fbpx
วิกิพีเดีย

สัทธัมมปกาสินี

สัทธัมมปกาสินี หรือ สัทธัมมัปปกาสินี (สทฺธมฺมปฺปกาสินี) เป็นคัมภีร์อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก แบ่งเป็น 2 ภาค อธิบายความในปฏิสัมภิทามรรคทั้งหมด เป็นผลงานของพระมหานามะแต่งตามคำอาราธนาของมหานามอุบาสก ทั้งนี้ ชื่อคัมภีร์มีความหายว่า อรรถกถาที่ประกาศพระสัทธรรมให้แจ่มแจ้ง ให้รู้ชัด เป็นคำอธิบายขยายความของพระคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคให้แจ่มแจ้งชัดเจนนั่นเอง

ผู้รจนา

ผู้รจนาคัมภีร์นี้คือพระมหานามะเถระ เป็นชาวลังกา แห่งสำนักมหาวิหาร คณะสงฆ์หลักของลังกาทวีปในยุคสมัยนั้น และเป็นสำนักเดียวกับพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆษาจารย์ โดยพระเถระผู้รจนาได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคัมภีร์นี้ว่า ท่านอุตรมันตีอุบาสก ได้สร้างบริเวณะ หรือเสนาสนะขึ้นในสำนักมหาวิหาร ท่านได้พำนักอยู่ในอุตตรมันตีบริเวณะนี้ และได้แต่งอรรถกถาสัทธัมมปกาสินีจนแล้วเสร็จในปีที่ 3 หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโมคคัลลานะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป

อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ลังกาที่มีพระนามโมคคัลลานะและครองราชสมบัติในสมัยกรุงอนุราธปุระเป็นราชธานี มีถึง 2 พระองค์ องค์ที่ 1 สิ้นพระชนม์พ.ศ. 1038 ส่วนองค์ที่ 2 สิ้นพระชนม์พ.ศ. 1090 จึงมีผู้สันนิษฐานว่า คัมภีร์สัทธัมมปกาสินี น่าจะสามารถกำหนดอายุคร่าวๆ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ส่วนคัมภีร์จูฬคันถวงศ์ ระบุว่า พระมหานามะรจนาคัมภีร์นี้ โดยได้รับการอาราธนาโดยอุบาสกที่มีชื่อเดียวกับท่าน คือมหานามะ

ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาบางท่านให้ข้อสันนิษฐานว่า สัทธัมมปกาสินี อาจรจนาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 1042 - 1102 แม้ว่าจะหาข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องปีที่รจนาไม่ได้ แต่สิ่งที่แน่นอนประหารหนึ่งก็คือ คัมภีร์นี้ถูกรจนาขึ้นในช่วงหลังยุคพระพุทธโฆสะ โดยพระมหานามะเองนั้นก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดแนวทางของพระพุทธโฆสะ อันเป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่

เนื้อหา

เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคัมถารัมภกถา คือคำเริ่มคัมภีร์ และต่อมาพรรณนาความในปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์ไว้อย่างละเอียด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ 1. มหาวรรค คือหมวดขนาดใหญ่, 2. มัชฌมิวรรค คือหมวดขนาดกลาง หรือเรียกว่า ยุคนันธวรรค และ 3. จุลวรรค คือหมวดเล็ก หรือเรียกว่า ปัญญาวรรค และได้มีคำลงท้ายที่เรียกว่า นิคมกถา

เนื้อหาหลักของสัทธัมมปกาสินี เป็นการขยายความข้อธรรมที่พระสารีบุตรได้แสดงไว้ในปฏิสัมภิทามรรคอย่างละเอียดพิสดารยิ่งขึ้น มีการอธิบายลักษณะของขันธ์ 5 และลักษณะธรรมต่างๆ มีการอธิบายแนวทาง กระบวนการ หรือมรรค และผลแห่งการปฏิบัติธรรมโดยละเอียด เช่นการอธิบายลักษณะของสุขโสมนัส ว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยทุกข์ คือ ความยินดีในทุกข์ ความไม่เที่ยงแห่งทุกข์ความแปรปรวน เป็นธรรมดาแห่งทุกข์ คือ โทษแห่งทุกข์ การนำออกซึ่งฉันทราคะการละฉันทราคะในทุกข์ คือ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ นิพพานนั้นแล คือ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ (อรรถกถาสัจนิทเทส)

ตัวอย่างการอธิบายหลักธรรมและการปฏิบัติธรรมและผลของการปฏิบัติธรรมเช่น การอธิบายถึงลักษณะของศีลว่า มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีหิริ และโอตตัปปะ เป็นปทัฏฐาน (อรรถกถาสีลมยญาณุทเทส) มีการอธิบายว่า เจโตปริยญาณ คือญาณในการกำหนดด้วยใจ ด้วยการแผ่ไป (อรรถกถาเจโตปริยญาณุทเทส) การอธิบายลักษณะของวิปัสสนูปกิเลส ว่ามี 10 ประการ คือโอภาส - แสงสว่าง, ญาณ - ความรู้, ปีติ - ความอิ่มใจ, ปัสสัทธิ - ความสงบ, สุข - ความสุข, อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ, ปัคคหะ - ความเพียร, อุปัฏฐาน - ความตั้งมั่น, อุเบกขา - ความวางเฉย และนิกันติ - ความใคร่ เป็นต้น

โดยสังเขปแล้ว สัทธัมมปกาสินีเป็นดั่งคู่มือในการปฏิบัติตามมรรคอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และพระสารีบุตรอัครสาวกได้รวบรวม และพรรณนาไว้อย่างเป็นระบบ นับเป็นวรรณกรรมเชิงอรรถาธิบายแนวทางปฏิบัติทางศาสนาที่ล้ำค่ายิ่ง สำหรับผู้แสวงหาหนทางหลุดพ้นตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อ้างอิง

  1. *คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. หน้า 77
  2. โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น. (2531) หน้า 27
  3. โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น. (2531) หน้า 28
  4. โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น. (2531) หน้า 28
  5. Gombrich, Richard F. และ Scherrer-Schaub, Cristina Anna. (2008) หน้า 25
  6. Bimala Charan Law. (1923). หน้า 95 - 96
  7. โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น. (2531) หน้า 29
  8. สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค หน้า 260
  9. สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค หน้า 44
  10. สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค หน้า 144
  11. สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค หน้า 374

บรรณานุกรม

  • Bimala Charan Law. (1923). The Life and Work of Buddhaghosa. Calcutta : Thacker, Spink & Co.
  • คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  • โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น. (2531). สัทธัมมปกาสินี. กรุงเทพมหานคร. มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ
  • Gombrich, Richard F. และ Scherrer-Schaub, Cristina Anna. (2008). Buddhist studies : Papers of the 12th World Sanskrit Conference 2003. Delhi : Motilal Banarsidass.
  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 7 ภาค 1

ทธ, มมปกาส, หร, ทธ, มม, ปปกาส, สท, ธม, มป, ปกาส, เป, นค, มภ, อรรถกถาปฏ, มภ, ทามรรค, ในข, ททกน, กาย, พระส, ตต, นตป, ฎก, แบ, งเป, ภาค, อธ, บายความในปฏ, มภ, ทามรรคท, งหมด, เป, นผลงานของพระมหานามะแต, งตามคำอาราธนาของมหานามอ, บาสก, งน, อค, มภ, ความหายว, อรรถกถาท, ป. sththmmpkasini hrux sththmmppkasini sth thm mp pkasini epnkhmphirxrrthkthaptismphithamrrkh inkhuththknikay phrasuttntpidk aebngepn 2 phakh xthibaykhwaminptismphithamrrkhthnghmd epnphlngankhxngphramhanamaaetngtamkhaxarathnakhxngmhanamxubask 1 thngni chuxkhmphirmikhwamhaywa xrrthkthathiprakasphrasththrrmihaecmaecng ihruchd epnkhaxthibaykhyaykhwamkhxngphrakhmphirptismphithamrrkhihaecmaecngchdecnnnexng 2 enuxha 1 phurcna 2 enuxha 3 xangxing 4 brrnanukrmphurcna aekikhphurcnakhmphirnikhuxphramhanamaethra epnchawlngka aehngsankmhawihar khnasngkhhlkkhxnglngkathwipinyukhsmynn aelaepnsankediywkbphraphuththokhsa hruxphraphuththokhsacary odyphraethraphurcnaidklawiwintxnthaykhxngkhmphirniwa thanxutrmntixubask idsrangbriewna hruxesnasnakhuninsankmhawihar thanidphankxyuinxuttrmntibriewnani aelaidaetngxrrthkthasththmmpkasinicnaelwesrcinpithi 3 hlngkarsinphrachnmkhxngphraecaomkhkhllana kstriyaehnglngkathwip 3 xyangirktam kstriylngkathimiphranamomkhkhllanaaelakhrxngrachsmbtiinsmykrungxnurathpuraepnrachthani mithung 2 phraxngkh xngkhthi 1 sinphrachnmph s 1038 swnxngkhthi 2 sinphrachnmph s 1090 cungmiphusnnisthanwa khmphirsththmmpkasini nacasamarthkahndxayukhraw xyuinchwngphuththstwrrsthi 11 swnkhmphirculkhnthwngs rabuwa phramhanamarcnakhmphirni odyidrbkarxarathnaodyxubaskthimichuxediywkbthan khuxmhanama 4 phuechiywchaydanphuththsasnabangthanihkhxsnnisthanwa sththmmpkasini xacrcnakhunrahwangpiph s 1042 1102 aemwacahakhxsrupthichdecnineruxngpithircnaimid aetsingthiaennxnpraharhnungkkhux khmphirnithukrcnakhuninchwnghlngyukhphraphuththokhsa 5 odyphramhanamaexngnnknbidwaepnhnunginphusubthxdaenwthangkhxngphraphuththokhsa xnepnphraxrrthkthacaryphuyingihy 6 enuxha aekikhenuxeruxngerimtndwykhmtharmphktha khuxkhaerimkhmphir aelatxmaphrrnnakhwaminptismphithamrrkhpkrniwxyanglaexiyd sungaebngxxkepn 3 hmwd khux 1 mhawrrkh khuxhmwdkhnadihy 2 mchchmiwrrkh khuxhmwdkhnadklang hruxeriykwa yukhnnthwrrkh aela 3 culwrrkh khuxhmwdelk hruxeriykwa pyyawrrkh aelaidmikhalngthaythieriykwa nikhmktha 7 enuxhahlkkhxngsththmmpkasini epnkarkhyaykhwamkhxthrrmthiphrasaributridaesdngiwinptismphithamrrkhxyanglaexiydphisdaryingkhun mikarxthibaylksnakhxngkhnth 5 aelalksnathrrmtang mikarxthibayaenwthang krabwnkar hruxmrrkh aelaphlaehngkarptibtithrrmodylaexiyd echnkarxthibaylksnakhxngsukhosmns wa ekidkhunephraaxasythukkh khux khwamyindiinthukkh khwamimethiyngaehngthukkhkhwamaeprprwn epnthrrmdaaehngthukkh khux othsaehngthukkh karnaxxksungchnthrakhakarlachnthrakhainthukkh khux xubayekhruxngsldxxkaehngthukkh niphphannnael khux xubayekhruxngsldxxkaehngthukkh xrrthkthascnitheths 8 twxyangkarxthibayhlkthrrmaelakarptibtithrrmaelaphlkhxngkarptibtithrrmechn karxthibaythunglksnakhxngsilwa mikhwamsaxadepnpccuptthan mihiri aelaoxttppa epnpthtthan xrrthkthasilmyyanutheths 9 mikarxthibaywa ecotpriyyan khuxyaninkarkahnddwyic dwykaraephip xrrthkthaecotpriyyanutheths 10 karxthibaylksnakhxngwipssnupkiels wami 10 prakar khuxoxphas aesngswang yan khwamru piti khwamximic pssththi khwamsngb sukh khwamsukh xthiomkkh khwamnxmicechux pkhkhha khwamephiyr xuptthan khwamtngmn xuebkkha khwamwangechy aelaniknti khwamikhr epntn 11 odysngekhpaelw sththmmpkasiniepndngkhumuxinkarptibtitammrrkhxnsmedcphrasmmasmphuththecathrngkhnphb aelaphrasaributrxkhrsawkidrwbrwm aelaphrrnnaiwxyangepnrabb nbepnwrrnkrrmechingxrrthathibayaenwthangptibtithangsasnathilakhaying sahrbphuaeswnghahnthanghludphntamkhasxnkhxngsmedcphrasmmasmphuththecaxangxing aekikh khnacarymhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly 2550 wrrnkhdibali hna 77 okhrngkarpriwrrtxksrkhxmaelaxksrobranthxngthin 2531 hna 27 okhrngkarpriwrrtxksrkhxmaelaxksrobranthxngthin 2531 hna 28 okhrngkarpriwrrtxksrkhxmaelaxksrobranthxngthin 2531 hna 28 Gombrich Richard F aela Scherrer Schaub Cristina Anna 2008 hna 25 Bimala Charan Law 1923 hna 95 96 okhrngkarpriwrrtxksrkhxmaelaxksrobranthxngthin 2531 hna 29 sththmmpkasini xrrthkthaptismphithamrrkh hna 260 sththmmpkasini xrrthkthaptismphithamrrkh hna 44 sththmmpkasini xrrthkthaptismphithamrrkh hna 144 sththmmpkasini xrrthkthaptismphithamrrkh hna 374brrnanukrm aekikhBimala Charan Law 1923 The Life and Work of Buddhaghosa Calcutta Thacker Spink amp Co khnacarymhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly 2550 wrrnkhdibali krungethph kxngwichakar mhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly okhrngkarpriwrrtxksrkhxmaelaxksrobranthxngthin 2531 sththmmpkasini krungethphmhankhr mulnithiphumipholphikkhu Gombrich Richard F aela Scherrer Schaub Cristina Anna 2008 Buddhist studies Papers of the 12th World Sanskrit Conference 2003 Delhi Motilal Banarsidass phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly sththmmpkasini xrrthkthaptismphithamrrkh khuththknikay phrasuttntpidk elm 7 phakh 1ekhathungcak https th wikipedia org w index php title sththmmpkasini amp oldid 5323742, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม