fbpx
วิกิพีเดีย

พระเจ้าอินโจ

พระเจ้าอินโจ (인조 仁祖 ค.ศ. 1595 - ค.ศ. 1649) เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 16 (ค.ศ. 1623 - ค.ศ. 1649) แห่งราชวงศ์โชซ็อน ได้รับราชบัลลังก์มาจากการยึดอำนาจของฝ่ายตะวันตก หรือ ซออิน (เกาหลี: 서인 西人) จากเจ้าชายควังแฮในค.ศ. 1623 ในรัชสมัยของพระเจ้าอินโจขุนนางฝ่ายตะวันตกขึ้นมามีอำนาจ และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีความเปลี่ยนแปลงของจีนจากราชวงศ์หมิงสู่ราชวงศ์ชิง พระเจ้าอินโจและขุนนางฝ่ายตะวันตกดำเนินนโยบายสนับสนุนราชวงศ์หมิงและต่อต้านราชวงศ์ชิง จนเป็นเหตุให้เกิดการรุกรานเกาหลีของแมนจูสองครั้งได้แก่ ค.ศ. 1627 และ ค.ศ. 1636-37 ซึ่งผลออกมาอาณาจักรโจซอนพ่ายแพ้ต่อพวกแมนจูและตกเป็นรัฐบรรณาการของราชวงศ์ชิง

พระเจ้าอินโจ
พระบรมนามาภิไธยลี จง (이종,李倧)
พระปรมาภิไธยพระเจ้าอินโจ
พระราชอิสริยยศกษัตริย์แห่งโชซ็อน
ราชสกุลลี
ราชวงศ์โชซ็อน
ครองราชย์ค.ศ. 1623 - ค.ศ. 1649
รัชกาลก่อนเจ้าชายควังแฮ
รัชกาลถัดไปพระเจ้าฮโยจง
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ7 ธันวาคม ค.ศ. 1595(1595-12-07)
อาณาจักรโชซ็อน ฮวางแฮ แฮจู
สวรรคต8 พฤษภาคม ค.ศ. 1649 (53 พรรษา)
ฮันซ็อง อาณาจักรโชซ็อน
พระราชบิดาเจ้าชายช็องว็อน
พระราชมารดาพระนางอินฮ็อน
พระมเหสีพระนางอินรยอล
พระนางจังรย็อล
พระราชบุตรเจ้าชายรัชทายาทโซฮย็อน, พระเจ้าฮโยจง, 인평대군, 용성대군
숭선군, 낙선군, 효명옹주
พระเจ้าอินโจ
ฮันกึล인조
ฮันจา仁祖
RRInjo
MRInjo
ชื่อเกิด
ฮันกึล이종
ฮันจา李倧
RRI Jong
MRYi Chong
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อน
พระเจ้าแทโจ
พระเจ้าจองจง
พระเจ้าแทจง
พระเจ้าเซจงมหาราช
พระเจ้ามุนจง
พระเจ้าทันจง
พระเจ้าเซโจ
พระเจ้าเยจง
พระเจ้าซองจง
องค์ชายยอนซัน
พระเจ้าจุงจง
พระเจ้าอินจง
พระเจ้ามยองจง
พระเจ้าซอนโจ
องค์ชายควังแฮ
พระเจ้าอินโจ
พระเจ้าฮโยจง
พระเจ้าฮยอนจง
พระเจ้าซุกจง
พระเจ้าคยองจง
พระเจ้ายองโจ
พระเจ้าจองโจ
พระเจ้าซุนโจ
พระเจ้าฮอนจง
พระเจ้าชอลจง
จักรพรรดิโคจง
จักรพรรดิซุนจง

รัฐประหารพระเจ้าอินโจ

พระเจ้าอินโจ เดิมพระนามว่า เจ้าชายนึงยาง (เกาหลี: 능양군 綾陽君) เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของเจ้าชายจองวอน (เกาหลี: 정원군 定遠君) ซึ่งเจ้าชายจองวอนนั้นเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซอนโจกับพระสนมอินบิน ตระกูลคิม เนื่องจากพระสนมอินบินเป็นพระสนมองค์โปรดของพระเจ้าซอนโจ พระเจ้าซอนโจจึงมีพระประสงค์จะให้พระโอรสของสนมอินบินได้ขึ้นเป็นกษัตริย์โชซ็อนต่อจากพระองค์ แต่ทว่าในขณะนั้นมีรัชทายาทอยู่แล้วคือเจ้าชายควังแฮ ดังนั้นในรัชสมัยของเจ้าชายควังแฮ เจ้าชายจองวอนและพระโอรสจึงเป็นที่เพ่งเล็งอยู่เสมอ ใน ค.ศ. 1615 พระอนุชาของเจ้าชายนึงยางคือ เจ้าชายนึงชัง (เกาหลี: 능창군 綾昌君) ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อพระเจ้าควังแฮและถูกสำเร็จโทษด้วยยาพิษ

ในรัชสมัยของพระเจ้าควังแฮขุนนางกลุ่มเหนือใหญ่ หรือ แทบุก (เกาหลี: 대북 大北) เรืองอำนาจ ผลักดันให้มีการสำเร็จโทษเจ้าชายยองชัง (เกาหลี: 영창대군 永昌大君) รวมทั้งปลดและกักขังพระพันปีอินมก (เกาหลี: 인목대비 仁穆大妃) ในค.ศ. 1623 กลุ่มขุนนางฝ่ายตะวันตกได้แก่ ลีควี (เกาหลี: 이귀 李貴) คิมยู (เกาหลี: 김유 金瑬) คิมจาจอม (เกาหลี: 김자점 金自點) ฯลฯ กระทำการรัฐประหารล้มอำนาจของพระเจ้าควังแฮและขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่ ในข้อหาที่ว่าพระเจ้าควังแฮทรงเข่นฆ่าพี่น้องและทารุณกรรมพระมารดาเลี้ยง จึงทำการ "ยึดอำนาจเพื่อความถูกต้อง" เรียกว่า รัฐประหารพระเจ้าอินโจ หรือ อินโจ-บันจอง (เกาหลี: 인조반정 仁祖反正) เจ้าชายควังแฮทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะคังฮวา และคณะรัฐประหารฝ่ายตะวันตกได้อัญเชิญเจ้าชายนึงยางขึ้นครองราชย์แทนที่ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วพระเจ้าอินโจทรงตั้งพระบิดาคือเจ้าชายจองวอนให้มีสถานะเสมอเหมือนกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าวอนจง (เกาหลี: 원종 元宗)

กบฏของลีควาล

หลังจากพระเจ้าอินโจเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียงสิบเดือน ก็เกิดเหตุการณกบฏขึ้นเมื่อ ลีควาล (เกาหลี: 이괄 李适) เป็นขุนพลซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการรัฐประหารเมื่อค.ศ. 1623 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังชายแดนทางตอนเหนือ ไว้สำหรับป้องกันการรุกรานของราชวงศ์โฮ่วจิน (ราชวงศ์ชิง) แต่ลีควาลกลับมองว่าตำแหน่งทหารชายแดนนั้นเป็นตำแหน่งที่ต้อยต่ำ ไม่เหมาะสมแก่คุณความดีความชอบของตนเองที่ได้เคยกระทำไว้ จึงเกิดความไม่พอใจและใช้กองกำลังชายแดนเหนืออันมากมายมหาศาลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของตนเอง บุกไปยังเมืองฮันซองในค.ศ. 1624 พระเจ้าอินโจพร้อมทั้งพระราชวงศ์เสด็จหลบหนีออกมาฝ่าวงล้อมของกบฏไปประทับที่เมืองคงจูทางตอนใต้ของนครฮันซอง ลีควาลสามารถตีนครฮันซองได้และตั้งเจ้าชายฮึงอันพระปิตุลาของพระเจ้าอินโจเป็นกษัตริย์ชั่วคราว ฝ่ายพระเจ้าอินโจนายพล จางมัน (เกาหลี: 장만 張晩) ได้รวบรวมทัพเข้าบุกยึดเมืองหลวงคืนจากลีควาลได้สำเร็จ นายพลลีควาลได้ถูกทหารผู้ทรยศของตนเองสังหาร

การรุกรานของแมนจู

ดูบทความหลักที่: การรุกรานเกาหลีของแมนจู

ในรัชสมัยของพระเจ้าอินโจ ชนเผ่าแมนจูในแมนจูเรียภายใต้การนำของหฺวัง ไถจี๋ (Hong Taiji) กำลังสะสมขยายอำนาจคุกคามจักรวรรดิจีนราชวงศ์หมิง แม้ว่าอาณาจักรโจซอนจะมีฐานะเป็นประเทศราชของจักรวรรดิจีนจึงต้องให้การสนับสนุนฝ่ายราชวงศ์หมิงในการทำสงครามกับชาวแมนจู แต่ในรัชสมัยของเจ้าชายควังแฮได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางมาโดยตลอด และอาณาจักรโจซอนไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะขัดขวางการขยายอำนาจของฮงไทจิ แต่ในรัชสมัยของพระเจ้าอินโจขุนนางฝ่ายตะวันตกครอบครองราชสำนัก มีความเห็นว่าราชวงศ์หมิงเคยมีบุญคุณต่อโจซอนในช่วงการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) จึงสมควรที่จะทดแทนบุญคุณโดยให้การสนับสนุนราชวงศ์หมิงอย่างเต็มที่ โดยฝ่ายโจซอนได้ให้การสนับสนุนนายพล เหมาเหวินหลง (จีน: 毛文龍 Mao Wenlong) ขุนพลของจีนประจำ คาบสมุทรเหลียวตง

ขุนนางเกาหลีคนหนึ่งชื่อว่า ฮันยุน (เกาหลี: 한윤) มีส่วนร่วมในการกบฏของลีควาลในค.ศ. 1624 หลบหนีไปยังเมืองเสิ่นหยาง (Shenyang) อันเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จินในขณะนั้น และได้พบกับนายพลคังฮงนิป (เกาหลี: 강홍립 姜弘立) นายพลชาวเกาหลีผู้ที่ตกเป็นเชลยของพวกแมนจู ฮันยุนได้กล่าวแก่นายพลคังว่า ครอบครัวของนายพลคังในโจซอนได้ถูกประหารชีวิตไปจนหมดสิ้นด้วยเหตุที่นายพลคังมาเข้าพวกกับแมนจู ด้วยความโกรธแค้นนายพลคังฮงนิปจึงเสนอต่อฮงไทจิให้ยกทัพเข้ารุกรานโจซอน เพื่อล้มล้างขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปและคืนราชบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายควังแฮ (ยังมีพระชนม์ชีพอยู่บนเกาะคังฮวา) ฮงไทจิจึงส่งเจ้าชายอามิน (Amin) ผู้เป็นลุง ยกทัพแมนจูเข้ารุกรานอาณาจักรโจซอนในปีค.ศ. 1627 โดยมีนายพลคังฮงนิปเป็นผู้นำทาง เรียกว่า การรุกรานเกาหลีของแมนจูครั้งที่หนึ่ง (First Manchu Invasion of Korea) หรือ การรุกรานปีจองมโย (เกาหลี: 정묘호란 丁卯胡亂)

อันดับแรกทัพแมนจูได้เข้าบุกยึดทำลายฐานที่มั่นของเหมาเหวินหลง ริมแม่น้ำยาลูชายแดนทางเหนือ เป็นการเปิดเส้นทางให้กองทัพของเจ้าชายอามินและคังฮงนิปยกทัพเข้ามาในโจซอนได้ ฝ่ายโจซอนส่งแม่ทัพจางมันไปต้านทานการรุกรานที่ชายแดนทางเหนือแต่ไม่สำเร็จ เมื่อคังฮงนิปนำทัพของเจ้าชายอามินรุกคืบลงมาทางใต้เรื่อยๆ ฝ่ายราชสำนักโจซอนวิตกว่าจะเสียเมืองฮันซอง (โซล) ให้แก่พวกแมนจู พระเจ้าอินโจพร้อมทั้งพระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงเสด็จลี้ภัยมาอยู่ที่เกาะคังฮวา ฝ่ายแมนจูเห็นว่าฝ่ายโจซอนมีความเกรงกลัวทัพแมนจูถึงเพียงนี้จึงเปิดโต๊ะเจรจา ทัพแมนจูจะยอมถอยกลับไปถ้าหากโจซอนเลิกส่งบรรณาการให้แก่ราชวงศ์หมิง เลิกการใช้ศักราชนามปีตามพระนามของฮ่องเต้ต้าหมิง และให้สัตย์สาบานว่าจะไม่รุกล้ำอาณาเขตซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์กันเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ฝ่ายโจซอนจึงยอมรับข้อตกลง

ในค.ศ. 1635 ฮงไทจีเปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากราชวงศ์โฮ่วจินหรือราชวงศ์จินหลังเป็นราชวงศ์ชิง (Qing dynasty) และต้องการที่จะเปลี่ยนความสัมพันธ์กับอาณาจักรโจซอนจากบ้านพี่เมืองน้องเป็นประเทศแม่-ประเทศราช ได้ทำการเรียกร้องบรรณาการจิ้มก้องจากอาณาจักรโจซอนและส่งราชทูตมายังเมืองฮันซอง ทางฝ่ายเกาหลีได้ทำการต้อนรับทูตแมนจูอย่างเย็นชาและแอบซุ่มซ่อนกองกำลังทหารไว้ ฮงไทจีจึงแน่ใจว่าว่าโจซอนจะไม่มีวันยอมรับราชวงศ์ชิงได้โดยไม่ใช้กำลัง การรุกรานครั้งที่สองจึงเกิดขึ้นในค.ศ. 1636 เรียกว่า การรุกรานเกาหลีของแมนจูครั้งที่สอง (Second Manchu Invasion of Korea) หรือ การรุกรานปีพยองจา (เกาหลี: 병자호란 丙子胡亂) โดยฮงไทจีเป็นผู้นำทัพแมนจูเข้ารุกรานโจซอนด้วยตนเอง

ฝ่ายโจซอนเตรียมการรับมือไว้แล้วโดยการให้นายพล อิมกยองออป (เกาหลี: 임경업 林慶業) ผู้มีความสามารถคอยตั้งรับอยู่ทางเหนือ แต่ทว่าฮงไทจีกลับหลีกเลี่ยงการปะทะกับทัพของนายพลอิมและรีบยกทัพมายังกรุงฮันซองอย่างรวดเร็ว บรรดาพระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงหลบหนีไปยังเกาะคังฮวาอีกครั้ง แต่ทว่าด้วยการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพของคิมจาจอม ทำให้พระเจ้าอินโจและรัชทายาทเสด็จหลบหนีไม่ทันถูกทัพของฮงไทจีติดตามถึง จึงถูกทัพแมนจูทำการปิดล้อมอยู่ที่ป้อมนัมฮันซาน (เกาหลี: 남한산 南漢山) ทางตอนใต้ของเมืองฮันซองพร้อมกับขุนนางคนสำคัญต่างๆ หลังจากถูกปิดล้อมอยู่เป็นเวลาหลายเดือนเสบียงเริ่มหมดลงทำให้บรรดาขุนนางมิอาจทนได้ ด้วยคำแนะนำของขุนนางฝ่ายตะวันตกผู้อาวุโสพระเจ้าอินโจทรงยอมจำนนต่อฮงไทจีในที่สุดในค.ศ. 1637

การเจรจาสงบศึกมีข้อตกลงให้อาณาจักรโจซอนเป็นประเทศราชของราชวงศ์ชิง ต้องส่งบรรณาการจิ้มก้องให้แก่ราชวงศ์ชิง โดยฮ่องเต้ฮงไทจีมีพระราชโองการให้สร้างอนุสรณ์สถานรำลึกชัยชนะของแมนจูเหนือโจซอน เรียกว่า อนุสรณ์ซัมจอนโด (เกาหลี: 삼전도비 三田渡碑) แล้วทรงนัดพบกับพระเจ้าอินโจที่อนุสรณ์สถานนั้น ทรงให้พระเจ้าอินโจคำนับพระองค์ห้าครั้งและเอาพระเศียรโขกลงกับพื้นอีกสามครั้ง เพื่อเป็นการแสดงการสวามิภักดิ์โดยสิ้นเชิงต่อแมนจู นอกจากนี้พระเจ้าอินโจยังต้องทรงส่งพระโอรสสองพระองค์ ได้แก่ เจ้าชายรัชทายาทโซฮย็อน (เกาหลี: 소현세자 昭顯世子) และเจ้าชายพงนิม (เกาหลี: 봉림대군 鳳林大君 ต่อมาคือพระเจ้าฮโยจง) ไปเป็นองค์ประกันที่เมืองเสิ่นหยาง เป็นความอัปยศครั้งยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอินโจและในประวัติศาสตร์เกาหลี และเป็นเหตุให้เกาหลีต้องตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ชิงไปอีกเป็นเวลาสองร้อยห้าสิบปี

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

รัชทายาทโซฮยอนขณะประทับเป็นองค์ประกันอยู่ที่เมืองเสิ่นหยาง ได้ทรงสานสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักแมนจูทำให้ทรงได้รับการสนับสนุน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าอินโจกังวลพระทัยเพราะทรงเกรงว่าฝ่ายแมนจูจะยกทัพมากระทำการรัฐประหารปลดพระองค์ลงจากบัลลังก์แล้วให้รัชทายาทโซฮยอนขึ้นเป็นกษัตริย์โชซ็อนแทน ใน ค.ศ. 1644 ทัพราชวงศ์ชิงภายใต้การนำของเจ้าชายดอร์กอน (ตัวเอ่อกุน) เข้ายึดกรุงปักกิ่งและเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ในระหว่างที่ประทับอยู่เมืองปักกิ่งนั้น เจ้าชายโซฮยอนได้พบกับนายโยฮันน์ อดัม แชล ฟอน เบลล์ (Johann Adam Schall von Bell) มิชชันนารีชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งขณะนั้น นายแชลฟอนเบลล์ได้แนะนำให้เจ้าชายทรงรู้จักกับวิทยาการตะวันตกและคริสต์ศาสนา ในปีเดียวกันเจ้าชายดอร์กอนทรงอนุญาตให้เจ้าชายโซฮยอนเสด็จนิวัติโจซอนเป็นการถาวร

ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าอินโจและเจ้าชายโซฮยอนนั้นไม่สู้จะดีนักอยู่เดิม และเมื่อเจ้าชายโซฮยอนทรงตรัสถึงโลกตะวันตกและคริสต์ศาสนาทำให้พระเจ้าอินโจทรงเห็นว่าพระโอรสนั้นเสียสติไปเสียแล้ว อีกทั้งยังมีเสนาบดีซ้ายคิมจาจอมและพระสนมควีอิน ตระกูลโจ (เกาหลี: 귀인조씨 貴人趙氏) พระสนมองค์โปรดคอยยุยงให้พระเจ้าอินโจทรงเกลียดชังพระโอรส จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เพียงสามเดือนให้หลังเจ้าชายรัชทายาทโซฮยอนก็สิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันและเป็นปริศนา สร้างความพิศวงให้แก่ราชสำนักในสมัยนั้นหรือแม้กระทั่งนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน มีการบันทึกไว้ในชิลลกหรือพงศาวดารราชวงศ์โจซอนว่าพระศพเจ้าชายโซฮยอนนั้นเน่าเปื่อยสลายลงอย่างรวดเร็วอย่างผิดธรรมชาติ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเจ้าชายอาจทรงถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์ ชาวเกาหลีในสมัยต่อมาและนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมีความเห็นพ้องต้องกันว่ารัชทายาทโซฮยอนสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำพระหัตถ์ของพระเจ้าอินโจผู้เป็นพระบิดา

ตามหลักของลัทธิขงจื้อเมื่อรัชทายาทโซฮยอนสวรรคต ตำแหน่งรัชทายาทจะต้องเป็นของพระโอรสองค์โตสุดของรัชทายาทโซฮยอนนั่นคือเจ้าชายลีซอกชอล แต่ทว่าพระเจ้าอินโจประสงค์จะให้พระอนุชาของเจ้าชายโซฮยอนคือเจ้าชายพงนิม ซึ่งเสด็จนิวัติโจซอนตามหลังพระเชษฐามาเป็นรัชทายาทองค์ต่อมา เนื่องจากทรงพอพระทัยนโยบายที่จะยกทัพรุกรานราชวงศ์ชิงเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่โจซอนของเจ้าชายพงนิม พระเจ้าอินโจจึงทรงกล่าวหาพระชายาตระกูลคัง (เกาหลี: 민회빈강씨 愍懷嬪姜氏) พระชายาของเจ้าชายโซฮยอนว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์พระสวามี ให้สำเร็จโทษโดยการประทานยาพิษ และเนรเทศพระโอรสทั้งหมดของเจ้าชายโซฮยอนไปยังเกาะเชจู และแต่งตั้งเจ้าชายพงนิมเป็นรัชทายาทใน ค.ศ. 1645

พระเจ้าอินโจสวรรคตในปี ค.ศ. 1649 เจ้าชายพงนิมรัชทายาทขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าฮโยจง

พระนามเต็ม

พระเจ้าอินโจ แทโจ แกชอน โจอุน จองกิ ซอนด็อก ฮอนมุน ยอลมู มยองซุก ซุนฮโย แห่งเกาหลี

พระบรมวงศานุวงศ์

  • พระสนม
    • พระสนมควีอิน ตระกูลโจ (폐귀인 조씨) ภายหลังถูกถอดออกจากตำแหน่งพระสนม
      • เจ้าชายซุงซอน ลีจิง (숭선군 ,崇善君 ,1639 - 1690)
      • เจ้าชายนักซอน ลีซุก (낙선군 ,樂善君 ,1641 - 1695)
      • เจ้าหญิงฮโยมยอง (효명옹주 ,孝明翁主 ,1637 - 1700)
    • พระสนมควีอิน ตระกูลจาง (귀인 장씨)
    • พระสนมซุกอึย ตระกูลนา (숙의 나씨)
    • พระสนมซุกอึย ตระกูลปาร์ค (숙의 박씨)
    • พระสนมซุกวอน ตระกูลจาง (숙원 장씨)
    • ซังกุง ตระกูลลี (상궁 이씨)
ก่อนหน้า พระเจ้าอินโจ ถัดไป
เจ้าชายควังแฮ   กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(พ.ศ. 2166 - พ.ศ. 2192)
  พระเจ้าฮโยจง


  1. Jae-eun Kang. The Land of Scholars: Two Thousand Years of Korean Confucianism.
  2. James B. Palais. Confucian Statecraft and Korean Institutions: Yu Hyŏngwŏn and the Late Choson dynasty.
  3. JaHyun Kim Haboush, Martina Deuchler. Culture and the State in Late Choson Korea.

พระเจ, าอ, นโจ, บทความน, ไม, การอ, างอ, งจากแหล, งท, มาใดกร, ณาช, วยปร, บปร, งบทความน, โดยเพ, มการอ, างอ, งแหล, งท, มาท, าเช, อถ, เน, อความท, ไม, แหล, งท, มาอาจถ, กค, ดค, านหร, อลบออก, เร, ยนร, าจะนำสารแม, แบบน, ออกได, อย, างไรและเม, อไร, 인조, 仁祖, 1595, 1649, เ. bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir phraecaxinoc 인조 仁祖 kh s 1595 kh s 1649 epnkstriyrchkalthi 16 kh s 1623 kh s 1649 aehngrachwngsochsxn idrbrachbllngkmacakkaryudxanackhxngfaytawntk hrux sxxin ekahli 서인 西人 cakecachaykhwngaehinkh s 1623 inrchsmykhxngphraecaxinockhunnangfaytawntkkhunmamixanac aelaepnchwngewlaediywkbthimikhwamepliynaeplngkhxngcincakrachwngshmingsurachwngsching phraecaxinocaelakhunnangfaytawntkdaeninnoybaysnbsnunrachwngshmingaelatxtanrachwngsching cnepnehtuihekidkarrukranekahlikhxngaemncusxngkhrngidaek kh s 1627 aela kh s 1636 37 sungphlxxkmaxanackrocsxnphayaephtxphwkaemncuaelatkepnrthbrrnakarkhxngrachwngschingphraecaxinocphrabrmnamaphiithyli cng 이종 李倧 phraprmaphiithyphraecaxinocphrarachxisriyyskstriyaehngochsxnrachskullirachwngsochsxnkhrxngrachykh s 1623 kh s 1649rchkalkxnecachaykhwngaehrchkalthdipphraecahoycngkhxmulswnphraxngkhphrarachsmphph7 thnwakhm kh s 1595 1595 12 07 xanackrochsxn hwangaeh aehcuswrrkht8 phvsphakhm kh s 1649 53 phrrsa hnsxng xanackrochsxnphrarachbidaecachaychxngwxnphrarachmardaphranangxinhxnphramehsiphranangxinryxlphranangcngryxlphrarachbutrecachayrchthayathoshyxn phraecahoycng 인평대군 용성대군 숭선군 낙선군 효명옹주phraecaxinochnkul인조hnca仁祖RRInjoMRInjochuxekidhnkul이종hnca李倧RRI JongMRYi Chongphramhakstriyaehngrachwngsochsxnphraecaaethocphraecacxngcngphraecaaethcngphraecaescngmharachphraecamuncngphraecathncngphraecaesocphraecaeycngphraecasxngcngxngkhchayyxnsnphraecacungcngphraecaxincngphraecamyxngcngphraecasxnocxngkhchaykhwngaehphraecaxinocphraecahoycngphraecahyxncngphraecasukcngphraecakhyxngcngphraecayxngocphraecacxngocphraecasunocphraecahxncngphraecachxlcngckrphrrdiokhcngckrphrrdisuncngdkhk enuxha 1 rthpraharphraecaxinoc 2 kbtkhxnglikhwal 3 karrukrankhxngaemncu 4 bnplayphrachnmchiph 5 phranametm 6 phrabrmwngsanuwngsrthpraharphraecaxinoc aekikhphraecaxinoc edimphranamwa ecachaynungyang ekahli 능양군 綾陽君 epnphraoxrsxngkhihykhxngecachaycxngwxn ekahli 정원군 定遠君 sungecachaycxngwxnnnepnphrarachoxrskhxngphraecasxnockbphrasnmxinbin trakulkhim enuxngcakphrasnmxinbinepnphrasnmxngkhoprdkhxngphraecasxnoc phraecasxnoccungmiphraprasngkhcaihphraoxrskhxngsnmxinbinidkhunepnkstriyochsxntxcakphraxngkh aetthwainkhnannmirchthayathxyuaelwkhuxecachaykhwngaeh dngnninrchsmykhxngecachaykhwngaeh ecachaycxngwxnaelaphraoxrscungepnthiephngelngxyuesmx in kh s 1615 phraxnuchakhxngecachaynungyangkhux ecachaynungchng ekahli 능창군 綾昌君 thukklawhawaepnkbttxphraecakhwngaehaelathuksaercothsdwyyaphisinrchsmykhxngphraecakhwngaehkhunnangklumehnuxihy hrux aethbuk ekahli 대북 大北 eruxngxanac phlkdnihmikarsaercothsecachayyxngchng ekahli 영창대군 永昌大君 rwmthngpldaelakkkhngphraphnpixinmk ekahli 인목대비 仁穆大妃 inkh s 1623 klumkhunnangfaytawntkidaek likhwi ekahli 이귀 李貴 khimyu ekahli 김유 金瑬 khimcacxm ekahli 김자점 金自點 l krathakarrthpraharlmxanackhxngphraecakhwngaehaelakhunnangfayehnuxihy inkhxhathiwaphraecakhwngaehthrngekhnkhaphinxngaelatharunkrrmphramardaeliyng cungthakar yudxanacephuxkhwamthuktxng 1 eriykwa rthpraharphraecaxinoc hrux xinoc bncxng ekahli 인조반정 仁祖反正 ecachaykhwngaehthrngthukenrethsipyngekaakhnghwa aelakhnarthpraharfaytawntkidxyechiyecachaynungyangkhunkhrxngrachyaethnthi emuxkhunkhrxngrachyaelwphraecaxinocthrngtngphrabidakhuxecachaycxngwxnihmisthanaesmxehmuxnkstriy phranamwa phraecawxncng ekahli 원종 元宗 kbtkhxnglikhwal aekikhhlngcakphraecaxinocesdckhunkhrxngrachyidephiyngsibeduxn kekidehtukarnkbtkhunemux likhwal ekahli 이괄 李适 epnkhunphlsungmibthbathxyangmakinkarrthpraharemuxkh s 1623 idrbkaraetngtngihepnphubychakarkxngkalngchayaednthangtxnehnux iwsahrbpxngknkarrukrankhxngrachwngsohwcin rachwngsching aetlikhwalklbmxngwataaehnngthharchayaednnnepntaaehnngthitxyta imehmaasmaekkhunkhwamdikhwamchxbkhxngtnexngthiidekhykrathaiw cungekidkhwamimphxicaelaichkxngkalngchayaednehnuxxnmakmaymhasalthixyuitbngkhbbychakhxngtnexng bukipyngemuxnghnsxnginkh s 1624 phraecaxinocphrxmthngphrarachwngsesdchlbhnixxkmafawnglxmkhxngkbtipprathbthiemuxngkhngcuthangtxnitkhxngnkhrhnsxng likhwalsamarthtinkhrhnsxngidaelatngecachayhungxnphrapitulakhxngphraecaxinocepnkstriychwkhraw fayphraecaxinocnayphl cangmn ekahli 장만 張晩 idrwbrwmthphekhabukyudemuxnghlwngkhuncaklikhwalidsaerc nayphllikhwalidthukthharphuthryskhxngtnexngsngharkarrukrankhxngaemncu aekikhdubthkhwamhlkthi karrukranekahlikhxngaemncu inrchsmykhxngphraecaxinoc chnephaaemncuinaemncueriyphayitkarnakhxngh wng ithci Hong Taiji kalngsasmkhyayxanackhukkhamckrwrrdicinrachwngshming aemwaxanackrocsxncamithanaepnpraethsrachkhxngckrwrrdicincungtxngihkarsnbsnunfayrachwngshminginkarthasngkhramkbchawaemncu aetinrchsmykhxngecachaykhwngaehiddaeninnoybayepnklangmaodytlxd aelaxanackrocsxnimidxyuinthanathicakhdkhwangkarkhyayxanackhxnghngithci aetinrchsmykhxngphraecaxinockhunnangfaytawntkkhrxbkhrxngrachsank mikhwamehnwarachwngshmingekhymibuykhuntxocsxninchwngkarbukkhrxngekahlikhxngyipun ph s 2135 2141 cungsmkhwrthicathdaethnbuykhunodyihkarsnbsnunrachwngshmingxyangetmthi odyfayocsxnidihkarsnbsnunnayphl ehmaehwinhlng cin 毛文龍 Mao Wenlong khunphlkhxngcinpraca khabsmuthrehliywtngkhunnangekahlikhnhnungchuxwa hnyun ekahli 한윤 miswnrwminkarkbtkhxnglikhwalinkh s 1624 hlbhniipyngemuxngesinhyang Shenyang xnepnemuxnghlwngkhxngrachwngscininkhnann aelaidphbkbnayphlkhnghngnip ekahli 강홍립 姜弘立 nayphlchawekahliphuthitkepnechlykhxngphwkaemncu hnyunidklawaeknayphlkhngwa khrxbkhrwkhxngnayphlkhnginocsxnidthukpraharchiwitipcnhmdsindwyehtuthinayphlkhngmaekhaphwkkbaemncu 2 dwykhwamokrthaekhnnayphlkhnghngnipcungesnxtxhngithciihykthphekharukranocsxn ephuxlmlangkhunnangfaytawntkxxkipaelakhunrachbllngkihaekecachaykhwngaeh yngmiphrachnmchiphxyubnekaakhnghwa hngithcicungsngecachayxamin Amin phuepnlung ykthphaemncuekharukranxanackrocsxninpikh s 1627 odyminayphlkhnghngnipepnphunathang eriykwa karrukranekahlikhxngaemncukhrngthihnung First Manchu Invasion of Korea hrux karrukranpicxngmoy ekahli 정묘호란 丁卯胡亂 xndbaerkthphaemncuidekhabukyudthalaythanthimnkhxngehmaehwinhlng rimaemnayaluchayaednthangehnux epnkarepidesnthangihkxngthphkhxngecachayxaminaelakhnghngnipykthphekhamainocsxnid fayocsxnsngaemthphcangmniptanthankarrukranthichayaednthangehnuxaetimsaerc emuxkhnghngnipnathphkhxngecachayxaminrukkhublngmathangiteruxy fayrachsankocsxnwitkwacaesiyemuxnghnsxng osl ihaekphwkaemncu phraecaxinocphrxmthngphrarachwngsaelakhunnangphuihycungesdcliphymaxyuthiekaakhnghwa fayaemncuehnwafayocsxnmikhwamekrngklwthphaemncuthungephiyngnicungepidotaecrca thphaemncucayxmthxyklbipthahakocsxneliksngbrrnakarihaekrachwngshming elikkarichskrachnampitamphranamkhxnghxngettahming aelaihstysabanwacaimruklaxanaekhtsungknaelakn mikhwamsmphnthknepnbanphiemuxngnxng fayocsxncungyxmrbkhxtklnginkh s 1635 hngithciepliynchuxrachwngscakrachwngsohwcinhruxrachwngscinhlngepnrachwngsching Qing dynasty aelatxngkarthicaepliynkhwamsmphnthkbxanackrocsxncakbanphiemuxngnxngepnpraethsaem praethsrach idthakareriykrxngbrrnakarcimkxngcakxanackrocsxnaelasngrachthutmayngemuxnghnsxng thangfayekahliidthakartxnrbthutaemncuxyangeynchaaelaaexbsumsxnkxngkalngthhariw hngithcicungaenicwawaocsxncaimmiwnyxmrbrachwngschingidodyimichkalng karrukrankhrngthisxngcungekidkhuninkh s 1636 eriykwa karrukranekahlikhxngaemncukhrngthisxng Second Manchu Invasion of Korea hrux karrukranpiphyxngca ekahli 병자호란 丙子胡亂 odyhngithciepnphunathphaemncuekharukranocsxndwytnexngfayocsxnetriymkarrbmuxiwaelwodykarihnayphl ximkyxngxxp ekahli 임경업 林慶業 phumikhwamsamarthkhxytngrbxyuthangehnux aetthwahngithciklbhlikeliyngkarpathakbthphkhxngnayphlximaelaribykthphmayngkrunghnsxngxyangrwderw brrdaphrarachwngsaelakhunnangphuihycunghlbhniipyngekaakhnghwaxikkhrng aetthwadwykarthanganthikhadprasiththiphaphkhxngkhimcacxm thaihphraecaxinocaelarchthayathesdchlbhniimthnthukthphkhxnghngithcitidtamthung cungthukthphaemncuthakarpidlxmxyuthipxmnmhnsan ekahli 남한산 南漢山 thangtxnitkhxngemuxnghnsxngphrxmkbkhunnangkhnsakhytang hlngcakthukpidlxmxyuepnewlahlayeduxnesbiyngerimhmdlngthaihbrrdakhunnangmixacthnid dwykhaaenanakhxngkhunnangfaytawntkphuxawuosphraecaxinocthrngyxmcanntxhngithciinthisudinkh s 1637karecrcasngbsukmikhxtklngihxanackrocsxnepnpraethsrachkhxngrachwngsching txngsngbrrnakarcimkxngihaekrachwngsching odyhxngethngithcimiphrarachoxngkarihsrangxnusrnsthanralukchychnakhxngaemncuehnuxocsxn eriykwa xnusrnsmcxnod ekahli 삼전도비 三田渡碑 aelwthrngndphbkbphraecaxinocthixnusrnsthannn thrngihphraecaxinockhanbphraxngkhhakhrngaelaexaphraesiyrokhklngkbphunxiksamkhrng ephuxepnkaraesdngkarswamiphkdiodysinechingtxaemncu nxkcakniphraecaxinocyngtxngthrngsngphraoxrssxngphraxngkh idaek ecachayrchthayathoshyxn ekahli 소현세자 昭顯世子 aelaecachayphngnim ekahli 봉림대군 鳳林大君 txmakhuxphraecahoycng ipepnxngkhpraknthiemuxngesinhyang epnkhwamxpyskhrngyingihykhxngphraecaxinocaelainprawtisastrekahli aelaepnehtuihekahlitxngtkepnpraethsrachkhxngrachwngschingipxikepnewlasxngrxyhasibpibnplayphrachnmchiph aekikhrchthayathoshyxnkhnaprathbepnxngkhpraknxyuthiemuxngesinhyang idthrngsansmphnthxndikbrachsankaemncuthaihthrngidrbkarsnbsnun sungepnsingthiphraecaxinockngwlphrathyephraathrngekrngwafayaemncucaykthphmakrathakarrthpraharpldphraxngkhlngcakbllngkaelwihrchthayathoshyxnkhunepnkstriyochsxnaethn in kh s 1644 thphrachwngschingphayitkarnakhxngecachaydxrkxn twexxkun ekhayudkrungpkkingaelaekhapkkhrxngcinaephndinihy inrahwangthiprathbxyuemuxngpkkingnn ecachayoshyxnidphbkbnayoyhnn xdm aechl fxn ebll Johann Adam Schall von Bell michchnnarichaweyxrmnthixasyxyuinkrungpkkingkhnann nayaechlfxnebllidaenanaihecachaythrngruckkbwithyakartawntkaelakhristsasna inpiediywknecachaydxrkxnthrngxnuyatihecachayoshyxnesdcniwtiocsxnepnkarthawrkhwamsmphnthrahwangphraecaxinocaelaecachayoshyxnnnimsucadinkxyuedim aelaemuxecachayoshyxnthrngtrsthungolktawntkaelakhristsasnathaihphraecaxinocthrngehnwaphraoxrsnnesiystiipesiyaelw xikthngyngmiesnabdisaykhimcacxmaelaphrasnmkhwixin trakuloc ekahli 귀인조씨 貴人趙氏 phrasnmxngkhoprdkhxyyuyngihphraecaxinocthrngekliydchngphraoxrs cnkrathngekidehtukarnimkhadfnkhun ephiyngsameduxnihhlngecachayrchthayathoshyxnksinphrachnmxyangkrathnhnaelaepnprisna srangkhwamphiswngihaekrachsankinsmynnhruxaemkrathngnkprawtisastrinpccubn mikarbnthukiwinchillkhruxphngsawdarrachwngsocsxnwaphrasphecachayoshyxnnnenaepuxyslaylngxyangrwderwxyangphidthrrmchati thaihekidkhxsngsywaecachayxacthrngthukwangyaphissinphrachnm chawekahliinsmytxmaaelankprawtisastrinpccubnmikhwamehnphxngtxngknwarchthayathoshyxnsinphrachnmdwynaphrahtthkhxngphraecaxinocphuepnphrabidatamhlkkhxnglththikhngcuxemuxrchthayathoshyxnswrrkht taaehnngrchthayathcatxngepnkhxngphraoxrsxngkhotsudkhxngrchthayathoshyxnnnkhuxecachaylisxkchxl 3 aetthwaphraecaxinocprasngkhcaihphraxnuchakhxngecachayoshyxnkhuxecachayphngnim sungesdcniwtiocsxntamhlngphraechsthamaepnrchthayathxngkhtxma enuxngcakthrngphxphrathynoybaythicaykthphrukranrachwngschingephuxthakaraekaekhnihaekocsxnkhxngecachayphngnim phraecaxinoccungthrngklawhaphrachayatrakulkhng ekahli 민회빈강씨 愍懷嬪姜氏 phrachayakhxngecachayoshyxnwaepnphuplngphrachnmphraswami ihsaercothsodykarprathanyaphis aelaenrethsphraoxrsthnghmdkhxngecachayoshyxnipyngekaaechcu aelaaetngtngecachayphngnimepnrchthayathin kh s 1645phraecaxinocswrrkhtinpi kh s 1649 ecachayphngnimrchthayathkhunkhrxngrachytxmaepnphraecahoycngphranametm aekikhphraecaxinoc aethoc aekchxn ocxun cxngki sxndxk hxnmun yxlmu myxngsuk sunhoy aehngekahliphrabrmwngsanuwngs aekikhphrarachbida ecachaycxngwxn phrarachoxrskhxngphraecasxnockbphrasnmxinbin trakulkhim aehngsuwxn phayhlngidrbkaraetngtngepnphraecawxncng phrarachmarda phranangxinhxn phraphnpihlwng trakulku aehngnungsxng 인헌왕후 구씨 phramehsi smedcphrarachinixinryxl trakulhn aehngchxngcu 인렬왕후 한씨 ecachayrchthayathoshyxn liwng 소현세자 昭顯世子 1612 1645 phraecahoycng 봉림대군 鳳林大君 1619 1659 ecachayxinphyxng lioy 인평대군 麟坪大君 1622 1658 ecachayyngsxng likn 용성대군 龍城大君 1624 1629 ecachayimpraktphranam ecahyingimpraktphranam smedcphrarachinicangryxl trakuloc aehngyangcu 장렬왕후 조씨 phrasnm phrasnmkhwixin trakuloc 폐귀인 조씨 phayhlngthukthxdxxkcaktaaehnngphrasnm ecachaysungsxn licing 숭선군 崇善君 1639 1690 ecachaynksxn lisuk 낙선군 樂善君 1641 1695 ecahyinghoymyxng 효명옹주 孝明翁主 1637 1700 phrasnmkhwixin trakulcang 귀인 장씨 phrasnmsukxuy trakulna 숙의 나씨 phrasnmsukxuy trakulparkh 숙의 박씨 phrasnmsukwxn trakulcang 숙원 장씨 sngkung trakulli 상궁 이씨 kxnhna phraecaxinoc thdipecachaykhwngaeh kstriyaehngochsxn ph s 2166 ph s 2192 phraecahoycng Jae eun Kang The Land of Scholars Two Thousand Years of Korean Confucianism James B Palais Confucian Statecraft and Korean Institutions Yu Hyŏngwŏn and the Late Choson dynasty JaHyun Kim Haboush Martina Deuchler Culture and the State in Late Choson Korea ekhathungcak https th wikipedia org w index php title phraecaxinoc amp oldid 9433477, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม