fbpx
วิกิพีเดีย

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา หรือ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางการเห็น (อังกฤษ: visual agnosia) เป็นความบกพร่องในการรู้จำวัตถุที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เป็นความบกพร่องในการเห็น (ไม่ใช่ความบกพร่องเป็นต้นว่า ความชัดเจน ลานสายตา หรือการมองกวาด) ในภาษา ในระบบความทรงจำ หรือเพราะมีเชาวน์ปัญญาต่ำ ภาวะนี้มีสองอย่าง คือแบบวิสัญชาน (apperceptive) และแบบสัมพันธ์ (associative)

การรู้จำวัตถุที่เห็นเกิดขึ้นที่ในระดับหลักๆ 2 ระดับในสมอง ในขั้นวิสัญชาน มีการนำลักษณะต่างๆ ของข้อมูลทางตาจากเรตินา มารวมกันเพื่อสร้างแบบแทนของวัตถุเพื่อการรับรู้ และเมื่อถึงขั้นสัมพันธ์ จึงมีการรวม ความหมายของวัตถุเข้าไปกับแบบแทนของวัตถุ แล้วจึงจะสามารถ บ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไรได้

ถ้าบุคคลหนึ่งไม่สามารถรู้จำวัตถุได้เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุ แม้ว่า ความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นจะไม่มีปัญหาอย่างไร นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน (เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุนั้นอย่างถูกต้อง) ถ้าบุคคลสามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุได้ และมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นด้วย แต่ว่า ไม่สามารถบ่งชี้วัตถุว่าคืออะไรได้ นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์ (เพราะสามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุอย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นกับวัตถุ จึงไม่สามารถบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร)

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตามักจะเกิดขึ้นเพราะความเสียหายในซีกสมองทั้งสองข้างของสมองกลีบท้ายทอยด้านหลัง และ/หรือ สมองกลีบขมับ

ประเภทหลักและประเภทย่อย

มีภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา 2 แบบหลัก คือแบบวิสัญชาน และแบบสัมพันธ์ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบวิสัญชาน (apperceptive visual agnosia) เป็นความไม่สามารถในการรู้จำวัตถุ แม้ว่า การเห็นขั้นพื้นฐานเช่น ความชัดเจน สี และความเคลื่อนไหว ยังเป็นปกติ สมองต้องประสานลักษณะต่างๆ เช่นเส้น ความสว่าง และสีของข้อมูลทางตาอย่างถูกต้อง เพื่อจะสร้างการรับรู้โดยองค์รวมของวัตถุ ถ้ามีความล้มเหลวในการประมวลผลขั้นนี้ การรับรู้วัตถุนั้นย่อมมีการสร้างอย่างไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจที่จะรู้จำวัตถุนั้นได้ บุคคลผู้มีภาวะนี้ ไม่สามารถมีการรับรู้โดยองค์รวมของวัตถุจากข้อมูลทางตา กิจการงานที่ต้องอาศัยการลอกแบบหรือการจับคู่รูปภาพแบบง่ายๆ สามารถตรวจจับบุคคลผู้มีภาวะเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน เพราะว่า บุคคลเหล่านั้นมีความสามารถที่ถูกตัดรอนและไม่สามารถทำกิจการงานเช่นนั้นได้

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ (associative visual agnosia) เป็นความไม่สามารถที่จะรู้จำวัตถุ แม้ว่า จะมีการรับรู้วัตถุที่ถูกต้อง และความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นไม่มีความเสียหาย ภาวะนี้มีความเกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลทางตา ในระดับที่สูงกว่าภาวะเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน บุคคลผู้มีภาวะแบบสัมพันธ์สามารถลอกแบบหรือจับคู่รูปภาพที่ง่ายๆ ซึ่งแสดงว่า สามารถที่จะรับรู้วัตถุได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถแสดงความรู้เกี่ยวกับวัตถุเมื่อทดสอบด้วยข้อมูลทางการสัมผัสหรือทางคำพูด แต่ว่า เมื่อถูกทดสอบด้วยข้อมูลทางตา ก็ไม่สามารถบอกชื่อหรือพรรณนาถึงวัตถุที่สามัญทั่วไปได้ ซึ่งหมายความว่า มีความบกพร่องในการสัมพันธ์การรับรู้วัตถุนั้น กับความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับวัตถุนั้น บุคคลผู้มีภาวะนี้ไม่สามารถให้ความหมายกับการรับรู้วัตถุได้ การรับรู้วัตถุนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีความหมายอะไรต่อบุคคลผู้มีภาวะนี้

ประเภทย่อยของการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์

ประเภทย่อยๆ ของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ ได้แก่

  • ภาวะเสียการระลึกรู้สี (Achromatopsia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการแยกแยะสี ที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติที่ตา
  • ภาวะบอดใบหน้า (prosopagnosia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการรู้จำใบหน้า บุคคลภาวะนี้รู้ว่า ตนกำลังมองเห็นใบหน้าอยู่ แต่ไม่สามารถรู้จำบุคคลนั้นว่าเป็นใคร แม้แต่บุคคลที่รู้จักกันดี
  • ภาวะเสียการระลึกทิศทาง (Orientation Agnosia) คือ ภาวะที่ไม่สามารถตัดสินหรือกำหนดแนวทิศทางของวัตถุต่างๆ เป็นต้นว่าแนวตั้ง แนวนอน
  • ภาวะเสียการระลึกรู้ภาษาใบ้ (Pantomime Agnosia) คือความไม่สามารถในการเข้าใจภาษาใบ้ คือกิริยาท่าทาง เป็นความสามารถที่ขาดคอร์เทกซ์สายตาด้านล่างไม่ได้

แบบอื่นๆ

รูปแบบอื่นๆ อีกของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ที่ปรากฏในเวชศาสตร์ก็คือ

  • ความบอดคำ ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการรู้จำคำ,
  • ภาวะเสียการระลึกรู้สิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า ความไม่สามารถในการรู้จำจุดสังเกตต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม
  • simultanagnosia ซึ่งก็คือ ความไม่สามารถในการรับรู้วัตถุมากกว่าหนึ่งในขณะเดียวกัน

อาการ

ในขณะที่กรณีโดยมากของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา พบในผู้ใหญ่ที่มีความเสียหายในสมองอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีกรณีในเด็กเล็กๆ ที่มีความเสียหายในสมองในระดับที่น้อยกว่า ที่เกิดอาการของภาวะนี้ในวัยพัฒนา

บ่อยๆ ครั้ง ภาวะนี้ปรากฏโดยอาการที่ไม่สามารถรู้จำวัตถุโดยรูปร่าง โดยปราศจากประเด็นปัญหาอย่างอื่นๆ เช่นปัญหาการเห็น นี่เห็นได้ง่ายที่สุดในภาวะบอดใบหน้า ที่คนไข้สามารถเห็นใบหน้าของคนอื่นๆ ใกล้ๆ แต่ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลที่มีอยู่ แล้วรู้จำคนๆ นั้นได้ อาการอีกอย่างหนึ่งที่มีบ่อยๆ ก็คือ ความลำบากในการบ่งชี้วัตถุที่มีรูปร่างเหมือนๆ กัน ในภาพวาดที่มีรายละเอียดน้อย และรู้จำวัตถุที่มองจากมุมมองที่ไม่คุ้นเคย

ภาวะนี้เกิดขึ้นหลังจากความเสียหายต่อคอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (visual association cortex) ซึ่งเกิดขึ้นแม้เมื่อไม่มีความเสียหายต่อตาหรือใยประสาทตาที่นำข้อมูลสายตาไปยังสมอง ภาวะนี้เกิดจากความเสียหายต่อส่วนต่างๆ ของระบบสายตาในทางสัญญาณด้านล่าง ซึ่งรู้จักกันว่า วิถีประสาทสายตาบอกว่าอะไร เพราะว่า วิถีประสาทนี้ ยังบุคคลให้สามารถบ่งชี้วัตถุที่เห็นได้ ทางสัญญาณอีกทางหนึ่งที่เรียกว่า ทางสัญญาณด้านหลัง หรือวิถีประสาทบอกว่าที่ไหนหรืออย่างไร ซึ่งไม่มีความเสียหายในภาวะนี้ ยังบุคคลผู้มีภาวะนี้ให้มีพฤติกรรมนำโดยตา (เช่นการเอื้อมมือออกไปหยิบวัตถุ) ที่ยังเป็นปกติ

ความเสียหายต่อทางสัญญาณด้านล่างเฉพาะเขต ทำความสามารถในการรู้จำลักษณะเฉพาะอย่างๆ ของข้อมูลทางตาให้เสียหาย

เขตต่างๆ ที่อาจะเป็นเหตุให้เสียการระลึกรู้

ภาวะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความเสียหายในเขตสัมพันธ์ของคอร์เทกซ์สายตา. เขตสมองต่างๆ ด้านข้างของสมองกลีบท้ายทอยปรากฏว่า ตอบสนองต่อวัตถุประเภทต่างๆ มากมาย.

ภาวะบอดใบหน้า (คือไม่สามารถรู้จำใบหน้าได้) เกิดขึ้นจากความเสียหายของเขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform face area) งานวิจัยที่ใช้การสร้างภาพโดยกิจแสดงให้เห็นว่า มีเขตเฉพาะบางเขตที่มีหน้าที่โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรู้จำใบหน้า เรียกว่า "เขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย" ซึ่งอยู่ในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) ของสมองกลีบขมับ แต่ว่า เขตนี้ไม่ได้รับรู้ใบหน้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรู้จำวัตถุที่บุคคลมีความชำนาญอื่นๆ ด้วย

เขตสายตาที่เรียกว่า extrastriate body area เริ่มทำงานด้วยการเห็นอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่ในรูปถ่าย ภาพเงา หรือ stick figure

มีการค้นพบว่า เขตรู้สถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal place area) ในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัส เริ่มทำงานเมื่อเห็นทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง (cerebral achromatopsia) คือความไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆ เกิดขึ้นเพราะความเสียหายต่อเขตสายตา V8 ของคอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (visual association cortex)

คอร์เทกซ์สายตาในสมองซีกซ้ายดูเหมือนว่าจะมีบทบาทสำคัญในการรู้จำความหมายของวัตถุสามัญ

ในวัฒนธรรมนิยม

ดู

หมายเหตุและอ้างอิง

  1. ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑
  2. Delvenne, J. F., Seron, X., Coyette, F., & Rossion (2004). "Evidence for Perceptual Deficits in Associative Visual (Prosop)agnosia: A Single-case Study". Neuropsychologia. 42: 597–612.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  3. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของคำว่า "aperception" ว่า "วิสัญชาน"
  4. Riddoch, M. J., Humphreys, G. W. (1987). "A Case of Integrative Visual Agnosia". Brain. 110: 1431–1462.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  5. Karnath H. O., Rüter J., Mandler A., Himmelbach M. (2009). "The anatomy of object recognition—Visual form agnosia caused by medial occipitotemporal stroke". The Journal of Neuroscience. 29 (18): 5854–5862. doi:10.1523/JNEUROSCI.5192-08.2009.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  6. Kolb, B. & Whishaw, I. Q. (2009). "Fundamentals of Human Neuropsychology 6th ed. New York, NY., Worth Publishers. ISBN 978-0-7167-9586-5.
  7. Heilman, K. M. (2002). "Matter of Mind. New York, NY., Oxford University Press. ISBN 978-0-19-514490-1.
  8. Ferreira CT, Ceccaldi M, Giusiano B, Poncet M (1998). "Separate visual pathways for perception of actions and objects: evidence from a case of apperceptive visual agnosia". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 65 (3): 382–5. doi:10.1136/jnnp.65.3.382. PMC 2170224. PMID 9728957. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  9. Wolfe, Jeremy (2012). "Sensation & Perception" 3rd ed. pp. 507 ISBN 978-0-87893-876-6.
  10. Carlson, Neil R. (2010). Physiology of behavior. Boston, Mass: Allyn & Bacon. ISBN 0-205-66627-2. OCLC 263605380.
  11. Harris, I. M., Harris, J. A., Caine, D. (2001). "Object Orientation Agnosia: A Failure to Find the Axis?". Journal of Cognitive Neuroscience. 13 (6): 800–812. doi:10.1162/08989290152541467.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  12. Rothi LJ, Mack L, Heilman KM (1986). "Pantomime agnosia" (PDF). J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 49 (4): 451–4. doi:10.1136/jnnp.49.4.451. PMC 1028777. PMID 3701356. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  13. Biran I. and Coslett H.B. (2003). Visual Agnosia.Current neurology and neuroscience reports, 3(6):508 - 512. ISSN 1528-4042. doi:10.1007/s11910-003-0055-4
  14. Funnel, Elaine (2011). "Development of a vocabulary of object shapes in a child with a very-early-acquired visual agnosia: A unique case". The Quarterly Journal Of Experimental Psychology. 2. 64: 261–282. doi:10.1080/17470218.2010.498922. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  15. Goodale MA, Milner AD, Jakobson LS, Carey DP (1991). "A neurological dissociation between perceiving objects and grasping them". Nature. 349 (6305): 154–6. doi:10.1038/349154a0. PMID 1986306.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  16. Goodale MA, Milner AD (1992). "Separate visual pathways for perception and action". Trends Neurosci. 15 (1): 20–5. doi:10.1016/0166-2236(92)90344-8. PMID 1374953.
  17. ในบุคคลที่มีความชำนาญพิเศษในวัตถุอย่างหนึ่ง เช่นกรรมการประกวดสุนัขใช้เขตนี้ในการรู้จำสุนัข
  18. เป็นรูปวาดอย่างง่ายๆ ตัวอย่างเช่นรูปมนุษย์ที่เด็กวาด มีกายแขนขาเป็นเพียงแต่เส้นเท่านั้น
  19. McCarthy RA, Warrington EK (1986). "Visual associative agnosia: a clinico-anatomical study of a single case" (PDF). J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 49 (11): 1233–40. doi:10.1136/jnnp.49.11.1233. PMC 1029070. PMID 3794729. Unknown parameter |month= ignored (help)

อ้างอิงอื่นๆ

  • Cant JD, Goodale MA (2007). "Attention to form or surface properties modulates different regions of human occipitotemporal cortex". Cereb. Cortex. 17 (3): 713–31. doi:10.1093/cercor/bhk022. PMID 16648452. Unknown parameter |month= ignored (help)
  • Cavina-Pratesi C, Kentridge RW, Heywood CA, Milner AD (2010). "Separate processing of texture and form in the ventral stream: evidence from FMRI and visual agnosia". Cereb. Cortex. 20 (2): 433–46. doi:10.1093/cercor/bhp111. PMID 19478035. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  • Goodale MA , Milner AD (2004). Sight Unseen: An Exploration of Conscious and Unconscious Vision. Oxford UK: Oxford University Press. p. 139. ISBN 978-0-19-856807-0. OCLC 54408420.
  • Farah M (2004). Visual Agnosia. 2nd Edition. Cambridge MA: MIT Press: Bradford Books. p. 192. ISBN 0-262-56203-0. OCLC 57182718.

ภาวะเส, ยการระล, กร, ทางตา, หร, ภาวะเส, ยการระล, กร, ทางการเห, งกฤษ, visual, agnosia, เป, นความบกพร, องในการร, จำว, ตถ, ปรากฏทางตา, ไม, ใช, เป, นความบกพร, องในการเห, ไม, ใช, ความบกพร, องเป, นต, นว, ความช, ดเจน, ลานสายตา, หร, อการมองกวาด, ในภาษา, ในระบบความทรงจ. phawaesiykarralukruthangta hrux phawaesiykarralukruthangkarehn 1 xngkvs visual agnosia epnkhwambkphrxnginkarrucawtthuthipraktthangta imichepnkhwambkphrxnginkarehn imichkhwambkphrxngepntnwa khwamchdecn lansayta hruxkarmxngkwad inphasa inrabbkhwamthrngca hruxephraamiechawnpyyata 2 phawanimisxngxyang khuxaebbwisychan apperceptive 3 aelaaebbsmphnth associative karrucawtthuthiehnekidkhunthiinradbhlk 2 radbinsmxng inkhnwisychan mikarnalksnatang khxngkhxmulthangtacakertina marwmknephuxsrangaebbaethnkhxngwtthuephuxkarrbru aelaemuxthungkhnsmphnth cungmikarrwm khwamhmaykhxngwtthuekhaipkbaebbaethnkhxngwtthu aelwcungcasamarth bngchiwawtthunnkhuxxairid 4 thabukhkhlhnungimsamarthrucawtthuidephraaimsamarthrbrurupaebbthithuktxngkhxngwtthu aemwa khwamruekiywkbwtthuehlanncaimmipyhaxyangir nnepnkaresiykarralukruaebbwisychan ephraaimsamarthrbrurupaebbkhxngwtthunnxyangthuktxng thabukhkhlsamarthrbrurupaebbthithuktxngkhxngwtthuid aelamikhwamruekiywkbwtthuehlanndwy aetwa imsamarthbngchiwtthuwakhuxxairid nnepnkaresiykarralukruaebbsmphnth ephraasamarthrbrurupaebbkhxngwtthuxyangthuktxng aetimsamarthsmphnthkhwamruekiywkbwtthunnkbwtthu cungimsamarthbngchiwawtthunnkhuxxair phawaesiykarralukruthangtamkcaekidkhunephraakhwamesiyhayinsiksmxngthngsxngkhangkhxngsmxngklibthaythxydanhlng aela hrux smxngklibkhmb 5 enuxha 1 praephthhlkaelapraephthyxy 1 1 praephthyxykhxngkaresiykarralukruaebbsmphnth 1 2 aebbxun 2 xakar 3 ekhttang thixacaepnehtuihesiykarralukru 4 inwthnthrrmniym 5 du 6 hmayehtuaelaxangxing 7 xangxingxunpraephthhlkaelapraephthyxy aekikhmiphawaesiykarralukruthangta 2 aebbhlk khuxaebbwisychan aelaaebbsmphnth phawaesiykarralukruthangtaaebbwisychan apperceptive visual agnosia epnkhwamimsamarthinkarrucawtthu aemwa karehnkhnphunthanechn khwamchdecn si aelakhwamekhluxnihw yngepnpkti 6 smxngtxngprasanlksnatang echnesn khwamswang aelasikhxngkhxmulthangtaxyangthuktxng ephuxcasrangkarrbruodyxngkhrwmkhxngwtthu thamikhwamlmehlwinkarpramwlphlkhnni karrbruwtthunnyxmmikarsrangxyangimbriburn ephraachann cungimxacthicarucawtthunnid 7 bukhkhlphumiphawani imsamarthmikarrbruodyxngkhrwmkhxngwtthucakkhxmulthangta 8 kickarnganthitxngxasykarlxkaebbhruxkarcbkhurupphaphaebbngay samarthtrwccbbukhkhlphumiphawaesiykarralukruaebbwisychan ephraawa bukhkhlehlannmikhwamsamarththithuktdrxnaelaimsamarththakickarnganechnnnidphawaesiykarralukruthangtaaebbsmphnth associative visual agnosia epnkhwamimsamarththicarucawtthu aemwa camikarrbruwtthuthithuktxng aelakhwamruekiywkbwtthunnimmikhwamesiyhay phawanimikhwamekiywkhxngkbkarpramwlkhxmulthangta inradbthisungkwaphawaesiykarralukruaebbwisychan 6 bukhkhlphumiphawaaebbsmphnthsamarthlxkaebbhruxcbkhurupphaphthingay sungaesdngwa samarththicarbruwtthuidxyangthuktxng nxkcaknnaelw yngsamarthaesdngkhwamruekiywkbwtthuemuxthdsxbdwykhxmulthangkarsmphshruxthangkhaphud aetwa emuxthukthdsxbdwykhxmulthangta kimsamarthbxkchuxhruxphrrnnathungwtthuthisamythwipid 7 sunghmaykhwamwa mikhwambkphrxnginkarsmphnthkarrbruwtthunn kbkhwamruthimixyuekiywkbwtthunn bukhkhlphumiphawaniimsamarthihkhwamhmaykbkarrbruwtthuid karrbruwtthunnmixyu aetimmikhwamhmayxairtxbukhkhlphumiphawani 8 praephthyxykhxngkaresiykarralukruaebbsmphnth aekikh praephthyxy khxngphawaesiykarralukruthangtaaebbsmphnth idaek phawaesiykarralukrusi Achromatopsia sungepnkhwamimsamarthinkaraeykaeyasi thiimidekidcakkhwamphidpktithita 6 phawabxdibhna prosopagnosia sungepnkhwamimsamarthinkarrucaibhna 9 bukhkhlphawaniruwa tnkalngmxngehnibhnaxyu aetimsamarthrucabukhkhlnnwaepnikhr aemaetbukhkhlthiruckkndi 10 phawaesiykarralukthisthang Orientation Agnosia khux phawathiimsamarthtdsinhruxkahndaenwthisthangkhxngwtthutang epntnwaaenwtng aenwnxn 11 phawaesiykarralukruphasaib Pantomime Agnosia khuxkhwamimsamarthinkarekhaicphasaib khuxkiriyathathang epnkhwamsamarththikhadkhxrethkssaytadanlangimid 12 aebbxun aekikh rupaebbxun xikkhxngphawaesiykarralukruthangta thipraktinewchsastrkkhux khwambxdkha sungepnkhwamimsamarthinkarrucakha phawaesiykarralukrusingaewdlxm epntnwa khwamimsamarthinkarrucacudsngekttang insingaewdlxm simultanagnosia sungkkhux khwamimsamarthinkarrbruwtthumakkwahnunginkhnaediywkn 13 xakar aekikhinkhnathikrniodymakkhxngphawaesiykarralukruthangta phbinphuihythimikhwamesiyhayinsmxngxyangkwangkhwang aetkyngmikrniinedkelk thimikhwamesiyhayinsmxnginradbthinxykwa thiekidxakarkhxngphawaniinwyphthna 14 bxy khrng phawanipraktodyxakarthiimsamarthrucawtthuodyruprang odyprascakpraednpyhaxyangxun echnpyhakarehn niehnidngaythisudinphawabxdibhna thikhnikhsamarthehnibhnakhxngkhnxun ikl aetimsamarthechuxmkhxmulthimixyu aelwrucakhn nnid xakarxikxyanghnungthimibxy kkhux khwamlabakinkarbngchiwtthuthimiruprangehmuxn kn inphaphwadthimiraylaexiydnxy aelarucawtthuthimxngcakmummxngthiimkhunekhy 14 phawaniekidkhunhlngcakkhwamesiyhaytxkhxrethkssaytasmphnth visual association cortex 10 sungekidkhunaememuximmikhwamesiyhaytxtahruxiyprasathtathinakhxmulsaytaipyngsmxng phawaniekidcakkhwamesiyhaytxswntang khxngrabbsaytainthangsyyandanlang 10 sungruckknwa withiprasathsaytabxkwaxair ephraawa withiprasathni yngbukhkhlihsamarthbngchiwtthuthiehnid thangsyyanxikthanghnungthieriykwa thangsyyandanhlng hruxwithiprasathbxkwathiihnhruxxyangir sungimmikhwamesiyhayinphawani yngbukhkhlphumiphawaniihmiphvtikrrmnaodyta echnkarexuxmmuxxxkiphyibwtthu thiyngepnpkti 15 16 khwamesiyhaytxthangsyyandanlangechphaaekht thakhwamsamarthinkarrucalksnaechphaaxyang khxngkhxmulthangtaihesiyhay 10 ekhttang thixacaepnehtuihesiykarralukru aekikhphawaniekidkhunenuxngcakkhwamesiyhayinekhtsmphnthkhxngkhxrethkssayta ekhtsmxngtang dankhangkhxngsmxngklibthaythxypraktwa txbsnxngtxwtthupraephthtang makmay 10 phawabxdibhna khuximsamarthrucaibhnaid ekidkhuncakkhwamesiyhaykhxngekhtrbruibhnainrxynunrupkraswy fusiform face area nganwicythiichkarsrangphaphodykicaesdngihehnwa miekhtechphaabangekhtthimihnathiodyechphaaekiywkbkarrucaibhna eriykwa ekhtrbruibhnainrxynunrupkraswy sungxyuinrxynunrupkraswy fusiform gyrus khxngsmxngklibkhmb 10 aetwa ekhtniimidrbruibhnaxyangediywethann aetyngrucawtthuthibukhkhlmikhwamchanay 17 xun dwyekhtsaytathieriykwa extrastriate body area erimthangandwykarehnxwywatang khxngmnusythimixyuinrupthay phaphenga hrux stick figure 18 10 mikarkhnphbwa ekhtrusthanthirxbhipopaekhmps parahippocampal place area inkhxrethksrxbhipopaekhmps erimthanganemuxehnthsniyphaphaelasingaewdlxmtang 10 phawaesiykarralukrusiehtusmxng cerebral achromatopsia khuxkhwamimsamarthaeykaeyasitang ekidkhunephraakhwamesiyhaytxekhtsayta V8 khxngkhxrethkssaytasmphnth visual association cortex 10 khxrethkssaytainsmxngsiksayduehmuxnwacamibthbathsakhyinkarrucakhwamhmaykhxngwtthusamy 19 inwthnthrrmniym aekikhmiraynganthiruckkndiekiywkbphawaniinbthkhwamchuxediywknkbhnngsux inhnngsuxkhxngoxliewxr aeskhs chuxwa chayphusbsnphrryakhxngtnwaepnhmwk khnikhrayhnunginlakhrchud ehas exm di intxn phlkhangekhiyng miphawaesiykarralukru agnosia bukhkhlthiepnbthbathkhxngwl khilemxr miphawaesiykarralukruthangtainphaphyntr At First Sight phawaesiykarralukruthangtaaebbaeplk sungekidcakkarphatdsmxngaebbthdlxng epnokhrngeruxngkhxnghnngsuxkartun hionothri wihkhephling chbbthi 6 ody ethasuka oxasamudu aekikhphawaesiykarralukru Agnosia tabxd phawaesiykarralukrusi Achromatopsia phawabxdibhna Prosopagnosia hmayehtuaelaxangxing aekikh sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 Delvenne J F Seron X Coyette F amp Rossion 2004 Evidence for Perceptual Deficits in Associative Visual Prosop agnosia A Single case Study Neuropsychologia 42 597 612 CS1 maint multiple names authors list link sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxngkhawa aperception wa wisychan Riddoch M J Humphreys G W 1987 A Case of Integrative Visual Agnosia Brain 110 1431 1462 CS1 maint multiple names authors list link Karnath H O Ruter J Mandler A Himmelbach M 2009 The anatomy of object recognition Visual form agnosia caused by medial occipitotemporal stroke The Journal of Neuroscience 29 18 5854 5862 doi 10 1523 JNEUROSCI 5192 08 2009 CS1 maint multiple names authors list link 6 0 6 1 6 2 Kolb B amp Whishaw I Q 2009 Fundamentals of Human Neuropsychology 6th ed New York NY Worth Publishers ISBN 978 0 7167 9586 5 7 0 7 1 Heilman K M 2002 Matter of Mind New York NY Oxford University Press ISBN 978 0 19 514490 1 8 0 8 1 Ferreira CT Ceccaldi M Giusiano B Poncet M 1998 Separate visual pathways for perception of actions and objects evidence from a case of apperceptive visual agnosia J Neurol Neurosurg Psychiatr 65 3 382 5 doi 10 1136 jnnp 65 3 382 PMC 2170224 PMID 9728957 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Wolfe Jeremy 2012 Sensation amp Perception 3rd ed pp 507 ISBN 978 0 87893 876 6 10 0 10 1 10 2 10 3 10 4 10 5 10 6 10 7 10 8 Carlson Neil R 2010 Physiology of behavior Boston Mass Allyn amp Bacon ISBN 0 205 66627 2 OCLC 263605380 Harris I M Harris J A Caine D 2001 Object Orientation Agnosia A Failure to Find the Axis Journal of Cognitive Neuroscience 13 6 800 812 doi 10 1162 08989290152541467 CS1 maint multiple names authors list link Rothi LJ Mack L Heilman KM 1986 Pantomime agnosia PDF J Neurol Neurosurg Psychiatr 49 4 451 4 doi 10 1136 jnnp 49 4 451 PMC 1028777 PMID 3701356 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Biran I and Coslett H B 2003 Visual Agnosia Current neurology and neuroscience reports 3 6 508 512 ISSN 1528 4042 doi 10 1007 s11910 003 0055 4 14 0 14 1 Funnel Elaine 2011 Development of a vocabulary of object shapes in a child with a very early acquired visual agnosia A unique case The Quarterly Journal Of Experimental Psychology 2 64 261 282 doi 10 1080 17470218 2010 498922 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Goodale MA Milner AD Jakobson LS Carey DP 1991 A neurological dissociation between perceiving objects and grasping them Nature 349 6305 154 6 doi 10 1038 349154a0 PMID 1986306 CS1 maint multiple names authors list link Goodale MA Milner AD 1992 Separate visual pathways for perception and action Trends Neurosci 15 1 20 5 doi 10 1016 0166 2236 92 90344 8 PMID 1374953 inbukhkhlthimikhwamchanayphiessinwtthuxyanghnung echnkrrmkarprakwdsunkhichekhtniinkarrucasunkh epnrupwadxyangngay twxyangechnrupmnusythiedkwad mikayaekhnkhaepnephiyngaetesnethann McCarthy RA Warrington EK 1986 Visual associative agnosia a clinico anatomical study of a single case PDF J Neurol Neurosurg Psychiatr 49 11 1233 40 doi 10 1136 jnnp 49 11 1233 PMC 1029070 PMID 3794729 Unknown parameter month ignored help xangxingxun aekikhCant JD Goodale MA 2007 Attention to form or surface properties modulates different regions of human occipitotemporal cortex Cereb Cortex 17 3 713 31 doi 10 1093 cercor bhk022 PMID 16648452 Unknown parameter month ignored help Cavina Pratesi C Kentridge RW Heywood CA Milner AD 2010 Separate processing of texture and form in the ventral stream evidence from FMRI and visual agnosia Cereb Cortex 20 2 433 46 doi 10 1093 cercor bhp111 PMID 19478035 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Goodale MA Milner AD 2004 Sight Unseen An Exploration of Conscious and Unconscious Vision Oxford UK Oxford University Press p 139 ISBN 978 0 19 856807 0 OCLC 54408420 Farah M 2004 Visual Agnosia 2nd Edition Cambridge MA MIT Press Bradford Books p 192 ISBN 0 262 56203 0 OCLC 57182718 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title phawaesiykarralukruthangta amp oldid 7758657, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม