fbpx
วิกิพีเดีย

ยุคลิด

ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย (อังกฤษ: Euclid of Alexandria, ประมาณ 325–270 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวกรีก

ประวัติ

เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและบุคลิกภาพของยูคลิดน้อยมาก รู้แค่เพียงว่าท่านเคยเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ (professor of mathematics) ของมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย (University of Alexandria) ต่อจากเพลโต และก่อนหน้า อาร์คีมีดีส  และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่อะเล็กซานเดรียเป็นเวลานานรวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งสำนักคณิตศาสตร์แห่งอะเล็กซานเดรีย (Alexandria School of Mathematics) ขึ้นด้วย ซึ่งสำนักแห่งนี้ก็มีชื่อเสียงต่อมาอีกเป็นเวลานาน

มีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อได้ว่ายุคลิดเคยได้รับการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ที่สำนักเพลโต (Platonic School) ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) มาก่อน และมาอยู่ที่อะเล็กซานเดรียภายหลังจากที่พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ประมาณ 359–323 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้สร้างเมืองอะเล็กซานเดรียขึ้น และท่านก็มีชื่อเสียงแพร่หลายในรัชสมัยโตเลมีที่ 1 พระเจ้าโซเตอร์ (Ptolemy I Sotor, ประมาณ 367–282 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งพระเจ้าโตเลมีที่ 1 นี่เองที่ทรงเป็นผู้สร้างมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรียขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะชัดจูงคนที่มีการศึกษาดีมาอยู่ในเมืองนี้ และมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็นับได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมากที่สุด มีทั้งห้องบรรยาย ห้องทดลอง สวน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดและที่อยู่ของเจ้าหน้าที่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้องสมุด ซึ่งสร้างไว้ได้อย่างใหญ่โตมาก และนับว่าเป็นที่เก็บรวบรวมผลงานที่ใช้ในการศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ดังที่มีคำกล่าวเปรียบเปรยว่า ภายในระยะเวลา 40 ปีนับตั้งแต่มีการก็ตั้งห้องสมุดมาเท่านั้นก็มีม้วนกระดาษปาปิรุส (papyrus rolls) มากกว่า 6 ม้วน และอะเล็กซานเดรียก็กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการ (Intellectual metropolis) ของชาวกรีกติดต่อกันมา

เรื่องเล่าเกี่ยวกับยุคลิด

ปัปปุส (Pappus, ประมาณ ค.ศ. 300) นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งเคยยกย่องยุคลิดไว้ว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับอะโปลโลเนียส (Apollonius of Perga, ประมาณ 225 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แล้ว ยุคลิดช่างเป็นคนที่ถ่อมตนและนึกถึงคนอื่น ๆ อยู่เสมอ”

โปรคลุส (Proclus, ค.ศ. 410–485) ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับยุคลิดในหนังสือ Eudemian Summary ว่า “เมื่อยุคลิดได้เป็นพระอาจารย์วิชาเรขาคณิตในพระเจ้าทอเลมีที่ 1 พระองค์มีรับสั่งถามยุคลิดว่า ‘มีทางลัดสำหรับการเรียนวิชาเรขาคณิตไหม?’ ยุคลิดทูลตอบว่า ‘ไม่มีลาดพระบาทสำหรับการเรียนเรขาคณิต’ (There is no royal road to geometry.)” กล่าวคือ การศึกษาวิชาเรขาคณิตไม่ใช่สิ่งที่สะดวกสบายและทำได้ง่าย ๆ แต่มีบางคนกล่าวว่าคำพูดนี้เป็นคำพูดของเมแนชมุส (Menaechmus, ประมาณ 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อทูลตอบพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช

เมื่อมีลูกศิษย์คนหนึ่งถามยุคลิดในระหว่างที่เรียนเรขาคณิตว่า “เราจะได้อะไรเป็นผลตอบแทนบ้างจากการเรียนสิ่งที่ยากเหล่านี้” (What will I get by learning difficult thing?) ซึ่งคำถามนี้คงจะหมายความว่าจะนำความรู้ทางเรขาคณิตไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เพราะเรขาคณิตที่ยุคลิดสอนนั้นมีแต่การพิสูจน์และการให้เหตุผล ซึ่งเป็นการยากที่ยุคลิดจะตอบได้ในทันทีทันใด ท่านจึงสั่งให้ทาสไปหยิบเหรียญเงิน 2 โอปอลมา 1 เหรียญมอบให้แก่ลูกศิษย์คนนั้นและตอบว่า “เจ้าจะต้องได้รับกำไรหรือประโยชน์จากสิ่งที่เรียนรู้แน่นอน” (for he must make a profit from what he learns.) ที่ยุคลิดกล่าวเช่นนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่มีทางลัด และไม่สามารถเรียนหรือฝึกหัดแทนกันได้ ผู้เรียนจะต้องพอใจและรักในวิชาคณิตศาสตร์เพราะตัววิชาคณิตศาสตร์เอง

จากเรื่องที่เล่ามานี้แสดงให้เห็นว่า ยุคลิดเป็นผู้ที่มีความรอบรู้และมีความอดทน และเป็นครูที่ดี เป็นนักอนุรักษ์ เป็นผู้ที่อุทิศเวลาให้กับการศึกษาคณิตศาสตร์ และเป็นผู้ที่มีความลึกซึ้งในวิชาคณิตศาสตร์มาก

ผลงาน

ผลงานที่สำคัญของยุคลิดคือการเขียนตำราทางคณิตศาสตร์และดารศาสตร์ ผลงานบางชิ้นสูญหายไปแล้ว เช่น งานเขียนเกี่ยวกับภาคตัดกรวยที่ยุคลิดรวบรวมจากการค้นคว้าของอริสเตอุส (Aristaeus, ประมาณ 320 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเป็นนักเรขาคณิตยุคเดียวกับยุคลิด และงานเขียนเกี่ยวกับภาคตัดกรวยเช่นกันแต่เป็นผลงานของเมแนชมุส

ยุคลิดมีผลงานอย่างน้อยที่สุด 9 ชิ้น ได้แก่ Elements, Data, On Divisions (หรือ ), Pseudaria, Porissms, Conics, Phacnomena, Optics, Elements of Music แต่มีผลงานที่ ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 5 ชิ้นด้วยกัน คือ

1. Division of Figures กล่าวถึงการแบ่งรูปในระนาบ ประกอบด้วยทฤษฎีบท 36 บท เช่น ทฤษฎีบทที่ 1 ว่าด้วยการสร้างเส้นตรงให้ขนานกับฐานของสามเหลี่ยมและแบ่งสามเหลี่ยมออกเป็นสองส่วนโดยมีพื้นที่เท่ากัน เป็นต้น

2. Data เปรียบเทียบได้กับคู่มือการสอนที่ใช้ควบคู่กับหนังสือ Elements 6 เล่มแรก เนื้อหาสาระจึงเน้นที่การชี้แนะวิธีวิเคราะห์ปัญหาทางเรขาคณิต

3. Phacnomena กล่าวถึงเรขาคณิตบนทรงกลม

4. Optics กล่าวถึงการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของแสง

5. Elements เป็นตำราทางเรขาและคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านซึ่งเราจะกล่าวถึงอย่างละเอียดต่อไป

Elements ของยุคลิด

 
Euclides, 1703

ที่ต้องนำหนังสือ Elements มากล่าวเป็นกรณีพิเศษก็เนื่องจากว่าเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของยุคลิด และได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นตำราที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เป็นหนังสือที่มีคนอ่านมากที่สุดเป็นลำดับสองรองจากคำภีร์ไบเบิ้ล และถ้าไม่นับรวมคำภีร์ไบเบิ้ลแล้ว อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหนังสือเล่มใดจะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์และถูกใช้อย่างกว้างขวางเท่ากับ Elements ว่ากันว่าในทันทีที่หนังสือ Elements ออกมายุคลิดก็ได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมอย่างกว้างขวาง ทั้งที่จริง ๆ แล้วยุคลิดมีผลงานออกมาแล้วหลายเล่ม และนับตั้งแต่สมัยของยุคลิดจนกระทั่งถึงสมัยใหม่หากเพียงแต่กล่าวว่าทฤษฎีหรือบทสร้างที่เท่าใด ใน Elements เล่มไหนก็จะสร้างสามารถบอกได้ทันทีว่าทฤษฎีบทหรือบทสร้างนั้นมีใจความว่าอย่างไร

หนังสือ Elements ได้รับการปรับปรุงแก้ไขมากกว่า 1 พันครั้งและเป็นเวลานานกว่า 2 พันปีที่ Elements มีอิทธิพลต่อการสอนวิชาเรขาคณิตในสถาบันการศึกษาทั่วโลก

700 ปีหลังจากที่ยุคลิดได้เขียนหนังสือ Elements ขึ้น ธีออน (Theon, ประมาณ ค.ศ. 390) เป็นผู้ปรับปรุง Elements เป็นท่านแรก หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงอีก จนกระทั่งเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 19 

มีการค้นพบ Elements ที่ห้องสมุดสำนักวาติกัน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฉบับที่คัดลอกมาจากฉบับที่ปรับปรุงโดยธีออน บทนิยาม สัจพจน์ (ทั้ง Axioms และ Postulates) แตกต่างจากของเดิมบ้าง แต่ทฤษฎีบทและการพิสูจน์ยังคงคล้ายคลึงกับที่ยุคลิดเขียน

การแปล Elements เป็นภาษาละตินครั้งแรกมิได้แปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษากรีก แต่แปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษาอาหรับ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในสมัยที่อะเล็กซานเดรียเสื่อมลง และตกเป็นส่วนหนึ่งของโรมัน ความรู้ต่าง ๆ ถูกขนย้ายไปอยู่ทีตะวันออกกลาง และที่นั่นเองได้มีการเก็บรักษาความรู้ของชาวกรีกที่อะเล็กซานเดรีย รวมถึงการแปลหนังสือต่าง ๆ จากภาษากรีกเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลดีเพราะเป็นการเก็บรักษาความรู้ของกรีกไว้ตลอดระยะเวลาที่ยุโรปตกอยู่ในยุดมืด (Dark Age) ต่อมาหลังจากพ้นยุคมืดไปแล้วก็ได้มีนักปราชญ์หลายท่านได้แปล Elements จากภาษาอาหรับเป็นภาษาละติน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1570 Elements ภาคภาษาอังกฤษฉบับสมบูรณ์ฉบับแรกก็ไดรับการตีพิมพ์ออกมา

ลักษณะสำคัญของหนังสือ Elements

1. หนังสือ Elements ถือว่าเป็นต้นแบบของระบบคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน กล่าวคือในหนังสือ Elements ยุคลิดได้กำหนดข้อตกลงขึ้น 10 ประการ ยุคลิดเรียกข้อตกลง 5 ประการแรกว่าสัจพจน์ (Axioms) หรือคอมมอนโนชั่น (Common Notions) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เห็นได้จริงโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ในคณิตศาสตร์ทุกแขนง ส่วนข้อตกลง 5 ประการหลังยุคลิดเรียกว่าพอสจูเลต (Postulates) หมายถึงสิ่งที่เห็นได้จริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ในทางเรขาคณิต ข้อตกลงดังกล่าวมีดังนี้

A1  สิ่งทั้งหลายที่เท่ากับสิ่งเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นย่อมเท่ากัน

A2  สิ่งที่เท่ากัน เมื่อถูกเพิ่มด้วยสิ่งที่เท่ากัน ผลย่อมเท่ากัน

A3  สิ่งที่เท่ากัน เมื่อถูกหักออกด้วยสิ่งที่เท่ากัน ผลย่อมเท่ากัน

A4  สิ่งที่ทุกอย่างร่วมกันย่อมเท่ากัน

A5  ส่วนรวมย่อมใหญ่กว่าส่วนย่อย

P1  ลากเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้

P2  ต่อเส้นตรงที่มีความยาวจำกัดออกไปเรื่อย ๆ

P3  เขียนวงกลมได้เมื่อกำหนดจุดศูนย์กลางและระยะทางใด ๆ

P4  มุมฉากทุกมุมย่อมเท่ากัน

P5  ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่ง ผ่านเส้นตรง 2 เส้น ทำให้มุมภายในที่อยู่ด้านเดียวกันรวมกันน้อยกว่า 2 มุมฉาก แล้วเส้นตรงสองเส้นจะตัดกันทางด้านที่มีมุมรวมกันน้อยกว่า 2 มุมฉาก ถ้าลากเส้นนั้นต่อไปเรื่อยๆ[2]

จากข้อตกลงทั้ง 10 ประการนี้ ยุคลิดสามารถนำไปสร้างทฤษฎีบทได้ 465 ทฤษฎี โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “การสังเคราะห์” ด้วยการนำบทนิยามหรือทฤษฎีที่รู้แล้ว ประกอบกับการให้เหตุผลเชิงตรรกศาสตร์ ไปสร้างข้อสรุปหรือทฤษฎีบทใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ต่อจากนั้นจึงได้ใช้วิธีการวิเคราะห์พิสูจน์ข้อสรุปหรือทฤษฎีบทเหล่านั้นว่าเป็นจริง

2. ยุคลิดให้นิยามคำศัพท์ทุกคำที่ต้องใช้ในหนังสือ Elements เช่น คำว่าจุด เส้น ระนาบ เป็นต้น

3. การพิสูจน์ที่ปรากฏในหนังสือ Elements ยุคลิดได้พยายามใช้หลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้การพิสูจน์ทฤษฎีบทบางบท จัดได้ว่าเป็นวิธีการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ที่สละสลวยและสวยงาม จนถือเป็นแบบฉบับมาจนทุกวันนี้ เช่น การพิสูจน์ว่า จำนวนเฉพาะมีจำนวนไม่จำกัด เป็นต้น[3]

หนังสือ Elements มีทั้งหมด 13 เล่ม ซึ่งมีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรขาคณิต แต่ก็มีการกล่าวถึงพีชคณิต เรขาคณิตเชิงพีชคณิตเบื้องตน และทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นผลงานของคนอื่น แต่ทว่ายุคลิดได้นำผลงานของนักปราชญ์คนอื่น ๆ ในสมัยก่อน ๆ มารวบรวมเข้าด้วยกันอย่างมีระบบ และเป็นลำดับเหตุผลต่อเนื่องกัน ซึ่งเนื้อหาของทั้ง 13 เล่ม มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

เล่ม 1  ประกอบไปด้วยบทนิยาม 13 นิยาม สัจพจน์ 10 ข้อ ยุคลิดเรียกสัจพจน์ 5 ข้อแรกว่า Postulates และ 5 ข้อหลังเรียกว่า Common notion และทฤษฎีบทอีก 48 ทฤษฎีบท ซึ่งรวมถึงทฤษฎีปีทาโกรัสและบทกลับเอาไว้ด้วย

เล่ม 2  เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูป พื้นที่ของรูปต่าง ๆ และพีชคณิตเชิงเรขาคณิตของปีทาโกรัส

เล่ม 3  เป็นทฤษฎีบทเกี่ยวกับวงกลม คอร์ด เส้นสัมผัสวงกลมและการวัดมุมต่าง ๆ

เล่ม 4   เป็นการอภิปรายผลงานของโรงเรียนปีทาโกเรียน เรื่อง การสรางรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าโดยใช้วงเวียนและสันตรง

เล่ม 5 ยุคลิดนำแนวคิดของยูโดซุสมาอธิบายเรื่องทฤษฎีสัดส่วนได้อย่างดีเยี่ยม และนำการประยุกต์ในการหาขนาด ซึ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการค้นพบจำนวนอตรรกยะ

เล่ม 6 นำทฤษฎีสัดส่วนของยูโดซุสมาใช้กับเรขาคณิตในระนาบเกี่ยวกับทฤษฎีบทของรูปสามเหลี่ยมคล้าย

เล่ม 7 ทฤษฎีจำนวน: การจำแนกจำนวนเป็นจำนวนคู่ จำนวนคี่ จำนวนเฉพาะ และจำนวนนสมบูรณ์ (Perfect Number) ตัวหารร่วมมาและตัวคูณร่วมน้อย

เล่ม 8 สัดส่วนต่อเนื่อง

เล่ม 9   เกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนต่อจากเล่ม 7 และ 8 ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของเล่มนี้คือ จำนวนเฉพาะมีจำนวนไม่จำกัด

เล่ม 10    เกี่ยวกับเรขาคณิตที่เกี่ยวกับจำนวนอตรรกยะ

เล่ม 11    ความรู้เกี่ยวกับเรขาคณิตสามมิติที่สมนัยกับเล่ม 1

เล่ม 12    เรื่องปริมาตรและทฤษฎีบทของยูโดซุสเกี่ยวกับระเบียบวิธีเกษียณ (Method of exhaustion) ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่เรื่องลิมิต (Limit)

เล่ม 13    เกี่ยวกับการสร้างรูปทรงสามมิติ

ปิดท้าย

แม้ว่ายุคลิดจะไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่สร้างสรรค์งานทางคณิตศาสตร์ขึ้นใหม่ แต่งานที่เขารวบรวมขึ้นอย่างเป็นระบบ กลับกลายเป็นผลงานที่มีผลกระทบต่อมนุษยชาติมามากกว่า 2000 ปี โดยเฉพาะทางด้านเรขาคณิต จึงไม่น่าแปลกถ้าหากเราไปอ่านหนังสือบางเล่ม จะกล่าวยกย่องว่ายุคลิด คือ บิดาแห่งวิชาเรขาคณิต

[1] ปีที่มีชีวิตอยู่ของนักคณิตศาสตร์ในหนังสือและเอกสารหลายเล่มไม่ตรงกัน ในที่นี่จะยึดตามหนังสือ An Introduction to the History of Mathematics ของ Howard Eves

[2] ถึงกับมีการกล่าวว่าสัจพจน์ข้อนี้เป็นข้อความที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติและพัฒนาการของวิทยาศาสตร์

[3] สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานเขียนของ ดร.กิตติกร  นาคประสิทธิ์ และ ผศ.ดร.สาธิต  แซ่จึง เรื่องมีจำนวนเฉพาะอยู่เป็นอนันต์  ในนิตยสาร My Math ตั้งแต่ปีที่ 2 ฉบับ 3 (มีนาคม 2549)

เอกสารประกอบการเรียบเรียง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน. ภาควิชาคณิตศาสตร์. (2530). ประวัตินักคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาศึกษาศาสตร์. (2543). เอกสารการสอนชุดวิชาคณิตศาสตร์ 4 หน่วยที่ 1–8 = Mathematics 4. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). ศัพท์คณิตศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สมพร เรืองโชติวิทย์. (2523). รากฐานเรขาคณิต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.

อัควีร์ มัธยมจันทร์. (2544, พฤศจิกายน). “เปิดปูมประวัติคณิตศาสตร์,” อัปเดต. 17(171): 34–37.

Bruno, Leonard C. (1999). Math and Mathematicians: the History of Math Discoveries Around the World. Detroit: U–X–L.

Eves, Haward. (1964). An Introduction to the History of Mathematics. New York: Holt Rinehort and Winston.

O'Connor, J. J. and Robertson, E. F. (Access on September 2002). Euclid of Alexandria (Online). Available: URL http://www-groups.dcs.st-and.ac.uk/~history/Mathematicians/

Euclid.html.

 
ยุคลิดแห่งอเล็กซานเดรีย

ยุคลิด (อังกฤษ: Euclid) หรือ ยุคลิดแห่งอเล็กซานเดรีย เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่ประมาณพ.ศ. 218 ได้กล่าวถึงการหา ห.ร.ม. หรือ ตัวหารร่วมมาก ของจำนวนนับ 2 จำนวนที่มีค่ามากอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า ขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด

หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสน เพราะมีผู้เขียนไว้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยุคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Element หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี

ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตรรกยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม

ผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก และกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่อง และดำเนินมาก่อนแล้วในเรื่องผลงานของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น ทาลีส (Thales), ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และพีธากอรัส อย่างไรก็ตาม หลายผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง ผลงานของยูคลิดที่ได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีกมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน

อ้างอิง

  • "Euclid (Greek mathematician)". Encyclopædia Britannica, Inc. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  • Artmann, Benno (1999). Euclid: The Creation of Mathematics. New York: Springer. ISBN 0-387-98423-2.
  • Ball, W.W. Rouse (1960) [1908]. A Short Account of the History of Mathematics (4th ed.). Dover Publications. pp. 50–62. ISBN 0-486-20630-0.
  • Boyer, Carl B. (1991). A History of Mathematics (2nd ed.). John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0-471-54397-7.
  • Heath, Thomas (ed.) (1956) [1908]. The Thirteen Books of Euclid's Elements. 1. Dover Publications. ISBN 0-486-60088-2.CS1 maint: extra text: authors list (link)
  • Heath, Thomas L. (1908), "Euclid and the Traditions About Him", in Euclid, Elements (Thomas L. Heath, ed. 1908), 1:1–6, at Perseus Digital Library.
  • Heath, Thomas L. (1981). A History of Greek Mathematics, 2 Vols. New York: Dover Publications. ISBN 0-486-24073-8 / ISBN 0-486-24074-6.
  • Kline, Morris (1980). Mathematics: The Loss of Certainty. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-502754-X.
  • แม่แบบ:MacTutor Biography
  • Proclus, A commentary on the First Book of Euclid's Elements, translated by Glenn Raymond Morrow, Princeton University Press, 1992. ISBN 978-0-691-02090-7.
  • Struik, Dirk J. (1967). A Concise History of Mathematics. Dover Publications. ISBN 486-60255-9 Check |isbn= value: length (help).

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • DeLacy, Estelle Allen (1963). Euclid and Geometry. New York: Franklin Watts.
  • Knorr, Wilbur Richard (1975). The Evolution of the Euclidean Elements: A Study of the Theory of Incommensurable Magnitudes and Its Significance for Early Greek Geometry. Dordrecht, Holland: D. Reidel. ISBN 90-277-0509-7.
  • Mueller, Ian (1981). Philosophy of Mathematics and Deductive Structure in Euclid's Elements. Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 0-262-13163-3.
  • Reid, Constance (1963). A Long Way from Euclid. New York: Crowell.
  • Szabó, Árpád (1978). The Beginnings of Greek Mathematics. A.M. Ungar, trans. Dordrecht, Holland: D. Reidel. ISBN 90-277-0819-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Euclid's Elements, All thirteen books, with interactive diagrams using Java. Clark University
  • Euclid's Elements, with the original Greek and an English translation on facing pages (includes PDF version for printing). University of Texas.
  • Euclid's Elements, books I-VI, in English pdf, in a Project Gutenberg Victorian textbook edition with diagrams.
  • Euclid's Elements, All thirteen books, in several languages as Spanish, Catalan, English, German, Portuguese, Arabic, Italian, Russian and Chinese.
  • Elementa Geometriae 1482, Venice. From Rare Book Room.
  • Elementa 888 AD, Byzantine. From Rare Book Room.
  • Euclid biography by Charlene Douglass With extensive bibliography.
  • Texts on Ancient Mathematics and Mathematical Astronomy PDF scans (Note: many are very large files). Includes editions and translations of Euclid's Elements, Data, and Optica, Proclus's Commentary on Euclid, and other historical sources.

คล, แห, งอะเล, กซานเดร, งกฤษ, euclid, alexandria, ประมาณ, อนคร, สต, กราช, เป, นน, กคณ, ตศาสตร, อเส, ยงชาวกร, เน, อหา, ประว, เร, องเล, าเก, ยวก, ผลงาน, elements, ของ, กษณะสำค, ญของหน, งส, elements, างอ, หน, งส, ออ, านเพ, แหล, งข, อม, ลอ, นประว, แก, ไขเป, นท, าเ. yukhlidaehngxaelksanedriy xngkvs Euclid of Alexandria praman 325 270 pikxnkhristskrach epnnkkhnitsastrthimichuxesiyngchawkrik enuxha 1 prawti 2 eruxngelaekiywkbyukhlid 3 phlngan 4 Elements khxngyukhlid 5 lksnasakhykhxnghnngsux Elements 6 xangxing 7 hnngsuxxanephim 8 aehlngkhxmulxunprawti aekikhepnthinaesiydayehluxekinthierarueruxngrawtang thiekiywkhxngkbchiwitaelabukhlikphaphkhxngyukhlidnxymak ruaekhephiyngwathanekhyepnsastracarydankhnitsastr professor of mathematics khxngmhawithyalyxaelksanedriy University of Alexandria txcakephlot aelakxnhna xarkhimidis aelaidichchiwitxyuthixaelksanedriyepnewlananrwmthungepnphukxtngsankkhnitsastraehngxaelksanedriy Alexandria School of Mathematics khundwy sungsankaehngnikmichuxesiyngtxmaxikepnewlananmihlkthanxikxyanghnungthithaiheraechuxidwayukhlidekhyidrbkarsuksathangdankhnitsastrthisankephlot Platonic School thikrungexethns Athens makxn aelamaxyuthixaelksanedriyphayhlngcakthiphraecaxaelksanedxrmharach Alexander the Great praman 359 323 pikxnkhristskrach idsrangemuxngxaelksanedriykhun aelathankmichuxesiyngaephrhlayinrchsmyotelmithi 1 phraecaosetxr Ptolemy I Sotor praman 367 282 pikxnkhristskrach sungphraecaotelmithi 1 niexngthithrngepnphusrangmhawithyalyxaelksanedriykhunemuxpraman 300 pikxnkhristskrach odymiwtthuprasngkhephuxtxngkarthicachdcungkhnthimikarsuksadimaxyuinemuxngni aelamhawithyalyaehngniknbidwaepnsthabnkarsuksaaehngaerkthimilksnakhlaykhlungkbmhawithyalyinpccubnmakthisud mithnghxngbrryay hxngthdlxng swn phiphithphnth hxngsmudaelathixyukhxngecahnathi aetsingthisakhythisudkhuxhxngsmud sungsrangiwidxyangihyotmak aelanbwaepnthiekbrwbrwmphlnganthiichinkarsuksainmhawithyalyepncanwnmak dngthimikhaklawepriybeprywa phayinrayaewla 40 pinbtngaetmikarktnghxngsmudmaethannkmimwnkradaspapirus papyrus rolls makkwa 6 mwn aelaxaelksanedriykklayepnsunyklangthangdanwichakar Intellectual metropolis khxngchawkriktidtxknmaeruxngelaekiywkbyukhlid aekikhpppus Pappus praman kh s 300 nkkhnitsastrthimichuxesiyngxikthanhnungekhyykyxngyukhlidiwwa emuxepriybethiybkbxaoploleniys Apollonius of Perga praman 225 pikxnkhristskrach aelw yukhlidchangepnkhnthithxmtnaelanukthungkhnxun xyuesmx oprkhlus Proclus kh s 410 485 idelaeruxngrawekiywkbyukhlidinhnngsux Eudemian Summary wa emuxyukhlididepnphraxacarywichaerkhakhnitinphraecathxelmithi 1 phraxngkhmirbsngthamyukhlidwa mithangldsahrbkareriynwichaerkhakhnitihm yukhlidthultxbwa immiladphrabathsahrbkareriynerkhakhnit There is no royal road to geometry klawkhux karsuksawichaerkhakhnitimichsingthisadwksbayaelathaidngay aetmibangkhnklawwakhaphudniepnkhaphudkhxngemaenchmus Menaechmus praman 350 pikxnkhristskrach emuxthultxbphraecaxaelksanedxrmharachemuxmiluksisykhnhnungthamyukhlidinrahwangthieriynerkhakhnitwa eracaidxairepnphltxbaethnbangcakkareriynsingthiyakehlani What will I get by learning difficult thing sungkhathamnikhngcahmaykhwamwacanakhwamruthangerkhakhnitipichpraoychnxairidbang ephraaerkhakhnitthiyukhlidsxnnnmiaetkarphisucnaelakarihehtuphl sungepnkaryakthiyukhlidcatxbidinthnthithnid thancungsngihthasiphyibehriyyengin 2 oxpxlma 1 ehriyymxbihaekluksisykhnnnaelatxbwa ecacatxngidrbkairhruxpraoychncaksingthieriynruaennxn for he must make a profit from what he learns thiyukhlidklawechnnnephuxaesdngihehnwainkareriynwichakhnitsastrimmithangld aelaimsamartheriynhruxfukhdaethnknid phueriyncatxngphxicaelarkinwichakhnitsastrephraatwwichakhnitsastrexngcakeruxngthielamaniaesdngihehnwa yukhlidepnphuthimikhwamrxbruaelamikhwamxdthn aelaepnkhruthidi epnnkxnurks epnphuthixuthisewlaihkbkarsuksakhnitsastr aelaepnphuthimikhwamluksunginwichakhnitsastrmakphlngan aekikhphlnganthisakhykhxngyukhlidkhuxkarekhiyntarathangkhnitsastraeladarsastr phlnganbangchinsuyhayipaelw echn nganekhiynekiywkbphakhtdkrwythiyukhlidrwbrwmcakkarkhnkhwakhxngxrisetxus Aristaeus praman 320 pikxnkhristskrach sungepnnkerkhakhnityukhediywkbyukhlid aelanganekhiynekiywkbphakhtdkrwyechnknaetepnphlngankhxngemaenchmusyukhlidmiphlnganxyangnxythisud 9 chin idaek Elements Data On Divisions hrux Pseudaria Porissms Conics Phacnomena Optics Elements of Music aetmiphlnganthi yngkhngehluxxyuinpccubn 5 chindwykn khux1 Division of Figures klawthungkaraebngrupinranab prakxbdwythvsdibth 36 bth echn thvsdibththi 1 wadwykarsrangesntrngihkhnankbthankhxngsamehliymaelaaebngsamehliymxxkepnsxngswnodymiphunthiethakn epntn2 Data epriybethiybidkbkhumuxkarsxnthiichkhwbkhukbhnngsux Elements 6 elmaerk enuxhasaracungennthikarchiaenawithiwiekhraahpyhathangerkhakhnit3 Phacnomena klawthungerkhakhnitbnthrngklm4 Optics klawthungkarsuksaekiywkbpraktkarnkhxngaesng5 Elements epntarathangerkhaaelakhnitsastrthimichuxesiyngthisudkhxngthansungeracaklawthungxyanglaexiydtxipElements khxngyukhlid aekikh Euclides 1703 thitxngnahnngsux Elements maklawepnkrniphiesskenuxngcakwaepnhnngsuxthimichuxesiyngmakthisudkhxngyukhlid aelaidrbkarklawkhwywaepntarathisakhythisudelmhnunginprawtisastrkhxngmwlmnusychati epnhnngsuxthimikhnxanmakthisudepnladbsxngrxngcakkhaphiribebil aelathaimnbrwmkhaphiribebilaelw xacklawidwaimmihnngsuxelmidcamixiththiphltxwithichiwitkhxngmnusyaelathukichxyangkwangkhwangethakb Elements waknwainthnthithihnngsux Elements xxkmayukhlidkidrbkarklawthungxyangchunchmxyangkwangkhwang thngthicring aelwyukhlidmiphlnganxxkmaaelwhlayelm aelanbtngaetsmykhxngyukhlidcnkrathngthungsmyihmhakephiyngaetklawwathvsdihruxbthsrangthiethaid in Elements elmihnkcasrangsamarthbxkidthnthiwathvsdibthhruxbthsrangnnmiickhwamwaxyangirhnngsux Elements idrbkarprbprungaekikhmakkwa 1 phnkhrngaelaepnewlanankwa 2 phnpithi Elements mixiththiphltxkarsxnwichaerkhakhnitinsthabnkarsuksathwolk700 pihlngcakthiyukhlididekhiynhnngsux Elements khun thixxn Theon praman kh s 390 epnphuprbprung Elements epnthanaerk hlngcaknnkmikarprbprungxik cnkrathngerimkhriststwrrsthi 19 mikarkhnphb Elements thihxngsmudsankwatikn sungechuxknwaepnchbbthikhdlxkmacakchbbthiprbprungodythixxn bthniyam scphcn thng Axioms aela Postulates aetktangcakkhxngedimbang aetthvsdibthaelakarphisucnyngkhngkhlaykhlungkbthiyukhlidekhiynkaraepl Elements epnphasalatinkhrngaerkmiidaeplcaktnchbbthiepnphasakrik aetaeplcaktnchbbthiepnphasaxahrb ehtuthiepnechnniephraawainsmythixaelksanedriyesuxmlng aelatkepnswnhnungkhxngormn khwamrutang thukkhnyayipxyuthitawnxxkklang aelathinnexngidmikarekbrksakhwamrukhxngchawkrikthixaelksanedriy rwmthungkaraeplhnngsuxtang cakphasakrikepnphasaxahrb sungepnphldiephraaepnkarekbrksakhwamrukhxngkrikiwtlxdrayaewlathiyuorptkxyuinyudmud Dark Age txmahlngcakphnyukhmudipaelwkidminkprachyhlaythanidaepl Elements cakphasaxahrbepnphasalatin cnkrathngpi kh s 1570 Elements phakhphasaxngkvschbbsmburnchbbaerkkidrbkartiphimphxxkmalksnasakhykhxnghnngsux Elements aekikh1 hnngsux Elements thuxwaepntnaebbkhxngrabbkhnitsastrinpccubn klawkhuxinhnngsux Elements yukhlididkahndkhxtklngkhun 10 prakar yukhlideriykkhxtklng 5 prakaraerkwascphcn Axioms hruxkhxmmxnonchn Common Notions sunghmaythungsingthiehnidcringodyimtxngmikarphisucninkhnitsastrthukaekhnng swnkhxtklng 5 prakarhlngyukhlideriykwaphxscuelt Postulates hmaythungsingthiehnidcringodyimtxngphisucninthangerkhakhnit khxtklngdngklawmidngniA1 singthnghlaythiethakbsingediywkn singehlannyxmethaknA2 singthiethakn emuxthukephimdwysingthiethakn phlyxmethaknA3 singthiethakn emuxthukhkxxkdwysingthiethakn phlyxmethaknA4 singthithukxyangrwmknyxmethaknA5 swnrwmyxmihykwaswnyxyP1 lakesntrngcakcudhnungipyngxikcudhnungidP2 txesntrngthimikhwamyawcakdxxkiperuxy P3 ekhiynwngklmidemuxkahndcudsunyklangaelarayathangid P4 mumchakthukmumyxmethaknP5 thaesntrngesnhnung phanesntrng 2 esn thaihmumphayinthixyudanediywknrwmknnxykwa 2 mumchak aelwesntrngsxngesncatdknthangdanthimimumrwmknnxykwa 2 mumchak thalakesnnntxiperuxy 2 cakkhxtklngthng 10 prakarni yukhlidsamarthnaipsrangthvsdibthid 465 thvsdi odyichwithikarthieriykwa karsngekhraah dwykarnabthniyamhruxthvsdithiruaelw prakxbkbkarihehtuphlechingtrrksastr ipsrangkhxsruphruxthvsdibthihmthimikhwamsbsxnmakkhun txcaknncungidichwithikarwiekhraahphisucnkhxsruphruxthvsdibthehlannwaepncring2 yukhlidihniyamkhasphththukkhathitxngichinhnngsux Elements echn khawacud esn ranab epntn3 karphisucnthipraktinhnngsux Elements yukhlididphyayamichhlkeknthxyangekhrngkhrd nxkcaknikarphisucnthvsdibthbangbth cdidwaepnwithikarihehtuphlechingkhnitsastrthislaslwyaelaswyngam cnthuxepnaebbchbbmacnthukwnni echn karphisucnwa canwnechphaamicanwnimcakd epntn 3 hnngsux Elements mithnghmd 13 elm sungmienuxhaswnihyekiywkberkhakhnit aetkmikarklawthungphichkhnit erkhakhnitechingphichkhnitebuxngtn aelathvsdicanwnebuxngtn enuxhaswnihyepnphlngankhxngkhnxun aetthwayukhlididnaphlngankhxngnkprachykhnxun insmykxn marwbrwmekhadwyknxyangmirabb aelaepnladbehtuphltxenuxngkn sungenuxhakhxngthng 13 elm miraylaexiydodysngekhpdngnielm 1 prakxbipdwybthniyam 13 niyam scphcn 10 khx yukhlideriykscphcn 5 khxaerkwa Postulates aela 5 khxhlngeriykwa Common notion aelathvsdibthxik 48 thvsdibth sungrwmthungthvsdipithaokrsaelabthklbexaiwdwyelm 2 ekiywkbkarepliynrup phunthikhxngruptang aelaphichkhnitechingerkhakhnitkhxngpithaokrselm 3 epnthvsdibthekiywkbwngklm khxrd esnsmphswngklmaelakarwdmumtang elm 4 epnkarxphiprayphlngankhxngorngeriynpithaokeriyn eruxng karsrangruphlayehliymdanethaodyichwngewiynaelasntrngelm 5 yukhlidnaaenwkhidkhxngyuodsusmaxthibayeruxngthvsdisdswnidxyangdieyiym aelanakarprayuktinkarhakhnad sungaekpyhathiekidkhuncakkarkhnphbcanwnxtrrkyaelm 6 nathvsdisdswnkhxngyuodsusmaichkberkhakhnitinranabekiywkbthvsdibthkhxngrupsamehliymkhlayelm 7 thvsdicanwn karcaaenkcanwnepncanwnkhu canwnkhi canwnechphaa aelacanwnnsmburn Perfect Number twharrwmmaaelatwkhunrwmnxyelm 8 sdswntxenuxngelm 9 ekiywkbthvsdicanwntxcakelm 7 aela 8 thvsdithimichuxesiyngkhxngelmnikhux canwnechphaamicanwnimcakdelm 10 ekiywkberkhakhnitthiekiywkbcanwnxtrrkyaelm 11 khwamruekiywkberkhakhnitsammitithismnykbelm 1elm 12 eruxngprimatraelathvsdibthkhxngyuodsusekiywkbraebiybwithieksiyn Method of exhaustion sungepnphunthannaipsueruxnglimit Limit elm 13 ekiywkbkarsrangrupthrngsammitipidthayaemwayukhlidcaimidepnnkkhnitsastrthisrangsrrkhnganthangkhnitsastrkhunihm aetnganthiekharwbrwmkhunxyangepnrabb klbklayepnphlnganthimiphlkrathbtxmnusychatimamakkwa 2000 pi odyechphaathangdanerkhakhnit cungimnaaeplkthahakeraipxanhnngsuxbangelm caklawykyxngwayukhlid khux bidaaehngwichaerkhakhnit 1 pithimichiwitxyukhxngnkkhnitsastrinhnngsuxaelaexksarhlayelmimtrngkn inthinicayudtamhnngsux An Introduction to the History of Mathematics khxng Howard Eves 2 thungkbmikarklawwascphcnkhxniepnkhxkhwamthimichuxesiyngmakthisudinprawtiaelaphthnakarkhxngwithyasastr 3 samarthxanephimetimidcaknganekhiynkhxng dr kittikr nakhprasiththi aela phs dr sathit aescung eruxngmicanwnechphaaxyuepnxnnt innitysar My Math tngaetpithi 2 chbb 3 minakhm 2549 exksarprakxbkareriyberiyngmhawithyalysrinkhrinthrwiorth bangekhn phakhwichakhnitsastr 2530 prawtinkkhnitsastr krungethph smakhmkhnitsastraehngpraethsithy inphrabrmrachupthmph mhawithyalysuokhthythrrmathirach sakhasuksasastr 2543 exksarkarsxnchudwichakhnitsastr 4 hnwythi 1 8 Mathematics 4 phimphkhrngthi 7 nnthburi sankphimphmhawithyalysuokhthythrrmathirach rachbnthitysthan 2540 sphthkhnitsastrchbbrachbnthitysthan phimphkhrngthi 7 krungethph rachbnthitysthan smphr eruxngochtiwithy 2523 rakthanerkhakhnit krungethph phakhwichakhnitsastr khnawithyasastr mhawithyalysrinkhrinthrwiorth bangekhn xkhwir mthymcnthr 2544 phvscikayn epidpumprawtikhnitsastr xpedt 17 171 34 37 Bruno Leonard C 1999 Math and Mathematicians the History of Math Discoveries Around the World Detroit U X L Eves Haward 1964 An Introduction to the History of Mathematics New York Holt Rinehort and Winston O Connor J J and Robertson E F Access on September 2002 Euclid of Alexandria Online Available URL http www groups dcs st and ac uk history Mathematicians Euclid html yukhlidaehngxelksanedriy yukhlid xngkvs Euclid hrux yukhlidaehngxelksanedriy epnnkkhnitsastrchawkrikthimichiwitxyupramanph s 218 idklawthungkarha h r m hrux twharrwmmak khxngcanwnnb 2 canwnthimikhamakxyangrwderw sunginpccubneriykwa khntxnwithiaebbyukhlidhlkthanaelaeruxngrawekiywkbtwyukhlidyngkhngsbsn ephraamiphuekhiyniwhlayrupaebb xyangirktamphlnganeruxng The Elements yngkhnghlngehluxxyucnthungthukwnni cakhlkthanthisbsnthaihsnnisthanthiekiywkbyukhlidmihlayaenwthang echn yukhlidepnbukhkhlthiekhiyneruxng The Element hruxyukhlidepnhwhnathimnkkhnitsastrthixasyxyuthixelksanedriy aelaidchwyknekhiyneruxng The Elements xyangirkdiswnihykmnicwayukhlidmitwtncring aelaepnprachyxcchriyathangdankhnitsastrthimichiwitinyukhkwa 2 000 piphlngan The Elements aebngxxkepnhnngsuxid 13 elm in 6 elmaerkepnphlnganekiywkberkhakhnit elm 7 8 aela 9 epneruxngrawekiywkbthvsditwelkh elm 10 epneruxngrawekiywkbthvsdithiwadwycanwnxtrrkya elm 11 12 aela 13 ekiywkhxngkberuxngraw ruperkhakhnitthrngtn aelapidthaydwykarklawthungrupthrnghlayehliym aelakhxphisucnekiywkbrupthrnghlayehliymphlngankhxngyukhlidepnthiyxmrbxyangkwangkhwangmak aelaklawknwaphlngan The Elements epnphlnganthitxenuxng aeladaeninmakxnaelwineruxngphlngankhxngnkkhnitsastryukhkxn echn thalis Thales hipopekhrtis Hippocrates aelaphithakxrs xyangirktam hlayphlnganthimiinhnngsuxniepnthiechuxknwaepnbthphisucnaelaphlngankhxngyukhlidexng phlngankhxngyukhlidthiidrbkarnamacdthaihm aelatiphimphephyaephrkhrngaerkinpi kh s 1482 hlngcaknnmiphunamatiphimphxikmakmaynbcanwnkhrngimthwnxangxing aekikh Euclid Greek mathematician Encyclopaedia Britannica Inc 2008 subkhnemux 2008 04 18 Artmann Benno 1999 Euclid The Creation of Mathematics New York Springer ISBN 0 387 98423 2 Ball W W Rouse 1960 1908 A Short Account of the History of Mathematics 4th ed Dover Publications pp 50 62 ISBN 0 486 20630 0 Boyer Carl B 1991 A History of Mathematics 2nd ed John Wiley amp Sons Inc ISBN 0 471 54397 7 Heath Thomas ed 1956 1908 The Thirteen Books of Euclid s Elements 1 Dover Publications ISBN 0 486 60088 2 CS1 maint extra text authors list link Heath Thomas L 1908 Euclid and the Traditions About Him in Euclid Elements Thomas L Heath ed 1908 1 1 6 at Perseus Digital Library Heath Thomas L 1981 A History of Greek Mathematics 2 Vols New York Dover Publications ISBN 0 486 24073 8 ISBN 0 486 24074 6 Kline Morris 1980 Mathematics The Loss of Certainty Oxford Oxford University Press ISBN 0 19 502754 X aemaebb MacTutor Biography Proclus A commentary on the First Book of Euclid s Elements translated by Glenn Raymond Morrow Princeton University Press 1992 ISBN 978 0 691 02090 7 Struik Dirk J 1967 A Concise History of Mathematics Dover Publications ISBN 486 60255 9Check isbn value length help hnngsuxxanephim aekikhDeLacy Estelle Allen 1963 Euclid and Geometry New York Franklin Watts Knorr Wilbur Richard 1975 The Evolution of the Euclidean Elements A Study of the Theory of Incommensurable Magnitudes and Its Significance for Early Greek Geometry Dordrecht Holland D Reidel ISBN 90 277 0509 7 Mueller Ian 1981 Philosophy of Mathematics and Deductive Structure in Euclid s Elements Cambridge MA MIT Press ISBN 0 262 13163 3 Reid Constance 1963 A Long Way from Euclid New York Crowell Szabo Arpad 1978 The Beginnings of Greek Mathematics A M Ungar trans Dordrecht Holland D Reidel ISBN 90 277 0819 3 aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb yukhlidEuclid s Elements All thirteen books with interactive diagrams using Java Clark University Euclid s Elements with the original Greek and an English translation on facing pages includes PDF version for printing University of Texas Euclid s Elements books I VI in English pdf in a Project Gutenberg Victorian textbook edition with diagrams Euclid s Elements All thirteen books in several languages as Spanish Catalan English German Portuguese Arabic Italian Russian and Chinese Elementa Geometriae 1482 Venice From Rare Book Room Elementa 888 AD Byzantine From Rare Book Room Euclid biography by Charlene Douglass With extensive bibliography Texts on Ancient Mathematics and Mathematical Astronomy PDF scans Note many are very large files Includes editions and translations of Euclid s Elements Data and Optica Proclus s Commentary on Euclid and other historical sources bthkhwamekiywkbchiwprawtiniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmulekhathungcak https th wikipedia org w index php title yukhlid amp oldid 9391548, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม