fbpx
วิกิพีเดีย

พระเจ้าพรหมมหาราช

พระเจ้าพรหมมหาราช พระองค์พรหมราช หรือ พรหมกุมาร เป็นราชบุตรของ พระองค์พังคราช กษัตริย์เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น ประสูติราว พ.ศ. 1555 ถึง พ.ศ. 1632 ซึ่งเป็นเมืองในที่ลุ่มแม่น้ำกก แต่มีหลักฐานท้องถิ่นระบุว่าพระองค์ประสูติใน พ.ศ. 1655 ที่เวียงสี่ทวง และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 1732 พระองค์มีพระปรีชาสามารถด้านการรบ สามารถตีเอาเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น คืนได้จากพระยาขอม (ขอมดำ จากเมืองอุโมงคเสลานคร) ซึ่งยกทัพมาชิงเมืองโยนกในสมัยพระองค์พังคราช

พระเจ้าพรหมมหราช
พระองค์พรหมราช
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช ที่อุทยานประวัติศาสตร์แม่สาย จังหวัดเชียงราย
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรโยนกนคร
ครองราชย์พ.ศ. 1572 - พ.ศ. 1632 (60 ปี)
ก่อนหน้าพระเจ้าทุกขิตะ
ถัดไปพระเจ้าชัยศิริ
อัครมเหสีพระนางแก้วสุภา
พระราชบุตรพระเจ้าชัยศิริ
ราชวงศ์สิงหนติ
พระราชบิดาพระเจ้าพังคราช
พระราชมารดาพระนางเทวี
พระราชสมภพพ.ศ. 1555
อาณาจักรโยนกนคร
สวรรคตพ.ศ. 1632 (77 พรรษา)
อาณาจักรโยนกนคร
ศาสนาพุทธ

พระราชประวัติ

พระเจ้าพรหมมหาราช (พระองค์พรหมกุมาร) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ของพระองค์พังคราชกับพระนางเทวี กษัตริย์เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น องค์ที่ 45

ตามตำนานสิงหนติกุมาร (ไม่ใช่สิงหนวัติ หรือ สิงหนวติ เพราะไม่ปรากฏในเอกสารใบลานชั้นต้น ซึ่งปรากฏเพียง สิงหนติ) กล่าวว่า ภายหลังจากพระองค์พังคราชเสียเมืองให้พระยาขอมและถูกขับไปเป็นแก่บ้านเวียงสี่ทวง ต้องส่งส่วยให้พระยาขอมเป็นทองคำปีละ 4 ทวงหมากพินน้อย(คือมะตูมลูกเล็ก นำมาผ่าซีก 4 ส่วน นำทองคำหลอมลงไปเพียง 1 ซีก) และมีโอรสองค์แรกชื่อ ทุกขิตะกุมาร ต่อมาได้มีสามเณรชาวเวียงสี่ทวง เดินเข้ามาบิณฑบาตรในคุ้มหลวงของพระยาขอม เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น พระยาขอมเห็นจึงถามว่ามาจากไหน เมื่อได้ทราบว่าเป็นชาวสี่ทวงจึงโกรธและสั่งให้ไล่สามเณรออกไป สามเณรได้ยินจึงรู้สึกโกรธ เลยเดินออกจากเมืองขึ้นไปยังพระธาตุดอยกู่แก้ว แล้วเจาะบาตรใส่หัวถวายข้าวให้พระธาตุ แล้วอธิษฐานขอให้ตัวเองได้เกิดเป็นลูกของพระองค์พังคราชและได้ปราบพวกขอมให้พ่ายแพ้ไป แล้วจึงลงไปที่ตีนดอยกู่แก้วนั่งใต้ต้นไม้อดอาหาร 7 วันจนมรณภาพ แล้วไปเกิดเป็นลูกคนที่ 2 ของพระองค์พังราช ชื่อ พรหมกุมาร

เมื่อพรหมกุมารอายุได้ 13 ปี เทวดาได้มาเข้าฝันว่าพรุ่งนี้ให้ไปที่แม่น้ำโขง จะมีช้างเผือก 3 ตัวล่องตามน้ำมา จับได้ตัวแรกจะปราบได้ทวีปทั้ง 4 จับได้ตัวที่สองจะปราบได้ชมพูทวีป จับได้ตัวที่สามจะปราบพวกขอมดำได้ พรหมกุมารพร้อมกับบริวาร 50 คนจึงไปแม่น้ำโขง เห็นมีงูสองตัวล่องมาตามน้ำแล้วผ่านไป เมื่อเห็นงูตัวที่สาม พรหมกุมารจึงสั่งให้จับงูตัวนั้น งูก็พลันกลับร่างเป็นช้าง แต่ไม่ยอมขึ้นมาบนฝั่ง พระองค์พังคราชจึงเอาทองคำพันหนึ่งตีเป็นพาน (พาน อ่านว่าปาน คือเครื่องดนตรีล้านนาชนิดหนึ่ง คล้ายฆ้องแต่ไม่มีโหม่ง ใช้ตี) แล้วให้ทุกขิตะกุมารนำมาส่งให้พรหมกุมารตี เมื่อช้างได้ยินเสียงพานคำจึงเดินตามเสียงพานคำ ช้างตัวนั้นจึงชื่อ ช้างพานคำ และทำการขุดคูเมือง ปรับปรุงกำแพงและประตูเมือง แล้วเปลี่ยนชื่อเวียงสี่ทวงเป็น เวียงพานคำ (สันนิษฐานว่าเวียงสี่ทวงและเวียงพานคำควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่เรียกว่าเวียงแก้ว บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน และเวียงสี่ทวงกับเวียงพานคำไม่ควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่ อ.แม่สาย เพราะตำนานหลายฉบับกล่าวว่าบริเวณนั้นเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง) และทำการซ่องสุมผู้คน แข็งเมืองต่อพระยาขอม

เมื่อพระยาขอมทราบจึงโกรธและยกทัพมาสู้กันที่ทุ่งสันทราย พรหมกุมารขี่ช้างพานคำต่อสู้และได้รับชัยชนะ ไล่ตามตีกองทัพพระยาขอมแตกและสามารถชิงเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นกลับคืนมาได้ ถวายเมืองคืนพระองค์พังคราช เมื่อเสร็จศึกแล้ว พรหมกุมารได้เดินทางกลับเวียงพานคำ เมื่อลงจากหลังช้างพานคำ ช้างพานคำได้หนีออกจากเมืองและกลับร่างเป็นงูเช่นเดิม เลื้อยหายเขาไปในดอยแห่งหนึ่ง ภายหลังเรียกชื่อดอยนั้นว่า ดอยช้างงู ต่อมาชาวอาข่าเรียกเพี้ยนเป็น “ดอยสะโง้” (ปัจจุบันอยู่ที่ ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย)

พระองค์พังคราชจะตั้งให้พรหมกุมารเป็นอุปราช แต่พรหมกุมารไม่รับ กลับยกให้ผู้พี่ทุกขิตะกุมารเป็นแทน พระองค์พังคราชได้จัดการสู่ขอพระนางแก้วสุภา ลูกพญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองเวียงไชยนารายณ์เมืองมูล ให้กับพระองค์พรหมราช พระองค์พรหมราชได้กลัวว่าจะมีข้าศึกมาอีก จึงไปสร้างเมืองใหม่ คือ เวียงไชยปราการ (สันนิษฐานว่าควรอยู่บริเวณ บ้านร่องห้า (ร่องห้าทุ่งยั้ง) ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย)

ต่อมา พระพุทธโฆษาจารย์ หลังจากเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกาแล้ว จึงกลับมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในมอญ พม่า ตามลำดับจนเข้ามาในโยนกนคร ได้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระนลาฏ (หน้าผาก) 16 องค์ พระองค์พังคราช พระองค์พรหมราช และพญาเรือนแก้ว ได้สร้างโกศเงิน โกศทอง โกศแก้ว บรรจุพระธาตุ ได้แบ่งให้พญาเรือนแก้วนำไปบรรจุในพระธาตุจอมทอง กลางเวียงไชยนารายณ์เมืองมูล ส่วนพระธาตุที่เหลือ พระองค์พังคราช พระองค์พรหมราช และพระพุทธโฆษาจารย์ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้บนดอยน้อย (คือวัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย)

พระองค์พรหมราช ครองราชย์ในเวียงไชยปราการได้ถึง 77 พรรษา ก็สิ้นพระชนม์ไป พระองค์ไชยสิริ พระโอรสได้ขึ้นครองราชย์เวียงไชยปราการต่อมา

ข้อสันนิษฐาน

อย่างไรก็ดี มีนักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่า พระเจ้าพรหมมหาราชไม่น่าจะมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการแต่งขึ้นเพื่อสร้างวีรบุรุษของแคว้นโยนก โดยได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง วีรบุรุษในตำนานที่มีการเผยแพร่อยู่อย่างหลากหลายก่อนหน้านั้นแล้ว ต่อมาเมื่อมีการรับพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ลัทธินับถือผีดั้งเดิม จึงได้หยิบเอาพระพรหม หนึ่งในตรีมูรติของศาสนาฮินดูมาเป็นวีรบุรุษของตนเอง และยกย่องให้เป็นมหาราชเหนือกษัตริย์อื่น ๆ สิ่งใด ๆ ก่อนหน้านี้รวมถึงท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ด้วย

อ้างอิง

  1. . ใบลานตำนานโยนกนครเชียงแสน ฉบับวัดเชียงมั่น เชียงใหม่.[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  2. . ใบลานตำนานสิงหนติโยนก ฉบับวัดลำเปิง เชียงราย.[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  3. อภิชิต ศิริชัย. วิเคราะห์ตำนานจากเอกสารพื้นถิ่น ว่าด้วย โยนกนคร เวียงสี่ตวง เวียงพานคำ เมืองเงินยาง และ ประวัติวัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงราย:ล้อล้านนา, 2560.
  4. พระเจ้าพรหม “มหาราช” ในประวัติศาสตร์ไทย “ไม่มีจริง”พระเจ้าพรหม “มหาราช” ในประวัติศาสตร์ไทย “ไม่มีจริง”

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ในตำนานล้านนา


พระเจ, าพรหมมหาราช, บทความน, ได, บแจ, งให, ปร, บปร, งหลายข, กร, ณาช, วยปร, บปร, งบทความ, หร, ออภ, ปรายป, ญหาท, หน, าอภ, ปราย, บทความน, เข, าข, ายละเม, ดล, ขส, ทธ, แต, งต, องการล, งก, หล, กฐาน, บทความน, องการจ, ดร, ปแบบข, อความ, การจ, ดหน, การแบ, งห, วข, การจ, . bthkhwamniidrbaecngihprbprunghlaykhx krunachwyprbprungbthkhwam hruxxphipraypyhathihnaxphipray bthkhwamniekhakhaylaemidlikhsiththi aetyngtxngkarlingkhlkthan bthkhwamnitxngkarcdrupaebbkhxkhwam karcdhna karaebnghwkhx karcdlingkphayin aelaxun bthkhwamniyngkhadaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxngphraecaphrhmmharach phraxngkhphrhmrach hrux phrhmkumar epnrachbutrkhxng phraxngkhphngkhrach kstriyemuxngoynknkhrichyburirachthanisrichangaesn prasutiraw ph s 1555 thung ph s 1632 sungepnemuxnginthilumaemnakk aetmihlkthanthxngthinrabuwaphraxngkhprasutiin ph s 1655 thiewiyngsithwng aelasinphrachnmin ph s 1732 phraxngkhmiphraprichasamarthdankarrb samarthtiexaemuxngoynknkhrichyburirachthanisrichangaesn khunidcakphrayakhxm khxmda cakemuxngxuomngkheslankhr sungykthphmachingemuxngoynkinsmyphraxngkhphngkhrachphraecaphrhmmhrachphraxngkhphrhmrachphrabrmrachanusawriyphraecaphrhmmharach thixuthyanprawtisastraemsay cnghwdechiyngrayphramhakstriyaehngxanackroynknkhrkhrxngrachyph s 1572 ph s 1632 60 pi kxnhnaphraecathukkhitathdipphraecachysirixkhrmehsiphranangaekwsuphaphrarachbutrphraecachysirirachwngssinghntiphrarachbidaphraecaphngkhrachphrarachmardaphranangethwiphrarachsmphphph s 1555xanackroynknkhrswrrkhtph s 1632 77 phrrsa xanackroynknkhrsasnaphuthth enuxha 1 phrarachprawti 2 khxsnnisthan 3 xangxing 4 aehlngkhxmulxunphrarachprawti aekikhphraecaphrhmmharach phraxngkhphrhmkumar epnphraoxrsxngkhthi 2 khxngphraxngkhphngkhrachkbphranangethwi kstriyemuxngoynknkhrichyburirachthanisrichangaesn xngkhthi 45tamtanansinghntikumar imichsinghnwti hrux singhnwti ephraaimpraktinexksariblanchntn sungpraktephiyng singhnti klawwa phayhlngcakphraxngkhphngkhrachesiyemuxngihphrayakhxmaelathukkhbipepnaekbanewiyngsithwng txngsngswyihphrayakhxmepnthxngkhapila 4 thwnghmakphinnxy khuxmatumlukelk namaphasik 4 swn nathxngkhahlxmlngipephiyng 1 sik aelamioxrsxngkhaerkchux thukkhitakumar txmaidmisamenrchawewiyngsithwng edinekhamabinthbatrinkhumhlwngkhxngphrayakhxm emuxngoynknkhrichyburirachthanisrichangaesn phrayakhxmehncungthamwamacakihn emuxidthrabwaepnchawsithwngcungokrthaelasngihilsamenrxxkip samenridyincungrusukokrth elyedinxxkcakemuxngkhunipyngphrathatudxykuaekw aelwecaabatrishwthwaykhawihphrathatu aelwxthisthankhxihtwexngidekidepnlukkhxngphraxngkhphngkhrachaelaidprabphwkkhxmihphayaephip aelwcunglngipthitindxykuaekwnngittnimxdxahar 7 wncnmrnphaph aelwipekidepnlukkhnthi 2 khxngphraxngkhphngrach chux phrhmkumaremuxphrhmkumarxayuid 13 pi ethwdaidmaekhafnwaphrungniihipthiaemnaokhng camichangephuxk 3 twlxngtamnama cbidtwaerkcaprabidthwipthng 4 cbidtwthisxngcaprabidchmphuthwip cbidtwthisamcaprabphwkkhxmdaid phrhmkumarphrxmkbbriwar 50 khncungipaemnaokhng ehnmingusxngtwlxngmatamnaaelwphanip emuxehnngutwthisam phrhmkumarcungsngihcbngutwnn ngukphlnklbrangepnchang aetimyxmkhunmabnfng phraxngkhphngkhrachcungexathxngkhaphnhnungtiepnphan phan xanwapan khuxekhruxngdntrilannachnidhnung khlaykhxngaetimmiohmng ichti aelwihthukkhitakumarnamasngihphrhmkumarti emuxchangidyinesiyngphankhacungedintamesiyngphankha changtwnncungchux changphankha aelathakarkhudkhuemuxng prbprungkaaephngaelapratuemuxng aelwepliynchuxewiyngsithwngepn ewiyngphankha snnisthanwaewiyngsithwngaelaewiyngphankhakhwrxyubriewnemuxngobranthieriykwaewiyngaekw briewnsamehliymthxngkha x echiyngaesn aelaewiyngsithwngkbewiyngphankhaimkhwrxyubriewnemuxngobranthi x aemsay ephraatananhlaychbbklawwabriewnnnepnemuxnghirynkhrenginyang aelathakarsxngsumphukhn aekhngemuxngtxphrayakhxmemuxphrayakhxmthrabcungokrthaelaykthphmasuknthithungsnthray phrhmkumarkhichangphankhatxsuaelaidrbchychna iltamtikxngthphphrayakhxmaetkaelasamarthchingemuxngoynknkhrichyburirachthanisrichangaesnklbkhunmaid thwayemuxngkhunphraxngkhphngkhrach emuxesrcsukaelw phrhmkumaridedinthangklbewiyngphankha emuxlngcakhlngchangphankha changphankhaidhnixxkcakemuxngaelaklbrangepnnguechnedim eluxyhayekhaipindxyaehnghnung phayhlngeriykchuxdxynnwa dxychangngu txmachawxakhaeriykephiynepn dxysaong pccubnxyuthi tablsridxnmul xaephxechiyngaesn cnghwdechiyngray phraxngkhphngkhrachcatngihphrhmkumarepnxuprach aetphrhmkumarimrb klbykihphuphithukkhitakumarepnaethn phraxngkhphngkhrachidcdkarsukhxphranangaekwsupha lukphyaeruxnaekw ecaemuxngewiyngichynaraynemuxngmul ihkbphraxngkhphrhmrach phraxngkhphrhmrachidklwwacamikhasukmaxik cungipsrangemuxngihm khux ewiyngichyprakar snnisthanwakhwrxyubriewn banrxngha rxnghathungyng t phangam x ewiyngchy c echiyngray txma phraphuththokhsacary hlngcakedinthangipsuksaphraphuththsasnacakpraethslngkaaelw cungklbmaephyaephrphraphuththsasnainmxy phma tamladbcnekhamainoynknkhr idnaphrabrmsaririkthatuswnphranlat hnaphak 16 xngkh phraxngkhphngkhrach phraxngkhphrhmrach aelaphyaeruxnaekw idsrangoksengin oksthxng oksaekw brrcuphrathatu idaebngihphyaeruxnaekwnaipbrrcuinphrathatucxmthxng klangewiyngichynaraynemuxngmul swnphrathatuthiehlux phraxngkhphngkhrach phraxngkhphrhmrach aelaphraphuththokhsacaryidsrangecdiybrrcuphrathatuiwbndxynxy khuxwdphrathatucxmkitti tablewiyng xaephxechiyngaesn cnghwdechiyngray phraxngkhphrhmrach khrxngrachyinewiyngichyprakaridthung 77 phrrsa ksinphrachnmip phraxngkhichysiri phraoxrsidkhunkhrxngrachyewiyngichyprakartxma 1 2 3 khxsnnisthan aekikhxyangirkdi minkwichakarbangklumehnwa phraecaphrhmmharachimnacamitwtncringinprawtisastr aetepnkaraetngkhunephuxsrangwirburuskhxngaekhwnoynk odyidrbxiththiphlmacakeruxngthawhung thawecuxng wirburusintananthimikarephyaephrxyuxyanghlakhlaykxnhnannaelw txmaemuxmikarrbphuththsasnaekhamaaethnthilththinbthuxphidngedim cungidhyibexaphraphrhm hnungintrimurtikhxngsasnahindumaepnwirburuskhxngtnexng aelaykyxngihepnmharachehnuxkstriyxun singid kxnhnanirwmthungthawhung thawecuxng dwy 4 xangxing aekikh iblantananoynknkhrechiyngaesn chbbwdechiyngmn echiyngihm rabukhxmulthangbrrnanukrmimkhrb iblantanansinghntioynk chbbwdlaeping echiyngray rabukhxmulthangbrrnanukrmimkhrb xphichit sirichy wiekhraahtanancakexksarphunthin wadwy oynknkhr ewiyngsitwng ewiyngphankha emuxngenginyang aela prawtiwdphrathatucxmkitti tablewiyng xaephxechiyngaesn cnghwdechiyngray phimphkhrngthi 1 echiyngray lxlanna 2560 phraecaphrhm mharach inprawtisastrithy immicring phraecaphrhm mharach inprawtisastrithy immicring aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb phraecaphrhmmharachprawtiphraecaphrhmmharach intananlanna bthkhwamekiywkbprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy prawtisastrekhathungcak https th wikipedia org w index php title phraecaphrhmmharach amp oldid 9344601, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม