาเลซ บิเดลา ให้ออกประกาศให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองที่ผิดกฎหมาย ทั้งๆที่พรรคคอมมิวนิสต์มีส่วนทำให้เขาชนะการเลือกตั้ง

ถึงแม้จะมีการประกาศให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองที่ผิดกฎหมายแต่กลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้าย รวมไปถึงพรรคสังคมนิยมชิลีได้รวมพลังกันก่อตั้ง Unidad Popular อันเป็นแนวร่วมของผู้ที่มีความคิดฝ่ายซ้ายภายใต้การนำของนายซัลวาดอร์ อัลเลนเด ในการเลือกตั้งในปี 1958 นายซัลวาดอร์ อัลเยนเด้แพ้การเลือกตั้งนายเอดูอาร์โด้ มอนทาลวาไม่มากนัก เมื่อนายเอดูอาร์โด้ได้เป็นประธานาธิบดี ได้มีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามแบบทุนนิยมเสรี ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกราคา และลดกำแพงภาษีสินค้านำเข้า ส่งผลให้สินค้าจากอเมริกาเข้ามาขายในประเทศชิลีเป็นจำนวนมาก กรรมกรที่แต่เดิมรายได้น้อยอยู่แล้ว ก็ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน รวมไปถึงเศรษฐกิจของชิลีที่ค่อนข้างแย่มากจากนโยบายทุนนิยมที่ล้มเหลว ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องกู้เงินจากประเทศสหรัฐอเมริกาและ IMF มากขึ้น เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้ย่อมเห็นได้โดยชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์จากการใช้นโยบายทุนนิยมเสรี ส่งสินค้าเข้ามาขายคราวละมากๆ รวมทั้งสามารถควบคุมเศรษฐกิจของชิลีไม่ให้เป็นอิสระผ่านรูปแบบการกู้เงินต่างๆ และสหรัฐอเมริกาสามารถมั่นใจได้ว่าตราบใดที่นายเอดูอาร์โดยังเป็นประธานาธิบดีอยู่ สหรัฐอเมริกายังคงได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์จากประเทศชิลี

เมื่อครบกำหนดการดำรงตำแหน่งของนายเอดูอาร์โด ได้มีการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ขึ้นในปี 1964 ครั้งนี้ยังคงเป็นการแข่งระหว่างผู้สมัครสองคนเป็นสำคัญคือนายเอดูอาร์โดและนายอัลเยนเด้ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นที่น่าสนใจมาก ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกามีบทบาทอย่างสูงมากในการช่วยนายเอดูอาร์โดหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อให้เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัยและสามารถรักษาผลประโยชน์ของอเมริกาได้ รวมไปถึงป้องกันนายอัลเยนเด้ที่มีความคิดแบบสังคมไม่ให้ขึ้นมามีอำนาจในชิลี การเลือกตั้งครั้งนี้สหรัฐอเมริกา โดยการจัดการของ CIA ได้สนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณ การโฆษณาชวนเชื่อ รวมไปถึงการเดินทางออกไปขอคะแนนเสียงและสนับสนุนพรรคจากเล็กพรรคน้อยให้ออกมาตัดคะแนนนายอัลเยนเด้ การกระทำครั้งนี้ของสหรัฐอเมริกาและ CIA ประสบผลสำเร็จ นายเอดูอาร์โด้กลับมาชนะเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากหมดวาระของนายเอดูอาร์โด้อีกหนึ่งสมัย ประเทศชิลีได้มีการจัดการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งในปี 1970 โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงเป็นการแข่งขันระหว่าง 2 ผู้สมัครคนสำคัญคือนายอเลสซานดิ ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและนายอัลเยนเด้ ในการเลือกตั้งครั้งนี้สหรัฐอเมริกาไม่ได้ทุ่มเทงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้สมัครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ แต่ทุ่มเทงบประมาณเพื่อโจมตีนายอัลเยนเด้ อย่างไรก็ตามในครั้งนี้การกระทำของ CIA และสหรัฐอเมริกาไม่เป็นผลสำเร็จ นายซัลวาดอร์ อัลเยนเด้ชนะการเลือกตั้งขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีฝ่ายซ้ายคนแรกของลาตินอเมริกาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นที่ประจักษ์แล้ว แต่ทางสหรัฐอเมริกามีท่าทีไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งโดยใช้บทความต่างๆเพื่อโจมตีนายซัลวาดอร์ อัลเยนเด้ เมื่อสหรัฐอเมริการู้ว่าการกระทำเช่นนี้ไม่สำเร็จแล้วจึงส่งคนไปลักพาตัวผู้บัญชาการทหารสูงสุดของชิลีคือนายพลชไนเดอร์ เพื่อเจรจาให้นายพลชไนเดอร์ร่วมมือกับรัฐประหาร อย่างไรก็ตามนายพลชไนเดอร์ ผู้ซึ่งปฏิญาณตนปกป้องรัฐธรรมนูญ ได้ยิงต่อสู้กับกลุ่มคนที่จะทำการลักพาตัว ท้ายที่สุดในพลชไนเดอร์เสียชีวิต การเสียชีวิตของนายพลชไนเดอร์ในครั้งนี้ส่งผลให้กองทัพและประชาชนสนับสนุนเขามากขึ้น และอัลเยนเด้ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของชิลี

การก้าวขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด (1970 – 1973)

ประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด้ เป็นประธานาธิบดีเอียงซ้ายคนแรกของลาตินอเมริกาที่มาจากการเลือกตั้ง อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่น่าสังเกตของประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด้คือแม้ว่าตนจะแพ้การเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เคยคิดที่จะล้มล้างอำนาจของรัฐบาลกลางหรือร้องขอให้ต่างชาติช่วยเหลือ ซึ่งผิดจากผู้ที่มีแนวคิดเอียงซ้ายโดยทั่วไปที่ต้องทำการปฏิวัติเพื่อให้ได้อำนาจในการบริหารประเทศ

เมื่อประธานาธิบดีอัลเยนเด้เข้ามาบริหารประเทศแล้ว สหรัฐอเมริกาสืบทราบมาว่าประธานาธิบดีมีนโยบายที่จะควบรวมกิจการของเอกชน ทำให้สหรัฐอเมริกาและ CIA ใช้แผนการที่ถูกเรียกว่า Operation Track I และ Track II

Operation track I เป็นแผนที่ใช้กดดันสภาคองเกรสของชิลีไม่ให้เลือกนายซัลวาดอร์ อัลเยนเด้ เป็นประธานาธิบดี เนื่องจากคะแนนระหว่างผู้สมัครทั้งสองใกล้เคียงกันมาก โดยให้สภาคองเกรสของชิลีเลือกอเลสซานดิแทน แล้วให้นายอเลสซานดิลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่แผนนี้ไม่สำเร็จ จึงดำเนินการต่อในแผนที่ 2

Operation track II เป็นแผนการที่ใช้หลังจากพบว่าแผนแรกไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นแผนการที่กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้แล้ว กล่าวคือ การหานายพลชาวชิลีมาเป็นพรรคพวกและใช้กองกำลังทางทหารทำการปฏิวัติ ซึ่งแผนนี้ก็ไม่สำเร็จเพราะนายพลชไนเดอร์ไม่ได้ร่วมมือด้วย

รัฐประหารและระบอบเผด็จการทหารในชิลี (1973 – 1990)

 
การยิงถล่มทำเนียบประธานาธิบดีของฝ่ายรัฐประหาร

หลังจากที่ CIA ล้มเหลวในการโค่นล้มประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด้ ทั้งในแผน Track I และ Track II ประธานาธิบดีนิกสันของสหรัฐอเมริกาและนายคิสซิงเจอร์ได้ประชุมกับ CIA เพื่อหาทางโค่นล้มอำนาจของประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด้ โดยได้ข้อสรุปว่าจำเป็นต้องมีรัฐประหารเกิดขึ้นในประเทศชิลี เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของสหรัฐอเมริกาและสกัดกั้นการขยายตัวของแนวคิดสังคมนิยม ในที่สุดจึงมีการเลือกนายพลปิโนเชต์เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนทางด้านอาวุธ การข่าว รวมไปถึงงบประมาณสำหรับรัฐประหารครั้งนี้

รัฐประหารเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 1973 โดยกองทัพชิลีภายใต้การนำของนายพลปิโนเชต์ยกกองกำลังเข้าถล่มทำเนียบประธานาธิบดี จนกระทั่งในที่สุดกองทัพของชิลีภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะ ประธานาธิบดีอัลเยนเดกระทำอัตวินิบาตกรรม และการปกครองภายใต้ระบบทหารก็ได้เริ่มขึ้นในชิลี พร้อมไปกับการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยของประเทศชิลี ทั้งหมดนี้ล้วนสร้างความมั่นใจให้กับสหรัฐอเมริกาว่ารัฐบาลที่มีแนวความคิดแบบมาร์กซิสจะไม่มีโอกาสเข้ามาปกครองประเทศชิลีอีกจากปฏิบัติการในครั้งนี้

หลังจากกองทัพชิลีได้รับชัยชนะแล้ว สหรัฐอเมริกาสนับสนุนงบประมาณมหาศาล พร้อมกับความช่วยเหลือต่างๆแก่รัฐบาลใหม่ที่เป็นรัฐบาลเผด็จการทหาร พร้อมกันนั้นก็ปฏิเสธที่จะรับรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในประเทศชิลีจากการที่นายพลปิโนเชต์ตั้งองค์กรตำรวจลับขึ้นเพื่อสอบสวนประชาชนในประเทศ อย่างไรก็ตามนายพลปิโนเชต์สามารถครองอำนาจในประเทศชิลีได้อย่างยาวนาน จนกระทั่งถึงปี 1990 และเป็นปีเดียวกันกับที่ประชาธิปไตยของชิลีกลับมาสู่ประเทศชิลีอีกครั้งหนึ่ง

อ้างอิง

  1. Clayton, Lawrence A, Peru and the United States : the Condor and the Eagle, (Georgia : University of Georgia, 1999), 61
  2. Smith,Peter H, Modern Latin America, (New York : Oxford University,1989), 111 - 112
  3. Vanden, Harry E, Politics of Latin America : the power game, (New York : Oxford University, 2006), 439.
  4. Vanden, Harry E, Politics of Latin America : the power game, (New York : Oxford University, 2006), 440.
  5. "CIA Activities in chile". The George Washington University. 28 November 2013.
  6. Vanden, Harry E, Politics of Latin America : the power game, (New York : Oxford University, 2006), 442.
  7. "Convert Intervention in Chile, 1970 – 1973" (PDF). Treverton, Gregory F. 28 November 2013.
  8. "Navy Section United States Military Group,Chile" (PDF). TNavy Section United States Military Group,Chile. 28 November 2013.

บรรณานุกรม

  • Bakewell, Peter. John. A history of Latin America : C. 1450 to the present. 2 nd ed. Malden : Blackwell, 2004.
  • Vanden, Harry E. Politics of Latin America : the power game. 2 nd ed. New York : Oxford University, 2006.
  • Ariagada, Genaro. Pinochet : The Politics of Power. Boulder : Westview, 1991.
  • Clarfield, Gerard. United States Diplomatic History. Englewood Cliffs : Prentice Hall, 1992.
  • Spanier, John. American Foreign Policy Since World War II. Washington D.C. : Congressional Quarterly, 1995.
  • Smith,Peter H. Modern Latin America. New York : Oxford University, 1989.
  • Bell,Brian. Insight Guides : Chile. New York : Langenscheidt Publishing, 2002.
  • Clayton, Lawrence A. Peru and the United States : the Condor and the Eagle. Georgia : University of Georgia, 1999
  • Treverton, Gregory F. Convert Intervention in Chile, 1970 – 1973. Retrieved July 1, 2013, from http://www.princeton.edu/~bsimpson/history405/history405readingpages/history405readings/casestudychile.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Church Report. Covert Action in Chile 1963-1973 (FOIA)
  • National Security Archive's Chile Documentation Project
  • "Make the Economy Scream" famous instruction of Nixon to the CIA about Chile
  • CIA activities in Chile
  • Chile and the United States: Declassified Documents relating to the Military Coup, 1970-1976

การแทรกแซงของสหร, ฐในช, แม, แบบ, การแทรกแซงของสหร, ฐอเมร, กาบทบาทของสหร, ฐอเมร, กาในประเทศช, เร, มม, บทบาทให, เห, นต, งแต, ในช, วงคร, สต, ศตวรรษท, งแต, เหต, การณ, การเร, ยกร, องเอกราชของช, เป, นต, นมา, แต, การแสดงบทบาทของสหร, ฐอเมร, กาท, เด, นช, ดท, ดเก, ดข, น. aemaebb karaethrkaesngkhxngshrthxemrikabthbathkhxngshrthxemrikainpraethschilierimmibthbathihehntngaetinchwngkhriststwrrsthi 19 tngaetehtukarnkareriykrxngexkrachkhxngchiliepntnma aetkaraesdngbthbathkhxngshrthxemrikathiednchdthisudekidkhuninkhriststwrrsthi 20 emuxshrthxemrikaekhamaaethrkaesngkaremuxngphayinkhxngchili aelaichxanacinkarlmlangrthbalthikhdphlpraoychnkhxngpraethsshrthxemrika enuxha 1 karekhamamibthbathkhxngshrthxemrikainchilikxnkhriststwrrsthi 20 cnthungsinsudsngkhramolkkhrngthi 2 2 shrthxemrikakbkhwamphyayaminkartxtanfaysayinchili 1946 1970 3 karkawkhunsuxanackhxngprathanathibdislwadxr xleyned 1970 1973 4 rthpraharaelarabxbephdckarthharinchili 1973 1990 5 xangxing 6 brrnanukrm 7 aehlngkhxmulxunkarekhamamibthbathkhxngshrthxemrikainchilikxnkhriststwrrsthi 20 cnthungsinsudsngkhramolkkhrngthi 2 aekikhshrthxemrikaerimekhamamiekiywkhxngkbpraethschilitngaetinsngkhramaepsifik Pacific War inpi 1879 1883 odysngkhramkhrngniepnsngkhramrahwangchilikbpraethsepruaelaobliewiy sungphlkhxngsngkhramfaychiliepnphuchna mikarlngnaminsnthisyyasntiphaph thaihchiliiddinaednkhxngepruaeladinaednchayfngkhxngobliewiy 1 mulehtuthishrthxemrikaekhamaekiywkhxnginsngkhramkhrngniephraainpraethsepru minkthurkicchawxemriknekhaipthathurkicxyuepncanwnmak dngnnemuxsngkhramekidkhunaelw shrthxemrikacungmikhwamcaepnthicatxnghahnthanginkarpkpxngphlpraoychnthangthurkickhxngchawxemrikninpraethsepru rwmipthunghathangkhdkhwangimihchiliidrbchychna ephraathachilichnasngkhram oxkasthinkthurkicxemrikncathathurkicxaccaprasbphawayaklabak aelaxacminkthurkicchawxngkvsekhamathathurkicdwy xyangirktamshrthxemrikakimsamarthchwyehluxpraethsepruid cnkrathngchilisamarthyudemuxnghlwngkhxngeprukhuxemuxnglimaid aeminkhntnshrthxemrikaphayitkarnakhxngprathanathibdiecms karfildmikhwamkhidthicaichkxngthpheruxocmtichili aetemuxphicarnaaelwphbkxngeruxxemrikainewlannyngimphrxmthicarbkbkxngeruxkhxngchili cungepliynbthbathkhxngtninkarepnphuecrcaaethnthicathasngkhramkbchili thangshrthxemrikaphyayamecrcakbchiliihchilikhundinaednthiyudmaidihkbepruaelaobliewiy sungbriewnnnepnaehlngaerinetrnaelathxngaedng aelaminkthurkicchawxemriknthathurkicknxyuepncanwnmak aetchiliimyxm aelaeriykrxngihshrthxemrikaepnklang thaythisudcungtxngyxmihchiliyuddinaedninbriewnnnipdngnncaehnidwashrthxemrikaekhamikhwamsmphnthkbchilikhrngaerkinthanatwklanginkarecrcarahwangchiliaelapraethsepruaelaobliewiy ephuxhahnthanginkarrksaphlpraoychnkhxngchawxemriknindinaednepruihid rwmipthungchiihehnwashrthxemrikathathukwithithangephuximihxiththiphlkhxngckrwrrdixngkvsinbriewnnimimakekinipxikehtukarnhnungkxnsngkhramolkkhrngthisxngthishrthxemrikamibthbathinchilikhuxkhrngsngkhramklangemuxngchiliinpi kh s 1891 ehtukarnnikhuxehtukarnaerkthishrthxemrikaekhamamibthbathinpraethschiliodytrng klawkhuxinkhnann ekidkhwamkhdaeyngrahwangfayprathanathibdimanuexl blmaechda Mauel Balmaceda kbrthsphaekiywkbkdhmayekiywkbrayidcakbrrsthkhamchatiinaehlngaerinetrtaelathxngaedng khwamkhdaeyngluklamipcnthungkarekidsngkhramklangemuxng shrthxemrikaekharwminehtukarnkhrngniphankarkhxrxngkhxngfayprathanathibdiephuxchwyehluxihchnasngkhram thngniephraashrthxemrikaelngehnpraoychnwahakekharwmkbfayprathanathibdicamioxkasaelakaircakaehlngaerinetrdaelathxngaedngmakkhun shrthxemrikacungsnbsnunthngthangdanxawuthyuthothpkrn xyangirktamphlkhxngsngkhramfayrthsphaidrbchychnaodykarchwyehluxkhxngxngkvs hlngehtukarnkhrngnisngphlihxngkvsidrbphlpraoychnmakkhuncakkarthathurkicinchiliaelasngphlihkhwamsmphnthrahwangshrthxemrikaaelachilikxnsinsudstwrrsthi 19 epnipinthangthiimdimaknkemuxerimtnkhritstwrrsthi 20 shrthxemrikaprakasichnoybayephuxnbanthidi Good Neighbor Policy ephuxldaerngtxtancakchatitanginlatinxemrika cakkarthishrthxemrikaekhaipaethrkaesngkickarphayinkhxngpraethstang ephuxpkpxngthurkickhxngprachachnchawxemrikn odynoybaymihlkkarsakhykhuxcaimaethrkaesngkickarphayinkhxngchatiinlatinxemrika sngphlihshrthxemrikaerimidrbkhwamiwwangiccakchatixuninlatinxemrika sungrwmthungpraethschilidwy dngnnnkthurkicchawxemriknerimekhaipprakxbthurkicehmuxngaer inetrdaelaehmuxngaerthxngaedngmakkhun cnsamarthkhwbkhumkickarehmuxngaerkhxngchiliid odyechphaaxyangyingehmuxngaerthxngaedng 2 karthishrthxemrikasamarthkhwbkhumkickarehmuxngaerkhxngchiliidethakbwashrthxemrikasamarthkhwbkhumrabbesrsthkickhxngchiliid aemwakarekhamakhxngshrthxemrikainkhrngnicasngphlihchilisamarthsrangrayidcakthxngaedngxyangmhasal aetrayidnnepnephiyngswnnxyethann ephraarayidswnihytkxyuinklumbristhkhxngnaythunchawxemriknhakklawodysrupkhuxkhwamsmphnthrahwangshrthxemrikakbpraethschilismykxnsngkhramolkkhrngthi 2 caennkhwamsmphnththangdankarkhakarlngthunepnhlk swnkhwamsmphnththangdankaremuxngmiimmaknk ephraaepnephiyngkarihkarsnbsnuntxklumtangethann sungkhwamsmphnthinrupaebbnicaerimaeprepliynipepnkaraethrkaesngkaremuxngphayinkhxngchili ephraashrthxemrikaekidkhwamkngwlwafaysaycakhunmakhrxngxanacinpraethschili ehmuxngthxngaedng Chuquicamata inpi 1925 sungchiliidmaemuxkhrawchnasngkhramaepsifikshrthxemrikakbkhwamphyayaminkartxtanfaysayinchili 1946 1970 aekikhhlngcaksngkhramolkkhrngthi 2 phanphnip karemuxngolkaebngxxkepn 2 fayxyangchdecnkhuxfayesriprachathipitynaodypraethsshrthxemrika aelafaysngkhmniymnaodyshphaphosewiyt thngsxngfaytangichkhwamphyayaminhlaywithithangthiepnipidinkarkhyayxiththiphlaelapxngknxiththiphlkhxngxikfayhnung odyechphaaxyangyingkarephyaephrlththixudmkarnsngkhmniym sungshrthxemrikamxngwaepnsingthisnkhlxnxanackhxngtnexng krrmkrchawchiliedinkhbwnsnbsnunnayslwadxr xleynedinkareluxktngpi 1964 emuxyxnklbmamxngsphaphkarninpraethschili inkhnannsngkhmchiliaebngxxkepn 2 klumxyangehnidchdecnkhuxklumnaythunkbklumkrrmkr sungklumkrrmkrodyechphaaxyangyingkrrmkrinxutsahkrrmehmuxngaerinetrdaelaehmuxngaerthxngaedng tangidrbkarkdkhicaknaycangaelaimidrbkhwamethaethiym rwmthngswsdikarthiimdiphx dngnnkhwamkhidaebbmarksiscungerimekhamaephyaephraekklumkrrmkrepnladbaerk 3 dwyehtuphldngklawthaihphrrkhkhxmmiwnistchiliaelaphrrkhsngkhmniymidthuxkaenidkhunxyangirktamshrthxemrikaekidkhwamrusukepnkngwlxyangyingaelaekrngwahakpraethschilimirthbalepnkhxmmiwnisthruxepnsngkhmcaepnphlraytxpraethsshrthxemrikathngindankhxngesrsthkicaelayuththsastrkhxngphumiphakh klawkhux kickarehmuxngaerinetrdaelathxngaedngxacthukyudepnkhxngrth rwmthungmipraethsthimixudmkarnsngkhmniymxyuiklpraethskhxngtndwy rthbalkhxngshrthxemrikacungkddnrthbalkhxngpraethschilinaodynaykaebriyl kxnsaels biedla ihxxkprakasihphrrkhkhxmmiwnistepnphrrkhkaremuxngthiphidkdhmay 4 thngthiphrrkhkhxmmiwnistmiswnthaihekhachnakareluxktngthungaemcamikarprakasihphrrkhkhxmmiwnistepnphrrkhkaremuxngthiphidkdhmayaetklumaenwrwmfaysay rwmipthungphrrkhsngkhmniymchiliidrwmphlngknkxtng Unidad Popular xnepnaenwrwmkhxngphuthimikhwamkhidfaysayphayitkarnakhxngnayslwadxr xlelned inkareluxktnginpi 1958 nayslwadxr xleynedaephkareluxktngnayexduxarod mxnthalwaimmaknk emuxnayexduxarodidepnprathanathibdi idmikardaeninnoybayesrsthkictamaebbthunniymesri plxyihepniptamklikrakha aelaldkaaephngphasisinkhanaekha sngphlihsinkhacakxemrikaekhamakhayinpraethschiliepncanwnmak krrmkrthiaetedimrayidnxyxyuaelw kimidrbkarkhunengineduxn rwmipthungesrsthkickhxngchilithikhxnkhangaeymakcaknoybaythunniymthilmehlw sngphlihmikhwamcaepntxngkuengincakpraethsshrthxemrikaaela IMF makkhun emuxsphaphkarnepnechnniyxmehnidodychdecnwashrthxemrikaidpraoychncakkarichnoybaythunniymesri sngsinkhaekhamakhaykhrawlamak rwmthngsamarthkhwbkhumesrsthkickhxngchiliimihepnxisraphanrupaebbkarkuengintang aelashrthxemrikasamarthmnicidwatrabidthinayexduxarodyngepnprathanathibdixyu shrthxemrikayngkhngidphlpraoychnthangesrsthkicaelayuththsastrcakpraethschiliemuxkhrbkahndkardarngtaaehnngkhxngnayexduxarod idmikarcdkareluxktngkhrngihmkhuninpi 1964 khrngniyngkhngepnkaraekhngrahwangphusmkhrsxngkhnepnsakhykhuxnayexduxarodaelanayxleyned kareluxktngkhrngniepnthinasnicmak thngniephraashrthxemrikamibthbathxyangsungmakinkarchwynayexduxarodhaesiyngeluxktng ephuxihekhaiddarngtaaehnngepnprathanathibdixikhnungsmyaelasamarthrksaphlpraoychnkhxngxemrikaid rwmipthungpxngknnayxleynedthimikhwamkhidaebbsngkhmimihkhunmamixanacinchili kareluxktngkhrngnishrthxemrika odykarcdkarkhxng CIA idsnbsnunthngthangdanngbpraman karokhsnachwnechux rwmipthungkaredinthangxxkipkhxkhaaennesiyngaelasnbsnunphrrkhcakelkphrrkhnxyihxxkmatdkhaaennnayxleyned 5 karkrathakhrngnikhxngshrthxemrikaaela CIA prasbphlsaerc nayexduxarodklbmachnaeluxktngxikkhrnghnunghlngcakhmdwarakhxngnayexduxarodxikhnungsmy praethschiliidmikarcdkareluxktngxikkhrnghnunginpi 1970 odyinkareluxktngkhrngniyngkhngepnkaraekhngkhnrahwang 2 phusmkhrkhnsakhykhuxnayxelssandi phuthiidrbkarsnbsnuncakshrthxemrikaaelanayxleyned inkareluxktngkhrngnishrthxemrikaimidthumethngbpramanephuxchwyehluxphusmkhrfayidfayhnungepnphiess aetthumethngbpramanephuxocmtinayxleyned xyangirktaminkhrngnikarkrathakhxng CIA aelashrthxemrikaimepnphlsaerc nayslwadxr xleynedchnakareluxktngkhunmaepnprathanathibdifaysaykhnaerkkhxnglatinxemrikathimacakkareluxktngkhxngprachachn aemwaphlkareluxktngcaxxkmaepnthipracksaelw aetthangshrthxemrikamithathiimyxmrbphlkareluxktngodyichbthkhwamtangephuxocmtinayslwadxr xleyned emuxshrthxemrikaruwakarkrathaechnniimsaercaelwcungsngkhniplkphatwphubychakarthharsungsudkhxngchilikhuxnayphlchinedxr ephuxecrcaihnayphlchinedxrrwmmuxkbrthprahar 6 xyangirktamnayphlchinedxr phusungptiyantnpkpxngrththrrmnuy idyingtxsukbklumkhnthicathakarlkphatw thaythisudinphlchinedxresiychiwit karesiychiwitkhxngnayphlchinedxrinkhrngnisngphlihkxngthphaelaprachachnsnbsnunekhamakkhun aelaxleynedidkhundarngtaaehnngepnprathanathibdikhxngchilikarkawkhunsuxanackhxngprathanathibdislwadxr xleyned 1970 1973 aekikhprathanathibdislwadxr xleyned epnprathanathibdiexiyngsaykhnaerkkhxnglatinxemrikathimacakkareluxktng xiksinghnungthiepnthinasngektkhxngprathanathibdislwadxr xleynedkhuxaemwatncaaephkareluxktng aetkimekhykhidthicalmlangxanackhxngrthbalklanghruxrxngkhxihtangchatichwyehlux sungphidcakphuthimiaenwkhidexiyngsayodythwipthitxngthakarptiwtiephuxihidxanacinkarbriharpraethsemuxprathanathibdixleynedekhamabriharpraethsaelw shrthxemrikasubthrabmawaprathanathibdiminoybaythicakhwbrwmkickarkhxngexkchn thaihshrthxemrikaaela CIA ichaephnkarthithukeriykwa Operation Track I aela Track IIOperation track I epnaephnthiichkddnsphakhxngekrskhxngchiliimiheluxknayslwadxr xleyned epnprathanathibdi enuxngcakkhaaennrahwangphusmkhrthngsxngiklekhiyngknmak odyihsphakhxngekrskhxngchilieluxkxelssandiaethn aelwihnayxelssandilaxxk ephuxepidoxkasihmikareluxktngihm aetaephnniimsaerc cungdaeninkartxinaephnthi 2Operation track II epnaephnkarthiichhlngcakphbwaaephnaerkimsaerc sungepnaephnkarthiklawthungmakxnhnaniaelw klawkhux karhanayphlchawchilimaepnphrrkhphwkaelaichkxngkalngthangthharthakarptiwti sungaephnnikimsaercephraanayphlchinedxrimidrwmmuxdwy 7 rthpraharaelarabxbephdckarthharinchili 1973 1990 aekikhdubthkhwamhlkthi rthpraharinpraethschili ph s 2516 karyingthlmthaeniybprathanathibdikhxngfayrthprahar hlngcakthi CIA lmehlwinkarokhnlmprathanathibdislwadxr xleyned thnginaephn Track I aela Track II prathanathibdiniksnkhxngshrthxemrikaaelanaykhissingecxridprachumkb CIA ephuxhathangokhnlmxanackhxngprathanathibdislwadxr xleyned odyidkhxsrupwacaepntxngmirthpraharekidkhuninpraethschili ephuxrksaphlpraoychnthangthurkickhxngshrthxemrikaaelaskdknkarkhyaytwkhxngaenwkhidsngkhmniym inthisudcungmikareluxknayphlpionechtepnhwhnakhnarthprahar rthbalshrthxemrikasnbsnunthangdanxawuth karkhaw rwmipthungngbpramansahrbrthpraharkhrngnirthpraharerimtnkhuninwnthi 11 knyayn 1973 odykxngthphchiliphayitkarnakhxngnayphlpionechtykkxngkalngekhathlmthaeniybprathanathibdi cnkrathnginthisudkxngthphkhxngchiliphayitkarsnbsnunkhxngshrthxemrikaidrbchychna prathanathibdixleynedkrathaxtwinibatkrrm aelakarpkkhrxngphayitrabbthharkiderimkhuninchili phrxmipkbkarsinsudrabxbprachathipitykhxngpraethschili thnghmdnilwnsrangkhwammnicihkbshrthxemrikawarthbalthimiaenwkhwamkhidaebbmarksiscaimmioxkasekhamapkkhrxngpraethschilixikcakptibtikarinkhrngni 8 hlngcakkxngthphchiliidrbchychnaaelw shrthxemrikasnbsnunngbpramanmhasal phrxmkbkhwamchwyehluxtangaekrthbalihmthiepnrthbalephdckarthhar phrxmknnnkptiesththicarbruwamikarlaemidsiththimnusychnekidkhuninpraethschilicakkarthinayphlpionechttngxngkhkrtarwclbkhunephuxsxbswnprachachninpraeths xyangirktamnayphlpionechtsamarthkhrxngxanacinpraethschiliidxyangyawnan cnkrathngthungpi 1990 aelaepnpiediywknkbthiprachathipitykhxngchiliklbmasupraethschilixikkhrnghnungxangxing aekikh Clayton Lawrence A Peru and the United States the Condor and the Eagle Georgia University of Georgia 1999 61 Smith Peter H Modern Latin America New York Oxford University 1989 111 112 Vanden Harry E Politics of Latin America the power game New York Oxford University 2006 439 Vanden Harry E Politics of Latin America the power game New York Oxford University 2006 440 CIA Activities in chile The George Washington University 28 November 2013 Vanden Harry E Politics of Latin America the power game New York Oxford University 2006 442 Convert Intervention in Chile 1970 1973 PDF Treverton Gregory F 28 November 2013 Navy Section United States Military Group Chile PDF TNavy Section United States Military Group Chile 28 November 2013 brrnanukrm aekikhBakewell Peter John A history of Latin America C 1450 to the present 2 nd ed Malden Blackwell 2004 Vanden Harry E Politics of Latin America the power game 2 nd ed New York Oxford University 2006 Ariagada Genaro Pinochet The Politics of Power Boulder Westview 1991 Clarfield Gerard United States Diplomatic History Englewood Cliffs Prentice Hall 1992 Spanier John American Foreign Policy Since World War II Washington D C Congressional Quarterly 1995 Smith Peter H Modern Latin America New York Oxford University 1989 Bell Brian Insight Guides Chile New York Langenscheidt Publishing 2002 Clayton Lawrence A Peru and the United States the Condor and the Eagle Georgia University of Georgia 1999 Treverton Gregory F Convert Intervention in Chile 1970 1973 Retrieved July 1 2013 from http www princeton edu bsimpson history405 history405readingpages history405readings casestudychile pdfaehlngkhxmulxun aekikhChurch Report Covert Action in Chile 1963 1973 FOIA National Security Archive s Chile Documentation Project Make the Economy Scream famous instruction of Nixon to the CIA about Chile CIA activities in Chile Chile and the United States Declassified Documents relating to the Military Coup 1970 1976ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karaethrkaesngkhxngshrthinchili amp oldid 9189396, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม