fbpx
วิกิพีเดีย

หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ (29 เมษายน พ.ศ. 244717 มกราคม พ.ศ. 2533) เป็นภิกษุชาวไทย จำพรรษา ณ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(ดู่ พรหมปัญโญ)
หลวงปู่ดู่
เกิด29 เมษายน พ.ศ. 2447
อายุ85
อุปสมบทพ.ศ. 2468
พรรษา65
วัดวัดสะแก
จังหวัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

ชาติภูมิ

พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พุ่ม ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้าย มีโยมพี่สาว ๒ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้  

๑ . พี่สาวชื่อ ทองคำ สุนิมิตร  

๒ . พี่สาวชื่อ สุ่ม พึ่งกุศล  

๓ . ตัวท่าน  

ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น

ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาด ความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดา มารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่าน ได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดา ของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้ คือในคืนวันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอด“ขนมมงคล”อยู่นั้น ท่านซึ่งถูก วางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปในน้ำ ทั้งคนทั้งเบาะแต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้วกระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่าน มาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่านกับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมา จึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่าน จะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด  

มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านก็จากไปอีกขณะท่านมีอายุได้เพียง ๔ ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านได้อาศัยอยู่กับยายโดยมีโยมพี่สาวที่ชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

สู่เพศพรหมจรรย์

เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อ กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อ แด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อ ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”

ในพรรษาแรกๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรมซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรมโดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และ หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

 ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น ผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่สองประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อกลั่นมรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยัง ได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่จากชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้างและด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่จังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี

ประสบการณ์ธุดงค์  

ประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ออกพรรษาแล้วท่านก็เริ่ม ออกเดินธุดงค์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายที่ป่าเขาทางแถบจังหวัดกาญจนบุรี และแวะนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธฉายและ รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี จึงเข้าพักปฏิบัติตามป่าเขาและถ้ำต่างๆ     

หลวงปู่ดู่ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกที่ท่านขวนขวายศึกษาและปฏิบัตินั้น แท้จริงมิได้มุ่งเน้นมรรคผลนิพพานหากแต่ต้องการเรียนรู้ให้ได้วิชาต่างๆ เป็นต้นว่าวิชาคงกระพันชาตรี ก็เพื่อที่จะสึกออกไปแก้แค้นพวกโจรที่ปล้นบ้าน โยมพ่อโยมแม่ท่านถึง ๒ ครั้ง แต่เดชะบุญ แม้ท่านจะสำเร็จวิชาต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ท่านกลับได้คิด นึกสลดสังเวชใจตัวเองที่ปล่อยให้อารมณ์อาฆาตแค้นทำร้าย จิตใจ ตนเองอยู่เป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ในที่สุดท่านก็ได้ตั้งจิตอโหสิกรรมให้แก่โจรเหล่านั้น แล้ว มุ่งปฏิบัติฝึกฝน อบรมตน ตามทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างแท้จริง  

ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าได้พบฝูงควายป่ากำลังเดินเข้ามาทางท่าน ท่านตั้งสติอยู่ครู่หนึ่งจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว หยุดยืนภาวนานิ่งอยู่ ฝูงควายป่าที่มุ่งตรงมาทางท่าน พอเข้ามาใกล้จะถึงตัวท่าน ก็กลับเดินทักษิณารอบท่านแล้วก็จากไป บางแห่งที่ท่านเดินธุดงค์ไปถึง ท่านมักพบกับพวกนักเลงที่ชอบลองของ ครั้งหนึ่งมีพวกนักเลงเอาปืนมายิงใส่ท่านขณะนั่งภาวนาอยู่ในกลด ท่านเล่าให้ฟังว่า พวกนี้ไม่เคารพพระ สนใจ แต่ “ของดี” เมื่อยิงปืนไม่ออก จึงพากันมาแสดงตัวด้วยความนอบน้อม พร้อมกับอ้อนวอนขอ “ ของดี ”ทำให้ท่านต้องออกเดินธุดงค์หนีไปทางอื่น

การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา แต่สุขภาพธาตุขันธ์ของท่านก็ไม่เป็นใจเสียเลย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผาก เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้นท่านก็ยังไม่ละความเพียรสมดังที่ท่านเคย สอนลูกศิษย์ว่า “นิพพานอยู่ฟากตาย” ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตายถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง” ดังนั้น อุปสรรคต่างๆ จึงกลับเป็นปัจจัยช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ

นิมิตธรรม

อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากหลวง ปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างมาก ๓ ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น

เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตธรรมที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจขึ้น ว่าแก้ว ๓ ดวงนั้น ก็คือพระไตรสรณาคมน์นั่นเอง พอท่านว่า

“พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”  ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน พร้อมกับอาการปีติอย่างท่วมท้น ทั้งเกิดความรู้สึกลึก ซึ้งและมั่นใจว่า พระไตรสรณาคมน์นี้แหละเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอามาเป็นคำบริกรรมภาวนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเน้นหนักที่การปฏิบัติ

หลวงปู่ดู่ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า“ถ้าไม่เอา(ปฏิบัติ)เป็นเถ้าเสียดีกว่า” ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัด เป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นเมตตาอย่างสูง  

สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อยๆ หรือมีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรม ก็คงจะได้เห็นกุศโลบายในการสอนของท่านที่จะโน้มน้าว ผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่นครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังใน เชิงว่ากล่าวว่า เป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตามอันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่องธรรม”

คำสอนของหลวงปู่ดู่จึงสรุปลงที่การใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาทนั่นหมายถึงว่าสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถีที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า “หมั่นทำเข้าไว้ๆ”

อ่อนน้อมถ่อมตน  

นอกจากความอดทน อดกลั้นยิ่งแล้ว หลวงปู่ดู่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่เราเรียกกันว่า“ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ดู่ ๑ พรรษา มานมัสการหลวงพ่อโดยยกย่องเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยม กราบหลวงพ่อเสร็จแล้วหลวงพ่อท่านก็กราบตอบ เรียกว่าต่างองค์ต่างกราบซึ่งกันและกัน เป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกิน ในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบโตทางด้านทิฏฐิมานะ ความถือตัวอวดดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสตัวหลงออกเรี่ยราด เที่ยวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนเก่ง โดยเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป  

หลวงปู่ดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักไหนๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีน่ะเขาไม่ตีใคร”  ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง

หลวงปู่ดู่เป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้” “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”  เป็นต้น

อุบายธรรม  

หลวงปู่ดู่เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อนซึ่งเป็น ลูก  ศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่ง เพื่อนที่เป็นลูกศิษย์ ก็ชักชวนเพื่อนนักเลงเหล้าให้สมาทานศีล ๕ พร้อมกับฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนา นักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า “จะมาให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ ” หลวงปู่ดู่ท่านก็ตอบว่า “เอ็งจะกินก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาที ก็พอ” นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ๕ นาที ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงพ่อ

ด้วยความที่เป็นคนนิสัยทำอะไรทำจริง ซื่อสัตย์ต่อตัวเองทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียวบางครั้งถึงขนาดงดไปกินเหล้ากับเพื่อนๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติจิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัวด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการท่านอีกครั้ง ที่นี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า “ที่แกปฏิบัติอยู่ ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง” คำพูดของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ศรัทธาและความเพียร ต่อการปฏิบัติก็มีมากขึ้นตามลำดับ ถัดจากนั้นไม่กี่ปี เขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้าก็ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตตั้งใจปฏิบัติธรรมเรื่อยมา

อีกครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหาปลามานมัสการท่าน และก่อนกลับท่านก็ให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะขิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าประเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลา จับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้เหรอว่า แกจะตายเมื่อไหร่  ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้าแล้ว อาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไงๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะมีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มี ศีล ”

หลวงปู่ดู่ท่านไม่เพียงพร่ำสอนให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายเจริญบำเพ็ญ คุณงามความดีเท่านั้น หากแต่ยังเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญ และระมัดระวังในการรักษาไว้ ซึ่งคุณงามความดีนั้นๆ ให้คงอยู่ รวมทั้งเจริญงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ท่าน มักจะพูดเตือนเสมอๆ ว่าเมื่อปลูกต้นธรรมด้วยดีแล้ว ก็ต้องคอยหมั่นระวังอย่าให้หนอนและแมลง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง มากัดกินทำลายต้นธรรมที่อุตส่าห์ปลูกขึ้น และอีกครั้งหนึ่งที่ท่านแสดงถึงแบบอย่างของความเป็นครูอาจารย์ที่ปราศจากทิฏฐิมานะและเปี่ยมด้วยอุบายธรรม ก็คือครั้งที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน มากราบลาพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัด อุดรธานี

หลวงปู่ดู่ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้างๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแกด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส...” ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปราม หรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจเพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป

แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบถึงครูอาจารย์นั้นองค์นี้ในลักษณะตื่นครูตื่นอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยพูดเตือนสติว่า “ครูอาจารย์ดีๆ แม้จะมีอยู่มาก แต่สำคัญที่ตัวแก ต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มากนั่นแหละจึงจะดี”

หลวงปู่ดู่ท่านมีแนวทางการสอนธรรมะที่เรียบง่าย ฟังง่ายชวนให้ติดตามฟัง ท่านนำเอาสิ่งที่เข้าใจยากมาแสดงให้เข้าใจง่าย เพราะท่านจะยกอุปมาอุปมัย ประกอบในการสอนธรรมะจึงทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและเกิดความเข้าใจในธรรมที่ท่านนำมาแสดง แม้ว่าท่านมักจะออกตัวว่าท่านเป็นพระบ้านนอกที่ไม่มีความรู้อะไร แต่สำหรับบรรดาศิษย์ทั้งหลาย คงไม่อาจปฏิเสธว่า หลายครั้งที่ท่านสามารถพูดแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟังทีเดียว  

อีกประการหนึ่ง ด้วยความที่ท่านมีรูปร่างลักษณะที่เป็นที่น่าเคารพ เลื่อมใส เมื่อใครได้มาพบเห็นท่านด้วยตนเอง และถ้ายิ่งได้สนทนาธรรมกับท่านโดยตรงก็จะยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสและศรัทธาในตัวท่านมากขึ้นเป็นทวีคูณ

หลวงปู่ดู่ท่านพูดถึงการประพฤติปฏิบัติของคนสมัยนี้ว่า “คนเราทุกวันนี้ โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม เรามัวพากันยุ่งอยู่กับโลกจนเหมือนลิงติดตัง เรื่องของโลก เรื่องเละๆ เรื่องไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้จะต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง” ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์โดยให้พยายามถือเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นครูสอนตนเองเสมอ เช่นในหมู่คณะ หากมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติดี เจริญในธรรมปฏิบัติ ท่านก็กล่าวชมและให้ถือเป็นแบบอย่าง แต่ถ้ามีผู้ประพฤติผิด ถูกท่านตำหนิติเตียน ก็ให้น้อมเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาสอนตนทุกครั้งไป ท่านไม่ได้ชมผู้ทำดีจนหลงลืมตน และท่านไม่ได้ติเตียนผู้ทำผิดจนหมดกำลังใจ แต่ถือเอาเหตุการณ์ เป็นเสมือนครูที่เป็นความจริง แสดงเหตุผลให้เห็นธรรมที่แท้จริง

การสอนของท่านก็พิจารณาดูบุคคลด้วย เช่น คนบางคนพูดให้ฟัง เพียงอย่างเดียวไม่เข้าใจ บางทีท่านก็ต้องทำให้เกิดความกลัว เกิดความละอายบ้างถึงจะหยุด เลิกละการกระทำที่ไม่ดีนั้นๆ ได้ หรือบางคนเป็นผู้มีอุปนิสัยเบาบางอยู่แล้วท่านก็สอนธรรมดา การสอนธรรมะของท่าน บางทีก็สอนให้กล้าบางทีก็สอนให้กลัวที่ว่าสอนให้กล้านั้นคือ ให้กล้าในการทำความดี กล้าในการประพฤติปฏิบัติเพื่อถอดถอนกิเลสออกจากใจ ไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลสอยู่ร่ำไป ส่วนที่สอนให้กลัวนั้น ท่านให้กลัวในการทำความชั่ว ผิดศีลธรรม เป็นโทษ ทำแล้วผู้อื่นเดือดร้อน บางทีท่านก็สอนให้เชื่อ คือให้เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในเรื่องกรรม อย่างที่ท่านเคยกล่าวว่า “เชื่อไหมล่ะ ถ้าเราเชื่อจริง ทำจริง มันก็เป็นของจริง ของจริงมีอยู่ แต่เรามันไม่เชื่อจริง จึงไม่เห็นของจริง ”

หลวงปู่ดู่ท่านสอนให้มีปฏิปทาสม่ำเสมอท่านว่า“ขยันก็ให้ทำขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำวันไหนเลิกกินข้าวแล้วนั่นแหละจึงค่อยเลิกทำ”

การสอนของท่านนั้นมิได้เน้นแต่เพียงการนั่งหลับตาภาวนา หากแต่หมายรวมไปถึงการกำหนดดู กำหนดรู้ และพิจารณาสิ่งต่างๆ ในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านชี้ให้เห็นถึงสังขารร่างกายที่มันเกิดมันตายอยู่ตลอดเวลา ท่านว่า เราวันนี้กับเราเมื่อตอนเป็นเด็กมันก็ไม่เหมือนเก่า เราขณะนี้กับเราเมื่อวานก็ไม่เหมือนเก่า จึงว่าเราเมื่อตอนเป็นเด็ก หรือเราเมื่อวานมันได้ตายไปแล้ว เรียกว่าร่างกายเรามันเกิด - ตาย อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก มันเกิด - ตาย อยู่ทุกขณะจิต ท่านสอนให้บรรดาศิษย์เห็นจริงถึงความสำคัญของความทุกข์ยาก ว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าในโลก

ท่านจึงพูดบ่อยครั้งว่า การที่เราประสบทุกข์ นั่นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว เพราะอาศัยทุกข์นั่นแหละ จึงทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นได้

ใช้ชีวิตอย่างผู้รักสันโดษและเรียบง่าย  

หลวงปู่ดู่ท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย แม้แต่การสรงน้ำ ท่านก็ยังไม่เคยใช้สบู่เลย แต่ก็น่าอัศจรรย์ เมื่อได้ทราบจากพระอุปัฏฐากว่าไม่พบว่า ท่านมีกลิ่นตัว แม้ในห้องที่ท่านจำวัด  

มีผู้ปวารณาตัวจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลยอันจะเสียสมณะสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายได้เกิดความปลื้มปีติที่ได้ถวายแก่ท่าน ซึ่งในภายหลังท่านก็มักยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวมเช่นเดียวกับข้าวของต่างๆ ที่มีผู้มาถวายเป็นสังฆทาน โดยผ่านท่าน และเมื่อถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะจัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบท และ ยังขาดแคลนอยู่

สิ่งที่ท่านถือปฏิบัติสม่ำเสมอในเรื่องลาภสักการะ ก็คือการยกให้เป็นของ สงฆ์ส่วนรวม แม้ปัจจัยที่มีผู้ถวายให้กับท่านเป็นส่วนตัวสำหรับค่ารักษาพยาบาลท่านก็สมทบเข้าในกองทุนสำหรับจัดสรรไปในกิจสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล

หลวงปู่ดู่ ท่านไม่มีอาการแห่งความเป็นผู้อยากเด่นอยากดังแม้แต่น้อย ดังนั้น แม้ท่านจะเป็นเพียงพระบ้านนอกรูปหนึ่งซึ่งไม่เคยออกจากวัดไปไหน ทั้งไม่มีการศึกษาระดับสูงๆ ใน ทางโลก แต่ในความรู้สึกของลูกศิษย์ทั้งหลาย ท่านเป็นดั่งพระเถระผู้ถึงพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย เบิกบาน และถึงพร้อมด้วยธรรมวุฒิที่รู้ถ้วนทั่วในวิชชาอันจะนำพา ให้พ้นเกิดพ้นแก่พ้นเจ็บพ้นตายถึงฝั่งอันเกษม เป็นที่ฝากเป็นฝากตายและฝากหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน

ในเรื่องทรัพย์สมบัติดั้งเดิมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นา ซึ่งมีอยู่ ประ มาณ ๓๐ ไร่ ท่านก็ได้แบ่งให้กับหลานๆ  ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ นายยวง พึ่งกุศล ผู้เป็นบุตรของนางสุ่ม โยมพี่สาวคนกลางที่เคยเลี้ยงดูท่านมาตลอด ก็ได้รับส่วนแบ่งที่นาจากท่านด้วยจำนวน ๑๘ ไร่เศษ แต่ด้วยความที่นายยวงผู้เป็นหลานของท่านนี้ไม่มีทายาท ได้คิดปรึกษานางถมยา ผู้ภรรยาเห็นควรยกให้เป็น สาธารณประโยชน์จึงยกที่ดินแปลงนี้ให้กับโรงเรียนวัดสะแกซึ่งหลวงปู่ดู่ท่านก็อนุโมทนาในกุศลเจตนาของคนทั้งสอง

กุศโลบายในการสร้างพระ  

หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นประโยชน์ เพราะบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านมิได้จำกัดศิษย์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นคณะศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไป ทั้งที่ใฝ่ใจธรรมล้วนๆ หรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล”  ทั้งนี้ ท่านย่อมใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเหมาะควรแก่ผู้ที่ไปหาท่าน

แม้ว่าหลวงปู่ดู่จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่าน อธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านว่า “เอาของจริงดีกว่า พุทธังฯ ธัมมังฯ สังฆังฯ สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้” 

จากคำพูดนี้จึงเสมือนเป็นการยืนยันว่าการปฏิบัติภาวนานี้แหละเป็นที่สุดแห่งเครื่องรางของขลัง เพราะคนบางคนแม้แขวนพระที่ผู้ทรงคุณวิเศษอธิษฐานจิตให้ก็ตาม ก็ใช่ว่าจะรอดปลอดภัยอยู่ดีมีสุขไปทุกกรณี อย่างไรเสียทุกคนไม่อาจ หลีกหนีวิบากกรรมที่ตนได้สร้างไว้ ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือ กรรม

ดังนั้น จึงมีแต่ พระ “สติ” พระ “ปัญญา” ที่ฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว เท่านั้นที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและสิ่งกระทบต่างๆ ที่ เข้ามาในชีวิต อย่างไม่ทุกข์ใจ ดุจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเสมือนฤดูกาลที่ผ่านเข้ามาในชีวิต บางครั้งร้อนบางครั้งหนาว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปตามธรรมดาของโลก

พระเครื่องหรือพระบูชาต่างๆ ที่ท่านอธิษฐานปลุกเสกให้แล้วนั้น ปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เช่น แคล้วคลาดฯลฯ นั่นก็เป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ทางโลกๆ แต่ประโยชน์ที่ท่านสร้างมุ่งหวังอย่างแท้จริงนั้นก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติ กรรมฐาน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่องช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตรวมสงบได้เร็วขึ้น ตลอดถึงการใช้เป็นเครื่องเสริมกำลังใจและระงับ ความหวาดวิตกในขณะปฏิบัติ ถือเป็นประโยชน์ทางธรรมซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการทางจิตของผู้ใช้ไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

จากที่เบื้องต้นเราได้อาศัยพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ และสังฆัง สรณัง คัจฉามิ คือยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จนจิตของเราเกิดศรัทธาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราเรียกกันว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว เราก็ย่อมเกิดกำลังใจขึ้นว่าพระพุทธองค์เดิมก็เป็นคนธรรมดาเช่นเดียวกับเรา ความผิดพลาดพระองค์ก็เคยทรงทำมาก่อน แต่ด้วยความเพียรประกอบกับพระสติปัญญาที่ทรงอบรมมาดีแล้ว จึงสามารถก้าวข้ามวัฏฏะ

สงสารสู่ความหลุดพ้น เป็นการบุกเบิกทางที่เคยรกชัฏให้พวกเราได้เดินกัน ดังนั้นเราซึ่งเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับพระองค์ ก็ย่อมที่จะมีศักยภาพที่จะฝึกฝนอบรมกาย วาจา ใจ ด้วยตัวเราเองได้เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงกระทำมา พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ กาย วาจา ใจ เป็นสิ่งที่ฝึกฝนอบรมกันได้ใช่ว่าจะต้องปล่อยให้ไหลไปตาม ยถากรรม  

เมื่อจิตเราเกิดศรัทธาดังที่กล่าวมานี้แล้ว ก็มีการน้อมนำเอาข้อธรรมคำสอนต่างๆ มาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสออกจากใจตนจิตใจของเราก็จะเลื่อนชั้น จากปุถุชนที่หนาแน่นด้วยกิเลส ขึ้น สู่กัลยาณชนและอริยชน เป็นลำดับ เมื่อเป็นดังนี้แล้วในที่สุดเราก็ย่อมเข้าถึงที่พึ่งคือตัวเราเอง อันเป็นที่พึ่งที่แท้จริงเพราะกาย วาจา ใจ ที่ได้ผ่านขั้นตอนการฝึกฝนอบรมโดยการเจริญศีล สมาธิ และปัญญาแล้วย่อมกลายเป็น กายสุจริต วาจาสุจริต และมโนสุจริต กระทำสิ่งใด พูดสิ่งใด คิดสิ่งใด ก็ย่อมหาโทษมิได้ถึงเวลานั้นแม้พระเครื่องไม่มี ก็ไม่อาจทำให้เราเกิดความ หวั่นไหว หวาดกลัว ขึ้นได้เลย

เปี่ยมด้วยเมตตา  

นึกถึงสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงประชวรหนักครั้งสุดท้ายแห่งการปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ผู้อุปัฏฐากพระองค์อยู่ตลอดเวลาได้ห้ามมานพ ผู้หนึ่งซึ่งขอร้องจะขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะนั้น  

พระอานนท์คัดค้านอย่างเด็ดขาดไม่ให้ห่าเข้าเฝ้า แม้มานพขอร้องถึง ๓ ครั้ง ท่านก็ไม่ยอมจนกระทั่งเสียงขอกับเสียงขัดดังถึงพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า“อานนท์ อย่าห้ามมานพนั้นเลยจงให้เข้ามาเดี๋ยวนี้” เมื่อได้รับอนุญาตแล้วมานพ ก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรม จนบรรลุมรรคผลแล้วขอบวชเป็นพระสาวกองค์สุด ท้ายมีนามว่า “พระสุภัททะ”

พระอานนท์ท่านทำหน้าที่ของท่านถูกต้องแล้ว ไม่มีความผิดอันใดเลยแม้แต่น้อย ส่วนที่พระพุทธเจ้าให้เข้าเฝ้านั้นเป็นส่วนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ ย่อมแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสามโลกพระสาวกรุ่นหลังกระทั่งถึงพระเถระหรือครูบาอาจารย์ผู้สูงอายุโดยทั่วไปที่มีเมตตา สูง รวมทั้งหลวงพ่อย่อมเป็นที่เคารพนับถือของชนหมู่มาก ท่านก็อุทิศชีวิตเพื่อกิจ พระศาสนา ก็ไม่ค่อยคำนึงถึงความชราอาพาธของท่าน เห็นว่าผู้ใดได้ประโยชน์จากการบูชาสักการะท่าน ท่านก็อำนวยประโยชน์นั้นแก่เขา

เมื่อครั้งที่หลวงปู่อาพาธอยู่ ได้มีลูกศิษย์กราบเรียนท่านว่า “รู้สึกเป็นห่วง  หลวงปู่” ท่านได้ตอบศิษย์ผู้นั้นด้วยความเมตตาว่า “ห่วงตัวแกเองเถอะ”  อีกครั้งที่ผู้เขียนเคยเรียนหลวงปู่ว่า “ขอให้หลวงปู่พักผ่อนมากๆ”  

หลวงปู่ตอบทันทีว่า “พักไม่ได้ มีคนเขามากันมาก บางทีกลางคืนเขาก็มากัน เราเหมือนนกตัวนำ เราเป็นครูเขานี่ ครู..เขาตีระฆังได้เวลาสอนแล้วก็ต้องสอน ไม่สอนได้ยังไง” ชีวิตของท่านเกิดมาเพื่อเกื้อกูลธรรมแก่ผู้อื่น แม้จะอ่อนเพลียเมื่อยล้าสักเพียงใด ท่านก็ไม่แสดงออกให้ใครต้องรู้สึกวิตกกังวลหรือลำบากใจแต่อย่างใดเลย เพราะอาศัยความเมตตาเป็นที่ตั้ง จึงอาจกล่าวได้ว่า ปฏิปทาของท่านเป็นดั่งพระโพธิสัตว์หรือหน่อพุทธภูมิ ซึ่งเห็นประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าประโยชน์ส่วนตนดังเช่น พระโพธิสัตว์ หรือหน่อพุทธภูมิอีกท่านหนึ่ง คือ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระสุปฏิปันโน สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหลวงปู่ดู่ได้สอนให้ลูกศิษย์ให้ความเคารพ เสมือนครูอาจารย์ผู้ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติอีกท่านหนึ่ง

หลวงปู่ดู่ ท่านได้ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์ออกนอกวัดตั้งแต่ก่อน ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ดังนั้นทุกคนที่ตั้งใจไปกราบนมัสการและฟังธรรมจากท่านจะไม่ผิดหวังเลยว่าจะไม่ได้พบท่าน ท่านจะนั่งรับแขกบนพื้นไม้กระดานแข็งๆ หน้ากุฏิของท่านทุกวัน ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ บางวันที่ท่านอ่อนเพลีย ท่านจะเอนกายพักผ่อนหน้ากุฏิ แล้วหาอุบายสอนเด็กวัดโดยให้เอาหนังสือธรรมะ มาอ่านให้ท่านฟังไปด้วย

ข้อวัตรของท่านอีกอย่างหนึ่งก็คือ การฉันอาหารมื้อเดียวซึ่งท่าน กระทำ มาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แต่ภายหลังคือ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เหล่าสานุ ศิษย์ ได้กราบนิมนต์ให้ท่านฉัน ๒ มื้อ เนื่องจากความชราภาพของท่านประกอบกับต้องรับแขกมากขึ้น ท่านจึงได้ผ่อนปรนตามความเหมาะควรแห่งอัตภาพ ทั้งจะได้เป็นการ โปรดญาติโยมจากที่ไกลๆ ที่ตั้งใจมาทำบุญถวายภัตตาหารแด่ท่าน  

หลวงปู่แม้จะชราภาพมากแล้ว ท่านก็ยังอุตส่าห์นั่งรับแขกที่มาจากทิศต่างๆ วันแล้ววันเล่า ศิษย์ทุกคนก็ตั้งใจมาเพื่อกราบนมัสการท่าน บางคนก็มาเพราะมีปัญหาหนักอกหนักใจแก้ไขด้วยตนเองไม่ได้ จึงมุ่งหน้ามาเพื่อกราบเรียนถามปัญหาเพื่อให้คลายความทุกข์ใจ บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่อง ราง ของขลัง ซึ่งก็มักได้รับคำตอบจากท่านว่า “ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”

บางคนมาหาท่านเพราะได้ยินข่าวเล่าลือถึงคุณความดีศีลาจาริยวัตรของท่านในด้านต่างๆ บางคนมาหาท่านเพื่อขอหวยหวังรวยทางลัดโดยไม่อยากทำงาน แต่อยากได้เงินมากๆ

บางคนเจ็บไข้ไม่สบายก็มาเพื่อให้ท่านรดน้ำมนต์ เป่าหัวให้ มาขอดอกบัวบูชาพระของท่านเพื่อนำไปต้มดื่มให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานาสารพันปัญหา แล้วแต่ใครจะนำมาเพื่อหวังให้ท่านช่วยตน บางคนไม่เคยเห็นท่านก็อยากมาดูว่าท่านมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร บ้างแค่มาเห็นก็เกิดปีติ สบายอก

หลายคนเสียสละเวลา เสียค่าใช้จ่ายเดินทางไกลมาเพื่อพบท่าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอุตส่าห์นั่งรับแขกอยู่ตลอดวัน โดยไม่ได้พักผ่อนเลย และไม่เว้นแม้ยามป่วยไข้ แม้นายแพทย์ผู้ให้การดูแลท่านอยู่ประจำจะขอร้องท่านอย่างไร ท่านก็ไม่ยอมตามด้วยเมตตาสงสาร และต้องการให้กำลังใจแก่ญาติโยมทุกคนที่มาพบท่าน

ท่านเป็นดุจพ่อ  

หลวงปู่ดู่ท่านเป็นดุจพ่อของลูกศิษย์ทุกๆ คน เหมือนอย่างที่พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นเรียกหลวงปู่มั่นว่า “ พ่อแม่ครูอาจารย์ ” ซึ่งถือเป็นคำยก ย่องอย่างสูง เพื่อให้สมฐานะอันเป็นที่รวมแห่งความเป็นกัลยาณมิตร  

หลวงปู่ดู่ท่านให้การต้อรับแขกอย่างเสมอหน้ากันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปราม หากมีผู้มาเสนอตัวเป็นนายหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่เข้ามานมัสการท่าน ถึงแม้จะด้วยเจตนาดี อันเกิดจากความห่วงใยในสุขภาพของท่านก็ตามเพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตส่าห์เดินทางมาไกลเพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้วยังไม่สามารถเข้าพบท่านได้โดยสะดวกก็จะทำให้เสียกำลังใจ

นี้เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงซึ่งนับเป็นโชคดีของบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าใกล้หรือไกล ที่สามารถมีโอกาสเข้ากราบนมัสการท่านได้โดยสะดวก หากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐานมาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย บางครั้งหลวงพ่อก็มิได้กล่าวอะไรมาก เพียงการทักทายศิษย์ด้วยถ้อยคำสั้นๆ เช่น “ เอ้า . . . กินน้ำชาสิ ” หรือ “ ว่า ไง . . ” ฯลฯ เท่านี้ก็เพียงพอที่ยังปีติให้เกิดขึ้นกับศิษย์ผู้นั้นเหมือนดังหยาดน้ำทิพย์ชโลมให้เย็นฉ่ำ เกิดความสดชื่นตลอดร่างกายจน . . . ถึงจิต . . . ถึงใจ  

หลวงปู่ดู่ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวดอย่างมาก ทั้งกล่าวยกย่องในความที่เป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยมตลอดถึงการที่จะได้มาตรัสรู้ธรรมใน อนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายยึดมั่นและหมั่นระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือแม้แต่ประสบปัญหาในทางโลกๆ ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยจะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าได้ท้อถอยหรือละทิ้งการปฏิบัติ

หลวงปู่ดู่กับครูอาจารย์ท่านอื่น  

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๒ ได้มีพระเถระและครูบาอาจารย์ หลาย ท่านเดินทางมาเยี่ยมเยียนหลวงปู่ดู่ เช่นหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรี ท่านเป็นพระเถระซึ่งมีอายุย่างเข้า ๙๖ ปี ก็ยังเมตตามาเยี่ยมหลวงปู่ ดู่ที่วัดสะแกถึง ๒ ครั้งและบรรยากาศของการพบกันของท่านทั้งสองนี้ เป็นที่ประทับใจผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อย่างยิ่ง เพราะต่างองค์ต่างอ่อนน้อมถ่อมตน ปราศจากการแสดงออกซึ่งทิฏฐิมานะใดๆ เลย แป้งเสกที่หลวงปู่บุดดาเมตตามอบให้ หลวงปู่ดู่ท่านก็เอามาทาที่ศีรษะเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างสูง

พระเถระอีกท่านหนึ่งซึ่งได้เดินทางมาเยี่ยมหลวงปู่ดู่ค่อนข้างบ่อยครั้ง คือ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จังหวัดพิจิตร ท่านมีความห่วงใยในสุขภาพของหลวงปู่ดู่อย่างมากโดยได้สั่งให้ลูกศิษย์จัดทำป้ายกำหนดเวลารับแขกในแต่ละวันของหลวงปู่ดู่ เพื่อเป็นการถนอมธาตุขันธ์ของหลวงพ่อให้อยู่ได้นาน ๆ แต่อย่างไรก็ดีไม่ช้าไม่นานหลวงปู่ดู่ท่านก็ให้นำป้ายออกไปเพราะเหตุแห่งความเมตตา ที่ท่านมีต่อผู้คนทั้งหลาย

ในระยะเวลาเดียวกันนั้น ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรืองท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่โง่น โสรโย ก็ได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่ดู่ ๒ ครั้งโดยท่านได้เล่าให้ฟังภายหลังว่า เมื่อได้มาพบหลวงปู่ดู่ จึงได้รู้ว่าหลวงปู่ดู่ก็คือ พระภิกษุชราภาพที่ไปสอนท่านในสมาธิในช่วงที่ท่านอธิษฐานเข้ากรรมปฏิบัติไม่พูด ๗ วัน ซึ่งท่านก็ได้แต่กราบระลึกถึงอยู่ตลอดทุกวัน โดยไม่รู้ว่าพระภิกษุชราภาพรูปนี้คือใคร กระทั่งได้มีโอกาสมาพบหลวงปู่ดู่ที่วัดสะแก เกิดรู้สึกเหมือนดังพ่อลูกที่จากกันไปนานๆ แม้ครั้งที่ ๒ ที่พบกับหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ดู่ก็ได้พูดสอนให้ท่านเร่งความเพียร เพราะหลวงพ่อจะอยู่อีกไม่นาน  

ครูบาบุญชุ่มยังได้เล่าว่า ท่านตั้งใจจะกลับไปวัดสะแกอีกเพื่อหาโอกาสไป อุปัฏฐากหลวงปู่ดู่ แต่แล้วเพียงระยะเวลาไม่นานนักก็ได้ข่าวว่า หลวงปู่ดู่ มรณภาพ ยังความสลดสังเวชใจแก่ท่าน ท่านได้เขียนบันทึกความรู้สึกในใจของท่านไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดู่ ตอนหนึ่งว่า   “…หลวงปู่ท่านมรณภาพสิ้นไป เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างส่องแจ้งใน โลกดับไป อุปมาเหมือนดังดวงประทีปที่ให้ความสว่างไสวแก่ลูกศิษย์ได้ดับไป ถึงแม้ พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้มรณะไปแล้ว แต่บุญญาบารมีที่ท่านแผ่เมตตาและรอยยิ้ม อันอิ่มเอิบยังปรากฏฝังอยู่ในดวงใจอาตมา มิอาจลืมได้ ….ถ้าหลวงปู่มีญาณรับทราบ และแผ่เมตตาลูกศิษย์ลูกหาทุกคน ขอให้พระเดชพระคุณหลวงปู่เข้าสู่ พระนิพพานเป็นอมตะแด่ท่านเทอญ กระผมขอกราบคารวะพระเดชพระคุณหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ด้วยความเคารพสูงสุด ”

นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกรูปหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เพราะหลวงปู่ดู่ให้ความ ยกย่องมากในความเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความเคารพในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหลวงปู่ดู่ได้แนะนำสานุศิษย์ให้ถือท่านเป็นครูอาจารย์อีกท่านหนึ่งด้วย นั่นก็คือหลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง

ปัจฉิมวาร  

นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา สุขภาพของหลวงปู่เริ่มแสดงไตรลักษณะ ให้ปรากฏอย่างชัดเจน สังขารร่างกายของหลวงปู่ซึ่งก่อเกิดมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และมีใจครองเหมือนเราๆ ท่านๆ เมื่อสังขารผ่านมานานวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการใช้งานมาก และพักผ่อนน้อย ความทรุดโทรมก็ย่อมเกิดเร็วขึ้นกว่าปรกติกล่าวคือ สังขารร่างกายของท่านได้เจ็บป่วยอ่อนเพลียลงไปเป็นลำดับ ในขณะที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งญาติโยมและบรรพชิตก็หลั่งไหลกันมานมัสการท่านเพิ่มขึ้น ทุกวัน ในท้ายที่สุดแห่งชีวิตของหลวงปู่ดู่ ด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ว่า “สู้แค่ตาย” ท่านใช้ ความอดทนอดกลั้นอย่างสูง แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่านได้เล่าให้ฟังว่า บางครั้ง ถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่นและมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใคร ต้องเป็นกังวลเลย ในปีท้ายๆ ท่านถูกตรวจพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้นายแพทย์จะขอร้องท่านเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ท่านก็ไม่ยอมไป ท่านเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนเราเคยอยากดี เมื่อดีแล้วก็เอาให้หายอยาก อย่างมากก็สู้แค่ตาย ใครจะเหมือนข้า ข้าบนตัวตาย”

มีบางครั้งได้รับข่าวว่าท่านล้มขณะกำลังลุกเดินออกจากห้องเพื่อออกโปรดญาติโยมคือประมาณ ๖ นาฬิกา อย่างที่เคยปฏิบัติอยู่ทุกวันโดยปกติในยามที่สุขภาพของท่านแข็งแรงดี ท่านจะเข้าจำวัดประมาณสี่ห้าทุ่ม แต่กว่าจะจำวัดจริงๆ ประมาณเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง แล้วมาตื่นนอนตอนประมาณตีสาม มาช่วงหลังที่สุขภาพของท่านไม่แข็งแรง จึงตื่นตอนประมาณตีสี่ถึงตีห้า เสร็จกิจทำวัตรเช้าและกิจธุระส่วนตัว แล้วจึงออกโปรดญาติโยมที่หน้ากุฏิ

ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้งในความหมายว่า ใกล้ถึงเวลาที่ท่านจะละสังขารนี้แล้ว ในช่วงท้ายของชีวิตท่าน ธรรมที่ถ่ายทอดยิ่งเด่นชัด ขึ้น มิใช่ด้วยเทศนาธรรมของท่าน หากแต่เป็นการสอนด้วยการปฏิบัติให้ดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิปทาในเรื่องของความอดทน สมดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประ ทานไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า “ขันตี ปรมัง ตโป ตีติกขา ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง” แทบจะไม่มีใครเลยนอกจากโยมอุปัฏฐากใกล้ชิดที่ทราบว่า ที่ท่านนั่งรับแขกบนพื้นไม้กระดานแข็งๆ ทุกวันๆ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เป็นระยะเวลานับสิบๆ ปี ด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส ใครทุกข์ใจมา ท่านก็แก้ไขให้ได้รับความสบายใจกลับไปแต่เบื้องหลัง ก็คือ ความลำบากทางธาตุขันธ์ของท่าน ที่ท่านไม่เคยปริปากบอกใคร กระทั่งวันหนึ่ง โยมอุปัฏฐากได้รับการไหว้วานจากท่านให้เดินไปซื้อยาทาแผลให้ท่าน จึงได้มีโอกาสขอดูและได้เห็นแผลที่ก้นท่าน ซึ่งมีลักษณะแตกซ้ำๆ ซากๆ ในบริเวณเดิม เป็นที่สลดใจจนไม่อาจกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้

ท่านจึงเป็นครูที่เลิศ สมดังพระพุทธโอวาทที่ว่า สอนเขาอย่างไรพึงปฏิบัติให้ได้อย่างนั้น ดังนั้น ธรรมในข้อ“อนัตตา”  ซึ่งหลวงปู่ท่านยกไว้เป็นธรรมชั้นเอก ท่านก็ได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของศิษย์ทั้งหลายแล้วถึงข้อปฏิบัติ ต่อหลักอนัตตาไว้อย่างบริบูรณ์ จนแม้ความอาลัยอาวรณ์ในสังขารร่างกายที่จะมาหน่วงเหนี่ยว หรือสร้างความทุกข์ร้อนแก่จิตใจท่านก็มิได้ปรากฏให้เห็นเลย

ในตอนบ่ายของวันก่อนหน้าที่ท่านจะมรณภาพ ขณะที่ท่านกำลังเอนกายพักผ่อนอยู่นั้น ก็มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบนมัสการท่าน ซึ่งเป็นการมาครั้งแรก หลวงปู่ดู่ได้ลุกขึ้นนั่งต้อนรับด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ กระ ทั่งบรรดาศิษย์ ณ ที่นั่นเห็นผิดสังเกต หลวงปู่แสดงอาการยินดีเหมือนรอคอย บุคคลผู้นี้มานาน ท่านว่า “ต่อไปนี้ข้าจะได้หายเจ็บหายไข้เสียที” ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าท่านกำลังโปรดลูกศิษย์คนสุดท้ายของท่าน หลวงปู่ดู่ท่านได้ย้ำในตอนท้ายว่า “ข้าขอฝากให้แกไปปฏิบัติต่อ”               

ในคืนนั้นก็ได้มีคณะศิษย์มากราบนมัสการท่านซึ่งการมาในครั้งนี้ไม่มีใคร คาดคิดมาก่อนเช่นกันว่าจะเป็นการมาพบกับสังขารธรรมของท่าน เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว หลวงปู่ดู่ได้เล่าให้ศิษย์คณะนี้ฟังด้วยสีหน้าปรกติว่า “ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดในร่างกายข้าที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้องไอซียูไปนานแล้ว” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” ท้ายที่สุดท่านก็เมตตากล่าวย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ใน ความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขออย่าได้ทิ้งการปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวยขึ้นเวทีแล้วต้องชกอย่ามัวแต่ตั้งท่าเงอะๆงะๆ” นี้ดุจเป็นปัจฉิมโอวาทแห่งผู้เป็นพระบรม ครูของผู้เป็นศิษย์ทุกคน อันจะไม่สามารถลืมเลือนได้เลย

หลวงปู่ดู่ได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบด้วยโรคหัวใจในกุฏิท่าน เมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกาของวันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อายุ ๘๕ ปี ๘ เดือน อายุพรรษา ๖๕ พรรษา สังขารธรรมของท่านได้ตั้งบำเพ็ญกุศลโดยมีเจ้าภาพ สวดอภิธรรมเรื่อยมาทุกวันมิได้ขาด ตลอดระยะเวลา ๔๕๙ วัน จนกระทั่งได้รับพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ในวันเสาร์ที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔

พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้อุปสมบทและจำพรรษาอยู่ ณ วัดสะแก มาโดยตลอด จนกระทั่งมรณภาพ ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ศิษยานุศิษย์ และผู้เคารพรักท่านเป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่างไสวแก่ศิษยานุศิษย์ได้ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านจะยังปรากฏอยู่ใน  ดวงใจของศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพรักท่านตลอดไป บัดนี้ สิ่งที่คงอยู่มิใช่สังขารธรรมของท่าน หากแต่เป็นหลวงปู่ดู่องค์แท้ที่ศิษย์ทุกคนจะเข้าถึงท่านได้ด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดให้มีขึ้นที่ตนเอง สมดังที่ท่านได้กล่าวไว้เป็นคติว่า

“ตราบใดก็ตามที่แกยังไม่เห็นความดีในตัว ก็ยังไม่นับว่าแกรู้จักข้า แต่ ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว เมื่อนั้น...ข้าจึงว่าแกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้น แล้ว ”

ธรรมทั้งหลายที่ท่านได้พร่ำสอน ทุกวรรคตอนแห่งธรรมที่บรรดาศิษย์ได้น้อมนำมาปฏิบัตินั้น ก็คือการที่ท่านได้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามบนดวงใจ ของศิษย์ทุกคน ซึ่งนับวันจะเติบใหญ่ผลิดอก ออกผลเป็นสติและปัญญาบนลำต้นที่แข็งแรงคือสมาธิ และบนพื้นดินที่มั่นคงแน่นหนาคือ ศีล สมดังเจตนารมณ์ที่ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิต ด้วยเมตตาธรรมอันยิ่ง อันจักหาได้ยากทั้งในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต...

คติธรรมคำสอน

บุญนั้นหมั่นทำไว้ปฏิบัติไว้ คนไหนที่เขาว่าทำได้ดี ได้เห็นอะไรก็ตามโมทนาไปเลย ไม่มีเสียมีแต่ได้ อย่าไปขัดเขา

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่เหนือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือกรรม

ถึงแกมาวัด แต่ใจยังมีโลภ โกรธ หลง แกยังมาไม่ถึงวัด แต่ถ้าแกอยู่ที่บ้านหรือที่ไหนๆ แต่ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ข้าว่าแกมาถึงวัดแล้ว

"บุญ คือ ความสบายใจ ก่อนทำก็สบายใจ ขณะทำก็สบายใจ ทำแล้วก็สบายใจ คิดถึงทีไร สบายใจทุกที

ข้าไม่มีศิษย์เอก ไม่มีคนโปรด ข้ารักศิษย์ทุกคนเหมือนกันหมด ข้าอยู่กับทุกคนและช่วยเหลือเหมือนกัน อยู่ที่ใครจะเข้าถึงข้าได้หรือไม่ หมั่นภาวนาเข้าไว้

พวกแกน่ะ เบื่อไม่จริง เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวอยาก

ปฏิบัติธรรมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาวนี่แหละดี เพราะเมื่อแก่เฒ่าไปแล้ว จะนั่งก็โอย จะลุกก็โอย หากจะรอไว้ให้แก่เสียก่อน แล้วจึงค่อยปฏิบัติ ก็เหมือนคนที่คิดจะหัดว่ายน้ำเอาตอนที่แพใกล้จะแตก มันจะไม่ทันการณ์

" ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น

คำกล่าวว่า

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัฌาย์ของเรา

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ... ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ... ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช

ชายก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุ หญิงก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุณี

อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว

ครูอาจารย์ดีๆ มีอยู่มากก็จริง แต่สำคัญที่เราต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มาก นั่นแหละจึงจะดี

การปฏิบัติ ถ้าหยิบตำราโน้นนี้มาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า

โดยมากชอบเอาจากอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา

การจะปฏิบัติให้รู้ธรรมเห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง เอาให้จริงให้รู้

ถ้าไปเรียนกับครูอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูบาอาจารย์

การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้

ศีลคือ ดิน สมาธิ คือ ลำต้น ปัญญาคือ ดอกผล

เราต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ก็ต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน

และต้องคอยระมัดระวังมิให้ตัวหนอนคือ โลภ โกรธ หลง มากัดกิน

ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี้ทั้งนั้น

“โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม”

เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ ไขเขาไม่ได้

ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง... ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

อ้างอิง

  1. ข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ - 109ปี หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ. ข่าวเดลินิวส์ออนไลน์. เรียกข้อมูลเมื่อ 4-11-56
  2. http://www.luangpordu.com/?cid=453621
  3. http://www.luangpordu.com/?cid=453602

หลวงป, รห, มปญ, โญ, หลวงป, พรหมป, ญโญ, เมษายน, 2447, มกราคม, 2533, เป, นภ, กษ, ชาวไทย, จำพรรษา, ดสะแก, งหว, ดพระนครศร, อย, ธยา, พรหมป, ญโญ, หลวงป, เก, ด29, เมษายน, 2447อาย, 85อ, ปสมบทพ, 2468พรรษา65ว, ดว, ดสะแกจ, งหว, ดจ, งหว, ดพระนครศร, อย, ธยาส, วนหน, งของสาร. hlwngpudu phrhmpyoy 1 29 emsayn ph s 2447 17 mkrakhm ph s 2533 epnphiksuchawithy caphrrsa n wdsaaek cnghwdphrankhrsrixyuthya du phrhmpyoy hlwngpuduekid29 emsayn ph s 2447xayu85xupsmbthph s 2468phrrsa65wdwdsaaekcnghwdcnghwdphrankhrsrixyuthyaswnhnungkhxngsaranukrmphraphuththsasna enuxha 1 prawtihlwngpudu phrhmpyoy 2 1 1 chatiphumi 1 2 pthmwyaelakarsuksaebuxngtn 1 3 suephsphrhmcrry 1 4 prasbkarnthudngkh 1 5 nimitthrrm 1 6 xxnnxmthxmtn 1 7 xubaythrrm 1 8 ichchiwitxyangphurksnodsaelaeriybngay 1 9 kusolbayinkarsrangphra 1 10 epiymdwyemtta 1 11 thanepnducphx 1 12 hlwngpudukbkhruxacarythanxun 1 13 pcchimwar 2 khtithrrmkhasxn 3 xangxingprawtihlwngpudu phrhmpyoy 2 aekikhchatiphumi aekikh phrakhunecahlwngpudu phrhmpyoy michatikaenidinskul hnusri edim chux du ekidemuxwnthi 29 emsayn ph s 2447 trngkbwnsukrkhun 15 kha eduxn 6 pimaorng sungtrngkbwnwisakhbucha n bankhawema tablkhawema xaephxxuthy cnghwd phrankhrsrixyuthyaoymbidachux phud oymmardachux phum thanmiphinxngrwmmardaediywkn 3 khn thanepnbutrkhnsudthay mioymphisaw 2 khn michuxtamladbdngni 1 phisawchux thxngkha sunimitr 2 phisawchux sum phungkusl 3 twthan pthmwyaelakarsuksaebuxngtn aekikh chiwitinwyedkkhxngthanducakhad khwamxbxunxyumak dwykaphrabida mardatngaeteyawwy nayywng phungkusl sungmiskdiepnhlankhxngthan idelaihfngwa bidamarda khxngthanmixachiphthana odynxkvduthanacamixachiphthakhnmikhmngkhlkhay emuxtxnthithanyngepnedkthark miehtukarnsakhythikhwrbnthukiw khuxinkhunwnhnungsungepnhnana khnathibidamardakhxngthankalngthxd khnmmngkhl xyunn thansungthuk wangxyubnebaanxkchankhnediyw imthrabdwyehtuidtwthanidklingtklngipinna thngkhnthngebaaaetepnthixscrryyingthitwthanimcmna klblxynacniptidxyukhangrwkrathngsunkheliyngthibanthan maehnekhacungidehaphrxmkbwingklbipklbmarahwangtwthankbmardathan emuxmardathanedintamsunkheliyngxxkma cungidphbthanlxynatidxyuthikhangrw sungehtukarnkhrngnnthaihmardathanechuxmnwathan catxngepnphumibuywasnamakmaekid mardakhxngthanidthungaekkrrmtngaetthanyngepntharkxyu txmabidakhxngthankcakipxikkhnathanmixayuidephiyng 4 khwbethann thancungtxngkaphrabidamardatngaetyngepnedkelkcakhwamimid thanidxasyxyukbyayodymioymphisawthichux sum epnphuduaelexaicis aelathankidmioxkassuksaelaeriynthiwdklangkhlxngsrabw wdpraduthrngthrrm aelawdniewsnthrrmprawti suephsphrhmcrry aekikh emuxthanxayuid 21 pi kidekhaphithibrrphchaxupsmbthemuxwnthi 10 phvsphakhm ph s 2468 trngkbwnxathityaerm 4 kha eduxn 6 n wdsaaek tablthnu xaephxxuthy cnghwdphrankhrsrixyuthya odymihlwngphx kln ecaxawaswdphrayatikaram epnphraxupchchay mihlwngphx aed ecaxawaswdsaaek khnannepnphrakrrmwacacary aelamihlwngphx chay wdklangkhlxngsrabw epnphraxnusawnacaryidrbchayawa phrhmpyoy inphrrsaaerk nn thanidsuksaphrapriytithrrmthiwdpraduthrngthrrmsunginsmynneriykwawdpraduorngthrrmodymiphraxacaryphusxnkhuxthanecakhunenuxng phrakhruchm aela hlwngphxrxd esux epntn indankarptibtiphrakrrmthannn thanidsuksakbhlwngphxkln phuepnxupchchay aelahlwngphxepha sisyxngkhsakhykhxnghlwngphxkln sungmiskdiepnxakhxngthan emuxthanbwchidphrrsathisxngpramanplaypi ph s 2469 hlwngphxklnmrnphaph thancungidsuksahakhwamrucakhlwngphxepha epnsakhy nxkcaknithanyng idsuksacaktarbtarathimixyucakchadkbang cakthrrmbthbangaeladwykhwamthithanepnphuifrurkkarsuksa thancungidedinthangipsuksahakhwamruephimetimcakphraxacaryxikhlaythanthicnghwdsuphrrnburi aelasraburi prasbkarnthudngkh aekikh pramaneduxnphvscikayn ph s 2486 xxkphrrsaaelwthankerim xxkedinthudngkhcakcnghwdphrankhrsrixyuthya odymiepahmaythipaekhathangaethbcnghwdkaycnburi aelaaewanmskarsthanthisakhythangphraphuththsasna echn phraphuththchayaela rxyphraphuththbath cnghwdsraburi caknnthankedinthudngkhipyngcnghwdsinghburi suphrrnburi cnthungcnghwdkaycnburi cungekhaphkptibtitampaekhaaelathatang hlwngpudu thanekhyelaihfngwaerimaerkthithankhwnkhwaysuksaaelaptibtinn aethcringmiidmungennmrrkhphlniphphanhakaettxngkareriynruihidwichatang epntnwawichakhngkraphnchatri kephuxthicasukxxkipaekaekhnphwkocrthiplnban oymphxoymaemthanthung 2 khrng aetedchabuy aemthancasaercwichatang tamthitngiciwthanklbidkhid nuksldsngewchictwexngthiplxyihxarmnxakhataekhntharay citic tnexngxyuepnewlanbsib pi inthisudthankidtngcitxohsikrrmihaekocrehlann aelw mungptibtifukfn xbrmtn tamthangaehngsil smathi aelapyya xyangaethcring inrahwangthithanedinthudngkhxyunn thanekhyelaihfngwaidphbfungkhwaypakalngedinekhamathangthan thantngstixyukhruhnungcungtdsinicxyangeddediyw hyudyunphawnaningxyu fungkhwaypathimungtrngmathangthan phxekhamaiklcathungtwthan kklbedinthksinarxbthanaelwkcakip bangaehngthithanedinthudngkhipthung thanmkphbkbphwknkelngthichxblxngkhxng khrnghnungmiphwknkelngexapunmayingisthankhnanngphawnaxyuinkld thanelaihfngwa phwkniimekharphphra snic aet khxngdi emuxyingpunimxxk cungphaknmaaesdngtwdwykhwamnxbnxm phrxmkbxxnwxnkhx khxngdi thaihthantxngxxkedinthudngkhhniipthangxunkarptibtikhxngthaninchwngthudngkhxyunn epnipxyangexacringexacng yxmmxbkaythwaychiwitiwkbpaekha aetsukhphaphthatukhnthkhxngthankimepnicesiyely bxykhrngthithantxngexaphamakhadthihnaphak ephuxbrrethaxakarpwdsirsa xikthngkmixakarethacharunaerngkhuneruxy aemkrannthankyngimlakhwamephiyrsmdngthithanekhy sxnluksisywa niphphanxyufaktay inkarpraphvtiptibtinn catxngyxmmxbkaythwaychiwitlngip dngthithanekhyklawiwwa thamnimdihruximidphbkhwamcringkihmntaythamnimtaykihmndi hruxidphbkbkhwamcring dngnn xupsrrkhtang cungklbepnpccychwyihcitickhxngphuptibtiaekhngaekrngkhunepnladb nimitthrrm aekikh xyumawnhnung pramankxnpi ph s 2500 elknxy hlngcakhlwng puduswdmntthawtreyn aelaptibtikicswntwesrceriybrxyaelwthankcawd ekidnimitipwa idchndawthimiaesngswangmak 3 dwng inkhnathikalngchnxyunnkrusukwakrxb di kelychnekhaipthnghmd aelwcungtkictunemuxthanphicarnaikhrkhrwythungnimitthrrmthiekidkhun kekidkhwamekhaickhun waaekw 3 dwngnn kkhuxphraitrsrnakhmnnnexng phxthanwa phuththng srnng khcchami thmmng srnng khcchami sngkhng srnng khcchami kekidxscrrykhunincitthan phrxmkbxakarpitixyangthwmthn thngekidkhwamrusukluk sungaelamnicwa phraitrsrnakhmnniaehlaepnrakaekwkhxngphraphuththsasna thancungkahndexamaepnkhabrikrrmphawnatngaetnnepntnmaennhnkthikarptibtihlwngpuduthanihkhwamsakhyxyangmakineruxngkhxngkarptibtismathiphawna thanwa thaimexa ptibti epnethaesiydikwa insmykxnemuxtxnthisalaptibtithrrmhnakutithanyngsrangimesrcnn thankemttaihichhxngswntwthithanichcawd epnthirbrxngsanusisyaelaphusnicidichepnthiptibtithrrm sungnbepnemttaxyangsung sahrbphuthiipkrabnmskarthanbxy hruxmioxkasidfngthansnthnathrrm kkhngcaidehnkusolbayinkarsxnkhxngthanthicaonmnaw phufngihwkekhasukarprbprungaekikhtnexng echnkhrnghnungmiluksisywiphakswicarnkhnnnkhnniihthanfngin echingwaklawwa epntnehtukhxngpyhaaelakhwamyungyak aethnthithancaexxxxiptamxncathaiheruxngyingbanplayxxkip thanklbpramwa eruxngkhxngkhnxun eraipaekekhaimid thiaekidkhuxtwera aekkhangnxkepneruxngolk aetaekthitweraniepneruxngthrrm khasxnkhxnghlwngpuducungsruplngthikarichchiwitxyangkhnimpramathnnhmaythungwasingthicatxngepnipphrxm kn kkhux khwamphakephiyrthilngsuphakhptibti inmrrkhwithithiepnsaraaehngchiwitkhxngphuimpramath dngthithanphudyaesmxwa hmnthaekhaiw xxnnxmthxmtn aekikh nxkcakkhwamxdthn xdklnyingaelw hlwngpuduyngepnaebbxyangkhxngphuimthuxtw wangtwesmxtnesmxplay imyktnkhmphuxun emuxkhrngthismedcphraphuthacary esngiym wdsuthsnethphwraram hruxthieraeriykknwa thanecakhunesngiym sungmixayuphrrsamakkwahlwngpudu 1 phrrsa manmskarhlwngphxodyykyxngepnkhruepnxacary aetemuxthanecakhunesngiym krabhlwngphxesrcaelwhlwngphxthankkrabtxb eriykwatangxngkhtangkrabsungknaelakn epnphaphthiphbehnidyakehluxekin inolkthiphukhnthnghlaymiaetcaetibotthangdanthitthimana khwamthuxtwxwddi xwdedn yktnkhmthan plxyihkielstwhlngxxkeriyrad ethiywprakasihphukhnthnghlayidruwatnekng odyecatwkimruwathukkielskhunkhikhxphabngkarihepnip hlwngpuduimekhywiphakswicarnkarptibtithrrmkhxngsankihn inechinglbhluhruxepriybethiybduthukduhmin thanwa khndinaekhaimtiikhr sungluksisythnghlayidthuxepnaebbxyanghlwngpuduepnphraphudnxy immakowhar thancaphudyaxyuaetineruxngkhxngkarptibtithrrmaelakhwamimpramath echn khxngdixyuthitwera hmntha ptibti ekhaiw ihhmnducit rksacit xyalumtwtay aela ihhmnphicarna xniccng thukkhng xntta epntn xubaythrrm aekikh hlwngpuduepnphuthimixubaythrrmluksung samarthkhdeklacitickhnxyangkhxyepnkhxyip miiderngrdexaphl echnkhrnghnungminkelngehlatidtamephuxnsungepn luk sisymakrabnmskarthan snthnaknidskphkhnung ephuxnthiepnluksisy kchkchwnephuxnnkelngehlaihsmathansil 5 phrxmkbfukhdptibtismathiphawna nkelngehlaphunnkaeyngwa camaihphmsmathansilaelaptibtiidynging kphmyngkinehlaemayaxyunikhrb hlwngpuduthanktxbwa exngcakinkkinipsi khaimwa aetihexngptibtiihkhawnla 5 nathi kphx nkelngehlaphunnehnwanngsmathiaekhwnla5 nathi imicheruxngyakeynxair cungidtxbpakrbkhacakhlwngphxdwykhwamthiepnkhnnisythaxairthacring suxstytxtwexngthaihekhasamarthptibtiidsmaesmxeruxymamiidkhadaemaetwnediywbangkhrngthungkhnadngdipkinehlakbephuxn ephraaidewlaptibticitkhxngekhaerimesphkhunkbkhwamsukhsngbcakkarthicitepnsmathi imchaimnanekhaksamarthelikehlaidodyimrutwdwyxubaythrrmthinxmnamacakhlwngpu txmaekhaidmioxkasmanmskarthanxikkhrng thinihlwngpuduthanihoxwathwa thiaekptibtixyu ihruwaimichephuxkha aetephuxtwaekexng khaphudkhxnghlwngputhaihekhaekhaicxairmakkhun srththaaelakhwamephiyr txkarptibtikmimakkhuntamladb thdcaknnimkipi ekhaphuthixditekhyepnnkelngehlaklaephskhrawasekhasuephsbrrphchittngicptibtithrrmeruxymaxikkhrnghnungmichawbanhaplamanmskarthan aelakxnklbthankihekhasmathansil 5 ekhaekidtakhidtakhwngickraberiynthanwa phmimklasmathansil 5 ephraaruwapraediywktxngipcbpla cbkung mnepnxachiphkhxngphmkhrb hlwngputxbekhadwykhwamemttawa aekcaruehrxwa aekcatayemuxihr imaenwaaekedinxxkipcakkutikhaaelw xacthukngukdtayesiyklangthangkxnipcbpla cbkung kid ephraachannemuxtxnniaekyngimidthabapkrrmxair ynging kihmisiliwkxn thungcamisilkhadkyngdikwaimmi sil hlwngpuduthanimephiyngphrasxnihbrrdasisythnghlayecriybaephy khunngamkhwamdiethann hakaetyngennyaihehnkhwamsakhy aelaramdrawnginkarrksaiw sungkhunngamkhwamdinn ihkhngxyu rwmthngecriyngxkngamkhuneruxy than mkcaphudetuxnesmx waemuxpluktnthrrmdwydiaelw ktxngkhxyhmnrawngxyaihhnxnaelaaemlng idaek khwamolph khwamokrth aelakhwamhlng makdkinthalaytnthrrmthixutsahplukkhun aelaxikkhrnghnungthithanaesdngthungaebbxyangkhxngkhwamepnkhruxacarythiprascakthitthimanaaelaepiymdwyxubaythrrm kkhuxkhrngthiminksuksamhawithyalythrrmsastr 2 khn sungepnluksisykhxngthan makrablaphrxmkberiynihthanthrabwa caedinthangipphkkhangephuxptibtithrrmkb thanphraxacarymhabw yansmpnon wdpabantad cnghwd xudrthanihlwngpuduthanfngaelwkykmuxphnmkhunihwipthangkhang phrxmkbphudwa khaomthnakbphwkaekdwy twkhaimmioxkas immielythithancahampram hruxaesdngxakarthieriykwahwngluksisy trngknkhammiaetcasngesrim snbsnun ihkalngicephuxihluksisykhxngthankhwnkhwayinkarptibtithrrmying khunipaetthaepnkrnithimiluksisymaeriynihthanthrabthungkhruxacarynnxngkhniinlksnatunkhrutunxacary thankcapramephuxwkekhasuecatw odyphudetuxnstiwa khruxacarydi aemcamixyumak aetsakhythitwaek txngptibtiihcring sxntwexngihmaknnaehlacungcadi hlwngpuduthanmiaenwthangkarsxnthrrmathieriybngay fngngaychwnihtidtamfng thannaexasingthiekhaicyakmaaesdngihekhaicngay ephraathancaykxupmaxupmy prakxbinkarsxnthrrmacungthaihphufngehnphaphaelaekidkhwamekhaicinthrrmthithannamaaesdng aemwathanmkcaxxktwwathanepnphrabannxkthiimmikhwamruxair aetsahrbbrrdasisythnghlay khngimxacptiesthwa hlaykhrngthithansamarthphudaethngekhaipthungknbunghwickhxngphufngthiediyw xikprakarhnung dwykhwamthithanmirupranglksnathiepnthinaekharph eluxmis emuxikhridmaphbehnthandwytnexng aelathayingidsnthnathrrmkbthanodytrngkcayingephimkhwamekharpheluxmisaelasrththaintwthanmakkhunepnthwikhunhlwngpuduthanphudthungkarpraphvtiptibtikhxngkhnsmyniwa khnerathukwnni olkethaaephndin thrrmethaplayekhm eramwphaknyungxyukbolkcnehmuxnlingtidtng eruxngkhxngolk eruxngela eruxngimmithisinsud eraipaekikhekhaimidcatxngaekikhthitweraexng tnkhxngtnetuxntndwytnexng thanidxbrmsngsxnsisyodyihphyayamthuxexaehtukarntang thiekidkhunmaepnkhrusxntnexngesmx echninhmukhna hakmiphuidpraphvtiptibtidi ecriyinthrrmptibti thankklawchmaelaihthuxepnaebbxyang aetthamiphupraphvtiphid thukthantahnitietiyn kihnxmexaehtukarnnn masxntnthukkhrngip thanimidchmphuthadicnhlnglumtn aelathanimidtietiynphuthaphidcnhmdkalngic aetthuxexaehtukarn epnesmuxnkhruthiepnkhwamcring aesdngehtuphlihehnthrrmthiaethcringkarsxnkhxngthankphicarnadubukhkhldwy echn khnbangkhnphudihfng ephiyngxyangediywimekhaic bangthithanktxngthaihekidkhwamklw ekidkhwamlaxaybangthungcahyud eliklakarkrathathiimdinn id hruxbangkhnepnphumixupnisyebabangxyuaelwthanksxnthrrmda karsxnthrrmakhxngthan bangthiksxnihklabangthiksxnihklwthiwasxnihklannkhux ihklainkarthakhwamdi klainkarpraphvtiptibtiephuxthxdthxnkielsxxkcakic imihtkepnthaskhxngkielsxyuraip swnthisxnihklwnn thanihklwinkarthakhwamchw phidsilthrrm epnoths thaaelwphuxuneduxdrxn bangthithanksxnihechux khuxihechuxmninkhunphraphuthth phrathrrm phrasngkh echuxineruxngkrrm xyangthithanekhyklawwa echuxihmla thaeraechuxcring thacring mnkepnkhxngcring khxngcringmixyu aeteramnimechuxcring cungimehnkhxngcring hlwngpuduthansxnihmiptipthasmaesmxthanwa khynkihthakhiekiyckihtha thawnihnyngkinkhawxyuktxngthawnihnelikkinkhawaelwnnaehlacungkhxyeliktha karsxnkhxngthannnmiidennaetephiyngkarnnghlbtaphawna hakaethmayrwmipthungkarkahnddu kahndru aelaphicarnasingtang inkhwamepnkhxngimethiyng epnthukkh epnxnttaodyechphaaxyangying thanchiihehnthungsngkharrangkaythimnekidmntayxyutlxdewla thanwa erawnnikberaemuxtxnepnedkmnkimehmuxneka erakhnanikberaemuxwankimehmuxneka cungwaeraemuxtxnepnedk hruxeraemuxwanmnidtayipaelw eriykwarangkayeramnekid tay xyuthuklmhayicekhaxxk mnekid tay xyuthukkhnacit thansxnihbrrdasisyehncringthungkhwamsakhykhxngkhwamthukkhyak waepnsingmikhunkhainolkthancungphudbxykhrngwa karthieraprasbthukkh nnaesdngwaeramathukthangaelw ephraaxasythukkhnnaehla cungthaiheraekidpyyakhunid ichchiwitxyangphurksnodsaelaeriybngay aekikh hlwngpuduthanyngepnaebbxyangkhxngphumknxysnodsichchiwiteriybngay imniymkhwamhruhrafumefuxy aemaetkarsrngna thankyngimekhyichsbuely aetknaxscrry emuxidthrabcakphraxuptthakwaimphbwa thanmiklintw aeminhxngthithancawd miphupwarnatwcathwayekhruxngichaelasingxanwykhwamsadwktang ihkbthan sungswnihythancaptiesth khngrbiwbangethathiehnwaimekinelyxncaesiysmnasarup aelaichsxyphxihphuthwayidekidkhwamplumpitithiidthwayaekthan sunginphayhlngthankmkykihepnkhxngsngkhswnrwmechnediywkbkhawkhxngtang thimiphumathwayepnsngkhthan odyphanthan aelaemuxthungewlaehmaakhwrthankcacdsrripihwdtang thixyuinchnbth aela yngkhadaekhlnxyusingthithanthuxptibtismaesmxineruxnglaphskkara kkhuxkarykihepnkhxng sngkhswnrwm aempccythimiphuthwayihkbthanepnswntwsahrbkharksaphyabalthanksmthbekhainkxngthunsahrbcdsrripinkicsatharnpraoychntang thngorngeriyn aelaorngphyabalhlwngpudu thanimmixakaraehngkhwamepnphuxyakednxyakdngaemaetnxy dngnn aemthancaepnephiyngphrabannxkruphnungsungimekhyxxkcakwdipihn thngimmikarsuksaradbsung in thangolk aetinkhwamrusukkhxngluksisythnghlay thanepndngphraethraphuthungphrxmdwycriywtrxnngdngam sngb eriybngay ebikban aelathungphrxmdwythrrmwuthithiruthwnthwinwichchaxncanapha ihphnekidphnaekphnecbphntaythungfngxneksm epnthifakepnfaktayaelafakhwickhxngluksisythukkhnineruxngthrphysmbtidngedimkhxngthan odyechphaaxyangyingthina sungmixyu pra man 30 ir thankidaebngihkbhlan khxngthan sungincanwnni nayywng phungkusl phuepnbutrkhxngnangsum oymphisawkhnklangthiekhyeliyngduthanmatlxd kidrbswnaebngthinacakthandwycanwn 18 iress aetdwykhwamthinayywngphuepnhlankhxngthanniimmithayath idkhidpruksanangthmya phuphrryaehnkhwrykihepn satharnpraoychncungykthidinaeplngniihkborngeriynwdsaaeksunghlwngpuduthankxnuomthnainkuslectnakhxngkhnthngsxng kusolbayinkarsrangphra aekikh hlwngpuduthanmiidtngtwepnekcixacary karthithansranghruxxnuyatihsrangphraekhruxnghruxphrabucha kephraaehnpraoychn ephraabukhkhlcanwnmakyngkhadthiyudehniywthangcitic thanmiidcakdsisyxyuechphaaklumidklumhnung dngnnkhnasisykhxngthancungmikwangkhwangxxkip thngthiificthrrmlwn hruxthiyngtxngxingkbwtthumngkhl thanekhyphudwa tidwtthumngkhl kyngdikwathicaihiptidwtthuxpmngkhl thngni thanyxmichdulyphinicphicarnatamkhwamehmaakhwraekphuthiiphathanaemwahlwngpuducarbrxnginkhwamskdisiththikhxngphraekhruxngthithan xthisthancitih aetsingthithanykiwehnuxkwannkkhuxkarptibtidngcaehnidcakkhaphudkhxngthanwa exakhxngcringdikwa phuththng thmmng sngkhng srnng khcchami niaehlakhxngaeth cakkhaphudnicungesmuxnepnkaryunynwakarptibtiphawnaniaehlaepnthisudaehngekhruxngrangkhxngkhlng ephraakhnbangkhnaemaekhwnphrathiphuthrngkhunwiessxthisthancitihktam kichwacarxdplxdphyxyudimisukhipthukkrni xyangiresiythukkhnimxac hlikhniwibakkrrmthitnidsrangiw dngthithanidklawiwwa singskdisiththithixyuehnuxsingskdisiththi kkhux krrmdngnn cungmiaet phra sti phra pyya thifukfnxbrmmadiaelw ethannthicachwyihphuptibtiruethathnaelaphrxmthicaephchiykbpyhaaelasingkrathbtang thi ekhamainchiwit xyangimthukkhic ducwasingehlannepnesmuxnvdukalthiphanekhamainchiwit bangkhrngrxnbangkhrnghnaw thuksingthukxyanglwnepniptamthrrmdakhxngolkphraekhruxnghruxphrabuchatang thithanxthisthanplukeskihaelwnn praktphlaekphubuchaindantang echn aekhlwkhladl nnkepnephiyngphlphlxyid sungepnpraoychnthangolk aetpraoychnthithansrangmunghwngxyangaethcringnnkkhux ichepnekhruxngmuxinkarptibtiphawna miphuththanusti krrmthan epntn nxkcakniaelwphuptibtiyngidxasyphlngcitthithantngicbrrcuiwinphraekhruxngchwynxmnaaelaprakhbprakhxngihcitrwmsngbiderwkhun tlxdthungkarichepnekhruxngesrimkalngicaelarangb khwamhwadwitkinkhnaptibti thuxepnpraoychnthangthrrmsungkxihekidphthnakarthangcitkhxngphuichipsukarphungphatnexngidinthisudcakthiebuxngtneraidxasyphuththng srnng khcchami thmmng srnng khcchami aelasngkhng srnng khcchami khuxyudexaphraphuthth phrathrrm phrasngkh epnsrna cncitkhxngeraekidsrththaodyechphaaxyangyingthieraeriykknwa tthakhtophthisththa khuxechuxpyyatrsrukhxngphraphuththecakhunaelw erakyxmekidkalngickhunwaphraphuththxngkhedimkepnkhnthrrmdaechnediywkbera khwamphidphladphraxngkhkekhythrngthamakxn aetdwykhwamephiyrprakxbkbphrastipyyathithrngxbrmmadiaelw cungsamarthkawkhamwttasngsarsukhwamhludphn epnkarbukebikthangthiekhyrkchtihphwkeraidedinkn dngnnerasungepnmnusyechnediywkbphraxngkh kyxmthicamiskyphaphthicafukfnxbrmkay waca ic dwytweraexngidechnediywkbthiphraxngkhthrngkrathama phudxikxyanghnungkkhux kay waca ic epnsingthifukfnxbrmknidichwacatxngplxyihihliptam ythakrrm emuxciteraekidsrththadngthiklawmaniaelw kmikarnxmnaexakhxthrrmkhasxntang mapraphvtiptibtikhdeklakielsxxkcakictncitickhxngerakcaeluxnchn cakputhuchnthihnaaenndwykiels khun suklyanchnaelaxriychn epnladb emuxepndngniaelwinthisuderakyxmekhathungthiphungkhuxtweraexng xnepnthiphungthiaethcringephraakay waca ic thiidphankhntxnkarfukfnxbrmodykarecriysil smathi aelapyyaaelwyxmklayepn kaysucrit wacasucrit aelamonsucrit krathasingid phudsingid khidsingid kyxmhaothsmiidthungewlannaemphraekhruxngimmi kimxacthaiheraekidkhwam hwnihw hwadklw khunidely epiymdwyemtta aekikh nukthungsmyphuththkal emuxphraphuththxngkhthrngprachwrhnkkhrngsudthayaehngkarpriniphphan thanphraxannthphuxuptthakphraxngkhxyutlxdewlaidhammanph phuhnungsungkhxrxngcakhxekhaefaphraphuththecakhnann phraxannthkhdkhanxyangeddkhadimihhaekhaefa aemmanphkhxrxngthung 3 khrng thankimyxmcnkrathngesiyngkhxkbesiyngkhddngthungphraphuththxngkh phraphuththxngkhcungtrswa xannth xyahammanphnnelycngihekhamaediywni emuxidrbxnuyataelwmanph kekhaefaphraphuththecaidfngthrrm cnbrrlumrrkhphlaelwkhxbwchepnphrasawkxngkhsud thayminamwa phrasuphththa phraxannththanthahnathikhxngthanthuktxngaelw immikhwamphidxnidelyaemaetnxy swnthiphraphuththecaihekhaefannepnswnphramhakrunathikhunkhxngphraxngkhthithrngmitxsrrphstwthnghlayodyimmipraman yxmaephiphsalipthwthngsamolkphrasawkrunhlngkrathngthungphraethrahruxkhrubaxacaryphusungxayuodythwipthimiemtta sung rwmthnghlwngphxyxmepnthiekharphnbthuxkhxngchnhmumak thankxuthischiwitephuxkic phrasasna kimkhxykhanungthungkhwamchraxaphathkhxngthan ehnwaphuididpraoychncakkarbuchaskkarathan thankxanwypraoychnnnaekekhaemuxkhrngthihlwngpuxaphathxyu idmiluksisykraberiynthanwa rusukepnhwng hlwngpu thanidtxbsisyphunndwykhwamemttawa hwngtwaekexngethxa xikkhrngthiphuekhiynekhyeriynhlwngpuwa khxihhlwngpuphkphxnmak hlwngputxbthnthiwa phkimid mikhnekhamaknmak bangthiklangkhunekhakmakn eraehmuxnnktwna eraepnkhruekhani khru ekhatirakhngidewlasxnaelwktxngsxn imsxnidynging chiwitkhxngthanekidmaephuxekuxkulthrrmaekphuxun aemcaxxnephliyemuxylaskephiyngid thankimaesdngxxkihikhrtxngrusukwitkkngwlhruxlabakicaetxyangidely ephraaxasykhwamemttaepnthitng cungxacklawidwa ptipthakhxngthanepndngphraophthistwhruxhnxphuththphumi sungehnpraoychnkhxngphuxunmakkwapraoychnswntndngechn phraophthistw hruxhnxphuththphumixikthanhnung khux hlwngputhwdehyiybnathaelcud phrasuptipnon smykrungsrixyuthya sunghlwngpuduidsxnihluksisyihkhwamekharph esmuxnkhruxacaryphuchiaenaaenwthangkarptibtixikthanhnunghlwngpudu thanidtdsinicimrbkicnimntxxknxkwdtngaetkxn pi ph s 2490 dngnnthukkhnthitngicipkrabnmskaraelafngthrrmcakthancaimphidhwngelywacaimidphbthan thancanngrbaekhkbnphunimkradanaekhng hnakutikhxngthanthukwn tngaetechacrdkha bangwnthithanxxnephliy thancaexnkayphkphxnhnakuti aelwhaxubaysxnedkwdodyihexahnngsuxthrrma maxanihthanfngipdwykhxwtrkhxngthanxikxyanghnungkkhux karchnxaharmuxediywsungthan kratha matngaetpramanpi ph s 2500 aetphayhlngkhux pramanpi ph s 2525 ehlasanu sisy idkrabnimntihthanchn 2 mux enuxngcakkhwamchraphaphkhxngthanprakxbkbtxngrbaekhkmakkhun thancungidphxnprntamkhwamehmaakhwraehngxtphaph thngcaidepnkar oprdyatioymcakthiikl thitngicmathabuythwayphttaharaedthan hlwngpuaemcachraphaphmakaelw thankyngxutsahnngrbaekhkthimacakthistang wnaelwwnela sisythukkhnktngicmaephuxkrabnmskarthan bangkhnkmaephraamipyhahnkxkhnkicaekikhdwytnexngimid cungmunghnamaephuxkraberiynthampyhaephuxihkhlaykhwamthukkhic bangkhnmahathanephuxtxngkarkhxngdiechnekhruxng rang khxngkhlng sungkmkidrbkhatxbcakthanwa khxngdinnxyuthitwera phuththng thmmng sngkhng niaehlakhxngdi bangkhnmahathanephraaidyinkhawelaluxthungkhunkhwamdisilacariywtrkhxngthanindantang bangkhnmahathanephuxkhxhwyhwngrwythangldodyimxyakthangan aetxyakidenginmakbangkhnecbikhimsbaykmaephuxihthanrdnamnt epahwih makhxdxkbwbuchaphrakhxngthanephuxnaiptmdumihhaycakorkhphyikhecbtang nanasarphnpyha aelwaetikhrcanamaephuxhwngihthanchwytn bangkhnimekhyehnthankxyakmaduwathanmirupranghnataxyangir bangaekhmaehnkekidpiti sbayxkhlaykhnesiyslaewla esiykhaichcayedinthangiklmaephuxphbthan dwyehtunithancungxutsahnngrbaekhkxyutlxdwn odyimidphkphxnely aelaimewnaemyampwyikh aemnayaephthyphuihkarduaelthanxyupracacakhxrxngthanxyangir thankimyxmtamdwyemttasngsar aelatxngkarihkalngicaekyatioymthukkhnthimaphbthan thanepnducphx aekikh hlwngpuduthanepnducphxkhxngluksisythuk khn ehmuxnxyangthiphrakrrmthansayphraxacarymneriykhlwngpumnwa phxaemkhruxacary sungthuxepnkhayk yxngxyangsung ephuxihsmthanaxnepnthirwmaehngkhwamepnklyanmitr hlwngpuduthanihkartxrbaekhkxyangesmxhnaknhmd immikaraebngchnwrrna thancaphudhampram hakmiphumaesnxtwepnnayhnakhxycdaecngekiywkbaekhkthiekhamanmskarthan thungaemcadwyectnadi xnekidcakkhwamhwngiyinsukhphaphkhxngthanktamephraathanthrabdiwamiphuifthrrmcanwnmakthixutsahedinthangmaiklephuxnmskaraelaskthamkhxthrrmcakthan hakmathungaelwyngimsamarthekhaphbthanidodysadwkkcathaihesiykalngicniepnemttathrrmxyangsungsungnbepnochkhdikhxngbrrdasisythnghlay imwaiklhruxikl thisamarthmioxkasekhakrabnmskarthanidodysadwk hakmiphusnickarptibtikrrmthanmahathan thancaemttasnthnathrrmepnphiess xyangimehnaekehndehnuxy bangkhrnghlwngphxkmiidklawxairmak ephiyngkarthkthaysisydwythxykhasn echn exa kinnachasi hrux wa ing l ethanikephiyngphxthiyngpitiihekidkhunkbsisyphunnehmuxndnghyadnathiphycholmiheyncha ekidkhwamsdchuntlxdrangkaycn thungcit thungic hlwngpuduthanihkhwamekharphinxngkhhlwngputhwdxyangmak thngklawykyxnginkhwamthiepnphuthimibarmithrrmetmepiymtlxdthungkarthicaidmatrsruthrrmin xnakht ihbrrdaluksisythnghlayyudmnaelahmnralukthung odyechphaaxyangyingemux tidkhdinrahwangkarptibtithrrm hruxaemaetprasbpyhainthangolk thanwa hlwngputhwdthankhxycachwyehluxthukkhnxyuaelw aetkhxihthukkhnxyaidthxthxyhruxlathingkarptibti hlwngpudukbkhruxacarythanxun aekikh inrahwangpi ph s 2530 2532 idmiphraethraaelakhrubaxacary hlay thanedinthangmaeyiymeyiynhlwngpudu echnhlwngpubudda thawor wdklangchusriecriysukh cnghwdsinghburi thanepnphraethrasungmixayuyangekha 96 pi kyngemttamaeyiymhlwngpu duthiwdsaaekthung 2 khrngaelabrryakaskhxngkarphbknkhxngthanthngsxngni epnthiprathbicphuthixyuinehtukarnxyangying ephraatangxngkhtangxxnnxmthxmtn prascakkaraesdngxxksungthitthimanaid ely aepngeskthihlwngpubuddaemttamxbih hlwngpuduthankexamathathisirsaephuxaesdngthungkhwamekharphxyangsungphraethraxikthanhnungsungidedinthangmaeyiymhlwngpudukhxnkhangbxykhrng khux hlwngpuongn osroy wdphraphuththbathekharwk cnghwdphicitr thanmikhwamhwngiyinsukhphaphkhxnghlwngpuduxyangmakodyidsngihluksisycdthapaykahndewlarbaekhkinaetlawnkhxnghlwngpudu ephuxepnkarthnxmthatukhnthkhxnghlwngphxihxyuidnan aetxyangirkdiimchaimnanhlwngpuduthankihnapayxxkipephraaehtuaehngkhwamemtta thithanmitxphukhnthnghlayinrayaewlaediywknnn khrubabuychum yansngwor wdphrathatudxneruxngthanepnsisykhxnghlwngpuongn osroy kidedinthangmakrabnmskarhlwngpudu 2 khrngodythanidelaihfngphayhlngwa emuxidmaphbhlwngpudu cungidruwahlwngpudukkhux phraphiksuchraphaphthiipsxnthaninsmathiinchwngthithanxthisthanekhakrrmptibtiimphud 7 wn sungthankidaetkrabralukthungxyutlxdthukwn odyimruwaphraphiksuchraphaphrupnikhuxikhr krathngidmioxkasmaphbhlwngpuduthiwdsaaek ekidrusukehmuxndngphxlukthicakknipnan aemkhrngthi 2 thiphbkbhlwngpudu hlwngpudukidphudsxnihthanerngkhwamephiyr ephraahlwngphxcaxyuxikimnan khrubabuychumyngidelawa thantngiccaklbipwdsaaekxikephuxhaoxkasip xuptthakhlwngpudu aetaelwephiyngrayaewlaimnannkkidkhawwa hlwngpudu mrnphaph yngkhwamsldsngewchicaekthan thanidekhiynbnthukkhwamrusukinickhxngthaniwinhnngsuxnganphrarachthanephlingsphhlwngpudu txnhnungwa hlwngputhanmrnphaphsinip epriybesmuxndwngxathity thiihkhwamswangsxngaecngin olkdbip xupmaehmuxndngdwngprathipthiihkhwamswangiswaekluksisyiddbip thungaem phraedchphrakhunhlwngpuidmrnaipaelw aetbuyyabarmithithanaephemttaaelarxyyim xnximexibyngpraktfngxyuindwngicxatma mixaclumid thahlwngpumiyanrbthrab aelaaephemttaluksisylukhathukkhn khxihphraedchphrakhunhlwngpuekhasu phraniphphanepnxmtaaedthanethxy kraphmkhxkrabkharwaphraedchphrakhunhlwngpudu phrhmpyoy dwykhwamekharphsungsud nxkcakniyngmiphraethraxikruphnungthikhwrklawthung ephraahlwngpuduihkhwam ykyxngmakinkhwamepnphumikhunthrrmsung aelaepnaebbxyangkhxngphuthimikhwamekharphinphrartntryepnxyangying sunghlwngpuduidaenanasanusisyihthuxthanepnkhruxacaryxikthanhnungdwy nnkkhuxhlwngphxeksm ekhmok aehngsusanitrlksn cnghwdlapang pcchimwar aekikh nbaet ph s 2527 epntnma sukhphaphkhxnghlwngpuerimaesdngitrlksna ihpraktxyangchdecn sngkharrangkaykhxnghlwngpusungkxekidmacakthatudin na lm if aelamiickhrxngehmuxnera than emuxsngkharphanmananwn odyechphaaxyangying thamikarichnganmak aelaphkphxnnxy khwamthrudothrmkyxmekiderwkhunkwaprktiklawkhux sngkharrangkaykhxngthanidecbpwyxxnephliylngipepnladb inkhnathibrrdaluksisylukhathngyatioymaelabrrphchitkhlngihlknmanmskarthanephimkhun thukwn inthaythisudaehngchiwitkhxnghlwngpudu dwypnithanthitngiwwa suaekhtay thanich khwamxdthnxdklnxyangsung aembangkhrngcamiorkhmaebiydebiynxyanghnk thankxutsahxxkoprdyatioymepnpkti phrathixuptthakthanidelaihfngwa bangkhrng thungkhnadthithantxngphyungtwexngkhundwyxakarsnaelaminatakhlxeba thankimekhypripakihikhr txngepnkngwlely inpithay thanthuktrwcphbwaepnorkhlinhwicrw aemnayaephthycakhxrxngthanekhaphkrksatwthiorngphyabal thankimyxmip thanelaihfngwa aetkxneraekhyxyakdi emuxdiaelwkexaihhayxyak xyangmakksuaekhtay ikhrcaehmuxnkha khabntwtay mibangkhrngidrbkhawwathanlmkhnakalnglukedinxxkcakhxngephuxxxkoprdyatioymkhuxpraman 6 nalika xyangthiekhyptibtixyuthukwnodypktiinyamthisukhphaphkhxngthanaekhngaerngdi thancaekhacawdpramansihathum aetkwacacawdcring pramanethiyngkhunhruxtihnung aelwmatunnxntxnpramantisam machwnghlngthisukhphaphkhxngthanimaekhngaerng cungtuntxnpramantisithungtiha esrckicthawtrechaaelakicthuraswntw aelwcungxxkoprdyatioymthihnakutipramanplaypi ph s 2532 hlwngpuduphudbxykhrnginkhwamhmaywa iklthungewlathithancalasngkharniaelw inchwngthaykhxngchiwitthan thrrmthithaythxdyingednchd khun miichdwyethsnathrrmkhxngthan hakaetepnkarsxndwykarptibtiihdu odyechphaaxyangyingptipthaineruxngkhxngkhwamxdthn smdngthiphrasmmasmphuththecaidpra thaniwinoxwathpatiomkkhwa khnti prmng top titikkha khwamxdthnepntbaxyangying aethbcaimmiikhrelynxkcakoymxuptthakiklchidthithrabwa thithannngrbaekhkbnphunimkradanaekhng thukwn tngaetechacrdkha epnrayaewlanbsib pi dwyxakaryimaeymaecmis ikhrthukkhicma thankaekikhihidrbkhwamsbayicklbipaetebuxnghlng kkhux khwamlabakthangthatukhnthkhxngthan thithanimekhypripakbxkikhr krathngwnhnung oymxuptthakidrbkarihwwancakthanihedinipsuxyathaaephlihthan cungidmioxkaskhxduaelaidehnaephlthiknthan sungmilksnaaetksa sak inbriewnedim epnthisldiccnimxacklnnataexaiwidthancungepnkhruthielis smdngphraphuththoxwaththiwa sxnekhaxyangirphungptibtiihidxyangnn dngnn thrrminkhx xntta sunghlwngputhanykiwepnthrrmchnexk thankidptibtiihehnepnthipracksaeksaytakhxngsisythnghlayaelwthungkhxptibti txhlkxnttaiwxyangbriburn cnaemkhwamxalyxawrninsngkharrangkaythicamahnwngehniyw hruxsrangkhwamthukkhrxnaekciticthankmiidpraktihehnelyintxnbaykhxngwnkxnhnathithancamrnphaph khnathithankalngexnkayphkphxnxyunn kminaythharxakasphuhnungmakrabnmskarthan sungepnkarmakhrngaerk hlwngpuduidlukkhunnngtxnrbdwyibhnathisdis rasieplngplngepnphiess kra thngbrrdasisy n thinnehnphidsngekt hlwngpuaesdngxakaryindiehmuxnrxkhxy bukhkhlphunimanan thanwa txipnikhacaidhayecbhayikhesiythi immiikhrkhadkhidmakxnwathankalngoprdluksisykhnsudthaykhxngthan hlwngpuduthanidyaintxnthaywa khakhxfakihaekipptibtitx inkhunnnkidmikhnasisymakrabnmskarthansungkarmainkhrngniimmiikhr khadkhidmakxnechnknwacaepnkarmaphbkbsngkharthrrmkhxngthan epnkhrngsudthayaelw hlwngpuduidelaihsisykhnanifngdwysihnaprktiwa immiswnhnungswnidinrangkaykhathiimecbpwdely thaepnkhnxunkhngekhahxngixsiyuipnanaelw phrxmthngphudhnkaennwa khacaipaelwna thaythisudthankemttaklawyaihthukkhntngxyuin khwamimpramath thungxyangirkkhxxyaidthingkarptibti kehmuxnnkmwykhunewthiaelwtxngchkxyamwaettngthaengxanga niducepnpcchimoxwathaehngphuepnphrabrm khrukhxngphuepnsisythukkhn xncaimsamarthlumeluxnidelyhlwngpuduidlasngkharipdwyxakarxnsngbdwyorkhhwicinkutithan emuxewlapraman 5 nalikakhxngwnphuththi 17 mkrakhm ph s 2533 xayu 85 pi 8 eduxn xayuphrrsa 65 phrrsa sngkharthrrmkhxngthanidtngbaephykuslodymiecaphaph swdxphithrrmeruxymathukwnmiidkhad tlxdrayaewla 459 wn cnkrathngidrbphrarachthanephlingsphepnkrniphiess inwnesarthi 20 emsayn ph s 2534phrakhunecahlwngpudu phrhmpyoy idxupsmbthaelacaphrrsaxyu n wdsaaek maodytlxd cnkrathngmrnphaph yngkhwamesraoskaelaxalyaeksisyanusisy aelaphuekharphrkthanepnxyangying xupmadngdwngprathipthiekhyihkhwamswangiswaeksisyanusisyiddbip aetemttathrrmaelakhasngsxnkhxngthancayngpraktxyuin dwngickhxngsisyanusisyaelaphuthiekharphrkthantlxdip bdni singthikhngxyumiichsngkharthrrmkhxngthan hakaetepnhlwngpuduxngkhaeththisisythukkhncaekhathungthaniddwykarsrangkhunngamkhwamdiihekidihmikhunthitnexng smdngthithanidklawiwepnkhtiwa trabidktamthiaekyngimehnkhwamdiintw kyngimnbwaaekruckkha aet thaemuxid aekerimehnkhwamdiintwexngaelw emuxnn khacungwaaekerimruckkhadikhun aelw thrrmthnghlaythithanidphrasxn thukwrrkhtxnaehngthrrmthibrrdasisyidnxmnamaptibtinn kkhuxkarthithanidephaaemldphnthuaehngkhwamdingambndwngic khxngsisythukkhn sungnbwncaetibihyphlidxk xxkphlepnstiaelapyyabnlatnthiaekhngaerngkhuxsmathi aelabnphundinthimnkhngaennhnakhux sil smdngectnarmnthithanidthumeththngchiwit dwyemttathrrmxnying xnckhaidyakthnginxdit pccubn aela xnakht khtithrrmkhasxn aekikhbuynnhmnthaiwptibtiiw khnihnthiekhawathaiddi idehnxairktamomthnaipely immiesiymiaetid xyaipkhdekha singskdisiththi thixyuehnux singskdisiththi kkhuxkrrm thungaekmawd aeticyngmiolph okrth hlng aekyngmaimthungwd aetthaaekxyuthibanhruxthiihn aetimokrth imolph imhlng khawaaekmathungwdaelw buy khux khwamsbayic kxnthaksbayic khnathaksbayic thaaelwksbayic khidthungthiir sbayicthukthi khaimmisisyexk immikhnoprd kharksisythukkhnehmuxnknhmd khaxyukbthukkhnaelachwyehluxehmuxnkn xyuthiikhrcaekhathungkhaidhruxim hmnphawnaekhaiw phwkaekna ebuximcring ediywebux ediywxyak ptibtithrrmtngaetyngepnedk epnhnum epnsawniaehladi ephraaemuxaekethaipaelw canngkoxy calukkoxy hakcarxiwihaekesiykxn aelwcungkhxyptibti kehmuxnkhnthikhidcahdwaynaexatxnthiaephiklcaaetk mncaimthnkarn inkhnathieranngsmathiecriyphawnannkhaklawwaphuththng srnng khcchami ihnukthungwaeramiphraphuththecaepnphraxupchaykhxngerathmmng srnng khcchami ihnukwaeramiphrathrrmepnphrakrrmwacacarysngkhng srnng khcchami ihnukwaeramiphraxriysngkh epnphraxnusawnacaryaelwxyasnickhnth 5 hruxrangkayerani ihsarwmcitihdi mikhwamyindiinkarbwchchayktngcitepnphraphiksu hyingktngcitepnphraphiksunixyangnicamixanisngssungmak cdepnenkkhmbarmikhnxukvsdthiediyw khruxacarydi mixyumakkcring aetsakhythieratxngptibtiihcring sxntwexngihmak nnaehlacungcadi 3 karptibti thahyibtaraonnnimasngsytham mkcaotethiyngkneplaodymakchxbexacakxacaryonnniwaxyangnnxyangnimakarcaptibtiihruthrrmehnthrrm txngthacring caidxyuthithacring exaihcringihruthaiperiynkbkhruxacaryxunodyyngimthaihcringihru kehmuxnduthukduhminkhrubaxacarykarptibtithrrmkehmuxnkbkarpluktnimsilkhux din smathi khux latn pyyakhux dxkphleratxngkarihtnimecriyngxkngam ktxnghmnrdnaphrwndinaelatxngkhxyramdrawngmiihtwhnxnkhux olph okrth hlng makdkinthaepnolkaelw camiaetsngxxkipkhangnxktlxdewla aetthakhidsingthiepnthrrmaelw txngwkklbekhamahatwexng ephraathrrmaeth yxmekidintwkhxngeranithngnn olkethaaephndin thrrmethaplayekhm eruxngolkmiaeteruxngyungkhxngkhnxunthngnnimmithisinsud eraipaek ikhekhaimidswneruxngthrrmnnmithisud macbthitwera ihmaildutwexng aekikhthitweraexng tnkhxngtnetuxntndwytnexngxangxing aekikh khawedliniwsxxniln 109pi hlwngpudu phrhmpyoy khawedliniwsxxniln eriykkhxmulemux 4 11 56 http www luangpordu com cid 453621 http www luangpordu com cid 453602ekhathungcak https th wikipedia org w index php title hlwngpudu ph rh mpy oy amp oldid 9335302, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม