fbpx
วิกิพีเดีย

คลื่นไหวสะเทือน

คลื่นไหวสะเทือน (อังกฤษ: seismic wave) เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลก อาจเกิดจากแผ่นดินไหว การระเบิด หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดคลื่นความถี่ต่ำ คลื่นไหวสะเทือนอาจถูกตรวจรับได้ด้วย seismograph, geophone, hydrophone หรือ accelerometer ความเร็วของการกระจายของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของตัวกลาง เนื่องจากความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในชั้นหินระดับลึก ความเร็วของคลื่นในชั้นหินลึกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าความเร็วของคลื่นบริเวณผิวโลก ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 8 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นเปลือกโลก และอาจสูงถึง 13 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นแมนเทิลระดับลึก

คลื่นตัวกลางและคลื่นพื้นผิว

แผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในหลายชนิดที่มีความเร็วแตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคลื่นเหล่านี้เพื่อระบุพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในขณะที่นักธรณีฟิสิกส์อาจใช้สมบัติของการสะท้อนและการหักเหของคลื่นไหวสะเทือนผ่านชั้นหินต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างใต้ดิน

ประเภทของคลื่นไหวสะเทือน

คลื่นไหวสะเทือนสามารถแบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นได้สองประเภทได้แก่คลื่นตัวกลาง และคลื่นพื้นผิว

คลื่นตัวกลาง

คลื่นตัวกลาง (อังกฤษ: body wave) คือคลื่นที่เดินทางทะลุผ่านโลก เส้นทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจหักเหให้เคลื่อนไปจากเส้นตรงเนื่องจากความแตกต่างของความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของโครงสร้างภายในของโลก ในขณะเดียวกันคุณสมบัติเหล่านี้ของชั้นหินอาจเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ องค์ประกอบ และสถานะ การหักเหของคลื่นไหวสะเทือนเป็นไปในลักษณะเดียวกับคลื่นแสง

คลื่นปฐมภูมิ

คลื่นเส้นตรง
คลื่นจุด
การเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิในระนาบ 2 มิติ

คลื่นปฐมภูมิ (อังกฤษ: primary wave หรือ p wave) เป็นคลื่นตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการบีบอัดและคลายตัวของวัสดุเนื่องจากความยืดหยุ่นเมื่อคลื่นเดินทางผ่านโดยไม่เกิดการหมุน ลักษณะของคลื่นประเภทนี้อาจเทียบได้กับคลื่นเสียงในอากาศ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิสามารถคำนวณได้จากสมการ

 

เมื่อ K, μ, ρ แทน โมดูลัสของแรงบีบอัด, โมดูลัสของแรงเฉือน และความหนาแน่นของตัวกลางตามลำดับ

คลื่นทุติยภูมิ

คลื่นเส้นตรง
คลื่นจุด
การเคลื่อนที่ของคลื่นทุติยภูมิในระนาบ 2 มิติ

คลื่นทุติยภูมิ (อังกฤษ: secondary wave หรือ s wave) เป็นคลื่นตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการเฉือนและการหมุนของเนื้อวัสดุเมื่อคลื่นเดินทางผ่านโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางปริมาตร

ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิสามารถคำนวณได้จากสมการ

 

เมื่อ μ, ρ แทน โมดูลัสของแรงเฉือน และความหนาแน่นของตัวกลางตามลำดับ

จากสมการความสัมพันธ์ของความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลางที่มีผลต่อความเร็วของคลื่นในตัวกลาง จะเห็นได้ว่าความเร็วของคลื่นแปรผกผันกับความหนาแน่นของตัวกลาง จากความหนาแน่นของชั้นหินที่เพิ่มขึ้นตามความลึกอาจชี้ว่าความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนลดลงในระดับความลึกที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากค่า Bulk modulus และ Shear modulus เพิ่มขึ้นตามความลึกของชั้นหินด้วยเช่นกันปัจจัยของความยืดหยุ่นของตัวกลางส่งผลต่อความเร็วในสัดส่วนที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการหักล้างจากความสัมพันธ์ของความหนาแน่น ทำให้ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนเพิ่มมากขึ้นในระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น

คลื่นพื้นผิว

คลื่นพื้นผิว (อังกฤษ: surface wave) คือคลื่นที่เดินทางไปตามผิวโลกโดยไม่แพร่เข้าไปภายในของผิวโลกระดับลึก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแผ่นดินไหวระดับตื้น คลื่นพื้นผิวนี้มีแอมพลิจูดสูงกว่าคลื่นในตัวกลางซึ่งหมายถึงระดับพลังงานที่สูงกว่า นั่นคือความเสียหายหลักจากแผ่นดินไหวเกิดจากคลื่นประเภทนี้ในขณะที่คลื่นในตัวกลางจะก่อผลกระทบในระดับที่น้อยกว่า เนื่องจากการเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิวใน 2 มิติ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่น้อยกว่าการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางซึ่งเป็น 3 มิติ คลื่นพื้นผิวที่เป็นที่รู้จักมี 2 ประเภท

คลื่นเรลีย์

คลื่นเรลีย์ (อังกฤษ: Rayleigh wave,LR) คือคลื่นที่อนุภาคในตัวกลางเกิดการสั่นในแนวดิ่ง พื้นผิวโลกเกิดการเคลื่อนไหวในเชิงวงรีโดยมีแกนหลักในแนวแกนดิ่ง แอมพลิจูดของคลื่นสลายในเชิงเอกซ์โพเนนเชียล

คลื่นเลิฟ

คลื่นเลิฟ (อังกฤษ: Love wave,LQ) คือคลื่นที่อนุภาคในตัวกลางเกิดการสั่นในแนวระดับตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นและไม่ก่อให้เกิดการกระจัดในแนวดิ่ง ในลักษณะเดียวกับการเลื้อยของงูไปตามผิวดิน

การเรียกชื่อคลื่น

 
เส้นทางการเดินทางของคลื่นแผ่นดินไหว

เส้นทางการเดินทางของคลื่นจากจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวถึงจุดสังเกตการณ์มักจะถูกเขียนในรูปแบบของแผนภาพโดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางการเดินทางของคลื่นดังตัวอย่างในภาพ เมื่อพิจารณาการสะท้อนของคลื่นเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางชนิดต่าง ๆ จะทำให้เส้นทางการเดินทางของคลื่นที่เป็นไปได้มีจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละรูปแบบที่เป็นไปได้สามารถเขียนแทนได้ด้วยกลุ่มของตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวอักษรพิมพ์เล็กใช้สื่อถึงเส้นเขตระหว่างสองตัวกลาง (เกิดการสะท้อนของคลื่น) ในขณะที่ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ใช้สื่อถึงตัวกลางที่คลื่นเดินทางผ่านเข้าไป

c คลื่นสะท้อนที่แก่นโลกชั้นนอก
d คลื่นสะท้อนที่เกิดเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องที่ความลึก d
g คลื่นที่เดินทางผ่านเปลือกโลกเท่านั้น
i คลื่นสะท้อนที่แก่นโลกชั้นใน
I คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นใน
h คลื่นสะท้อนเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องภายในเปลือกโลกชั้นใน
J คลื่นทุติยภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นใน
K คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นนอก
L,LQ คลื่นเลิฟ
n คลื่นที่เดินทางไปตามผิวสัมผัสระหว่างแก่นโลก (ชั้นนอก) และแมนเทิล
P คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านชั้นแมนเทิล
p คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้วสะท้อนกลับผิวโลก
R,LR คลื่นเรลีย์
S คลื่นทุติยภูมิที่เดินทางผ่านชั้นแมนเทิล
s คลื่นทุติยภูมิที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้วสะท้อนกลับที่ผิวโลก
w คลื่นสะท้อนที่ก้นสมุทร
ตัวอย่าง
  • คลื่น ScP คือคลื่นไหวสะเทือนที่เริ่มต้นเดินทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในรูปของคลื่นทุติยภูมิ ผ่านชั้นแมนเทิล แล้วสะท้อนที่แก่นโลกชั้นนอก และเดินทางผ่านชั้นแมนเทิลกลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจแผ่นดินไหวที่ผิวโลกในรูปของคลื่นปฐมภูมิ
  • คลื่น sPKIKP คือคลื่นไหวสะเทือนที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในรูปของคลื่นทุติยภูมิขึ้นมาที่ผิวโลก ก่อนที่จะสะท้อนกลับลงไปในชั้นแมนเทิลในรูปของคลื่นปฐมภูมิ เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นใน แล้วทะลุเข้าสู่แก่นโลกชั้นนอกอีกฝั่งหนึ่ง และเดินทางผ่านชั้นแมนเทิลอีกฝั่งหนึ่งในรูปของคลื่นปฐมภูมิ

การใช้ประโยชน์จากคลื่นตัวกลางเพื่อระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว

 
การเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิบนแผนภาพเดียวกัน

ในพื้นที่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เราสามารถใช้ผลต่างของเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพื่อหาระยะห่างของศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวกับพื้นที่นั้น ในกรณีของแผ่นดินไหวที่พลังงานถูกปลดปล่อยทั่วไปในระดับโลก เวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิซึ่งถูกบันทึกจากสถานีวัดการเกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อยสี่สถานีสามารถนำมาใช้เพื่อคำนวณหาตำแหน่งของจุดศูนย์กลางรวมถึงเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว

โดยปกติแล้ว นักวิทยาศาสตร์เลือกที่จะอ้างอิงจากข้อมูลของหลายสิบสถานีเพื่อความแม่นยำในการระบุจุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว เราเรียกความต่างระหว่างระยะเวลาที่ใช้หากแผ่นดินไหวเกิดที่จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (บนผิวโลก) กับระยะเวลาที่ใช้จริงว่าเรสิดวล (residual) โดยปกติแล้วเรสิดวลจะมีค่าประมาณ 0.5 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น โดยจะมีค่าเพียง 0.1-0.2 สำหรับแผ่นดินไหวในวงแคบ นั่นคือความแตกต่างของคลื่นแผ่นดินไหวไม่ว่าจะเกิด ณ ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว หรือเกิด ณ จุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวมีค่าไม่ต่างกันมากนัก โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะถูกสร้างให้คำนวณโดยตั้งสมมุติฐานเริ่มต้นว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับลึกที่ 33 กิโลเมตร แล้วจึงลดค่าเรสิดวล (เพิ่มความแม่นยำ) โดยการเปลี่ยนระดับความลึก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ระดับความลึกไม่เกิน 40 กิโลเมตร และมีบางกรณีที่เกิดที่ระดับความลึกที่ 700 กิโลเมตร

วิธีการที่รวดเร็วสำหรับใช้หาระยะห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึงสถานีสำรวจสำหรับกรณีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นไม่ไกลว่า 200 กิโลเมตรสามารถทำได้โดยใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุตยภูมิในหน่วยวินาทีแล้วคูณด้วย 8 กิโลเมตรต่อวินาที ระบบวัดคลื่นไหวสะเทือนสมัยใหม่ใช้เทคนิคที่ซับซ้อนกว่านี้

สำหรับแผ่นดินไหวที่ห่างจากสถานีวัดมากๆ คลื่นปฐมภูมิแรกที่วัดได้จะเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นแมนเทิล และในบางกรณีอาจเคลื่อนที่ไกลถึงชั้นแก่นโลกชั้นนอกก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ผิวโลก คลื่นไหวสะเทือนเหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ในระดับลึกชั้นแมนเทิลได้เร็วกว่าการเคลื่อนที่ไปตามชั้นเปลือกโลก การเดินทางของคลื่นลึกภายในดาวเคราะห์ที่เร็วกว่าระดับตื้นเรียกว่าหลักของออยแกน (Huygens' Principle) ถึงแม้ความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับลึกจะเป็นตัวชะลอความเร็วของคลื่น แต่เนื่องจากค่าความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นส่งผลเร่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นในสัดส่วนที่มากกว่า นั่นคือคลื่นเดินทางได้เร็วกว่าในชั้นโลกระดับลึกและหมายถึงระยะเวลาที่สั้นกว่า

ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นจะถูกคำนวณอย่างแม่นยำเพื่อระบุจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นปฐมภูมิเดินทางด้วยความเร็วหลายกิโลเมตรต่อวินาที ความคลาดเคลื่อนในการจับเวลาเพียงครึ่งวินาทีอาจหมายถึงความคลาดเคลื่อนในระยะห่างหลายกิโลเมตร ในทางปฏิบัติจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลคลื่นปฐมภูมิจากหลายสถานีเพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นนี้ และทำให้สามารถคำนวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้ใกล้เคียง 10-50 กิโลเมตรเมื่อใช้ข้อมูลจากสถานีวัดแผ่นดินไหวรอบโลก ระบบเครือข่ายสถานีแผ่นดินไหวที่มีจำนวนมากในแคลิฟอร์เนียสามารถคำนวณได้ใกล้เคียงระดับกิโลเมตร และอาจคำนวณได้แม่นยำมากขึ้นเมื่อคำนวณจาก cross-correlation ของไซส์โมแกรมโดยตรง

อ้างอิง

  1. C. M. R. Fowler (2005). The solid earth: an introduction to global geophysics. Cambridge University Press. ISBN 9780521584098. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  2. Keith Edward Bullen; Bruce A. Bolt (1985). An introduction to the theory of seismology. Cambridge University Press. ISBN 9780521283892. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  3. William H. K. Lee; International Association of Seismology and Physics of the Earth's Interior. Committee on Education; International Association for Earthquake Engineering (2003). International handbook of earthquake and engineering seismology. Academic Press. ISBN 9780124406582. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.

ดูเพิ่ม

คล, นไหวสะเท, อน, งกฤษ, seismic, wave, เป, นคล, นท, ายทอดพล, งงานผ, านภายในโลก, อาจเก, ดจากแผ, นด, นไหว, การระเบ, หร, อก, จกรรมอ, อให, เก, ดคล, นความถ, อาจถ, กตรวจร, บได, วย, seismograph, geophone, hydrophone, หร, accelerometer, ความเร, วของการกระจายของคล, นม,. khlunihwsaethuxn xngkvs seismic wave epnkhlunthithaythxdphlngnganphanphayinolk xacekidcakaephndinihw karraebid hruxkickrrmxun thikxihekidkhlunkhwamthita khlunihwsaethuxnxacthuktrwcrbiddwy seismograph geophone hydrophone hrux accelerometer khwamerwkhxngkarkracaykhxngkhlunmikhwamsmphnthkbkhwamhnaaennaelakhwamyudhyunkhxngtwklang enuxngcakkhwamhnaaennthiephimsungkhuninchnhinradbluk khwamerwkhxngkhluninchnhinlukcungmiaenwonmthicasungkwakhwamerwkhxngkhlunbriewnphiwolk khwamerwkhxngkhlunihwsaethuxnxacaetktangkniptngaet 2 thung 8 kiolemtrtxwinathiinchnepluxkolk aelaxacsungthung 13 kiolemtrtxwinathiinchnaemnethilradblukkhluntwklangaelakhlunphunphiw aephndinihwsamarthkxihekidkhlunihwsaethuxninhlaychnidthimikhwamerwaetktangkn nkwithyasastrsamarthichphltangkhxngrayaewlathiichinkarekhluxnthikhxngkhlunehlaniephuxrabuphikdkhxngsunyklangaephndinihw inkhnathinkthrnifisiksxacichsmbtikhxngkarsathxnaelakarhkehkhxngkhlunihwsaethuxnphanchnhintang ephuxwiekhraahaelatrwcsxbokhrngsrangitdin enuxha 1 praephthkhxngkhlunihwsaethuxn 1 1 khluntwklang 1 1 1 khlunpthmphumi 1 1 2 khlunthutiyphumi 1 2 khlunphunphiw 1 2 1 khlunerliy 1 2 2 khlunelif 2 kareriykchuxkhlun 3 karichpraoychncakkhluntwklangephuxrabutaaehnngsunyklangaephndinihw 4 xangxing 5 duephimpraephthkhxngkhlunihwsaethuxn aekikhkhlunihwsaethuxnsamarthaebngtamlksnakarekhluxnthikhxngkhlunidsxngpraephthidaekkhluntwklang aelakhlunphunphiw khluntwklang aekikh khluntwklang xngkvs body wave khuxkhlunthiedinthangthaluphanolk esnthangkarekhluxnthikhxngkhlunxachkehihekhluxnipcakesntrngenuxngcakkhwamaetktangkhxngkhwamhnaaennaelakhwamyudhyunkhxngokhrngsrangphayinkhxngolk inkhnaediywknkhunsmbtiehlanikhxngchnhinxacepliyniptamxunhphumi xngkhprakxb aelasthana karhkehkhxngkhlunihwsaethuxnepnipinlksnaediywkbkhlunaesng khlunpthmphumi aekikh khlunesntrng khluncudkarekhluxnthikhxngkhlunpthmphumiinranab 2 miti khlunpthmphumi xngkvs primary wave hrux p wave epnkhluntwklangthiekiywkhxngkbkarbibxdaelakhlaytwkhxngwsduenuxngcakkhwamyudhyunemuxkhlunedinthangphanodyimekidkarhmun lksnakhxngkhlunpraephthnixacethiybidkbkhlunesiynginxakas 1 khwamerwinkarekhluxnthikhxngkhlunpthmphumisamarthkhanwnidcaksmkarV P K 4 3 m r displaystyle V P sqrt frac K frac 4 3 mu rho emux K m r aethn omdulskhxngaerngbibxd omdulskhxngaerngechuxn aelakhwamhnaaennkhxngtwklangtamladb khlunthutiyphumi aekikh khlunesntrng khluncudkarekhluxnthikhxngkhlunthutiyphumiinranab 2 miti khlunthutiyphumi xngkvs secondary wave hrux s wave epnkhluntwklangthiekiywkhxngkbkarechuxnaelakarhmunkhxngenuxwsduemuxkhlunedinthangphanodyimekidkarepliynaeplngthangprimatr 1 khwamerwinkarekhluxnthikhxngkhlunpthmphumisamarthkhanwnidcaksmkarV S m r displaystyle V S sqrt frac mu rho emux m r aethn omdulskhxngaerngechuxn aelakhwamhnaaennkhxngtwklangtamladbcaksmkarkhwamsmphnthkhxngkhwamyudhyunaelakhwamhnaaennkhxngtwklangthimiphltxkhwamerwkhxngkhlunintwklang caehnidwakhwamerwkhxngkhlunaeprphkphnkbkhwamhnaaennkhxngtwklang cakkhwamhnaaennkhxngchnhinthiephimkhuntamkhwamlukxacchiwakhwamerwkhxngkhlunihwsaethuxnldlnginradbkhwamlukthiephimmakkhun xyangirkdi enuxngcakkha Bulk modulus aela Shear modulus ephimkhuntamkhwamlukkhxngchnhindwyechnknpccykhxngkhwamyudhyunkhxngtwklangsngphltxkhwamerwinsdswnthimakkwaemuxethiybkbkarhklangcakkhwamsmphnthkhxngkhwamhnaaenn thaihkhwamerwkhxngkhlunihwsaethuxnephimmakkhuninradbkhwamlukthiephimkhun khlunphunphiw aekikh khlunphunphiw xngkvs surface wave khuxkhlunthiedinthangiptamphiwolkodyimaephrekhaipphayinkhxngphiwolkradbluk swnihyekidkhuninaephndinihwradbtun khlunphunphiwnimiaexmphlicudsungkwakhlunintwklangsunghmaythungradbphlngnganthisungkwa nnkhuxkhwamesiyhayhlkcakaephndinihwekidcakkhlunpraephthniinkhnathikhlunintwklangcakxphlkrathbinradbthinxykwa enuxngcakkarekhluxnthikhxngkhlunphunphiwin 2 miti sungthaihekidkarsuyesiyphlngnganthinxykwakarekhluxnthikhxngkhlunintwklangsungepn 3 miti khlunphunphiwthiepnthiruckmi 2 praephth khlunerliy aekikh khlunerliy xngkvs Rayleigh wave LR khuxkhlunthixnuphakhintwklangekidkarsninaenwding phunphiwolkekidkarekhluxnihwinechingwngriodymiaeknhlkinaenwaeknding aexmphlicudkhxngkhlunslayinechingexksophennechiyl khlunelif aekikh khlunelif xngkvs Love wave LQ khuxkhlunthixnuphakhintwklangekidkarsninaenwradbtngchakkbthisthangkarekhluxnthikhxngkhlunaelaimkxihekidkarkracdinaenwding inlksnaediywkbkareluxykhxngnguiptamphiwdinkareriykchuxkhlun aekikh esnthangkaredinthangkhxngkhlunaephndinihw esnthangkaredinthangkhxngkhluncakcudsunyklangkarekidaephndinihwthungcudsngektkarnmkcathukekhiyninrupaebbkhxngaephnphaphodyichluksraesdngthisthangkaredinthangkhxngkhlundngtwxyanginphaph emuxphicarnakarsathxnkhxngkhlunemuxedinthangphantwklangchnidtang cathaihesnthangkaredinthangkhxngkhlunthiepnipidmicanwnnbimthwn aetlarupaebbthiepnipidsamarthekhiynaethniddwyklumkhxngtwxksrphasaxngkvs twxksrphimphelkichsuxthungesnekhtrahwangsxngtwklang ekidkarsathxnkhxngkhlun inkhnathitwxksrphimphihyichsuxthungtwklangthikhlunedinthangphanekhaip 2 3 c khlunsathxnthiaeknolkchnnxkd khlunsathxnthiekidenuxngcakkhwamimtxenuxngthikhwamluk dg khlunthiedinthangphanepluxkolkethanni khlunsathxnthiaeknolkchninI khlunpthmphumithiedinthangphanaeknolkchninh khlunsathxnenuxngcakkhwamimtxenuxngphayinepluxkolkchninJ khlunthutiyphumithiedinthangphanaeknolkchninK khlunpthmphumithiedinthangphanaeknolkchnnxkL LQ khlunelifn khlunthiedinthangiptamphiwsmphsrahwangaeknolk chnnxk aelaaemnethilP khlunpthmphumithiedinthangphanchnaemnethilp khlunpthmphumithiedinthangcakcudsunyklangaephndinihwaelwsathxnklbphiwolkR LR khlunerliyS khlunthutiyphumithiedinthangphanchnaemnethils khlunthutiyphumithiedinthangcakcudsunyklangaephndinihwaelwsathxnklbthiphiwolkw khlunsathxnthiknsmuthrtwxyangkhlun ScP khuxkhlunihwsaethuxnthierimtnedinthangcaksunyklangaephndinihwinrupkhxngkhlunthutiyphumi phanchnaemnethil aelwsathxnthiaeknolkchnnxk aelaedinthangphanchnaemnethilklbkhunmasusthanitrwcaephndinihwthiphiwolkinrupkhxngkhlunpthmphumi khlun sPKIKP khuxkhlunihwsaethuxnthiedinthangcakcudsunyklangaephndinihwinrupkhxngkhlunthutiyphumikhunmathiphiwolk kxnthicasathxnklblngipinchnaemnethilinrupkhxngkhlunpthmphumi edinthangphanaeknolkchnnxk aeknolkchnin aelwthaluekhasuaeknolkchnnxkxikfnghnung aelaedinthangphanchnaemnethilxikfnghnunginrupkhxngkhlunpthmphumikarichpraoychncakkhluntwklangephuxrabutaaehnngsunyklangaephndinihw aekikh karedinthangkhxngkhlunpthmphumiaelakhlunthutiyphumibnaephnphaphediywkn inphunthiiklsunyklangaephndinihw erasamarthichphltangkhxngewlathiichinkaredinthangkhxngkhlunpthmphumiaelakhlunthutiyphumiephuxharayahangkhxngsunyklangkarekidaephndinihwkbphunthinn inkrnikhxngaephndinihwthiphlngnganthukpldplxythwipinradbolk ewlathiichinkaredinthangkhxngkhlunpthmphumisungthukbnthukcaksthaniwdkarekidaephndinihwxyangnxysisthanisamarthnamaichephuxkhanwnhataaehnngkhxngcudsunyklangrwmthungewlakhxngkarekidaephndinihwodypktiaelw nkwithyasastreluxkthicaxangxingcakkhxmulkhxnghlaysibsthaniephuxkhwamaemnyainkarrabucudehnuxsunyklangkarekidaephndinihw eraeriykkhwamtangrahwangrayaewlathiichhakaephndinihwekidthicudehnuxsunyklangaephndinihw bnphiwolk kbrayaewlathiichcringwaersidwl residual odypktiaelwersidwlcamikhapraman 0 5 winathihruxnxykwann odycamikhaephiyng 0 1 0 2 sahrbaephndinihwinwngaekhb nnkhuxkhwamaetktangkhxngkhlunaephndinihwimwacaekid n sunyklangkarekidaephndinihw hruxekid n cudehnuxsunyklangkarekidaephndinihwmikhaimtangknmaknk odythwipaelwopraekrmkhxmphiwetxrcathuksrangihkhanwnodytngsmmutithanerimtnwaaephndinihwekidkhunthiradblukthi 33 kiolemtr aelwcungldkhaersidwl ephimkhwamaemnya odykarepliynradbkhwamluk aephndinihwswnihyekidkhunthiradbkhwamlukimekin 40 kiolemtr aelamibangkrnithiekidthiradbkhwamlukthi 700 kiolemtrwithikarthirwderwsahrbichharayahangcaksunyklangaephndinihwthungsthanisarwcsahrbkrniaephndinihwekidkhunimiklwa 200 kiolemtrsamarththaidodyichphltangkhxngrayaewlathiichinkaredinthangkhxngkhlunpthmphumiaelakhlunthutyphumiinhnwywinathiaelwkhundwy 8 kiolemtrtxwinathi rabbwdkhlunihwsaethuxnsmyihmichethkhnikhthisbsxnkwanisahrbaephndinihwthihangcaksthaniwdmak khlunpthmphumiaerkthiwdidcaepnkhlunthiekhluxnthiphanchnaemnethil aelainbangkrnixacekhluxnthiiklthungchnaeknolkchnnxkkxnthicaekhluxnthiklbkhunmasusthanitrwcwdaephndinihwthiphiwolk khlunihwsaethuxnehlanisamarthekhluxnthiinradblukchnaemnethiliderwkwakarekhluxnthiiptamchnepluxkolk karedinthangkhxngkhlunlukphayindawekhraahthierwkwaradbtuneriykwahlkkhxngxxyaekn Huygens Principle thungaemkhwamhnaaennthiephimsungkhuninradblukcaepntwchalxkhwamerwkhxngkhlun aetenuxngcakkhakhwamyudhyunthiephimkhunsngphlerngkhwamerwinkarekhluxnthikhxngkhluninsdswnthimakkwa nnkhuxkhlunedinthangiderwkwainchnolkradblukaelahmaythungrayaewlathisnkwarayaewlathiichinkaredinthangkhxngkhluncathukkhanwnxyangaemnyaephuxrabucudehnuxsunyklangaephndinihw enuxngcakkhlunpthmphumiedinthangdwykhwamerwhlaykiolemtrtxwinathi khwamkhladekhluxninkarcbewlaephiyngkhrungwinathixachmaythungkhwamkhladekhluxninrayahanghlaykiolemtr inthangptibticungcaepntxngichkhxmulkhlunpthmphumicakhlaysthaniephuxldkhwamkhladekhluxnthixacekidkhunni aelathaihsamarthkhanwncudsunyklangaephndinihwidiklekhiyng 10 50 kiolemtremuxichkhxmulcaksthaniwdaephndinihwrxbolk rabbekhruxkhaysthaniaephndinihwthimicanwnmakinaekhlifxreniysamarthkhanwnidiklekhiyngradbkiolemtr aelaxackhanwnidaemnyamakkhunemuxkhanwncak cross correlation khxngissomaekrmodytrngxangxing aekikh 1 0 1 1 C M R Fowler 2005 The solid earth an introduction to global geophysics Cambridge University Press ISBN 9780521584098 subkhnemux 15 May 2011 Keith Edward Bullen Bruce A Bolt 1985 An introduction to the theory of seismology Cambridge University Press ISBN 9780521283892 subkhnemux 15 May 2011 William H K Lee International Association of Seismology and Physics of the Earth s Interior Committee on Education International Association for Earthquake Engineering 2003 International handbook of earthquake and engineering seismology Academic Press ISBN 9780124406582 subkhnemux 19 May 2011 duephim aekikhwithyaaephndinihwekhathungcak https th wikipedia org w index php title khlunihwsaethuxn amp oldid 9458898, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม