fbpx
วิกิพีเดีย

ยุคคามากูระ

ยุคคามาคูระ (ญี่ปุ่น: 鎌倉時代โรมาจิKamakura-jidai) หรือ อ่านแบบไทย คามาคูระ ตรงกับปีค.ศ. 1185-ค.ศ. 1333 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะกุระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคามาคูระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง ในยุคคามากูระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของ กุบไลข่าน ในสมัย ราชวงศ์หยวน ซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1274 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1281 แต่กองทัพมองโกลเข้าโจมตีญี่ปุ่นไม่สำเร็จเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยกองทัพมองโกลได้รุกรานสู่ญี่ปุ่นโดยเข้าโจมตีภาคเหนือของเกาะคีวชู กองทัพทหารได้ทำการต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ประกอบกับภัยธรรมชาติเป็นส่วนช่วยเหลือ ญี่ปุ่นจึงรอดพ้นจากอันตรายมาได้ แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมอำนาจในการควบคุมชนชั้นนักรบของรัฐบาลทหารสงครามครั้งนี้ได้สร้างความอ่อนแอให้กับรัฐบาลทหารคะมะกุระอย่างมากส่วนความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนั้น

วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยมีวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองเป็นรากฐาน แต่ยังคงเอกลักษณ์ของชนชั้นนักรบไว้ อันได้แก่ ความมีพลวัตร และการสะท้อน ความเป็นจริงอย่างเรียบง่าย ในด้านศาสนา พุทธศาสนาแบบคะมะคุระก็ได้กำเนิดขึ้นโดยพระเถระผู้มีชื่อเสียง อย่าง โฮเน็น (Hounen) ชินรัน (Shinran) และนิฉิเรน (Nichiren) เป็นต้น นักรบฝั่งที่ราบคันโตจะนับถือศาสนาเซนอันได้รับการถ่ายทอดจากจีนแผ่นดินซ้องในศตวรรษที่ 12 เป็นหลัก รูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ อย่างเช่น ปฏิมากรรมสมัยคะมะคูระตอนต้นนั้น จะมีลายเส้นที่หนักแน่นมีพลังเหมือนของจริง และแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ วรรณศิลป์ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ชนชั้นนักรบนิยม เช่น “เฮเคะ โมโนงาตาริ (Heike Monogatari) ” ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 13 เป็นผลงานที่ดีที่สุดในจำนวนนิยายเกี่ยวกับการสู้รบ และก็ยังมีหนังสือรวบรวมบทเรียงความเรื่อง “โฮโจกิ (Houjouki) ” ซึ่งแต่งในศตวรรษที่ 13 และ “สึเรซูเรงูซะ (Tsurezuregusa) ” ซึ่งแต่งในศตวรรษที่ 14

ประวัติศาสตร์

การจัดตั้งบากูฟุ

 
ยุทธนาวีทังโนะอุระ

ในช่วงปลายยุคเฮอังราชสำนักญี่ปุ่นเมืองเกียวโตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของตระกูลไทระซึ่งมีผู้นำคือไทระ โนะ คิโยะโมะริ ในค.ศ. 1180 เจ้าชายโมะชิฮิโตะได้ออกประกาศรณรงค์สงครามให้ซะมุไรตระกูลเซวะเง็นจิ (清和源氏) หรือตระกูลมินะโมะโตะที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วญี่ปุ่น ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองตระกูลไทระ เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเก็มเป (源平合戦) มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ (源頼朝) ด้วยความช่วยเหลือของ โฮโจ โทะคิมะซะ (北条時政) ตั้งตนเป็นใหญ่ในภูมิภาคคันโตทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น โดยมีฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองคามากูระ (鎌倉) ในขณะเดียวกันในภาคตะวันตกมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ สามารถเอาชนะตระกูลไทระได้ในยุทธนาวีดังโนะอุระ (Dan-no-ura) ในค.ศ. 1185 ทำให้ตระกูลไทระต้องพบกับจุดจบลงและอำนาจในการปกครองย้ายมาอยู่ที่โยะริโตะโมะ ในค.ศ. 1189 โยะริโตะโมะทำสงครามโอชู (奥州合戦) ต่อสู้กับตระกูลฟุจิวะระแห่งโอชูจนสามารถผนวกภูมิภาคโทโฮะกุเข้ามาในการปกครองได้ในที่สุด ในค.ศ. 1192 โยะริโตะโมะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเซอิไทโชกุน (征夷大将軍)

สมัยคะมะคุระเป็นสมัยแรกที่นักรบหรือซามูไร () ขึ้นมากลายเป็นชนชั้นปกครองแทนที่พระจักรพรรดิและนักปราชญ์ที่เป็นพลเรือนดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง มีผู้นำของการปกครองคือโชกุนซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองคะมะกุระ หรือเรียกว่า คามาคูระ-โดโนะ (鎌倉殿) มีอำนาจเสมอเหมือนเป็นเจ้าผู้ปกครองญี่ปุ่นแทนที่พระจักรพรรดิ สถานที่จัดการปกครองไม่มีความหรูหราเช่นเกียวโตทำให้ศูนย์การปกครองที่คะมะคุระถูกเรียกว่า รัฐบาลเต็นต์ หรือ บากูฟุ (幕府) มีสภาขุนนางซึ่งมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มันโดะโกะโระ (政所) สงครามทำให้ชนชั้นนักรบได้เข้าครอบครองที่ดินต่างๆซึ่งแต่ก่อนเป็นของราชสำนักเกียวโต เป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นสมัยศักดินา โดยนักรบที่เป็นนายจะแบ่งที่ดินให้แก่ข้ารับใช้ของตนตามระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) โดยที่ซะมุไรผู้ถือครองที่ดินเรียกว่า จิโต (地頭) ในขณะที่บากูฟุแต่งตั้งซะมุไรไปปกครองแว่นแคว้นเรียกว่า ชูโง (守護) ทับซ้อนกับระบอบเจ้าผู้ปกครองแคว้นเดิมที่ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโต

การขึ้นสู่อำนาจของตระกูลโฮโจ

เมื่อโยะริโมะโตะเสียชีวิตในค.ศ. 1199 มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ (源頼家) บุตรชายของโยะริโตะโมะสืบทอดตำแหน่งผู้นำตระกูลเซวะเง็นจิต่อมา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนในค.ศ. 1202 แต่ทว่าบรรดาซะมุไรข้ารับใช้เก่าของโยะริโตะโมะต่างเห็นพ้องต้องกันว่าโยะริอิเอะไม่มีความสามารถในการปกครอง จึงจัดตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนขึ้นในค.ศ. 1200 ประกอบด้วยซะมุไรจำนวนสิบสามคนเพื่อทำหน้าปกครองบะกุฟุแทนโยะริอิเอะ ตระกูลทางฝ่ายมารดาของโยะริอิเอะ คือ ตระกูลโฮโจ (北条) นำโดยโฮโจ โทะกิมะซะ ผู้ซึ่งเป็นตาของโยะริอิเอะ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำมันโดะโกะโระเป็นผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนเรียกว่า ชิกเก็ง (執権) และโฮโจ มะซะโกะ (北条政子) มารดาของโยะริอิเอะ ได้ขึ้นมามีอำนาจเหนือบะกุฟุ โดยที่โชกุนเป็นเพียงหุ่นเชิด ตระกูลโฮโจได้ดำเนินการกำจัดคู่แข่งทางการเมืองต่างๆทำให้สามารถขึ้นมีมีอำนาจเหนือบะกุฟุได้ในที่สุด โชกุนโยะริอิเอะมีความเอนเอียงไปทางตระกูลฮิกิ (比企) ซึ่งเป็นตระกูลฝ่ายภรรยาของโยะริอิเอะ นำโดยฮิกิ โยะชิกะซุ (比企能員) ในค.ศ. 1203 ตระกูลโฮโจได้เข้าทำการกวาดล้างตระกูลฮิกิอย่างรุนแรงและโหดเหี้ยม และทำการปลดโยะริอิเอะออกจากตำแหน่งโชกุนแล้วเนรเทศไปยังแคว้นอิซุ ตั้งน้องชายของโยะริอิเอะคือ มินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะ (源実朝) เป็นโชกุนคนต่อมา โทะกิมะซะส่งคนไปทำการลอบสังหารโยะริอิเอะในปีต่อมาค.ศ. 1204

ตระกูลโฮโจยังคงดำเนินการกำจัดคู่แข่งต่อไป เช่น ฮะตะเกะยะมะ ชิเงะตะดะ (畠山重忠) ในค.ศ. 1205 และตระกูลวะดะ (和田) ในค.ศ. 1213 ในค.ศ. 1205 โทะกิมะซะได้สมคบคิดกับภรรยาคนใหม่ของตนคือนางมะกิ (牧の方) วางแผนลอบสังหารโชกุนซะเนะโตะโมะเพื่อที่จะยกฮิระงะ โทะโมะมะซะ (平賀朝雅) ผู้เป็นบุตรเขยของตนขึ้นเป็นโชกุนแทน ทำให้มะซะโกะบุตรสาวและโฮโจ โยะชิโตะกิ (北条義時) บุตรชายผู้สืบทอดตำแหน่งของตนไม่พอใจ จึงเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากบิดาของตน บังคับให้โทะกิมะซะปลงผมบวชเป็นพระภิกษุแล้วเนรเทศไปยังแคว้นอิซุ โยะชิโตะกิจึงได้เป็นชิกเก็งต่อจากบิดา เมื่อโชกุนซะเนะโตะโมะไม่มีทายาท นางมะซะโกะจึงเดินทางไปยังเมืองเกียวโตเข้าเฝ้าอดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะในค.ศ. 1219 เพื่อทูลขอเจ้าชายมาดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน แต่กลับได้คุโจ โยะริสึเนะ (九条頼経) บุตรชายของคัมปะกุอายุเพียงหนึ่งปีมาเป็นทายาทโชกุน ในปีเดียวกันนั้นเองโชกุนซะเนะโตะโมะถูกลอบสังหารโดยภิกษุคุเงียว (公暁) ซึ่งเป็นบุตรชายของอดีตโชกุนโยะริอิเอะ ทำให้ตระกูลเซวะเง็นจิที่ดำรงตำแหน่งโชกุนต้องสิ้นสุดลง

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระมีอำนาจเต็มอยู่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันทางภาคตะวันตกนั้นราชสำนักเกียวโตยังคงมีอำนาจอยู่ เมื่อทางบะกุฟุเกิดเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจหลายครั้ง ราชสำนักเกียวโตนำโดยอดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะจึงฉวยโอกาสแข็งข้อต่อต้านการครอบงำของบะกุฟุคะมะกุระ โดยปฏิเสธที่จะทำการแต่งตั้งโชกุนคนใหม่ ในค.ศ. 1221 อดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะมีพระราชโองการประกาศให้ชิกเก็งโยะชิโตะกิเป็นอาชญากร และจัดเตรียมกองทัพเพื่อป้องกันเมืองเกียวโต นำไปสู่สงครามโจคิว (承久の乱) ฝ่ายโยะชิโตะกิได้ส่งโฮโจ ยะซุโตะกิ (北条泰時) ผู้เป็นบุตรชาย และโฮโจ โทะกิฟุซะ (北条時房) ผู้เป็นน้องชาย ยกทัพไปทางตะวันตกและสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในเวลานรวดเร็ว อดีตจักรพรรดิโกะโทะบะรวมทั้งองค์จักรพรรดิพระโอรสและพระนัดดาต่างถูกเนรเทศ นับแต่นั้นมาราชสำนักเกียวโตก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของบะกุฟุอย่างแท้จริง มีการก่อตั้ง โระกุฮะระ ทังได (六波羅探題) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของบะกุฟุตั้งอยู่ที่เขตโระกุฮะระในเมืองเกียวโต เพื่อคอยควบคุมดุแลราชสำนัก โดยมีโฮโจ ยะซุโตะกิและโทะกิฟุซะเป็นโระกุฮะระทังไดสองคนแรก

ชิกเก็งยะซุโตะกิและโทะกิโยะริ

 
โฮโจ โทะกิโยะริ

ชิกเก็งโยะชิโตะกิถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1226 และนางมะซะโกะเสียชีวิตในค.ศ. 1227 โฮโจ ยะซุโตะกิ สืบทอดตำแหน่งชิกเก็งจากโยะชิโตะกิบิดาของตนในค.ศ. 1226 และมีการแต่งตั้งคุโจ โยะริซึเนะ ให้เป็นโชกุนในปีเดียวกัน ชิกเก็งยะซุโตะกิแต่งตั้งโทะกิฟุซะผู้เป็นอาให้ดำรงตำแหน่งเป็น เร็งโช (連署) หรือรองผู้สำเร็จราชการเป็นคนแรก ในสมัยของชิกเก็งยะซุโตะกิมีการวางรากฐานการปกครองของคะมะกุระ โดยมีการจัดตั้งเฮียวโจชู (評定衆) ไว้เป็นสภาที่คอยอนุมัติเห็นชอบนโยบายของชิกเก็ง และในค.ศ. 1232 มีการออกกฎหมาย โกะเซไบ ชิโมะกุ (御成敗式目) หรือ กฎหมายปีโจเอ เป็นกฎหมายของชนชั้นซะมุไรฉบับแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สมัยของชิกเก็งยะซุโตะกิถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองและสงบสุขที่สุดของรัฐบาลคะมะกุระ

ชิกเก็งยะซุโตะกิถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1242 โฮโจ ซึเนะโตะกิ (北条経時) ผู้เป็นหลานชายสืบทอดตำแหน่งต่อมา แต่ทว่าโชกุนคุโจโยะริสึเนะได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และต้องการที่จะมีอำนาจในการปกครอง ในค.ศ. 1244 ชิกเก็งซึเนะโตะกิจึงทำการปลดโชกุนโยะริสึเนะออกจากตำแหน่ง และให้บุตรชายคือคุโจ โยะริสึงุ (九条頼嗣) ขึ้นเป็นโชกุนแทน แม้กระนั้นอดีตโชกุนโยะริสึเนะยังคงมีอำนาจเหนือโชกุนอายุน้อยที่เป็นบุตรชายของตน และวางแผนก่อการยึดอำนาจจากตระกูลโฮโจด้วยการสนับสนุนจากตระกูลมิอุระ (三浦) ซึ่งเป็นตระกูลคู่แข่งที่สำคัญของตระกูลโฮโจ ชิกเก็งซึเนะโตะกิถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1246 โฮโจ โทะกิโยะริ (北条時頼) ผู้เป็นน้องชายสืบทอดตำแหน่งชิกเก็งต่อมา มีการค้นพบแผนการยึดอำนาจของอดีตโชกุนโยะริซึเนะ ในการที่จะสนับสนุนให้ นะโงะเอะ มิซึโตะกิ (名越光時) ญาติห่างๆของโทะกิโยะริขึ้นเป็นชิกเก็งแทน ด้วยความช่วยเหลือของตระกูลมิอุระ นำโดย มิอุระ ยะซุมุระ (三浦泰村) ชิกเก็งโทะกิโยะริจึงเนรเทศอดีตโชกุนโยะริซึเนะให้กลับไปเมืองเกียวโต เรียกเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1246 นี้ว่า มิยะ-โซโด (宮騒動)

และด้วยการยุยงของอะดะชิ โยะชิกะเงะ (安達義景) ชิกเก็งโทะกิโยะริตัดสินใจทำสงครามกวาดล้างตระกูลมิอุระในค.ศ. 1247 เรียกว่า สงครามโฮจิ (宝治の乱) เป็นผลให้ตระกูลมิอุระถูกกวาดล้างและชิกเก็งตระกูลโฮโจปราศจากคู่แข่งมีอำนาจล้นเหลือจนเรียกได้ว่าเป็นเผด็จการ ในค.ศ. 1252 ชิกเก็งโทะกิโยะริตัดสินใจที่จะปลดโชกุนโยะริซึงุออกจากตำแหน่ง แล้วโทะกิโยะริจึงเดินทางเพื่อส่งอดีตโชกุนกลับไปยังเมืองเกียงโต พร้อมกันนั้นได้ทูลขอเจ้าชายจากราชสำนักเกียวโตมาเพื่อเป็นโชกุนคนใหม่ จักรพรรดิโกะ-ซะงะจึงประทานพระโอรสคือเจ้าชายมุเนะตะกะ (宗尊親王) เสด็จมายังเมืองคะมะกุระเพื่อดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน นับแต่นั้นมาโชกุนคะมะกุระจึงเป็นเจ้าชายจากเกียวโต

การรุกรานของมองโกล

ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบสามจักรวรรดิมองโกลกำลังเรืองอำนาจทั่วเอเชีย ได้เข้าปกครองจีนตอนเหนือ ในค.ศ. 1259 อาณาจักรโครยอ (Goryeo) ของเกาหลีตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์หยวน (Yuan) ซึ่งมีฮ่องเต้คือกุบไลข่าน (Kublai Khan) กุบไลข่านมีความทะเยอทะยานต้องการที่จะเข้ายึดญี่ปุ่นเป็นประเทศราช แต่ชาวมองโกลไม่มีความรู้ในด้านการรบทางทะเลต้องอาศัยความช่วยเหลือและทรัพยากรของอาณาจักรโครยอ ในค.ศ. 1268 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตผ่านพระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอมายังญี่ปุ่นโดยลงจอดที่เกาะคีวชูเพื่อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมสยบเป็นประเทศราชของจักรวรรดิมองโกลโดยสันติวิธี แต่ทางบะกุฟุนำโดยชิกเก็งโฮโจ โทะกิมุเนะ (北条時宗) บุตรของชิกเก็งโทะกิโยะริ และอะดะชิ ยะซุโมะริ (安達泰盛) ตัดสินใจที่จะเพิกเฉยต่อสาสน์ของกุบไลข่าน กุบไลข่านยังคงส่งทูตผ่านทางเกาหลีมาอีกในค.ศ. 1271 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเคย เมื่อถูกคุกคามจากจักรวรรดิมองโกล ในค.ศ. 1272 ญี่ปุ่นภายใต้การนำของชิกเก็งโทะกิมุเนะจึงมีการปรับโครงสร้างการปกครองใหม่และกวาดล้างผู้ที่ต่อต้านอำนาจของโทะกิมุเนะซึ่งนำโดย นะโงะเอะ โทะกิอะกิ (名越時章) และโฮโจ โทะกิซุเกะ (北条時輔) ผู้เป็นพี่ชายของโทะกิมุเนะ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า นิงะสึ-โซโด (二月騒動)

 
ภาพวาด Mōko Shūrai Ekotoba แสดง ทะเกะซะกิ ซุเอะนะงะ (Takezaki Suenaga) กำลังต่อสู้กับทหารมองโกลและเกาหลี ซุเอะนะงะวาดภาพการต่อสู้นี้ขึ้นเองเพื่ออ้างสิทธิ์ในการปูนบำเหน็จจากบะกุฟุ

ในค.ศ. 1274 กุบไลข่านจึงตระเตียมกำลังพลผสมระหว่างมองโกลและเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น นำโดยฮินตู (Hintu) ขุนพลฝ่ายมองโกล ฮงดากู (Hong Dagu) ขุนพลชาวเกาหลี ยกทัพเรือข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าวฮะกะตะ (博多) บนเกาะคีวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ (文永の役) ฝ่ายญี่ปุ่นมีโชนิ ซุเกะโยะชิ (少弐資能) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นชินเซ บุเงียว (鎮西奉行) หรือผู้ปกครองเกาะคีวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าห้ำหั่นแต่ไม่สามารถทัดทานทัพผสมมองโกล-เกาหลีได้ จนกระทั่งมีลมพายุพัดเข้าอ่านฮะกะตะทำลายเรือของทัพมองโกลลงไปมาก ทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนีกลับไป ชาวญี่ปุ่นจึงยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ (神風) หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน

แม้กระนั้นกุบไลข่านก็ยังไม่ลดละ ในค.ศ. 1275 กุบไลข่านส่งทูตมาอีกครั้งโดยไม่ผ่านเกาหลี แต่คณะทูตมองโกลถูกจับกุมไปยังเมืองคะมะกุระและถูกสังหาร ชิกเก็งโทะกิมุเนะเกรงว่าพวกมองโกลจะยกมาอีกจึงให้มีการเตรียมการรองรับการรุกรานของมองโกลไว้พร้อม หลังจากที่พิชิตราชวงศ์ซ่งใต้ได้แล้ว มองโกลจึงส่งทูตมาญี่ปุ่นอีกครั้งในค.ศ. 1279 แต่ชาวญี่ปุ่นได้สังหารคณะทูตมองโลกทันทีที่ขึ้นฝั่งอ่าวฮะกะตะ ในค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง (弘安の役) โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ และทัพเรือของราชวงศ์ซ่งใต้ขนาดมหึมา ฝ่ายมองโกลวางแผนให้ทัพเรือซ่งใต้มาสมทบกับทัพเรือเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรือจีนเกิดความล่าช้ามาสมทบไม่ทัน ทัพเรือเกาหลีจึงเข้าโจมตีแต่ฝ่ายญี่ปุ่นเตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ ลมพายุคะมิกะเซะพัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยกลับไป

การเรืองอำนาจของมิอุชิบิโตะ และ จุดจบของคะมะกุระบะกุฟุ

โทะกิมุเนะถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1284 โฮโจ ซะดะโตะกิ (北条貞時) ผู้เป็นบุตรชายจึงสืบทอดตำแหน่งชิกเก็งต่อมา แต่การปกครองบะกุฟุนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของอะดะชิ ยะซุโมะริ ผู้เป็นตาของซะดะโตะกิ จนกระทั่งเกิดข่าวลือว่ายะซุโมะริหมายจะยกบุตรชายของตนเองขึ้นเป็นโชกุน ซะดะโตะกิจึงมอบหมายให้ข้ารับใช้คนสนิทคือ ไทระ โนะ โยะริซึนะ (平頼綱) นำทัพเข้าโจมตีกวาดล้างตระกูลอะดะชิ ในเหตุการณ์เรียกว่า ชิโมะซึกิ-โซโด (霜月騒動) ยะซุโมะริกระทำเซ็ปปุกุ ทำให้ตระกูลอะดะชิสูญสิ้นไป ไทระ โนะ โยะริซึเนะ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น มิอุชิบิโตะ (御内人) หรือหัวหน้าคนรับใช้ประจำตระกูลโฮโจ ขึ้นมามีอำนาจแทนจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในค.ศ. 1293 เกิดข่าวลืออีกครั้งว่าโยะริซึเนะจะยกบุตรชายของตนขึ้นเป็นโชกุนอีกเช่นกัน ชิกเก็งซะดะโตะกิจึงส่งกำลังพลไปทำการสังหารโยะรึซึนะไปเสีย และขึ้นมามีอำนาจปกครองบะกุฟุด้วยตนเอง การปกครองของชิกเก็งซะดะโตะกิถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของบะกุฟุคะมะกุระเนื่องจากชิกเก็งมีความอ่อนแอและอำนาจจึงตกแก่ข้ารับใช้คนสนิทของชิกเก็ง

ในค.ศ. 1303 ซะดะโตะกิสละตำแหน่งชิกเก็งให้แก่บุตรชายของตนคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ (北条高時) อายุเพียงแปดปี อำนาจการปกครองจึงตกแก่อะดะชิ โทะกิอะกิ (安達時顕) มิอุชิบิโตะ นะงะซะกิ เอ็งกิ (長崎円喜) และนะงะซะกิ ทะกะซุเกะ (長崎高資) บุตรชายของเอ็งกิ ในค.ศ. 1324 เกิดข่าวลือว่าจักรพรรดิโกะ-ไดโงทรงวางแผนที่จะโค่นล้มรัฐบาลบะกุฟุ มีการลงโทษประหารชีวิตขุนนางที่เมืองเกียวโต แม้ว่าองค์จักรพรรดิจะทรงปฏิเสธแต่บะกุฟุยังคอยจับจ้ององค์จักรพรรดิอยู่เสมอ

ต่อมาในค.ศ. 1331 แผนการโค่นล้มบะกุฟุของจักรพรรดิโกะ-ไดโงถูกเปิดเผยอีกครั้ง องค์จักรพรรดิจึงเสด็จลี้ภัยไปยังคะซะงิยะมะ (笠置山) ใกล้กับเมืองเกียวโตแต่บะกุฟุสามารถเข้าบุกจับกุมองค์จักรพรรดิได้และเนรเทศองค์จักรพรรดิไปยังเกาะโอะกิ (隠岐) แต่ขุนพลซะมุไรฝ่ายจักรพรรดินำโดย คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ (楠木正成) ยังคงทำสงครามต่อต้านตระกูลโฮโจต่อไป เรียกว่า สงครามปีเก็งโก (元弘の乱) จนกระทั่งในค.ศ. 1333 องค์จักรพรรดิเสด็จหลบหนีจากเกาะโอะกิมาได้ ทำให้ขุนพลฝ่ายบะกุฟุคือ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ (足利尊氏) แปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายองค์พระจักรพรรดิ นำทัพเข้ายึดเมืองเกียวโตได้สำเร็จ และนิตตะ โยะชิซะดะ (新田義貞) สามารถเข้ายึดเมืองคะมะกุระได้ โฮโจ ทะกะโตะกิ นำสมาชิกตระกูลโฮโจและขุนนางในบะกุฟุร่วมหลายร้อยชีวิตกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปเพื่อหนีความพ่ายแพ้ เป็นอวสานแห่งตระกูลโฮโจและรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นำไปสู่การฟื้นฟูเค็มมุ (Kemmu Restoration)

พุทธศาสนา

 
พระภิกษุโฮเน็ง ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้งนิกายแดนบริสุทธิ์ในญี่ปุ่น หรือนิกายโจโด

ในยุคคามากูระนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการพุทธศาสนาญี่ปุ่นจากการนำเข้าพุทธศาสนานิกายใหม่จากประเทศจีน ได้แก่นิกายแดนบริสุทธ์ หรือนิกายโจโด (ญี่ปุ่น: 浄土宗โรมาจิJōdo-shū) และนิกายเซ็น แม้ว่าโชกุนบากูฟุคามากูระมีอำนาจปกครองในทางโลก แต่อำนาจในการปกครองศาสนายังคงอยู่ที่สถาบันพระจักรพรรดิ เดิมทีนับตั้งแต่ยุคเฮอังพุทธศาสนาวัชรยานซึ่งเน้นเกี่ยวกับพิธีกรรมไสยศาสตร์ประกอบด้วยนิกายเท็งได (ญี่ปุ่น: 天台โรมาจิTendai) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดบนเขาฮิเอ (ญี่ปุ่น: 比叡山โรมาจิHiei-zan) และนิกายชิงงอน (ญี่ปุ่น: 真言โรมาจิShingon) ผสมผสานกับศาสนาชินโตซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น กลายเป็นศาสนาชินโตรวมกับพุทธมหายาน (ญี่ปุ่น: 神仏習合โรมาจิShinbutsu-shūgō ) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักพระจักรพรรดิญี่ปุ่นและชนชั้นขุนนางในเมืองเกียวโต นอกจากนี้ยังมีสำนักพุทธมหายานหกสำนักแห่งเมืองนาระ (Six Schools of Nara) พุทธศาสนามหายานนิกายที่รุ่งเรืองมาก่อนสมัยคามากูระเรียกรวมกันว่า "พุทธศาสนาเก่า" ในขณะที่นิกายแดนบริสุทธิ์ นิกายเซ็น และนิกายนิจิเร็งซึ่งถือกำเนิดขึ้นในสมัยคามากูระนั้นเรียกว่า "พุทธศาสนาใหม่"

นิกายแดนสุขาวดี

ในค.ศ. 1175 พระภิกษุโฮเน็ง (ญี่ปุ่น: 法然โรมาจิHōnen) แห่งเขาฮิเอได้ศึกษางานเขียนของพระภิกษุชาวจีนเกี่ยวกับแนวความคิดของนิกายแดนบริสุทธิ์เรื่องเนมบูตสึ (ญี่ปุ่น: 念仏โรมาจิNenbutsu) หรือการกล่าวอมิตาพุทธ นิกายแดนบริสุทธิ์เน้นถึงการกล่าวคำว่าอมิตาพุทธสามารถทำให้หลุดพ้นเข้าสู่แดนสุขาวดีหรือแดนบริสุทธิ์ของพระอมิตาภพุทธะได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพิธีกรรมที่ซับซ้อน พระภิกษุโฮเน็งมีความเห็นว่าพุทธศาสนาวัชรยานเน้นพิธีกรรมไสยศาสตร์มากกว่าการแสวงหาทางหลุดพ้น จึงเดินทางออกจากเขาฮิเอมาเผยแพร่หลักคำสอนของนิกายแดนบริสุทธิ์ให้แก่ชนชั้นซามูไรและชาวบ้านทั่วไปซึ่งแต่เดิมไม่สามารถเข้าถึงพุทธศาสนาวัชรยานได้ อย่างไรก็ตามนิกายแดนบริสุทธิ์ซึ่งเป็นนิกายใหม่ของญี่ปุ่นถูกต่อต้านจากราชสำนักเกียวโตและพระสงฆ์นิกายอื่นๆ ซึ่งมองว่านิกายแดนบริสุทธิ์เป็นลัทธินอกรีต ในค.ศ. 1207 พระจักรพรรดิโกะ-โทะบะมีพระราชโองการให้เนรเทศพระภิกษุโฮเน็งและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย และห้ามการเผยแพร่แนวความคิดเรื่องเนมบูตสึ พระภิกษุโฮเน็งถูกเนรเทศไปยังเกาะชิโกกุต่อมาค.ศ. 1211 ทางราชสำนักเกียวโตให้อภัยโทษแก่โฮเน็งและอนุญาตให้เผยแพร่เน็มบูตสึอีกครั้ง ทำให้โฮเน็งเดินทางกลับมายังนครหลวงเกียวโตได้และมรณภาพในปีต่อมา พระภิกษุโฮเน็งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้งนิกายแดนบริสุทธิ์ หรือนิกายโจโดในญี่ปุ่น

บรรดาลูกศิษย์ของพระโฮเน็งถูกเนรเทศไปยังแคว้นต่างๆในญี่ปุ่นต่างแยกตัวออกไปก่อตั้งสำนักของตนเอง พระภิกษุเบงโช (ญี่ปุ่น: 弁長โรมาจิBenchō) ซึ่งถูกเนรเทศไปยังเกาะคีวชูก่อตั้งสำนักชินเซ (ญี่ปุ่น: 鎮西โรมาจิChinzei ซึ่งแปลว่า เกาะคีวชู) ต่อมาสำนักชินเซได้เผยแพร่ไปยังเมืองคามากูระ ทำให้สำนักชินเซกลายเป็นสำนักหลักของนิกายโจโด นอกจากนี้ยังมีพระภิกษุชินรัง (ญี่ปุ่น: 親鸞โรมาจิShinran) ผู้ก่อตั้งนิกายแดนบริสุทธิ์ที่แท้จริง หรือนิกายโจโดชิน (ญี่ปุ่น: 浄土真宗โรมาจิJōdo-shinshū) แยกออกไปเป็นนิกายใหม่

นิกายเซ็น

 
วัดโคโตกูอิง ที่เมืองคามากูระ เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายแดนบริสุทธิ์ รูปหล่อพระพุทธรูปใหญ่ไดบูตสึเป็นรูปของพระอมิตาภพุทธะ เกิดจากการเรี่ยไรเงินของนางอินาดะ (Inada-no-tsubone) หล่อจนแล้วเสร็จในค.ศ. 1252 ในยุคคามากูระ

ในค.ศ. 1168 ภิกษุเอไซ (ญี่ปุ่น: 栄西โรมาจิEisai) แห่งเขาฮิเอ เดินไปยังเขาเทียนไถในประเทศจีนเพื่อศึกษาหลักการเข้าฌานวิปัสสนาในสำนักหลินจี้ (Línjì, 臨濟) หรือริงไซ (Rinzai) พระภิกษุเอไซเดินทางกลับมายังประเทศญี่ปุ่นในค.ศ. 1191 แต่พระภิกษุเอไซยังไม่ได้เผยแพร่นิกายเซ็นซึ่งได้เรียนรู้มาจากประเทศจีนเนื่องจากภัยคุกคามจากนิกายเทนไดซึ่งเรืองอำนาจอยู่ในเกียวโต จนกระทั่งพระเอไซเดินทางไปยังเมืองคามากูระในค.ศ. 1199 พบกับโชกุนมินาโมโตะ โนะ โยริอิเอะ และนางโฮโจ มาซาโกะ ทำให้รัฐบาลโชกุนคามากูระและชนชั้นซามูไรต่างยอมรับนับถือนิกายเซ็นเป็นพุทธศาสนานิกายใหม่ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการฝึกจิตปฏิบัติตนสอดคล้องกับหลักการของชนชั้นซามูไร พุทธศาสนานิกายเซ็นจึงแตกต่างจากพุทธศาสนานิกายอื่นๆในญี่ปุ่นในประเด็นที่ว่ารัฐบาลโชกุนให้การสนับสนุนและเข้าปกครองนิกายเซ็นโดยตรง ลูกศิษย์ของเอไซชื่อว่าโดเก็ง (ญี่ปุ่น: 道元โรมาจิDōgen) เดินทางไปยังประเทศจีนในค.ศ. 1223 ไปยังมณฑลเจ้อเจียงประเทศจีนเพื่อศึกษานิกายฌานสำนักเฉาต้ง หรือโซโต (ญี่ปุ่น: 曹洞โรมาจิSōtō) เข้ามาในญี่ปุ่นเป็นนิกายเซ็นอีกสำนักหนึ่ง รัฐบาลโชกุนคามากูระจัดตั้งระบบการปกครองนิกายเซ็นแบบลำดับชั้นเรียกว่าระบบปัญจบรรพต หรือ ระบบโกซัง (ญี่ปุ่น: 五山โรมาจิGozan) ซึ่งรับมาจากจีนราชวงศ์ซ่ง คณะสงฆ์นิกายเซ็นถูกปกครองโดยวัดใหญ่ระดับสูงห้าแห่งในเมืองคามากูระ วัดระดับกลางเรียกว่า จีเซตซึ (ญี่ปุ่น: 十刹โรมาจิJissetsu) และวัดระดับล่าง เรียกว่า โชซัง (ญี่ปุ่น: 諸山โรมาจิShozan)

นิจิเร็ง

 
ภาพมัณฑละโกฮงซง ซึ่งเป็นเครื่องประกอบพิธีบูชาในพุทธศาสนานิกายนิจิเร็ง การสวด "นะโม เมียวโฮ เรงเง เกียว" ต่อหน้าโกฮนซน จะนำมาซึ่งการหลุดพ้น

นิกายนิจิเร็ง (ญี่ปุ่น: 日蓮โรมาจิNichiren) ถือกำเนิดขึ้นจากแนวความคิดและหลักคำสอนของพระภิกษุนิจิเร็ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว พระภิกษุนิจิเร็งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายสมัยคามากูระ มีคำสอนยึดถือตามสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นหลัก พระนิจิเร็งได้รับอิทธิพลจากนิกายเทนไดในประเด็นที่ว่ามนุษย์สามารถบรรสุพุทธสภาวะได้ในชาติภพปัจจุบัน แต่พระนิจิเร็งมีความเห็นว่าหลักคำสอนของพุทธศาสนานิกายต่างๆในญี่ปุ่นขณะนั้นทั้งพุทธศาสนาเก่าและพุทธศาสนาใหม่ไม่ใช่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง มีเพียงสัทธรรมปุณฑริกสูตรเท่านั้นที่เป็นหลักคำสอนที่ถูกต้อง พระนิจิเร็งกล่าวโจมตีนิกายแดนสุขาวดีอย่างรุนแรงในประเด็นเรื่องการสวดอมิตาพุทธหรือเนมบูตสึ นิจิเร็งไม่เห็นด้วยกับนิกายวัชรยานให้ความสำคัญแก่พิธีกรรมมากเกินไป และไม่เห็นด้วยกับการฝึกจิตปฏิบัติตนของนิกายเซ็นซึ่งยากและไม่สามารถปฏิบัติได้จริง การที่ประเทศญี่ปุ่นยึดถือตามหลักคำสอนที่ผิดทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆรวมถึงการรุกรานของมองโกล การสวดสัทธรรมปุณฑริกสูตรจะนำความสุขสวัสดิ์มาสู่ประเทศญี่ปุ่น

การที่พระภิกษุนิจิเร็งมีหลักคำสอนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองทำให้เกิดความขัดแย้งกับนิกายอื่นๆและรัฐบาลโชกุน พระนิจิเร็งยื่นเสนองานเขียนเรื่อง "หลักคำสอนที่แท้จริงและถูกต้องเพื่อความสุขสวัสดิ์ของบ้านเมือง" (ญี่ปุ่น: 立正安国論โรมาจิRisshō Ankoku Ron) ต่อรัฐบาลโชกุนคามากูระในสมัยของชิกเก็งโฮโจ โทกิโยริ เพื่อโน้มน้าวให้รัฐบาลโชกุนหันมาสนับสนุนหลักคำสอนของตน ต่อมาในสมัยของชิกเก็งโฮโจ โทกิมูเนะ มีคำสั่งให้เนรเทศพระนิจิเร็งไปยังคาบสมุทรอิซุ (Izu peninsula) ในค.ศ. 1261 เป็นเวลาสองปีจากนั้นจึงได้รับการเว้นโทษและเดินทางกลับมายังคามากูระอีกครั้ง ในค.ศ. 1264 เกิดข่าวการรุกรานของมองโกลทำให้นิจิเร็งโจมตีรัฐบาลโชกุนว่านับถือพุทธศาสนาผิดนิกายทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ รัฐบาลโชกุนจึงมีคำสั่งให้นำตัวพระนิจิเร็งไปประหารชีวิต แต่ในขณะที่เพชรฆาตกำลังจะประหารพระนิจิเร็งนั้นเกิดนิมิตมีลูกทรงกลมส่องแสงสว่างเจิดจ้าลอยขึ้นเหนือลานประหารทำให้เพชรฆาตเกิดความหวาดกลัวไม่สามารถประหารพระนิจิเร็งได้ เมื่อประหารพระนิจิเร็งไม่สำเร็จรัฐบาลโชกุนจึงเนรเทศพระนิจิเร็งไปยังเกาะซาโดะอันห่างไกล ขณะที่อยู่บนเกาะซาโดะพระนิจิเร็งเกิดแนวความคิดเรื่องการสวดคาถาว่านามู เมียวโฮ เรงเง เกียว (ญี่ปุ่น: 南無妙法蓮華經โรมาจิNamu Myōhō Renge Kyō) ต่อหน้ามัณฑละเรียกว่าโกฮงซง (ญี่ปุ่น: 御本尊โรมาจิGohonzon) เพื่อแสวงหาการหลุดพ้น หลังจากที่อยู่บนเกาะซาโดะเป็นเวลาเก้าปี พระนิจิเร็งจึงได้รับการยกโทษในค.ศ. 1274 และเดินทางไปจำวัดอยู่ที่เขามิโนบุ (อยู่ที่จังหวัดยามานาชิในปัจจุบัน) พระนิจิเร็งมรณภาพในค.ศ. 1282

หลักคำสอนของพระนิจิเร็งมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขปลอดภัยของประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ทำให้นักวิชาการในยุคเมจิตีความหลักคำสอนของนิจิเร็งว่าเป็นลัทธิชาตินิยมรูปแบบหนึ่ง

เหตุการณ์ที่สำคัญ

- ค.ศ. 1192 โยริโตโมะ มินะโมะโตะ ได้รับตำแหน่งโชกุน เป็นจุดเริ่มของการก่อตั้งรัฐบาลคะมะกุระ บะกุฟุ

- ค.ศ. 1203 ซาเนโตโมะ มินะโมะโตะ ขึ้นเป็นโชกุนรุ่นที่สาม โดยมี โทกิมาสะ โฮโจ เป็นผู้สำเร็จราชการโชกุนคนแรกของคะมะกุระ และได้สร้างอำนาจบารมีให้กับตระกูลโฮโจ

- ค.ศ. 1219 โชกุนซาเนโตโมะ ถูกลอบสังหาร ตระกูลโฮโจก็ได้เข้ามามีอำนาจในรัฐบาลโชกุน

- ค.ศ. 1221 เกิดจลาจลโจคิว เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโกโตบะ อดีตจักรพรรดิ ที่ต้องการทำให้ราชสำนักกลับมามีอำนาจเช่นในอดีต ได้ประกาศว่าผู้แทนโชกุนโยชิโตกิ โฮโจ เป็นกบฏ เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศลุกขึ้นต่อต้าน โยชิโตกิ จึงได้ส่งกองทัพใหญ่จากคะมะกุระไปปราบทัพของจักรพรรดิโกะโทะเบะ และเข้ายึดเมืองเคียวโตะ

- ค.ศ. 1232 โฮโจ ยะซุโตะกิ ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายโจเอ กฎหมายฉบับนี้ได้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีราชสำนักเป็นศูนย์กลางมาเป็นสังคมที่มีทหารเป็นหลัก และเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นเพื่อชนชั้นนักรบโดยเฉพาะ

- ค.ศ. 1252 พระพุทธรูปไดบุทสึแห่งคะมะกุระ (องค์สัมฤทธิ์) ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์

- ค.ศ. 1268 มีการอัญเชิญพระราชสาส์นจากจักรพรรดิกุบไลข่าน แห่งราชวงศ์หยวน (มองโกเลีย) มายังญี่ปุ่น แจ้งช้อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นส่งบรรณาการให้แก่จีน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

- ค.ศ. 1274 กองทหารโคไรแห่งราชวงศ์หยวน ยกทัพมาตีทางตอนเหนือของคีวชู นักรบคีวชูสามารถต่อต้านการบุกได้อย่างหวุดหวิด พอดีกับเกิดพายุใหญ่ที่เรียกว่า “คามิคาเซะ” (ลมศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งได้ทำลายกองทัพเรือของพวกมองโกล จึงได้ถอยทัพกลับไป และต่อมาในปี 1281 มองโกลได้ยกทัพมาอีกครั้ง หวังจะปราบญี่ปุ่นให้ราบคาบ แต่ก็ได้เกิดพายุใหญ่อีกครั้ง ทำให้แผนการบุกญี่ปุ่นต้องล้มเหลว

- ค.ศ. 1324 แผนการล้มล้างรัฐบาลโชกุนของจักรพรรดิโกะไดโงะรั่วไหล ทำให้เกิดความรำส่ำระสาย

- ค.ศ. 1331 หัวหน้ากลุ่มกองโจรที่จงรักภัคดีต่อราชบัลลังก์ คุสึโนกิ มะซะชิเกะ ส่งทหารไปล้มล้างรัฐบาลโชกุนที่อากาสาเกะ เขตคะวะชิ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

- ค.ศ. 1333 รัฐบาลโชกุน ส่งแม่ทัพจากเขตตะวันออก ทะกะอุชิ อาชิกางะ ไปปราบกลุ่มของจักรพรรดิโกะไดโงะ ในเขตตะวันตก แต่ ทะกะอุชิ กลับตัดสินใจประกาศสนับสนุนพระเจ้าโกะไดโงะ และยกทัพเข้ามาตีรัฐบาลโชกุนที่เกียวโต ขณะที่ ผู้นำทางเขตตะวันออกอีกคนหนึ่ง โยชิซาดะ นิตตะ ก็ได้แข็งข้อยกกำลังเข้ามาทำลายที่ทำการของตระกูลโฮโจ ที่คะมะกุระ เป็นผลให้รัฐบาลโชกุนคะมะกุระก็ถึงกาลล่มสลาย

อ้างอิง

คคามาก, ระ, บทความน, ไม, การอ, างอ, งจากแหล, งท, มาใดกร, ณาช, วยปร, บปร, งบทความน, โดยเพ, มการอ, างอ, งแหล, งท, มาท, าเช, อถ, เน, อความท, ไม, แหล, งท, มาอาจถ, กค, ดค, านหร, อลบออก, เร, ยนร, าจะนำสารแม, แบบน, ออกได, อย, างไรและเม, อไร, บทความน, างอ, งคร, สต, กร. bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha yukhkhamakhura yipun 鎌倉時代 ormaci Kamakura jidai hrux xanaebbithy khamakhura trngkbpikh s 1185 kh s 1333 epnyukhthiyipunerimtnkarpkkhrxngrabbskdinaodyckrphrrdiepnphumixanackarpkkhrxng aetephiynginnamrthbalthharthieriykwa khamakura bakufu sungmiochkunepnhwhnapkkhrxngpraethsinnamckrphrrdimixanaceddkhadthngthangkaremuxngaelakarthhar minaomota ona oyriotoma idrbkaraetngtngihepnochkunkhnaerkcdtngrthbalthharmisunyklangkarpkkhrxngxyuthiemuxngkhamakhura swnckrphrrdiprathbthiemuxngehxng inyukhkhamakurayipuntxngephchiyhnakbkarrukrancakkxngthphmxngoklphayitkarnakhxng kubilkhan insmy rachwngshywn sungodnocmtikhrngaerkinpi kh s 1274 aelaxikkhrnginpi kh s 1281 aetkxngthphmxngoklekhaocmtiyipunimsaercephraasphaphxakasimexuxxanwykxngthphmxngoklidrukransuyipunodyekhaocmtiphakhehnuxkhxngekaakhiwchu kxngthphthharidthakartxsupxngknxyangekhmaekhng prakxbkbphythrrmchatiepnswnchwyehlux yipuncungrxdphncakxntraymaid aetnnkepncuderimtnkhxngkaresuxmxanacinkarkhwbkhumchnchnnkrbkhxngrthbalthharsngkhramkhrngniidsrangkhwamxxnaexihkbrthbalthharkhamakuraxyangmakswnkhwamecriythangdanwthnthrrmnnwthnthrrmkhxngchnchnnkrbidkxkaenidkhunodymiwthnthrrmkhxngchnchnpkkhrxngepnrakthan aetyngkhngexklksnkhxngchnchnnkrbiw xnidaek khwammiphlwtr aelakarsathxn khwamepncringxyangeriybngay indansasna phuththsasnaaebbkhamakhurakidkaenidkhunodyphraethraphumichuxesiyng xyang ohenn Hounen chinrn Shinran aelanichiern Nichiren epntn nkrbfngthirabkhnotcanbthuxsasnaesnxnidrbkarthaythxdcakcinaephndinsxnginstwrrsthi 12 epnhlk rupaebbsilpaihm kekidkhuninyukhni xyangechn ptimakrrmsmykhamakhuratxntnnn camilayesnthihnkaennmiphlngehmuxnkhxngcring aelaaesdngxxkthungkhwamepnmnusy wrrnsilpswnihycaepnsingthichnchnnkrbniym echn ehekha omonngatari Heike Monogatari sungaetngkhunemuxtnstwrrsthi 13 epnphlnganthidithisudincanwnniyayekiywkbkarsurb aelakyngmihnngsuxrwbrwmbtheriyngkhwameruxng ohocki Houjouki sungaetnginstwrrsthi 13 aela suersuerngusa Tsurezuregusa sungaetnginstwrrsthi 14 enuxha 1 prawtisastr 1 1 karcdtngbakufu 1 2 karkhunsuxanackhxngtrakulohoc 1 3 chikekngyasuotakiaelaothakioyari 1 4 karrukrankhxngmxngokl 1 5 kareruxngxanackhxngmixuchibiota aela cudcbkhxngkhamakurabakufu 2 phuththsasna 2 1 nikayaednsukhawdi 2 2 nikayesn 2 3 nicierng 3 ehtukarnthisakhy 4 xangxingprawtisastr aekikhkarcdtngbakufu aekikh yuththnawithngonaxura inchwngplayyukhehxngrachsankyipunemuxngekiywottkxyuphayitkarkhrxbngakhxngtrakulithrasungmiphunakhuxithra ona khioyaomari inkh s 1180 ecachayomachihiotaidxxkprakasrnrngkhsngkhramihsamuirtrakuleswaengnci 清和源氏 hruxtrakulminaomaotathiyngkhnghlngehluxxyuthwyipun lukhuxkhuntxtankarpkkhrxngtrakulithra epncuderimtnkhxngsngkhramekmep 源平合戦 minaomaota ona oyariotaoma 源頼朝 dwykhwamchwyehluxkhxng ohoc othakhimasa 北条時政 tngtnepnihyinphumiphakhkhnotthangphakhtawnxxkkhxngyipun odymithanthimnxyuthiemuxngkhamakura 鎌倉 inkhnaediywkninphakhtawntkminaomaota ona oyachisuena samarthexachnatrakulithraidinyuththnawidngonaxura Dan no ura inkh s 1185 thaihtrakulithratxngphbkbcudcblngaelaxanacinkarpkkhrxngyaymaxyuthioyariotaoma inkh s 1189 oyariotaomathasngkhramoxchu 奥州合戦 txsukbtrakulfuciwaraaehngoxchucnsamarthphnwkphumiphakhothohakuekhamainkarpkkhrxngidinthisud inkh s 1192 oyariotaomaidrbkaraetngtngihepnesxiithochkun 征夷大将軍 smykhamakhuraepnsmyaerkthinkrbhruxsamuir 侍 khunmaklayepnchnchnpkkhrxngaethnthiphrackrphrrdiaelankprachythiepnphleruxndngthiekhyepnmainyukhehxng miphunakhxngkarpkkhrxngkhuxochkunsungxasyxyuthiemuxngkhamakura hruxeriykwa khamakhura odona 鎌倉殿 mixanacesmxehmuxnepnecaphupkkhrxngyipunaethnthiphrackrphrrdi sthanthicdkarpkkhrxngimmikhwamhruhraechnekiywotthaihsunykarpkkhrxngthikhamakhurathukeriykwa rthbaletnt hrux bakufu 幕府 misphakhunnangsungmixanactdsinicekiywkbkarpkkhrxngeriykwa mnodaokaora 政所 sngkhramthaihchnchnnkrbidekhakhrxbkhrxngthidintangsungaetkxnepnkhxngrachsankekiywot epncuderimtnkhxngyipunsmyskdina odynkrbthiepnnaycaaebngthidinihaekkharbichkhxngtntamrabxbskdinaswamiphkdi Feudalism odythisamuirphuthuxkhrxngthidineriykwa ciot 地頭 inkhnathibakufuaetngtngsamuirippkkhrxngaewnaekhwneriykwa chuong 守護 thbsxnkbrabxbecaphupkkhrxngaekhwnedimthiidrbaetngtngcakrachsankekiywot karkhunsuxanackhxngtrakulohoc aekikh emuxoyariomaotaesiychiwitinkh s 1199 minaomaota ona oyarixiexa 源頼家 butrchaykhxngoyariotaomasubthxdtaaehnngphunatrakuleswaengncitxma aelaidrbkaraetngtngihepnochkuninkh s 1202 aetthwabrrdasamuirkharbichekakhxngoyariotaomatangehnphxngtxngknwaoyarixiexaimmikhwamsamarthinkarpkkhrxng cungcdtngkhnaphusaercrachkaraethnkhuninkh s 1200 prakxbdwysamuircanwnsibsamkhnephuxthahnapkkhrxngbakufuaethnoyarixiexa trakulthangfaymardakhxngoyarixiexa khux trakulohoc 北条 naodyohoc othakimasa phusungepntakhxngoyarixiexa darngtaaehnngepnphunamnodaokaoraepnphusaercrachkaraethnochkuneriykwa chikekng 執権 aelaohoc masaoka 北条政子 mardakhxngoyarixiexa idkhunmamixanacehnuxbakufu odythiochkunepnephiynghunechid trakulohociddaeninkarkacdkhuaekhngthangkaremuxngtangthaihsamarthkhunmimixanacehnuxbakufuidinthisud ochkunoyarixiexamikhwamexnexiyngipthangtrakulhiki 比企 sungepntrakulfayphrryakhxngoyarixiexa naodyhiki oyachikasu 比企能員 inkh s 1203 trakulohocidekhathakarkwadlangtrakulhikixyangrunaerngaelaohdehiym aelathakarpldoyarixiexaxxkcaktaaehnngochkunaelwenrethsipyngaekhwnxisu tngnxngchaykhxngoyarixiexakhux minaomaota ona saenaotaoma 源実朝 epnochkunkhntxma othakimasasngkhnipthakarlxbsngharoyarixiexainpitxmakh s 1204trakulohocyngkhngdaeninkarkacdkhuaekhngtxip echn hataekayama chiengatada 畠山重忠 inkh s 1205 aelatrakulwada 和田 inkh s 1213 inkh s 1205 othakimasaidsmkhbkhidkbphrryakhnihmkhxngtnkhuxnangmaki 牧の方 wangaephnlxbsngharochkunsaenaotaomaephuxthicaykhiranga othaomamasa 平賀朝雅 phuepnbutrekhykhxngtnkhunepnochkunaethn thaihmasaokabutrsawaelaohoc oyachiotaki 北条義時 butrchayphusubthxdtaaehnngkhxngtnimphxic cungekhathakarrthpraharyudxanaccakbidakhxngtn bngkhbihothakimasaplngphmbwchepnphraphiksuaelwenrethsipyngaekhwnxisu oyachiotakicungidepnchikekngtxcakbida emuxochkunsaenaotaomaimmithayath nangmasaokacungedinthangipyngemuxngekiywotekhaefaxditckrphrrdioka othabainkh s 1219 ephuxthulkhxecachaymadarngtaaehnngepnochkun aetklbidkhuoc oyarisuena 九条頼経 butrchaykhxngkhmpakuxayuephiynghnungpimaepnthayathochkun inpiediywknnnexngochkunsaenaotaomathuklxbsngharodyphiksukhuengiyw 公暁 sungepnbutrchaykhxngxditochkunoyarixiexa thaihtrakuleswaengncithidarngtaaehnngochkuntxngsinsudlngrthbalochkunkhamakuramixanacetmxyuinphakhtawnxxkkhxngyipun aetinkhnaediywknthangphakhtawntknnrachsankekiywotyngkhngmixanacxyu emuxthangbakufuekidehtukarnaeyngchingxanachlaykhrng rachsankekiywotnaodyxditckrphrrdioka othabacungchwyoxkasaekhngkhxtxtankarkhrxbngakhxngbakufukhamakura odyptiesththicathakaraetngtngochkunkhnihm inkh s 1221 xditckrphrrdioka othabamiphrarachoxngkarprakasihchikekngoyachiotakiepnxachyakr aelacdetriymkxngthphephuxpxngknemuxngekiywot naipsusngkhramockhiw 承久の乱 fayoyachiotakiidsngohoc yasuotaki 北条泰時 phuepnbutrchay aelaohoc othakifusa 北条時房 phuepnnxngchay ykthphipthangtawntkaelasamarthekhayudemuxngekiywotidinewlanrwderw xditckrphrrdiokaothabarwmthngxngkhckrphrrdiphraoxrsaelaphranddatangthukenreths nbaetnnmarachsankekiywotktkxyuphayitxanackhxngbakufuxyangaethcring mikarkxtng orakuhara thngid 六波羅探題 epriybesmuxnepnsakhasxngkhxngbakufutngxyuthiekhtorakuharainemuxngekiywot ephuxkhxykhwbkhumduaelrachsank odymiohoc yasuotakiaelaothakifusaepnorakuharathngidsxngkhnaerk chikekngyasuotakiaelaothakioyari aekikh ohoc othakioyari chikekngoyachiotakithungaekxsykrrminkh s 1226 aelanangmasaokaesiychiwitinkh s 1227 ohoc yasuotaki subthxdtaaehnngchikekngcakoyachiotakibidakhxngtninkh s 1226 aelamikaraetngtngkhuoc oyarisuena ihepnochkuninpiediywkn chikekngyasuotakiaetngtngothakifusaphuepnxaihdarngtaaehnngepn erngoch 連署 hruxrxngphusaercrachkarepnkhnaerk insmykhxngchikekngyasuotakimikarwangrakthankarpkkhrxngkhxngkhamakura odymikarcdtngehiywocchu 評定衆 iwepnsphathikhxyxnumtiehnchxbnoybaykhxngchikekng aelainkh s 1232 mikarxxkkdhmay okaesib chiomaku 御成敗式目 hrux kdhmaypiocex epnkdhmaykhxngchnchnsamuirchbbaerkinprawtisastryipun smykhxngchikekngyasuotakithuxepnsmythirungeruxngaelasngbsukhthisudkhxngrthbalkhamakurachikekngyasuotakithungaekxsykrrmemuxkh s 1242 ohoc suenaotaki 北条経時 phuepnhlanchaysubthxdtaaehnngtxma aetthwaochkunkhuocoyarisuenaidetibotkhunepnphuihyaelatxngkarthicamixanacinkarpkkhrxng inkh s 1244 chikekngsuenaotakicungthakarpldochkunoyarisuenaxxkcaktaaehnng aelaihbutrchaykhuxkhuoc oyarisungu 九条頼嗣 khunepnochkunaethn aemkrannxditochkunoyarisuenayngkhngmixanacehnuxochkunxayunxythiepnbutrchaykhxngtn aelawangaephnkxkaryudxanaccaktrakulohocdwykarsnbsnuncaktrakulmixura 三浦 sungepntrakulkhuaekhngthisakhykhxngtrakulohoc chikekngsuenaotakithungaekxsykrrmemuxkh s 1246 ohoc othakioyari 北条時頼 phuepnnxngchaysubthxdtaaehnngchikekngtxma mikarkhnphbaephnkaryudxanackhxngxditochkunoyarisuena inkarthicasnbsnunih naongaexa misuotaki 名越光時 yatihangkhxngothakioyarikhunepnchikekngaethn dwykhwamchwyehluxkhxngtrakulmixura naody mixura yasumura 三浦泰村 chikekngothakioyaricungenrethsxditochkunoyarisuenaihklbipemuxngekiywot eriykehtukarninpi kh s 1246 niwa miya osod 宮騒動 aeladwykaryuyngkhxngxadachi oyachikaenga 安達義景 chikekngothakioyaritdsinicthasngkhramkwadlangtrakulmixurainkh s 1247 eriykwa sngkhramohci 宝治の乱 epnphlihtrakulmixurathukkwadlangaelachikekngtrakulohocprascakkhuaekhngmixanaclnehluxcneriykidwaepnephdckar inkh s 1252 chikekngothakioyaritdsinicthicapldochkunoyarisunguxxkcaktaaehnng aelwothakioyaricungedinthangephuxsngxditochkunklbipyngemuxngekiyngot phrxmknnnidthulkhxecachaycakrachsankekiywotmaephuxepnochkunkhnihm ckrphrrdioka sangacungprathanphraoxrskhuxecachaymuenataka 宗尊親王 esdcmayngemuxngkhamakuraephuxdarngtaaehnngepnochkun nbaetnnmaochkunkhamakuracungepnecachaycakekiywot karrukrankhxngmxngokl aekikh dubthkhwamhlkthi karrukranyipunkhxngmxngokl inchwngplaystwrrsthisibsamckrwrrdimxngoklkalngeruxngxanacthwexechiy idekhapkkhrxngcintxnehnux inkh s 1259 xanackrokhryx Goryeo khxngekahlitkepnpraethsrachkhxngrachwngshywn Yuan sungmihxngetkhuxkubilkhan Kublai Khan kubilkhanmikhwamthaeyxthayantxngkarthicaekhayudyipunepnpraethsrach aetchawmxngoklimmikhwamruindankarrbthangthaeltxngxasykhwamchwyehluxaelathrphyakrkhxngxanackrokhryx inkh s 1268 kubilkhanidsngkhnathutphanphraecachungyxlaehngokhryxmayngyipunodylngcxdthiekaakhiwchuephuxeriykrxngihyipunyxmsybepnpraethsrachkhxngckrwrrdimxngoklodysntiwithi aetthangbakufunaodychikekngohoc othakimuena 北条時宗 butrkhxngchikekngothakioyari aelaxadachi yasuomari 安達泰盛 tdsinicthicaephikechytxsasnkhxngkubilkhan kubilkhanyngkhngsngthutphanthangekahlimaxikinkh s 1271 aetimprasbphlsaercechnekhy emuxthukkhukkhamcakckrwrrdimxngokl inkh s 1272 yipunphayitkarnakhxngchikekngothakimuenacungmikarprbokhrngsrangkarpkkhrxngihmaelakwadlangphuthitxtanxanackhxngothakimuenasungnaody naongaexa othakixaki 名越時章 aelaohoc othakisueka 北条時輔 phuepnphichaykhxngothakimuena inehtukarnthieriykwa ningasu osod 二月騒動 phaphwad Mōko Shurai Ekotoba aesdng thaekasaki suexananga Takezaki Suenaga kalngtxsukbthharmxngoklaelaekahli suexanangawadphaphkartxsunikhunexngephuxxangsiththiinkarpunbaehnccakbakufu inkh s 1274 kubilkhancungtraetiymkalngphlphsmrahwangmxngoklaelaekahliephuxekharukranyipun naodyhintu Hintu khunphlfaymxngokl hngdaku Hong Dagu khunphlchawekahli ykthpheruxkhamthaelmaethiybthathixawhakata 博多 bnekaakhiwchu eriykwa karrukranpibungex 文永の役 fayyipunmiochni suekaoyachi 少弐資能 sungdarngtaaehnngepnchines buengiyw 鎮西奉行 hruxphupkkhrxngekaakhiwchu nathphyipunekhahahnaetimsamarththdthanthphphsmmxngokl ekahliid cnkrathngmilmphayuphdekhaxanhakatathalayeruxkhxngthphmxngokllngipmak thaihfaymxngokltxngthxyhniklbip chawyipuncungykyxnglmniwaepn khamikaesa 神風 hruxlmthiethphecasngmaephuxpkpxngyipuncakphurukranaemkrannkubilkhankyngimldla inkh s 1275 kubilkhansngthutmaxikkhrngodyimphanekahli aetkhnathutmxngoklthukcbkumipyngemuxngkhamakuraaelathuksnghar chikekngothakimuenaekrngwaphwkmxngoklcaykmaxikcungihmikaretriymkarrxngrbkarrukrankhxngmxngokliwphrxm hlngcakthiphichitrachwngssngitidaelw mxngoklcungsngthutmayipunxikkhrnginkh s 1279 aetchawyipunidsngharkhnathutmxngolkthnthithikhunfngxawhakata inkh s 1281 kubilkhancungsngthpheruxekharukranyipunxikkhrngeriykwa karrukranpiekhxng 弘安の役 odyichthngkxngthpheruxkhxngxanackrokhryx aelathpheruxkhxngrachwngssngitkhnadmhuma faymxngoklwangaephnihthpheruxsngitmasmthbkbthpheruxekahliephuxekharukranyipun aetthpheruxcinekidkhwamlachamasmthbimthn thpheruxekahlicungekhaocmtiaetfayyipunetriymkarmadicungsamarthtanthanid lmphayukhamikaesaphdekhamaxikkhrngthalaythpheruxekahlicntxnglathxyklbip kareruxngxanackhxngmixuchibiota aela cudcbkhxngkhamakurabakufu aekikh othakimuenathungaekxsykrrminkh s 1284 ohoc sadaotaki 北条貞時 phuepnbutrchaycungsubthxdtaaehnngchikekngtxma aetkarpkkhrxngbakufunnxyuphayitxanackhxngxadachi yasuomari phuepntakhxngsadaotaki cnkrathngekidkhawluxwayasuomarihmaycaykbutrchaykhxngtnexngkhunepnochkun sadaotakicungmxbhmayihkharbichkhnsnithkhux ithra ona oyarisuna 平頼綱 nathphekhaocmtikwadlangtrakulxadachi inehtukarneriykwa chiomasuki osod 霜月騒動 yasuomarikrathaesppuku thaihtrakulxadachisuysinip ithra ona oyarisuena sungdarngtaaehnngepn mixuchibiota 御内人 hruxhwhnakhnrbichpracatrakulohoc khunmamixanacaethncnkrathngekidehtukarnaephndinihwinkh s 1293 ekidkhawluxxikkhrngwaoyarisuenacaykbutrchaykhxngtnkhunepnochkunxikechnkn chikekngsadaotakicungsngkalngphlipthakarsngharoyarusunaipesiy aelakhunmamixanacpkkhrxngbakufudwytnexng karpkkhrxngkhxngchikekngsadaotakithuxepncuderimtnkhxngkhwamesuxmkhxngbakufukhamakuraenuxngcakchikekngmikhwamxxnaexaelaxanaccungtkaekkharbichkhnsnithkhxngchikeknginkh s 1303 sadaotakislataaehnngchikekngihaekbutrchaykhxngtnkhux ohoc thakaotaki 北条高時 xayuephiyngaepdpi xanackarpkkhrxngcungtkaekxadachi othakixaki 安達時顕 mixuchibiota nangasaki exngki 長崎円喜 aelanangasaki thakasueka 長崎高資 butrchaykhxngexngki inkh s 1324 ekidkhawluxwackrphrrdioka idongthrngwangaephnthicaokhnlmrthbalbakufu mikarlngothspraharchiwitkhunnangthiemuxngekiywot aemwaxngkhckrphrrdicathrngptiesthaetbakufuyngkhxycbcxngxngkhckrphrrdixyuesmxtxmainkh s 1331 aephnkarokhnlmbakufukhxngckrphrrdioka idongthukepidephyxikkhrng xngkhckrphrrdicungesdcliphyipyngkhasangiyama 笠置山 iklkbemuxngekiywotaetbakufusamarthekhabukcbkumxngkhckrphrrdiidaelaenrethsxngkhckrphrrdiipyngekaaoxaki 隠岐 aetkhunphlsamuirfayckrphrrdinaody khusuonaki masachienga 楠木正成 yngkhngthasngkhramtxtantrakulohoctxip eriykwa sngkhrampiekngok 元弘の乱 cnkrathnginkh s 1333 xngkhckrphrrdiesdchlbhnicakekaaoxakimaid thaihkhunphlfaybakufukhux xachikanga thakaxuci 足利尊氏 aeprphktrmaekhakbfayxngkhphrackrphrrdi nathphekhayudemuxngekiywotidsaerc aelanitta oyachisada 新田義貞 samarthekhayudemuxngkhamakuraid ohoc thakaotaki nasmachiktrakulohocaelakhunnanginbakufurwmhlayrxychiwitkrathakaresppukuesiychiwitipephuxhnikhwamphayaeph epnxwsanaehngtrakulohocaelarthbalochkunkhamakura naipsukarfunfuekhmmu Kemmu Restoration phuththsasna aekikh phraphiksuohenng phuidrbkarykyxngwaepnphukxtngnikayaednbrisuththiinyipun hruxnikayocod inyukhkhamakurannekidkhwamepliynaeplnginwngkarphuththsasnayipuncakkarnaekhaphuththsasnanikayihmcakpraethscin idaeknikayaednbrisuthth hruxnikayocod yipun 浄土宗 ormaci Jōdo shu aelanikayesn aemwaochkunbakufukhamakuramixanacpkkhrxnginthangolk aetxanacinkarpkkhrxngsasnayngkhngxyuthisthabnphrackrphrrdi edimthinbtngaetyukhehxngphuththsasnawchryansungennekiywkbphithikrrmisysastrprakxbdwynikayethngid yipun 天台 ormaci Tendai sungmisunyklangxyuthiwdbnekhahiex yipun 比叡山 ormaci Hiei zan aelanikaychingngxn yipun 真言 ormaci Shingon phsmphsankbsasnachinotsungepnkhwamechuxdngedimkhxngchawyipun klayepnsasnachinotrwmkbphuththmhayan yipun 神仏習合 ormaci Shinbutsu shugō sungidrbkarsnbsnuncakrachsankphrackrphrrdiyipunaelachnchnkhunnanginemuxngekiywot nxkcakniyngmisankphuththmhayanhksankaehngemuxngnara Six Schools of Nara phuththsasnamhayannikaythirungeruxngmakxnsmykhamakuraeriykrwmknwa phuththsasnaeka inkhnathinikayaednbrisuththi nikayesn aelanikaynicierngsungthuxkaenidkhuninsmykhamakuranneriykwa phuththsasnaihm nikayaednsukhawdi aekikh inkh s 1175 phraphiksuohenng yipun 法然 ormaci Hōnen aehngekhahiexidsuksanganekhiynkhxngphraphiksuchawcinekiywkbaenwkhwamkhidkhxngnikayaednbrisuththieruxngenmbutsu yipun 念仏 ormaci Nenbutsu hruxkarklawxmitaphuthth nikayaednbrisuththiennthungkarklawkhawaxmitaphuththsamarththaihhludphnekhasuaednsukhawdihruxaednbrisuththikhxngphraxmitaphphuththaidodyimcaepntxngmiphithikrrmthisbsxn phraphiksuohenngmikhwamehnwaphuththsasnawchryanennphithikrrmisysastrmakkwakaraeswnghathanghludphn cungedinthangxxkcakekhahiexmaephyaephrhlkkhasxnkhxngnikayaednbrisuththiihaekchnchnsamuiraelachawbanthwipsungaetedimimsamarthekhathungphuththsasnawchryanid xyangirktamnikayaednbrisuththisungepnnikayihmkhxngyipunthuktxtancakrachsankekiywotaelaphrasngkhnikayxun sungmxngwanikayaednbrisuththiepnlththinxkrit inkh s 1207 phrackrphrrdioka othabamiphrarachoxngkarihenrethsphraphiksuohenngaelasisyanusisythnghlay aelahamkarephyaephraenwkhwamkhideruxngenmbutsu phraphiksuohenngthukenrethsipyngekaachiokkutxmakh s 1211 thangrachsankekiywotihxphyothsaekohenngaelaxnuyatihephyaephrenmbutsuxikkhrng thaihohenngedinthangklbmayngnkhrhlwngekiywotidaelamrnphaphinpitxma phraphiksuohenngidrbkarykyxngwaepnphukxtngnikayaednbrisuththi hruxnikayocodinyipunbrrdaluksisykhxngphraohenngthukenrethsipyngaekhwntanginyipuntangaeyktwxxkipkxtngsankkhxngtnexng phraphiksuebngoch yipun 弁長 ormaci Benchō sungthukenrethsipyngekaakhiwchukxtngsankchines yipun 鎮西 ormaci Chinzei sungaeplwa ekaakhiwchu txmasankchinesidephyaephripyngemuxngkhamakura thaihsankchinesklayepnsankhlkkhxngnikayocod nxkcakniyngmiphraphiksuchinrng yipun 親鸞 ormaci Shinran phukxtngnikayaednbrisuththithiaethcring hruxnikayocodchin yipun 浄土真宗 ormaci Jōdo shinshu aeykxxkipepnnikayihm nikayesn aekikh wdokhotkuxing thiemuxngkhamakura epnwdinphuththsasnanikayaednbrisuththi ruphlxphraphuththrupihyidbutsuepnrupkhxngphraxmitaphphuththa ekidcakkareriyirenginkhxngnangxinada Inada no tsubone hlxcnaelwesrcinkh s 1252 inyukhkhamakura inkh s 1168 phiksuexis yipun 栄西 ormaci Eisai aehngekhahiex edinipyngekhaethiynithinpraethscinephuxsuksahlkkarekhachanwipssnainsankhlinci Linji 臨濟 hruxringis Rinzai phraphiksuexisedinthangklbmayngpraethsyipuninkh s 1191 aetphraphiksuexisyngimidephyaephrnikayesnsungideriynrumacakpraethscinenuxngcakphykhukkhamcaknikayethnidsungeruxngxanacxyuinekiywot cnkrathngphraexisedinthangipyngemuxngkhamakurainkh s 1199 phbkbochkunminaomota ona oyrixiexa aelanangohoc masaoka thaihrthbalochkunkhamakuraaelachnchnsamuirtangyxmrbnbthuxnikayesnepnphuththsasnanikayihmsungennekiywkbkarfukcitptibtitnsxdkhlxngkbhlkkarkhxngchnchnsamuir phuththsasnanikayesncungaetktangcakphuththsasnanikayxuninyipuninpraednthiwarthbalochkunihkarsnbsnunaelaekhapkkhrxngnikayesnodytrng luksisykhxngexischuxwaodekng yipun 道元 ormaci Dōgen edinthangipyngpraethscininkh s 1223 ipyngmnthlecxeciyngpraethscinephuxsuksanikaychansankechatng hruxosot yipun 曹洞 ormaci Sōtō ekhamainyipunepnnikayesnxiksankhnung rthbalochkunkhamakuracdtngrabbkarpkkhrxngnikayesnaebbladbchneriykwarabbpycbrrpht hrux rabboksng yipun 五山 ormaci Gozan sungrbmacakcinrachwngssng khnasngkhnikayesnthukpkkhrxngodywdihyradbsunghaaehnginemuxngkhamakura wdradbklangeriykwa ciestsu yipun 十刹 ormaci Jissetsu aelawdradblang eriykwa ochsng yipun 諸山 ormaci Shozan nicierng aekikh phaphmnthlaokhngsng sungepnekhruxngprakxbphithibuchainphuththsasnanikaynicierng karswd naom emiywoh erngeng ekiyw txhnaokhnsn canamasungkarhludphn nikaynicierng yipun 日蓮 ormaci Nichiren thuxkaenidkhuncakaenwkhwamkhidaelahlkkhasxnkhxngphraphiksunicierng sungepnexklksnechphaatw phraphiksunicierngmichiwitxyuinchwngplaysmykhamakura mikhasxnyudthuxtamsththrrmpunthriksutrepnhlk phranicierngidrbxiththiphlcaknikayethnidinpraednthiwamnusysamarthbrrsuphuththsphawaidinchatiphphpccubn aetphranicierngmikhwamehnwahlkkhasxnkhxngphuththsasnanikaytanginyipunkhnannthngphuththsasnaekaaelaphuththsasnaihmimichhlkkhasxnkhxngphraphuththecathiaethcring miephiyngsththrrmpunthriksutrethannthiepnhlkkhasxnthithuktxng phranicierngklawocmtinikayaednsukhawdixyangrunaernginpraedneruxngkarswdxmitaphuththhruxenmbutsu nicierngimehndwykbnikaywchryanihkhwamsakhyaekphithikrrmmakekinip aelaimehndwykbkarfukcitptibtitnkhxngnikayesnsungyakaelaimsamarthptibtiidcring karthipraethsyipunyudthuxtamhlkkhasxnthiphidthaihyipuntxngephchiykbphyphibtitangrwmthungkarrukrankhxngmxngokl karswdsththrrmpunthriksutrcanakhwamsukhswsdimasupraethsyipunkarthiphraphiksunicierngmihlkkhasxnepnexklksnkhxngtnexngthaihekidkhwamkhdaeyngkbnikayxunaelarthbalochkun phranicierngyunesnxnganekhiyneruxng hlkkhasxnthiaethcringaelathuktxngephuxkhwamsukhswsdikhxngbanemuxng yipun 立正安国論 ormaci Risshō Ankoku Ron txrthbalochkunkhamakurainsmykhxngchikekngohoc othkioyri ephuxonmnawihrthbalochkunhnmasnbsnunhlkkhasxnkhxngtn txmainsmykhxngchikekngohoc othkimuena mikhasngihenrethsphranicierngipyngkhabsmuthrxisu Izu peninsula inkh s 1261 epnewlasxngpicaknncungidrbkarewnothsaelaedinthangklbmayngkhamakuraxikkhrng inkh s 1264 ekidkhawkarrukrankhxngmxngoklthaihnicierngocmtirthbalochkunwanbthuxphuththsasnaphidnikaythaihsingskdisiththilngoths rthbalochkuncungmikhasngihnatwphranicierngippraharchiwit aetinkhnathiephchrkhatkalngcapraharphranicierngnnekidnimitmilukthrngklmsxngaesngswangecidcalxykhunehnuxlanpraharthaihephchrkhatekidkhwamhwadklwimsamarthpraharphranicierngid emuxpraharphranicierngimsaercrthbalochkuncungenrethsphranicierngipyngekaasaodaxnhangikl khnathixyubnekaasaodaphranicierngekidaenwkhwamkhideruxngkarswdkhathawanamu emiywoh erngeng ekiyw yipun 南無妙法蓮華經 ormaci Namu Myōhō Renge Kyō txhnamnthlaeriykwaokhngsng yipun 御本尊 ormaci Gohonzon ephuxaeswnghakarhludphn hlngcakthixyubnekaasaodaepnewlaekapi phranicierngcungidrbkarykothsinkh s 1274 aelaedinthangipcawdxyuthiekhamionbu xyuthicnghwdyamanachiinpccubn phranicierngmrnphaphinkh s 1282hlkkhasxnkhxngphranicierngmiepahmayephuxkhwamsngbsukhplxdphykhxngpraethsyipunepnhlk thaihnkwichakarinyukhemcitikhwamhlkkhasxnkhxngnicierngwaepnlththichatiniymrupaebbhnungehtukarnthisakhy aekikh kh s 1192 oyriotoma minaomaota idrbtaaehnngochkun epncuderimkhxngkarkxtngrthbalkhamakura bakufu kh s 1203 saenotoma minaomaota khunepnochkunrunthisam odymi othkimasa ohoc epnphusaercrachkarochkunkhnaerkkhxngkhamakura aelaidsrangxanacbarmiihkbtrakulohoc kh s 1219 ochkunsaenotoma thuklxbsnghar trakulohockidekhamamixanacinrthbalochkun kh s 1221 ekidclaclockhiw emuxsmedcphrackrphrrdiokotba xditckrphrrdi thitxngkarthaihrachsankklbmamixanacechninxdit idprakaswaphuaethnochkunoychiotki ohoc epnkbt eriykrxngihprachachnthwpraethslukkhuntxtan oychiotki cungidsngkxngthphihycakkhamakuraipprabthphkhxngckrphrrdiokaothaeba aelaekhayudemuxngekhiywota kh s 1232 ohoc yasuotaki idprakasichpramwlkdhmayocex kdhmaychbbniidsathxnihehnkarepliynaeplngcaksngkhmthimirachsankepnsunyklangmaepnsngkhmthimithharepnhlk aelaepnkdhmaythirangkhunephuxchnchnnkrbodyechphaa kh s 1252 phraphuththrupidbuthsuaehngkhamakura xngkhsmvththi idsrangesrcsmburn kh s 1268 mikarxyechiyphrarachsasncakckrphrrdikubilkhan aehngrachwngshywn mxngokeliy mayngyipun aecngchxeriykrxngihyipunsngbrrnakarihaekcin michanncathuklngothsxyangrunaerng kh s 1274 kxngthharokhiraehngrachwngshywn ykthphmatithangtxnehnuxkhxngkhiwchu nkrbkhiwchusamarthtxtankarbukidxyanghwudhwid phxdikbekidphayuihythieriykwa khamikhaesa lmskdisiththi sungidthalaykxngthpheruxkhxngphwkmxngokl cungidthxythphklbip aelatxmainpi 1281 mxngoklidykthphmaxikkhrng hwngcaprabyipunihrabkhab aetkidekidphayuihyxikkhrng thaihaephnkarbukyipuntxnglmehlw kh s 1324 aephnkarlmlangrthbalochkunkhxngckrphrrdiokaidongarwihl thaihekidkhwamrasarasay kh s 1331 hwhnaklumkxngocrthicngrkphkhditxrachbllngk khusuonki masachieka sngthhariplmlangrthbalochkunthixakasaeka ekhtkhawachi aetkimepnphlsaerc kh s 1333 rthbalochkun sngaemthphcakekhttawnxxk thakaxuchi xachikanga ipprabklumkhxngckrphrrdiokaidonga inekhttawntk aet thakaxuchi klbtdsinicprakassnbsnunphraecaokaidonga aelaykthphekhamatirthbalochkunthiekiywot khnathi phunathangekhttawnxxkxikkhnhnung oychisada nitta kidaekhngkhxykkalngekhamathalaythithakarkhxngtrakulohoc thikhamakura epnphlihrthbalochkunkhamakurakthungkallmslayxangxing aekikh bthkhwamekiywkbprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy prawtisastr ekhathungcak https th wikipedia org w index php title yukhkhamakura amp oldid 8613988, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม