fbpx
วิกิพีเดีย

การพัฒนาการเมือง


ภูมิหลังของการศึกษาการพัฒนาการเมือง

หลังการล่มสลายของยุคล่าอาณานิคมในราวปลายศวรรษที่ 19 เกิดการปลดปล่อยอาณานิคม (decolonized) จนเกิดรัฐ-ชาติที่มีเอกราชที่สมบูรณ์ขึ้นในโลกจำนวนมากในเอเชีย, แอฟริกา และอเมริกาใต้ ทว่าประเทศเจ้าอาณานิคมเดิมยังต้องการคงอำนาจทางการเมืองไว้อยู่ เนื่องจากในเวลานั้นสถาณะการเมืองโลกอยู่ในช่วงการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างโลกเสรี กับโลกสังคมนิยม จึงมีการนำเสนอความเชื่อพื้นฐานของแนวคิดการพัฒนาการเมืองจะเชื่อว่าหากรัฐ-ชาติที่เกิดขึ้นใหม่นั้นจะมีความมั่นคงในทางการเมืองจะต้องพัฒนาประเทศไปในแนวทางของประเทศที่พัฒนาแล้ว (developed country) ซึ่งโดยนัยก็คือประเทศใน “โลกตะวันตก” ที่เคยเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมอาทิ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของแนวคิดการพัฒนาการเมืองนั้นสามารถเข้าใจได้ในสองด้านคือ

  • เพื่อเป็นจัดระดับความสัมพันธ์ในระดับของการเมืองระหว่างประเทศ
  • เพื่อเป็นเครื่องเมืองในทางการเมืองเพื่อป้องกันรัฐ-ชาติที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ให้ใช้แนวทางในการปกครองในแบบคอมมิวนิสต์

ข้อสังเกตหนึ่งคือในรัฐ-ชาติทีเกิดขึ้นใหม่นั้นมักถูกมองว่ามีความวุ่นวายในทางการเมืองมากเกินไป ในเวลาดังกล่าวรัฐ-ชาติที่เคยเป็นประเทศลูกอาณานิคมประสบปัญหาทางการเมืองต่าง ๆ อันนำไปสู่ฆาตกรรมทางการเมือง, การรัฐประหาร, และความล้มเหลวในการนำเข้าระบอบประชาธิปไตย นักรัฐศาสตร์อเมริกันตีความว่าปรากฏการณ์ความล้มเหลวของการสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยในรัฐชาติที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเกิดจากการขาดการพัฒนาการเมือง การแก้ปัญหาดังกล่าวนักรัฐศาสตร์มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์การเมืองของประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจ โดยมองว่าความวุ่นวายในทางการเมืองที่กล่าวมานี้ส่งผลโดยตรงต่อสมรรถภาพในการ “ก้าวหน้า” ในทางการเมือง และยังมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสมรรถนะในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมอีกด้วย หรือก็คือแนวคิดพัฒนาการเมืองจะมองว่าการเมืองคือตัวกำหนดสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และสังคมซึ่งจะต่างกับรัฐ-ชาติที่มีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่จะใช้เศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการเมือง และสังคม แนวคิดการพัฒนาการเมืองจะให้ความสำคัญกับรัฐในสถานะที่เป็นสถาบันหลักในการสรรสร้างจิตสำนึกในทางการเมือง และกรอบในการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเพื่อเป็นรากฐานให้กับการสร้างความเป็นสถาบันให้เกิดขึ้นในรัฐ-ชาติ อย่างไรก็ตามสำหรับในประเทศโลกที่สามนั้นสถาบันที่หากเข้มแข็งแล้วมักส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมืองคือสถาบันกองทัพ อย่างไรเสียวัฒนธรรมทางเมืองที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในทางการเมือง ซึ่งรัฐ-ชาติที่เกิดใหม่หรือในภาษาของแนวคิดพัฒนาการเมืองคือประเทศด้อยพัฒนา (underdeveloped country) นั้นมักมีระดับของการมีส่วนร่วมในทางการเมืองที่ต่ำ ผลที่ตามมาก็คือจะมีการโกงกิน (corruption) ในระดับสูง

การศึกษาการพัฒนาการเมืองของนักรัฐศาสตร์

แนวคิดการพัฒนาการเมืองนั้นเป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับการศึกษารัฐศาสตร์ในแนวพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่วิชารัฐศาสตร์พยายามสร้างงานวิจัยที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในสังคมจริงๆ ได้มองปัญหาอย่างมีจุดมุ่งหมาย ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาได้จริง และทำให้รัฐศาสตร์กลายเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) มากกว่าที่เป็นอยู่ ในอีกภาษาหนึ่งก็คือเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่นักรัฐศาสตร์พยายามสร้างแนวทางในการศึกษาการเมืองที่ไม่ต้องหยิบยืมวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์, การทำสถิติมาใช้

ในวงวิชาการรัฐศาสตร์แนวคิดพัฒนาการการเมืองมีการเรียนการสอนในระดับกระบวนทฤษฎี หรือในภาษาที่เป็นที่รู้จักมากกว่าคือเป็นวิธีวิเคราะห์การพัฒนาทางการเมือง (political development approaches) ดังกล่าวซึ่งเป็นอิทธิพลทางทฤษฎีของนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Abraham Almond) ที่หยิบยืมวิธีวิเคราะห์มาจากวิธีวิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่ (structural-functional approaches) ที่มองว่าการเมืองโดยรวมนั้น สามารถจะพัฒนาได้หากสมาชิกในสังคมมี “สำนึกพลเมือง (civic culture) ” หรือ “วัฒนธรรมพลเมือง (civic culture” ในการเข้าร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขัน (the participant political culture) แต่หากสมาชิกในสังคมการเมืองวางเฉยทางการเมือง (the parochial political culture) หรือรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมือง (the subject political culture) การเมืองนั้นก็จะด้อยพัฒนา

นักรัฐศาสตร์คนสำคัญอีกคนหนึ่งในแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมืองคือ ลูเซียน พาย (Lucian W. Pye) มองว่าการพัฒนาทางการเมืองนั้นเป็นโรคระบาดทางการเมืองอย่างหนึ่ง (political syndrome) ที่มนุษย์ต้องการให้เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของรัฐ-ชาติตน เพราะ สังคมการเมืองที่มีการพัฒนาการเมืองมาก โครงสร้างทางการเมืองจะสลับซับซ้อน มีการแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน (differentiation of specialization) เป็นหน่วยเล็กๆ ที่ดำเนินการอย่างอิสระ (subsystem autonomy) แต่ยังคงประสานงานกับหน่วยใหญ่หรือรัฐอยู่เสมอ สังคมการเมืองที่มีพัฒนาการในทางการเมืองจะเคารพในความเท่าเทียม (equality) สมาชิกในสังคมการเมืองจะมีมีสิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะหรือรูปแบบต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎระเบียบที่เป็นการทั่วไป (generally) รวมถึงการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเรื่องของความสามารถของบุคคลไม่ใช่เป็นเรื่องของชาติตระกูล ที่สำคัญที่สุดคือ ระบบการเมืองสามารถที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องจากเหล่าสมาชิกในสังคมการเมืองได้มากกว่า (capacity) รวมทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของระบบโครงสร้างทางสังคม โดยเอื้อต่อเป้าหมายใหม่ๆ ของระบบอีกด้วย

ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) สรุปว่าการพัฒนาการเมืองคือทฤษฎีการเมือง หรือกระบวนทฤษฎีที่มองว่าความสามารถที่ระบบการเมืองทำให้คนในสังคมสนับสนุนในกิจกรรมทางการเมือง และเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม โดยการระดมทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม โดยเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองคือ “การสร้างสถาบันเพื่อจัดระเบียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นสำคัญ

นิยามของคำว่า การพัฒนาทางการเมือง

ลิขิต ธีระเวคิณได้กล่าวว่าคำว่า การพัฒนาการเมือง (political development) เป็นศัพท์ทางรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่เจ้าอาณานิคมได้ถอนกำลังออกไปจากประเทศที่ตนเคยเป็นเจ้าอาณานิคมมาก่อน ทันทีที่มีการถอนออกจากอดีตอาณานิคมหลายประเทศกลับตกอยู่ในสภาพสงครามกลางเมือง มีการสู้รบกันระหว่างฝ่ายต่างๆ จนแยกออกเป็นหลายประเทศ ตัวอย่างที่ชัดที่สุดคืออินเดียซึ่งแยกออกเป็นอินเดียและปากีสถาน ต่อมาก็แยกเป็นประเทศบังคลาเทศอีกประเทศหนึ่ง สิ่งซึ่งทำให้เจ้าอาณานิคมหลายประเทศไม่เข้าใจก็คือ ก่อนการถอนออกไปนั้นได้มีการร่างรัฐธรรมนูญและข้อตกลงต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี แต่ทันทีที่ถอนกำลังออกไปกลับกลายเป็นการต่อสู้ระหว่างเผ่าพันธุ์ ระหว่างกลุ่มซึ่งมีศาสนาต่างกัน และระหว่างกลุ่มซึ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองและอุดมการณ์ เมื่อมีการพยายามหาคำตอบจากปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยนักรัฐศาสตร์ก็ได้คำตอบสั้นๆ ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการขาดการพัฒนาการเมือง

ในวงวิชาการอเมริกันนั้น นิยามของการพัฒนาการเมืองเกิดในช่วงที่พายเป็นประธานคณะกรรมการการเมืองเปรียบเทียบในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ที่ให้การสนับสนุนการศึกษาการพัฒนาการเมืองมาตั้งแต่แรกเริ่มในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 พาย ได้พยายามศึกษาวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเมือง และพบว่ามีประเด็นที่สำคัญ ๆ มากมายและค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าที่เขาคาดไว้ พาย จึงได้สรุปการพยายามนิยามการพัฒนาการเมืองที่มีอยู่ในวงวิชาการอเมริกันไว้ 10 ประการ คือ

  • การพัฒนาการเมือง เป็นพื้นฐานทางการเมืองของการพัฒนาเศรษฐกิจ ในแง่นี้การเมืองที่พัฒนาแล้วจะเปรียบเสมือนปัจจัยที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ เช่น ช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่าการพัฒนาการเมืองในแง่นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าแคบไป ทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระบบการเมืองที่แตกต่างกัน และจากข้อเท็จริงที่ปรากฏให้เห็นในหลายประเทศปัจจุบันว่า ความเจริญทางเศรษฐกิจ หาได้มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นในช่วงอายุของเราไม่ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถึงขนาดที่เราอาจจัดได้ว่าเป็นการพัฒนาการเมืองแล้วก็ตาม แนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่า หากระบบการเมืองมีการพัฒนาสูง จะส่งเสริมให้เกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความำสเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาการเมืองของแต่ละสังคม
  • การพัฒนาการเมือง เป็นการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม นั่นคือมีการมองกันว่าการเมืองในประเทศอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยหรือเผด็จการจะมีแบบแผนของพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมในลักษณะที่มีเหตุผล รัฐบาลมีความยอมรับผิดชอบต่อความสงบสุขและมีความกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับว่าการเมืองเป็นเพียงเครื่องมือในการแก้ปัญหา หาได้เป็นเป้าหมายในตัวเองไม่ การเมืองของสังคมอุตสาหกรรมจึงนับได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งชี้ให้เห็นหถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะในปัญหาหลักคือ การแจกแจงความกินดีอยู่ดีให้กับสมาชิกอย่างเป็นธรรมกว่าในสังคมอื่น ๆ แนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่า สังคมที่พัฒนาจนก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมได้นั้น ระบบการเมืองจะต้องมีระดับการพัฒนาสูง ดังนั้น ลักษณะระบบการเมืองของสังคมอุตสาหกรรมคือรูปธรรมของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้ว
  • การพัฒนาการเมือง เป็นความเป็นทันสมัยทางการเมือง เนื่องจากแนวความคิดที่พยายามโยงการพัฒนาการเมืองกับการเมืองของสังคม อุตสาหกรรมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นแนวความคิดที่ที่ลำเอียง ไม่ให้ความสำคัญกับประเพณีและปทัสถานของสังคมอื่น ๆ มาตรฐานของสังคมอุตสาหกรรมหรือสังคมตะวันตกนั้น ไม่สามารถใช้วัดได้ในทุกระบบสังคม ซึ่งจากข้อแย้งเหล่านี้ก็เนื่องมาจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลจากความเจริญทางวิทยาการเหล่านี้เองจะช่วยสนับสนุนให้มนุษย์ได้มองเห็นแง่มุมต่าง ๆ ของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองได้กว้างขวางยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การเรียกร้องให้มีกฎหมายที่เป็นสากล สามารถให้ความยุติธรรมกับสมาชิกของสังคมโดยทั่วหน้ากัน มีกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอิทธิพล แต่ละกลุ่มต่าง ก็พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมุ่งหวังที่จะใช้อิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายนั้นๆ ออกมาในรูปของการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตนให้มากที่สุด และความเป็นทันสมัยทางการเมืองเหล่านี้เองจึงเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางการเมืองในความหมายนี้ แนวคิดนี้เชื่อมั่นว่า การพัฒนาการเมืองจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองให้มีความทันสมัย (Political Modernization) กล่าวคือ จะต้องมีการแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างซับซ้อน จะต้องสร้างสรรค์ให้เกิดเอกภาพในอำนาจทางการปกครอง และจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เรามักเกิดความสงสัยกันบ้างว่า การพัฒนาการเมืองกับการสร้างความทันสมัยทางการเมือง (Political Modernization) นั้นเป็นสิ่งเดียวกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ในประการนี้ บิลล์และฮาร์ดเกรฟ ได้ให้ทัศนะไว้ว่า ความหมายของการพัฒนาการเมืองกับการเปลี่ยนหรือทำให้เป็นความทันสมัยทางการเมือง นั้น มีความหมายที่แตกต่างกันไม่มาก และมีการใช้แทนกันได้บ้าง แต่กระนั้น จุดเน้นของการพัฒนาจะพิจารณากันที่ความสามารถในการตอบสนองของระบบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นหรือความสัมพันธ์กับข้อเรียกร้องเป็นด้านหลัก แต่การเปลี่ยนแปลงหรือการทำให้เกิดความทันสมัยนั้น มุ่งดูที่การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวพันกับการที่มนุษย์ควบคุมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิควิทยาที่ตกทอดกันมาในช่วงระยะเวลาราว 400 ปีผ่านมานี้เอง
  • การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องการดำเนินงานของรัฐชาติความคิดนี้เกิดจากความเห็นที่ว่าแนวปฏิบัติทางการเมืองที่เกิดขึ้นอันถือได้ว่ามีลักษณะที่พัฒนาแล้วนั้นจะคล้องจองกับมาตรฐานของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในรัฐชาติยุคใหม่ กล่าวคือ รัฐชาติเหล่านี้สามารถที่จะปรับตัวและดำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ในระดับหนึ่ง แถมยังสร้างลัทธิชาตินิยมอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเมือง ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ อีกนัยหนึ่งการพัฒนาการเมืองในแง่นี้ก็คือการสร้างชาติ (Nation-building) นั่นเอง แนวคิดนี้หมายถึง การทำให้รัฐบาลมีอำนาจครอบคลุมทั้งประเทศ ประชาชนมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้นโยบายชาตินิยมเห็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้เกิดความเป็นชาติอย่างแท้จริง
  • การพัฒนาการเมือง หมายถึงเรื่องราวของการพัฒนาระบบบริหารและกฎหมายแนวความคิดต่อเนื่องมาจากความเห็นดีว่าการพัฒนาการเมืองเป็นเรื่องการสร้างชาติ โดยแบ่งรูปแบบของการสร้างชาติออกเป็น 2 รูปแบบคือ การสร้างสถาบัน และการพัฒนาพลเมืองซึ่งทั้ง 2 รูปแบบนี้จะคล้องจองกันในลักษณะหนึ่ง แนวความคิดนี้มุ่งที่การพัฒนาสถาบันบริหารและพัฒนาเครื่องมือของสถาบันนี้ไปพร้อมๆ กันด้วยนั่นคือการพัฒนากฎหมายเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยและประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม แนวทางนี้ชี้ให้เห็นว่า ระบบบริหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาการเมือง ระบบการเมืองที่มีระดับการพัฒนาสูง จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหาร ตลอดจนชี้ให้เห็นว่า ระบบกฎหมายจะได้รับการพัฒนา เพื่อดำรงความยุติธรรมของสังคมและตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ภายใต้ระบบการเมืองที่มีการพัฒนา
  • การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการระดมพลและการมีส่วนร่วมทางการเมือง แนวความคิดนี้อ้างว่าการฝึกฝนและการให้ความสำคัญกับสมาชิกของสังคมในฐานะเป็นราษฎร ตลอดจนการส่งเสริมให้พวกเขาเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อรัฐชาติใหม่ และถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเมือง และประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งในการศึกษาการพัฒนาการเมืองในแง่นี้คือ เรามักจะผูกพันลักษณะการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองกับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยมากเกินไปจนมองข้ามการมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะอื่นๆ ด้วย หัวใจสำคัญของแนวคิดนี้คือ อำนาจทางการเมืองเป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชนจะต้องแสดงบทบาทในการควบคุม กำกับ และตรวจสอบระบบการเมือง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการเมืองที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าว คือระบบการเมืองที่พัฒนา หรืออาจกล่าวได้ว่า แนวทางการพัฒนาทางการเมือง คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
  • การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย แนวความคิดนี้ค่อนข้างจะแคบ คือ มองว่าการพัฒนาการเมืองมีอยู่รูปแบบเดียว คือ การสร้างประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิชาการหลายท่านวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นคำนิยามที่ลำเอียง มุ่งที่จะยัดเยียดค่านิยมทางการเมืองแบบตะวันตกให้กับประเทศด้อยพัฒนาซึ่งควรจะสนใจว่า “พัฒนา” ให้การเมืองของชาติก้าวหน้าได้อย่างไร มากกว่าที่จะสนใจว่าจะสร้างประชาธิปไตยอย่างตะวันตกได้อย่างไรในขณะที่ค่านิยมของตนเองไม่เอื้อประโยชน์ให้เลย แนวคิดนี้สรุปอย่างชัดเจนว่า การพัฒนาทางการเมืองคือ การพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ยิ่งระบบการเมืองเป็นประชาธิปไตยมากเท่าใด ก็ย่อมแสดงว่ามีการพัฒนามากขึ้นเท่านั้น
  • การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของความมีเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบ แนวทรรศนะนี้มีความลำเอียงในแง่ของค่านิยมแบบประชาธิปไตยน้อยลง คือมองว่าลักษณะการเมืองที่พัฒนาแล้วจะเกิดขึ้นในระบอบการเมืองใดก็ได้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ นอกจากนี้ยังมองว่าประชาธิปไตยนั้นไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และไม่อาจก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้ การพัฒนาการเมืองในแง่นี้จึงเป็นลักษณะของการดำเนินชีวิตทางการเมืองที่ไม่วุ่นวายและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนนั่นเอง แนวคิดนี้สรุปให้เห็นได้ว่า ลักษณะของระบบการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์กติกา จะก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนจะเกิดความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ
  • การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการระดมพลและอำนาจ แนวความคิดนี้พัฒนามาจากความเห็นเก่าๆ ทั้งในเรื่องของสถาบันและเสถียรภาพทางการเมืองโดยมองบว่าเหตุสำคัญที่จะก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองและทำให้สถาบันดำเนินไปอย่างประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบการเมืองเอง กล่าวคือ ถ้าระบบการเมืองใดสามารถที่จะระดมพลและอำนาจเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ สามารถทำให้คนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนของระบบ และระบบเองก็สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสามารถแจกแจงทรัพยากรเหล่านี้อย่างเป็นธรรมโดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนแล้ว ระบบการเมืองนั้นถือได้ว่าพัฒนาแล้ว
  • การพัฒนาการเมือง เป็นแง่หนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การพัฒนาการเมืองนั้น จะผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม การที่ด้านใดด้านด้านหนึ่งของสังคมแปรเปลี่ยนไปจนกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ ด้วย การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็ถือว่าเป็นลักษณะหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทั้งปวงของสังคม ฉะนั้นในการศึกษาการพัฒนาการเมืองจึงจำเป็นต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมพร้อมกันไปด้วย

นิยามของคำว่าพัฒนาการเมืองทั้ง 10 ประการเหล่านี้ พาย ไม่ได้พูดว่านิยามใดผิด หรือถูกมากกว่านิยามอื่นๆแต่เป็นเพียงเขาต้องการเน้นถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเมืองที่สำคัญๆ ตามแนวทรรศนะของนักวิชาการในสำนักต่างๆ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้แต่ละทรรศนะจึงย่อมที่จะต้องมีอคติอยู่บ้างเป็นธรรมดา เช่น มองเพียงแต่ว่าการเมืองที่พัฒนาแล้วเป็นการเมืองแบบประธิปไตย เป็นต้น

นอกจากนี้ พาย พร้อมด้วยสมาชิกคณะกรรมการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ (Committee on Comparative Politics) ได้สรุปแนวความคิดของสำนักงานต่าง ๆ และสร้างลักษณะร่วม หรือสาระสำคัญของความหมายของการพัฒนาการเมือง จำแนกออกได้เป็น 3 ประการ โดยเรียกรวมกันว่า "โรคติดต่อของการพัฒนา (Development Syndrome)" ประกอบด้วย

  • ความชำนาญงาน (differentiation) หมายถึง การที่องค์กรหรือหน่วยงานใด ๆ มีโครงสร้างที่แตกต่างกันไป มีหน้าที่จำกัดและมีความชำนาญงานเฉพาะด้าน โคลแมน (Coleman) กล่าวไว้ว่า Differentiation หมายถึง “กระบวนการซึ่งบทบาท ส่วนต่าง ๆ ของสถาบันและสมาคมที่มีกากรแยกแยะและมีความชำนาญงานเฉพาะด้านเพิ่มมากขึ้นในสังคมที่ดำเนินการสู่ความเป็นทันสมัย” นั่นคือ สังคมใดที่มีการพัฒนาการเมืองมาก จะยิ่งมีโครงสร้างทางการเมืองที่สลับซับซ้อน ทำหน้าที่อันจำกัดตามความชำนาญเฉพาะด้าน แต่ลักษณะของการแยกแยะโครงสร้างย่อมๆ ออกเป็นหน่วยเล็กๆจำนวนมากนี้ไม่ใช่เป็นการก่อให้เกิดความแตกแยกหรือแต่ละหน่วยเล็กๆจะดำเนินการเป็นอิสระเอกเทศแต่ประการใด หน่วยเล็กๆเหล่านี้ยังคงต้องประสานงานกับหน่วยใหญ่ของโครงสร้าง เพื่อร่วมมือการดำเนินงานให้บรรลุสู่จุดประสงค์หรือเป้าหมายที่องค์กรนั้น ๆ วางไว้ เราจึงพบว่าในสังคมดั้งเดิมจะมีความชำนาญงานเฉพาะด้านและระดับของความซับซ้อนขององค์กรน้อยกว่าสังคมสมัยใหม่ที่พัฒนาแล้วมาก ผู้ปกครองของสังคมดั้งเดิมจะทำหน้าที่ทั้งนิติบัญญัติ บริหารบัญญัติ และตุลาการบัญญัติ คือเป็นทั้งผู้ออกกฎหมาย นำกฎหมายมาบังคับใช้ และตัดสินความไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ หรือถ้าเราจะนำโครงสร้างของสังคมศักดินามาเปรียบเทียบกับสังคมสมัยใหม่ นั้นจะพบว่าในสังคมศักดินาจะมีระดับจองความซับซ้อนขององค์กรย่อยน้อยมาก ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของไทยนั้น เรามีองค์กรทางการเมืองซึ่งเทียบเท่ากระทรวงในปัจจุบันเพียง 4 องค์กร คือ เวียง วัง คลัง และนา เท่านั้น แต่ปัจจุบันสังคมเราได้วิวัฒนาการมีการแจกแจงหน้าที่ใหม่ๆที่เกิดขึ้นให้กับองค์กรซึ่งตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อที่จะสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการใหม่ๆที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงมีกระทรวงต่าง ๆ มากมาย และแต่ละกระทรวงยังแยกหน่วยงานย่อยออกไปอีกมาก จึงนับได้ว่าสังคมปัจจุบันพัฒนาการมากกว่าสังคมในอดีตมาก
  • ความเท่าเทียม (equality)หมายถึง ความเสมอภาคเท่าเทียมกันแยกออกเป็น 3 ประการ คือ ประการแรก เป็นความเสมอภาคในฐานะที่เป็นราษฎรซึ่งมีสิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะหรือรูปแบบต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน ประการที่สองคือ ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎระเบียบที่เป็นสากลอันเดียวกัน หมายความว่า ราษฎรที่ทำผิดก็จะต้องได้รับโทษไม่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่เป็นอภิสิทธิ์ชนอยู่เหนือกฎหมายได้ ส่วนประการที่สามคือ ปทัสถานที่มีหลักเกณฑ์อยู่บนความสัมฤทธิผล กล่าวคือ การเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเรื่องของความสามารถของบุคคล ไม่ใช่เป็นเรื่องของชาติตระกูลสูงหรือต่ำ หรืออาจกล่าวได้ว่า ราษฏรในสังคมที่พัฒนาแล้วจะมีความเท่าเทียมกันในโอกาสบนเงื่อนไขของความสามารถนั่นเอง
  • ความสามารถ (capacity)หมายถึง ความสามารถของระบบการเมือง ในการที่จะสนองตอบต่อข้อเรียกร้องจากเหล่าสมาชิก สามารถกำจัดข้อขัดแย้ง แก้ไขความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในสังคมและยังก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ หรือนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงยังไม่ขาดสายด้วย จึงเห็นได้ว่าคำว่าความสมารถของระบบในแง่นี้หาได้มีความหมายเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป แต่ยังหมายถึงความสามารถของระบบในการที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบางอย่างเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของระบบเอง ความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ๆปรับปรุงแก้ไขและสามารถดำเนินการให้การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆนี้เอื้ออำนวยต่อเป้าหมายใหม่ๆ ของระบบอีกด้วย รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น จะมีประสิทธิภาพในการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในด้านต่างๆ ได้ดี สามารถที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดหลักการของความเป็นเหตุเป็นผล และหลักการทางโลกในการบริหารงานด้วย

อคติของคำนิยามการพัฒนาการเมือง

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพิจารณาตามหลักการ "โรคติดต่อของการพัฒนา (Development Syndrome)" ทั้งสามประการข้างต้น เราจะพบว่าคำนิยามที่ได้สรุปมานั้นมีลักษณะที่บ่งบอกมีอคติ กล่าวคือ

  • มีลักษณะเอนเอียงไปทางแบบของตะวันตก หรือประเทศในค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเราจะพบว่าลักษณะร่วมประการที่สองที่ว่าด้วยความเสมอภาค โดยเน้นที่การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอันเป็นรูปแบบหนึ่งของการเมืองแบบประชาธิปไตย ถ้าเป็นเช่นนั้นเราอาจนำมาสรุปอย่างผิดๆได้ว่าการเมืองในประเทศเผด็จการย่อมไม่ถือว่าเป็นการเมืองที่พัฒนา
  • ลักษณะการแบ่งแยกเฉพาะด้านเกิดมาก่อนแล้วในบางสังคม มีนักวิชาการหลายท่านแย้งว่าลักษณะการแบ่งแยกเฉพาะด้านในโครงสร้างทางการเมืองนั้น หาได้มีเฉพาะในระบบการเมืองสมัยใหม่ไม่แต่มันเกิดมาก่อนแล้วในบางสังคม เช่น ในจักรวรรดิโรมัน และจีนโบราณ ซึ่งเรายึดหลักนี้เป็นเกณฑ์ เราอาจสรุปไปว่าจักรวรรดิโรมันและจีนโบราณเป็นสังคมที่พัฒนาการเมืองแล้ว ซึ่งนักวิชาการหลายท่านยังสงสัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีบางคนได้ตั้งข้อสงสัยไว้เหมือนกันว่าการแบ่งแยกโครงสร้างหรือมีระดับของความชำนาญงานเฉพาะด้านระดับใดที่เราอาจพูดได้ว่าสังคมพัฒนาแล้ว

องค์ประกอบอันเป็นสาระสำคัญของการพัฒนาทางการเมือง

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ได้สรุปองค์ประกอบอันเป็นสาระสำคัญของการพัฒนาทางการเมือง จากแนวคิดข้างต้นออกเป็น 5 ประการดังนี้

  • ความเท่าเทียมกัน (Equality) ซึ่งมีความหมายครอบคลุมทั้งความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ความเท่าเทียมกันในสิทธิทางการเมือง และความเท่าเทียมกันที่ประชาชนจะได้รับจากการให้บริการของรัฐ ทั้งทางบริการด้านการศึกษา สาธารณสุข ตลอกจนสิ่งอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความสามารถของระบบการเมือง (Capacity)หมายถึง ความสามารถที่ระบบการเมืองจะตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยที่ระบบการเมืองจะต้องเปิดรับการควบคุม กำกับและตรวจสอบจากประชาชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการตัดสินใจใดใดทางการเมือง จะเสริมสร้างให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดีโดยเสมอภาคกัน
  • การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างและมีความชำนาญเฉพาะ ในประการนี้ สอดคล้องกับทัศนะของอัลมอนด์และเพาเวลล์ (Almond and Powell 1966, 299-300) ที่เห็นว่า องค์ประกอบสำคัญด้านหนึ่งของการพัฒนาการเมืองก็คือ การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างและมีความชำนาญเฉพาะ (Differentiation and Specialization) เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงเฉพาะทาง ส่วนการจัดแบ่งโครงสร้างทางการเมืองออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ เป็นต้นนั้น เป็นไปเพื่อให้แต่ละฝ่ายสามารถจัดหาบุคลากรมีความความชำนาญเฉพาะในการปกิบัติงานตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุมีผล (Secularization of Political Culture) โดยทั่วไปนั้น สังคมแบบดั้งเดิมที่ปกครองแบบอำนาจนิยมมักจะปลูกฝังให้ประชาชนยึดมั่นใจจารีตประเพณีอย่างขาดเหตุผล ยึดถือเรื่องโชคลาง รวมไปถึงการปลูกฝังให้ประชาชนเห็นว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบุญญาบารมี การพัฒนาทางการเมืองจึงเป็นไปในทางมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนให้เหตุผลในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะความเป็นเหตุเป็นผลที่ประชาชนจะต้องควบคุม กำกับและตรวจสอบการเมืองอย่างใกล้ชิด อัลมอนด์และเพาเวลล์ (Almond and Powell 1966, 299-300) กล่าวไว้ว่า ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเป็นเหตุเป็นผลนี้ มักจะพบได้ทั่วไปในสังคมอุตสาหกรรม
  • ความเป็นอิสระของระบบย่อย (Subsystem Autonomy) คือ ผลผลิตของการกระจายอำนาจทางการเมือง เพื่อให้ระบบย่อยมีอำนาจในการพิจารณาปัญหา สาเหตุความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน รวมไปถึงการกำหนดแนวทางในการที่จะแก้ไขปัญหา หรือเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองความต้องการของประชาชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อ้างอิง

  1. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. มโนทัศน์ที่สำคัญในวิชาการพัฒนาการเมือง. มหาสารคาม : หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2553.
  2. Damien Kingsbury. Political Development. New York : Routledge, 2007, p. 12.
  3. David Easton. The Political System : An Inquiry into the State of Political Science (2nd edition) New York: Alfred A. Knopf, 1971, pp. 372-373. อ้างใน เชิญ ชวิณณ์ ศรีสุวรรณ, “แนวพินิจทางรัฐศาสตร์ : ภาวะวิทยา ญาณวิทยา และ วิธีวิทยา,” (๒๕๕๑), น. 23. Cited by http://www.buriram.ru.ac.th/00phpweb/down_load/fill/0907111104235YRYX.doc
  4. Gabriel A. Almond and G. Bingham Powell, Jr. Comparative Politics :System, Process and Policy. (2nd edition) ( Boston : Little, Brown and Company,1978). and Gabriel A. Almond and G. Bingham Powell, Jr (eds), Comparative Politics Today: A world View. Boston : Little, Brown and Company,1980. อ้างใน อโณทัย วัฒนาพร, “นักรัฐศาสตร์กับสังคมการเมืองไทย : ภารกิจอันไม่จบสิ้น,” (เอกสารประกอบการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2549).
  5. Lucien W. Pye. Aspects of Political Development: An Analytic Study. Boston : Little Brown and Company, 1966, 33 – 48. อ้างใน ลิขิต ธีเวคิน. ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. (กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527).
  6. Samuel Huntington. Political Order in Changing Societies. (Second edition) Connecticut: Yale University Press, 1969, p. 31.
  7. ลิขิต ธีรเวคิน, "การพัฒนาการเมือง (Political Development)," หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ( วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 )
  8. สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์. ทัศนคติทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2539), น. 33-34.
  9. Bill, James A., and Hardgrave, Robert L. Comparative Politics : The Quest for Theory. Columbus Ohio: Charles E. Merrill Publishing Company (1973), p. 67.
  10. Lucien W. Pye. Aspects of Political Development: An Analytic Study. Boston : Little Brown and Company, 1966, 33 – 48. อ้างใน ลิขิต ธีเวคิน. ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. (กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527).
  11. สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์. ทัศนคติทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2539), น. 35 - 36.

ดูเพิ่ม

การพ, ฒนาการเม, อง, เน, อหา, หล, งของการศ, กษา, การศ, กษาของน, กร, ฐศาสตร, ยามของคำว, การพ, ฒนาทางการเม, อง, อคต, ของคำน, ยาม, องค, ประกอบอ, นเป, นสาระสำค, ญของการพ, ฒนาทางการเม, อง, างอ, เพ, มภ, หล, งของการศ, กษา, แก, ไขหล, งการล, มสลายของย, คล, าอาณาน, คมในร. enuxha 1 phumihlngkhxngkarsuksakarphthnakaremuxng 2 karsuksakarphthnakaremuxngkhxngnkrthsastr 3 niyamkhxngkhawa karphthnathangkaremuxng 4 xkhtikhxngkhaniyamkarphthnakaremuxng 5 xngkhprakxbxnepnsarasakhykhxngkarphthnathangkaremuxng 6 xangxing 7 duephimphumihlngkhxngkarsuksakarphthnakaremuxng aekikhhlngkarlmslaykhxngyukhlaxananikhminrawplayswrrsthi 19 ekidkarpldplxyxananikhm decolonized cnekidrth chatithimiexkrachthismburnkhuninolkcanwnmakinexechiy aexfrika aelaxemrikait thwapraethsecaxananikhmedimyngtxngkarkhngxanacthangkaremuxngiwxyu enuxngcakinewlannsthanakaremuxngolkxyuinchwngkartxsuthangxudmkarnrahwangolkesri kbolksngkhmniym cungmikarnaesnxkhwamechuxphunthankhxngaenwkhidkarphthnakaremuxngcaechuxwahakrth chatithiekidkhunihmnncamikhwammnkhnginthangkaremuxngcatxngphthnapraethsipinaenwthangkhxngpraethsthiphthnaaelw developed country sungodynykkhuxpraethsin olktawntk thiekhyepnpraethsecaxananikhmxathi xngkvs frngess shrthxemrika epntn dngnnwtthuprasngkhhlkkhxngaenwkhidkarphthnakaremuxngnnsamarthekhaicidinsxngdankhux 1 ephuxepncdradbkhwamsmphnthinradbkhxngkaremuxngrahwangpraeths ephuxepnekhruxngemuxnginthangkaremuxngephuxpxngknrth chatithiekidkhunihmimihichaenwthanginkarpkkhrxnginaebbkhxmmiwnistkhxsngekthnungkhuxinrth chatithiekidkhunihmnnmkthukmxngwamikhwamwunwayinthangkaremuxngmakekinip inewladngklawrth chatithiekhyepnpraethslukxananikhmprasbpyhathangkaremuxngtang xnnaipsukhatkrrmthangkaremuxng karrthprahar aelakhwamlmehlwinkarnaekharabxbprachathipity nkrthsastrxemrikntikhwamwapraktkarnkhwamlmehlwkhxngkarsrangrabbkaremuxngaebbprachathipityinrthchatithiekidkhunihmnnekidcakkarkhadkarphthnakaremuxng karaekpyhadngklawnkrthsastrmungennipthikarwiekhraahkaremuxngkhxngpraethsthiekhyepnemuxngkhunkhxngmhaxanac odymxngwakhwamwunwayinthangkaremuxngthiklawmanisngphlodytrngtxsmrrthphaphinkar kawhna inthangkaremuxng aelayngmiphlkrathbepnlukostxsmrrthnainkarphthnathangesrsthkic aelasngkhmxikdwy hruxkkhuxaenwkhidphthnakaremuxngcamxngwakaremuxngkhuxtwkahndsmrrthnathangesrsthkic aelasngkhmsungcatangkbrth chatithimirabxbkarpkkhrxngaebbkhxmmiwnistthicaichesrsthkicepntwkahndkaremuxng aelasngkhm aenwkhidkarphthnakaremuxngcaihkhwamsakhykbrthinsthanathiepnsthabnhlkinkarsrrsrangcitsanukinthangkaremuxng aelakrxbinkarsrangwthnthrrmthangkaremuxngaebbprachathipityephuxepnrakthanihkbkarsrangkhwamepnsthabnihekidkhuninrth chati xyangirktamsahrbinpraethsolkthisamnnsthabnthihakekhmaekhngaelwmksngphlkrathbinthanglbtxkarphthnakaremuxngkhuxsthabnkxngthph xyangiresiywthnthrrmthangemuxngthisakhythisuderuxnghnungkkhuxwthnthrrmkarmiswnrwminthangkaremuxng sungrth chatithiekidihmhruxinphasakhxngaenwkhidphthnakaremuxngkhuxpraethsdxyphthna underdeveloped country nnmkmiradbkhxngkarmiswnrwminthangkaremuxngthita phlthitammakkhuxcamikarokngkin corruption inradbsung 2 karsuksakarphthnakaremuxngkhxngnkrthsastr aekikhaenwkhidkarphthnakaremuxngnnepnwithikarsuksakaremuxngthiekidkhunrwmsmykbkarsuksarthsastrinaenwphvtikrrmsastr behavioralism sunginchwngewladngklawepnchwngewlathiwicharthsastrphyayamsrangnganwicythiekiywkbpraednpyhainsngkhmcring idmxngpyhaxyangmicudmunghmay thisamarthnaipaekpyhaidcring aelathaihrthsastrklayepnsastrbrisuththi pure science makkwathiepnxyu inxikphasahnungkkhuxewladngklawepnchwngewlathinkrthsastrphyayamsrangaenwthanginkarsuksakaremuxngthiimtxnghyibyumwithiwithyaaebbwithyasastr karthasthitimaich 3 inwngwichakarrthsastraenwkhidphthnakarkaremuxngmikareriynkarsxninradbkrabwnthvsdi hruxinphasathiepnthiruckmakkwakhuxepnwithiwiekhraahkarphthnathangkaremuxng political development approaches dngklawsungepnxiththiphlthangthvsdikhxngnkrthsastrchawxemrikn aekebriyl xlmxnd Gabriel Abraham Almond thihyibyumwithiwiekhraahmacakwithiwiekhraahokhrngsrangaelahnathi structural functional approaches thimxngwakaremuxngodyrwmnn samarthcaphthnaidhaksmachikinsngkhmmi sanukphlemuxng civic culture hrux wthnthrrmphlemuxng civic culture inkarekharwmthangkaremuxngxyangaekhngkhn the participant political culture aethaksmachikinsngkhmkaremuxngwangechythangkaremuxng the parochial political culture hruxrbruaetimekharwmthangkaremuxng the subject political culture karemuxngnnkcadxyphthna 4 nkrthsastrkhnsakhyxikkhnhnunginaenwkhideruxngkarphthnakaremuxngkhux luesiyn phay Lucian W Pye mxngwakarphthnathangkaremuxngnnepnorkhrabadthangkaremuxngxyanghnung political syndrome thimnusytxngkarihekidkhunkbrabbkaremuxngkarpkkhrxngkhxngrth chatitn ephraa sngkhmkaremuxngthimikarphthnakaremuxngmak okhrngsrangthangkaremuxngcaslbsbsxn mikaraebngngantamkhwamchanayechphaadan differentiation of specialization epnhnwyelk thidaeninkarxyangxisra subsystem autonomy aetyngkhngprasanngankbhnwyihyhruxrthxyuesmx sngkhmkaremuxngthimiphthnakarinthangkaremuxngcaekharphinkhwamethaethiym equality smachikinsngkhmkaremuxngcamimisiththiinkarekhamiswnrwmthangkaremuxnginlksnahruxrupaebbtang odyethaethiymkn phayitkdraebiybthiepnkarthwip generally rwmthungkarekhadarngtaaehnngthangkaremuxngcaepneruxngkhxngkhwamsamarthkhxngbukhkhlimichepneruxngkhxngchatitrakul thisakhythisudkhux rabbkaremuxngsamarththicatxbsnxngkhxeriykrxngcakehlasmachikinsngkhmkaremuxngidmakkwa capacity rwmthngsamarthepliynaeplngephuxsnxngtxbtxkhwamtxngkarkhxngrabbokhrngsrangthangsngkhm odyexuxtxepahmayihm khxngrabbxikdwy 5 samuexl hnthingtn Samuel Huntington srupwakarphthnakaremuxngkhuxthvsdikaremuxng hruxkrabwnthvsdithimxngwakhwamsamarththirabbkaremuxngthaihkhninsngkhmsnbsnuninkickrrmthangkaremuxng aelaephuxtxbsnxngkhwamtxngkarkhxngsngkhm odykarradmthrphyakrmnusyaelathrphyakrthrrmchatiephuxtxbsnxngtxkhwamtxngkarkhxngsngkhmaelaephuxaekpyhatang khxngsngkhm odyepahmaykhxngphthnakarthangkaremuxngkhux karsrangsthabnephuxcdraebiybkarmiswnrwmthangkaremuxng epnsakhy 6 niyamkhxngkhawa karphthnathangkaremuxng aekikhlikhit thiraewkhinidklawwakhawa karphthnakaremuxng political development epnsphththangrthsastrthiekidkhunhlngsngkhramolkkhrngthisxng hlngcakthiecaxananikhmidthxnkalngxxkipcakpraethsthitnekhyepnecaxananikhmmakxn thnthithimikarthxnxxkcakxditxananikhmhlaypraethsklbtkxyuinsphaphsngkhramklangemuxng mikarsurbknrahwangfaytang cnaeykxxkepnhlaypraeths twxyangthichdthisudkhuxxinediysungaeykxxkepnxinediyaelapakisthan txmakaeykepnpraethsbngkhlaethsxikpraethshnung singsungthaihecaxananikhmhlaypraethsimekhaickkhux kxnkarthxnxxkipnnidmikarrangrththrrmnuyaelakhxtklngtang iwepnxyangdi aetthnthithithxnkalngxxkipklbklayepnkartxsurahwangephaphnthu rahwangklumsungmisasnatangkn aelarahwangklumsungmikhwamkhdaeyngthangkaremuxngaelaxudmkarn emuxmikarphyayamhakhatxbcakpraktkarndngklawodynkrthsastrkidkhatxbsn wa praktkarnthiekidkhunnnsathxnihehnthungkarkhadkarphthnakaremuxng 7 inwngwichakarxemriknnn niyamkhxngkarphthnakaremuxngekidinchwngthiphayepnprathankhnakrrmkarkaremuxngepriybethiybinkarwicythangsngkhmsastr thiihkarsnbsnunkarsuksakarphthnakaremuxngmatngaetaerkeriminchwngtnthswrrsthi 1960 phay idphyayamsuksawiekhraahpraedntang thiekiywkhxngkbkarphthnakaremuxng aelaphbwamipraednthisakhy makmayaelakhxnkhangslbsbsxnkwathiekhakhadiw phay cungidsrupkarphyayamniyamkarphthnakaremuxngthimixyuinwngwichakarxemrikniw 10 prakar khux 8 karphthnakaremuxng epnphunthanthangkaremuxngkhxngkarphthnaesrsthkic inaengnikaremuxngthiphthnaaelwcaepriybesmuxnpccythisakhythicaexuxxanwytxkhwamecriythangesrsthkic echn chwyihrayidechliytxhwkhxngprachakrephimkhun aetpraktwakarphthnakaremuxnginaengniidrbkarwiphakswicarnmakkwaaekhbip thngkhwamecriythangesrsthkicnnxacekidkhunidinrabbkaremuxngthiaetktangkn aelacakkhxethcringthipraktihehninhlaypraethspccubnwa khwamecriythangesrsthkic haidmithithawacaekidkhuninchwngxayukhxngeraim aemwacamikarepliynaeplngthangkaremuxngthungkhnadthieraxaccdidwaepnkarphthnakaremuxngaelwktam aenwkhidnichiihehnwa hakrabbkaremuxngmikarphthnasung casngesrimihekidkhwamrungeruxngthangesrsthkic khwamasercinkarphthnaesrsthkiccungkhunxyukbradbkhxngkarphthnakaremuxngkhxngaetlasngkhm karphthnakaremuxng epnkaremuxngkhxngsngkhmxutsahkrrm nnkhuxmikarmxngknwakaremuxnginpraethsxutsahkrrmimwacaepnrabxbkaremuxngaebbprachathipityhruxephdckarcamiaebbaephnkhxngphvtikrrmkhxngsmachikkhxngsngkhminlksnathimiehtuphl rthbalmikhwamyxmrbphidchxbtxkhwamsngbsukhaelamikhwamkindixyudikhxngprachachn sungethakbepnkaryxmrbwakaremuxngepnephiyngekhruxngmuxinkaraekpyha haidepnepahmayintwexngim karemuxngkhxngsngkhmxutsahkrrmcungnbidwaepnaebbxyangthidisungchiihehnhthungkhwamsaercinkaraekpyhaihlulwngipdwydi odyechphaainpyhahlkkhux karaeckaecngkhwamkindixyudiihkbsmachikxyangepnthrrmkwainsngkhmxun aenwkhidnichiihehnwa sngkhmthiphthnacnkawekhasusngkhmxutsahkrrmidnn rabbkaremuxngcatxngmiradbkarphthnasung dngnn lksnarabbkaremuxngkhxngsngkhmxutsahkrrmkhuxrupthrrmkhxngrabbkaremuxngthiphthnaaelw karphthnakaremuxng epnkhwamepnthnsmythangkaremuxng enuxngcakaenwkhwamkhidthiphyayamoyngkarphthnakaremuxngkbkaremuxngkhxngsngkhm xutsahkrrmidrbkarwiphakswicarnwaepnaenwkhwamkhidthithilaexiyng imihkhwamsakhykbpraephniaelapthsthankhxngsngkhmxun matrthankhxngsngkhmxutsahkrrmhruxsngkhmtawntknn imsamarthichwdidinthukrabbsngkhm sungcakkhxaeyngehlanikenuxngmacakkhwamecriythangwithyasastraelaethkhonolyi aelaphlcakkhwamecriythangwithyakarehlaniexngcachwysnbsnunihmnusyidmxngehnaengmumtang khxngsngkhm esrsthkic aelakaremuxngidkwangkhwangyingkhun xncanaipsukareriykrxngihmikdhmaythiepnsakl samarthihkhwamyutithrrmkbsmachikkhxngsngkhmodythwhnakn miklumtang ekidkhunxyangmakmay echn phrrkhkaremuxng klumphlpraoychnaelaklumxiththiphl aetlaklumtang kphyayamekhaipmiswnrwmthangkaremuxng odymunghwngthicaichxiththiphltxkarkahndnoybaynn xxkmainrupkhxngkarexuxpraoychntxklumtnihmakthisud aelakhwamepnthnsmythangkaremuxngehlaniexngcungepnpraednthisakhyyingtxkarphthnathangkaremuxnginkhwamhmayni aenwkhidniechuxmnwa karphthnakaremuxngcaekidkhunidnn catxngmikarepliynaeplngrabbkaremuxngihmikhwamthnsmy Political Modernization klawkhux catxngmikaraebngokhrngsrangthangkaremuxngihmikhwamaetktangsbsxn catxngsrangsrrkhihekidexkphaphinxanacthangkarpkkhrxng aelacatxngsngesrimihprachachnmiswnrwmthangkaremuxng eramkekidkhwamsngsyknbangwa karphthnakaremuxngkbkarsrangkhwamthnsmythangkaremuxng Political Modernization nnepnsingediywknhruxaetktangknxyangir inprakarni billaelahardekrf 9 idihthsnaiwwa khwamhmaykhxngkarphthnakaremuxngkbkarepliynhruxthaihepnkhwamthnsmythangkaremuxng nn mikhwamhmaythiaetktangknimmak aelamikarichaethnknidbang aetkrann cudennkhxngkarphthnacaphicarnaknthikhwamsamarthinkartxbsnxngkhxngrabbtxpyhathiekidkhunhruxkhwamsmphnthkbkhxeriykrxngepndanhlk aetkarepliynaeplnghruxkarthaihekidkhwamthnsmynn mungduthikarepliynaeplngthiekiywphnkbkarthimnusykhwbkhumthrrmchatiaelasingaewdlxm sungepneruxngthangethkhnikhwithyathitkthxdknmainchwngrayaewlaraw 400 piphanmaniexng karphthnakaremuxng epneruxngkardaeninngankhxngrthchatikhwamkhidniekidcakkhwamehnthiwaaenwptibtithangkaremuxngthiekidkhunxnthuxidwamilksnathiphthnaaelwnncakhlxngcxngkbmatrthankhxngphvtikrrmthiekidkhuninrthchatiyukhihm klawkhux rthchatiehlanisamarththicaprbtwaeladarngiwsungkhwamsngberiybrxykhxngsngkhmidinradbhnung aethmyngsranglththichatiniymxnthuxidwaepnenguxnikhthicaepntxkarphthnakaremuxng sungcanaipsukhwamepnxnhnungxnediywkninchati xiknyhnungkarphthnakaremuxnginaengnikkhuxkarsrangchati Nation building nnexng aenwkhidnihmaythung karthaihrthbalmixanackhrxbkhlumthngpraeths prachachnmikhwamsamkhkhiepnxnhnungxnediywkn odyichnoybaychatiniymehnekhruxngmuxsakhyephuxihekidkhwamepnchatixyangaethcring karphthnakaremuxng hmaythungeruxngrawkhxngkarphthnarabbbriharaelakdhmayaenwkhwamkhidtxenuxngmacakkhwamehndiwakarphthnakaremuxngepneruxngkarsrangchati odyaebngrupaebbkhxngkarsrangchatixxkepn 2 rupaebbkhux karsrangsthabn aelakarphthnaphlemuxngsungthng 2 rupaebbnicakhlxngcxngkninlksnahnung aenwkhwamkhidnimungthikarphthnasthabnbriharaelaphthnaekhruxngmuxkhxngsthabnniipphrxm kndwynnkhuxkarphthnakdhmayephuxsrangkhwamsngberiybrxyaelaprasiththiphaphinkaraekpyhathiekidkhuninsngkhm aenwthangnichiihehnwa rabbbriharephuxtxbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachncamiprasiththiphaphmaknxyaekhihnnn khunxyukbradbkhxngkarphthnakaremuxng rabbkaremuxngthimiradbkarphthnasung casngesrimihekidkarphthnaprasiththiphaphkhxngkarbrihar tlxdcnchiihehnwa rabbkdhmaycaidrbkarphthna ephuxdarngkhwamyutithrrmkhxngsngkhmaelatxbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachnswnihy phayitrabbkaremuxngthimikarphthna karphthnakaremuxng epneruxngkhxngkarradmphlaelakarmiswnrwmthangkaremuxng aenwkhwamkhidnixangwakarfukfnaelakarihkhwamsakhykbsmachikkhxngsngkhminthanaepnrasdr tlxdcnkarsngesrimihphwkekhaekhamiswnrwmthangkaremuxngnnepnsingthisakhyyingtxrthchatiihm aelathuxidwaepnpccythisakhyyingtxkarphthnakaremuxng aelapraednthisakhyprakarhnunginkarsuksakarphthnakaremuxnginaengnikhux eramkcaphukphnlksnakarekhamamiswnrwmthangkaremuxngkbsiththiinkarxxkesiyngeluxktngaebbprachathipitymakekinipcnmxngkhamkarmiswnrwmthangkaremuxnginlksnaxun dwy hwicsakhykhxngaenwkhidnikhux xanacthangkaremuxngepnkhxngprachachn dngnnprachachncatxngaesdngbthbathinkarkhwbkhum kakb aelatrwcsxbrabbkaremuxng ephuxihaenicwarabbkaremuxngthisngesrimihprachachnmiswnrwmthangkaremuxngdngklaw khuxrabbkaremuxngthiphthna hruxxacklawidwa aenwthangkarphthnathangkaremuxng khux karsngesrimihprachachnmiswnrwmthangkaremuxngxyangkwangkhwangaelathwthung karphthnakaremuxng epneruxngkhxngkarphthnaprachathipity aenwkhwamkhidnikhxnkhangcaaekhb khux mxngwakarphthnakaremuxngmixyurupaebbediyw khux karsrangprachathipity dwyehtunicungminkwichakarhlaythanwiphakswicarnwaepnkhaniyamthilaexiyng mungthicaydeyiydkhaniymthangkaremuxngaebbtawntkihkbpraethsdxyphthnasungkhwrcasnicwa phthna ihkaremuxngkhxngchatikawhnaidxyangir makkwathicasnicwacasrangprachathipityxyangtawntkidxyangirinkhnathikhaniymkhxngtnexngimexuxpraoychnihely aenwkhidnisrupxyangchdecnwa karphthnathangkaremuxngkhux karphthnarabbkaremuxngihepnprachathipity yingrabbkaremuxngepnprachathipitymakethaid kyxmaesdngwamikarphthnamakkhunethann karphthnakaremuxng epneruxngkhxngkhwammiesthiyrphaphaelakarepliynaeplngthiepnraebiyb aenwthrrsnanimikhwamlaexiynginaengkhxngkhaniymaebbprachathipitynxylng khuxmxngwalksnakaremuxngthiphthnaaelwcaekidkhuninrabxbkaremuxngidkidthisamarthprbtwihekhakbsphaphaewdlxmihm thiepliynaeplngxyutlxdewlaid nxkcakniyngmxngwaprachathipitynnimexuxtxkarepliynaeplngkhxngsngkhmthiepnipxyangrwderw aelaimxackxihekidesthiyrphaphthangkaremuxngid karphthnakaremuxnginaengnicungepnlksnakhxngkardaeninchiwitthangkaremuxngthiimwunwayaelaepnipxyangmiraebiybaebbaephnnnexng aenwkhidnisrupihehnidwa lksnakhxngrabbkaremuxngthimikarepliynaeplngtamkdeknthktika cakxihekidesthiyrphaphthangkaremuxng thngniephraaprachachncaekidkhwamechuxmn sungepnpccythisakhytxesthiyrphaphthangkaremuxngkhxngpraeths karphthnakaremuxng epneruxngkhxngkarradmphlaelaxanac aenwkhwamkhidniphthnamacakkhwamehneka thngineruxngkhxngsthabnaelaesthiyrphaphthangkaremuxngodymxngbwaehtusakhythicakxihekidesthiyrphaphthangkaremuxngaelathaihsthabndaeninipxyangprasiththiphaphidkhunxyukbkhwamsamarthkhxngrabbkaremuxngexng klawkhux tharabbkaremuxngidsamarththicaradmphlaelaxanacephuxichinkaraekikhpyhaidxyangmiprasiththiphaph klawkhux samarththaihkhnptibtitamkdeknthaelaraebiybaebbaephnkhxngrabb aelarabbexngksamarthichpraoychncakthrphyakrtang thimixyu rwmthngsamarthaeckaecngthrphyakrehlanixyangepnthrrmodyidrbkarsnbsnuncakprachachnaelw rabbkaremuxngnnthuxidwaphthnaaelw karphthnakaremuxng epnaenghnungkhxngkrabwnkarepliynaeplngthangsngkhm dngthieraidklawmaaelwkhangtnwa karphthnakaremuxngnn caphukphnxyangaennaefnkbkarepliynaeplngthangesrsthkicsngkhm karthidaniddandanhnungkhxngsngkhmaeprepliynipcnkrathbthungkarepliynaeplngindanxun dwy karepliynaeplngthangkaremuxng kthuxwaepnlksnahnungkhxngkarepliynaeplngthngpwngkhxngsngkhm channinkarsuksakarphthnakaremuxngcungcaepntxngsuksakarepliynaeplngthangesrsthkicsngkhmphrxmknipdwyniyamkhxngkhawaphthnakaremuxngthng 10 prakarehlani phay imidphudwaniyamidphid hruxthukmakkwaniyamxunaetepnephiyngekhatxngkarennthungtwaeprthiekiywkhxngkbkarphthnakaremuxngthisakhy tamaenwthrrsnakhxngnkwichakarinsanktang ethann dwyehtuniaetlathrrsnacungyxmthicatxngmixkhtixyubangepnthrrmda echn mxngephiyngaetwakaremuxngthiphthnaaelwepnkaremuxngaebbprathipity epntnnxkcakni phay phrxmdwysmachikkhnakrrmkarsuksakaremuxngepriybethiyb Committee on Comparative Politics idsrupaenwkhwamkhidkhxngsankngantang aelasranglksnarwm hruxsarasakhykhxngkhwamhmaykhxngkarphthnakaremuxng caaenkxxkidepn 3 prakar odyeriykrwmknwa orkhtidtxkhxngkarphthna Development Syndrome prakxbdwy khwamchanayngan differentiation hmaythung karthixngkhkrhruxhnwynganid miokhrngsrangthiaetktangknip mihnathicakdaelamikhwamchanaynganechphaadan okhlaemn Coleman klawiwwa Differentiation hmaythung krabwnkarsungbthbath swntang khxngsthabnaelasmakhmthimikakraeykaeyaaelamikhwamchanaynganechphaadanephimmakkhuninsngkhmthidaeninkarsukhwamepnthnsmy nnkhux sngkhmidthimikarphthnakaremuxngmak cayingmiokhrngsrangthangkaremuxngthislbsbsxn thahnathixncakdtamkhwamchanayechphaadan aetlksnakhxngkaraeykaeyaokhrngsrangyxm xxkepnhnwyelkcanwnmakniimichepnkarkxihekidkhwamaetkaeykhruxaetlahnwyelkcadaeninkarepnxisraexkethsaetprakarid hnwyelkehlaniyngkhngtxngprasanngankbhnwyihykhxngokhrngsrang ephuxrwmmuxkardaeninnganihbrrlusucudprasngkhhruxepahmaythixngkhkrnn wangiw eracungphbwainsngkhmdngedimcamikhwamchanaynganechphaadanaelaradbkhxngkhwamsbsxnkhxngxngkhkrnxykwasngkhmsmyihmthiphthnaaelwmak phupkkhrxngkhxngsngkhmdngedimcathahnathithngnitibyyti briharbyyti aelatulakarbyyti khuxepnthngphuxxkkdhmay nakdhmaymabngkhbich aelatdsinkhwamimmixngkhkrthithahnathiodyechphaa hruxthaeracanaokhrngsrangkhxngsngkhmskdinamaepriybethiybkbsngkhmsmyihm nncaphbwainsngkhmskdinacamiradbcxngkhwamsbsxnkhxngxngkhkryxynxymak insmykxnrchkalthi 5 aehngkrungrtnoksinthrkhxngithynn eramixngkhkrthangkaremuxngsungethiybethakrathrwnginpccubnephiyng 4 xngkhkr khux ewiyng wng khlng aelana ethann aetpccubnsngkhmeraidwiwthnakarmikaraeckaecnghnathiihmthiekidkhunihkbxngkhkrsungtngkhunmaihmephuxthicasnxngtxbtxpyhaaelakhwamtxngkarihmthiekidkhun dwyehtunieracungmikrathrwngtang makmay aelaaetlakrathrwngyngaeykhnwynganyxyxxkipxikmak cungnbidwasngkhmpccubnphthnakarmakkwasngkhminxditmak khwamethaethiym equality hmaythung khwamesmxphakhethaethiymknaeykxxkepn 3 prakar khux prakaraerk epnkhwamesmxphakhinthanathiepnrasdrsungmisiththiinkarekhamiswnrwmthangkaremuxnginlksnahruxrupaebbtang odyethaethiymkn prakarthisxngkhux khwamethaethiymknphayitkdraebiybthiepnsaklxnediywkn hmaykhwamwa rasdrthithaphidkcatxngidrbothsimmibukhkhlhruxklumbukhkhlidthiepnxphisiththichnxyuehnuxkdhmayid swnprakarthisamkhux pthsthanthimihlkeknthxyubnkhwamsmvththiphl klawkhux karekhadarngtaaehnngthangkaremuxngcaepneruxngkhxngkhwamsamarthkhxngbukhkhl imichepneruxngkhxngchatitrakulsunghruxta hruxxacklawidwa rastrinsngkhmthiphthnaaelwcamikhwamethaethiymkninoxkasbnenguxnikhkhxngkhwamsamarthnnexng khwamsamarth capacity hmaythung khwamsamarthkhxngrabbkaremuxng inkarthicasnxngtxbtxkhxeriykrxngcakehlasmachik samarthkacdkhxkhdaeyng aekikhkhwamtungekhriydthiekidkhuninsngkhmaelayngkxihekidsingihm hruxnamasungkarepliynaeplngyngimkhadsaydwy cungehnidwakhawakhwamsmarthkhxngrabbinaengnihaidmikhwamhmayechphaaineruxngkhxngkhwamsamarthinkarprbtwihekhakbsingaewdlxmthiaeprepliynip aetynghmaythungkhwamsamarthkhxngrabbinkarthicaepliynaeplngsingaewdlxmbangxyangephuxsnxngtxbtxkhwamtxngkarkhxngrabbexng khwamsamarthinkarsrangsingihmprbprungaekikhaelasamarthdaeninkarihkarepliynaeplngihmniexuxxanwytxepahmayihm khxngrabbxikdwy 10 rthbalkhxngpraethsthiphthnaaelwnn camiprasiththiphaphinkarsnxngtxbtxkhwamtxngkarkhxngprachachnindantang iddi samarththicananoybayipptibtixyangmiprasiththiphaphodyyudhlkkarkhxngkhwamepnehtuepnphl aelahlkkarthangolkinkarbriharngandwyxkhtikhxngkhaniyamkarphthnakaremuxng aekikhxyangirktam thaeraphicarnatamhlkkar orkhtidtxkhxngkarphthna Development Syndrome thngsamprakarkhangtn eracaphbwakhaniyamthiidsrupmannmilksnathibngbxkmixkhti klawkhux milksnaexnexiyngipthangaebbkhxngtawntk hruxpraethsinkhayesriprachathipity sungeracaphbwalksnarwmprakarthisxngthiwadwykhwamesmxphakh odyennthikarekhamamiswnrwmthangkaremuxngxnepnrupaebbhnungkhxngkaremuxngaebbprachathipity thaepnechnnneraxacnamasrupxyangphididwakaremuxnginpraethsephdckaryxmimthuxwaepnkaremuxngthiphthna lksnakaraebngaeykechphaadanekidmakxnaelwinbangsngkhm minkwichakarhlaythanaeyngwalksnakaraebngaeykechphaadaninokhrngsrangthangkaremuxngnn haidmiechphaainrabbkaremuxngsmyihmimaetmnekidmakxnaelwinbangsngkhm echn inckrwrrdiormn aelacinobran sungerayudhlkniepneknth eraxacsrupipwackrwrrdiormnaelacinobranepnsngkhmthiphthnakaremuxngaelw sungnkwichakarhlaythanyngsngsyxyu nxkcakniyngmibangkhnidtngkhxsngsyiwehmuxnknwakaraebngaeykokhrngsranghruxmiradbkhxngkhwamchanaynganechphaadanradbidthieraxacphudidwasngkhmphthnaaelwxngkhprakxbxnepnsarasakhykhxngkarphthnathangkaremuxng aekikhsmbti tharngthywngs 11 idsrupxngkhprakxbxnepnsarasakhykhxngkarphthnathangkaremuxng cakaenwkhidkhangtnxxkepn 5 prakardngni khwamethaethiymkn Equality sungmikhwamhmaykhrxbkhlumthngkhwamethaethiymknthangkdhmay khwamethaethiymkninsiththithangkaremuxng aelakhwamethaethiymknthiprachachncaidrbcakkarihbrikarkhxngrth thngthangbrikardankarsuksa satharnsukh tlxkcnsingxanwypraoychntxkardarngchiwitxyangmiprasiththiphaph khwamsamarthkhxngrabbkaremuxng Capacity hmaythung khwamsamarththirabbkaremuxngcatxbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachn thnginthangsngkhm esrsthkicaelakaremuxng odythirabbkaremuxngcatxngepidrbkarkhwbkhum kakbaelatrwcsxbcakprachachn ephuxihmnicidwakartdsinicididthangkaremuxng caesrimsrangihprachachnmikhwamkindixyudiodyesmxphakhkn karaebngokhrngsrangthangkaremuxngihmikhwamaetktangaelamikhwamchanayechphaa inprakarni sxdkhlxngkbthsnakhxngxlmxndaelaephaewll Almond and Powell 1966 299 300 thiehnwa xngkhprakxbsakhydanhnungkhxngkarphthnakaremuxngkkhux karaebngokhrngsrangthangkaremuxngihmikhwamaetktangaelamikhwamchanayechphaa Differentiation and Specialization ephuxihsamarthtxbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachnidtrngechphaathang swnkarcdaebngokhrngsrangthangkaremuxngxxkepnfaytang echn faynitibyyti faybriharaelafaytulakar epntnnn epnipephuxihaetlafaysamarthcdhabukhlakrmikhwamkhwamchanayechphaainkarpkibtingantxbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachnidxyangmiprasiththiphaph karesrimsrangwthnthrrmthangkaremuxngaebbmiehtumiphl Secularization of Political Culture odythwipnn sngkhmaebbdngedimthipkkhrxngaebbxanacniymmkcaplukfngihprachachnyudmniccaritpraephnixyangkhadehtuphl yudthuxeruxngochkhlang rwmipthungkarplukfngihprachachnehnwa phupkkhrxngepnphuthimibuyyabarmi karphthnathangkaremuxngcungepnipinthangmungsngesrimihprachachnihehtuphlinkardarngchiwit odyechphaakhwamepnehtuepnphlthiprachachncatxngkhwbkhum kakbaelatrwcsxbkaremuxngxyangiklchid xlmxndaelaephaewll Almond and Powell 1966 299 300 klawiwwa lksnakhxngwthnthrrmthangkaremuxngaebbepnehtuepnphlni mkcaphbidthwipinsngkhmxutsahkrrm khwamepnxisrakhxngrabbyxy Subsystem Autonomy khux phlphlitkhxngkarkracayxanacthangkaremuxng ephuxihrabbyxymixanacinkarphicarnapyha saehtukhwameduxdrxnaelakhwamtxngkarkhxngprachachn rwmipthungkarkahndaenwthanginkarthicaaekikhpyha hruxesrimsrangkhwamsamarthinkartxbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachnihmiprasiththiphaphyingkhunxangxing aekikh phisisthikul aekwngam monthsnthisakhyinwichakarphthnakaremuxng mhasarkham hlksutrsakhawicharthsastr withyalykdhmayaelakarpkkhrxng mhawithyalyrachphdmhasarkham 2553 Damien Kingsbury Political Development New York Routledge 2007 p 12 David Easton The Political System An Inquiry into the State of Political Science 2nd edition New York Alfred A Knopf 1971 pp 372 373 xangin echiy chwinn srisuwrrn aenwphinicthangrthsastr phawawithya yanwithya aela withiwithya 2551 n 23 Cited by http www buriram ru ac th 00phpweb down load fill 0907111104235YRYX doc Gabriel A Almond and G Bingham Powell Jr Comparative Politics System Process and Policy 2nd edition Boston Little Brown and Company 1978 and Gabriel A Almond and G Bingham Powell Jr eds Comparative Politics Today A world View Boston Little Brown and Company 1980 xangin xonthy wthnaphr nkrthsastrkbsngkhmkaremuxngithy pharkicxnimcbsin exksarprakxbkarprachumwichakarrthsastraelarthprasasnsastraehngchatikhrngthi 7 ph s 2549 Lucien W Pye Aspects of Political Development An Analytic Study Boston Little Brown and Company 1966 33 48 xangin likhit thiewkhin thvsdiphthnakaremuxng krungethph sunywicykhnarthsastrmhawithyalythrrmsastr 2527 Samuel Huntington Political Order in Changing Societies Second edition Connecticut Yale University Press 1969 p 31 likhit thirewkhin karphthnakaremuxng Political Development hnngsuxphimphsyamrth wnthi 16 thnwakhm ph s 2552 smbti tharngkhthywngs thsnkhtithangkaremuxngkhxngedkaelaeyawchninkrungethphmhankhr phimphkhrngthi 2 krungethph okhrngkarexksaraelatara khnarthprasasnsastr sthabnbnthitphthnbriharsastr 2539 n 33 34 Bill James A and Hardgrave Robert L Comparative Politics The Quest for Theory Columbus Ohio Charles E Merrill Publishing Company 1973 p 67 Lucien W Pye Aspects of Political Development An Analytic Study Boston Little Brown and Company 1966 33 48 xangin likhit thiewkhin thvsdiphthnakaremuxng krungethph sunywicykhnarthsastrmhawithyalythrrmsastr 2527 smbti tharngkhthywngs thsnkhtithangkaremuxngkhxngedkaelaeyawchninkrungethphmhankhr phimphkhrngthi 2 krungethph okhrngkarexksaraelatara khnarthprasasnsastr sthabnbnthitphthnbriharsastr 2539 n 35 36 duephim aekikhrthsastr karemuxng thvsdikaremuxngekhathungcak https th wikipedia org w index php title karphthnakaremuxng amp oldid 8657559, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม