fbpx
วิกิพีเดีย

ไบรโอซัว

ไบรโอซัว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ออร์โดวิเชียน - ปัจจุบัน
"Bryozoa", from Ernst Haeckel's Kunstformen der Natur, 1904
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukarya
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัมใหญ่: Lophotrochozoa
ไฟลัม: Bryozoa
Classes

Stenolaemata
Gymnolaemata
Phylactolaemata

ไบรโอซัวเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มโคโลนีขนาดเล็ก ที่สามารถสร้างโครงสร้างแข็งด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วจะมีลักษณะคล้ายปะการัง สมาชิกของสัตว์ในไฟลั่มไบรโอซัวนี้รู้จักกันในนามของ “สัตว์มอสส์” (moss animals หรือ moss animalcules) ซึ่งหากแปลตรงตัวจากศัพท์ภาษากรีก ไบรโอซัวจะหมายถึง เสื่อทะเล (sea mats) โดยทั่วไปแล้วไบรโอซัวชอบอาศัยอยู่ในน้ำทะเลเขตร้อน อากาศอบอุ่น และพบได้ทั่วโลก ปัจจุบันมีประมาณ 8,000 ชนิด ซึ่งมากกว่าชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่ได้รับการบันทึกไว้หลายเท่าตัว

นิเวศวิทยา

ไบรโอซัวเกือบทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเล โดยมีเพียงประมาณ 50 ชนิดเท่านั้นที่พบอยู่ในน้ำจืด ไบรโอซัวอาจพบอาศัยอยู่บนพื้นทราย หิน เปลือกหอย ไม้ ท่อ และเรือ อย่างไรก็ตามโคโลนีของไบรโอซัวบางชนิดไม่ได้อาศัยอยู่บนวัตถุแข็ง แต่พบได้บนพื้นตะกอน บางชนิดพบที่ความลึกถึง 8,200 เมตร แต่ไบรโอซัวจะพบมากในเขตน้ำตื้น ไบรโอซัวอาศัยยึดเกาะอยู่กับที่ แต่บางโคโลนีก็คลืบเคลื่อนที่ได้ ไบรโอซัวที่ไม่เป็นโคโลนีบางชนิดอาศัยและเคลื่อนที่อยู่ระหว่างเม็ดตะกอนทราย มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำในทะเลใต้ ซากดึกดำบรรพ์ของไบรโอซัวพบได้ทั่วไปทั่วโลกในหินตะกอนที่สะสมตัวในน้ำทะเลตื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นหินหลังยุคแคมเบรียน

ไบรโอซัวเป็นสัตว์ที่รวมกลุ่มเป็นโคโลนี โคโลนีหนึ่งๆอาจประกอบไปด้วยไบรโอซัวหลายล้านซูอิด (zooids) ขนาดของโคโลนีมีความแปรผันจากขนาดไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงมีขนาดใหญ่ได้มากกว่าหนึ่งเมตร แต่ซูอิดหนึ่งๆในแต่ละโคโลนีจะมีขนาดเล็กมาก ปรกติแล้วจะมีความยาวน้อยกว่าหนึ่งมิลลิเมตร ในโคโลนีหนึ่งๆซูอิดต่างกันจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป บางซูอิดทำหน้าที่หาอาหารให้กับโคโลนี (autozooids) แต่ซูอิดอื่นๆก็ทำหน้าที่ของตนไป (heterozooids) บางซูอิดอุทิศตนเพื่อทำหน้าที่ให้ความแข็งแกร่งให้กับโคโลนี (kenozooids) ขณะที่ซูอิดอื่นๆทำความสะอาดโคโลนี (vibracula) มีไบรโอซัวเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อาศัยอยู่โดดๆไม่รวมกันเป็นโคโลนี คือ Monobryozoon ambulans

กายวิภาคศาสตร์

 
Costazia costazi เป็นไบรโอซัวคอรัลลีน

โครงร่างแข็งของไบรโอซัวจะเจริญเติบโตในรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย เช่น รูปคล้ายกองดิน รูปพัด รูปกิ่งก้านสาขา และรูปขดม้วนเป็นเกลียว โครงสร้างแข็งเหล่านี้มีช่องเปิดเป็นรูเล็กๆจำนวนมาก โดยช่องเปิดหนึ่งๆจะเป็นที่อยู่ของซูอิดหนึ่งๆ ซูอิดมีลำตัวกลวงมีช่องว่างเป็นที่อยู่ของไส้พุงที่เป็นที่ผ่านของอาหารและสิ่งขับถ่าย มีช่องเปิดออกด้านหนึ่งเป็นช่องปากและเปิดออกอีกด้านหนึ่งเป็นช่องทวาร ซูอิดมีโครงสร้างเป็นชุดระยางพิเศษทำหน้าที่หาอาหาร เรียกว่า โลโฟพอร์ ซึ่งเป็นชุดของหนวดโดยรอบขอบช่องปาก อาหารของซูอิดเป็นพวกจุลชีพ เช่น ไดอะตอม และสาหร่ายเซลล์เดียวอื่นๆ ในทางกลับกัน ไบรโอซัวก็เป็นเหยื่อของสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วย เช่น ดาวทะเล และปลา ไบรโอซัวไม่มีส่วนประกอบใดที่จะทำหน้าที่หายใจหรือระบบหมุนเวียนเนื่องจากขนาดเล็กของมัน อย่างไรก็ตามมันมีระบบประสาทอย่างง่าย ผลงานศึกษาที่หลากหลายเกี่ยวกับผลึกศาสตร์ในโครงสร้างแข็งของไบรโอซัวชี้ชัดว่าประกอบไปด้วยผลึกของแร่แคลไซต์และอะราโกไนต์ที่เรียงกันเป็นชุดเส้นใยที่ซับซ้อนอยู่ภายในเนื้ออินทรีย์สาร

หนวดของไบรโอซัวมีลักษณะเป็นขนที่มีพลังสามารถพัดแกว่งให้เกิดกระแสน้ำไหลพร้อมนำอนุภาคอาหารซึ่งมักจะเป็นพวกแพลงตอนพืชให้เข้าไปในช่องปาก ไส้พุงรูปตัวยูอันประกอบด้วยตั้งแต่คอหอยต่อเนื่องเข้าไปจนถึงท่อลำเรียง ตามด้วยกระเพาะ ซึ่งมีสามส่วนคือ คาร์เดียล ซีกัม และพายโลรัส จากพายโลรัสก็เป็นลำไส้และเรคตัมขนาดเล็ก จนไปสิ้นสุดที่ช่องทวารซึ่งเป็นช่องเปิดออกภายนอกของโลโฟพอร์ ในไบรโอซัวบางกลุ่ม เช่น ซีโนสโตมส์ ส่วนต้นของคาร์เดียอาจมีกึ๋นพิเศษ ไส้พุงและโลโฟพอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโพลีไพด์ การสร้างใหม่กับการเสื่อมของโพลีไพด์สลับกันหลายรอบเป็นลักษณะของไบรโอซัวที่อาศัยอยู่ในทะเล ภายหลังจากการเสื่อมของโพลีไพด์ครั้งสุดท้ายแล้วช่องปากของซูอิดอาจผนึกเข้าหากันด้วยแผ่นผนังส่วนปลาย

 
ไบรโอซัวน้ำจืด

เพราะว่าไบรโอซัวมีขนาดเล็ก ระบบเลือดจึงไม่มีความจำเป็น การแลกเปลี่ยนก๊าซสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดพื้นผิวลำตัวทั้งหมดของไบรโอซัวโดยเฉพาะส่วนของหนวดของโลโฟพอร์

ไบรโอซัวสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งการใช้เพศและการไม่ใช้เพศ จนถึงบัดนี้เรารู้ได้ว่าไบรโอซัวทั้งหมดเป็นเฮอมาโพรไดต์ (หมายถึงเป็นเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน) การสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศเกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวเองออกเป็นซูอิดใหม่ในขณะที่โคโลนีเติบโตใหญ่ขึ้น ถ้าโคโลนีของไบรโอซัวแตกออกจากกันเป็นเสี่ยง แต่ละเสี่ยงสามารถเจริญเติบโตเป็นโคโลนีใหม่ต่อไป โคโลนีที่เกิดขึ้นใหม่ดังกล่าวจะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการซึ่งเรียกว่า แอนเซสทรูลา

ไบรโอซัวชนิดหนึ่ง ชื่อ Bugula neritina ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดของสารไซโตท็อกซิน หรือ ไบรโอสเตติน ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

ซากดึกดำบรรพ์

 
ซากดึกดำบรรพ์ของไบรโอซัวที่มีลักษณะคล้ายกิ่งไม้ยุคออร์โดวิเชียนตอนบน ใกล้บรูควิลล์ อินเดียน่า
 
Prasopora เทรโปสโตมไบรโอซัวยุคออร์โดวิเชียน จากไอโอวา
 
ภาพตัดขวางของ Prasopora แสดง "brown bodies" ในซูอีเชียจำนวนมาก ยุคออร์โดวิเชียน ไอโอว่า
 
ไบรโอซัวในหินน้ำมันยุคออร์โดวิเชียน ทางตอนเหนือของเอสโตเนีย

ซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวถูกพบในช่วงแรกๆของหินยุคออร์โดวิเชียนตอนล่างซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของช่วงขยายเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน ไบรโอซัวที่พบเป็นองค์ประกอบหลักของชุมชนพื้นท้องทะเลยุคออร์โดวิเชียนเหมือนกับที่พบในปัจจุบันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นตะกอนใต้ท้องทะเลมีความเสถียรมั่นคง และยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นทะเลนั้นด้วย ในช่วงอนุยุคมิสซิสซิปเปียน (354 ถึง 323 ล้านปีมาแล้ว) ไบรโอซัวถือว่าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เศษชิ้นส่วนที่แตกหักจะพบได้ทั่วไปในชั้นหินปูน มีรายงานการบรรยายซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวมากกว่า 1,000 ชนิด เป็นไปได้ว่ามีไบรโอซัวแล้วตั้งแต่ยุคแคมเบรียนแต่มีลำตัวอ่อนได้สลายตัวไปหมดและไม่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ หรือบางทีไบรโอซัวอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายโฟโรนิดในช่วงดังกล่าวก็ได้

ไบรโอซัวเป็นสมาชิกที่สำคัญของชุมชนสเคอโรไบอันส์ (สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นผิวที่แข็งอย่างเช่น เปลือกหอยและหิน) ทั้งจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์และจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Taylor and Wilson, 2003)

ซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวทั้งหมดมีเศษโครงสร้างแข็งที่ถูกเชื่อมประสานด้วยเนื้อแร่ โครงสร้างแข็งที่เป็นที่อยู่ของซูอิดมีความแปรผันในรูปร่างจากรูปร่างคล้ายท่อไปจนถึงมีรูปร่างคล้ายกล่องที่มีส่วนปลายของช่องปากที่โลโฟพอร์ยื่นโผล่ออกไปหาอาหาร แต่หลักฐานจากโครงสร้างแข็งแสดงให้เห็นว่าชั้นเซลล์ด้านนอกที่ห่อหุ้มซูอิด (epithelia) มีความต่อเนื่องจากซูอิดหนึ่งไปที่ซูอิดถัดไป

เมื่อมาดูที่ซากโครงสร้างแข็งของไบรโอซัวที่ไม่มีแร่เชื่อมประสาน พบสเตโทบลาสต์ของไบรโอซัวน้ำจืด ไฟลาโตลีแมตทิส .ในซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดถึงยุคเพอร์เมียน และซากดึกดำบรรพ์ของซีโนสโตมที่เก่าแก่ที่สุดเพียงยุคไทรแอสซิก

สิ่งที่มีความสำคัญมากอันหนึ่งในระหว่างวิวัฒนาการของไบรโอซัวก็คือการได้มาซึ่งโครงสร้างของสารเนื้อปูนและการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับกลไกลการยื่นตัวออกมาของชุดหนวด ความไม่ยืดหยุ่นของผนังลำตัวด้านนอกได้เพิ่มระดับการประชิดกันของซูอิดทั้งหลายเป็นอย่างมาก และมีการวิวัฒนาการเป็นรูปแบบมัลติซีเรียลโคโลนีเพิ่มขึ้นอย่างมาก

การจำแนก

ก่อนหน้านั้นไบรโอซัวได้ถูกจำแนกออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ เอคโตพรอคต้าและเอนโตพรอคต้า โดยอาศัยผังลำตัวที่เหมือนกันและอาศัยรูปแบบการดำเนินชีวิตของไบรโอซัวทั้งสองกลุ่ม (นักวิจัยบางคนได้เพิ่มซายคลิโอพอราเข้าไปด้วยโดยคิดกันว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มของเอนโตพรอคต้า) อย่างไรก็ตามกลุ่มของเอคโตพรอคต้าเป็นพวกซีโลเมต (มีลำตัวกลวง) และตัวอ่อนจะผ่านไปตามรอยแยกตามแนวรัศมี ขณะที่กลุ่มของเอนโตพรอคต้าเป็นพวกอะซีโลเมต (ลำตัวไม่กลวง) โดยตัวอ่อนจะผ่านไปตามรอยแยกที่ขดม้วน การศึกษาทางโมเลคคิวล่ายังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับตำแหน่งที่แน่นอนของกลุ่มเอนโตพรอคต้า แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพวกเอคโตพรอคต้า ด้วยเหตุผลนี้พวกเอนโตพรอคต้าได้ถูกพิจารณาให้เป็นไฟลั่มหนึ่งต่างหาก การแยกไบรโอซัวจำนวน 150 ชนิดของกลุ่มเอนโตพรอคต้าทำให้ไบรโอซัวเป็นชื่อพ้องกับเอคโตพรอคต้า นักวิจัยบางคนยอมรับชื่อหลังนี้ให้เป็นชื่อของกลุ่ม ขณะที่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ชื่อเดิม

ซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวในประเทศไทย

  • Acanthocladia thaiensis Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Ascopora asiatica Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Ascopora burtoni Sakagami, 1971 ยุคเพอร์เมียน เขาผา จ.ชุมพร
  • Ascopora magna Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Ascopora nakornsrii Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Ascopora yanagidae Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Coscinotrypa orientalis Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียน เขาตาม่องล่าย จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • Dyscritella grossa Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียน เขาตาม่องล่าย จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • Dyscritella komukensis Sakagami, 1970 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Dyscritella phetchabunensis Sakagami, 1975 ยุคเพอร์เมียน เขาหินกลิ้ง จ.เพชรบูรณ์
  • Fenestella komalarjuni Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fenestella krachokensis Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียน เขาช่องกระจก จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • Fenestella megacapillaris Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Fenestella pseudoamplia Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fenestella thaiensis Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fistulipora hamadae Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fistulipora komukensis Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fistulipora lamella Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fistulipora ramose Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fistulipora satoi Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Fistulipora sawatai Sakagami, 1999 ยุคเพอร์เมียน เขาหินกลิ้ง จ.เพชรบูรณ์
  • Fistulipora siamensis Sakagami, 1999 ยุคเพอร์เมียน เขาหินกลิ้ง จ.เพชรบูรณ์
  • Fistulipora tenella Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Hexagonella khaophrikensis Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Hexagonella kobayashi Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Hexagonella robusta Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนต้น เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Leioclema mongraiensis Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียน เขาตาม่องล่าย จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • Penniretepora microtropica Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Penniretepora pecularis Sakagami, 1970 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Penniretepora scalaris Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Penniretepora siamensis Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Penniretepora tropica Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Polypora quadricella Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียน เขาช่องกระจก จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • Protoretepora lamellata Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียน เขาตาม่องล่าย จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • Pseudobatostomella multidiaphragma Sakagami, 1975 ยุคเพอร์เมียน เขาหินกลิ้ง จ.เพชรบูรณ์
  • Rhombocladia nakornsrii Sakagami, 1999 ยุคเพอร์เมียน เขาหินกลิ้ง จ.เพชรบูรณ์
  • Streblascopora exillis Sakagami, 1970 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Streblascopora komukensis Sakagami, 1970 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Streblascopora ratburiensis Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Streblotrypa crassa Sakagami, 1968 ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง เขาพริก จ.ราชบุรี
  • Streblotrypa elegans Sakagami, 1970 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Streblotrypa thaiensis Sakagami, 1970 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง
  • Sulcoretepora thailandica Sakagami, 1966 ยุคเพอร์เมียน เกาะมุก จ.ตรัง

อ้างอิง

 
กรวดยุคออร์โดวิเชียนตอนบนที่มีไบรโอซัวเอดริโอแอสเทอรอยด์ Cystaster stellatus และไบรโอซัวไซโคลสโตม Corynotrypa จากหมวดหินโกปี ทางด้านเหนือของเคนทัคกี
  • Hall, S.R., Taylor, P.D., Davis, S.A. and Mann, S., 2002. Electron diffraction studies of the calcareous skeletons of bryozoans. Journal of Inorganic Biochemistry 88: 410-419. [1]
  • Taylor, P.D. and Wilson, M.A., 2003. Palaeoecology and evolution of marine hard substrate communities. Earth-Science Reviews 62: 1-103. [2]
  • Sharp, J.H., Winson, M.K. and Porter, J.S. 2007. Bryozoan metabolites: an ecological perspective. Natureal Product Reports 24: 659-673.
  • วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ (2549) ทำเนียบซากดึกดำบรรพ์ไทย นามยกย่องบุคคล กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 99 หน้า

ดูเพิ่ม

  • International Bryozoology Association

เชื่อมต่อภายนอก

  • Index to Bryozoa Bryozoa Home Page, was at RMIT; now bryozoa.net
  • Other Bryozoan WWW Resources
  • International Bryozoology Association official website
  • Bryozoan Introduction
  • The Phylum Ectoprocta (Bryozoa)
  • Phylum Bryozoa at Wikispecies
  • Bryozoans in the Connecticut River
  • Bryozoa Fact Sheet

ไบรโอซ, วงเวลาท, ตอย, ออร, โดว, เช, ยน, จจ, bryozoa, from, ernst, haeckel, kunstformen, natur, 1904การจำแนกช, นทางว, ทยาศาสตร, โดเมน, eukaryaอาณาจ, กร, animaliaไฟล, มใหญ, lophotrochozoaไฟล, bryozoaclassesstenolaematagymnolaemataphylactolaemata, เป, นส, ตว, อย,. ibroxswchwngewlathimichiwitxyu xxrodwiechiyn pccubn Bryozoa from Ernst Haeckel s Kunstformen der Natur 1904karcaaenkchnthangwithyasastrodemn Eukaryaxanackr Animaliaiflmihy Lophotrochozoaiflm BryozoaClassesStenolaemataGymnolaemataPhylactolaemata ibroxswepnstwthixyurwmknepnklumokholnikhnadelk thisamarthsrangokhrngsrangaekhngdwysaraekhlesiymkharbxent emuxduxyangphiwephinaelwcamilksnakhlaypakarng smachikkhxngstwiniflmibroxswniruckkninnamkhxng stwmxss moss animals hrux moss animalcules sunghakaepltrngtwcaksphthphasakrik ibroxswcahmaythung esuxthael sea mats odythwipaelwibroxswchxbxasyxyuinnathaelekhtrxn xakasxbxun aelaphbidthwolk pccubnmipraman 8 000 chnid sungmakkwachnidkhxngsakdukdabrrphthiidrbkarbnthukiwhlayethatw enuxha 1 niewswithya 2 kaywiphakhsastr 3 sakdukdabrrph 4 karcaaenk 5 sakdukdabrrphibroxswinpraethsithy 6 xangxing 7 duephim 8 echuxmtxphaynxkniewswithya aekikhibroxswekuxbthukchnidxasyxyuinthael odymiephiyngpraman 50 chnidethannthiphbxyuinnacud ibroxswxacphbxasyxyubnphunthray hin epluxkhxy im thx aelaerux xyangirktamokholnikhxngibroxswbangchnidimidxasyxyubnwtthuaekhng aetphbidbnphuntakxn bangchnidphbthikhwamlukthung 8 200 emtr aetibroxswcaphbmakinekhtnatun ibroxswxasyyudekaaxyukbthi aetbangokholnikkhlubekhluxnthiid ibroxswthiimepnokholnibangchnidxasyaelaekhluxnthixyurahwangemdtakxnthray mixyuchnidhnungthilxnglxyiptamkraaesnainthaelit sakdukdabrrphkhxngibroxswphbidthwipthwolkinhintakxnthisasmtwinnathaeltun odyechphaaxyangyinginchnhinhlngyukhaekhmebriynibroxswepnstwthirwmklumepnokholni okholnihnungxacprakxbipdwyibroxswhlaylansuxid zooids khnadkhxngokholnimikhwamaeprphncakkhnadimkimilliemtripcnthungmikhnadihyidmakkwahnungemtr aetsuxidhnunginaetlaokholnicamikhnadelkmak prktiaelwcamikhwamyawnxykwahnungmilliemtr inokholnihnungsuxidtangkncathahnathiaetktangknip bangsuxidthahnathihaxaharihkbokholni autozooids aetsuxidxunkthahnathikhxngtnip heterozooids bangsuxidxuthistnephuxthahnathiihkhwamaekhngaekrngihkbokholni kenozooids khnathisuxidxunthakhwamsaxadokholni vibracula miibroxswephiyngchnidediywethannthixasyxyuoddimrwmknepnokholni khux Monobryozoon ambulanskaywiphakhsastr aekikh Costazia costazi epnibroxswkhxrllin okhrngrangaekhngkhxngibroxswcaecriyetibotinrupaebbaelaruprangthihlakhlay echn rupkhlaykxngdin rupphd rupkingkansakha aelarupkhdmwnepnekliyw okhrngsrangaekhngehlanimichxngepidepnruelkcanwnmak odychxngepidhnungcaepnthixyukhxngsuxidhnung suxidmilatwklwngmichxngwangepnthixyukhxngisphungthiepnthiphankhxngxaharaelasingkhbthay michxngepidxxkdanhnungepnchxngpakaelaepidxxkxikdanhnungepnchxngthwar suxidmiokhrngsrangepnchudrayangphiessthahnathihaxahar eriykwa olofphxr sungepnchudkhxnghnwdodyrxbkhxbchxngpak xaharkhxngsuxidepnphwkculchiph echn idxatxm aelasahrayesllediywxun inthangklbkn ibroxswkepnehyuxkhxngsingmichiwitxundwy echn dawthael aelapla ibroxswimmiswnprakxbidthicathahnathihayichruxrabbhmunewiynenuxngcakkhnadelkkhxngmn xyangirktammnmirabbprasathxyangngay phlngansuksathihlakhlayekiywkbphluksastrinokhrngsrangaekhngkhxngibroxswchichdwaprakxbipdwyphlukkhxngaeraekhlistaelaxaraokintthieriyngknepnchudesniythisbsxnxyuphayinenuxxinthriysarhnwdkhxngibroxswmilksnaepnkhnthimiphlngsamarthphdaekwngihekidkraaesnaihlphrxmnaxnuphakhxaharsungmkcaepnphwkaephlngtxnphuchihekhaipinchxngpak isphungruptwyuxnprakxbdwytngaetkhxhxytxenuxngekhaipcnthungthxlaeriyng tamdwykraephaa sungmisamswnkhux kharediyl sikm aelaphayolrs cakphayolrskepnlaisaelaerkhtmkhnadelk cnipsinsudthichxngthwarsungepnchxngepidxxkphaynxkkhxngolofphxr inibroxswbangklum echn sionsotms swntnkhxngkharediyxacmikunphiess isphungaelaolofphxrepnxngkhprakxbthisakhykhxngophliiphd karsrangihmkbkaresuxmkhxngophliiphdslbknhlayrxbepnlksnakhxngibroxswthixasyxyuinthael phayhlngcakkaresuxmkhxngophliiphdkhrngsudthayaelwchxngpakkhxngsuxidxacphnukekhahakndwyaephnphnngswnplay ibroxswnacud ephraawaibroxswmikhnadelk rabbeluxdcungimmikhwamcaepn karaelkepliynkassamarthekidkhunidtlxdphunphiwlatwthnghmdkhxngibroxswodyechphaaswnkhxnghnwdkhxngolofphxribroxswsamarthsubphnthuidthngkarichephsaelakarimichephs cnthungbdnieraruidwaibroxswthnghmdepnehxmaophridt hmaythungepnephsphuaelaephsemiyintwediywkn karsubphnthuaebbimichephsekidkhunodykaraebngtwexngxxkepnsuxidihminkhnathiokholnietibotihykhun thaokholnikhxngibroxswaetkxxkcakknepnesiyng aetlaesiyngsamarthecriyetibotepnokholniihmtxip okholnithiekidkhunihmdngklawcamilksnaehmuxnedimthukprakarsungeriykwa aexnessthrulaibroxswchnidhnung chux Bugula neritina thipccubnidrbkhwamsnicenuxngcakepnaehlngkaenidkhxngsarisotthxksin hrux ibroxsettin sungphbwamivththitanmaerngsakdukdabrrph aekikh sakdukdabrrphkhxngibroxswthimilksnakhlaykingimyukhxxrodwiechiyntxnbn iklbrukhwill xinediyna Prasopora ethropsotmibroxswyukhxxrodwiechiyn cakixoxwa phaphtdkhwangkhxng Prasopora aesdng brown bodies insuxiechiycanwnmak yukhxxrodwiechiyn ixoxwa ibroxswinhinnamnyukhxxrodwiechiyn thangtxnehnuxkhxngexsoteniy sakdukdabrrphibroxswthukphbinchwngaerkkhxnghinyukhxxrodwiechiyntxnlangsungthuxidwaepnswnhnungkhxngchwngkhyayephaphnthukhrngihyinyukhxxrodwiechiyn ibroxswthiphbepnxngkhprakxbhlkkhxngchumchnphunthxngthaelyukhxxrodwiechiynehmuxnkbthiphbinpccubnsungepnpccysakhythithaihphuntakxnitthxngthaelmikhwamesthiyrmnkhng aelayngepnaehlngxaharsahrbsingmichiwitthixasyxyubnphunthaelnndwy inchwngxnuyukhmississipepiyn 354 thung 323 lanpimaaelw ibroxswthuxwaepnsingthiphbehnidodythwip esschinswnthiaetkhkcaphbidthwipinchnhinpun mirayngankarbrryaysakdukdabrrphibroxswmakkwa 1 000 chnid epnipidwamiibroxswaelwtngaetyukhaekhmebriynaetmilatwxxnidslaytwiphmdaelaimthukekbrksaiwepnsakdukdabrrph hruxbangthiibroxswxacwiwthnakarmacakbrrphburusthimilksnakhlayofornidinchwngdngklawkidibroxswepnsmachikthisakhykhxngchumchnsekhxoribxns singmichiwitthixasyxyubnphunphiwthiaekhngxyangechn epluxkhxyaelahin thngcakhlkthansakdukdabrrphaelacakthiepnxyuinpccubn Taylor and Wilson 2003 sakdukdabrrphibroxswthnghmdmiessokhrngsrangaekhngthithukechuxmprasandwyenuxaer okhrngsrangaekhngthiepnthixyukhxngsuxidmikhwamaeprphninruprangcakruprangkhlaythxipcnthungmiruprangkhlayklxngthimiswnplaykhxngchxngpakthiolofphxryunophlxxkiphaxahar aethlkthancakokhrngsrangaekhngaesdngihehnwachneslldannxkthihxhumsuxid epithelia mikhwamtxenuxngcaksuxidhnungipthisuxidthdipemuxmaduthisakokhrngsrangaekhngkhxngibroxswthiimmiaerechuxmprasan phbsetothblastkhxngibroxswnacud iflaotliaemtthis insakdukdabrrphthiekaaekthisudthungyukhephxremiyn aelasakdukdabrrphkhxngsionsotmthiekaaekthisudephiyngyukhithraexssiksingthimikhwamsakhymakxnhnunginrahwangwiwthnakarkhxngibroxswkkhuxkaridmasungokhrngsrangkhxngsarenuxpunaelakarepliynaeplngthiekiywkhxngkbkliklkaryuntwxxkmakhxngchudhnwd khwamimyudhyunkhxngphnnglatwdannxkidephimradbkarprachidknkhxngsuxidthnghlayepnxyangmak aelamikarwiwthnakarepnrupaebbmltisieriylokholniephimkhunxyangmakkarcaaenk aekikhkxnhnannibroxswidthukcaaenkxxkepnsxngklumyxykhux exkhotphrxkhtaaelaexnotphrxkhta odyxasyphnglatwthiehmuxnknaelaxasyrupaebbkardaeninchiwitkhxngibroxswthngsxngklum nkwicybangkhnidephimsaykhlioxphxraekhaipdwyodykhidknwamikhwamsmphnthiklchidkbklumkhxngexnotphrxkhta xyangirktamklumkhxngexkhotphrxkhtaepnphwksiolemt milatwklwng aelatwxxncaphaniptamrxyaeyktamaenwrsmi khnathiklumkhxngexnotphrxkhtaepnphwkxasiolemt latwimklwng odytwxxncaphaniptamrxyaeykthikhdmwn karsuksathangomelkhkhiwlayngmikhwamkhlumekhruxekiywkbtaaehnngthiaennxnkhxngklumexnotphrxkhta aetkimidsnbsnunwamikhwamsmphnthiklchidkbphwkexkhotphrxkhta dwyehtuphlniphwkexnotphrxkhtaidthukphicarnaihepniflmhnungtanghak karaeykibroxswcanwn 150 chnidkhxngklumexnotphrxkhtathaihibroxswepnchuxphxngkbexkhotphrxkhta nkwicybangkhnyxmrbchuxhlngniihepnchuxkhxngklum khnathiswnihyyngkhngichchuxedimsakdukdabrrphibroxswinpraethsithy aekikhAcanthocladia thaiensis Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Ascopora asiatica Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Ascopora burtoni Sakagami 1971 yukhephxremiyn ekhapha c chumphr Ascopora magna Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Ascopora nakornsrii Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Ascopora yanagidae Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Coscinotrypa orientalis Sakagami 1968 yukhephxremiyn ekhatamxnglay c pracwbkhirikhnth Dyscritella grossa Sakagami 1968 yukhephxremiyn ekhatamxnglay c pracwbkhirikhnth Dyscritella komukensis Sakagami 1970 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Dyscritella phetchabunensis Sakagami 1975 yukhephxremiyn ekhahinkling c ephchrburn Fenestella komalarjuni Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fenestella krachokensis Sakagami 1968 yukhephxremiyn ekhachxngkrack c pracwbkhirikhnth Fenestella megacapillaris Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Fenestella pseudoamplia Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fenestella thaiensis Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fistulipora hamadae Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fistulipora komukensis Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fistulipora lamella Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fistulipora ramose Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fistulipora satoi Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Fistulipora sawatai Sakagami 1999 yukhephxremiyn ekhahinkling c ephchrburn Fistulipora siamensis Sakagami 1999 yukhephxremiyn ekhahinkling c ephchrburn Fistulipora tenella Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Hexagonella khaophrikensis Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Hexagonella kobayashi Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Hexagonella robusta Sakagami 1968 yukhephxremiyntxntn ekhaphrik c rachburi Leioclema mongraiensis Sakagami 1968 yukhephxremiyn ekhatamxnglay c pracwbkhirikhnth Penniretepora microtropica Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Penniretepora pecularis Sakagami 1970 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Penniretepora scalaris Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Penniretepora siamensis Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Penniretepora tropica Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Polypora quadricella Sakagami 1968 yukhephxremiyn ekhachxngkrack c pracwbkhirikhnth Protoretepora lamellata Sakagami 1968 yukhephxremiyn ekhatamxnglay c pracwbkhirikhnth Pseudobatostomella multidiaphragma Sakagami 1975 yukhephxremiyn ekhahinkling c ephchrburn Rhombocladia nakornsrii Sakagami 1999 yukhephxremiyn ekhahinkling c ephchrburn Streblascopora exillis Sakagami 1970 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Streblascopora komukensis Sakagami 1970 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Streblascopora ratburiensis Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Streblotrypa crassa Sakagami 1968 yukhephxremiyntxnklang ekhaphrik c rachburi Streblotrypa elegans Sakagami 1970 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Streblotrypa thaiensis Sakagami 1970 yukhephxremiyn ekaamuk c trng Sulcoretepora thailandica Sakagami 1966 yukhephxremiyn ekaamuk c trngxangxing aekikh krwdyukhxxrodwiechiyntxnbnthimiibroxswexdrioxaexsethxrxyd Cystaster stellatus aelaibroxswisokhlsotm Corynotrypa cakhmwdhinokpi thangdanehnuxkhxngekhnthkhki Hall S R Taylor P D Davis S A and Mann S 2002 Electron diffraction studies of the calcareous skeletons of bryozoans Journal of Inorganic Biochemistry 88 410 419 1 Taylor P D and Wilson M A 2003 Palaeoecology and evolution of marine hard substrate communities Earth Science Reviews 62 1 103 2 Sharp J H Winson M K and Porter J S 2007 Bryozoan metabolites an ecological perspective Natureal Product Reports 24 659 673 wikhens thrngthrrm aelakhna 2549 thaeniybsakdukdabrrphithy namykyxngbukhkhl krmthrphyakrthrni krungethphmhankhr 99 hnaduephim aekikhInternational Bryozoology Associationechuxmtxphaynxk aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb ibroxswIndex to Bryozoa Bryozoa Home Page was at RMIT now bryozoa net Other Bryozoan WWW Resources International Bryozoology Association official website Bryozoan Introduction The Phylum Ectoprocta Bryozoa Phylum Bryozoa at Wikispecies Bryozoans in the Connecticut River Bryozoa Fact Sheetekhathungcak https th wikipedia org w index php title ibroxsw amp oldid 5824898, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม