fbpx
วิกิพีเดีย

พระเสริม

พระเสริม (ພຮະເສີມ) เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนบัลลังก์แอวขัน ปางมารวิชัย พระเกตุโมลีเป็นเอกลักษณ์โดยมีเส้นเปลวพระรัศมีเรียวและปลายม้วน หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามโดดเด่นมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร อีกทั้งได้รับยกย่องว่าเป็น 1 ใน 3 พระพุทธรูปลาวอันงดงามที่สยามอัญเชิญมาจากลาวโดยอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ส่วนพระพุทธรูปล้านช้างอีก 2 องค์ที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหารนั้น คือ พระแสน (พระแสนมหาชัย) และพระสายน์ (พระใส)

พระเสริม
ชื่อเต็มพระเสริม
ชื่อสามัญหลวงพ่อพระเสริม
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง
ความกว้าง2 ศอก 1 นิ้ว
วัสดุทองสีสุก (โลหะสำริดที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก)
สถานที่ประดิษฐานพระประธานในพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ

ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระราชธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์ (ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใส พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำองค์กลาง ส่วนพระใสประจำองค์สุดท้อง

ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านเมืองและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะเป็นเวลา 7 วัน แล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือญาครู (หลวงตา) กับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ ญาครู (หลวงตา) กับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ฝ่ายญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระดูแล้วพระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดูก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า ส่วนชีปะขาวได้หายตัวไปไร้ร่องรอย

หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรล้านช้าง ณ นครหลวงเวียงจันทน์มาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุขชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่เดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนครเวียงจันทน์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดเหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสียสิ้น จึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทน์สงบแล้วจึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย

มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้นไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองนครหลวงเวียงจันทน์โดยตรง แต่อัญเชิญมาจากภูเขาควายซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียง ชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณปากงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริมและพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นสยามได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่องหรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพมหานคร ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วยแต่เกิดปาฏิหาริย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตามจนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไปกรุงเทพมหานคร เมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้

ส่วนพระเสริมที่อัญเชิญไปกรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจากหนองคายเข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อนรับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม จากหลักฐานในชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคายไปประดิษฐานยังพระบวรราชวัง ตั้งพระทัยว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาสดังความในพระราชหัตถเลขาว่า

"...แลการในแผ่นดินปัตยุบันนี้ พระเสิมนั้นวังน่าท่านไปรับมา เมื่อท่านจะไปรับฤาเมื่อรับมาเข้าวัง ท่านก็ไม่ได้บอกกล่าวให้ฉันรู้ด้วยเลย ฉันไปออกสุทไธสวรรย์เห็นพวกลาวแห่ปราสาทขี้ผึ้งไป ฉันให้ไปถาม เขาบอกว่าจะไปบูชาพระในพระบวรราชวัง จึงได้ไต่ถามพ่อกลาง ๆ บอกว่าพระเสิมรับมาแต่เมืองหนองคาย

แลภายหลังได้ยินคนเปนอันมากเล่าฤาว่า ลาวชื่นชมยินดีนับถือแห่แหนขึ้นไปบูชาทุกวัน ฉันจึงคิดว่าพระใหญ่มีชื่อคนนับถือมากเข้ามาในบ้านในเมือง ฉันเปนผู้ใหญ่ในแผ่นดินจะนิ่งเฉยเสียไม่ไปทำบุญบูชาไม่ควร ฉันจึงได้ขึ้นไปบูชาแล้วนิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์ฉันเช้า แลมีละครดอกไม้ฉลองคราวหนึ่ง เมื่อนั้นวังหน้าท่านบอกฉันว่า พระเสิมนั้น  เชิญมาจะเปนพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาศ..."

๒๔)


ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหารตราบจนถึงทุกวันนี้

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว

อ้างอิง

พระเสร, การแนะนำว, บทความน, ควรรวมเข, าก, พระใส, อภ, ปราย, ພຮະເສ, เป, นพระพ, ทธร, ปศ, ลปะล, านช, างเว, ยงจ, นทน, ประท, บน, งข, ดสมาธ, ราบบนบ, ลล, งก, แอวข, ปางมารว, พระเกต, โมล, เป, นเอกล, กษณ, โดยม, เส, นเปลวพระร, ศม, เร, ยวและปลายม, วน, หล, อด, วยทองส, พระร,. mikaraenanawa bthkhwamnikhwrrwmekhakb phrais xphipray phraesrim ພຮະເສ ມ epnphraphuththrupsilpalanchangewiyngcnthn prathbnngkhdsmathirabbnbllngkaexwkhn pangmarwichy phraektuomliepnexklksnodymiesneplwphrarsmieriywaelaplaymwn hlxdwythxngsisuk miphraruplksnngdngamoddednmak khnadhnatkkwang 2 sxk 1 niw pccubnidpradisthanxyuphayinphrawiharwdpthumwnaramrachwrwihar xikthngidrbykyxngwaepn 1 in 3 phraphuththruplawxnngdngamthisyamxyechiymacaklawodyxyechiymapradisthan n wdpthumwnaramrachwrwihar swnphraphuththruplanchangxik 2 xngkhthixyechiymapradisthan n wdpthumwnaramrachwrwiharnn khux phraaesn phraaesnmhachy aelaphrasayn phrais phraesrimchuxetmphraesrimchuxsamyhlwngphxphraesrimpraephthphraphuththrupsilpapangmarwichy silpalanchangkhwamkwang2 sxk 1 niwwsduthxngsisuk olhasaridthimithxngkhaepnswnphsmhlk sthanthipradisthanphraprathaninphrawiharwdpthumwnaramrachwrwiharswnhnungkhxngsaranukrmphraphuththsasnaprawti aekikhtamprawtiklawiwwa phrarachthidasamphinxngkhxngkstriylanchangewiyngcnthn sungswnihyechuxwa epnphrarachthidakhxngsmedcphraichyechsthathirach phramhakstriyaehngrachxanackrlanchang idrwmknsrangphraphuththruppracaphraxngkhkhun 3 xngkh ephuxsubthxdphraphuththsasna aelwkhnannamphraphuththruptamphranamwa phrasuk phraesrim aelaphrais phraphuththrupthng 3 xngkh mikhnadldhlnkntamladb phrasuknnepnphrapracaphiphuihy phraesrimpracaxngkhklang swnphraispracaxngkhsudthxngtamprawtikarsrangelawa miphithikarthangbanemuxngaelathangwdchwyknihyot mikhnsubetahlxmthxngxyuimkhadrayaepnewla 7 wn aelwthxngkyngimlalay thungwnthi 8 ewlaephl ehluxyakhru hlwngta kbsamenrnxyruphnungsubetaxyu idpraktchipakhaw taphakhaw tnhnungmakhxchwytha yakhru hlwngta kbenrnxycungipchnephl fayyatioymthimasngephlcalngipchwyaetmxngipehnchipakhawcanwnmakchwyknsubetaxyu aetemuxthamphraduaelwphramxnglngipkehnepnchipakhawtnediyw phxchnephlesrckhnthnghmdcunglngmadukekidkhwamxscrryicying ehtuephraaidehnthxngthnghmdthukethlnginebathng 3 eba swnchipakhawidhaytwipirrxngrxyhlngsrangesrcphrasuk phraesrim aelaphrais idpradisthaniwthixanackrlanchang n nkhrhlwngewiyngcnthnmachanan khraidthiekidsngkhrambanemuxngimsngbsukhchawemuxngkcanaphraphuththrupthngsamipsxniwthiphuekhakhway hakehtukarsngbaelwcungnaklbmapradisthaniwthiedim swnhlkthanthiwapradisthanxyu n emuxngnkhrewiyngcnthntngaetemuxidnnyngimmipraktaenchd thrabephiyngwainsmyrchkalthi 3 idekidehtukarnsngkhramecaxnuwngskhunthiewiyngcnthn phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw oprdihthalayemuxngewiyngcnthnesiysin cungihsmedcphrabwrrachecamhaskdiphlesphyidepncxmthphykphlmaprab emuxemuxngewiyngcnthnsngbaelwcungidxyechiyphrasuk phraesrim aelaphraismathicnghwdhnxngkhaymikhabxkelawa khrathixyechiymannimidxyechiymacakemuxngnkhrhlwngewiyngcnthnodytrng aetxyechiymacakphuekhakhwaysungchawemuxngnaipsxniw karxyechiynnidpradisthanhlwngphxthngsamiwbnaephimiphlxngmatamlanangum emuxlxngmathungewinaethnidekidxscrry khux aethnkhxngphrasukidaehkaephcmlnginna odyehtuthimiphayuaerngcdphdaephcnexiyng chaenaathikhnphraaethntidkbaephimsamarththicathnnahnkkhxngphraaethniwid briewnnncungchuxwa ewinaethn tngaetnnepntnma phraesrim wdpthumwnaramrachwrwihar krungethphmhankhr xyechiymacakkrungewiyngcnthn khrnlxngaephtxmacnthungaemnaokhngbriewnpakngumechiyngkbbanhnxngkung x ophnphisy c hnxngkhay idbngekidfnfakhanxng phrasukidaehkaephcmlnginna thxngfathiwiprittang cunghayip briewnnncungidchux ewinsuk tngaetnnma dwyehtukhangtn karxyechiykhrngnicungehluxaetphraesrimaelaphraismathunghnxngkhay sahrbphraesrimnnsyamidxyechiyippradisthaniw n wdophthichy swnphraisidxyechiyipiwyngwdhxkxnghruxwdpradisththrrmkhun n pccubntxmainsmyrchkalthi 4 phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw oprdekla ihkhunwrthaniaelaecaehmn khahlwng xyechiyphraesrimcakwdophthichylngipyngkrungethphmhankhr khunwrthanicaxyechiyphraisipphrxmkbphraesrimdwyaetekidpatihariy odyphrahmnphuxyechiynnimsamarthkhbekwiynnaphraisipid aemcaichkalngkhnhruxxxnwxnxyangirktamcninthisudekwiynidhklng emuxhaekwiynihmmaaethnkimsamarthekhluxnipidxik cungpruksatklngknwaihxyechiyphraismaiwthiwdophthichyaethnphraesrim sungxyechiyipkrungethphmhankhr emuxxthisthandngklawphxekhahamephiyngimkikhnkxyechiyphraismaidswnphraesrimthixyechiyipkrungethphmhankhr emuxkhrngthimikaraehphraesrimcakhnxngkhayekhaekhtphrankhrinyukhnn chawlawlanchangthithuktxnmaxyuinkrungrtnoksinthrtangidthariwkhbwnaehtxnrb cdthaphanbaysriaelaekhruxngbuchaephuxbuchaphraesrim cakhlkthaninchumnumphrabrmrachathibayinphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwnn phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthrngrabuwaphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhwoprdihxyechiyphraesrimcakemuxnghnxngkhayippradisthanyngphrabwrrachwng tngphrathywacapradisthanepnphraprathaninwdbwrsthansuththawasdngkhwaminphrarachhtthelkhawa aelkarinaephndinptyubnni phraesimnnwngnathaniprbma emuxthancaiprbvaemuxrbmaekhawng thankimidbxkklawihchnrudwyely chnipxxksuthithswrryehnphwklawaehprasathkhiphungip chnihiptham ekhabxkwacaipbuchaphrainphrabwrrachwng cungiditthamphxklang bxkwaphraesimrbmaaetemuxnghnxngkhayaelphayhlngidyinkhnepnxnmakelavawa lawchunchmyindinbthuxaehaehnkhunipbuchathukwn chncungkhidwaphraihymichuxkhnnbthuxmakekhamainbaninemuxng chnepnphuihyinaephndincaningechyesiyimipthabuybuchaimkhwr chncungidkhunipbuchaaelwnimntphrasngkhswdmntchnecha aelmilakhrdxkimchlxngkhrawhnung emuxnnwnghnathanbxkchnwa phraesimnn echiymacaepnphraprathaninwdbwrsthansuththawas 24 txma emuxphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhwesdcswrrkhtinpi ph s 2408 phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw cungoprdihxyechiyphraesrimcakphrabwrrachwng ippradisthanyngphrawiharwdpthumwnaramrachwrwihartrabcnthungthukwnnismedckrmphrayadarngrachanuphaph thrnglngkhwamehnekiywkbphraphuththrupthng 3 xngkhniwa epnphraphuththruplanchangthingdngamyingkwaphraphuththrupxngkhxun aelathrngsnnisthaneruxngkarsrangepn 2 prakar khux xaccaepnphraphuththrupthisrangcakemuxnghnungemuxngidthangtawnxxkkhxngxanackrlanchang aelatxmatkxyuinekhtlanchang hruxxacsrangkhuninekhtlanchangodyfimuxchanglawphungkhawxangxing aekikhhlwngphxphraesrim Archived 2013 04 07 thi ewyaebkaemchchin phraesrim wdpthumwnaram ekhathungcak https th wikipedia org w index php title phraesrim amp oldid 9707643, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม