fbpx
วิกิพีเดีย

จังหวัดของประเทศแอฟริกาใต้

จังหวัด (อังกฤษ: province) เป็นหน่วยการบริหารระดับแรกของประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งออกเป็นเก้าจังหวัด ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1994 มาตุภูมิบันตูหรือบันตูสถานต่าง ๆ ถูกรวมกลับเข้ามากับจังหวัดเดิมสี่จังหวัดที่มีอยู่ก่อนและแบ่งออกเป็นเก้าจังหวัดในปัจจุบัน เขตแดนจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ครั้งที่สิบสอง สิบสาม และสิบหก

จังหวัดของประเทศแอฟริกาใต้
หมวดหมู่Regional state
ที่ตั้งแอฟริกาใต้
ก่อตั้ง27 เมษายน ค.ศ. 1994 (1994-04-27)
จำนวน9
ประชากร1,145,861 (นอร์เทิร์นเคป) – 12,272,263 (เคาเต็ง)
พื้นที่47,080 ตร.กม. (เคาเต็ง) – 372,890 ตร.กม. (นอร์เทิร์นเคป)
การปกครอง
  • สภาจังหวัด
  • รัฐบาลกลาง
หน่วยการปกครองอำเภอ

ประวัติ

 
แผนที่จังหวัดในช่วงก่อตั้งสหภาพแอฟริกาใต้

สหภาพแอฟริกาใต้จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1910 จากการรวมอดีตอาณานิคมของบริเตนสี่แห่งได้แก่อาณานิคมแหลม อาณานิคมนาตาล อาณานิคมทรานส์วาล และอาณานิคมแม่น้ำออเรนจ์ (ก่อนสงครามบูร์ครั้งที่สอง สองอาณานิคมหลังมีฐานะเป็นรัฐอิสระได้แก่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้และเสรีรัฐออเรนจ์) อาณานิคมเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสี่จังหวัดแรกของสหภาพแอฟริกาใต้ได้แก่จังหวัดเคป จังหวัดทรานส์วาล จังหวัดนาตาล และจังหวัดออเรนจ์ฟรีสเตต

 
จังหวัดและดินแดนมาตุภูมิในช่วงสิ้นสุดการถือผิว

การแบ่งแยกประชากรผิวดำในประเทศแอฟริกาใต้เริ่มต้นใน ค.ศ. 1913 โดยคนผิวดำสามารถถือครองที่ดินได้เฉพาะบริเวณที่กำหนดซึ่งมีพื้นที่รวมประมาณร้อยละ 13 ของประเทศ นับแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา พื้นที่ดังกล่าวได้รวมกันโดยลำดับกลายเป็นเขตที่เรียกว่า "มาตุภูมิ" หรือ "บันตูสถาน" โดยมาตุภูมิสี่แห่งได้รับการสถาปนาเป็นรัฐชาติกึ่งเอกราช (quasi-independent nation state) ของประชากรผิวดำในช่วงการถือผิว โดยใน ค.ศ. 1976 มาตุภูมิทรานส์เคย์เป็นมาตุภูมิแรกที่ยอมรับสถานะกึ่งเอกราชจากแอฟริกาใต้ ก่อนที่อีกสามแห่งจะยอมรับสถานะเดียวกันได้แก่โบพูทัตสวานา (ค.ศ. 1977) เวนดา (ค.ศ. 1979) และซิสเคย์ (ค.ศ. 1981) สถานะกึ่งเอกราชดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศอื่นนอกเหนือจากแอฟริกาใต้

ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1994 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่สิทธิเลือกตั้งไม่จำกัดเชื้อชาติและวันที่รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลมีผลบังคับใช้ จังหวัดและมาตุภูมิดังกล่าวถูกยุบและแบ่งใหม่ออกเป็นเก้าจังหวัด การแบ่งเขตจังหวัดมีขึ้นใน ค.ศ. 1993 โดยคณะกรรมาธิการพิจารณาเขตจังหวัด (Commission on the Demarcation/Delimitation of Regions) ซึ่งจัดตั้งโดยโคเดซาหรือที่ประชุมใหญ่เพื่อแอฟริกาใต้ที่เป็นประชาธิปไตย (CODESA; Convention for a Democratic South Africa) เขตจังหวัดดังกล่าวมีรากฐานมาจากภูมิภาคเพื่อการพัฒนา (planning region) ซึ่งแบ่งโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศแอฟริกาใต้ ในทศวรรษ 1980 และเขตอำนาจศาลแขวงในประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีการเจรจาระหว่างพรรคการเมืองเพื่อสร้างฐานเสียงของพรรคในแต่ละจังหวัดโดยการโอนเขตอำเภอระหว่างจังหวัดที่มีการเสนอ เขตจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ถูกระบุในภาคผนวก 1 ของรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล

การบริหาร

 
ศาลาว่าการนครโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งเป็นที่ตั้งสภาบริหารจังหวัดเคาเต็งในปัจจุบัน

การบริหารราชการของจังหวัดในประเทศแอฟริกาใต้จะแบ่งออกเป็นระดับชาติและระดับจังหวัด โดยในระดับชาติจะบริหารโดยสภาจังหวัดแห่งชาติซึ่งเป็นหนึ่งในสองรัฐสภาของประเทศแอฟริกาใต้ และในระดับจังหวัดจะบริหารโดยสภานิติบัญญัติประจำจังหวัด นอกจากนี้ ในระดับต่ำกว่าจังหวัดยังมีสภาบริหารสำหรับหน่วยย่อยได้แก่อำเภอและเทศบาล

สภาจังหวัดแห่งชาติ

ประเทศแอฟริกาใต้มีสองรัฐสภาได้แก่สภาแห่งชาติ (National Assembly) และสภาจังหวัดแห่งชาติ (National Council of Provinces) สภาหลังนี้มีขึ้นเพื่อให้ผลประโยชน์ของแต่ละจังหวัดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายบัญญัติโดยสภาแห่งชาติ

แต่ละจังหวัดจะมีผู้แทน 10 คนในสภาจังหวัดแห่งชาติ โดย 6 คนเป็นสมาชิกถาวรของสภาจังหวัดแห่งชาติ และ 4 คนเป็นผู้แทนพิเศษ

สภานิติบัญญัติประจำจังหวัด

แต่ละจังหวัดจะบริหารโดยใช้ระบบสภาเดียว โดยขนาดของสภาบริหารจะขึ้นกับจำนวนประชากร ตั้งแต่ 30 คนในจังหวัดนอร์เทิร์นเคปไปจนถึง 80 คนในจังหวัดควาซูลู-นาตาล สมาชิกสภาบริหารจะมาจากการเลือกตั้งเมื่อครบวาระห้าปีโดยใช้ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ โดยทั่วไปแล้วการเลือกตั้งสภาชิกสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดจะจัดขึ้นในวันเดียวกันกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ

สมาชิกสภานิติบัญญัติจังหวัดจะเลือกนายกสภานิติบัญญัติประจำจังหวัด และนายกสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดจะเลือกสมาชิก 5 ถึง 10 คนเพื่อเป็นสมาชิกสภาบริหารจังหวัด ซึ่งเทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีประจำจังหวัดนั้น

อำนาจของสภาระดับจังหวัดจะจำกัดเฉพาะประเด็นที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยสภาระดับจังหวัดจะมีอำนาจร่วมกันกับรัฐบาลแห่งชาติในบางประเด็นเช่นการเกษตร การศึกษา สาธารณสุข และการเคหะ เป็นต้น เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่บางประเด็นจะอยู่ภายใต้อำนาจของสภาระดับจังหวัดโดยสมบูรณ์

อำนาจตุลาการจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจของสภาระดับจังหวัด

รายชื่อจังหวัดของประเทศแอฟริกาใต้

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อในภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุด เมืองหลวง เมืองใหญ่ที่สุด รหัส ISO 3166 พื้นที่
(ตร.กม.)
:9
ประชากร
(ค.ศ. 2022)
:18
ความหนาแน่นประชากร HDI
(ค.ศ. 2003)
แผนที่
ควาซูลู-นาตาล KwaZulu-Natal iKwaZulu-Natali
(ซูลู)
ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์ก
เดอร์บัน ZA-KZN 94,361 10,273,000 108.8 0.63  
เคาเต็ง Gauteng eGoli
(ซูลู)
โจฮันเนสเบิร์ก โจฮันเนสเบิร์ก ZA-GP 18,178 12,353,000 675.1 0.74  
ตะวันตกเฉียงเหนือ North West Bokone Bophirima
(สวานา)
มาฮิเค็ง
(มาฟิคิง)
รุสเทนเบิร์ก ZA-NW 104,882 3,496,000 33.5 0.61  
นอร์เทิร์นเคป Northern Cape Noord-Kaap
(อาฟรีกานส์)
คิมเบอร์ลีย์ คิมเบอร์ลีย์ ZA-NC 372,889 1,136,000 3.1 0.69  
ฟรีสเตต Free State Freistata
(โซโท)
บลูมฟอนเทน บลูมฟอนเทน ZA-FS 129,825 2,732,000 21.1 0.67  
ลิมโปโป Limpopo Limpopo
(โซโทเหนือ)
โพโลควานี
(ปีเตอส์เบิร์ก)
โพโลควานี ZA-LP 125,754 5,396,000 43.0 0.59  
เวสเทิร์นเคป Western Cape Wes-Kaap
(อาฟรีกานส์)
เคปทาวน์ เคปทาวน์ ZA-WC 129,462 5,826,000 45.0 0.77  
อีสเทิร์นเคป Eastern Cape iMpuma-Koloni
(โคซา)
บีโช พอร์ตเอลิซาเบท ZA-EC 168,966 6,566,000 38.8 0.62  
อึมพูมาลางกา Mpumalanga iMpumalanga
(สวาซี)
อึมบอมเบลา
(เน็ลสปรอยต์)
อึมบอมเบลา ZA-MP 76,495 3,993,000 52.8 0.65  
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Republic of South Africa iRiphabhuliki yaseNingizimu Afrika
(ซูลู)
พริทอเรีย
เคปทาวน์
และบลูมฟอนเทน
โจฮันเนสเบิร์ก ZA 1,220,813 51,771,000 42.4 0.67 -

หมายเหตุ:

  1. ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์กและอูลุนดีเป็นเมืองหลวงร่วมกันระหว่าง ค.ศ. 1994 และ 2004
  2. สถิติเหล่านี้ไม่รวมหมู่เกาะพรินซ์เอดเวิร์ด (335 ตร.กม. ไม่มีประชากรถาวร) ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศแอฟริกาใต้ในมหาสมุทรอินเดียซับแอนตาร์กติกแต่ขึ้นกับจังหวัดเวสเทิร์นเคปในทางกฎหมายและเพื่อการแบ่งเขตเลือกตั้ง

อ้างอิง

  1. "The nine provinces of South Africa - South Africa Gateway". South Africa Gateway. 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 2018-04-14.
  2. https://core.ac.uk/download/pdf/37351010.pdf[bare URL PDF]
  3. Phillips, Laura (2017-07-27). "History of South Africa's Bantustans". Oxford Research Encyclopedia of African History. doi:10.1093/acrefore/9780190277734.013.80. ISBN 978-0-19-027773-4.
  4. . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. Muthien, Yvonne G.; Khosa, Meshack M. (1995). "'The kingdom, the Volkstaat and the New South Africa': Drawing South Africa's new regional boundaries". Journal of Southern African Studies. 21 (2): 303–322. doi:10.1080/03057079508708448.
  6. "The nine provinces of South Africa - South Africa Gateway". South Africa Gateway. 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 2018-04-14.
  7. "Provincial Government of South Africa". สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  8. 'Constitution of the Republic of South Africa, 1996, "Chapter 6: Provinces". Sections 104 and 146.
  9. http://www.statssa.gov.za/census/census_2011/census_products/Census_2011_Census_in_brief.pdf, p. 25.
  10. Census 2011: Census in brief (PDF). Pretoria: Statistics South Africa. 2012. p. 30. ISBN 9780621413885. (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2015.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cib2022
  12. Adelzadeh, Asghar; และคณะ (2003). (PDF). Cape Town: Oxford University Press. p. 282. ISBN 978-0-19-578418-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-09-22.
  13. "How Many Capital Cities Does South Africa Have?".

งหว, ดของประเทศแอฟร, กาใต, งหว, งกฤษ, province, เป, นหน, วยการบร, หารระด, บแรกของประเทศแอฟร, กาใต, ประเทศแอฟร, กาใต, แบ, งออกเป, นเก, าจ, งหว, อนการเล, อกต, งท, วไปใน, 1994, มาต, นต, หร, อบ, นต, สถานต, าง, กรวมกล, บเข, ามาก, บจ, งหว, ดเด, มส, งหว, ดท, อย, อนแล. cnghwd xngkvs province epnhnwykarbriharradbaerkkhxngpraethsaexfrikait praethsaexfrikaitaebngxxkepnekacnghwd 1 kxnkareluxktngthwipin kh s 1994 matuphumibntuhruxbntusthantang thukrwmklbekhamakbcnghwdedimsicnghwdthimixyukxnaelaaebngxxkepnekacnghwdinpccubn ekhtaedncnghwdmikarepliynaeplngsubenuxngcakkaraekikhrththrrmnuyaehngsatharnrthaexfrikaitkhrngthisibsxng sibsam aelasibhkcnghwdkhxngpraethsaexfrikaithmwdhmuRegional statethitngaexfrikaitkxtng27 emsayn kh s 1994 1994 04 27 canwn9prachakr1 145 861 nxrethirnekhp 12 272 263 ekhaetng phunthi47 080 tr km ekhaetng 372 890 tr km nxrethirnekhp karpkkhrxngsphacnghwd rthbalklanghnwykarpkkhrxngxaephx enuxha 1 prawti 2 karbrihar 2 1 sphacnghwdaehngchati 2 2 sphanitibyytipracacnghwd 3 raychuxcnghwdkhxngpraethsaexfrikait 4 xangxingprawti aekikh aephnthicnghwdinchwngkxtngshphaphaexfrikait shphaphaexfrikaitcdtngkhunin kh s 1910 cakkarrwmxditxananikhmkhxngbrietnsiaehngidaekxananikhmaehlm xananikhmnatal xananikhmthranswal aelaxananikhmaemnaxxernc kxnsngkhramburkhrngthisxng sxngxananikhmhlngmithanaepnrthxisraidaeksatharnrthaexfrikaitaelaesrirthxxernc xananikhmehlaniidklaymaepnsicnghwdaerkkhxngshphaphaexfrikaitidaekcnghwdekhp cnghwdthranswal cnghwdnatal aelacnghwdxxerncfrisett cnghwdaeladinaednmatuphumiinchwngsinsudkarthuxphiw karaebngaeykprachakrphiwdainpraethsaexfrikaiterimtnin kh s 1913 odykhnphiwdasamarththuxkhrxngthidinidechphaabriewnthikahndsungmiphunthirwmpramanrxyla 13 khxngpraeths nbaetchwngplaythswrrs 1950 epntnma phunthidngklawidrwmknodyladbklayepnekhtthieriykwa matuphumi hrux bntusthan odymatuphumisiaehngidrbkarsthapnaepnrthchatikungexkrach quasi independent nation state khxngprachakrphiwdainchwngkarthuxphiw odyin kh s 1976 matuphumithransekhyepnmatuphumiaerkthiyxmrbsthanakungexkrachcakaexfrikait kxnthixiksamaehngcayxmrbsthanaediywknidaekobphuthtswana kh s 1977 ewnda kh s 1979 aelasisekhy kh s 1981 sthanakungexkrachdngklawniimidrbkaryxmrbcakpraethsxunnxkehnuxcakaexfrikaitinwnthi 27 emsayn kh s 1994 sungepnwneluxktngthwipkhrngaerkthisiththieluxktngimcakdechuxchatiaelawnthirththrrmnuyechphaakalmiphlbngkhbich cnghwdaelamatuphumidngklawthukyubaelaaebngihmxxkepnekacnghwd karaebngekhtcnghwdmikhunin kh s 1993 odykhnakrrmathikarphicarnaekhtcnghwd Commission on the Demarcation Delimitation of Regions sungcdtngodyokhedsahruxthiprachumihyephuxaexfrikaitthiepnprachathipity CODESA Convention for a Democratic South Africa ekhtcnghwddngklawmirakthanmacakphumiphakhephuxkarphthna planning region sungaebngodythnakharephuxkarphthnaaehngpraethsaexfrikait inthswrrs 1980 2 3 aelaekhtxanacsalaekhwnginpraethsaexfrikait odymikarecrcarahwangphrrkhkaremuxngephuxsrangthanesiyngkhxngphrrkhinaetlacnghwdodykaroxnekhtxaephxrahwangcnghwdthimikaresnx 4 5 ekhtcnghwdthicdtngkhunihmthukrabuinphakhphnwk 1 khxngrththrrmnuyechphaakalkarbrihar aekikh salawakarnkhrochnensebirk sungepnthitngsphabriharcnghwdekhaetnginpccubn karbriharrachkarkhxngcnghwdinpraethsaexfrikaitcaaebngxxkepnradbchatiaelaradbcnghwd 6 odyinradbchaticabriharodysphacnghwdaehngchatisungepnhnunginsxngrthsphakhxngpraethsaexfrikait aelainradbcnghwdcabriharodysphanitibyytipracacnghwd nxkcakni inradbtakwacnghwdyngmisphabriharsahrbhnwyyxyidaekxaephxaelaethsbal sphacnghwdaehngchati aekikh praethsaexfrikaitmisxngrthsphaidaeksphaaehngchati National Assembly aelasphacnghwdaehngchati National Council of Provinces 6 sphahlngnimikhunephuxihphlpraoychnkhxngaetlacnghwdidrbkarkhumkhrxngtamkdhmaybyytiodysphaaehngchatiaetlacnghwdcamiphuaethn 10 khninsphacnghwdaehngchati ody 6 khnepnsmachikthawrkhxngsphacnghwdaehngchati aela 4 khnepnphuaethnphiess sphanitibyytipracacnghwd aekikh aetlacnghwdcabriharodyichrabbsphaediyw odykhnadkhxngsphabriharcakhunkbcanwnprachakr tngaet 30 khnincnghwdnxrethirnekhpipcnthung 80 khnincnghwdkhwasulu natal smachiksphabriharcamacakkareluxktngemuxkhrbwarahapiodyichrabbsdswnaebbbychiraychux odythwipaelwkareluxktngsphachiksphanitibyytipracacnghwdcacdkhuninwnediywknkbkareluxktngsmachiksphaaehngchati 7 smachiksphanitibyyticnghwdcaeluxknayksphanitibyytipracacnghwd aelanayksphanitibyytipracacnghwdcaeluxksmachik 5 thung 10 khnephuxepnsmachiksphabriharcnghwd sungethiybethakbkhnarthmntripracacnghwdnn 7 xanackhxngspharadbcnghwdcacakdechphaapraednthirabuinrththrrmnuyaehngsatharnrthaexfrikait odyspharadbcnghwdcamixanacrwmknkbrthbalaehngchatiinbangpraednechnkarekstr karsuksa satharnsukh aelakarekhha epntn ephuxihsamarthkahndnoybayihepnmatrthanediywkn inkhnathibangpraedncaxyuphayitxanackhxngspharadbcnghwdodysmburn 8 xanactulakarcaxyuphayitkhwamrbphidchxbkhxngrthbalaehngchati sungxyunxkehnuxxanackhxngspharadbcnghwdraychuxcnghwdkhxngpraethsaexfrikait aekikhchuxphasaithy chuxphasaxngkvs chuxinphasathimiphuphudmakthisud 9 emuxnghlwng emuxngihythisud rhs ISO 3166 phunthi tr km 10 9 prachakr kh s 2022 11 18 khwamhnaaennprachakr HDI kh s 2003 12 aephnthikhwasulu natal KwaZulu Natal iKwaZulu Natali sulu pietxrmaritsebirk n 1 edxrbn ZA KZN 94 361 10 273 000 108 8 0 63 ekhaetng Gauteng eGoli sulu ochnensebirk ochnensebirk ZA GP 18 178 12 353 000 675 1 0 74 tawntkechiyngehnux North West Bokone Bophirima swana mahiekhng mafikhing rusethnebirk ZA NW 104 882 3 496 000 33 5 0 61 nxrethirnekhp Northern Cape Noord Kaap xafrikans khimebxrliy khimebxrliy ZA NC 372 889 1 136 000 3 1 0 69 frisett Free State Freistata osoth blumfxnethn blumfxnethn ZA FS 129 825 2 732 000 21 1 0 67 limopop Limpopo Limpopo osothehnux opholkhwani pietxsebirk opholkhwani ZA LP 125 754 5 396 000 43 0 0 59 ewsethirnekhp n 2 Western Cape Wes Kaap xafrikans ekhpthawn ekhpthawn ZA WC 129 462 5 826 000 45 0 0 77 xisethirnekhp Eastern Cape iMpuma Koloni okhsa bioch phxrtexlisaebth ZA EC 168 966 6 566 000 38 8 0 62 xumphumalangka Mpumalanga iMpumalanga swasi xumbxmebla enlsprxyt xumbxmebla ZA MP 76 495 3 993 000 52 8 0 65 satharnrthaexfrikait Republic of South Africa iRiphabhuliki yaseNingizimu Afrika sulu phrithxeriyekhpthawnaelablumfxnethn 13 ochnensebirk ZA 1 220 813 51 771 000 42 4 0 67 hmayehtu pietxrmaritsebirkaelaxulundiepnemuxnghlwngrwmknrahwang kh s 1994 aela 2004 sthitiehlaniimrwmhmuekaaphrinsexdewird 335 tr km immiprachakrthawr sungepndinaednkhxngpraethsaexfrikaitinmhasmuthrxinediysbaexntarktikaetkhunkbcnghwdewsethirnekhpinthangkdhmayaelaephuxkaraebngekhteluxktngxangxing aekikh The nine provinces of South Africa South Africa Gateway South Africa Gateway 2018 04 06 subkhnemux 2018 04 14 https core ac uk download pdf 37351010 pdf bare URL PDF Phillips Laura 2017 07 27 History of South Africa s Bantustans Oxford Research Encyclopedia of African History doi 10 1093 acrefore 9780190277734 013 80 ISBN 978 0 19 027773 4 Archived copy khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 18 August 2018 subkhnemux 18 August 2018 a href E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web html title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint archived copy as title lingk Muthien Yvonne G Khosa Meshack M 1995 The kingdom the Volkstaat and the New South Africa Drawing South Africa s new regional boundaries Journal of Southern African Studies 21 2 303 322 doi 10 1080 03057079508708448 6 0 6 1 The nine provinces of South Africa South Africa Gateway South Africa Gateway 2018 04 06 subkhnemux 2018 04 14 7 0 7 1 Provincial Government of South Africa subkhnemux 20 November 2017 Constitution of the Republic of South Africa 1996 Chapter 6 Provinces Sections 104 and 146 http www statssa gov za census census 2011 census products Census 2011 Census in brief pdf p 25 Census 2011 Census in brief PDF Pretoria Statistics South Africa 2012 p 30 ISBN 9780621413885 ekb PDF cakaehlngedimemux 13 May 2015 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux cib2022 Adelzadeh Asghar aelakhna 2003 South Africa Human Development Report 2003 PDF Cape Town Oxford University Press p 282 ISBN 978 0 19 578418 3 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2016 01 19 subkhnemux 2022 09 22 How Many Capital Cities Does South Africa Have ekhathungcak https th wikipedia org w index php title cnghwdkhxngpraethsaexfrikait amp oldid 10351176, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม