fbpx
วิกิพีเดีย

เน่ย์เก๋อ

เน่ย์เก๋อ (จีน: 內閣; พินอิน: Nèigé; "ศาลาใน"; อังกฤษ: Grand Secretariat) เป็นองค์กรในระบบราชการของจักรวรรดิจีนช่วงราชวงศ์หมิง ซึ่งโดยนิตินัยแล้วเป็นหน่วยประสานงาน แต่โดยพฤตินัยเป็นสถาบันสูงสุดในการปกครอง องค์กรนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อจักรพรรดิหงอู่ (洪武帝) ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี (丞相) ใน ค.ศ. 1380 แล้วองค์กรนี้ก็ค่อย ๆ พัฒนาเป็นหน่วยประสานงานที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะเหนือหกกระทรวง (六部) สมาชิกของเน่ย์เก๋อเรียกว่า ต้าเซฺว่ชื่อ (大學士, "ปราชญ์มหาสำนัก"; Grand Secretary) ซึ่งกำหนดให้มีหกตำแหน่ง แต่ไม่เคยมีผู้ดำรงตำแหน่งครบ สมาชิกอาวุโสสุดเรียกกันทั่วไปว่า โฉวฝู่ (首輔, "ประธานผู้ช่วย"; Senior Grand Secretary) โดยนิตินัยแล้วสมาชิกทั้งหมดมักเป็นข้าราชการชั้นกลาง ตำแหน่งต่ำกว่าเจ้ากระทรวง แต่เพราะมีหน้าที่กลั่นกรองเอกสารที่หน่วยงานราชการถวายต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งมีอำนาจร่างราชหัตถเลขา สมาชิกบางคนของเน่ย์เก๋อจึงอาจครอบงำการปกครองไว้ได้ทั้งสิ้น ประหนึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีโดยพฤตินัย เป็นเหตุให้ศัพท์ภาษาจีนว่า "เน่ย์เก๋อ" นี้ปัจจุบันใช้เรียกคณะรัฐมนตรี

พัฒนาการ

ต้นราชวงศ์หมิง การปกครองนั้นใช้ตามระบอบของราชวงศ์ยฺเหวียน (大元) ที่ตั้งสำนักอัครมหาเสนาบดีไว้ประสานระหว่างกระทรวงหลักทั้งหก สำนักดังกล่าวมีหัวหน้าสองคน เรียกว่า "อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง" คนหนึ่งเรียก "ฝ่ายซ้าย" อีกคนหนึ่งเรียก "ฝ่ายขวา" ทำหน้าที่ผู้นำหน่วยงานราชการทั่วแผ่นดิน แต่จักรพรรดิหงอู่ทรงเกรงว่า การที่อำนาจการปกครองกระจุกอยู่ ณ อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง จะเป็นภัยร้ายแรงต่อราชบัลลังก์ ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1380 จึงรับสั่งให้ประหารอัครมหาเสนาบดีหู เหวย์ยง (胡惟庸) ด้วยข้อหากบฏ แล้วทรงยุบสำนักกับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี โดยให้เจ้ากระทรวงทั้งหกขึ้นตรงต่อพระองค์

แต่เพราะทรงต้องอาศัยความช่วยเหลือในทางธุรการ ใน ค.ศ. 1382 จักรพรรดิหงอู่จึงทรงเลือกราชบัณฑิตจากสำนักฮั่นหลิน (翰林院; สำนักป่าพู่กัน) มาเป็นต้าเซฺว่ชื่อ เพื่อถวายความช่วยเหลือในงานด้านเอกสาร โดยทรงส่งเขาเหล่านั้นไปประจำหน้าที่ยังสำนักงานต่าง ๆ ภายในวัง สำนักงานดังกล่าวจึงเรียกรวมกันว่า "เน่ย์เก๋อ" (ศาลาใน) ชื่อนี้ปรากฏการใช้งานตั้งแต่รัชสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (永樂帝)

นับแต่รัชกาลจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ (宣德帝) เป็นต้นมา เน่ย์เก๋อเริ่มมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ในช่วงนี้ ฎีกาทั้งหลายที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์จะต้องผ่านเน่ย์เก๋อก่อน เมื่อได้ฎีกาแล้ว เน่ย์เก๋อจะกลั่นกรอง แล้วลงมติตามสมควร ก่อนจะร่างหมายรับสั่งติดหน้าปกฎีกา แล้วถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการนี้เรียกว่า "ร่างหมาย" (票擬) ซึ่งทำให้เน่ย์เก๋อกลายเป็นสถาบันชั้นสูงสุดในการจัดทำนโยบายเหนือกระทรวงทั้งหกไปโดยปริยาย ทั้งส่งผลให้สมาชิกอาวุโสของเน่ย์เก๋อที่เรียก "โฉวฝู่" นั้นมีอำนาจเสมอเหมือนอัครมหาเสนาบดีแต่เก่าก่อน

ตำแหน่ง

ในราชวงศ์หมิง ข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็น 9 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็น 2 ขั้น: สูงสุด คือ ชั้น 1 ขั้น 1, ต่ำสุด คือ ชั้น 9 ขั้น 2 เช่น ขุนนางในกลุ่มซันกง (三公; "สามพระยา") อยู่ชั้น 1 ขั้น 1 ซึ่งเท่าเทียมอัครมหาเสนาบดี

ตามระบบนี้ สมาชิกเน่ย์เก๋ออยู่เพียงชั้น 5 ขั้น 1 ซึ่งนับว่าด้อยกว่าเสนาบดีที่ภายหลังยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแล้วมียศอยู่ตั้งแต่ชั้น 3 ขั้น 1 ไปจนถึงชั้น 2 ขั้น 1 ทว่า สมาชิกเน่ย์ก๋อมักควบตำแหน่งสูงอย่างอื่นด้วย เช่น เป็นเสนาบดีหรือรองเสนาบดีในกลุ่มจิ่วชิง (九卿; "เก้าขุน") หรือแม้กระทั่งเป็นไท่ชือ (太師) ซึ่งเป็นหนึ่งในซันกง เพราะฉะนั้น ตลอดสมัยราชวงศ์หมิง สมาชิกเน่ย์เก๋อจึงมักมีอาวุโสยิ่งกว่าข้าราชการพลเรือนอื่นทั้งสิ้นทั้งปวง

ดูเพิ่ม

  • จฺวินจีชู่ (軍機處; "สภาความลับทหาร"), หน่วยงานสูงสุดในการกำหนดนโยบายแผ่นดินสมัยราชวงศ์ชิง
  • ซันกง (三公; "สามพระยา"), ขุนนางชั้นสูงสุดสามตำแหน่งในการปกครองโบราณ
  • จิ่วชิง (九卿; "เก้าขุน"), ขุนนางผู้ใหญ่เก้าคนซึ่งรองจากซันกง
  • ยฺวี่ฉื่อไถ (御史台), ฝ่ายตรวจการ
  • จงชูเฉิ่ง (中書省), สำนักตรวจฎีกากลาง

อ้างอิง

เชิงอรรถ

  1. Hucker, 23.
  2. Hucker, 29.
  3. Qian, 675.
  4. Hucker, 27.
  5. Qian, 669-670.
  6. Qian, 671.
  7. Li, 108-109.
  8. Hucker, 11.
  9. Hucker, p. 17.
  10. Hucker, p. 32.
  11. Hucker, 30.

บรรณานุกรม

  • Li, Konghuai (2007). History of Administrative Systems in Ancient China (ภาษาจีน). Joint Publishing (H.K.) Co., Ltd. ISBN 978-962-04-2654-4.
  • Qian, Mu (1996). An Outline of the National History (ภาษาจีน). The Commercial Press. ISBN 7-100-01766-1.
  • Hucker, Charles O. (December 1958). "Governmental Organization of The Ming Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard-Yenching Institute. 21: 1–66. doi:10.2307/2718619. JSTOR 2718619.
  • Twitchett, Denis Crispin; John King Fairbank; และคณะ, บ.ก. (1988). The Cambridge History of China: The Ming dynasty, 1368-1644, Part 1. Cambridge University Press. pp. 358–69.

เน, เก, 內閣, นอ, nèigé, ศาลาใน, งกฤษ, grand, secretariat, เป, นองค, กรในระบบราชการของจ, กรวรรด, นช, วงราชวงศ, หม, งโดยน, ยแล, วเป, นหน, วยประสานงาน, แต, โดยพฤต, ยเป, นสถาบ, นส, งส, ดในการปกครอง, องค, กรน, เป, นร, ปเป, นร, างข, นเม, อจ, กรพรรด, หงอ, 洪武帝, ทรงยกเล. enyekx cin 內閣 phinxin Neige salain xngkvs Grand Secretariat epnxngkhkrinrabbrachkarkhxngckrwrrdicinchwngrachwngshming sungodynitinyaelwepnhnwyprasanngan aetodyphvtinyepnsthabnsungsudinkarpkkhrxng xngkhkrniepnrupepnrangkhunemuxckrphrrdihngxu 洪武帝 thrngykeliktaaehnngxkhrmhaesnabdi 丞相 in kh s 1380 aelwxngkhkrnikkhxy phthnaepnhnwyprasannganthimiprasiththiphaph misthanaehnuxhkkrathrwng 六部 1 smachikkhxngenyekxeriykwa taes wchux 大學士 prachymhasank Grand Secretary sungkahndihmihktaaehnng aetimekhymiphudarngtaaehnngkhrb 2 smachikxawuossuderiykknthwipwa ochwfu 首輔 prathanphuchwy Senior Grand Secretary odynitinyaelwsmachikthnghmdmkepnkharachkarchnklang taaehnngtakwaecakrathrwng aetephraamihnathiklnkrxngexksarthihnwynganrachkarthwaytxphramhakstriy thngmixanacrangrachhtthelkha smachikbangkhnkhxngenyekxcungxackhrxbngakarpkkhrxngiwidthngsin prahnungepnxkhrmhaesnabdiodyphvtiny 3 epnehtuihsphthphasacinwa enyekx nipccubnicheriykkhnarthmntri enuxha 1 phthnakar 2 taaehnng 3 duephim 4 xangxing 4 1 echingxrrth 4 2 brrnanukrmphthnakar aekikhtnrachwngshming karpkkhrxngnnichtamrabxbkhxngrachwngsy ehwiyn 大元 thitngsankxkhrmhaesnabdiiwprasanrahwangkrathrwnghlkthnghk sankdngklawmihwhnasxngkhn eriykwa xkhrmhaesnabdithngsxng khnhnungeriyk faysay xikkhnhnungeriyk faykhwa thahnathiphunahnwynganrachkarthwaephndin 4 aetckrphrrdihngxuthrngekrngwa karthixanackarpkkhrxngkracukxyu n xkhrmhaesnabdithngsxng caepnphyrayaerngtxrachbllngk chann in kh s 1380 cungrbsngihpraharxkhrmhaesnabdihu ehwyyng 胡惟庸 dwykhxhakbt aelwthrngyubsankkbtaaehnngxkhrmhaesnabdi odyihecakrathrwngthnghkkhuntrngtxphraxngkh 5 aetephraathrngtxngxasykhwamchwyehluxinthangthurkar in kh s 1382 ckrphrrdihngxucungthrngeluxkrachbnthitcaksankhnhlin 翰林院 sankpaphukn maepntaes wchux ephuxthwaykhwamchwyehluxinngandanexksar 2 odythrngsngekhaehlannippracahnathiyngsankngantang phayinwng sankngandngklawcungeriykrwmknwa enyekx salain chuxnipraktkarichngantngaetrchsmyckrphrrdihyngelx 永樂帝 6 nbaetrchkalckrphrrdies wiynetx 宣德帝 epntnma enyekxerimmixanaceddkhadmakkhun inchwngni dikathnghlaythithwaytxphramhakstriycatxngphanenyekxkxn emuxiddikaaelw enyekxcaklnkrxng aelwlngmtitamsmkhwr kxncaranghmayrbsngtidhnapkdika aelwthwaytxphramhakstriyephuxthrngwinicchyepnkhntxnsudthay krabwnkarnieriykwa ranghmay 票擬 sungthaihenyekxklayepnsthabnchnsungsudinkarcdthanoybayehnuxkrathrwngthnghkipodypriyay thngsngphlihsmachikxawuoskhxngenyekxthieriyk ochwfu nnmixanacesmxehmuxnxkhrmhaesnabdiaetekakxn 7 taaehnng aekikhinrachwngshming kharachkarphleruxnaebngepn 9 chn aetlachnaebngepn 2 khn sungsud khux chn 1 khn 1 tasud khux chn 9 khn 2 8 echn khunnanginklumsnkng 三公 samphraya xyuchn 1 khn 1 9 sungethaethiymxkhrmhaesnabdi 10 tamrabbni smachikenyekxxyuephiyngchn 5 khn 1 sungnbwadxykwaesnabdithiphayhlngyubtaaehnngxkhrmhaesnabdiaelwmiysxyutngaetchn 3 khn 1 ipcnthungchn 2 khn 1 thwa smachikenykxmkkhwbtaaehnngsungxyangxundwy echn epnesnabdihruxrxngesnabdiinklumciwching 九卿 ekakhun hruxaemkrathngepnithchux 太師 sungepnhnunginsnkng 11 ephraachann tlxdsmyrachwngshming smachikenyekxcungmkmixawuosyingkwakharachkarphleruxnxunthngsinthngpwng 11 duephim aekikhc wincichu 軍機處 sphakhwamlbthhar hnwyngansungsudinkarkahndnoybayaephndinsmyrachwngsching snkng 三公 samphraya khunnangchnsungsudsamtaaehnnginkarpkkhrxngobran ciwching 九卿 ekakhun khunnangphuihyekakhnsungrxngcaksnkng y wichuxith 御史台 faytrwckar cngchueching 中書省 sanktrwcdikaklangxangxing aekikhechingxrrth aekikh Hucker 23 2 0 2 1 Hucker 29 Qian 675 Hucker 27 Qian 669 670 Qian 671 Li 108 109 Hucker 11 Hucker p 17 Hucker p 32 11 0 11 1 Hucker 30 brrnanukrm aekikh Li Konghuai 2007 History of Administrative Systems in Ancient China phasacin Joint Publishing H K Co Ltd ISBN 978 962 04 2654 4 Qian Mu 1996 An Outline of the National History phasacin The Commercial Press ISBN 7 100 01766 1 Hucker Charles O December 1958 Governmental Organization of The Ming Dynasty Harvard Journal of Asiatic Studies Harvard Yenching Institute 21 1 66 doi 10 2307 2718619 JSTOR 2718619 Twitchett Denis Crispin John King Fairbank aelakhna b k 1988 The Cambridge History of China The Ming dynasty 1368 1644 Part 1 Cambridge University Press pp 358 69 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title enyekx amp oldid 8380542, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม