fbpx
วิกิพีเดีย

ปีต โมนดรียาน

ปีต โมนดรียาน (ดัตช์: Piet Mondriaan) มีชื่อเต็มว่า ปีเตอร์ กอร์เนลิส โมนดรียาน ยือนียอร์ (ผู้ลูก) (Pieter Cornelis Mondriaan, Jr.) เป็นศิลปินชาวดัตช์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1872 ที่เมืองอาเมอร์สโฟร์ต ประเทศเนเธอร์แลนด์

ปีต โมนดรียาน
เกิด7 มีนาคม ค.ศ. 1872(1872-03-07)
อาเมอร์สโฟร์ต, เนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 (71 ปี)
แมนฮัตตัน, รัฐนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
สัญชาติดัตช์
การศึกษาสูงสุดสถาบันทัศนศิลป์หลวง (Rijksakademie)
มีชื่อเสียงจากจิตรกรรม
ผลงานเด่น
Grey Tree, Broadway Boogie Woogie, Composition II in Red, Yellow, and Blue
ขบวนการ
เดอสไตล์ (De Stijl)

ปีต โมนดรียานเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศิลปะแบบนามธรรม ในปี ค.ศ. 1915 เขาและเตโอ ฟัน ดุสบืร์ค (Theo van Doesburg) ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเดอสไตล์ (De Stijl) โดยสร้างงานเรขาคณิตอันมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเจริญเติบโตขึ้นจากแนวทางของลัทธิรูปทรงแนวใหม่ (neo-plasticism) โมนดรียานจำกัดองค์ประกอบศิลป์ในงานของตนเองให้เหลือเป็นเพียงเส้นตรงในแนวตั้ง-แนวนอน และสีพื้นฐานไม่กี่สี เช่น เหลือง น้ำเงิน และแดง จึงได้ผลลัพธ์เป็นงานศิลปะที่ชัดเจนและเป็นระเบียบ ซึ่งโมนดรียานเชื่อว่าสามารถสะท้อนให้เห็นกฎแห่งจักรวาลได้

ประวัติ

ปีต โมนดรียานเป็นลูกชายของปีเตอร์ กอร์เนลิส โมนดรียาน และโยฮันนา กริสตีนา โกก (Johanna Christina Kok) ในปี ค.ศ. 1880 ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปยังเมืองวินเตอร์สไวก์ ภายหลังเขาได้พบกับครอบครัวของลุงฟริตส์ โมนดรียาน (Frits Mondriaan) ผู้ซึ่งเป็นจิตรกร และเป็นผู้ริเริ่มสอนการวาดภาพให้แก่โมนดรียาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1892 โมนดรียานได้ย้ายมาที่กรุงอัมสเตอร์ดัมเพื่อเข้าศึกษาด้านศิลปะที่สถาบันทัศนศิลป์หลวง (Rijksakademie van Beeldende Kunsten) จนถึงปี ค.ศ. 1897 เขาได้ศึกษา ฝึกฝนทางด้านงานจิตรกรรมอย่างหนักหน่วง ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และภาพหุ่นนิ่ง

ผลงานระยะแรกของโมนดรียานนั้นจะได้รับอิทธิพลมาจากความเป็นธรรมชาตินิยมและกลุ่มดัตช์อิมเพรสชันนิสม์ (impressionism) เขาชอบออกไปวาดภาพธรรมชาติ ใช้สีค่อนข้างจะเศร้า มีโครงร่างเป็นสีเทาและเขียวทึบระหว่างปี ค.ศ. 1907-1910 ทั้งความคิดและผลงานตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตรกรชาวดัตช์ผู้มีชื่อเสียงยิ่งในยุคนั้น คือ ยัน โตโรป (Jan Toorop) โดยมีการแสดงออกตามแนวของกลุ่มสัญลักษณ์นิยม

ในช่วงนั้นเขาได้วาดภาพที่แสดงให้เห็นถึงสภาพบ้านเกิดของเขาอย่างชัดเจน ด้วยการวาดภาพกังหันลม ทุ่งหญ้า และแม่น้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในกลุ่มดัตช์อิมเพรสชันนิสม์จากสกุลศิลปะเฮก (Hague School) ภาพวาดเหล่านี้เป็นการแสดงถึงจินตนาการของโมนดรียานที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปินหลายคน หลายกลุ่ม ซึ่งรวมถึงลัทธิผสานจุดสีและการใช้แสงสีที่จัดจ้านสว่างไสวของคติโฟวิสต์ ที่พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองเดอะเฮก (Gemeentemuseum Den Haag) เองได้มีการจัดแสดงภาพวาดในช่วงเวลานี้เช่นกัน รวมทั้งผลงานในลัทธิประทับใจยุคหลัง เช่น The Red Mill and Trees in Moonrise และในงานอื่น ๆ เช่น Evening (Avond), 1908 ในปี ค.ศ. 1905-1908 มีการจัดแสดงผลงานชุดที่รวบรวบจากการวาดภาพนามธรรมบนผืนผ้าใบ ซึ่งมีการพรรณนาถึงความมืดมัว คลุมเครือของต้นไม้ และบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ แม้ว่าตัวภาพจะนำเสนอต่อสายตาผู้ชมด้วยรูปแบบของโครงสร้าง การจัดวางที่เด่นชัด มากกว่าที่จะให้เนื้อหากับผู้ชม หากแต่รูปภาพเหล่านี้ก็ยังคงรากฐานความหนักแน่นของความเป็นธรรมชาติเอาไว้ให้เห็น

ผลงานของโมนดรียานมักจะเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการศึกษาทางด้านปรัชญา ในปี ค.ศ. 1908 เขาได้หันมาให้ความสนใจกับหลักปรัชญาที่ดำเนินการโดยเอเลนา เปตรอฟนา บลาวัตสกี (Elena Petrovna Blavatsky) และเป็นเหตุให้ในปี ค.ศ. 1909 เขาเข้าร่วมสมาคมเทวปรัชญาของชาวดัตช์ (Theosophical Society)

ในเวลาต่อมาเขายังได้ก็พัฒนารูปแบบและค้นคว้าเรื่อยมาจนกระทั่งมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยการเริ่มต้นใช้สีที่ประกอบด้วยสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน เป็นรูปแบบของงานแบบนามธรรม เข้าถึงและเข้าใจได้ยาก ซึ่งในเวลาต่อมาการเริ่มต้นดังกล่าวก็ได้เป็นตัวส่งอิทธิพลให้กับของงานโมนดรียานเองอีกหลายงาน

ความหันเหทางด้านงานศิลปะ

ในช่วงหนึ่งโมนดรียานได้เริ่มเปลี่ยนแปลงความสนใจทางงานศิลปะของเขา ด้วยการเข้าชมนิทรรศการของกลุ่มบาศกนิยม "Moderne Kunstkring Exhibition" ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เขาได้ค้นคว้าจากการแสดงให้เห็นรูปแบบที่ธรรมดาของด้วยกัน 2 รูปแบบ จากภาพนิ่งของ Ginger Pot (Stilleven met gemberpot) รูปแบบแรกในปี ค.ศ. 1911 ซึ่งเป็นภาพที่ได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มบาศกนิยม และรูปแบบที่ 2 ในปี ค.ศ. 1912 ซึ่งเขาลดทอนรูปแบบจากวงกลม การมีเส้นคดโค้ง มาเป็นสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทน

อีกทั้งในปี ค.ศ. 1911 โมนดรียานได้ย้ายเข้าสู่กรุงปารีส ที่นั่นมีความเจริญ และเป็นใจกลางทางด้านงานศิลปกรรมแห่งยุคนั้น เขาได้เปลี่ยนนามสกุลของเขาในเวลาเดียวกันนี้ด้วยโดยตัดอักษรอา (a) หนึ่งตัวออกจากนามสกุลเดิม จาก "โมนดรียาน" (Mondriaan) เป็น "โมนดรียัน" (Mondrian) แต่การเปลี่ยนลายเซ็นบนผลงานของเขาได้ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ในระหว่างที่เขาอาศัยอยู่ในปารีส และในช่วงนั้นเองรูปแบบศิลปะแบบบาศกนิยมกำลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ เขาจึงได้รับอิทธิพลการทำงานศิลปะจากกลุ่มบาศกนิยมของปาโบล ปีกัสโซ และฌอร์ฌ บรัก ซึ่งปรากฏให้เห็นในงานภาพชุดของโมนดรียาน ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก ภาพชุดนี้ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ หุ่นนิ่ง และต้นไม้ที่แสดงวิวัฒนาการตั้งแต่ดูเหมือนจริงเรื่อยมาจนกลายเป็นภาพแบบนามธรรม ด้วยการลดทอนรูปทรงต่าง ๆ จากการที่ปรากฏเส้นคดโค้ง กลายเป็นเพียงเส้นตรงที่เข้ามาแทนที่ ความลึกตามหลักทัศนียภาพหายไป เหลือเพียงระนาบแบบ 2 มิติ มีเพียงเส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอนที่สร้างจังหวะจะโคน ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นรูปทรงแบบเรขาคณิต ที่ปรับความแข็งกระด้างของเส้นตรงเหล่านั้นด้วยการนำเอาแม่สีซึ่งเป็นสีสันที่สดใสเข้ามาช่วยขัดกันให้ดูนุ่มนวลขึ้น

เมื่อปีเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914 โมนดรียานได้ย้ายกลับไปที่เนเธอร์แลนด์ และเริ่มค้นหาแนวทางไปสู่คตินิยมการสร้างงานแบบนามธรรม มีการพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับเส้นตรงและเส้นระดับสายตา และในปี ค.ศ. 1915 เขาได้พบกับเตโอ ฟัน ดุสบืร์ค ทั้งสองได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเดอสไตล์ขึ้นในปี ค.ศ. 1917

กำเนิดเดอสไตล์

เดอสไตล์ (De Stijl) ร่วมก่อตั้งขึ้นโดยปีต โมนดรียาน และเตโอ ฟัน ดุสบืร์ค ในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นนิตยสารที่นำเสนอแนวทางใหม่ ๆ ที่ทั้งสองเห็นพ้องต้องกันให้กับรูปแบบทางศิลปะ ด้วยศิลปะแบบนามธรรม จนกระทั่งปี ค.ศ. 1924 แนวการทำงานของนิตยสารก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

เดอสไตล์เป็นภาษาดัตช์ มีความหมายเดียวกับคำว่า The Style แปลว่า "แบบอย่าง" หรือ "กระบวนแบบ" ชื่อกลุ่มมาจากนิตยสารศิลปะฉบับหนึ่ง ศิลปินในกลุ่มนี้เป็นสถาปนิกและนักออกแบบในเนเธอร์แลนด์ พวกเขาเชื่อว่างานศิลปะและงานออกแบบควรทำเพื่อมุ่งไปสู่คนทั่วไปมากกว่ามุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และพยายามหารูปแบบที่เป็นสากลนิยม ในด้านงานศิลปะพวกเขาได้อิทธิพลมาจากแนวคิดของบาศกนิยมในการใช้รูปทรง เรขาคณิต ศิลปินในกลุ่มเดอสไตล์นิยมใช้รูปทรงง่าย ๆ ได้แก่ สี่เหลี่ยมมุมฉาก สี่เหลี่ยมผืนผ้า นิยมใช้เส้นที่หนาและสีขั้นที่ 1 คือ สีน้ำเงิน เหลือง แดง หรือสีขาวและสีดำ การทำงานในลักษณะนี้บางครั้งเรียกกันว่า "ลัทธิรูปทรงแนวใหม่"

ในปี ค.ศ. 1920 โมนดรียานค้นคว้าการแก้ปัญหาในผลงานเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นสุดท้าย เขาได้พบกับความกลมกลืนที่สมดุลกันอย่างดี ด้วยการสร้างพื้นฐานรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพ คือ เส้นตรงตั้งฉากกับแม่สีกับสิ่งตรงกันข้าม คือ เส้นนอนระดับสายตาและสีที่ไม่เป็นสี เช่น สีขาว ดำ และสีเทา เขาเริ่มต้นด้วยวิธีการลดทอนส่วนของภาพให้ต่อเนื่อง และให้มันแยกตัวออกจากกัน แต่ละส่วนจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ด้วยตัวเอง ซึ่งแยกอยู่ส่วนพื้นที่ของตนโดยไม่ถูกรบกวน และส่วนต่าง ๆ นี้จะเกิดความขัดแย้งกัน ก่อให้เกิดการสัมพันธ์และความสมดุลด้วย จากสิ่งนี้จะก่อให้เกิดความงามที่มีอิสระจากลักษณะที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และลักษณะที่เป็นส่วนตนของคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

โมนดรียานสร้างงานของ "ความว่างเปล่า" ขึ้นเพื่อค้นหาคุณค่าอันสมบูรณ์ที่สุดโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับความหมายจากธรรมชาติหรืออารมณ์ โดยทั่วไป คำว่า "นามธรรม" ย่อมตรงข้ามกับ "รูปธรรม" แต่ในทัศนะของโมนดรียานแล้ว ศิลปะนามธรรมของเขาออกมาในรูปทรงที่บริสุทธิ์ในฐานะรูปธรรมและมีตัวตน สามารถดำรงอยู่ได้ในตัวของมันเอง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผลงานของเขาว่าเป็นลัทธิรูปทรงแนวใหม่

ลัทธิรูปทรงแนวใหม่

คำว่า "ลัทธิรูปทรงแนวใหม่" (neo-plasticism) เกิดขึ้นโดยโมนดรียานใช้เรียกแบบอย่างในผลงานของเขา ซึ่งเป็นแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก (geometric abstraction) หลักสุนทรียศาสตร์ของลัทธิส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในนิตยสารเดอสไตล์มาแล้ว ซึ่งได้นำเอาจุดเด่นบางประการจากลัทธิบาศกนิยมมา แต่ได้มีการละทิ้งรูปทรงที่ดูรู้เรื่องของกลุ่มบาศกนิยมไป นอกจากนี้พวกนิยมรูปทรงแนวใหม่ไม่นิยมเอาจุดเริ่มต้นมาจากรูปร่างแล้วค่อยลดทอนออกจนเหลือเพียงนามธรรมดังเช่นศิลปินบางกลุ่มทำ ส่วนใหญ่จะสร้างงานขึ้นจากความคิดฝันของตนเอง ตัวอย่างเช่น โมนดรียานยึดถือการออกแบบองค์ประกอบอย่างเคร่งครัดในเรื่องการนำเส้นที่ตัดกันได้มุมฉากระหว่างเส้นระดับสายตากับเส้นตั้งให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยมของภาพที่วาด โดยคำนึงถึงด้านช่องไฟให้มีความงดงาม การใช้สีจะใช้แม่สีสดใสรวมทั้งสีขาว ดำ และเทา

ลัทธิรูปทรงแนวใหม่เป็นผลสืบเนื่องจากปรัชญา "plastic mathematics" ของสคุนมาเกิร์ส (Schoenmaekers) นักปรัชญาชาวดัตช์ โมนดรียานได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นแบบ "Plastic constructions" และได้อธิบายความหมายของลัทธิรูปทรงแนวใหม่ว่า ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติสามารถลดหรือตัดทอนมาสู่การแสดงออกทางรูปทรงแห่งความสัมพันธ์อันแน่นอนได้ ศิลปะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายทางจิตวิญญาณภายใน มีความแน่นอนเช่นเดียวกับคณิตศาสตร์ และเป็นการแสดงให้เห็นลักษณะรากฐานของจัดวาง ผลงานของลัทธินี้ได้รับอิทธิพลมาจากบาศกนิยม เป็นการจัดองค์ประกอบนามธรรมของเส้นตรงที่ตัดกันได้มุมกันระหว่างแกนเส้นตั้งกับเส้นนอน เพื่อให้เกิดพื้นที่หรือช่องไฟอันงดงามและมีความสมดุลกันหลายด้าน พร้อมด้วยการใช้สีสดใสบริสุทธิ์ของแม่สีขั้นต้น และสอดสลับด้วยพื้นที่สีขาว สีดำ และสีเทาลงในที่บางแห่ง

โมนดรียานกล่าวว่า ศิลปะจะต้องเป็น "การทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ" (denaturalized) ซึ่งเขาหมายถึงว่าจะต้องเป็นอิสระจากการเสนอเรื่องราวใด ๆ ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับส่วนส่วนตัวหรือของสิ่งใด ๆ ตามธรรมชาติทั้งสิ้น ต้องสร้างขึ้นจากสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นนามธรรม ในหลักเช่นนี้เขาคิดว่า ยังมีสิ่งหนึ่งซึ่งอาจหนีลัทธิปัจเจกนิยมของพิเศษส่วนตัวลงได้ ซึ่งจะประสบความสำเร็จในการเข้าถึงการแสดงออกของวิญญาณสากลก็ด้วยการยึดหลักการดังกล่าว และการสร้างสรรค์ผลงานของกลุ่มนี้ยังได้ส่งอิทธิพลก่อให้เกิดกลุ่มศิลปินอิสระขึ้นอีกมากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกลุ่มอัปสทรักซียง-เครอาซียง (Abstraction-Création)

จากลอนดอนสู่นิวยอร์ก

ในปี ค.ศ. 1938 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปะทุขึ้น โมนดรียานจึงได้ย้ายจากปารีสไปสู่ลอนดอนเพื่อหลีกเลี่ยงการรุกรานจากเหล่าทหารนาซี ที่นั่นเขาได้พบกับเบน นิโคลสัน (Ben Nicholson), นาอุม กาโบ (Naum Gabo) และบาร์บารา เฮปเวิร์ท (Barbara Hepworth) ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือแก่เขาในด้านการหาที่พักอาศัย เครื่องอุปโภคบริโภค

จนเมื่อสงครามเริ่มสงบลงในอีกสองปีต่อมา (ค.ศ. 1940) โมนดรียานได้รับการเชิญชวนจากแฮร์รี โฮลซ์มัน (Harry Holtzman) เพื่อย้ายไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โมนดรียานจึงตัดสินใจเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา ที่นั่นเขาได้เข้าร่วมกลุ่มกับศิลปินนามธรรมอเมริกัน (American Abstract) และยังคงมีการพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มลัทธิรูปทรงแนวใหม่อย่างต่อเนื่อง

อีกทั้ง เขายังได้พบกับสภาพบรรยากาศใหม่ ๆ ในนิวยอร์ก แสงสีจากไฟนีออน ความเจริญรุ่งเรือง ความรวดเร็วของชีวิตและเครื่องจักร เสียงดนตรีแจ๊สซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในสมัยนั้น และชีวิตอันวุ่นวายของชาวเมืองนิวยอร์ก สิ่งเหล่านั้นเองได้เข้ามาปรากฏและมีอิทธิพลในงานของโมนดรียาน

โมนดรียานยังคงดำเนินการสร้างงานในรูปแบบของตนเองเรื่อยมา หากเกิดแรงบันดาลใจใหม่จากเมืองที่เขาอาศัยอยู่นั่นก็คือนิวยอร์ก เขาจึงเริ่มสร้างผลงานชุดชื่อว่า NewYork และ NewYork City ขึ้นมา หากแต่รูปแบบที่โมนดรียานประทับใจต่อนิวยอร์กกลับเริ่มปรากฏที่ผลงาน Broadway Boogie-Woogie และผลงานที่ยังวาดไม่เสร็จ Victory Boogie-Woogie ซึ่งเป็นการแสดงถึงความประทับใจจากโมนดรียานต่อแสงสีและความรื่นเริงของนิวยอร์ก เขายังคงพื้นฐานเดิมของงานศิลปะในแบบเขาด้วยเส้นตรงแนวตั้งและแนวนอน หากแต่เขาได้เพิ่มจังหวะของผลงานเข้าไปด้วย โดยการทำเส้นสีระยะสั้น ๆ ต่อกันอย่างหลากหลาย เสมือนกับจังหวะเพลงและชีวิตอันวุ่นวายของชาวเมืองนิวยอร์ก ซึ่งโมนดรียานเองยังคงมีความเห็นว่าผลงานของเขาไม่ได้สิ้นสุดลง แต่เป็น "ขั้นสุดท้ายของการค้นหารูปทรงอันบริสุทธิ์" และในปี ค.ศ. 1942 ที่ Valentine Dudensin Gallery ในนิวยอร์ก โมนดรียานได้มีโอกาสการจัดแสดงผลงานของเขาครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาของเขาขึ้นมา

เสียชีวิต

โมนดรียานเสียชีวิตลง เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ขณะมีอายุได้ 71 ปี ด้วยอาการปอดบวม ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานไซเพรสส์ ฮิลส์ (Cypress Hills Cemetery) ในนิวยอร์ก

ตัวอย่างผลงาน

เชิงอรรถ

  1. คอตติงตัน, 2554 หน้า 55
  2. Busignani 1986, 3
  3. พงศ์กรณ์ พรธนพงศ์เกษม 2551, 49
  4. พงศ์กรณ์ พรธนพงศ์เกษม 2551, 46-47
  5. Busignani 1986, 7

บรรณานุกรม

  • คอตติงตัน, เดวิต แปลโดย จณัญญ เตรียมอนุรักษ์. ศิลปะสมัยใหม่ : ความรู้ฉบับพกพา = Modern art : a very short introduction. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส, 2554.
  • จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง. ประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2548.
  • พงศ์กรณ์ พรธนพงศ์เกษม. ศิลปะสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาผลงานสร้างสรรค์มองเดรียนที่มีรูปแบบเรขาคณิต. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาทัศนศิลป์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
  • Busignani, Alberto (1968). Mondrian: The Life and Work of the Artist, Illustrated by 80 Colour Plates, translated from the Italian by Caroline Beamish. A Dolphin Art Book. London : Thames and Hudson.
  • Deicher, Susanne. Piet Mondrian 1872-1944 : Structures in Space. Koln : Benedikt Taschen, 1995.
  • Milner, John. Mondrian. New York : Abbeville Press, 1992.

แหล่งข้อมูลอื่น

โมนดร, ยาน, ตช, piet, mondriaan, อเต, มว, เตอร, กอร, เนล, โมนดร, ยาน, อน, ยอร, pieter, cornelis, mondriaan, เป, นศ, ลป, นชาวด, ตช, เก, ดเม, อว, นท, นาคม, 1872, เม, องอาเมอร, สโฟร, ประเทศเนเธอร, แลนด, เก, ด7, นาคม, 1872, 1872, อาเมอร, สโฟร, เนเธอร, แลนด, เส, ยช. pit omndriyan dtch Piet Mondriaan michuxetmwa pietxr kxrenlis omndriyan yuxniyxr phuluk Pieter Cornelis Mondriaan Jr epnsilpinchawdtch ekidemuxwnthi 7 minakhm kh s 1872 thiemuxngxaemxrsofrt praethsenethxraelndpit omndriyanekid7 minakhm kh s 1872 1872 03 07 xaemxrsofrt enethxraelndesiychiwit1 kumphaphnth kh s 1944 71 pi aemnhttn rthniwyxrk shrthxemrikasychatidtchkarsuksasungsudsthabnthsnsilphlwng Rijksakademie michuxesiyngcakcitrkrrmphlnganednGrey Tree Broadway Boogie Woogie Composition II in Red Yellow and Bluekhbwnkaredxsitl De Stijl pit omndriyanepnphumibthbathsakhyinkarphthnasilpaaebbnamthrrm inpi kh s 1915 ekhaaelaetox fn dusburkh Theo van Doesburg rwmknkxtngklumedxsitl De Stijl odysrangnganerkhakhnitxnmilksnaechphaatw sungecriyetibotkhuncakaenwthangkhxnglththirupthrngaenwihm neo plasticism omndriyancakdxngkhprakxbsilpinngankhxngtnexngihehluxepnephiyngesntrnginaenwtng aenwnxn aelasiphunthanimkisi echn ehluxng naengin aelaaedng cungidphllphthepnngansilpathichdecnaelaepnraebiyb sungomndriyanechuxwasamarthsathxnihehnkdaehngckrwalid 1 enuxha 1 prawti 2 khwamhnehthangdanngansilpa 2 1 kaenidedxsitl 2 2 lththirupthrngaenwihm 3 caklxndxnsuniwyxrk 4 esiychiwit 5 twxyangphlngan 6 echingxrrth 7 brrnanukrm 8 aehlngkhxmulxunprawti aekikhpit omndriyanepnlukchaykhxngpietxr kxrenlis omndriyan aelaoyhnna kristina okk Johanna Christina Kok 2 inpi kh s 1880 khrxbkhrwkhxngekhaidyayipyngemuxngwinetxrsiwk phayhlngekhaidphbkbkhrxbkhrwkhxnglungfrits omndriyan Frits Mondriaan phusungepncitrkr aelaepnphurierimsxnkarwadphaphihaekomndriyan tngaetpi kh s 1889 cnkrathngpi kh s 1892 omndriyanidyaymathikrungxmsetxrdmephuxekhasuksadansilpathisthabnthsnsilphlwng Rijksakademie van Beeldende Kunsten cnthungpi kh s 1897 ekhaidsuksa fukfnthangdanngancitrkrrmxyanghnkhnwng imwacaepnkarwadphaphthiwthsn phaphehmuxn aelaphaphhunningphlnganrayaaerkkhxngomndriyannncaidrbxiththiphlmacakkhwamepnthrrmchatiniymaelaklumdtchximephrschnnism impressionism ekhachxbxxkipwadphaphthrrmchati ichsikhxnkhangcaesra miokhrngrangepnsiethaaelaekhiywthubrahwangpi kh s 1907 1910 thngkhwamkhidaelaphlngantkxyuphayitxiththiphlkhxngcitrkrchawdtchphumichuxesiyngyinginyukhnn khux yn otorp Jan Toorop odymikaraesdngxxktamaenwkhxngklumsylksnniym 3 inchwngnnekhaidwadphaphthiaesdngihehnthungsphaphbanekidkhxngekhaxyangchdecn dwykarwadphaphknghnlm thunghya aelaaemna sungepnrupaebbthiniyminklumdtchximephrschnnismcakskulsilpaehk Hague School phaphwadehlaniepnkaraesdngthungcintnakarkhxngomndriyanthiidrbxiththiphlmacaksilpinhlaykhn hlayklum sungrwmthunglththiphsancudsiaelakarichaesngsithicdcanswangiswkhxngkhtiofwist thiphiphithphnthethsbalemuxngedxaehk Gemeentemuseum Den Haag exngidmikarcdaesdngphaphwadinchwngewlaniechnkn rwmthngphlnganinlththiprathbicyukhhlng echn The Red Mill and Trees in Moonrise aelainnganxun echn Evening Avond 1908 inpi kh s 1905 1908 mikarcdaesdngphlnganchudthirwbrwbcakkarwadphaphnamthrrmbnphunphaib sungmikarphrrnnathungkhwammudmw khlumekhruxkhxngtnim aelabanthiidrbphlkrathbcakna aemwatwphaphcanaesnxtxsaytaphuchmdwyrupaebbkhxngokhrngsrang karcdwangthiednchd makkwathicaihenuxhakbphuchm hakaetrupphaphehlanikyngkhngrakthankhwamhnkaennkhxngkhwamepnthrrmchatiexaiwihehnphlngankhxngomndriyanmkcaekiywkhxngiklchidkbkarsuksathangdanprchya inpi kh s 1908 ekhaidhnmaihkhwamsnickbhlkprchyathidaeninkarodyexelna eptrxfna blawtski Elena Petrovna Blavatsky aelaepnehtuihinpi kh s 1909 ekhaekharwmsmakhmethwprchyakhxngchawdtch Theosophical Society inewlatxmaekhayngidkphthnarupaebbaelakhnkhwaeruxymacnkrathngmirupaebbepnexklksnkhxngtnexng odykarerimtnichsithiprakxbdwysiaedng siehluxng aelasinaengin epnrupaebbkhxngnganaebbnamthrrm ekhathungaelaekhaicidyak sunginewlatxmakarerimtndngklawkidepntwsngxiththiphlihkbkhxngnganomndriyanexngxikhlayngankhwamhnehthangdanngansilpa aekikhinchwnghnungomndriyaniderimepliynaeplngkhwamsnicthangngansilpakhxngekha dwykarekhachmnithrrskarkhxngklumbaskniym Moderne Kunstkring Exhibition thikrungxmsetxrdm ekhaidkhnkhwacakkaraesdngihehnrupaebbthithrrmdakhxngdwykn 2 rupaebb cakphaphningkhxng Ginger Pot Stilleven met gemberpot rupaebbaerkinpi kh s 1911 sungepnphaphthiidrbxiththiphlmacakklumbaskniym aelarupaebbthi 2 inpi kh s 1912 sungekhaldthxnrupaebbcakwngklm karmiesnkhdokhng maepnsamehliymaelasiehliymphunphaaethnxikthnginpi kh s 1911 omndriyanidyayekhasukrungparis thinnmikhwamecriy aelaepnicklangthangdanngansilpkrrmaehngyukhnn ekhaidepliynnamskulkhxngekhainewlaediywknnidwyodytdxksrxa a hnungtwxxkcaknamskuledim cak omndriyan Mondriaan epn omndriyn Mondrian aetkarepliynlayesnbnphlngankhxngekhaidpraktihehntngaetpi kh s 1907 inrahwangthiekhaxasyxyuinparis aelainchwngnnexngrupaebbsilpaaebbbaskniymkalngepnthiaephrhlayxyu ekhacungidrbxiththiphlkarthangansilpacakklumbaskniymkhxngpaobl piksos aelachxrch brk sungpraktihehninnganphaphchudkhxngomndriyan sungsrangchuxesiyngihkbekhaepnxyangmak phaphchudniprakxbipdwythiwthsn hunning aelatnimthiaesdngwiwthnakartngaetduehmuxncringeruxymacnklayepnphaphaebbnamthrrm dwykarldthxnrupthrngtang cakkarthipraktesnkhdokhng klayepnephiyngesntrngthiekhamaaethnthi khwamluktamhlkthsniyphaphhayip ehluxephiyngranabaebb 2 miti miephiyngesntrnginaenwtngaelaaenwnxnthisrangcnghwacaokhn phllphththiidcungepnrupthrngaebberkhakhnit thiprbkhwamaekhngkradangkhxngesntrngehlanndwykarnaexaaemsisungepnsisnthisdisekhamachwykhdknihdunumnwlkhunemuxpiekidsngkhramolkkhrngthi 1 inpi kh s 1914 omndriyanidyayklbipthienethxraelnd aelaerimkhnhaaenwthangipsukhtiniymkarsrangnganaebbnamthrrm mikarphthnathvsdiekiywkbesntrngaelaesnradbsayta aelainpi kh s 1915 ekhaidphbkbetox fn dusburkh thngsxngidrwmknkxtngklumedxsitlkhuninpi kh s 1917 kaenidedxsitl aekikh edxsitl De Stijl rwmkxtngkhunodypit omndriyan aelaetox fn dusburkh inpi kh s 1917 sungepnnitysarthinaesnxaenwthangihm thithngsxngehnphxngtxngknihkbrupaebbthangsilpa dwysilpaaebbnamthrrm cnkrathngpi kh s 1924 aenwkarthangankhxngnitysarkidepliynaeplngipcakedimedxsitlepnphasadtch mikhwamhmayediywkbkhawa The Style aeplwa aebbxyang hrux krabwnaebb chuxklummacaknitysarsilpachbbhnung silpininklumniepnsthapnikaelankxxkaebbinenethxraelnd phwkekhaechuxwangansilpaaelanganxxkaebbkhwrthaephuxmungipsukhnthwipmakkwamungepahmayipthiklumidklumhnung aelaphyayamharupaebbthiepnsaklniym indanngansilpaphwkekhaidxiththiphlmacakaenwkhidkhxngbaskniyminkarichrupthrng erkhakhnit silpininklumedxsitlniymichrupthrngngay idaek siehliymmumchak siehliymphunpha niymichesnthihnaaelasikhnthi 1 khux sinaengin ehluxng aedng hruxsikhawaelasida karthanganinlksnanibangkhrngeriykknwa lththirupthrngaenwihm inpi kh s 1920 omndriyankhnkhwakaraekpyhainphlnganephimkhun cnthungkhnsudthay ekhaidphbkbkhwamklmklunthismdulknxyangdi dwykarsrangphunthanraylaexiydtang khxngphaph khux esntrngtngchakkbaemsikbsingtrngknkham khux esnnxnradbsaytaaelasithiimepnsi echn sikhaw da aelasietha ekhaerimtndwywithikarldthxnswnkhxngphaphihtxenuxng aelaihmnaeyktwxxkcakkn aetlaswncabrrluthungkhwamsmburndwytwexng sungaeykxyuswnphunthikhxngtnodyimthukrbkwn aelaswntang nicaekidkhwamkhdaeyngkn kxihekidkarsmphnthaelakhwamsmduldwy caksingnicakxihekidkhwamngamthimixisracaklksnathimixyutamthrrmchati aelalksnathiepnswntnkhxngkhnidkhnhnungodyechphaaomndriyansrangngankhxng khwamwangepla khunephuxkhnhakhunkhaxnsmburnthisudodyimidihkhwamsakhykbkhwamhmaycakthrrmchatihruxxarmn odythwip khawa namthrrm yxmtrngkhamkb rupthrrm aetinthsnakhxngomndriyanaelw silpanamthrrmkhxngekhaxxkmainrupthrngthibrisuththiinthanarupthrrmaelamitwtn samarthdarngxyuidintwkhxngmnexng dwyehtunicungeriykphlngankhxngekhawaepnlththirupthrngaenwihm lththirupthrngaenwihm aekikh khawa lththirupthrngaenwihm neo plasticism ekidkhunodyomndriyanicheriykaebbxyanginphlngankhxngekha sungepnaebbnamthrrmthiichesnerkhakhnitepnhlk geometric abstraction hlksunthriysastrkhxnglththiswnihytiphimphinnitysaredxsitlmaaelw sungidnaexacudednbangprakarcaklththibaskniymma aetidmikarlathingrupthrngthidurueruxngkhxngklumbaskniymip nxkcakniphwkniymrupthrngaenwihmimniymexacuderimtnmacakruprangaelwkhxyldthxnxxkcnehluxephiyngnamthrrmdngechnsilpinbangklumtha swnihycasrangngankhuncakkhwamkhidfnkhxngtnexng twxyangechn omndriyanyudthuxkarxxkaebbxngkhprakxbxyangekhrngkhrdineruxngkarnaesnthitdknidmumchakrahwangesnradbsaytakbesntngihmikhwamsmphnthknphayinkrxbsiehliymkhxngphaphthiwad odykhanungthungdanchxngifihmikhwamngdngam karichsicaichaemsisdisrwmthngsikhaw da aelaethalththirupthrngaenwihmepnphlsubenuxngcakprchya plastic mathematics khxngskhunmaekirs Schoenmaekers nkprchyachawdtch omndriyanidepliynrupaebbmaepnaebb Plastic constructions aelaidxthibaykhwamhmaykhxnglththirupthrngaenwihmwa khwamaeprepliynkhxngthrrmchatisamarthldhruxtdthxnmasukaraesdngxxkthangrupthrngaehngkhwamsmphnthxnaennxnid silpaklayepnsingthimikhwamhmaythangcitwiyyanphayin mikhwamaennxnechnediywkbkhnitsastr aelaepnkaraesdngihehnlksnarakthankhxngcdwang phlngankhxnglththiniidrbxiththiphlmacakbaskniym epnkarcdxngkhprakxbnamthrrmkhxngesntrngthitdknidmumknrahwangaeknesntngkbesnnxn ephuxihekidphunthihruxchxngifxnngdngamaelamikhwamsmdulknhlaydan phrxmdwykarichsisdisbrisuththikhxngaemsikhntn aelasxdslbdwyphunthisikhaw sida aelasiethalnginthibangaehngomndriyanklawwa silpacatxngepn karthaihimepnthrrmchati denaturalized sungekhahmaythungwacatxngepnxisracakkaresnxeruxngrawid thnghmdimekiywkbswnswntwhruxkhxngsingid tamthrrmchatithngsin txngsrangkhuncaksingtang thiepnnamthrrm inhlkechnniekhakhidwa yngmisinghnungsungxachnilththipceckniymkhxngphiessswntwlngid sungcaprasbkhwamsaercinkarekhathungkaraesdngxxkkhxngwiyyansaklkdwykaryudhlkkardngklaw 4 aelakarsrangsrrkhphlngankhxngklumniyngidsngxiththiphlkxihekidklumsilpinxisrakhunxikmakmay aetthiehnidchdecnkkhuxklumxpsthrksiyng ekhrxasiyng Abstraction Creation caklxndxnsuniwyxrk aekikhinpi kh s 1938 sngkhramolkkhrngthi 2 idpathukhun omndriyancungidyaycakparisipsulxndxnephuxhlikeliyngkarrukrancakehlathharnasi thinnekhaidphbkbebn niokhlsn Ben Nicholson naxum kaob Naum Gabo aelabarbara ehpewirth Barbara Hepworth 5 sungidihkhwamchwyehluxaekekhaindankarhathiphkxasy ekhruxngxupophkhbriophkhcnemuxsngkhramerimsngblnginxiksxngpitxma kh s 1940 omndriyanidrbkarechiychwncakaehrri ohlsmn Harry Holtzman ephuxyayipyngniwyxrk shrthxemrika omndriyancungtdsinicedinthangipyngshrthxemrika thinnekhaidekharwmklumkbsilpinnamthrrmxemrikn American Abstract aelayngkhngmikarphimpheruxngrawekiywkbklumlththirupthrngaenwihmxyangtxenuxngxikthng ekhayngidphbkbsphaphbrryakasihm inniwyxrk aesngsicakifnixxn khwamecriyrungeruxng khwamrwderwkhxngchiwitaelaekhruxngckr esiyngdntriaecssungkalngepnthiniymknxyangmakinsmynn aelachiwitxnwunwaykhxngchawemuxngniwyxrk singehlannexngidekhamapraktaelamixiththiphlinngankhxngomndriyanomndriyanyngkhngdaeninkarsrangnganinrupaebbkhxngtnexngeruxyma hakekidaerngbndalicihmcakemuxngthiekhaxasyxyunnkkhuxniwyxrk ekhacungerimsrangphlnganchudchuxwa NewYork aela NewYork City khunma hakaetrupaebbthiomndriyanprathbictxniwyxrkklberimpraktthiphlngan Broadway Boogie Woogie aelaphlnganthiyngwadimesrc Victory Boogie Woogie sungepnkaraesdngthungkhwamprathbiccakomndriyantxaesngsiaelakhwamruneringkhxngniwyxrk ekhayngkhngphunthanedimkhxngngansilpainaebbekhadwyesntrngaenwtngaelaaenwnxn hakaetekhaidephimcnghwakhxngphlnganekhaipdwy odykarthaesnsirayasn txknxyanghlakhlay esmuxnkbcnghwaephlngaelachiwitxnwunwaykhxngchawemuxngniwyxrk sungomndriyanexngyngkhngmikhwamehnwaphlngankhxngekhaimidsinsudlng aetepn khnsudthaykhxngkarkhnharupthrngxnbrisuththi aelainpi kh s 1942 thi Valentine Dudensin Gallery inniwyxrk omndriyanidmioxkaskarcdaesdngphlngankhxngekhakhrngaerkthishrthxemrikakhxngekhakhunmaesiychiwit aekikhomndriyanesiychiwitlng emux 1 kumphaphnth kh s 1944 khnamixayuid 71 pi dwyxakarpxdbwm rangkhxngekhathukfngiwthisusanisephrss hils Cypress Hills Cemetery inniwyxrktwxyangphlngan aekikh Passion flower 1908 Grey Tree 1912 Composition II in Red Yellow and Blue 1937echingxrrth aekikh khxttingtn 2554 hna 55 Busignani 1986 3 phngskrn phrthnphngseksm 2551 49 phngskrn phrthnphngseksm 2551 46 47 Busignani 1986 7brrnanukrm aekikhkhxttingtn edwit aeplody cnyy etriymxnurks silpasmyihm khwamruchbbphkpha Modern art a very short introduction krungethph oxephnewilds 2554 caruphrrn thrphyprung prawtisastrsilptawntk krungethph khnasilpkrrmsastr mhawithyalyrachphtswnsunntha 2548 phngskrn phrthnphngseksm silpasrangsrrkh krnisuksaphlngansrangsrrkhmxngedriynthimirupaebberkhakhnit priyyaniphnthsilpkrrmsastrmhabnthit sakhawichathsnsilp bnthitwithyaly mhawithyalysrinkhrinthrwiorth 2551 Busignani Alberto 1968 Mondrian The Life and Work of the Artist Illustrated by 80 Colour Plates translated from the Italian by Caroline Beamish A Dolphin Art Book London Thames and Hudson Deicher Susanne Piet Mondrian 1872 1944 Structures in Space Koln Benedikt Taschen 1995 Milner John Mondrian New York Abbeville Press 1992 aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb pit omndriyanMondrian Trust the official holder of reproduction rights to Mondrian s works Guggenheim NY Mondrian collection Archived 2006 01 06 thi ewyaebkaemchchin Moma The Collection De Stijlekhathungcak https th wikipedia org w index php title pit omndriyan amp oldid 9573878, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม