fbpx
วิกิพีเดีย

ศาสนาพุทธในประเทศพม่า

พุทธศาสนาในพม่าส่วนใหญ่เป็นนิกายเถรวาทมีผู้นับถือโดยประมาณ 89% ของประชากรภายในประเทศ เป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในแง่ของสัดส่วนพระสงฆ์ต่อประชากรและสัดส่วนของรายได้ที่ใช้ในศาสนา พบการนับถือมากในหมู่ ชาวพม่า, ชาน, ยะไข่, มอญ, กะเหรี่ยง, และชาวจีนในพม่า พระภิกษุสงฆ์เป็นที่เคารพบูชาทั่วไปของสังคมพม่า ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศพม่า ได้แก่ ชาวพม่า และ ชาน พุทธศาสนาเถรวาทมักเกี่ยวข้องกับการนับถือ นะ (วิญญาณ) และสามารถเข้าแทรกแซงกิจการทางโลกได้

พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 236 ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ ประเทศต่าง ๆ รวม 9 สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วยและชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม อาณาจักรมอญทางตอนใต้ของพม่า จากประวัติศาสตร์ทราบได้ว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าราวพุทธศตวรรษที่ 6 เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี และจารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ประวัติ

 
เจดีย์ชเวดากอง ถูกสร้างขึ้นในสมัยมอญเรืองอำนาจ

พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่ดินแดนประเทศพม่าในระยะแรก คือพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทหรือนิกายหินยานได้เข้าไปประดิษฐานที่เมืองสุธรรมบุรีหรือเมืองสะเทิม ซึ่งเป็นเมืองของชาวมอญทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนชาวพม่าตอนเหนือมีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง พงศาวดารมอญพม่าและตำนานพระพุทธศาสนาเถรวาทในพม่ากล่าวว่า พ่อค้าชาวมอญสองนายจากบริเวณพม่าตอนล่างได้เส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้านำมาประดิษฐานไว้ในวัดเล็กๆ วัดหนึ่ง ต่อมาเป็นที่สร้างเจดีย์พระเกศาธาตุหรือเจดีย์ชเวดากอง

ส่วนพระพุทธศาสนาลัทธิอาจริยวาทหรือนิกายมหายานได้เผยแผ่มาจากแคว้นเบงกอลและโอริศาของอินเดีย พระภิกษุมอญมีส่วนในการสร้างอาณาจักรพม่าในยุคแรก ดังที่หนังสือประวัติศาสตร์พม่าบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “ในพุทธศักราช 1587 (ค.ศ. 1044) พระเจ้าอนุรุทธะ (พระเจ้าอโนรธา) ขึ้นครองราชย์ที่กรุงพุกามซึ่งตั้งอยู่ตรงใต้จุดบรรจบของแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำซินต์ พระเจ้าอนุรุทธะไม่ทรงพอพระทัยในศาสนาที่ประชาชนนับถืออยู่ในขณะนั้นซึ่งเป็นศาสนาที่มีส่วนผสมปนเปของหลักพระพุทธศาสนานิกายมหายานกับความเกรงกลัวอำนาจธรรมชาติแบบพื้นเมือง ซึ่งพระองค์ไม่เห็นด้วย ในขณะนั้นพระภิกษุมอญรูปหนึ่งชื่อพระชินอรหันต์ได้เดินทางมายังอาณาจักรพุกาม ท่านเป็นผู้หนึ่งในหมู่ชนจำนวนน้อยที่ไม่นิยมรับความเชื่อแบบฮินดูที่เมืองสะเทิม ในเวลานั้นไม่นานนักพระชินอรหันต์ก็สามารถชักนำให้พระอนุรุทธะหันมานับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทได้”

เมื่อขึ้นครองราชย์ประชาชนมีความเชื่อหลากหลาย แต่สงบได้เพราะพุทธศาสนาดังที่อ้างไว้ว่าตอนที่พระเจ้าอโนรธายังมิได้ขึ้นครองบัลลังก์นั้น ในเมืองพุกามยังมีความเชื่อถืออันผิดๆ โดยเฉพาะความเชื่อแบบพวกอะยีกำลังครอบงำแผ่นดินพุกามอยู่ขณะนั้น เมื่อพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองบัลลังก์และทรงปรารถนาในศาสนาอันชอบ ในเพลาเดียวกันนั้นพระชินอรหันต์ได้เดินทางจาริกจากเมืองสะเทิมมาเผยแผ่ศาสนายังเมืองพุกาม จึงทรงขอร้องให้พระชินอรหันต์เผยแผ่ศาสนาในพุกาม ด้วยความช่วยเหลือของพระชินอรหันต์ พระเจ้าอโนรธาจึงสามารถกำจัดความเชื่อของเหล่าอะยีลงได้ พวกอะยีถูกจับสึกแล้วให้คนเหล่านั้นรับใช้ในงานอันควรแก่อาณาจักรต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ความเชื่อแบบอะยีจึงค่อยๆ หมดไปจากพุกาม พระเจ้าอโนรธาทำให้ประชาชนทั่วแผ่นดินพุกามหันมานับถือพุทธศาสนาและยังเป็นการรวมชาติโดยผนึกความเชื่อต่างๆ ให้เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ หากไม่มีความเชื่อใหม่คือพระพุทธศาสนาก็ยากที่จะรวมชาติได้ หลังรวบรวมดินแดนของชาวพม่าให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ พระเจ้าอโนรธายังได้จัดทัพไปตีได้เมืองสะเทิมของชาวมอญ พร้อมกับอันเชิญพระภิกษุสงฆ์ พระไตรปิฎก และพระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระคัมภีร์จากเมืองสะเทิมไปยังเมืองพุกาม พระเถระชาวมอญซึ่งชำนาญในคัมภีร์ได้ช่วยพระชินอรหันต์เป็นอย่างมากในการเผยแพร่พุทธศาสนาให้เป็นที่แพร่หลาย นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธามังช่อยังได้ทรงส่งสมณทูตไปติดต่อกับลังกา และเชิญไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังกามาด้วย พระเจ้าอโนรธามิได้สร้างพระเจดีย์เฉพาะในพุกามแต่ยังทรงสร้างเจดีย์ในทุกที่ที่เสด็จไปถึง ในบรรดาเจดีย์เหล่านี้เจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดคือ เจดีย์ชเวซีโกน

ในการที่จะให้พุทธศาสนาแพร่หลาย พระเจ้าอโนรธายังทรงให้มีการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกกันในวัด พุทธศาสนาที่พระเจ้าอโนรธาได้ทรงอุปถัมภ์นั้นยังมั่นคงมาได้จวบจนปัจจุบัน การนำพุทธศาสนาจากแผ่นดินของชาวมอญสู่พุกามนั้น พม่ายกย่องพระชินอรหันต์ภิกษุมอญเป็นดุจผู้ส่องไฟนำทาง พระเจ้าอโนรธาเป็นดุจผู้หว่านเมล็ดแห่งพุทธศาสนาบนดินแดนพม่า ส่วนเหล่าอะยีนั้นถูกตีตราให้เป็นพวกมิจฉาทิฐิโดยประมาณว่าเป็นกลุ่มนักบวชที่แผ่อิทธิพลเหนือชาวบ้านด้วยการเอานรกมาขู่ ยกสวรรค์มาอ้าง และหากินกับลาภสักการระ การนำพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาสู่อาณาจักรของชาวพม่านั่นจึงถือเป็นการทำลายอำนาจมืดจากความเชื่อผิดๆ ภาพของพระเจ้าอโนรธาในแบบเรียนจึงเป็นภาพปฏิวัติทางความคิดเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมของชาวพุทธพม่า

ทุกหนทุกแห่งที่พระเจ้าอนุรทธะทรงได้ชัยชนะในการสงคราม แทนที่พระองค์จะสร้างเสาหินแห่งชัยชนะไว้ กลับสร้างอิฐจารึกบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีหรือสันสกฤต และพระนามาภิไธยเป็นภาษาสันสกฤต และทำให้พุกามกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษานิกายเถรวาท

ความมั่งคั่งในอาณาจักรพุกามทำให้มีการสร้างวัดนับไม่ถ้วนในพุกาม และยังมีปรากฏให้เห็นในปัจจุบันประมาณห้าพันวัด ส่วนเจดีย์ในพุกามมีสองประเภทใหญ่ๆ คือแบบสถูปตันและแบบกลวงกลมหรือถ้ำจำลอง เจดีย์อันดับแรกคือเจดีย์ชเวซีโกนของพระเจ้าอนุรทธะมีลักษณะเป็นรูปปิรามิด มีฉัตรทองกั้นอีกชั้นหนึ่ง ทั้งเจดีย์ปิดทองมีมณีมีค่าประดับฉัตรบนยอดเจดีย์

หลังยุคพระเจ้าอโนรธามังช่อเป็นต้นมา กษัตริย์ของพม่าองค์ต่อๆ มาทรงให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ดังที่หม่องอ่องกล่าวว่า “พระเจ้ามินดงทรงโปรดให้จารึกพระไตรปิฎกทั้งชุด รวมทั้งคำอธิบายลงบนแผ่นหินกว่า 5,000 แผ่น และทรงสนับสนุนพระสงฆ์ผู้เคร่งวินัยให้อพยพไปพม่าตอนล่าง” พระภิกษุบางรูปเคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นกษัตริย์ครองราชย์บัลลังก์ ดังเช่นเรื่องของ พระธรรมเจดีย์ กษัตริย์สมัยอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ เมื่อพระนางเชงสอบู ทรงเลือกบาตรใหญ่สองใบ ใบหนึ่งบรรจุอาหารที่จัดสรรอย่างวิเศษ และอีกใบหนึ่งใส่เครื่องราชอิสริยยศ พระนางก็ทรงนิมนต์พระภิกษุทั้งสอง คือพระธรรมเจดีย์บุตรบุญธรรมและพระธรรมปาละ มาบิณฑบาตในท้องพระโรงต่อหน้าข้าราชสำนักที่แต่งเต็มยศอย่างงดงามตระการตายิ่ง เมื่อพระทั้งสองรูปมาถึงและให้เลือกบาตรคนละใบ พระธรรมเจดีย์เลือกได้บาตรที่ใส่เครื่องราชอิสริยยศและได้รับเลือกเป็นกษัตริย์จึงต้องสึก เพื่ออภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระนางเชงสอบูและรับราชบัลลังก์ (ค.ศ. 1472)

 
มณฑปครอบพระไตรปิฎกซึ่งจำรึกลงบนแผ่นหินอ่อน ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามินดง บริเวณวัดกุโสดอว์

ในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมเจดีย์ กษัตริย์สมัยอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญทางตอนใต้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงพระราชดำริว่าพระพุทธศาสนาในดินแดนมอญขณะนั้นเสื่อมลงมาก จึงโปรดให้มีการชำระปฏิรูปพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์โดยทรงให้ภิกษุทุกรูปในดินแดนมอญลาสิกขา และรับการอุปสมบทใหม่จากพระอุปัชฌาย์และพระอันดับที่ล้วนได้รับการอุปสมบทจากลังกาเป็นผู้ให้อุปสมบท แต่หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาในประเทศพม่าก็เสื่อมลงอีก สาเหตุทั้งเนื่องจากสงครามระว่างพม่าด้วยกันเอง และสงครามระหว่างพม่ากับมอญ กระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. 2300 เมื่อพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าได้ยกทัพไปทำลายกรุงหงสาวดีอย่างราบคาบ ทำให้ชนชาติมอญสูญสิ้นอำนาจลงอย่างเด็ดขาด หลังสงครามพระพุทธศาสนาในพม่าได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยพระเจ้ามินดง (พ.ศ. 2395–2420) พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่าระหว่าง พ.ศ. 2411–2414 ณ เมืองมัณฑะเลย์ และโปรดเกล้า ฯ ให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อนแล้วทำมณฑปครอบไว้ ซึ่งยังปรากฏอยู่ที่วัดกุโสดอว์เชิงเขามัณฑะเลย์จนถึงทุกวันนี้ ปี พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างลง จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบกระเทือนตามไปด้วย แต่ถึงกระนั้นประชาชนในพม่าก็ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นตลอดมา จนเมื่อพม่าได้รับเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2591 ฯพณฯ อู นุ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก เมื่อ พ.ศ. 2493 และต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในปี พ.ศ. 2500 ในปัจจุบันมีพระพุทธศาสนาที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลพม่า จำนวน 9 นิกาย เช่น นิกายสุธรรมมา เป็นต้น

หม่องทินอ่อน นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า “พระเจ้าอโศกทรงส่งสมณทูตไปยังดินแดนที่ห่างไกลหลายแห่งด้วยกัน สมณทูตคณะหนึ่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนในสุวรรณภูมิ เมืองหลวงของสุวรรณภูมิคือเมืองสะเทิม (Thaton) ในพม่าตอนล่าง ในขณะที่ประวัติศาสตร์ไทยเชื่อกันว่าจุดศูนย์กลางของสุวรรณภูมิอยู่ที่นครปฐมโดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่นพระปฐมเจดีย์

นักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านมีความเชื่อสอดคล้องกับนักประวัติศาสตร์พม่าโดยได้บันทึกไว้ว่า “พระเจ้าอโศกได้ส่งสมณทูตเก้าสายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาพระโสณะและพระอุตระไปสุวรรณภูมิคือบริเวณเมืองสะเทิมของมอญและเมืองไทยตลอดจนแหลมมลายู ในคัมภีร์มหาวงศ์ของลังการะบุว่าดินแดนสุวรรณภูมิอยู่ห่างจากลังกา 700 โยชน์”

จากประวัติศาสตร์บางตอนพบว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าในราวพุทธศตวรรษที่ 6 เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อว่า ตารนาถ เสนอว่าพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้ามาสู่พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้มีพระสงฆ์ฝ่ายมหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิตันตระ เข้าไปเผยแผ่ ในครั้งนั้นพม่ามีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง มีชื่อเรียกชาวพม่าว่า "มรัมมะ" ส่วนชาวมอญ ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ "สะเทิม" และถิ่นใกล้เคียงรวมๆ เรียกว่า รามัญประเทศ หรือ อาณาจักรสุธรรมวดี จนพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่เข้ามาก่อนและแบบมหายานที่เข้ามาทีหลังเจริญรุ่งเรืองในพม่าเป็นเวลาหลายร้อยปี

การศึกษาพระปริยัติธรรมในพม่า

 
การสอบของพระภิกษุในเมืองพะโค

การศึกษาพระปริยัติธรรมในพม่านั้น สมัยพระเจ้ามินดงมีการสอบพระปริยัติธรรมวิชาที่สอบแบ่งเป็นสี่ชั้นคือ

  • ชั้นต้น ต้องสอบท่องคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์ ข กัณฑ์ ด้วยปากเปล่า อภิธานนัปปทีปิกา 1203 คาถา วุตโตทัยฉันโทปกรณ์ สุโพธาลังการอภิธรรมมัตถสังคหะ 9 ปริจเฉท มาติกา ธาตุกถา 14 นัย ยมก 5
  • ชั้นกลาง สอบท่องปากเปล่าคัมภีร์ในชั้นต้นทั้งหมดโดยเพิ่มยมกเป็น 10 ยมก
  • ชั้นสูง สอบแบบชั้นกลางแต่เพิ่มคัมภีร์ปัฏฐานแต่ต้นจนจบกุสลติกะ
  • ชั้นสูงสุด จะต้องสอบแข่งขันกันทั้งหมดเพื่อให้ได้ที่หนึ่งเพียงรูปเดียว จากนั้นพระเจ้ามินดงจะทรงอุปถัมภ์เป็นพระราชบุตรบิดามารดาพร้อมทั้งญาติถึง 15 ชั้น ได้รับการงดเว้นภาษีทุกด้าน

ในงานวิจัยของโรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์ อ้างว่า “ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทรงใช้วิธีการสอนแบบสงฆ์ที่เรียกว่า “พระธรรมพยาน” ซึ่งมีวัตถุประสงฆ์เพื่อทดสอบความสามารถของพระสงฆ์ มาทดสอบความเหมาะสมในการเข้าดำรงตำแหน่งราชการ การสอบของพระสงฆ์จึงเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือจนกษัตริย์ต้องนำเอาวิธีการสอบไปใช้

การสังคายนาพระไตรปิฎกในพม่า

 
มหาวิทยาลัยปริยัติศาสนา ในมัณฑะเลย์ ดำเนินการโดยกระทรวงการศาสนาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

ประเทศพม่ามีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกสิบครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำร่วมกันของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ดังหลักฐานบันทึกไว้ว่า “ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในพม่าร่วมกัน คือการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อ พ.ศ. 2414 เป็นการสังคายนาครั้งแรกในพม่า แต่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ 5 ต่อจากจารึกลงในใบลานของลังกา สังคายนาครั้งนี้ มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นหินอ่อน 429 แผ่น ณ เมืองมัณฑะเลย์ ด้วยการอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง มีพระมหาเถระ 3 รูป คือพระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิธชะ และพระสุมังคลสามี ได้พลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานโดยลำดับ มีพระสงฆ์และพระอาจารย์ผู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมร่วมประชุม 2,400 ท่าน กระทำอยู่ 5 เดือน จึงสำเร็จ

ส่วนการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ในพม่าหรือที่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ 6 ที่เรียกว่าฉัฎฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นอันปิดงาน ในการปิดงานได้กระทำร่วมกับการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (การนับปีเร็วกว่าไทย 1 ปี จึงเริ่มเท่ากับ พ.ศ. 2498 ปิด พ.ศ. 2500 ตามที่พม่านับ) การทำสังคายนาครั้งนี้มุ่งพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นข้อแรกแล้วจะจัดพิมพ์อรรถกถา (คำอธิบายพระไตรปิฎก) และคำแปลเป็นภาษาพม่าโดยลำดับ มีการโฆษณาเชิญชวนพุทธศาสนิกชนหลายประเทศไปร่วมพิธีด้วย โดยเฉพาะประเทศเถรวาท คือ พม่า ลังกา ไทย ลาว เขมร ทั้งห้าประเทศนี้ สำคัญสำหรับการทำสังคายนาครั้งนี้มากเพราะใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีอย่างเดียวกัน จึงได้มีสมัยการประชุมซึ่งประมุขหรือผู้แทนของประเทศนี้เป็นหัวหน้า เช่นเป็นสมัยของไทย สมัยของลังกา เป็นต้น ได้มีการก่อสร้างคูหาจำลองทำด้วยคอนกรีต จุคนได้หลายพันคน มีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ไม่น้อยกว่า 2,500 ที่ บริเวณที่ก่อสร้างประมาณ 200 ไร่เศษ เมื่อเสร็จแล้วได้แจกจ่ายพระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าไปให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

พระพุทธศาสนาในพม่ามีความเกี่ยวพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การเจริญหรือเสื่อมของคณะสงฆ์ก็ย่อมมีส่วนกับสถาบันกษัตริย์ด้วย ดังนั้นกษัตริย์จึงมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือการปฏิรูปสถาบันสงฆ์ ดังที่มีการบรรยายถึงการปฏิรูปสถาบันสงฆ์ไว้ว่า “กษัตริย์พม่าได้ทรงริเริ่มการปฏิรูปศาสนา หรือการชำระสถาบันสงฆ์ให้บริสุทธิ์ เพื่อจะได้ยึดทรัพย์สมบัติของทางสงฆ์มาให้เป็นที่ยอมรับทั้งทางกฎหมายและสังคม สังฆะที่ร่ำรวยย่อมหมายถึงว่าพระสงฆ์ไม่ได้ดำเนินชีวิตตามกฎของพระวินัย ดังนั้นการปฏิรูปจึงนับว่าถูกต้องชอบธรรมตามอุดมการณ์ การปฏิรูปศาสนาส่งผลทางวัตถุให้ขนาดของสังฆะลดลงทางด้านอุดมการณ์เท่ากับว่าทำให้พระศาสนาบริสุทธิ์ขึ้น เมื่อสังฆะบริสุทธิ์ขึ้นประชาชนต่างก็จะมาทำบุญเพิ่มขึ้น เพราะบุญที่บุคคลจะได้ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของพระที่บุคคลนั้นนับถือ สังฆะเองก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณเพิ่มขึ้น เพราะโดยหลักการถือว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้ทรงปกป้องและอุปถัมภ์ค้ำจุนพระศาสนา ถ้าประชาชนและพระมหากษัตริย์ไม่ได้หันมาอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา สุดท้ายจะนำกลับไปสู่ลัทธิเจ้าของที่ดินของวัดและรัฐก็ต้องเข้ามาจัดการปฏิรูปสังฆะใหม่หมุนเวียนไปไม่รู้จบ

พระพุทธศาสนาเถรวาทกับประเทศพม่ามีความผูกพันกันมาอย่างยาวนานต้องพานพบกับความเสื่อมและความเจริญ แต่ก็สามารถอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของพม่าเรื่อยมา มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนมีการศึกษาพระพุทธศาสนามาโดยตลอด แม้ว่าปัจจุบันพม่าจะไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนในอดีต คณะสงฆ์พม่าก็ยังมีอิทธิพลสำหรับประชาชน ดังจะเห็นได้จากการเป็นผู้นำในการเดินขบวนเรียกร้องความเป็นธรรมจากอำนาจรัฐ คณะสงฆ์พม่ายังได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทจากทั่วโลก ดังเช่นในปีพุทธศักราช 2550 ได้มีการก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติขึ้น และได้ประชุมครั้งแรกระหว่างช่วงวันที่ 9–11 มีนาคม 2550 ที่เมืองย่างกุ้ง และประชุมที่เมืองสะกายเป็นครั้งที่สอง

อ้างอิง

  1. "The World Factbook".
  2. "Burma—International Religious Freedom Report 2009". U.S. Department of State. 26 October 2009. สืบค้นเมื่อ 11 November 2009.
  3. Cone & Gombrich, Perfect Generosity of Prince Vessantara, Oxford University Press, 1977, page xxii
  4. (หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า,หน้า 6)
  5. (หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า, หน้า 32)
  6. (วิรัช นิยมธรรม,ประวัติศาสตร์พม่า)
  7. (หม่องทินอ่อน,ประวัติศาสตร์พม่า,หน้า 37)
  8. (หม่องทินอ่อน,ประวัติศาสตร์พม่า,หน้า 57)
  9. (หม่องทินอ่อน,ประวัติศาสตร์พม่า,หน้า 244)
  10. (หม่องทินอ่อง,หน้า 100)
  11. พระปลัดระพิน พุทธิสาโร (เขียนร่วม). พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า : นิกาย การปกครอง และสมณศักดิ์-Buddhism in Myanmar : Sect, Controlling, and Priest’s Ranks. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ . ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) เมษายน – มิถุนายน 2561 Vol.7 No.2 (Special Issue) April- June 2017
  12. (สุชาติ หงษา ดร.,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,กรุงเทพ: ธรรมสภา,2549,หน้า 74)
  13. (อาทร จันทวิมล ดร., ประวัติของแผ่นดิน,กรุงเทพ : โรงพิมพ์อักษรไทย,2548,หน้า 55)
  14. (วิรัช นิยมธรรม,ประวัติพระพุทธศาสนาในพม่า )
  15. (พระธัมมานันทมหาเถระ,การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า,กรุงเทพ ฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : 2534 ,หน้า 264 )
  16. ( โรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์ ( พรรณงาม เง่าธรรมสาร แปล ), รัฐในพม่า ,มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ,2550 หน้า 42)
  17. (สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน,กรุงเทพฯ : , มหามกุฎราชวิทยาลัย ,2539,หน้า 11)
  18. (สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ,หน้า 12)
  19. (โรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์ (พรรณงาม เง่าธรรมสาร แปล ), รัฐในพม่า ,มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย,2550,หน้า 70)

อ่านเพิ่ม

  • Aung-Thwin, Michael (1985). Pagan: The Origins of Modern Burma, University of Hawaii Press, Honolulu, ISBN 0824809602
  • Bischoff, Roger (1995). Buddhism in Myanmar-A Short History, Kandy, Sri Lanka: Buddhist Publication Society. ISBN 955-24-0127-5
  • Charney, Michael W. (2006). Powerful Learning. Buddhist Literati and the Throne in Burma's Last Dynasty, 1752-1885. Ann Arbor: The University of Michigan. (Description)
  • . DVB Multimedia Group. 1947. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 15 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2006. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  • Ferguson, J.P. & Mendelson, E.M. (1981). "Masters of the Buddhist Occult: The Burmese Weikzas". Contributions to Asian Studies 16, pp. 62–88.
  • Hlaing, Maung Myint (August 1981). The Great Disciples of Buddha. Zeyar Hlaing Literature House. pp. 66–68.
  • Matthews, Bruce "The Legacy of Tradition and Authority: Buddhism and the Nation in Myanmar", in: Ian Harris (ed.), Buddhism and Politics in Twentieth-Century Asia. Continuum, London/New York 1999, pp. 26–53.
  • Pranke, Patrick (1995), "On Becoming a Buddhist Wizard," in: Buddhism in Practice, ed. Donald S. Lopez, Jr., Princeton: Princeton University Press, ISBN 978-8121508322

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Nibbana.com - Books and Articles by Myanmar Monks and Scholars for English-speaking Readers
  • Buddhism in Myanmar BuddhaNet
  • Buddhism in Myanmar G Appleton 1943
  • Saddhamma Foundation Information about practising Buddhist meditation in Burma.
  • The Life of the Buddha in 80 Scenes from the Ananda Temple,Bagan,Myanmar
  • Buddha's Irresistible Maroon Army Dr Michael W Charney, SOAS, TIMESONLINE, 14 December 2007
  • MyanmarNet Myanmar Yadanar Dhamma Section: Dhamma Video Talks in English or Myanmar by Venerable Myanmar Monks

ศาสนาพ, ทธในประเทศพม, ทธศาสนาในพม, าส, วนใหญ, เป, นน, กายเถรวาทม, บถ, อโดยประมาณ, ของประชากรภายในประเทศ, เป, นประเทศท, บถ, อศาสนาพ, ทธมากท, ดในแง, ของส, ดส, วนพระสงฆ, อประชากรและส, ดส, วนของรายได, ใช, ในศาสนา, พบการน, บถ, อมากในหม, ชาวพม, ชาน, ยะไข, มอญ, กะเหร. phuththsasnainphmaswnihyepnnikayethrwathmiphunbthuxodypraman 89 khxngprachakrphayinpraeths 1 2 epnpraethsthinbthuxsasnaphuththmakthisudinaengkhxngsdswnphrasngkhtxprachakraelasdswnkhxngrayidthiichinsasna 3 phbkarnbthuxmakinhmu chawphma chan yaikh mxy kaehriyng aelachawcininphma phraphiksusngkhepnthiekharphbuchathwipkhxngsngkhmphma inbrrdaklumchatiphnthutanginpraethsphma idaek chawphma aela chan phuththsasnaethrwathmkekiywkhxngkbkarnbthux na wiyyan aelasamarthekhaaethrkaesngkickarthangolkidphuththsasnaekhamasupraethsphma emuxkhrawthiphraecaxoskmharachaehngxinediy idxupthmphkarsngkhaynakhrngthi 3 emux ph s 236 idmikarsngphrasmnthutipephyaephphraphuththsasnainaethbsuwrrnphumi praethstang rwm 9 saydwykn phmakxyuinswnkhxngsuwrrnphumidwyaelachawphmayngechuxwa suwrrnphumi misunyklangxyuthi emuxngsaethim xanackrmxythangtxnitkhxngphma cakprawtisastrthrabidwa phuththsasnaidecriyrungeruxnginphmarawphuththstwrrsthi 6 ephraaidphbhlkthanepnkhacarukphasabali aelacarukekiywkbphraphuththsasna enuxha 1 prawti 2 karsuksaphrapriytithrrminphma 3 karsngkhaynaphraitrpidkinphma 4 xangxing 5 xanephim 6 aehlngkhxmulxunprawti aekikh ecdiychewdakxng thuksrangkhuninsmymxyeruxngxanac phraphuththsasnathiephyaephekhasudinaednpraethsphmainrayaaerk khuxphraphuththsasnalththiethrwathhruxnikayhinyanidekhaippradisthanthiemuxngsuthrrmburihruxemuxngsaethim sungepnemuxngkhxngchawmxythangtxnitkhxngpraeths swnchawphmatxnehnuxmiemuxngphukamepnemuxnghlwng phngsawdarmxyphmaaelatananphraphuththsasnaethrwathinphmaklawwa phxkhachawmxysxngnaycakbriewnphmatxnlangidesnphraeksakhxngphraphuththecanamapradisthaniwinwdelk wdhnung txmaepnthisrangecdiyphraeksathatuhruxecdiychewdakxng 4 swnphraphuththsasnalththixacriywathhruxnikaymhayanidephyaephmacakaekhwnebngkxlaelaoxrisakhxngxinediy phraphiksumxymiswninkarsrangxanackrphmainyukhaerk dngthihnngsuxprawtisastrphmabnthukiwtxnhnungwa inphuththskrach 1587 kh s 1044 phraecaxnuruththa phraecaxonrtha khunkhrxngrachythikrungphukamsungtngxyutrngitcudbrrcbkhxngaemnaxirwdikbaemnasint phraecaxnuruththaimthrngphxphrathyinsasnathiprachachnnbthuxxyuinkhnannsungepnsasnathimiswnphsmpnepkhxnghlkphraphuththsasnanikaymhayankbkhwamekrngklwxanacthrrmchatiaebbphunemuxng sungphraxngkhimehndwy inkhnannphraphiksumxyruphnungchuxphrachinxrhntidedinthangmayngxanackrphukam thanepnphuhnunginhmuchncanwnnxythiimniymrbkhwamechuxaebbhinduthiemuxngsaethim inewlannimnannkphrachinxrhntksamarthchknaihphraxnuruththahnmanbthuxphraphuththsasnaethrwathid 5 ecdiychewsiokn thuksrangkhuninsmyphraecaxonrthamngchx emuxkhunkhrxngrachyprachachnmikhwamechuxhlakhlay aetsngbidephraaphuththsasnadngthixangiwwatxnthiphraecaxonrthayngmiidkhunkhrxngbllngknn inemuxngphukamyngmikhwamechuxthuxxnphid odyechphaakhwamechuxaebbphwkxayikalngkhrxbngaaephndinphukamxyukhnann emuxphraecaxonrthakhunkhrxngbllngkaelathrngprarthnainsasnaxnchxb inephlaediywknnnphrachinxrhntidedinthangcarikcakemuxngsaethimmaephyaephsasnayngemuxngphukam cungthrngkhxrxngihphrachinxrhntephyaephsasnainphukam dwykhwamchwyehluxkhxngphrachinxrhnt phraecaxonrthacungsamarthkacdkhwamechuxkhxngehlaxayilngid phwkxayithukcbsukaelwihkhnehlannrbichinnganxnkhwraekxanackrtxip dwyehtuphlnikhwamechuxaebbxayicungkhxy hmdipcakphukam phraecaxonrthathaihprachachnthwaephndinphukamhnmanbthuxphuththsasnaaelayngepnkarrwmchatiodyphnukkhwamechuxtang ihekhaepnxnhnungxnediywknid hakimmikhwamechuxihmkhuxphraphuththsasnakyakthicarwmchatiid hlngrwbrwmdinaednkhxngchawphmaihepnpukaephnidsaerc phraecaxonrthayngidcdthphiptiidemuxngsaethimkhxngchawmxy phrxmkbxnechiyphraphiksusngkh phraitrpidk aelaphraethraphuechiywchayinphrakhmphircakemuxngsaethimipyngemuxngphukam phraethrachawmxysungchanayinkhmphiridchwyphrachinxrhntepnxyangmakinkarephyaephrphuththsasnaihepnthiaephrhlay nxkcakniphraecaxonrthamngchxyngidthrngsngsmnthutiptidtxkblngka aelaechiyitrpidkchbbsmburnmacaklngkamadwy phraecaxonrthamiidsrangphraecdiyechphaainphukamaetyngthrngsrangecdiyinthukthithiesdcipthung inbrrdaecdiyehlaniecdiythioddednthisudkhux ecdiychewsiokninkarthicaihphuththsasnaaephrhlay phraecaxonrthayngthrngihmikarsuksaelaeriynphraitrpidkkninwd phuththsasnathiphraecaxonrthaidthrngxupthmphnnyngmnkhngmaidcwbcnpccubn karnaphuththsasnacakaephndinkhxngchawmxysuphukamnn phmaykyxngphrachinxrhntphiksumxyepnducphusxngifnathang phraecaxonrthaepnducphuhwanemldaehngphuththsasnabndinaednphma swnehlaxayinnthuktitraihepnphwkmicchathithiodypramanwaepnklumnkbwchthiaephxiththiphlehnuxchawbandwykarexanrkmakhu ykswrrkhmaxang aelahakinkblaphskkarra karnaphuththsasnafayethrwathmasuxanackrkhxngchawphmanncungthuxepnkarthalayxanacmudcakkhwamechuxphid phaphkhxngphraecaxonrthainaebberiyncungepnphaphptiwtithangkhwamkhidephuximihepnxupsrrkhtxkarphthnasngkhmkhxngchawphuththphma 6 thukhnthukaehngthiphraecaxnurththathrngidchychnainkarsngkhram aethnthiphraxngkhcasrangesahinaehngchychnaiw klbsrangxithcarukbthswdmntinphraphuththsasnaepnphasabalihruxsnskvt aelaphranamaphiithyepnphasasnskvt aelathaihphukamklayepnsunyklangkarsuksanikayethrwath 7 khwammngkhnginxanackrphukamthaihmikarsrangwdnbimthwninphukam aelayngmipraktihehninpccubnpramanhaphnwd swnecdiyinphukammisxngpraephthihy khuxaebbsthuptnaelaaebbklwngklmhruxthacalxng ecdiyxndbaerkkhuxecdiychewsioknkhxngphraecaxnurththamilksnaepnruppiramid michtrthxngknxikchnhnung thngecdiypidthxngmimnimikhapradbchtrbnyxdecdiy 8 hlngyukhphraecaxonrthamngchxepntnma kstriykhxngphmaxngkhtx mathrngihkhwamsakhytxphraphuththsasna dngthihmxngxxngklawwa phraecamindngthrngoprdihcarukphraitrpidkthngchud rwmthngkhaxthibaylngbnaephnhinkwa 5 000 aephn aelathrngsnbsnunphrasngkhphuekhrngwinyihxphyphipphmatxnlang 9 phraphiksubangrupekhyidrbkarkhdeluxkihepnkstriykhrxngrachybllngk dngechneruxngkhxng phrathrrmecdiy kstriysmyxanackrhngsawdikhxngchawmxy emuxphranangechngsxbu thrngeluxkbatrihysxngib ibhnungbrrcuxaharthicdsrrxyangwiess aelaxikibhnungisekhruxngrachxisriyys phranangkthrngnimntphraphiksuthngsxng khuxphrathrrmecdiybutrbuythrrmaelaphrathrrmpala mabinthbatinthxngphraorngtxhnakharachsankthiaetngetmysxyangngdngamtrakartaying emuxphrathngsxngrupmathungaelaiheluxkbatrkhnlaib phrathrrmecdiyeluxkidbatrthiisekhruxngrachxisriyysaelaidrbeluxkepnkstriycungtxngsuk ephuxxphiesksmrskbphrathidakhxngphranangechngsxbuaelarbrachbllngk kh s 1472 10 mnthpkhrxbphraitrpidksungcaruklngbnaephnhinxxn thuksrangkhuninsmyphraecamindng briewnwdkuosdxw inrchsmykhxngphraecathrrmecdiy kstriysmyxanackrhngsawdikhxngchawmxythangtxnitkhunkhrxngrachy phraxngkhidthrngphrarachdariwaphraphuththsasnaindinaednmxykhnannesuxmlngmak cungoprdihmikarcharaptirupphraphuththsasnaihbrisuththiodythrngihphiksuthukrupindinaednmxylasikkha aelarbkarxupsmbthihmcakphraxupchchayaelaphraxndbthilwnidrbkarxupsmbthcaklngkaepnphuihxupsmbth aethlngcaknnphraphuththsasnainpraethsphmakesuxmlngxik saehtuthngenuxngcaksngkhramrawangphmadwyknexng aelasngkhramrahwangphmakbmxy krathngthungpraman ph s 2300 emuxphraecaxlxngphya kstriyphmaidykthphipthalaykrunghngsawdixyangrabkhab thaihchnchatimxysuysinxanaclngxyangeddkhad hlngsngkhramphraphuththsasnainphmaidrbkarthanubarungcnecriyrungeruxngkhunxikkhrnghnung insmyphraecamindng ph s 2395 2420 phraxngkhidthrngxupthmphkarthasngkhaynaphraitrpidkthiphmarahwang ph s 2411 2414 n emuxngmnthaely aelaoprdekla ihcarukphraitrpidklngbnaephnhinxxnaelwthamnthpkhrxbiw sungyngpraktxyuthiwdkuosdxwechingekhamnthaelycnthungthukwnni pi ph s 2429 phmatkepnemuxngkhunkhxngxngkvssthabnphramhakstriythuklmlanglng cungsngphlihphraphuththsasnaidrbphlkrathbkraethuxntamipdwy aetthungkrannprachachninphmakyngkhngeluxmissrththainphraphuththsasnaxyangaenbaenntlxdma cnemuxphmaidrbexkrach emux ph s 2591 phn xu nu idepnnaykrthmntri idmikarthasngkhaynaphraitrpidk emux ph s 2493 aelatxmarthbalidxxkkdhmayrbrxngihphraphuththsasnaepnsasnapracachati inpi ph s 2500 inpccubnmiphraphuththsasnathiidrbkarrbrxngodyrthbalphma canwn 9 nikay echn nikaysuthrrmma epntn 11 hmxngthinxxn nkprawtisastrbnthukiwwa phraecaxoskthrngsngsmnthutipyngdinaednthihangiklhlayaehngdwykn smnthutkhnahnungipephyaephphraphuththsasnaihaekprachachninsuwrrnphumi emuxnghlwngkhxngsuwrrnphumikhuxemuxngsaethim Thaton inphmatxnlang inkhnathiprawtisastrithyechuxknwacudsunyklangkhxngsuwrrnphumixyuthinkhrpthmodymiobransthanaelaobranwtthutang echnphrapthmecdiy 12 nkprawtisastrithybangthanmikhwamechuxsxdkhlxngkbnkprawtisastrphmaodyidbnthukiwwa phraecaxoskidsngsmnthutekasayipephyaephphraphuththsasnaphraosnaaelaphraxutraipsuwrrnphumikhuxbriewnemuxngsaethimkhxngmxyaelaemuxngithytlxdcnaehlmmlayu inkhmphirmhawngskhxnglngkarabuwadinaednsuwrrnphumixyuhangcaklngka 700 oychn 13 cakprawtisastrbangtxnphbwa phuththsasnaidecriyrungeruxnginphmainrawphuththstwrrsthi 6 ephraaidphbhlkthanepnkhacarukphasabali nkprawtisastrthanhnungchuxwa tarnath esnxwaphraphuththsasnaaebbethrwathidekhamasuphma tngaetsmyphraecaxoskmharach txmaidmiphrasngkhfaymhayansungepnsisykhxngphrawsuphnthu idnaexaphraphuththsasnaaebbmhayanlththitntra ekhaipephyaeph inkhrngnnphmamiemuxngphukamepnemuxnghlwng michuxeriykchawphmawa mrmma swnchawmxy sungmiemuxnghlwngchux saethim aelathiniklekhiyngrwm eriykwa ramypraeths hrux xanackrsuthrrmwdi cnphraphuththsasnathngaebbethrwaththiekhamakxnaelaaebbmhayanthiekhamathihlngecriyrungeruxnginphmaepnewlahlayrxypi 14 karsuksaphrapriytithrrminphma aekikh karsxbkhxngphraphiksuinemuxngphaokh karsuksaphrapriytithrrminphmann smyphraecamindngmikarsxbphrapriytithrrmwichathisxbaebngepnsichnkhux chntn txngsxbthxngkhmphirkccayniwyakrn kh knth dwypakepla xphithannppthipika 1203 khatha wutotthychnothpkrn suophthalngkarxphithrrmmtthsngkhha 9 pricechth matika thatuktha 14 ny ymk 5chnklang sxbthxngpakeplakhmphirinchntnthnghmdodyephimymkepn 10 ymkchnsung sxbaebbchnklangaetephimkhmphirptthanaettncncbkusltikachnsungsud catxngsxbaekhngkhnknthnghmdephuxihidthihnungephiyngrupediyw caknnphraecamindngcathrngxupthmphepnphrarachbutrbidamardaphrxmthngyatithung 15 chn idrbkarngdewnphasithukdan 15 innganwicykhxngorebirt exch ethyelxr xangwa pramanklangkhriststwrrsthi 19 thrngichwithikarsxnaebbsngkhthieriykwa phrathrrmphyan sungmiwtthuprasngkhephuxthdsxbkhwamsamarthkhxngphrasngkh mathdsxbkhwamehmaasminkarekhadarngtaaehnngrachkar 16 karsxbkhxngphrasngkhcungepnwithikarthinaechuxthuxcnkstriytxngnaexawithikarsxbipichkarsngkhaynaphraitrpidkinphma aekikh mhawithyalypriytisasna inmnthaely daeninkarodykrathrwngkarsasnasungidrbkarsnbsnuncakphakhrth praethsphmamikarthasngkhaynaphraitrpidksibkhrng sungepnkarkratharwmknkhxngpraethsthinbthuxphraphuththsasnaethrwath dnghlkthanbnthukiwwa praethsthinbthuxphraphuththsasnafayethrwathidmiehtukarnsakhythangphraphuththsasnathiekidkhuninphmarwmkn khuxkarsngkhaynaphraitrpidk n emuxngmnthaely emux ph s 2414 epnkarsngkhaynakhrngaerkinphma aetphmanbwaepnkhrngthi 5 txcakcaruklnginiblankhxnglngka sngkhaynakhrngni mikarcarukphraitrpidklnginaephnhinxxn 429 aephn n emuxngmnthaely dwykarxupthmphkhxngphraecamindng miphramhaethra 3 rup khuxphrachakhraphiwngsa phranrinthaphithcha aelaphrasumngkhlsami idphldepliynknepnprathanodyladb miphrasngkhaelaphraxacaryphuaetkchaninphrapriytithrrmrwmprachum 2 400 than krathaxyu 5 eduxn cungsaerc 17 swnkarthasngkhaynakhrngthi 2 inphmahruxthiphmanbwaepnkhrngthi 6 thieriykwachdthsngkhayna erimkrathaemuxwnthi 17 phvsphakhm ph s 2497 cnthungwnthi 24 phvsphakhm ph s 2499 epnxnpidngan inkarpidnganidkratharwmkbkarchlxng 25 phuththstwrrs karnbpierwkwaithy 1 pi cungerimethakb ph s 2498 pid ph s 2500 tamthiphmanb karthasngkhaynakhrngnimungphimphphraitrpidkepnkhxaerkaelwcacdphimphxrrthktha khaxthibayphraitrpidk aelakhaaeplepnphasaphmaodyladb mikarokhsnaechiychwnphuththsasnikchnhlaypraethsiprwmphithidwy odyechphaapraethsethrwath khux phma lngka ithy law ekhmr thnghapraethsni sakhysahrbkarthasngkhaynakhrngnimakephraaichphraitrpidkphasabalixyangediywkn cungidmismykarprachumsungpramukhhruxphuaethnkhxngpraethsniepnhwhna echnepnsmykhxngithy smykhxnglngka epntn idmikarkxsrangkhuhacalxngthadwykhxnkrit cukhnidhlayphnkhn mithinngsahrbphrasngkhimnxykwa 2 500 thi briewnthikxsrangpraman 200 iress emuxesrcaelwidaeckcayphraitrpidkchbbxksrphmaipihpraethstang rwmthngpraethsithydwy 18 phraphuththsasnainphmamikhwamekiywphnkbsthabnphramhakstriy karecriyhruxesuxmkhxngkhnasngkhkyxmmiswnkbsthabnkstriydwy dngnnkstriycungmihnathixikxyanghnungkhuxkarptirupsthabnsngkh dngthimikarbrryaythungkarptirupsthabnsngkhiwwa kstriyphmaidthrngrierimkarptirupsasna hruxkarcharasthabnsngkhihbrisuththi ephuxcaidyudthrphysmbtikhxngthangsngkhmaihepnthiyxmrbthngthangkdhmayaelasngkhm sngkhathirarwyyxmhmaythungwaphrasngkhimiddaeninchiwittamkdkhxngphrawiny dngnnkarptirupcungnbwathuktxngchxbthrrmtamxudmkarn karptirupsasnasngphlthangwtthuihkhnadkhxngsngkhaldlngthangdanxudmkarnethakbwathaihphrasasnabrisuththikhun emuxsngkhabrisuththikhunprachachntangkcamathabuyephimkhun ephraabuythibukhkhlcaidkhunxyukbkhwambrisuththikhxngphrathibukhkhlnnnbthux sngkhaexngkcaidrbphramhakrunathikhunephimkhun ephraaodyhlkkarthuxwaphramhakstriytxngepnphuthrngpkpxngaelaxupthmphkhacunphrasasna thaprachachnaelaphramhakstriyimidhnmaxupthmphphraphuththsasna sudthaycanaklbipsulththiecakhxngthidinkhxngwdaelarthktxngekhamacdkarptirupsngkhaihmhmunewiynipimrucb 19 phraphuththsasnaethrwathkbpraethsphmamikhwamphukphnknmaxyangyawnantxngphanphbkbkhwamesuxmaelakhwamecriy aetksamarthxyuinsngkhmaelawthnthrrmkhxngphmaeruxyma miobransthan obranwtthu tlxdcnmikarsuksaphraphuththsasnamaodytlxd aemwapccubnphmacaimmiphramhakstriyepnpramukhehmuxninxdit khnasngkhphmakyngmixiththiphlsahrbprachachn dngcaehnidcakkarepnphunainkaredinkhbwneriykrxngkhwamepnthrrmcakxanacrth khnasngkhphmayngidsrangkhwamsmphnthkbpraethsthinbthuxphraphuththsasnaethrwathcakthwolk dngechninpiphuththskrach 2550 idmikarkxtngsmakhmphraphuththsasnaethrwathnanachatikhun aelaidprachumkhrngaerkrahwangchwngwnthi 9 11 minakhm 2550 thiemuxngyangkung aelaprachumthiemuxngsakayepnkhrngthisxngxangxing aekikh The World Factbook Burma International Religious Freedom Report 2009 U S Department of State 26 October 2009 subkhnemux 11 November 2009 Cone amp Gombrich Perfect Generosity of Prince Vessantara Oxford University Press 1977 page xxii hmxngthinxxng prawtisastrphma hna 6 hmxngthinxxng prawtisastrphma hna 32 wirch niymthrrm prawtisastrphma hmxngthinxxn prawtisastrphma hna 37 hmxngthinxxn prawtisastrphma hna 57 hmxngthinxxn prawtisastrphma hna 244 hmxngthinxxng hna 100 phrapldraphin phuththisaor ekhiynrwm phraphuththsasnainpraethsphma nikay karpkkhrxng aelasmnskdi Buddhism in Myanmar Sect Controlling and Priest s Ranks warsar mcr sngkhmsastrprithrrsn pithi 7 chbbthi 2 chbbphiess emsayn mithunayn 2561 Vol 7 No 2 Special Issue April June 2017 suchati hngsa dr prawtisastrphraphuththsasna krungethph thrrmspha 2549 hna 74 xathr cnthwiml dr prawtikhxngaephndin krungethph orngphimphxksrithy 2548 hna 55 wirch niymthrrm prawtiphraphuththsasnainphma phrathmmannthmhaethra karsuksaphraphuththsasnainpraethsphma krungethph mhaculalngkrnrachwithyaly 2534 hna 264 orebirt exch ethyelxr phrrnngam engathrrmsar aepl rthinphma mulnithiotoytapraethsithy 2550 hna 42 suchiph puyyanuphaph phraitrpidksahrbprachachn krungethph mhamkudrachwithyaly 2539 hna 11 suchiph puyyanuphaph phraitrpidksahrbprachachn hna 12 orebirt exch ethyelxr phrrnngam engathrrmsar aepl rthinphma mulnithiotoytapraethsithy 2550 hna 70 xanephim aekikhAung Thwin Michael 1985 Pagan The Origins of Modern Burma University of Hawaii Press Honolulu ISBN 0824809602 Bischoff Roger 1995 Buddhism in Myanmar A Short History Kandy Sri Lanka Buddhist Publication Society ISBN 955 24 0127 5 Charney Michael W 2006 Powerful Learning Buddhist Literati and the Throne in Burma s Last Dynasty 1752 1885 Ann Arbor The University of Michigan Description The Constitution of the Union of Burma DVB Multimedia Group 1947 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 15 June 2006 subkhnemux 7 July 2006 Unknown parameter deadurl ignored help Ferguson J P amp Mendelson E M 1981 Masters of the Buddhist Occult The Burmese Weikzas Contributions to Asian Studies 16 pp 62 88 Hlaing Maung Myint August 1981 The Great Disciples of Buddha Zeyar Hlaing Literature House pp 66 68 Matthews Bruce The Legacy of Tradition and Authority Buddhism and the Nation in Myanmar in Ian Harris ed Buddhism and Politics in Twentieth Century Asia Continuum London New York 1999 pp 26 53 Pranke Patrick 1995 On Becoming a Buddhist Wizard in Buddhism in Practice ed Donald S Lopez Jr Princeton Princeton University Press ISBN 978 8121508322aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb sasnaphuththinpraethsphmaNibbana com Books and Articles by Myanmar Monks and Scholars for English speaking Readers Buddhism in Myanmar BuddhaNet Buddhism in Myanmar G Appleton 1943 Saddhamma Foundation Information about practising Buddhist meditation in Burma The Life of the Buddha in 80 Scenes from the Ananda Temple Bagan Myanmar Buddha s Irresistible Maroon Army Dr Michael W Charney SOAS TIMESONLINE 14 December 2007 MyanmarNet Myanmar Yadanar Dhamma Section Dhamma Video Talks in English or Myanmar by Venerable Myanmar Monksekhathungcak https th wikipedia org w index php title sasnaphuththinpraethsphma amp oldid 8965772, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม