fbpx
วิกิพีเดีย

ปัญหาราชวงศ์

ปัญหาราชวงศ์ (ฝรั่งเศส: Question royale, ดัตช์: Koningskwestie) เป็นวิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ในเบลเยียม ในช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง 1951 และความขัดแย้งปะทุถึงขีดสุดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1950 "ปัญหา" ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่รายล้อมพระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียมในเรื่องที่พระองค์จะสามารถกลับประเทศและทรงกลับมามีบทบาทตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ท่ามกลางข้อกล่าวหาถึงบทบาทของพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเบลเยียมหรือไม่ ปัญหานี้แก้ไขโดยการสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์เลออปอลให้แก่สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม พระราชโอรส ในปี ค.ศ. 1951

กษัตริย์เลออปอลที่ 3 ผู้เป็นตัวแปรหลักในความขัดแย้งทางการเมือง พระบรมฉายาลักษณ์ฉายในปีค.ศ. 1934

วิกฤตเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์เลออปอลที่ 3 และรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีอูแบร์ ปิแยร์โลต์ในช่วงกองทัพเยอรมันรุกรานเบลเยียม ค.ศ. 1940 กษัตริย์เลออปอลทรงถูกตั้งข้อสงสัยว่าทรงเห็นอกเห็นใจระบอบเผด็จการและพระองค์ทรงบัญชาการกองทัพเบลเยียมในช่วงสงคราม เมื่อพิจารณาถึงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญของพระองค์ พระองค์จะทรงมีฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารที่มีความสำคัญกว่าบทบาทหน้าที่พลเรือนในฐานะประมุขแห่งรัฐ พระองค์ปฏิเสธที่จะละทิ้งกองทัพของพระองค์และปฏิเสธที่จะร่วมรัฐบาลพลัดถิ่นเบลเยียมในฝรั่งเศส การที่กษัตริย์เลออปอลที่ 3 ทรงปฏิเสธที่จะเชื่อฟังคณะรัฐบาลถือเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญ และหลังจากทรงยอมจำนนต่อเยอรมนีในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กษัตริย์เลออปอลทรงถูกประณามอย่างแพร่หลาย ในช่วงการยึดครองของเยอรมัน กษัตริย์เลออปอลทรงถูกกักบริเวณในพระราชวังซึ่งพระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงประทับเพื่อรับความทุกข์ทรมานร่วมกับพสกนิกรของพระองค์ ฝ่ายสัมพันธมิตรปลดปล่อยประเทศในปี ค.ศ. 1944 นาซีได้ย้ายพระองค์ไปอยู่เยอรมนี

เมื่อเบลเยียมได้รับการปลดปล่อยแต่พระมหากษัตริย์ยังคงถูกคุมขังอยู่ ได้มีการเลือกเจ้าชายชาลส์ เคานต์แห่งฟลานเดอร์ พระอนุชาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าพระมหากษัตริย์ "ไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไป" ตามรัฐธรรมนูญ ประเทศเกิดความแตกแยกทางการเมืองด้วยปัญหาว่าพระมหากษัตริย์จะสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้อีกหรือไม่ และด้วยขบวนการทางการเมืองฝ่ายซ้ายเข้ามาควบคุมการเมือง กษัตริย์เลออปอลจึงทรงลี้ภัยอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1950 มีการลงประชามติระดับชาติที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลใหม่สายกลาง-ขวา เพื่อตัดสินว่ากษัตริย์เลออปอลจะทรงสามารถเสด็จกลับมาได้หรือไม่ แม้ว่าผลการลงประชามติที่ออกมาจะเป็นชัยชนะของฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอล แต่ก็ทำให้เกิดความแตกแยกในระดับภูมิภาคอย่างรุนแรงระหว่างแฟลนเดอส์ ซึ่งต้องการให้พระมหากษัตริย์กลับมา กับบรัสเซลส์และเขตวัลลูน นั้นต่อต้านพระมหากษัตริย์ กษัตริย์เลออปอลที่ 3 เสด็จกลับเบลเยียมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1950 พระองค์ได้รับการต้อนรับด้วยการประท้วงขนานใหญ่ในประเทศโดยเฉพาะในเขตวัลลูนและมีการนัดหยุดงานทั่วไป ความไม่สงบดังกล่าวนำมาซึ่งกรรมกร 4 คนถูกสังหารโดยตำรวจในวันที่ 30 กรกฎาคม ด้วยสถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1950 กษัตริย์เลออปอลที่ 3 ทรงประกาศตั้งพระทัยที่จะสละราชบัลลังก์ หลังจากช่วงการเปลี่ยนผ่าน พระองค์สละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1951

ภูมิหลัง

สถาบันพระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ

 
มงกุฎของเบลเยียมเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่บนรัฐธรรมนูญในพระบรมราชานุสาวรีย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของกษัตริย์เลออปอลที่ 1

เบลเยียมได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1830 และมีการประกาศจัดตั้งราชาธิปไตยของปวงชนด้วยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นระบบสองสภาของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญเบลเยียมแนวเสรีนิยมถูกร่างขึ้นในปี ค.ศ. 1831 ซึ่งบัญญัติในเรื่องของความรับผิดชอบและข้อจำกัดที่กำหนดให้กับพระมหากษัตริย์ แม้ว่าพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐจะถูกจำกัดไม่ให้กระทำการใด ๆ โดยปราศจากความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่พระองค์ก็ได้รับอนุญาตให้มีพระอำนาจควบคุมกองทัพได้อย่างเต็มที่ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ความรับผิดชอบใดที่มีลำดับเหนือกว่าถ้าหากมีข้อขัดแย้งกันก็จะถูกปล่อยให้คลุมเครือ และความคลุมเครือนี้เป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาราชวงศ์

พระมหากษัตริย์พระองค์แรกคือ พระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม ทรงยอมรับเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญแต่พระองค์ทรงพยายามใช้โอกาสจากความคลุมเครือนี้ในการเพิ่มพระราชอำนาจของพระองค์อย่างละเอียดรอบคอบ สิ่งนี้ดำเนินต่อในรัชกาลถัดไป แม้ว่าจะประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยก็ตาม

กษัตริย์เลออปอลที่ 3

พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียมครองราชย์ในปี ค.ศ. 1934 หลังจากพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 พระราชบิดาเสด็จสวรรคตด้วยอุบัติเหตุขณะทรงปีนเขา กษัตริย์อัลแบร์ที่ 1 ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า "กษัตริย์อัศวิน" (Knight King; roi-chevalier หรือ koning-ridder) ด้วยทรงได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชาวเบลเยียมจากการที่ทรงบัญชาการกองทัพเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914 - 1918) ซึ่งหลายประเทศตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี รัชสมัยของกษัตริย์เลออปอลที่ 3 ต้องประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และความปั่นป่วนทางการเมืองจากพวกฝ่ายซ้ายจัดและฝ่ายขวาจัด ในช่วงวิกฤตนี้กษัตริย์เลออปอลที่ 3 มีประประสงค์ที่จะขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์จึงถูกสงสัยอย่างกว้างขวางว่าทรงมีความคิดทางการเมืองแบบเผด็จการและเอียงขวา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 กษัตริย์เลออปอลทรงเป็นผู้สนับสนุนหลักของ "นโยบายความเป็นอิสระ" ของเบลเยียมต่อประเทศเป็นกลางในช่วงที่นาซีเยอรมนีขยายอำนาจและดินแดนอย่างแข็งกร้าวเพิ่มมากขึ้น

การรุกรานของเยอรมันและการยึดครอง ค.ศ. 1940 - 1944

ดูบทความหลักที่: ยุทธการที่เบลเยียม

ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองทัพเยอรมันบุกเบลเยียมที่เป็นกลางโดยไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ กษัตริย์เลออปอลที่ 3 เสด็จไปยังป้อมบรีนดองก์ ศูนย์บัญชาการกองทัพเบลเยียมใกล้เมืองเมเคอเลิน เพื่อควบคุมกองทัพ พระองค์ปฏิเสธที่จะแจ้งต่อรัฐสภาเบลเยียมก่อน ดังเช่นในสมัยของกษัตริย์อัลแบร์ที่ 1 ซึ่งทรงเคยทำมาก่อนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความรวดเร็วในการรุกคืบของกองทัพเยอรมันใช้ยุทธวิธีใหม่คือ บลิทซ์ครีค ผลักดันกองทัพเบลเยียมไปทางตะวันตก แม้ว่ากองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษจะเข้ามาช่วยก็ตาม ในวันที่ 16 พฤษภาคม รัฐบาลเบลเยียมออกจากกรุงบรัสเซลส์

การแตกหักระหว่างพระมหากษัตริย์และรัฐบาล

 
ภาพปัจจุบันของปราสาทวิลนานเดลในมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก ซึ่งเป็นที่พบปะสุดท้ายของพระมหากษัตริย์และรัฐบาลในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1940

ไม่นานหลังจากเกิดสงคราม พระมหากษัตริย์และรัฐบาลเริ่มไม่ลงรอยกัน เมื่อรัฐบาลได้โต้แย้งว่าการรุกรานของเยอรมนีเป็นการละเมิดความเป็นกลางของเบลเยียมและทำให้เบลเยียมต้องร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง กษัตริย์เลออปอลทรงโต้แย้งว่าเบลเยียมยังคงเป็นกลางและไม่มีพันธะใด ๆ นอกเหนือจากการปกป้องพรมแดนเท่านั้น กษัตริย์เลออปอลทรงคัดค้านไม่อนุญาตให้กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาในพรมแดนเบลเยียมเพื่อสู้รบเคียงข้างกองทัพเบลเยียม ด้วยการทำเช่นนั้นจะเป็นการละเมิดความเป็นกลาง

ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กษัตริย์เลออปอลทรงให้ผู้แทนอาวุโสของรัฐบาลเข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้ายที่ปราสาทวิลนานเดลในมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก การพบปะครั้งนี้ถูกอ้างถึงหลายครั้งว่าเป็นชนวนเหตุของปัญหาราชวงศ์และเป็นการแตกหักระหว่างพระมหากษัตริย์และรัฐบาล รัฐมนตรีสี่คนในการเข้าเฝ้าครั้งนี้ได้แก่ อูแบร์ ปิแยร์โลต์, ปอล-อ็องรี สปัก, อ็องรี เดนิส และอาเทอร์ ฟานเดอพอเทิน ในที่ประชุมมีการต่อสู้ที่นองเลือดอยู่เบื้องหลังคือ ยุทธการที่แม่น้ำลิส (ค.ศ. 1940) รัฐบาลเบลเยียมเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับกองทัพเยอรมนีต่อไปจึงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศส พวกเขากราบทูลขอให้กษัตริย์ทรงติดตามไปด้วย เหมือนสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์และแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก กษัตริย์ทรงปฏิเสธข้อโต้แย้งของรัฐบาลและทรงทำให้จุดยืนของพระองค์ยากลำบากมากขึ้น พระองค์ปฏิเสธที่จะเสด็จออกจากแผ่นดินเบลเยียมและกองทัพของพระองค์ในแฟลนเดอส์ไม่ว่าจะต้องสูญเสียมากแค่ไหน รัฐมนตรีบางคนจึงสงสัยว่าข้าราชบริพารของกษัตริย์เลออปอลกำลังลอบเจรจากับเยอรมัน การประชุมสิ้นสุดโดยไม่มีข้อตกลงใด ๆ และรัฐบาลเบลเยียมออกเดินทางไปยังฝรั่งเศส

กษัตริย์เลออปอลทรงเจรจาหยุดยิงกับกองทัพเยอรมนีในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และกองทัพเบลเยียมได้ยอมจำนนอย่างเป็นทางการในวันต่อมา กษัตริย์เลออปอลทรงกลายเป็นเชลยศึกและทรงถูกกักบริเวณแต่ในพระราชวังลาเกินใกล้บรัสเซลส์ ด้วยความโกรธแค้นที่พระมหากษัตริย์เพิกเฉยต่อรัฐบาลและทรงเจรจายอมแพ้โดยไม่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีปิแยร์โลต์จึงกล่าวสุนทรพจน์อย่างโกรธเกรี้ยวผ่านเรดิโอปารีส ประณามกษัตริย์เลออปอลที่ 3 และประกาศความตั้งใจของรัฐบาลที่จะร่วมต่อสู้เคียงข้างฝ่ายสัมพันธมิตร นักการเมืองฝรั่งเศสโดยเฉพาะปอล แรโน ตำหนิกษัตริย์เลออปอลที่ 3 ว่าทรงทำให้เกิดยุทธการที่ฝรั่งเศสอันหายนะและประณามพระองค์อย่างโกรธเกรี้ยวว่า "กษัตริย์อาชญากร" (roi-félon)

กษัตริย์เลออปอลในช่วงการยึดครองของเยอรมนี

ดูบทความหลักที่: การยึดครองเบลเยียมของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง
"เกียรติของกองทัพ ศักดิ์ศรีของราชบัลลังก์ และสิ่งที่ดีงามของประเทศห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าติดตามรัฐบาลออกไปจากเบลเยียม"

เจตจำนงทางการเมืองของกษัตริย์เลออปอลที่ 3 ในปีค.ศ. 1944

เบลเยียมยอมจำนนในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ต้องอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนีและมีการจัดตั้งการปกครองทางทหารในเบลเยียมและฝรั่งเศสตอนเหนือภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลอเล็กซานเดอร์ ฟอน ฟาลเคินเฮาเซินในการปกครองประเทศ ข้าราชการชาวเบลเยียมถูกสั่งให้ประจำอยู่ในตำแหน่งเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถทำงานต่อไปได้และพยายามปกป้องประชาชนจากอำนาจของเยอรมนี

ด้วยการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสและการจัดตั้งระบอบการปกครองที่นิยมเยอรมันอย่าง ฝรั่งเศสเขตวีชี ทำให้มีการเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเยอรมนีอาจจะได้ชัยชนะในสงคราม กษัตริย์เลออปอลทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มรณสักขี" หรือสัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็งของชาติ ตรงกันข้ามกับรัฐบาลที่ถูกมองว่ายึดมั่นในอุดมการณ์มากกว่าผลประโยชน์ของชาวเบลเยียม ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ผู้แทนอาวุโสจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเบลเยียม พระคาร์ดินัลยอแซ็ฟ-เอิร์นเนสต์ ฟัน รูอีได้ส่งจดหมายศิษยาภิบาลเรียกร้องให้ชาวเบลเยียมทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกับพระมหากษัตริย์ บุคคลอื่น ๆ ในคณะผู้ติดตามของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อ็องรี เดอ มาน นักสังคมนิยมอำนาจนิยม เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยล้มเหลวและเมื่อสงครามสิ้นสุดจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้ปกครองรัฐเบลเยียมแบบเผด็จการ

 
ภาพปัจจุบันของพระราชวังลาเกิน ที่ซึ่งกษัตริย์เลออปอลทรงถูกกักบริเวณในช่วงการยึดครอง

แม้จะทรงถูกกักบริเวณแต่พระองค์ยังทรงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพระองค์เอง พระองค์เชื่อว่าเยอรมนีจะได้รับชัยชนะ ระเบียบใหม่ (ลัทธินาซี)จะถูกสถาปนาในยุโรป และในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลทางการเมืองจากเบลเยียมที่มีศักดิ์สูงสุดในยุโรปที่ถูกยึดครอง พระองค์สามารถเจรจากับเจ้าหน้าที่เยอรมันได้ กษัตริย์เลออปอลทรงติดต่อกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และทรงพยายามที่จะประชุมเขา ฮิตเลอร์ยังคงไม่สนใจและไม่เชื่อใจกษัตริย์ แต่ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 กษัตริย์เลออปอลประสบความสำเร็จในการเข้าประชุมแต่เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญอะไรที่แบร์คโฮฟ

แรงสนับสนุนของกษัตริย์เลออปอลในเบลเยียมลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 เมื่อมีข่าวสู่สาธรณชนว่ากษัตริย์อภิเษกสมรสใหม่กับลิเลียน เบลส์ การเสกสมรสครั้งนี้ไม่เป็นที่นิยมอย่างฝังรากลึกในหมู่สาธารณชนชาวเบลเยียม ภาพลักษณ์ "กษัตริย์นักโทษ" (roi prisonnier) ซึ่งทรงแบ่งปันความทุกข์ทรมานของเชลยสงครามชาวเบลเยียม ถูกทำลายลงและความนิยมของพระองค์ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตวัลลูน ซึ่งเป็นเขตที่นักโทษชาวเบลเยียมส่วนใหญ่ยังคงถูกคุมขัง ความเห็นหลักของสาธารณชนมองว่ากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยที่จะมีพระราชดำรัสต่อต้านการยึดครองของเยอรมนี

การพ่ายแพ้ของเยอรมนีต่อรัสเซียในแนวรบด้านตะวันออกหลังปี ค.ศ. 1942 กษัตริย์ทรงเตรียมการยุติสงคราม พระองค์ทรงให้จัดทำเอกสารที่เรียกว่า เจตจำนงทางการเมือง (Testament Politique) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของพระองค์เองภายใต้การยึดครองและให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแทรกแซงของพระองค์ เพื่อช่วยเหลือเชลยสงครามชาวเบลเยียมและแรงงานที่ถูกเนรเทศ แต่กษัตริย์เลออปอลยังทรงประณามการดำเนินงานของรัฐบาลเบลเยียมพลัดถิ่น (ประจำการในลอนดอนหลังเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940) ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1944 จากเหตุการณ์การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี กษัตริย์เลออปอลทรงถูกนำพระองค์ไปยังเยอรมนี พระองค์ได้รับการปลดปล่อยจากกองทัพอเมริกันในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

สมัยผู้สำเร็จราชการและวิกฤตในระยะแรก ค.ศ. 1944 - 1949

กษัตริย์เลออปอลที่ 3 "ไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไป" ค.ศ. 1944

 
เจ้าชายชาลส์ เคานต์แห่งฟลานเดอร์ ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปีค.ศ. 1944

หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี จึงก้าวเข้าไปในพรมแดนเบลเยียมในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1944 กองทัพเยอรมันมีการต่อต้านเพียงเล็กน้อยและภายในวันที่ 4 กันยายน ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เข้ายึดครองบรัสเซลส์ได้ ในขณะที่ส่วนอื่นของเบลเยียมได้รับการปลดปล่อยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1944 รัฐบาลเบลเยียมพลัดถิ่นได้กลับคืนสู่บรัสเซลส์และได้รับการต้อนรับจากประชาชนอย่างเฉยเมย แม้ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ได้ประทับอยู่ในประเทศ แต่เจตจำนงทางการเมืองของพระองค์ได้ถูกนำเสนอต่อรัฐบาลที่เพิ่งกลับมาตามที่พระองค์ประสงค์และในไม่ช้าก็มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ในขณะเดียวกันร่างเอกสารเจตจำนงได้ถูกส่งมายังสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และแอนโทนี อีเดน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ข้อความดังกล่าวทำให้เกิดความแตกแยกภายในรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่ถูกซ่อนไว้ในช่วงสงคราม

ในยามที่พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นเชลยของเยอรมนี จึงไม่มีใครต่อต้านแนวคิดในการจัดตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1944 มีการจัดประชุมรัฐสภา และมีการใช้มาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญ ประกาศว่าพระมหากษัตริย์ "ไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไป" (dans l'impossibilité de régner) เจ้าชายชาลส์ เคานต์แห่งฟลานเดอร์ พระอนุชาผู้รักสันโดษของกษัตริย์เลออปอลได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันถัดมา การดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาราชวงศ์ถูกผลักออกไป แทนที่ด้วยปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งรัฐบาลได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับเรื่องเหล่านี้ เมื่อเบลเยียมอยู่ภายใต้การบริหารกิจการของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจนกระทั่งมีการฟื้นฟูการบริหารงานของรัฐบาล การต่อต้านของอังกฤษที่มีต่อการเสด็จกลับประเทศของกษัตริย์เลออปอลได้กลายเป็นประเด็นปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น

การฟื้นตัวทางการเมืองและการกลับมาของปัญหาราชวงศ์

เพียงเวลาไม่นานหลังจากเบลเยียมได้รับการปลดปล่อย ประเทศอยู่ในช่วงของกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวทางการเมืองก็เริ่มขึ้น ระบอบพรรคการเมืองดั้งเดิมถูกทำลายจากสงครามและการยึดครอง กลุ่มอุดมการณ์ทางการเมืองทั้งสองได้สรังพรรคการเมืองของพวกเขาเอง ฝ่ายสังคมนิยมจัดตั้งพรรคสังคมนิยมเบลเยียม (PSB-BSP) ส่วนฝ่ายคาทอลิกและอนุรักษืนิยมจัดตั้งพรรคสังคมคริสเตียน (PSC-CVP) การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงยุคหลังการปลดปล่อยคือ คลื่นแรงของพรรคคอมมิวนิสต์เบลเยียม ซึ่งกลายเป็นพรรคการเมืองลำดับที่สามในระบอบการเมืองเบลเยียมจนถึปีค.ศ. 1949 ได้ถูกแทนที่ด้วยพรรคเสรีนิยมเป็นการชั่วคราว ขบวนการวัลลูนเกิดขึ้นอีกครั้งหลังสงคราม โดยพยายามส่งเสริมวัฒนธรรมและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพื้นที่ประชากรพูดภาษาฝรั่งเศสทางตอนใต้ ช่วงเวลาดังกล่าวมีการปฏิรูปสหภาพแรงงานตามมาด้วยการจัดตั้งสหภาพขนาดใหญ่ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ สหพันธ์แรงงานแห่งเบลเยียม (Fédération générale du Travail de Belgique หรือ Algemeen Belgisch Vakverbond; FGTB-ABVV) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 และมีสมาชิกทั่วประเทศถึง 248,000 คน แต่ถึงกระนั้นในปีค.ศ. 1947 โครงสร้างทางการเมืองของรัฐเบลเยียมมีเสถียรภาพ

 
วิลลา เลอ ราโปซีแยร์ ในเพลญี-ฌ็อมเบซี สวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งกษัตริย์เลออปอลประทับในช่วงปีค.ศ. 1945 - 1950 ขณะทรงลี้ภัย

ในช่วงสมัยผู้สำเร็จราชการช่วงแรก ทั้งปิแยร์โลต์และรัฐบาลของอาคีล ฟัน อักเคอร์ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้าปัญหาการเสด็จกลับมาของกษัตริย์เลออปอลที่ 3 แม้จะมีการเรียกร้องจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ นักสังคมนิยมบางคนและฝ่ายสหภาพการค้าที่ต้องการให้พระมหากษัตริย์สละราชบัลลังก์ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ค.ศ. 1945 ไม่นานหลังจากมีการปล่อยกษัตริย์เลออปอลออกจากที่คุมขัง นายกรัฐมนตรีฟัน อักเคอร์และผู้แทนรัฐบาล ได้เดินทางไปยังสโตรพ ประเทศออสเตรียภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อเจรจากับกษัตริย์เลออปอล มีการประชุมกันในช่วงวันที่ 9 ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ฟัน อักเคอร์ยืนยันว่าพระองค์จะต้องทรงประกาศต่อสาธารณชนว่าทรงสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร และความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ในขณะเดียวกันกษัตริย์เลออปอลทรงย้ายไปประทับที่เพลญี-ฌ็อมเบซี (ใกล้เจนีวา) ในสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยทรงอ้างว่าทรงมีพระอาการใจสั่นทำให้การเจรจาต่อไปหรือการที่จะทรงกลับไปใช้ชีวิตทางการเมืองย่อมเป็นไปไม่ได้

ในเบลเยียม การถกเถียงทางการเมืองเกี่ยวกับปัญหาราชวงศ์ยังคงดำเนินต่อไปและเพิ่มมากขึ้นหลังสงคราม และยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงยอดนิยมในสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะในหนังสือพิมพ์นิยมฝรั่งเศสอย่าง เลอ ซัวร์ ในการเลือกตั้งทั่วไปในเบลเยียม ค.ศ. 1949 พรรค PSC-CVP มีการรณรงค์หาเสียงด้วยแนวคิดนิยมเจ้า สนับสนุนกษัตริย์เลออปอล ผลการเลือกตั้งได้พลิกโฉมภูมิทัศน์ทางการเมือง ฝ่ายคอมมิวนิสต์ถูกวางแนวทางไว้ และพรรค PSB-BSP สูญเสียที่นั่งให้กับทั้งพรรคเสรีนิยมและพวกคาทอลิก ฝ่ายคาทอลิกได้รับเสียงข้างมากในวุฒิสภาและได้รับเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นชัยชนะที่ดีที่สุดนับตั้งแต่สงคราม กัสต็อง ไอส์เคินได้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมเสรีนิยม-คาทอลิก พรรคการเมืองทั้งสองพรรคในรัฐบาล (รวมถึงกษัตริย์เลออปอลเอง) สนับสนุนการจัดทำประชามติเพื่อให้พระมหากษัตริย์กลับมา ซึ่งจะกลายเป็นจุดสนใจทางการเมือง

จุดเดือดของวิกฤต ค.ศ. 1950

การออกเสียงประชามติเดือนมีนาคม ค.ศ. 1950

ดูบทความหลักที่: การออกเสียงประชามติสถาบันพระมหากษัตริย์เบลเยียม ค.ศ. 1950

รัฐบาลของไอส์เคินเห็นชอบให้จัดทำการออกเสียงประชามติระดับประเทศ เพื่อให้เป็น "การพิจารณาที่แพร่หลาย" (consultation populaire หรือ volksraadpleging) และกำหนดเป็นวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1950 นับเป็นการออกเสียงประชามติครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองเบลเยียมและมีความตั้งใจให้เป็นกรณีศึกษา การรณรงค์คะแนนเสียงเป็นไปอย่างเข้มข้นทั้งสองฝ่าย มีการหยุดชะงักในการลงคะแนนโพลลฺเล็กน้อย และมีการถกเถียงกันอยู่เป็นปกติ

ผลการออกเสียงประชามติไม่ชี้ขาด ฝ่ายที่ต้องการให้กษัตริย์เลออปอลกลับมาได้ชัยชนะเพียงร้อยละ 58 ของเสียงส่วนใหญ่ในประเทศ โดยได้คะแนนนำ 7 มณฑลจากทั้งหมด 9 มณฑลในเบลเยียม แต่การลงคะแนนเสียงมีการแตกแยกในภูมิภาคอย่างมาก ในแฟลนเดอส์ ออกคะแนนเสียงให้กษัตริย์เลออปอลกลับมาถึงร้อยละ 72 แต่ในเขตการเลือกตั้งกรุงบรัสเซลส์ ฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลได้คะแนนเสียงไปเพียงร้อยละ 48 ในเขตวัลลูนออกคะแนนเสียงให้ฟื้นฟูกษัตริย์เพียงร้อยละ 42 ผลลัพธ์ท้านสุดคิดเป็นร้อยละแบ่งตามมณฑล ได้แก่

*เสียงข้างมากในเขตการเลือกตั้งแวร์วีแยส์ลงมติเห็นชอบให้กษัตริย์กลับมา **เสียงข้างมากในเขตการเลือกตั้งนามูร์ต่อต้านการกลับมาของกษัตริย์

ผลการเลือกตั้งได้ทำให้บางคนเกิดความกังวล ดังเช่น สปักมองว่าการออกคะแนนเสียงนี้จะไม่ชี้ชัดไปในทางใดทางหนึ่งและอาจทำให้เกิดการแบ่งแยกประเทศตามภูมิภาคและภาษา ในวันที่ 13 มีนาคม นายกรัฐมนตรีไอส์เคินเดินทางไปยังเพลญี-ฌ็อมเบซี เพื่อกราบทูลโน้มน้าวให้กษัตริย์เลออปอลที่ 3 สละราชบัลลังก์ ปอล ฟัน เซลันด์และสปัก สองอดีตนายกรัฐมนตรีพยายามเป็นตัวแทนเจรจาข้อตกลงใหม่ให้กษัตริย์เลออปอลสละราชบัลลังก์แก่พระราชโอรส ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1950 กษัตริย์เลออปอลทรงประกาศตั้งพระทัยที่จะมอบพระราชอำนาจของพระองค์เป็นการชั่วคราว นักการเมืองหลายคนในพรรค PSC–CVP ตระหนักถึงผลประชามติทำให้พวกเขาสูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภาอันจะเป็นการบ่อนทำลายการปรองดองระดับชาติรอบองค์พระมหากษัตริย์ ตราบใดที่พันธมิตรแนวร่วมเสรีนิยมไม่เต็มใจที่ยอมรับการกลับมาของกษัตริย์

กษัตริย์เลออปอลเสด็จนิวัติเบลเยียม

 
ประชาชนฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลในเมืองคอร์ทไรค์ มณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก ชุมนุมสนับสนุนการกลับมาของกษัตริย์ในปีค.ศ. 1950

ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1950 เจ้าชายชาลส์ ผู้สำเร็จราชการทรงยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ พระองค์ตั้งพระทัยที่จะป้องกันการจัดตั้งรัฐบาลพรรค PSC-CVP ที่จะมีฟัน เซลันด์เป็นผู้นำรัฐบาล เขาเป็นผู้นิยมกษัตริย์เลออปอลอย่างแข็งขัน ซึ่งอาจจะทำให้กษัตริย์เลออปอลเสด็จกลับมาโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ การเลือกตั้งทั่วไปในเบลเยียม ค.ศ. 1950 ทำให้พรรค PSC-CVP ได้รับเสียงข้างมากทั้งในรัฐสภาและวุฒิสภา ทำให้กลายเป็นรัฐบาลใหม่พรรคเดียวภายใต้การนำของฌ็อง ดูวิวซารต์

การดำเนินการแรกของรัฐบาลดูวิวซารต์คือการออกร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้การ "การไร้ความสามารถในการปกครอง" ของพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสุดลง ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1950 กษัตริย์เลออปอลที่ 3 เสด็จนิวัติเบลเยียมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 และดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป

การนัดหยุดงานทั่วประเทศและการสละราชบัลลังก์

 
แผ่นโลหะจารึกทื่กราซ-ฮอโลญนีใกล้เมืองลีแยฌ รำลึกเหตุการณ์ที่แรงงาน 4 คนถูกตำรวจภูธรยิงเสียชีวิตในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1950

ในปี ค.ศ. 1949 ขบวนการ FGTB–ABVV ได้ลงมติงบประมาณพิเศษจำนวน 10 ล้านฟรังก์เบลเยียม เพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการปฏิบัติการร่วม (Comité d'action commune) ในการสนับสนุนการนัดหยุงานทั่วประเทศเพื่อต่อต้านการกลับมาของกษัตริย์ สหภาพแรงงานเป็นผู้นำในการต่อต้านในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1950 อังเดร เรนาร์ด ผู้นำสหภาพการค้าชาววัลลูน เรียกร้องให้มีการ "จลาจล" และ "ปฏิวัติ" ในหนังสือพิมพ์ลา วัลลูนนี (La Wallonie) ไม่นานหลังกษัตริย์เสด็จนิวัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1950 นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตั้งข้อสังเกตว่า "กลิ่นอายของการปฏิวัติอยู่ในอากาศ" ซึ่งนักชาตินิยมชาววัลลูนยังมีการเรียกร้องให้มีการแยกเขตวัลลูนออกจากเบลเยียมในทันทีและสร้างสาธารณรัฐ

การนัดหยุดงานทั่วประเทศในปี ค.ศ. 1950 เริ่มจากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินในมณฑลแอโนและแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ในไม่ช้าคนงานก็หยุดงานทั่วเขตวัลลูน บรัสเซลส์และที่หยุดงานน้อยกว่าคือที่แฟลนเดอส์ ท่าเรือแอนต์เวิร์ปหนึ่งในสถานที่สำคัญได้รับผลกระทบและประเทศแทบจะเป็นอัมพาต ในวันที่ 30 กรกฎาคม แรงงาน 4 คนถูกยิ่งเสียชีวิตโดยกองตำรวจภูธร (เบลเยียม) ที่กราซ-ฮอโลญนีใกล้เมืองลีแยฌและความรุนแรงก็ทวีมากขึ้น ฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลในรัฐบาลเรียกร้องให้รัฐบาลมีจุดยืนที่แข็งกร้าวมากขึ้น แต่ก็พบว่าพรรคพวกของตนเป็นคนกลุ่มน้อย แม้แต่ในพรรค PSC-CVP เอง ความผิดหวังที่ไม่มีอะไรคืบหน้า รัฐบาลจึงขู่ว่าจะประกาศลาออก "ทั้งคณะ"

เมื่อสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น สมาพันธ์นักโทษทางการเมืองแห่งชาติและผู้พึ่งพิง (Confédération nationale des prisonniers politiques et des ayants droit, Nationale Confederatie van Politieke Gevangenen en Rechthebbenden, หรือ CNPPA–NCPGR) อันเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังในช่วงที่เยอรมนียึดครอง เสนอที่จะเป็นตัวกลางการเจรจากับฝ่ายต่าง ๆ เนื่องจากองค์กรนี้เป็นที่เคารพนับถือจากทุกฝ่าย องค์กร CNPPA–NCPGR ประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมทั้งพระมหากษัตริย์และรัฐบาลให้เปิดการเจรจาอีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ในตอนเที่ยงของวันที่ 1 สิงหาคม กษัตริย์เลออปอลทรงประกาศตั้งพระทัยที่จะสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการแก่เจ้าชายโบดวง พระราชโอรส เพื่อหลีกเลี่ยวความขัดแย้งอันนองเลือด เจ้าชายโบดวงทรงมีพระชนมายุ 19 พรรษา ทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ด้วยพระอิสริยยศ "พระวรราชกุมาร" (Prince Royal) ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1950

การสืบราชบัลลังก์ของกษัตริย์โบดวง ค.ศ. 1951

 
กษัตริย์โบดวง พระบรมฉายาลักษณ์ฉายในปีค.ศ. 1960 ซึ่งทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์เลออปอลในปีค.ศ. 1951

กษัตริย์เลออปอลที่ 3 ทรงมีพระราชหัตถเลขาสละราชบัลลังก์ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1950 แต่ก็มีการไกล่เกลี่ยให้มีการเตรียมตัวเจ้าชายโบดวง พระราชโอรสเป็นเวลาหนึ่งปี เจ้าชายโบดวงทรงถูกมองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่าเป็นตัวเลือกที่พวกเขายอมรับได้ ภายใต้กฎหมายในวันที่ 11 สิงหาคม อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินของกษัตริย์จะถูกถ่ายโอนไปยังเจ้าชายโบดวงก่อนที่จะมีการสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ กษัตริย์เลออปอลที่ 3 สละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 พระราชโอรสสืบราชบัลลังก์ในวันถัดมา

การลอบสังหารจูเลียน ลาโฮต์

 
อนุสาวรีย์รำลึกจูเลียน ลาโฮต์

ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1950 กษัตริย์โบดวงทรงประกอบพิธีสัตย์ปฏิญาณต่อรัฐธรรมนูญภายในรัฐสภา บุคคลที่ไม่ปรากฏชื่อที่นั่งอยู่บริเวณฝั่งพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตระโกนว่า "สาธารณรัฐจงเจริญ!" การขัดจังหวะพระมหากษัตริย์ครั้งนี้สร้างความเจ็บแค้นแก่ผู้จงรักภักดี มีการสงสัยอย่างกว้างขวางว่า เจ้าของเสียงปริศนาคือ จูเลียน ลาโฮต์ ผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีชื่อเสียงซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ต่อต้านการกลับมาของกษัตริย์เลออปอล หนึ่งสัปดาห์ต่อมา (18 สิงหาคม) ลาโฮต์ถูกยิงเสียชีวิตโดยมือสังหารที่ไม่สามารถระบุได้ บริเวณนอกบ้านของเขาในเซอแร็ง มณฑลลีแยฌ การลอบสังหารสร้างความตกตะลึงแก่สังคมเบลเยียมมาก มีผู้เข้าร่วมงานศพของลาโฮต์กว่า 200,000 คน แม้ว่าไม่มีใครถูกดำเนินคดีในข้อหาฆาตกรรม แต่ก็มีการสงสัยว่าอาจเป็นฝีมือของสมาคมนิยมกษัตริย์เลออปอลอย่าง "Ligue Eltrois" หรือ "กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์เบลเยียม" (Bloc anticommuniste belge) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เชี่ยวชาญงานด้านรักษาความปลอดภัย

ผลที่ตามมาและความสำคัญ

 
กษัตริย์โบดวงในปีค.ศ. 1962

ผลที่ตามมาของปัญหาราชวงศ์ ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นประเด็นปัญหาการเมืองอื่น ในวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1950 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโยแซ็ฟ พอเลียนได้ประกาศตั้งใจที่จะส่งอาสาสมัครทหารเบลเยียมไปร่วมรบในสงครามเกาหลี มีการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาป้องกันประชาคมยุโรปตามมา และในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 เบลเยียมจมอยู่ในวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่ หรือที่เรียกว่า สงครามโรงเรียนครั้งที่สอง เกี่ยวกับโลกิยานุวัติทางการศึกษา (แยกศาสนาออกจากการศึกษา) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 กษัตริย์โบดวงทรงแจ้งต่อนายกรัฐมนตรีกัสต็อง ไอส์เคินว่าพระองค์ไม่ไว้วางพระทัยในรัฐบาลและทรงขอให้เขาลาออก นายกรัฐมนตรีไอส์เคินปฏิเสธและท้าทายพระมหากษัตริย์ทรงอุทธรณ์ตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญและเพิกถอนอำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยฝ่ายเดียว ด้วยความเกรงว่าอาจทำให้เกิดปัญหาราชวงศ์ขึ้นมาอีกครั้ง กษัตริย์โบดวงจึงทรงยอมแพ้ต่อนายกรัฐมนตรี

นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่อธิบายว่า ปัญหาราชวงศ์เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในการฟื้นตัวของเบลเยียมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลและฝ่ายต่อต้านกษัตริย์เลออปอลนำไปสู่การจัดตั้งพรรคสังคมนิยมและพรรคคาทอลิกขึ้นใหม่ตั้งแต่ก่อนสงคราม ปัญหาราชวงศ์เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในความขัดแย้งทางภาษาและเชื้อชาติของเบลเยียม นอกจากนี้ยังเป็นจุดจบของสถาบันเบลเยียมในลักษณะสหภาพซึ่งอาจทำให้ความขัดแย้งระหว่างภูมิภาครุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อตัวมาจากปัญหาราชวงศ์ นอกจากนี้ความล้มเหลวของพรรค PSC-CVP ที่พยายามทำตามความต้องการของชาวเฟลมิชในการกระตุ้นให้เกิดการกลับมาของกษัตริย์เลออปอล เพื่อต้องการเสียงสนับสนุนจากพรรคสหภาพประชาชน อันเป็นพรรคชาตินิยมขบวนการเฟลมิชหลังค.ศ. 1954 ในเขตวัลลูน มรดกของสหภาพการค้าและการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบสังคมนิยมในช่วงการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นการปูทางไปสู่การกำเนินใหม่ของขบวนการวัลลูนฝ่ายซ้าย ในที่สุดกลายเป็นเหตุการณ์การนัดหยุดงานทั่วประเทศเบเยียม ค.ศ. 1960-1961

คดีการลอบสังหารลาโฮต์ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในฐานะการฆาตกรรมทางการเมืองเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์เบลเยียม นอกจากนี้คือเหตุการณ์การลอบสังหารอังเดร คูลส์ นักการเมืองฝ่ายสังคมนิยมในปีค.ศ. 1991 ฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลถูกสงสัยแต่ก็ไม่มีการดำเนินคดีใดๆ ในภายหลัง จากการสืบสวนของนักประวัติศาสตร์อย่างรูดี ฟัน ดุร์สแลร์และเอเยง เฟอฮูแยร์ มีการระบุชื่อของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนสังหาร และมีรายงานครั้งสุดท้าย ส่งให้กับรัฐบาลเบลเยียมในปีค.ศ. 2015

อ้างอิง

เชิงอรรถ

  1. พระมเหสีองค์แรกของกษัตริย์เลออปอลที่ 3 คือ อัสตริดแห่งสวีเดน ซึ่งทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1935 แต่พระนางยังคงได้รับความนิยมสูงในหมู่สาธารณชน ในทางกลับกันเบลส์ไม่ได้มียศเป็นชนชั้นสูงและมาจากแฟลนเดอส์ ถูกมองว่าเป็นพวก ผู้ดีใหม่ และอิทธิพลทางการเมืองของเธอที่มีต่อกษัตริย์เป็นเรื่องที่ไม่น่าไว้วางใจ
  2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรา "การไร้ความสามารถในการปกครอง" จากเดิมคือมาตรา 82 มาเป็นมาตรา 93 ในปัจจุบัน ข้อความในมาตราดังกล่าวยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและถูกบังคับใช้อีกครั้งเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในปีค.ศ. 1990 เพื่อให้มีการผ่านร่างกฎหมายการทำแท้งโดยไม่ต้องผ่านการลงพระปรมาภิไธยของกษัตริย์โบดวง
  3. The การเลือกตั้งทั่วไปในเบลเยียม ค.ศ. 1949 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของเบลเยียมที่มีการให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปอย่างเต็มที่ ด้วยมีการขยายสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิงชาวเบลเยียมทุกคนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1948
  4. พรรคคอมมิวนิสต์เบลเยียมได้รับคะแนนเสียงลดลงจากร้อยละ 12.68 เหลือเพียงร้อยละ 7.48 ในการเลือกตั้งทั่วไปปีค.ศ. 1949 ในปีค.ศ. 1954 ได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 3.57 และไม่เคยได้รับอิทธิพลทางการเมืองกลับคืนมาอีกเลย
  5. พรรค PSC–CVP ได้รับเสียงข้างมากทั้งสองสภาในการเลือกตั้งปี 1950 และเป็นรัฐบาลพรรคเดียวครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์การเมืองเบลเยียม

รายการอ้างอิง

  1. Mabille 2003, p. 38.
  2. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, pp. 45–7.
  3. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, p. 189.
  4. Le Vif 2013.
  5. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, p. 209.
  6. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 17.
  7. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 18.
  8. Mabille 2003, p. 37.
  9. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 18–9.
  10. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 19.
  11. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 19, 103.
  12. Dumoulin, Van den Wijngaert & Dujardin 2001, p. 197.
  13. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 19–20.
  14. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 26.
  15. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 26–7.
  16. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 27.
  17. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 27–8.
  18. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 28.
  19. Conway 2012, p. 32.
  20. Mabille 2003, p. 39.
  21. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 28–9.
  22. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 106.
  23. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 106–7.
  24. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 109.
  25. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, p. 266.
  26. Conway 2012, pp. 141–3.
  27. The Independent 1996.
  28. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 111.
  29. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 112.
  30. Conway 2012, p. 12.
  31. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, p. 240.
  32. Conway 2012, p. 139.
  33. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, p. 241.
  34. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 125.
  35. Mabille 2003, p. 43.
  36. Conway 2012, p. 232-3.
  37. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 139.
  38. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 140.
  39. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 141.
  40. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 142.
  41. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 142–3.
  42. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 143.
  43. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 144.
  44. Witte, Craeybeckx & Meynen 2009, p. 242.
  45. "Zaait nu zelfs de koning verdeeldheid tussen zijn onderdanen? Gesprekken van over de taalgrens". De Morgen. 30 October 1999. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
  46. "Police kill 3, wound mayor in Liege riot". Bluefield Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. 31 July 1950. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019 – โดยทาง Newspaperarchive.com.
  47. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, p. 145.
  48. Van den Wijngaert & Dujardin 2006, pp. 145–6.
  49. Mabille 2003, p. 41.
  50. Gérard-Libois & Lewin 1992, p. 148.
  51. Gérard-Libois & Lewin 1992, p. 147.
  52. Gérard-Libois & Lewin 1992, p. 173.
  53. Mabille 2003, pp. 44–5.
  54. Young 1965, p. 326.
  55. Conway 2012, p. 253.
  56. Conway 2012, p. 265.
  57. Gérard-Libois & Lewin 1992, pp. 147–8.
  58. RTBF 2015.

บรรณานุกรม

  • Conway, Martin (2012). The Sorrows of Belgium: Liberation and Political Reconstruction, 1944–1947. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-969434-1.
  • Crossland, John (4 January 1996). "Allies' dilemma over 'cowardice' of Belgian king". The Independent. สืบค้นเมื่อ 23 October 2018.
  • Dumoulin, Michel; Van den Wijngaert, Mark; Dujardin, Vincent (2001). Léopold III. Brussels: Complexe. ISBN 2-87027-878-0.
  • Gérard-Libois, Jules; Lewin, Rosine (1992). La Belgique entre dans la guerre froide et l'Europe: 1947–1953. Brussels: Pol-His. ISBN 978-2-87311-008-6.
  • Havaux, Pierre (29 March 2013). "Léopold III, l'impossible réhabilitation". Le Vif. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
  • Mabille, Xavier (2003). La Belgique depuis la Seconde guerre mondiale. Brussels: Crisp. ISBN 2-87075-084-6.
  • Van den Wijngaert, Mark; Dujardin, Vincent (2006). "La Belgique sans Roi, 1940–1950". Nouvelle histoire de Belgique. Brussels: Éd. Complexe. ISBN 2-8048-0078-4.
  • Witte, Els; Craeybeckx, Jan; Meynen, Alain (2009). Political History of Belgium from 1830 Onwards (New ed.). Brussels: ASP. ISBN 978-90-5487-517-8.
  • Vlassenbroeck, Julien (12 May 2015). "Julien Lahaut assassiné par un réseau soutenu par l'establishment belge". RTBF. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  • Young, Crawford (1965). Politics in the Congo: Decolonization and Independence. Princeton: Princeton University Press. OCLC 307971.

ศึกษาเพิ่มเติม

  • Gérard-Libois, Jules; Gotovitch, José (1991). Léopold III: de l'an 40 à l'effacement. Brussels: Crisp. ISBN 978-2-87311-005-5.
  • Moureux, Serge (2002). Léopold III: la tentation autoritaire. Brussels: Luc Pire. ISBN 978-2-87415-142-2.
  • Ramón Arango, E. (1963). Leopold III and the Belgian Royal Question. Baltimore: Johns Hopkins Press. OCLC 5357114.
  • Stengers, Jean (1980). Léopold III et le Gouvernement: les deux politiques belges de 1940. Paris: Duculot. OCLC 644400689.
  • Stengers, Jean (2013). L'Action du Roi en Belgique depuis 1831: Pouvoir et Influence. Brussels: Lanoo. ISBN 978-2-87386-567-2.
  • Van Doorslaer, Rudi; Verhoeyen, Etienne (1987). L'Assassinat de Julien Lahaut: une histoire de l'anticommunisme en Belgique. Antwerp: EPO. OCLC 466179092.
  • Velaers, Jan; Van Goethem, Herman (2001). Leopold III: De Koning, Het Land, De Oorlog (3rd ed.). Tielt: Lannoo. ISBN 978-90-209-4643-7.

เว็บไซต์อ้างอิง

  • Belgium says 'no' to Leopold (1950), newsreel on the British Pathé YouTube Channel
  • Feeding the Crocodile: Was Leopold Guilty? at The Churchill Centre

ญหาราชวงศ, ฝร, งเศส, question, royale, ตช, koningskwestie, เป, นว, กฤตการเม, องคร, งใหญ, ในเบลเย, ยม, ในช, วงป, 1945, 1951, และความข, ดแย, งปะท, งข, ดส, ดในช, วงเด, อนม, นาคมถ, งเด, อนส, งหาคม, 1950, ญหา, เก, ดข, นน, นอย, รายล, อมพระเจ, าเลออปอลท, แห, งเบลเย, . pyharachwngs frngess Question royale dtch Koningskwestie epnwikvtkaremuxngkhrngihyinebleyiym inchwngpi kh s 1945 thung 1951 aelakhwamkhdaeyngpathuthungkhidsudinchwngeduxnminakhmthungeduxnsinghakhm kh s 1950 pyha thiekidkhunnnxyuraylxmphraecaelxxpxlthi 3 aehngebleyiymineruxngthiphraxngkhcasamarthklbpraethsaelathrngklbmamibthbathtamrththrrmnuyidhruxim thamklangkhxklawhathungbthbathkhxngphraxngkhinchwngsngkhramolkkhrngthisxngnnkhdtxrththrrmnuyebleyiymhruxim pyhaniaekikhodykarslarachbllngkkhxngkstriyelxxpxlihaeksmedcphrarachathibdiobdwngaehngebleyiym phrarachoxrs inpi kh s 1951kstriyelxxpxlthi 3 phuepntwaeprhlkinkhwamkhdaeyngthangkaremuxng phrabrmchayalksnchayinpikh s 1934 wikvtekidkhuncakkhwamkhdaeyngrahwangkstriyelxxpxlthi 3 aelarthbalthinaodynaykrthmntrixuaebr piaeyroltinchwngkxngthpheyxrmnrukranebleyiym kh s 1940 kstriyelxxpxlthrngthuktngkhxsngsywathrngehnxkehnicrabxbephdckaraelaphraxngkhthrngbychakarkxngthphebleyiyminchwngsngkhram emuxphicarnathungtaaehnngtamrththrrmnuykhxngphraxngkh phraxngkhcathrngmithanaepnphubychakarthharthimikhwamsakhykwabthbathhnathiphleruxninthanapramukhaehngrth phraxngkhptiesththicalathingkxngthphkhxngphraxngkhaelaptiesththicarwmrthbalphldthinebleyiyminfrngess karthikstriyelxxpxlthi 3 thrngptiesththicaechuxfngkhnarthbalthuxepnwikvtrththrrmnuy aelahlngcakthrngyxmcanntxeyxrmniinwnthi 28 phvsphakhm kh s 1940 kstriyelxxpxlthrngthukpranamxyangaephrhlay inchwngkaryudkhrxngkhxngeyxrmn kstriyelxxpxlthrngthukkkbriewninphrarachwngsungphraxngkhthrngidrbkarykyxngwathrngprathbephuxrbkhwamthukkhthrmanrwmkbphsknikrkhxngphraxngkh faysmphnthmitrpldplxypraethsinpi kh s 1944 nasiidyayphraxngkhipxyueyxrmniemuxebleyiymidrbkarpldplxyaetphramhakstriyyngkhngthukkhumkhngxyu idmikareluxkecachaychals ekhantaehngflanedxr phraxnuchaepnphusaercrachkaraethnphraxngkh mikarprakasxyangepnthangkarwaphramhakstriy imsamarthpkkhrxngidxiktxip tamrththrrmnuy praethsekidkhwamaetkaeykthangkaremuxngdwypyhawaphramhakstriycasamarthklbmathahnathiidxikhruxim aeladwykhbwnkarthangkaremuxngfaysayekhamakhwbkhumkaremuxng kstriyelxxpxlcungthrngliphyxyuinswitesxraelnd inpi kh s 1950 mikarlngprachamtiradbchatithicdkhunodyrthbalihmsayklang khwa ephuxtdsinwakstriyelxxpxlcathrngsamarthesdcklbmaidhruxim aemwaphlkarlngprachamtithixxkmacaepnchychnakhxngfayniymkstriyelxxpxl aetkthaihekidkhwamaetkaeykinradbphumiphakhxyangrunaerngrahwangaeflnedxs sungtxngkarihphramhakstriyklbma kbbrseslsaelaekhtwllun nntxtanphramhakstriy kstriyelxxpxlthi 3 esdcklbebleyiymineduxnkrkdakhm kh s 1950 phraxngkhidrbkartxnrbdwykarprathwngkhnanihyinpraethsodyechphaainekhtwllunaelamikarndhyudnganthwip khwamimsngbdngklawnamasungkrrmkr 4 khnthuksngharodytarwcinwnthi 30 krkdakhm dwysthankarnthielwraylngxyangrwderwinwnthi 1 singhakhm kh s 1950 kstriyelxxpxlthi 3 thrngprakastngphrathythicaslarachbllngk hlngcakchwngkarepliynphan phraxngkhslarachbllngkxyangepnthangkarineduxnkrkdakhm kh s 1951 enuxha 1 phumihlng 1 1 sthabnphramhakstriyaelarththrrmnuy 1 2 kstriyelxxpxlthi 3 2 karrukrankhxngeyxrmnaelakaryudkhrxng kh s 1940 1944 2 1 karaetkhkrahwangphramhakstriyaelarthbal 2 2 kstriyelxxpxlinchwngkaryudkhrxngkhxngeyxrmni 3 smyphusaercrachkaraelawikvtinrayaaerk kh s 1944 1949 3 1 kstriyelxxpxlthi 3 imsamarthpkkhrxngidxiktxip kh s 1944 3 2 karfuntwthangkaremuxngaelakarklbmakhxngpyharachwngs 4 cudeduxdkhxngwikvt kh s 1950 4 1 karxxkesiyngprachamtieduxnminakhm kh s 1950 4 2 kstriyelxxpxlesdcniwtiebleyiym 4 3 karndhyudnganthwpraethsaelakarslarachbllngk 5 karsubrachbllngkkhxngkstriyobdwng kh s 1951 5 1 karlxbsngharcueliyn laoht 6 phlthitammaaelakhwamsakhy 7 xangxing 7 1 echingxrrth 7 2 raykarxangxing 7 3 brrnanukrm 8 suksaephimetim 9 ewbistxangxingphumihlng aekikhsthabnphramhakstriyaelarththrrmnuy aekikh mngkudkhxngebleyiymepnsylksnthixyubnrththrrmnuyinphrabrmrachanusawriyinkhriststwrrsthi 19 khxngkstriyelxxpxlthi 1 ebleyiymidrbexkrachcakshrachxanackrenethxraelndinpi kh s 1830 aelamikarprakascdtngrachathipitykhxngpwngchndwyrachathipityphayitrththrrmnuyxnepnrabbsxngsphakhxngprachathipityaebbrthspha rththrrmnuyebleyiymaenwesriniymthukrangkhuninpi kh s 1831 sungbyytiineruxngkhxngkhwamrbphidchxbaelakhxcakdthikahndihkbphramhakstriy aemwaphramhakstriyinthanapramukhkhxngrthcathukcakdimihkrathakarid odyprascakkhwamehnchxbcakkhnarthmntri aetphraxngkhkidrbxnuyatihmiphraxanackhwbkhumkxngthphidxyangetmthiinthanaphubychakarthharsungsud khwamrbphidchxbidthimiladbehnuxkwathahakmikhxkhdaeyngknkcathukplxyihkhlumekhrux aelakhwamkhlumekhruxniepnpccysakhykhxngpyharachwngs 1 phramhakstriyphraxngkhaerkkhux phraecaelxxpxlthi 1 aehngebleyiym thrngyxmrbenguxnikhkhxngrththrrmnuyaetphraxngkhthrngphyayamichoxkascakkhwamkhlumekhruxniinkarephimphrarachxanackhxngphraxngkhxyanglaexiydrxbkhxb singnidaenintxinrchkalthdip aemwacaprasbkhwamsaercephiyngelknxyktam 2 kstriyelxxpxlthi 3 aekikh phraecaelxxpxlthi 3 aehngebleyiymkhrxngrachyinpi kh s 1934 hlngcakphraecaxlaebrthi 1 phrarachbidaesdcswrrkhtdwyxubtiehtukhnathrngpinekha kstriyxlaebrthi 1 thrngidrbphrasmyyanamwa kstriyxswin Knight King roi chevalier hrux koning ridder dwythrngidrbkhwamniymxyangsunginhmuchawebleyiymcakkarthithrngbychakarkxngthphebleyiyminchwngsngkhramolkkhrngthihnung kh s 1914 1918 sunghlaypraethstkxyuphayitkaryudkhrxngkhxngeyxrmni rchsmykhxngkstriyelxxpxlthi 3 txngprasbkbwikvtesrsthkicinchwngphawaesrsthkictktakhrngihyaelakhwampnpwnthangkaremuxngcakphwkfaysaycdaelafaykhwacd inchwngwikvtnikstriyelxxpxlthi 3 mipraprasngkhthicakhyayphrarachxanackhxngsthabnphramhakstriy 3 phraxngkhcungthuksngsyxyangkwangkhwangwathrngmikhwamkhidthangkaremuxngaebbephdckaraelaexiyngkhwa 4 tngaetpi kh s 1936 kstriyelxxpxlthrngepnphusnbsnunhlkkhxng noybaykhwamepnxisra khxngebleyiymtxpraethsepnklanginchwngthinasieyxrmnikhyayxanacaeladinaednxyangaekhngkrawephimmakkhun 5 karrukrankhxngeyxrmnaelakaryudkhrxng kh s 1940 1944 aekikhdubthkhwamhlkthi yuththkarthiebleyiym inwnthi 10 phvsphakhm kh s 1940 kxngthpheyxrmnbukebleyiymthiepnklangodyimmikarprakassngkhramxyangepnthangkar kstriyelxxpxlthi 3 esdcipyngpxmbrindxngk sunybychakarkxngthphebleyiymiklemuxngemekhxelin ephuxkhwbkhumkxngthph phraxngkhptiesththicaaecngtxrthsphaebleyiymkxn dngechninsmykhxngkstriyxlaebrthi 1 sungthrngekhythamakxninchwngsngkhramolkkhrngthihnung 6 khwamrwderwinkarrukkhubkhxngkxngthpheyxrmnichyuththwithiihmkhux blithskhrikh phlkdnkxngthphebleyiymipthangtawntk aemwakxngthphfrngessaelaxngkvscaekhamachwyktam inwnthi 16 phvsphakhm rthbalebleyiymxxkcakkrungbrsesls 7 karaetkhkrahwangphramhakstriyaelarthbal aekikh phaphpccubnkhxngprasathwilnanedlinmnthlflanedxrtawntk sungepnthiphbpasudthaykhxngphramhakstriyaelarthbalinwnthi 25 phvsphakhm kh s 1940 imnanhlngcakekidsngkhram phramhakstriyaelarthbalerimimlngrxykn emuxrthbalidotaeyngwakarrukrankhxngeyxrmniepnkarlaemidkhwamepnklangkhxngebleyiymaelathaihebleyiymtxngrwmfaysmphnthmitrinsngkhramolkkhrngthisxng kstriyelxxpxlthrngotaeyngwaebleyiymyngkhngepnklangaelaimmiphnthaid nxkehnuxcakkarpkpxngphrmaednethann kstriyelxxpxlthrngkhdkhanimxnuyatihkxngthphxngkvsaelafrngessekhamainphrmaednebleyiymephuxsurbekhiyngkhangkxngthphebleyiym dwykarthaechnnncaepnkarlaemidkhwamepnklang 7 inwnthi 25 phvsphakhm kh s 1940 kstriyelxxpxlthrngihphuaethnxawuoskhxngrthbalekhaefaepnkhrngsudthaythiprasathwilnanedlinmnthlflanedxrtawntk karphbpakhrngnithukxangthunghlaykhrngwaepnchnwnehtukhxngpyharachwngsaelaepnkaraetkhkrahwangphramhakstriyaelarthbal 8 rthmntrisikhninkarekhaefakhrngniidaek xuaebr piaeyrolt pxl xxngri spk xxngri ednis aelaxaethxr fanedxphxethin 8 inthiprachummikartxsuthinxngeluxdxyuebuxnghlngkhux yuththkarthiaemnalis kh s 1940 rthbalebleyiymetriymphrxmthicatxsukbkxngthpheyxrmnitxipcungliphyipyngfrngess 7 phwkekhakrabthulkhxihkstriythrngtidtamipdwy ehmuxnsmedcphrarachininathwilehlminaaehngenethxraelndaelaaekrnddchechscharlxtaehnglkesmebirk kstriythrngptiesthkhxotaeyngkhxngrthbalaelathrngthaihcudyunkhxngphraxngkhyaklabakmakkhun phraxngkhptiesththicaesdcxxkcakaephndinebleyiymaelakxngthphkhxngphraxngkhinaeflnedxsimwacatxngsuyesiymakaekhihn rthmntribangkhncungsngsywakharachbripharkhxngkstriyelxxpxlkalnglxbecrcakbeyxrmn 7 karprachumsinsudodyimmikhxtklngid aelarthbalebleyiymxxkedinthangipyngfrngess 9 kstriyelxxpxlthrngecrcahyudyingkbkxngthpheyxrmniinwnthi 27 phvsphakhm kh s 1940 aelakxngthphebleyiymidyxmcannxyangepnthangkarinwntxma kstriyelxxpxlthrngklayepnechlysukaelathrngthukkkbriewnaetinphrarachwnglaekiniklbrsesls 10 dwykhwamokrthaekhnthiphramhakstriyephikechytxrthbalaelathrngecrcayxmaephodyimpruksa naykrthmntripiaeyroltcungklawsunthrphcnxyangokrthekriywphanerdioxparis pranamkstriyelxxpxlthi 3 aelaprakaskhwamtngickhxngrthbalthicarwmtxsuekhiyngkhangfaysmphnthmitr 10 nkkaremuxngfrngessodyechphaapxl aeron tahnikstriyelxxpxlthi 3 wathrngthaihekidyuththkarthifrngessxnhaynaaelapranamphraxngkhxyangokrthekriywwa kstriyxachyakr roi felon 11 kstriyelxxpxlinchwngkaryudkhrxngkhxngeyxrmni aekikh dubthkhwamhlkthi karyudkhrxngebleyiymkhxngeyxrmninsngkhramolkkhrngthisxng ekiyrtikhxngkxngthph skdisrikhxngrachbllngk aelasingthidingamkhxngpraethshamimihkhaphecatidtamrthbalxxkipcakebleyiym ectcanngthangkaremuxngkhxngkstriyelxxpxlthi 3 inpikh s 1944 12 ebleyiymyxmcanninwnthi 28 phvsphakhm kh s 1940 txngxyuphayitkaryudkhrxngkhxngeyxrmniaelamikarcdtngkarpkkhrxngthangthharinebleyiymaelafrngesstxnehnuxphayitkarbngkhbbychakhxngnayphlxelksanedxr fxn falekhinehaesininkarpkkhrxngpraeths kharachkarchawebleyiymthuksngihpracaxyuintaaehnngephuxihaenicwacasamarththangantxipidaelaphyayampkpxngprachachncakxanackhxngeyxrmni 13 dwykarphayaephkhxngfrngessaelakarcdtngrabxbkarpkkhrxngthiniymeyxrmnxyang frngessekhtwichi thaihmikarechuxknxyangkwangkhwangwaeyxrmnixaccaidchychnainsngkhram kstriyelxxpxlthrngidrbkarykyxngwaepn mrnskkhi hruxsylksnaehngkhwamekhmaekhngkhxngchati trngknkhamkbrthbalthithukmxngwayudmninxudmkarnmakkwaphlpraoychnkhxngchawebleyiym inwnthi 31 phvsphakhm kh s 1940 phuaethnxawuoscaksasnckrormnkhathxlikinebleyiym phrakhardinlyxaesf exirnenst fn ruxiidsngcdhmaysisyaphibaleriykrxngihchawebleyiymthukkhnepnhnungediywkbphramhakstriy 14 bukhkhlxun inkhnaphutidtamkhxngphramhakstriyodyechphaaxyangying xxngri edx man nksngkhmniymxanacniym echuxwarabxbprachathipitylmehlwaelaemuxsngkhramsinsudcaehnwaphramhakstriycaepnphupkkhrxngrthebleyiymaebbephdckar 15 phaphpccubnkhxngphrarachwnglaekin thisungkstriyelxxpxlthrngthukkkbriewninchwngkaryudkhrxng aemcathrngthukkkbriewnaetphraxngkhyngthrngdaeninkickrrmthangkaremuxngkhxngphraxngkhexng phraxngkhechuxwaeyxrmnicaidrbchychna raebiybihm lththinasi cathuksthapnainyuorp aelainthanathithrngepnbukhkhlthangkaremuxngcakebleyiymthimiskdisungsudinyuorpthithukyudkhrxng phraxngkhsamarthecrcakbecahnathieyxrmnid kstriyelxxpxlthrngtidtxkbxdxlf hitelxr aelathrngphyayamthicaprachumekha 16 hitelxryngkhngimsnicaelaimechuxickstriy aetinwnthi 19 phvscikayn kh s 1940 kstriyelxxpxlprasbkhwamsaercinkarekhaprachumaetepneruxngthiimsakhyxairthiaebrkhohf 17 aerngsnbsnunkhxngkstriyelxxpxlinebleyiymldlngxyangrwderwineduxnthnwakhm kh s 1941 emuxmikhawsusathrnchnwakstriyxphiesksmrsihmkblieliyn ebls 18 karesksmrskhrngniimepnthiniymxyangfngraklukinhmusatharnchnchawebleyiym a phaphlksn kstriynkoths roi prisonnier sungthrngaebngpnkhwamthukkhthrmankhxngechlysngkhramchawebleyiym thukthalaylngaelakhwamniymkhxngphraxngkhldlngxyangrwderw odyechphaainekhtwllun sungepnekhtthinkothschawebleyiymswnihyyngkhngthukkhumkhng 18 20 khwamehnhlkkhxngsatharnchnmxngwakstriyimetmphrathythicamiphrarachdarstxtankaryudkhrxngkhxngeyxrmni 19 karphayaephkhxngeyxrmnitxrsesiyinaenwrbdantawnxxkhlngpi kh s 1942 kstriythrngetriymkaryutisngkhram phraxngkhthrngihcdthaexksarthieriykwa ectcanngthangkaremuxng Testament Politique sungchiihehnthungphvtikrrmkhxngphraxngkhexngphayitkaryudkhrxngaelaihraylaexiydekiywkbkaraethrkaesngkhxngphraxngkh ephuxchwyehluxechlysngkhramchawebleyiymaelaaerngnganthithukenreths aetkstriyelxxpxlyngthrngpranamkardaeninngankhxngrthbalebleyiymphldthin pracakarinlxndxnhlngeduxntulakhm kh s 1940 inwnthi 7 mithunayn kh s 1944 cakehtukarnkarykphlkhunbkthinxrmxngdi kstriyelxxpxlthrngthuknaphraxngkhipyngeyxrmni 20 phraxngkhidrbkarpldplxycakkxngthphxemrikninwnthi 7 phvsphakhm kh s 1945 21 smyphusaercrachkaraelawikvtinrayaaerk kh s 1944 1949 aekikhkstriyelxxpxlthi 3 imsamarthpkkhrxngidxiktxip kh s 1944 aekikh ecachaychals ekhantaehngflanedxr thrngidrbkaraetngtngepnphusaercrachkaraethnphraxngkhinpikh s 1944 hlngcakfaysmphnthmitrykphlkhunbkthinxrmxngdi cungkawekhaipinphrmaednebleyiyminwnthi 1 knyayn kh s 1944 kxngthpheyxrmnmikartxtanephiyngelknxyaelaphayinwnthi 4 knyayn faysmphnthmitrkekhayudkhrxngbrseslsid inkhnathiswnxunkhxngebleyiymidrbkarpldplxyineduxnkumphaphnth kh s 1945 inwnthi 8 knyayn kh s 1944 rthbalebleyiymphldthinidklbkhunsubrseslsaelaidrbkartxnrbcakprachachnxyangechyemy 22 aemwaphramhakstriyimidprathbxyuinpraeths aetectcanngthangkaremuxngkhxngphraxngkhidthuknaesnxtxrthbalthiephingklbmatamthiphraxngkhprasngkhaelainimchakmikarephyaephrtxsatharnchn 22 inkhnaediywknrangexksarectcanngidthuksngmayngsmedcphraecacxrcthi 6 aehngshrachxanackr aelaaexnothni xiedn rthmntriwakarkrathrwngtangpraeths khxkhwamdngklawthaihekidkhwamaetkaeykphayinrthbalsungswnihythuksxniwinchwngsngkhram 23 inyamthiphramhakstriyyngkhngepnechlykhxngeyxrmni cungimmiikhrtxtanaenwkhidinkarcdtngphusaercrachkaraethnphraxngkh inwnthi 20 knyayn kh s 1944 mikarcdprachumrthspha aelamikarichmatra 82 khxngrththrrmnuy b prakaswaphramhakstriy imsamarthpkkhrxngidxiktxip dans l impossibilite de regner 24 ecachaychals ekhantaehngflanedxr phraxnuchaphurksnodskhxngkstriyelxxpxlidrbkareluxkihdarngtaaehnngphusaercrachkaraethnphraxngkhinwnthdma 20 kardaeninkarephimetimekiywkbpyharachwngsthukphlkxxkip aethnthidwypyhaesrsthkicaelakaremuxng sungrthbalidichewlaswnihyipkberuxngehlani 24 26 emuxebleyiymxyuphayitkarbriharkickarkhxngkxngthphfaysmphnthmitrcnkrathngmikarfunfukarbriharngankhxngrthbal kartxtankhxngxngkvsthimitxkaresdcklbpraethskhxngkstriyelxxpxlidklayepnpraednpyhathimikhwamyungyaksbsxnmakkhun 27 karfuntwthangkaremuxngaelakarklbmakhxngpyharachwngs aekikh xuaebr piaeyrolt xakhil fn xkekhxr kstxng ixsekhin ephiyngewlaimnanhlngcakebleyiymidrbkarpldplxy praethsxyuinchwngkhxngkrabwnkarfuntwthangesrsthkicaelakarfuntwthangkaremuxngkerimkhun rabxbphrrkhkaremuxngdngedimthukthalaycaksngkhramaelakaryudkhrxng klumxudmkarnthangkaremuxngthngsxngidsrngphrrkhkaremuxngkhxngphwkekhaexng faysngkhmniymcdtngphrrkhsngkhmniymebleyiym PSB BSP swnfaykhathxlikaelaxnurksuniymcdtngphrrkhsngkhmkhrisetiyn PSC CVP 28 karepliynaeplngkhrngihythisudinchwngyukhhlngkarpldplxykhux khlunaerngkhxngphrrkhkhxmmiwnistebleyiym sungklayepnphrrkhkaremuxngladbthisaminrabxbkaremuxngebleyiymcnthupikh s 1949 idthukaethnthidwyphrrkhesriniymepnkarchwkhraw 28 khbwnkarwllunekidkhunxikkhrnghlngsngkhram odyphyayamsngesrimwthnthrrmaelaphlpraoychnthangesrsthkickhxngphunthiprachakrphudphasafrngessthangtxnit chwngewladngklawmikarptirupshphaphaerngngantammadwykarcdtngshphaphkhnadihythiepnhnungediyw khux shphnthaerngnganaehngebleyiym Federation generale du Travail de Belgique hrux Algemeen Belgisch Vakverbond FGTB ABVV ineduxnemsayn kh s 1945 aelamismachikthwpraethsthung 248 000 khn 29 aetthungkranninpikh s 1947 okhrngsrangthangkaremuxngkhxngrthebleyiymmiesthiyrphaph 30 willa elx raopsiaeyr inephlyi chxmebsi switesxraelnd thisungkstriyelxxpxlprathbinchwngpikh s 1945 1950 khnathrngliphy inchwngsmyphusaercrachkarchwngaerk thngpiaeyroltaelarthbalkhxngxakhil fn xkekhxr phyayamhlikeliyngthicaephchiyhnapyhakaresdcklbmakhxngkstriyelxxpxlthi 3 aemcamikareriykrxngcakfaykhxmmiwnist nksngkhmniymbangkhnaelafayshphaphkarkhathitxngkarihphramhakstriyslarachbllngkineduxnemsayn aelaphvsphakhm kh s 1945 31 imnanhlngcakmikarplxykstriyelxxpxlxxkcakthikhumkhng naykrthmntrifn xkekhxraelaphuaethnrthbal idedinthangipyngsotrph praethsxxsetriyphayitkaryudkhrxngkhxngfaysmphnthmitrephuxecrcakbkstriyelxxpxl mikarprachumkninchwngwnthi 9 thung 11 phvsphakhm kh s 1945 fn xkekhxryunynwaphraxngkhcatxngthrngprakastxsatharnchnwathrngsnbsnunfaysmphnthmitr aelakhwamechuxmninrabxbprachathipityaebbrthspha 31 32 aetkimsamarthtklngknid 31 inkhnaediywknkstriyelxxpxlthrngyayipprathbthiephlyi chxmebsi iklecniwa inswitesxraelnd dwythrngxangwathrngmiphraxakaricsnthaihkarecrcatxiphruxkarthicathrngklbipichchiwitthangkaremuxngyxmepnipimid 33 34 inebleyiym karthkethiyngthangkaremuxngekiywkbpyharachwngsyngkhngdaenintxipaelaephimmakkhunhlngsngkhram aelayngkhngepnhwkhxthkethiyngyxdniyminsuxsingphimph odyechphaainhnngsuxphimphniymfrngessxyang elx swr inkareluxktngthwipinebleyiym kh s 1949 c phrrkh PSC CVP mikarrnrngkhhaesiyngdwyaenwkhidniymeca snbsnunkstriyelxxpxl 33 phlkareluxktngidphlikochmphumithsnthangkaremuxng faykhxmmiwnistthukwangaenwthangiw d aelaphrrkh PSB BSP suyesiythinngihkbthngphrrkhesriniymaelaphwkkhathxlik faykhathxlikidrbesiyngkhangmakinwuthisphaaelaidrbesiyngswnihyinsphaphuaethnrasdr sungepnchychnathidithisudnbtngaetsngkhram 33 kstxng ixsekhinidepnnaykrthmntri epnhwhnarthbalphsmesriniym khathxlik phrrkhkaremuxngthngsxngphrrkhinrthbal rwmthungkstriyelxxpxlexng snbsnunkarcdthaprachamtiephuxihphramhakstriyklbma sungcaklayepncudsnicthangkaremuxng 33 cudeduxdkhxngwikvt kh s 1950 aekikhkarxxkesiyngprachamtieduxnminakhm kh s 1950 aekikh dubthkhwamhlkthi karxxkesiyngprachamtisthabnphramhakstriyebleyiym kh s 1950 pxl fn eslnd pxl xxngri spk chxng duwiwsart rthbalkhxngixsekhinehnchxbihcdthakarxxkesiyngprachamtiradbpraeths ephuxihepn karphicarnathiaephrhlay consultation populaire hrux volksraadpleging aelakahndepnwnthi 12 minakhm kh s 1950 37 nbepnkarxxkesiyngprachamtikhrngaerkinprawtisastrkaremuxngebleyiymaelamikhwamtngicihepnkrnisuksa karrnrngkhkhaaennesiyngepnipxyangekhmkhnthngsxngfay mikarhyudchangkinkarlngkhaaennophll elknxy aelamikarthkethiyngknxyuepnpkti 38 phlkarxxkesiyngprachamtiimchikhad faythitxngkarihkstriyelxxpxlklbmaidchychnaephiyngrxyla 58 khxngesiyngswnihyinpraeths odyidkhaaennna 7 mnthlcakthnghmd 9 mnthlinebleyiym aetkarlngkhaaennesiyngmikaraetkaeykinphumiphakhxyangmak 38 inaeflnedxs xxkkhaaennesiyngihkstriyelxxpxlklbmathungrxyla 72 aetinekhtkareluxktngkrungbrsesls fayniymkstriyelxxpxlidkhaaennesiyngipephiyngrxyla 48 inekhtwllunxxkkhaaennesiyngihfunfukstriyephiyngrxyla 42 39 phllphththansudkhidepnrxylaaebngtammnthl idaek 39 esiyngkhangmakinekhtkareluxktngaewrwiaeyslngmtiehnchxbihkstriyklbma esiyngkhangmakinekhtkareluxktngnamurtxtankarklbmakhxngkstriyphlkareluxktngidthaihbangkhnekidkhwamkngwl dngechn spkmxngwakarxxkkhaaennesiyngnicaimchichdipinthangidthanghnungaelaxacthaihekidkaraebngaeykpraethstamphumiphakhaelaphasa inwnthi 13 minakhm naykrthmntriixsekhinedinthangipyngephlyi chxmebsi ephuxkrabthulonmnawihkstriyelxxpxlthi 3 slarachbllngk 40 pxl fn eslndaelaspk sxngxditnaykrthmntriphyayamepntwaethnecrcakhxtklngihmihkstriyelxxpxlslarachbllngkaekphrarachoxrs 40 inwnthi 15 emsayn kh s 1950 kstriyelxxpxlthrngprakastngphrathythicamxbphrarachxanackhxngphraxngkhepnkarchwkhraw 40 nkkaremuxnghlaykhninphrrkh PSC CVP trahnkthungphlprachamtithaihphwkekhasuyesiyesiyngkhangmakinrthsphaxncaepnkarbxnthalaykarprxngdxngradbchatirxbxngkhphramhakstriy trabidthiphnthmitraenwrwmesriniymimetmicthiyxmrbkarklbmakhxngkstriy 41 kstriyelxxpxlesdcniwtiebleyiym aekikh prachachnfayniymkstriyelxxpxlinemuxngkhxrthirkh mnthlflanedxrtawntk chumnumsnbsnunkarklbmakhxngkstriyinpikh s 1950 inwnthi 29 emsayn kh s 1950 ecachaychals phusaercrachkarthrngyubsphaephuxeluxktngihm phraxngkhtngphrathythicapxngknkarcdtngrthbalphrrkh PSC CVP thicamifn eslndepnphunarthbal ekhaepnphuniymkstriyelxxpxlxyangaekhngkhn sungxaccathaihkstriyelxxpxlesdcklbmaodyimmikhxaemid 42 kareluxktngthwipinebleyiym kh s 1950 thaihphrrkh PSC CVP idrbesiyngkhangmakthnginrthsphaaelawuthispha e thaihklayepnrthbalihmphrrkhediywphayitkarnakhxngchxng duwiwsart 42 kardaeninkaraerkkhxngrthbalduwiwsartkhuxkarxxkrangphrarachbyytiephuxihkar karirkhwamsamarthinkarpkkhrxng khxngphramhakstriytxngsinsudlng inwnthi 22 krkdakhm kh s 1950 kstriyelxxpxlthi 3 esdcniwtiebleyiymepnkhrngaerknbtngaeteduxnmithunayn kh s 1944 aeladarngtaaehnngphramhakstriytxip 42 karndhyudnganthwpraethsaelakarslarachbllngk aekikh aephnolhacarukthukras hxolyniiklemuxngliaeych ralukehtukarnthiaerngngan 4 khnthuktarwcphuthryingesiychiwitinwnthi 30 krkdakhm kh s 1950 inpi kh s 1949 khbwnkar FGTB ABVV idlngmtingbpramanphiesscanwn 10 lanfrngkebleyiym ephuxcdtngkhnakrrmathikarptibtikarrwm Comite d action commune inkarsnbsnunkarndhyunganthwpraethsephuxtxtankarklbmakhxngkstriy shphaphaerngnganepnphunainkartxtaninvdurxn pi kh s 1950 xngedr ernard phunashphaphkarkhachawwllun eriykrxngihmikar clacl aela ptiwti inhnngsuxphimphla wllunni La Wallonie imnanhlngkstriyesdcniwtiineduxnkrkdakhm kh s 1950 43 nkprawtisastrsmyihmtngkhxsngektwa klinxaykhxngkarptiwtixyuinxakas sungnkchatiniymchawwllunyngmikareriykrxngihmikaraeykekhtwllunxxkcakebleyiyminthnthiaelasrangsatharnrth 44 karndhyudnganthwpraethsinpi kh s 1950 erimcakxutsahkrrmehmuxngthanhininmnthlaexonaelaaephrkhyayipxyangrwderw inimchakhnngankhyudnganthwekhtwllun brseslsaelathihyudngannxykwakhuxthiaeflnedxs thaeruxaexntewirphnunginsthanthisakhyidrbphlkrathbaelapraethsaethbcaepnxmphat 43 inwnthi 30 krkdakhm aerngngan 4 khnthukyingesiychiwitodykxngtarwcphuthr ebleyiym thikras hxolyniiklemuxngliaeychaelakhwamrunaerngkthwimakkhun 45 46 fayniymkstriyelxxpxlinrthbaleriykrxngihrthbalmicudyunthiaekhngkrawmakkhun aetkphbwaphrrkhphwkkhxngtnepnkhnklumnxy aemaetinphrrkh PSC CVP exng khwamphidhwngthiimmixairkhubhna rthbalcungkhuwacaprakaslaxxk thngkhna 44 emuxsthankarnthwikhwamrunaerngmakkhun smaphnthnkothsthangkaremuxngaehngchatiaelaphuphungphing Confederation nationale des prisonniers politiques et des ayants droit Nationale Confederatie van Politieke Gevangenen en Rechthebbenden hrux CNPPA NCPGR xnepnxngkhkrthiepntwaethnkhxngnkothskaremuxngthithukkhumkhnginchwngthieyxrmniyudkhrxng esnxthicaepntwklangkarecrcakbfaytang enuxngcakxngkhkrniepnthiekharphnbthuxcakthukfay 47 xngkhkr CNPPA NCPGR prasbkhwamsaercinkarekliyklxmthngphramhakstriyaelarthbalihepidkarecrcaxikkhrnginwnthi 31 krkdakhm intxnethiyngkhxngwnthi 1 singhakhm kstriyelxxpxlthrngprakastngphrathythicaslarachbllngkxyangepnthangkaraekecachayobdwng phrarachoxrs ephuxhlikeliywkhwamkhdaeyngxnnxngeluxd 44 ecachayobdwngthrngmiphrachnmayu 19 phrrsa thrngidepnphusaercrachkaraethnphraxngkh dwyphraxisriyys phrawrrachkumar Prince Royal inwnthi 11 singhakhm kh s 1950 48 karsubrachbllngkkhxngkstriyobdwng kh s 1951 aekikh kstriyobdwng phrabrmchayalksnchayinpikh s 1960 sungthrngsubrachbllngktxcakkstriyelxxpxlinpikh s 1951 kstriyelxxpxlthi 3 thrngmiphrarachhtthelkhaslarachbllngkinwnthi 1 singhakhm kh s 1950 aetkmikariklekliyihmikaretriymtwecachayobdwng phrarachoxrsepnewlahnungpi 49 ecachayobdwngthrngthukmxngcakphrrkhkaremuxngtang waepntweluxkthiphwkekhayxmrbid phayitkdhmayinwnthi 11 singhakhm xanacinkarbriharrachkaraephndinkhxngkstriycathukthayoxnipyngecachayobdwngkxnthicamikarslarachbllngkxyangepnthangkar kstriyelxxpxlthi 3 slarachbllngkxyangepnthangkarinwnthi 16 krkdakhm kh s 1951 phrarachoxrssubrachbllngkinwnthdma 44 karlxbsngharcueliyn laoht aekikh xnusawriyralukcueliyn laoht inwnthi 11 singhakhm kh s 1950 kstriyobdwngthrngprakxbphithistyptiyantxrththrrmnuyphayinrthspha bukhkhlthiimpraktchuxthinngxyubriewnfngphrrkhkhxmmiwnistidtraoknwa satharnrthcngecriy karkhdcnghwaphramhakstriykhrngnisrangkhwamecbaekhnaekphucngrkphkdi 50 mikarsngsyxyangkwangkhwangwa ecakhxngesiyngprisnakhux cueliyn laoht phunakhxmmiwnistthimichuxesiyngsungekhyepnhnunginphutxtankarklbmakhxngkstriyelxxpxl hnungspdahtxma 18 singhakhm laohtthukyingesiychiwitodymuxsngharthiimsamarthrabuid briewnnxkbankhxngekhainesxaerng mnthlliaeych 50 karlxbsngharsrangkhwamtktalungaeksngkhmebleyiymmak miphuekharwmngansphkhxnglaohtkwa 200 000 khn 50 aemwaimmiikhrthukdaeninkhdiinkhxhakhatkrrm aetkmikarsngsywaxacepnfimuxkhxngsmakhmniymkstriyelxxpxlxyang Ligue Eltrois hrux klumtxtankhxmmiwnistebleyiym Bloc anticommuniste belge sungepnklumthiechiywchayngandanrksakhwamplxdphy 51 phlthitammaaelakhwamsakhy aekikh kstriyobdwnginpikh s 1962 phlthitammakhxngpyharachwngs idthukepliynipepnpraednpyhakaremuxngxun inwnthi 17 knyayn kh s 1950 rthbalkhxngnaykrthmntrioyaesf phxeliynidprakastngicthicasngxasasmkhrthharebleyiymiprwmrbinsngkhramekahli 52 mikarecrcaekiywkbsnthisyyapxngknprachakhmyuorptamma aelainchwngklangthswrrsthi 1950 ebleyiymcmxyuinwikvtthangkaremuxngkhrngihm hruxthieriykwa sngkhramorngeriynkhrngthisxng ekiywkbolkiyanuwtithangkarsuksa aeyksasnaxxkcakkarsuksa 53 ineduxnsinghakhm kh s 1960 kstriyobdwngthrngaecngtxnaykrthmntrikstxng ixsekhinwaphraxngkhimiwwangphrathyinrthbalaelathrngkhxihekhalaxxk naykrthmntriixsekhinptiesthaelathathayphramhakstriythrngxuththrntammatra 65 khxngrththrrmnuyaelaephikthxnxanackhxngkhnarthmntriodyfayediyw dwykhwamekrngwaxacthaihekidpyharachwngskhunmaxikkhrng kstriyobdwngcungthrngyxmaephtxnaykrthmntri 54 nkprawtisastrsmyihmxthibaywa pyharachwngsepnehtukarnthisakhyinkarfuntwkhxngebleyiymhlngsngkhramolkkhrngthisxng khwamkhdaeyngrahwangfayniymkstriyelxxpxlaelafaytxtankstriyelxxpxlnaipsukarcdtngphrrkhsngkhmniymaelaphrrkhkhathxlikkhunihmtngaetkxnsngkhram 30 pyharachwngsepnehtukarnthisakhyinkhwamkhdaeyngthangphasaaelaechuxchatikhxngebleyiym nxkcakniyngepncudcbkhxngsthabnebleyiyminlksnashphaphsungxacthaihkhwamkhdaeyngrahwangphumiphakhrunaerngmakyingkhun sungkxtwmacakpyharachwngs 55 nxkcaknikhwamlmehlwkhxngphrrkh PSC CVP thiphyayamthatamkhwamtxngkarkhxngchaweflmichinkarkratunihekidkarklbmakhxngkstriyelxxpxl ephuxtxngkaresiyngsnbsnuncakphrrkhshphaphprachachn xnepnphrrkhchatiniymkhbwnkareflmichhlngkh s 1954 56 inekhtwllun mrdkkhxngshphaphkarkhaaelakarekhluxnihwthangkaremuxngaebbsngkhmniyminchwngkarndhyudnganthwpraethsepnkarputhangipsukarkaeninihmkhxngkhbwnkarwllunfaysay inthisudklayepnehtukarnkarndhyudnganthwpraethsebeyiym kh s 1960 1961 56 khdikarlxbsngharlaohtyngimidrbkarkhlikhlay aelayngkhngepnthithkethiyngkninthanakarkhatkrrmthangkaremuxngephiyngkhrngediywinprawtisastrebleyiym nxkcaknikhuxehtukarnkarlxbsngharxngedr khuls nkkaremuxngfaysngkhmniyminpikh s 1991 fayniymkstriyelxxpxlthuksngsyaetkimmikardaeninkhdiid inphayhlng cakkarsubswnkhxngnkprawtisastrxyangrudi fn dursaelraelaexeyng efxhuaeyr mikarrabuchuxkhxngphuthukklawhawaepnkhnsnghar 57 aelamirayngankhrngsudthay sngihkbrthbalebleyiyminpikh s 2015 58 xangxing aekikhechingxrrth aekikh phramehsixngkhaerkkhxngkstriyelxxpxlthi 3 khux xstridaehngswiedn sungthrngprasbxubtiehtuthangrthyntsinphrachnminpikh s 1935 aetphranangyngkhngidrbkhwamniymsunginhmusatharnchn inthangklbkneblsimidmiysepnchnchnsungaelamacakaeflnedxs thukmxngwaepnphwk phudiihm aelaxiththiphlthangkaremuxngkhxngethxthimitxkstriyepneruxngthiimnaiwwangic 19 karaekikhrththrrmnuyinphayhlngidmikarepliynaeplngmatra karirkhwamsamarthinkarpkkhrxng cakedimkhuxmatra 82 maepnmatra 93 inpccubn 24 khxkhwaminmatradngklawyngimmikarepliynaeplngaelathukbngkhbichxikkhrngepnewla 24 chwomnginpikh s 1990 ephuxihmikarphanrangkdhmaykarthaaethngodyimtxngphankarlngphraprmaphiithykhxngkstriyobdwng 25 The kareluxktngthwipinebleyiym kh s 1949 epnkareluxktngkhrngaerkkhxngebleyiymthimikarihsiththixxkesiyngeluxktngthwipxyangetmthi dwymikarkhyaysiththiinkarxxkesiyngeluxktngaekphuhyingchawebleyiymthukkhnineduxnminakhm kh s 1948 35 phrrkhkhxmmiwnistebleyiymidrbkhaaennesiyngldlngcakrxyla 12 68 ehluxephiyngrxyla 7 48 inkareluxktngthwippikh s 1949 inpikh s 1954 idrbkhaaennesiyngephiyngrxyla 3 57 aelaimekhyidrbxiththiphlthangkaremuxngklbkhunmaxikely 36 phrrkh PSC CVP idrbesiyngkhangmakthngsxngsphainkareluxktngpi 1950 aelaepnrthbalphrrkhediywkhrngsudthayinprawtisastrkaremuxngebleyiym 42 raykarxangxing aekikh Mabille 2003 p 38 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 pp 45 7 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 p 189 Le Vif 2013 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 p 209 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 17 7 0 7 1 7 2 7 3 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 18 8 0 8 1 Mabille 2003 p 37 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 18 9 10 0 10 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 19 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 19 103 Dumoulin Van den Wijngaert amp Dujardin 2001 p 197 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 19 20 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 26 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 26 7 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 27 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 27 8 18 0 18 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 28 19 0 19 1 Conway 2012 p 32 20 0 20 1 20 2 Mabille 2003 p 39 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 28 9 22 0 22 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 106 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 106 7 24 0 24 1 24 2 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 109 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 p 266 Conway 2012 pp 141 3 The Independent 1996 28 0 28 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 111 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 112 30 0 30 1 Conway 2012 p 12 31 0 31 1 31 2 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 p 240 Conway 2012 p 139 33 0 33 1 33 2 33 3 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 p 241 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 125 Mabille 2003 p 43 Conway 2012 p 232 3 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 139 38 0 38 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 140 39 0 39 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 141 40 0 40 1 40 2 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 142 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 142 3 42 0 42 1 42 2 42 3 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 143 43 0 43 1 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 144 44 0 44 1 44 2 44 3 Witte Craeybeckx amp Meynen 2009 p 242 Zaait nu zelfs de koning verdeeldheid tussen zijn onderdanen Gesprekken van over de taalgrens De Morgen 30 October 1999 subkhnemux 28 July 2019 Police kill 3 wound mayor in Liege riot Bluefield Daily Telegraph phasaxngkvs Associated Press 31 July 1950 subkhnemux 28 July 2019 odythang Newspaperarchive com Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 p 145 Van den Wijngaert amp Dujardin 2006 pp 145 6 Mabille 2003 p 41 50 0 50 1 50 2 Gerard Libois amp Lewin 1992 p 148 Gerard Libois amp Lewin 1992 p 147 Gerard Libois amp Lewin 1992 p 173 Mabille 2003 pp 44 5 Young 1965 p 326 Conway 2012 p 253 56 0 56 1 Conway 2012 p 265 Gerard Libois amp Lewin 1992 pp 147 8 RTBF 2015 brrnanukrm aekikh Conway Martin 2012 The Sorrows of Belgium Liberation and Political Reconstruction 1944 1947 Oxford Oxford University Press ISBN 978 0 19 969434 1 Crossland John 4 January 1996 Allies dilemma over cowardice of Belgian king The Independent subkhnemux 23 October 2018 Dumoulin Michel Van den Wijngaert Mark Dujardin Vincent 2001 Leopold III Brussels Complexe ISBN 2 87027 878 0 Gerard Libois Jules Lewin Rosine 1992 La Belgique entre dans la guerre froide et l Europe 1947 1953 Brussels Pol His ISBN 978 2 87311 008 6 Havaux Pierre 29 March 2013 Leopold III l impossible rehabilitation Le Vif subkhnemux 8 September 2013 Mabille Xavier 2003 La Belgique depuis la Seconde guerre mondiale Brussels Crisp ISBN 2 87075 084 6 Van den Wijngaert Mark Dujardin Vincent 2006 La Belgique sans Roi 1940 1950 Nouvelle histoire de Belgique Brussels Ed Complexe ISBN 2 8048 0078 4 Witte Els Craeybeckx Jan Meynen Alain 2009 Political History of Belgium from 1830 Onwards New ed Brussels ASP ISBN 978 90 5487 517 8 Vlassenbroeck Julien 12 May 2015 Julien Lahaut assassine par un reseau soutenu par l establishment belge RTBF subkhnemux 29 December 2015 Young Crawford 1965 Politics in the Congo Decolonization and Independence Princeton Princeton University Press OCLC 307971 suksaephimetim aekikhGerard Libois Jules Gotovitch Jose 1991 Leopold III de l an 40 a l effacement Brussels Crisp ISBN 978 2 87311 005 5 Moureux Serge 2002 Leopold III la tentation autoritaire Brussels Luc Pire ISBN 978 2 87415 142 2 Ramon Arango E 1963 Leopold III and the Belgian Royal Question Baltimore Johns Hopkins Press OCLC 5357114 Stengers Jean 1980 Leopold III et le Gouvernement les deux politiques belges de 1940 Paris Duculot OCLC 644400689 Stengers Jean 2013 L Action du Roi en Belgique depuis 1831 Pouvoir et Influence Brussels Lanoo ISBN 978 2 87386 567 2 Van Doorslaer Rudi Verhoeyen Etienne 1987 L Assassinat de Julien Lahaut une histoire de l anticommunisme en Belgique Antwerp EPO OCLC 466179092 Velaers Jan Van Goethem Herman 2001 Leopold III De Koning Het Land De Oorlog 3rd ed Tielt Lannoo ISBN 978 90 209 4643 7 ewbistxangxing aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb pyharachwngsBelgium says no to Leopold 1950 newsreel on the British Pathe YouTube Channel Feeding the Crocodile Was Leopold Guilty at The Churchill Centreekhathungcak https th wikipedia org w index php title pyharachwngs amp oldid 9390944, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม