fbpx
วิกิพีเดีย

การรับรู้อากัปกิริยา

การรับรู้อากัปกิริยา หรือการรู้ตำแหน่งข้อและการเคลื่อนไหว (อังกฤษ: proprioception มาจากคำว่า "proprius" ซึ่งแปลว่า "ของตน" หรือ "แต่ละบุคคล" และคำว่า "perception" ซึ่งแปลว่า "การรับรู้") เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่ง (limb position sense) และเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย (kinesthesia หรือ motion sense) ที่ไม่สืบเนื่องกับการมองเห็น เป็นกระบวนการที่ต่างจาก exteroception ซึ่งเป็นการที่บุคคลรับรู้ตัวกระตุ้นภายนอกร่างกาย และ interoception ซึ่งเป็นการที่บุคคลรับรู้ความรู้สึกเป็นต้นว่า ความเจ็บปวดและความหิว และการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน

ซีรีบรัมเป็นส่วนในสมองที่มีหน้าที่ประสานงานเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยา

ประวัติ

ควมรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับการพรรณนาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1557 โดยจูเลียส ซีซาร์ สคาลิเกอร์ ว่าเป็น "การรับรู้ความเคลื่อนไหว" (sense of locomotion) ในปี ค.ศ. 1826 ชาลส์ เบ็ลล์ พรรณนาความคิดของเขาในเรื่องของการรับรู้ในกล้ามเนื้อ ซึ่งได้รับเครดิตว่า เป็นงานวิจัยงานแรกที่พรรณนาถึงกลไกที่ส่งข้อมูลทางกายภาพแบบป้อนกลับไปยังสมอง ความคิดของเบ็ลล์ก็คือการสั่งงานเกิดขึ้นในสมองแล้วส่งไปที่กล้ามเนื้อ และรายงานเกี่ยวกับสภาพกล้ามเนื้อก็จะส่งกลับไปที่สมอง

ในปี ค.ศ. 1880 เฮ็นรี ชาลส์ตัน บาสเชียน เสนอว่าคำว่า "การรับรู้การเคลื่อนไหว (kinaesthesia)" แทนคำว่า "การรับรู้ในกล้ามเนื้อ (muscle sense)" เพราะเหตุว่า ข้อมูลที่ส่งไปทางใยประสาทนำเข้ากลับไปยังสมอง มาจากโครงสร้างอื่น ๆ นอกจากกล้ามเนื้อ รวมทั้งเส้นเอ็น ข้อต่อ และผิวหนัง

ในปี ค.ศ. 1889 แอลเฟร็ด โกลด์เชเดอร์ เสนอการแบ่งประเภทของการรับรู้การเคลื่อนไหวออกเป็น 3 อย่างรวมทั้ง ความรู้สึกในกล้ามเนื้อ ความรู้สึกในเส้นเอ็น และความรู้สึกเกี่ยวกับข้อต่อ

ในปี ค.ศ. 1906 ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน พิมพ์ผลงานชิ้นสำคัญที่เสนอศัพท์ของกระบวนการรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งคำว่า "proprioception" "interoception" และ "exteroception" exteroceptor เป็นอวัยวะมีหน้าที่สร้างข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะภายนอกร่างกายรวมทั้ง ตา หู ปาก และผิวหนัง ส่วน interoceptor สร้างข้อมูลเกี่ยวกับอวัยวะภายใน ในขณะที่คำว่า proprioception (คือการรับรู้อากัปกิริยา) หมายถึงความสำนึกรู้การเคลื่อนไหวที่ได้มาจากข้อมูลทางกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ เพราะการแบ่งประเภทโดยวิธีนี้ นักสรีรวิทยาและนักกายวิภาคศาสตร์จึงได้สืบต่อการค้นหาปลายประสาทที่มีกิจหน้าที่โดยเฉพาะในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อต่อและความตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ (เช่นปลายประสาทที่เรียกว่า muscle spindle และ Pacinian corpuscles เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า muscle spindle มีบทบาทที่สำคัญในการรับรู้อากัปกิริยา เพราะ ปลายประสาทที่สำคัญที่สุดของ muscle spindle ตอบสนองต่อระดับความเปลี่ยนแปลงของความยาวและความเร็วในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ดังนั้น จึงมีบทบาทในการรับรู้ทั้งตำแหน่งทั้งการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ส่วนปลายประสาทที่สำคัญรองลงมา ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ และดังนั้น จึงส่งข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ตำแหน่งของอวัยวะเพียงเท่านั้น โดยย่อ ๆ แล้ว muscle spindle ก็คือ ปลายประสาทรับรู้การขยายออกของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นแล้ว ก็เป็นที่ยอมรับว่า ปลายประสาทรับความรู้สึกที่ผิวหนังคือ cutaneous receptor ก็มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับรู้อากัปกิริยา โดยให้ข้อมูลการรับรู้ที่แม่นยำเกี่ยวกับตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของข้อต่อ รวมเข้าไปกับข้อมูลที่มาจาก muscle spindle

องค์ประกอบ

การรับรู้การเคลื่อนไหว

การรับรู้การเคลื่อนไหว (อังกฤษ: kinesthesia หรือ kinaesthetic หรือ motion sense) ซึ่งเป็นองค์ประกอบแรกในการรับรู้อากัปกิริยา เป็นความสำนึกรู้การเคลื่อนไหวรวมทั้งตำแหน่งของอวัยวะในร่างกาย โดยใช้อวัยวะรับรู้ความรู้สึกที่เรียกว่า ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา หรือ ตัวรู้อากัปกิริยา (อังกฤษ: proprioceptor) ในข้อต่อและกล้ามเนื้อ การค้นพบการรับรู้การเคลื่อนไหว เป็นส่วนเบื้องแรกของศึกษาการรับรู้อากัปกิริยา และถึงแม้ว่าคำว่า การรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) และการรับรู้ความเคลื่อนไหว (kinesthesia) มักจะใช้แทนกันและกัน แต่ว่า ตามความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเหล่านั้นมีองค์ประกอบที่ต่างกันหลายอย่าง

อย่างแรกก็คือ การรับรู้การเคลื่อนไหวไม่รวมการรับรู้การทรงตัวหรือความสมดุล (equilibrium หรือ balance) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากหูชั้นใน เป็นองค์ประกอบ ต่างจากการรับรู้อากัปกิริยาซึ่งรวมข้อมูลเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น ความอักเสบของหูชั้นในอาจจะทำความรู้สึกความสมดุลให้เสียหาย ดังนั้น ก็ทำให้การรับรู้อากัปกิริยาให้เสียหาย แต่ไม่ทำการรับรู้ความเคลื่อนไหวให้เสียหาย (เพราะนิยามของการรับรู้ความเคลื่อนไหว ไม่รวมการรับรู้การทรงตัวว่าเป็นองค์ประกอบ) ผู้ที่มีความเสียหายอย่างนี้ สามารถจะเดินได้โดยต้องอาศัยการเห็นเพื่อทรงตัว คือบุคคลนั้นจะไม่สามารถเดินได้โดยปิดตา

ความแตกต่างอีกอย่างก็คือ การรับรู้การเคลื่อนไหวพุ่งความสนใจไปที่การเคลื่อนไหวของร่างกาย ในขณะที่การรับรู้อากัปกิริยาเป็นความสำนึกในการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การรับรู้การเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม (behavioral) มากกว่า ในขณะที่การรับรู้อากัปกิริยาเกี่ยวข้องกับการรับรู้ (cognitive) มากกว่า

การรับรู้การเคลื่อนไหวหมายเอาการเคลื่อนไหวทั้งที่ทำเองและคนอื่นทำให้ (เช่นขยับแขนขาให้ไปที่อื่น)

การรับรู้ตำแหน่งข้อต่อ

องค์ประกอบสำคัญรองลงมาของการรับรู้อากัปกิริยาก็คือ การรับรู้ตำแหน่งข้อต่อ (อังกฤษ: joint position sense ตัวย่อ JPS) ซึ่งวัดได้โดยการให้ผู้รับการทดสอบจับคู่ตำแหน่งของข้อต่อ ที่จะกล่าวถึงต่อไป

บ่อยครั้ง มักเข้าใจว่า ความสามารถในการรับรู้ความเคลื่อนไหวและในการรับรู้ตำแหน่งข้อต่อ ทั้งสองอย่างนั้นมีความสัมพันธ์กัน แต่จริง ๆ แล้ว หลักฐานแสดงว่า ความสามารถทั้งสองอย่างนั้น ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างสำคัญ[ต้องการอ้างอิง] นี้บอกเป็นนัยว่า แม้ความสามารถเหล่านั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยาเหมือนกัน แต่ก็เกิดจากระบบทางกายภาพที่ต่างกัน

การรับรู้ความเคลื่อนไหว มีองค์ประกอบที่สำคัญของทักษะการเคลื่อนไหวกายด้วยกล้ามเนื้อ (muscle memory) และทักษะการประสานงานระหว่างมือและตา การฝึกหัด (หรือการหัดซ้อม) สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ อีกอย่างหนึ่ง ความสามารถในการหวดไม้กอล์ฟหรือในการรับลูกบอล ขาดการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีไม่ได้ นั่นก็คือ การรับรู้อากัปกิริยาต้องทำให้เป็นอัตโนมัติผ่านการฝึก เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้บุคคลใส่ใจในเรื่องอื่น เช่นการรักษากำลังใจของตน หรือการเห็นว่าคนอื่น ๆ อยู่ที่ไหน (แทนที่จะต้องมากังวลเหมือนกับตอนเริ่มฝึกใหม่ ๆ ว่า มีท่าทางเหมาะสมถูกต้องในการทำกิจกรรมนั้นไหม)

การเกิดขึ้นของการรับรู้อากัปกิริยา

การรับรู้อากัปกิริยาเริ่มต้นที่การทำงานของปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา (proprioceptor) ในระบบประสาทส่วนปลาย เป็นกระบวนการซึ่งเชื่อว่าได้รับข้อมูลมาจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในหูชั้นใน (ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวและการทรงตัว) จากปลายประสาทรับรู้การขยายออก (stretch receptor) ในกล้ามเนื้อ และจากเส้นเอ็นรั้งข้อต่อ (ซึ่งบอกตำแหน่งของกาย) มีปลายประสาทที่ทำหน้าที่การรับรู้อย่างนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา (proprioceptor) เหมือนกับมีปลายประสาทรับความรู้สึกเฉพาะอย่างสำหรับแรงกด แสง อุณหภูมิ เสียง และความรู้สึกทางประสาทอื่น ๆ

TRPN ซึ่งเป็นประตูไอออนอย่างหนึ่งในตระกูล transient receptor potential channel ได้รับการวิจัยว่ามีหน้าที่รับรู้อากัปกิริยาในแมลงวันทอง ในหนอนนีมาโทดา ใน Xenopus laevis และในปลาม้าลาย แต่ว่า ยังไม่มีการค้นพบหน่วยรับรู้อากัปกิริยาเช่น TPRN ในมนุษย์

ถึงแม้ว่า จะเป็นที่รู้กันว่าการรับรู้การเคลื่อนไหวของนิ้วมืออาศัยความรู้สึกที่ผิวหนัง แต่ว่างานวิจัยเร็ว ๆ นี้พบว่า การรู้จำวัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ที่อาศัยการรับรู้ความเคลื่อนไหวเหมือนกัน ก็ต้องอาศัยแรงกลต่าง ๆ ที่ประสบในขณะสัมผัสด้วย ผลงานวิจัยนี้เป็นปัจจัยในการสร้างรูปร่างต่าง ๆ แบบเสมือน (virtual คือไม่มีอยู่จริง ๆ เหมือนกับ virtual realitiies) รู้ได้ทางสัมผัสที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน

การรับรู้อากัปกิริยาที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจและนอกอำนาจจิตใจ

ในมนุษย์ การรับรู้อากัปกิริยาแยกออกเป็นแบบที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจและที่นอกอำนาจจิตใจ

  • การรับรู้อากัปกิริยาใต้อำนาจจิตใจ (conscious proprioception) ส่งข้อมูลไปยังซีรีบรัมทางวิถีประสาท posterior column-medial lemniscus pathway
  • การรับรู้อากัปกิริยานอกอำนาจจิตใจ (unconscious proprioception) ส่งข้อมูลโดยหลักไปยังซีรีเบลลัมทางวิถีประสาท dorsal spinocerebellar tract และทางวิถีประสาท ventral spinocerebellar tract

การตอบสนองนอกอำนาจจิตใจเห็นได้ในรีเฟล็กซ์การรับรู้อากัปกิริยาในมนุษย์ที่เรียกว่า righting reflex คือ เมื่อกายเอียงไปทางด้านไหนก็ตาม บุคคลนั้นก็จะตั้งหัวให้ตรง เป็นการปรับระดับตาให้เสมอกับแนวนอน ปฏิกิริยานี้เห็นได้แม้ในเด็กทารกเมื่อเด็กเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อคอได้ การควบคุมกล้ามเนื้อคอได้มีซีรีเบลลัมเป็นเหตุ ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่อิทธิพลในการทรงตัว

การประยุกต์ใช้

การวินิจฉัยโรคทางประสาท

มีการทดสอบที่ค่อนข้างจะเฉพาะเจาะจงที่ทดสอบความสามารถในการรับรู้อากัปกิริยาของสัตว์ที่รับการทดสอบ เป็นการวินิจฉัยโรคทางประสาท (neurological disorder) รวมการทดสอบที่ตรวจสอบรีเฟล็กซ์โดยใช้ตาหรือสัมผัสเป็นต้นว่า placing reflexes ซึ่งเป็นการทดสอบการรับรู้อากัปกิริยาโดยสัมผัสในสัตว์โดยเฉพาะของแมวและสุนัข

เพื่อการวินิจฉัยรักษาพยาบาลในมนุษย์ การทดสอบต่อไปนี้วัดความสามารถของบุคคลในการรับรู้อากัปกิริยาโดยไม่ใช้ตาช่วย

ให้จับคู่ตำแหน่งข้อต่อ

การจับคู่ตำแหน่งข้อต่อ (อังกฤษ: joint position matching) เป็นวิธีการวัดการรับรู้อากัปกิริยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการวัดความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งข้อต่อ โดยที่ไม่อาศัยข้อมูลจากตาหรือระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นตัวช่วย เพื่อทำการทดสอบนี้ พึงให้ผู้รับการทดสอบปิดตา แล้วเคลื่อนข้อต่อหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็นำข้อต่อนั้นกลับมาที่เดิม หลังจากนั้น ก็ให้ผู้รับการทดสอบเคลื่อนข้อต่อไปยังตำแหน่งนั้น โดยวัดความผิดพลาด ความสามารถในการบ่งชี้มุมของข้อต่อในสถานการณ์ต่าง ๆ ก็จะวัดได้ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่แม่นยำที่สุดในปัจจุบันในการวัดการรับรู้อากัปกิริยา (โดยที่ไม่วัดความสามารถอย่างอื่นร่วมด้วย)

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้พบว่า ความถนัดซ้ายขวา อายุ การเคลื่อนไหวเองหรือให้ผู้อื่นเคลื่อนให้ และระยะเวลาที่ให้ข้อต่อดำรงอยู่ในมุมเป้าหมาย มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจับคู่ตำแหน่งข้อต่อ การจับคู่ตำแหน่งข้อต่อใช้ในการวินิจฉัยรักษาทั้งในอวัยวะเบื้องบนและเบื้องล่าง

ให้ชี้ทิศทางการเคลื่อนไหว

เพื่อทดสอบนิ้วมือหรือข้อมือ หรือนิ้วโป้งเท้า ให้คนไข้หลับตา แล้วขยับนิ้วมือหรือข้อมือหรือนิ้วโป้งเท้าของคนไข้ขึ้นหรือลง โดยที่ไม่ต้องขยับเกิน 1-2 มิลลิเมตร ปกติคนไข้จะสามารถบอกทิศทาง ความเร็ว และมุมของการเคลื่อนไหวนั้นได้

เพื่อทดสอบข้อต่อที่สะโพกและหัวเข่า ให้คนไข้นอนหงายแล้วปิดตา แล้วขยับขาของคนไข้ไปยังตำแหน่งใหม่ แล้วให้คนไข้บอกทิศทางของการเคลื่อนไหว

การทดสอบไหล่และข้อศอก

เพื่อทดสอบไหล่และข้อศอก ให้คนไข้หลับตา แล้วเอานิ้วชี้มาวางที่ปลายจมูกของตน

การทดสอบโดยการทรงตัว

สามารถใช้ Roberg's test ซึ่งเป็นวิธีทดสอบการทรงตัวในการทดสอบอากัปกิริยาได้ ให้คนไข้ยืนขาชิดกันแล้วปิดตา ผลการทดสอบเป็นบวกถ้าคนไข้ยืนส่ายไปมาหรือล้มเมื่อปิดตา ซึ่งอาจจะบ่งถึงรอยโรคที่ dorsal column ความบกพร่องของหูชั้นใน รอยโรคที่ซีรีเบลลัม หรือภาวะ sensory ataxia ซึ่งเกิดจากรอยโรคใน dorsal column เช่นกัน

การทดสอบความเมา

เจ้าหน้าที่ตำรวจชาวอเมริกันทดสอบความมึนเมาจากสุรา โดยใช้วิธีทดสอบการรับรู้อากัปกิริยาที่เรียกว่า "การทดสอบความไม่เมาในสนาม (field sobriety test)" คือให้ผู้รับการทดสอบแตะจมูกในขณะที่ปิดตา ผู้ที่มีการรับรู้อากัปกิริยาที่เป็นปกติจะทำการไม่พลาดเกินกว่า 20 มิลลิเมตร ในขณะที่ผู้ที่มีการรับรู้อากัปกิริยาในระดับที่ลดลง (ซึ่งเป็นอาการของคนเมาสุรา) จะสอบไม่ผ่าน เพราะความยากลำบากในการกำหนดตำแหน่งของแขนขาโดยสัมพันธ์กับจมูกของตน

การเรียนรู้ทักษะใหม่

เพราะมีการรับรู้อากัปกิริยา เราจึงสามารถที่จะเรียนรู้เพื่อจะเดินในที่มืดสนิดโดยไม่เสียการทรงตัว และในขณะที่กำลังเรียนทักษะ เรียนการเล่นกีฬา หรือเรียนวิธีการสร้างศิลปะใหม่ ๆ ปกติแล้วจะขาดความคุ้นเคยเกี่ยวกับอากัปกิริยาของร่างกายที่มีในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ไม่ได้ ถ้าไม่มีการประสานข้อมูลเกี่ยวกับอากัปกิริยาของร่างกายที่เหมาะสม นักวาดรูปย่อมไม่สามารถป้ายสีที่ผ้าใบโดยที่ไม่แลดูมือของตนที่กำลังเคลื่อนพู่กันไปที่ส่วนต่าง ๆ ของผ้าใบได้ คนขับรถก็จะไม่สามารถขับรถ เพราะไม่สามารถมองดูพวงมาลัย ดูคันเร่ง และดูถนนหนทางที่อยู่ข้างหน้าไปพร้อม ๆ กันได้ ผู้พิมพ์คีย์บอร์ดก็จะไม่สามารถพิมพ์แบบสัมผัสโดยไม่ต้องแลดูแป้นพิมพ์ได้ นักเต้นบัลเล่ย์ก็จะไม่อาจเต้นให้งดงามได้ และคนโดยทั่ว ๆ ไปก็จะไม่สามารถแม้แต่จะเดินโดยไม่มองดูที่ที่ตนต้องวางเท้าได้

น.พ. โอลิเว่อร์ แซกส์ ครั้งหนึ่งได้รายงานกรณีของหญิงสาวผู้สูญเสียการรับรู้อากัปกิริยาเพราะการติดเชื้อไวรัสที่ไขสันหลัง เมื่อเริ่มมีปัญหานี้ใหม่ ๆ เธอไม่สามารถแม้แต่จะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นปกติ ไม่สามารถจะควบคุมน้ำเสียงของเธอ เพราะการควบคุมเสียงอาศัยการรับรู้อากัปกิริยา ต่อมา เธอต้องฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ ใหม่โดยใช้ตากับระบบรับรู้การทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นใน ในการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่มีข้อมูลจากระบบการรับรู้อากัปกิริยา และใช้หูเพื่อช่วยควบคุมน้ำเสียงของเธอ ในที่สุด เธอจึงจะสามารถทำการเคลื่อนไหวที่แข็ง ๆ และช้า ๆ และใช้คำพูดด้วยน้ำเสียงที่เกือบเป็นปกติ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นความสำเร็จผลดีที่สุดที่เป็นไปได้ในกรณีที่ขาดการรับรู้อากัปกิริยาอย่างนี้ เธอไม่สามารถแม้จะรู้ระดับกำลังที่ต้องใช้ในการหยิบจับวัถถุ ดังนั้น เธอจึงจับวัตถุต่าง ๆ เกินกำลังจนกระทั่งรู้สึกเจ็บปวด เพื่อให้แน่ใจว่า เธอจะไม่ทำวัตถุเหล่านั้นตก

การฝึก

การฝึกอวัยวะส่วนล่าง

การรับรู้อากัปกิริยาสามารถฝึกได้โดยหลายวิธี การโยนของสลับมือในการเล่นกล เป็นวิธีฝึกการตอบสนองให้ว่องไวขึ้น ฝึกการกำหนดตำแหน่งของอวัยวะในปริภูมิ และฝึกการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพไม่สิ้นเปลืองความพยายาม[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการใช้กระดานทรงตัวสามารถฟื้นฟูหรือเพิ่มความสามารถในการรับรู้อากัปกิริยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยเป็นวิธีฟื้นฟูบำบัดความบาดเจ็บที่ข้อเท้าหรือเข่า ส่วนการยืนบนขาเดียว หรือวิธีดัดกายอย่างอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกายบริหารแบบโยคะ หวิงชุน และไท่เก็ก ที่สามารถใช้พัฒนาการรับรู้อากัปกิริยาเช่นเดียวกัน

งานวิจัยหลายงานแสดงว่า การดัดกายเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถ้าปิดตาทำ[ต้องการอ้างอิง] เพราะว่า ข้อมูลจากตาเป็นข้อมูลป้อนกลับสำคัญที่ใช้ในการทรงตัว (และดังนั้น เมื่อปิดตาจึงต้องอาศัยการรับรู้อากัปกิริยามากขึ้นในการทรงตัว)

มีอุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้เพิ่มการรับรู้อากัปกิริยาโดยเฉพาะ เช่นลูกบอลเพื่อออกกำลังกาย ซึ่งช่วยการทรงตัวและบริหารกล้ามเนื้อท้องและหลัง

ความบกพร่อง

การสูญเสียหรือความบกพร่องของการรับรู้อากัปกิริยาแบบชั่วคราว อาจจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ในช่วงพัฒนาการ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่อาจจะมีผลต่อความบกพร่องของการรับรู้อากัปกิริยา คือ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วของน้ำหนักตัวหรือขนาดตัว เนื่องจากการเพิ่มขึ้นลดลงอย่างรวดเร็วของไขมัน เช่นโดยการดูดไขมันออกเป็นต้น และ/หรือ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วของกล้ามเนื้อ เพราะการเพาะกาย การใช้อะนาบอลิกสเตอรอยด์ และความอดอยากเป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความอ่อนตัว (flexibility) ความยืดหยุ่นได้ (stretching) และความบิดตัวได้ (contortion) ที่สูงขึ้น อวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหวได้ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือว่าไม่สามารถทำได้หลังจากวัยเด็ก อาจจะทำความสับสนให้กับความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่งของอวัยวะต่าง ๆ อาการที่จะเกิดขึ้นได้แก่ เกิดความรู้สึกอย่างเฉียบพลันว่า เท้าหรือขาของตนหายไป เกิดความจำเป็นในการดูแขนขาของตนเพื่อจะให้แน่ใจว่ายังอยู่ และมีการหกล้มในขณะที่เดินโดยเฉพาะเมื่อกำลังใส่ใจในสิ่งอื่นนอกจากการเดิน

การรับรู้อากัปกิริยาบางครั้งอาจมีความบกพร่องขึ้นมาเฉย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเหนื่อย กายของตนอาจจะรู้สึกใหญ่เกินหรือเล็กเกิน หรืออวัยวะบางส่วนอาจจะเหมือนกับมีขนาดผิดไป ปรากฏการณ์ที่คล้ายกันอาจจะเกิดขึ้นในขณะชัก หรือในขณะมีสัญญาณบอกเหตุไมเกรน (migraine auras) ปรากฏการณ์เหล่านี้ได้รับสันนิษฐานว่าเกิดจากการกระตุ้นแบบผิดปกติของส่วนในสมองกลีบข้าง ซึ่งมีหน้าที่ประสานข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ยังมีเทคนิคหลอกระบบการรับรู้อากัปกิริยาอีกด้วย เช่นการหลอกด้วย Pinocchio illusion

ความรู้สึกถึงการรับรู้อากัปกิริยามักจะไม่ปรากฏเพราะว่ามนุษย์โดยมากจะปรับตัวต่อตัวกระตุ้นที่มีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า "habituation (ความเคยชิน)", "desensitization (การลดความรู้สึก)", หรือ "adaptation (การปรับตัว)" ผลก็คือความรู้สึกเกี่ยวกับการรับรู้อากัปกิริยาย่อมอันตรธานไป เหมือนกับกลิ่นที่อันตรธานไปเมื่อเคยชิน จุดดีอย่างหนึ่งก็คือ กิจกรรมหรือความรู้สึกที่ไม่ได้รับการสังเกต สามารถดำเนินต่อไปเป็นเบื้องหลัง ในขณะที่บุคคลนั้นใส่ใจในเรื่องอื่น

บุคลลผู้มีการตัดแขนขาอาจจะมีความรู้สึกที่สับสนเกี่ยวกับความมีอยู่ของอวัยวะนั้น ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่า กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ (phantom limb syndrome) ความรู้สึกเกี่ยวกับอวัยวะแฟนตอม (คืออวัยวะที่ไม่มีแต่รู้สึกเหมือนว่ามี) อาจเกิดขึ้นเป็นความรู้สึกทางอากัปกิริยาว่า มีอยู่ โดยไม่มีการเคลื่อนไหว หรือความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว มีแรงกด มีความเจ็บปวด มีความคัน หรือความรู้สึกร้อนเย็น มีทฤษฎีหลายอย่างเกี่ยวกับสมุฏฐานของความรู้สึกและประสบการณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับอวัยวะแฟนตอม แจ็ค เซ้า ผู้เป็นนายแพทย์ประจำ ร.พ. วอลเตอร์ รีด ในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ได้เสนอทฤษฎีบนพื้นฐานความคิดเกี่ยวกับ "ความทรงจำในการรับรู้อากัปกิริยา" (proprioceptive memory) ทฤษฎีนี้เสนอว่า สมองดำรงความทรงจำเกี่ยวกับตำแหน่งเฉพาะที่ ๆ ของอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อมีการตัดอวัยวะออก ก็จะมีข้อมูลขัดแย้งกันระหว่างระบบสายตา ซึ่งเห็นความที่อวัยวะนั้นไม่มีอยู่จริง ๆ และระบบความทรงจำซึ่งยังจำว่าอวัยวะนั้นเป็นส่วนประกอบที่ยังมีอยู่ในร่างกาย ความรู้สึกและความเจ็บปวดในอวัยวะแฟนตอม อาจเกิดขึ้นหลังจากตัดอวัยวะอื่น ๆ นอกจากแขนขาในร่างกาย เช่นการตัดเต้านม การถอนฟัน (มีผลเป็นกลุ่มอาการหลงผิดว่าฟันยังคงอยู่) และการตัดตาออก (มีผลเป็นกลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่)

ความบกพร่องแบบชั่วคราวของระบบรับรู้อากัปกิริยา สามารถเกิดจากการใช้วิตามิน B6 (pyridoxine และ pyridoxamine) เกินขนาด ความบกพร่องจะกลับไปสู่ภาวะปกติหลังจากที่การบริโภควิตามินกลับไปสู่ระดับปกติ นอกจากนั้น ความบกพร่องอาจเกิดขึ้นเพราะเกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity) เช่นเพราะเคมีบำบัด (การให้คีโม)

มีการเสนอว่า แม้อาการมีเสียงในหู (tinnitus) และการไม่ได้ยินเสียงในความถี่บางระดับ ก็อาจจะก่อให้เกิดข้อมูลอากัปกิริยาที่ผิดพลาด ซึ่งเมื่อศูนย์สมองที่ประมวลผลได้รับแล้ว อาจจะก่อให้เกิดความสับสนอย่างอ่อน ๆ

การรับรู้อากัปกิริยาอาจจะมีความเสียหายอย่างถาวรในคนไข้ที่มีโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวข้อต่อเกินขนาด หรือ Ehlers-Danlos Syndrome ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมมีผลให้เนื้อเยื่อยึดต่อ (connective tissue) ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่แข็งแรง หรืออาจจะเกิดขึ้นเพราะการติดเชื้อไวรัสดังที่รายงานโดย น.พ. แซกส์ (ดูด้านบน) ส่วนผลของการสูญเสียการรับรู้อากัปกิริยาที่มีความเสียหายอย่างร้ายแรงได้รับการตรวจสอบโดย โรเบรส์-เดอ-ลา-ทอร์ ในปี ค.ศ. 2006

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ proprioception ว่า "การรับรู้อากัปกิริยา" และของ proprioceptor ว่า "ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา"
  2. ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ (2013). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฺBasic neuroanatomy). กรุงเทพมหานคร: ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. p. 214. ISBN 978-616-335-105-0.
  3. ให้สังเกตให้ดีว่า คำว่า "proprioception" นั้น เป็นคำที่ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน ได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 เป็นคำที่ได้ใช้สืบกันมาที่อาจจะมีความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่แต่ละคนจะนิยามแล้วแต่สถานการณ์ คำนิยามที่ใกล้กับที่เชอร์ริงตันได้บัญญัติไว้รวมการรับรู้การเคลื่อนไหว การรับรู้ตำแหน่งข้อต่อ และการกำหนดความสมดุล (การทรงตัว) ซึ่งเป็นการรับรู้ที่เป็นคำนิยามของคำว่า "proprioceptive sense" ด้วย แต่ว่า ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเอกสารหนังสือวิชาการที่แยกระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) และระบบการทรงตัว (vestibular system) ออกจากกัน proprioception มักจะหมายถึงการรับรู้การเคลื่อนไหวและตำแหน่งข้อต่อ (ซึ่งเป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกทางกาย) เท่านั้น ไม่รวมการกำหนดความสมดุล (ซึ่งเป็นส่วนของระบบการทรงตัว) (ดู Kandel 2000 และมหรรฆานุเคราะห์ 2556) บทความนี้แปลมาจากบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นหลัก ที่ดูเหมือนจะกล่าวถึงคำนิยามทั้งสองนั้นรวม ๆ กันไป เช่นคำจำกัดความด้านบนไม่ได้รวมระบบการทรงตัว แต่รวมในเนื้อหาขององค์ประกอบที่กล่าวอย่างคลุมเครือถึงความหมายของ proprioception ผู้อ่านพึงใช้วิจารณญาณว่า ความทรงตัว (balance) และความสมดุล (equilbrium) นั้นควรจะเป็นส่วนหนึ่งของ proprioception ในบริบทหรือไม่ เช่นถ้ากล่าวถึง proprioception ของ somatosensory system ก็ไม่พึงรวมความทรงตัวในความหมายอย่างแน่นอน (จากผู้แปล)
  4. Kandel, Eric R.; Schwartz, James H.; Jessell, Thomas M. (2000). Principles of Neural Science Fourth Edition. United State of America: McGraw-Hill. p. 444. ISBN 0-8385-7701-6.
  5. Jerosch, Jörg; Heisel, Jürgen (May 2010). Management der Arthrose: Innovative Therapiekonzepte (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Ärzteverlag. p. 107. ISBN 978-3-7691-0599-5. สืบค้นเมื่อ 8 April 2011.
  6. Singh, Arun Kumar (September 1991). The Comprehensive History of Psychology. Motilal Banarsidass Publ. p. 66. ISBN 978-81-208-0804-1. สืบค้นเมื่อ 8 April 2011.
  7. Dickinson, John (1976). Proprioceptive control of human movement. Princeton Book Co. p. 4. สืบค้นเมื่อ 8 April 2011.
  8. Foster, Susan Leigh (15 December 2010). Choreographing Empathy: Kinesthesia in Performance. Taylor & Francis. p. 74. ISBN 978-0-415-59655-8. สืบค้นเมื่อ 8 April 2011.
  9. Brookhart, John M.; Mountcastle, Vernon B. (Vernon Benjamin); Geiger, Stephen R. (1984). The Nervous system: Sensory processes ; volume editor: Ian Darian-Smith. American Physiological Society. p. 784. ISBN 978-0-683-01108-1. สืบค้นเมื่อ 8 April 2011.
  10. muscle spindle เป็นตัวรับความรู้สึกในกล้ามเนื้อที่ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ แล้วส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทกลาง
  11. Pacinian corpuscle เป็นหนึ่งในตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หลัก 4 อย่าง เป็นปลายประสาทมีเปลือกหุ้มในผิวหนัง มีความไวต่อความสั่นสะเทือนและแรงกด (pressure) ความไวต่อความสั่นสะเทือนสามารถใช้เพื่อรับรู้ผิวของวัตถุว่าขรุขระหรือเรียบ
  12. Proske, U; Gandevia, SC (2009). "The kinaesthetic senses". The Journal of Physiology. 587 (Pt 17): 4139–4146. doi:10.1113/jphysiol.2009.175372. PMC 2754351. PMID 19581378.
  13. Winter, JA; Allen, TJ; Proske, U (2005). "Muscle spindle signals combine with the sense of effort to indicate limb position". The Journal of physiology. 568 (Pt 3): 1035–46. doi:10.1113/jphysiol.2005.092619. PMC 1464181. PMID 16109730.
  14. Collins, DF; Refshauge, KM; Todd, G; Gandevia, SC (2005). "Cutaneous receptors contribute to kinesthesia at the index finger, elbow, and knee". Journal of neurophysiology. 94 (3): 1699–706. doi:10.1152/jn.00191.2005. PMID 15917323.
  15. Konradsen, L (2002). "Factors Contributing to Chronic Ankle Instability: Kinesthesia and Joint Position Sense". Journal of Athletic Training. 37 (4): 381–385. PMC 164369. PMID 12937559.
  16. Dover, G; Powers, ME (2003). "Reliability of Joint Position Sense and Force-Reproduction Measures During Internal and External Rotation of the Shoulder". Journal of Athletic Training. 38 (4): 304–310. PMC 314388. PMID 14737211.
  17. Feuerbach, JW; Grabiner, MD; Koh, TJ; Weiker, GG (1994). "Effect of an ankle orthosis and ankle ligament anesthesia on ankle joint proprioception". The American journal of sports medicine. 22 (2): 223–9. doi:10.1177/036354659402200212. PMID 8198191.
  18. Sherrington CS (1907). "On the proprioceptive system, especially in its reflex aspect". Brain. 29 (4): 467–85. doi:10.1093/brain/29.4.467.
  19. แม่แบบ:Cite PMID
  20. แม่แบบ:Cite PMID
  21. Xenopus laevis เป็นชื่อสปีชีส์ของกบในทวีปอัฟริกาใต้มีลักษณะพิเศษคือมีเล็บสั้น ๆ 3 เล็บที่ใช้ฉีกเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหาร
  22. แม่แบบ:Cite PMID
  23. แม่แบบ:Cite PMID
  24. Robles-De-La-Torre G, Hayward V (2001). (PDF). Nature. 412 (6845): 445–8. doi:10.1038/35086588. PMID 11473320. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-03. สืบค้นเมื่อ 2013-10-22.
  25. the MIT Technology Review article "The Cutting Edge of Haptics"
  26. Fix, James D. (2002). Neuroanatomy. Hagerstown, MD: Lippincott Williams & Wilkins. p. 127. ISBN 0-7817-2829-0.
  27. Swenson RS. . (online version Dartmouth college). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-10.
  28. Siegel, Allan (2010). Essential Neuroscience. Lippincott Williams & Wilkins. p. 263.
  29. . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-14. สืบค้นเมื่อ 2013-10-22.
  30. Introduction to Neurology, 2nd Edition 1976, A.C.Palmer, Blackwell Scientific, Oxford
  31. Goble, DJ; Noble, BC; Brown, SH (2010). (PDF). Neuroscience letters. 481 (1): 54–8. doi:10.1016/j.neulet.2010.06.053. PMID 20600603. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-19. สืบค้นเมื่อ 2013-10-22.
  32. Goble, DJ (2010). "Proprioceptive acuity assessment via joint position matching: From basic science to general practice". Physical therapy. 90 (8): 1176–84. doi:10.2522/ptj.20090399. PMID 20522675.
  33. Kandel, Eric R.; Schwartz, James H.; Jessell, Thomas M.; Siegelbaum, Steven A.; Hudspeth, A.J. (2013). Principles of Neural Science Fifth Edition. United State of America: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-139011-8.
  34. Lanska DJ, Goetz CG (2000). "Romberg's sign Development, adoption, and adaptation in the 19th century". Neurology. 55 (8): 1201–6. PMID 11071500.
  35. sensory ataxia เป็นกลุ่มอาการในประสาทวิทยา เป็นภาวะ ataxia (การสูญเสียการทำงานร่วมกันในระบบประสาท) ประเภทหนึ่งที่เกิดจากการสูญเสียข้อมูลความรู้สึกในระบบสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
  36. โอลิเว่อร์ แซกส์ เป็นนักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน-อังกฤษ รู้จักในฐานะเป็นศาสตราจารย์ในคณะประสาทวิทยาและจิตเวชที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม
  37. Sacks, O. "The Disembodied Lady", in The Man Who Mistook His Wife for a Hat and his autobiographical case study A Leg to Stand On.
  38. กระดานทรงตัว (balance board) เป็นอุปกรณ์ใช้เพื่อการผ่อนคลาย การฝึกการทรงตัว การฝึกนักเล่นกีฬา การช่วยพัฒนาสมอง การฟื้นฟูบำบัด การฝึกนักดนตรี และการพัฒนาส่วนตัวประเภทอื่น ๆ มีลักษณะเป็นคานงัดเหมือนไม้กระดานหกที่ใช้ยืน โดยมีเท้าอยู่ในปลายตรงกันข้ามของกระดาน ผู้ใช้ก็จะทรงตัวบนกระดานไม่ให้ปลายกระดานกระทบกับพื้น และไม่ให้ตนเองตกลงจากกระดาน
  39. cheng man ch'ing. T'ai Chi Ch'uan. Blue Snake Books usa. pp. 86, 88. ISBN 978-0-913028-85-8.
  40. ลูกบอลเพื่อออกกำลังกาย (exercise ball) ทำด้วยยางมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 35-85 ซ.ม. และเติมเต็มด้วยลม ใช้ในกายภาพบำบัด การฝึกหัดนักกีฬา และการออกกำลังกาย
  41. สัญญาณบอกเหตุ (aura) เป็นความปั่นป่วนในการรับรู้ความรู้สึกที่ผู้ป่วยไมเกรนประสบก่อนที่ไมเกรนจะเกิด หรือเป็นความรู้สึกที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ผู้ป่วยโรคชักประสบก่อนหรือหลังการชัก
  42. Ehrsson H, Kito T, Sadato N, Passingham R, Naito E (2005). "Neural substrate of body size: illusory feeling of shrinking of the waist". PLoS Biol. 3 (12): e412. doi:10.1371/journal.pbio.0030412. PMC 1287503. PMID 16336049.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. Pinocchio illusion เป็นการหลอกความรู้สึกที่ทำให้เหมือนว่า จมูกตนเองกำลังยาวขึ้นเหมือนกับตัวละครในนิทานเด็ก "พิน็อคคิโอ" ที่มีจมูกยาวขึ้นเมื่อกำลังโกหก เพื่อจะมีประสบการณ์เช่นนี้ ให้ใช้เครื่องสั่นแนบที่เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ที่แขนด้านบน ในขณะที่ให้จับจมูกด้วยมือของแขนนั้น เครื่องสั่นจะกระตุ้นตัวรับความรู้สึก muscle spindle ในกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ ที่ปกติเกิดขึ้นเพราะการยืดออกของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดการหลอกความรู้สึกว่า แขนนั้นกำลังเคลื่อนออกไปจากใบหน้า และเพราะว่านิ้วมือที่กำลังจับจมูกก็ยังส่งข้อมูลสัมผัสไปยังระบบประสาทว่า ยังจับจมูกอยู่ จึงปรากฏเหมือนกับว่า จมูกนั้นกำลังยืดออกไปจากใบหน้าด้วย
  44. Weeks, S.R., Anderson-Barnes, V.C., Tsao, J. (2010) . "Phantom limb pain: Theories and therapies". The Neurologist 16 (5) : 277–286.[1] 2011-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. Castori M (2012). "Ehlers-danlos syndrome, hypermobility type: an underdiagnosed hereditary connective tissue disorder with mucocutaneous, articular, and systemic manifestations". ISRN Dermatol. 2012: 751768. doi:10.5402/2012/751768. PMC 3512326. PMID 23227356.
  46. Robles-De-La-Torre G (2006). (PDF). IEEE Multimedia. 13 (3): 24–30. doi:10.1109/MMUL.2006.69. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-01-24. สืบค้นเมื่อ 2013-10-22.

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

  • Neuroscience Tutorial [ลิงก์เสีย] See "Basic somatosensory pathway", Eastern International College.
  • Joint & Bone – Ehlers-Danlos/Joint Hypermobility Syndrome – Proprioception 2005-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Humans have six senses, why does everyone think we only have five? at Everything2
  • Proprioception[ลิงก์เสีย] this essay by Charles Wolfe takes its cue from such thinkers & artists as Charles Olson, Merleau-Ponty, James J. Gibson, and Andy Clark to illustrate the view of the "priority of dynamic embodied activity over isolated 'mental' and 'physical' regions" to define this concept
  • WNYC – Radio Lab: Where Am I? (May 05, 2006) 2006-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน radio program looks at the relationship between the brain and the body
  • The Dancers Mind ABC (Aust) podcast on the nature of proprioception.
  • Proprioception ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)

การร, บร, อาก, ปก, ยา, หร, อการร, ตำแหน, งข, อและการเคล, อนไหว, งกฤษ, proprioception, มาจากคำว, proprius, งแปลว, ของตน, หร, แต, ละบ, คคล, และคำว, perception, งแปลว, การร, บร, เป, นความร, กเก, ยวก, บตำแหน, limb, position, sense, และเก, ยวก, บการเคล, อนไหวของอว,. karrbruxakpkiriya 1 hruxkarrutaaehnngkhxaelakarekhluxnihw 2 xngkvs proprioception macakkhawa proprius sungaeplwa khxngtn hrux aetlabukhkhl aelakhawa perception sungaeplwa karrbru epnkhwamrusukekiywkbtaaehnng limb position sense aelaekiywkbkarekhluxnihwkhxngxwywainrangkay kinesthesia hrux motion sense thiimsubenuxngkbkarmxngehn 3 4 epnkrabwnkarthitangcak exteroception sungepnkarthibukhkhlrbrutwkratunphaynxkrangkay aela interoception sungepnkarthibukhkhlrbrukhwamrusukepntnwa khwamecbpwdaelakhwamhiw aelakarekhluxnihwkhxngxwywaphayinsiribrmepnswninsmxngthimihnathiprasannganekiywkhxngkbkarrbruxakpkiriya enuxha 1 prawti 2 xngkhprakxb 2 1 karrbrukarekhluxnihw 2 2 karrbrutaaehnngkhxtx 3 karekidkhunkhxngkarrbruxakpkiriya 3 1 karrbruxakpkiriyathixyuitxanacciticaelanxkxanaccitic 4 karprayuktich 4 1 karwinicchyorkhthangprasath 4 1 1 ihcbkhutaaehnngkhxtx 4 1 2 ihchithisthangkarekhluxnihw 4 1 3 karthdsxbihlaelakhxsxk 4 1 4 karthdsxbodykarthrngtw 4 2 karthdsxbkhwamema 4 3 kareriynruthksaihm 4 4 karfuk 5 khwambkphrxng 6 echingxrrthaelaxangxing 7 aehlngkhxmulxun prawti aekikhkhwmrusukekiywkbtaaehnngaelakarekhluxnihwkhxngxwywatang inrangkayidrbkarphrrnnakhrngaerkinpi kh s 1557 odycueliys sisar skhaliekxr waepn karrbrukhwamekhluxnihw sense of locomotion 5 inpi kh s 1826 chals ebll phrrnnakhwamkhidkhxngekhaineruxngkhxngkarrbruinklamenux 6 sungidrbekhrditwa epnnganwicynganaerkthiphrrnnathungklikthisngkhxmulthangkayphaphaebbpxnklbipyngsmxng 7 khwamkhidkhxngebllkkhuxkarsngnganekidkhuninsmxngaelwsngipthiklamenux aelaraynganekiywkbsphaphklamenuxkcasngklbipthismxnginpi kh s 1880 ehnri chalstn basechiyn esnxwakhawa karrbrukarekhluxnihw kinaesthesia aethnkhawa karrbruinklamenux muscle sense ephraaehtuwa khxmulthisngipthangiyprasathnaekhaklbipyngsmxng macakokhrngsrangxun nxkcakklamenux rwmthngesnexn khxtx aelaphiwhnng 8 inpi kh s 1889 aexlefrd okldechedxr esnxkaraebngpraephthkhxngkarrbrukarekhluxnihwxxkepn 3 xyangrwmthng khwamrusukinklamenux khwamrusukinesnexn aelakhwamrusukekiywkbkhxtx 9 inpi kh s 1906 chals skxtt echxrringtn phimphphlnganchinsakhythiesnxsphthkhxngkrabwnkarrbrukhwamrusuktang rwmthngkhawa proprioception 3 interoception aela exteroception exteroceptor epnxwywamihnathisrangkhxmulekiywkbsphawaphaynxkrangkayrwmthng ta hu pak aelaphiwhnng swn interoceptor srangkhxmulekiywkbxwywaphayin inkhnathikhawa proprioception khuxkarrbruxakpkiriya hmaythungkhwamsanukrukarekhluxnihwthiidmacakkhxmulthangklamenux esnexn aelakhxtx ephraakaraebngpraephthodywithini nksrirwithyaaelankkaywiphakhsastrcungidsubtxkarkhnhaplayprasaththimikichnathiodyechphaainkarsngkhxmulekiywkbkhxtxaelakhwamtungekrngkhxngklamenux echnplayprasaththieriykwa muscle spindle 10 aela Pacinian corpuscles 11 echuxknxyangkwangkhwangwa muscle spindle mibthbaththisakhyinkarrbruxakpkiriya ephraa playprasaththisakhythisudkhxng muscle spindle txbsnxngtxradbkhwamepliynaeplngkhxngkhwamyawaelakhwamerwinkarekhluxnihwkhxngklamenux dngnn cungmibthbathinkarrbruthngtaaehnngthngkarekhluxnihwkhxngxwywa 12 swnplayprasaththisakhyrxnglngma trwccbkhwamepliynaeplngkhwamyawkhxngklamenux aeladngnn cungsngkhxmulekiywkbkarrbrutaaehnngkhxngxwywaephiyngethann 12 odyyx aelw muscle spindle kkhux playprasathrbrukarkhyayxxkkhxngklamenux 13 nxkcaknnaelw kepnthiyxmrbwa playprasathrbkhwamrusukthiphiwhnngkhux cutaneous receptor kmikhwamekiywkhxngodytrngkbkarrbruxakpkiriya odyihkhxmulkarrbruthiaemnyaekiywkbtaaehnngaelakarekhluxnihwkhxngkhxtx rwmekhaipkbkhxmulthimacak muscle spindle 14 xngkhprakxb aekikhkarrbrukarekhluxnihw aekikh karrbrukarekhluxnihw xngkvs kinesthesia hrux kinaesthetic hrux motion sense sungepnxngkhprakxbaerkinkarrbruxakpkiriya epnkhwamsanukrukarekhluxnihwrwmthngtaaehnngkhxngxwywainrangkay odyichxwywarbrukhwamrusukthieriykwa playprasathrbruxakpkiriya 1 hrux twruxakpkiriya xngkvs proprioceptor inkhxtxaelaklamenux karkhnphbkarrbrukarekhluxnihw epnswnebuxngaerkkhxngsuksakarrbruxakpkiriya aelathungaemwakhawa karrbruxakpkiriya proprioception aelakarrbrukhwamekhluxnihw kinesthesia mkcaichaethnknaelakn aetwa tamkhwamepncringaelw krabwnkarehlannmixngkhprakxbthitangknhlayxyang 15 xyangaerkkkhux karrbrukarekhluxnihwimrwmkarrbrukarthrngtwhruxkhwamsmdul equilibrium hrux balance sungepnkhxmulthimacakhuchnin epnxngkhprakxb tangcakkarrbruxakpkiriyasungrwmkhxmulechnni 3 twxyangechn khwamxkesbkhxnghuchninxaccathakhwamrusukkhwamsmdulihesiyhay dngnn kthaihkarrbruxakpkiriyaihesiyhay aetimthakarrbrukhwamekhluxnihwihesiyhay ephraaniyamkhxngkarrbrukhwamekhluxnihw imrwmkarrbrukarthrngtwwaepnxngkhprakxb phuthimikhwamesiyhayxyangni samarthcaedinidodytxngxasykarehnephuxthrngtw khuxbukhkhlnncaimsamarthedinidodypidtakhwamaetktangxikxyangkkhux karrbrukarekhluxnihwphungkhwamsnicipthikarekhluxnihwkhxngrangkay inkhnathikarrbruxakpkiriyaepnkhwamsanukinkarekhluxnihwaelaphvtikrrmkhxngrangkay dwyehtuni cungxacklawidwa karrbrukarekhluxnihwekiywkhxngkbphvtikrrm behavioral makkwa inkhnathikarrbruxakpkiriyaekiywkhxngkbkarrbru cognitive makkwa 15 karrbrukarekhluxnihwhmayexakarekhluxnihwthngthithaexngaelakhnxunthaih echnkhybaekhnkhaihipthixun 2 karrbrutaaehnngkhxtx aekikh xngkhprakxbsakhyrxnglngmakhxngkarrbruxakpkiriyakkhux karrbrutaaehnngkhxtx xngkvs joint position sense twyx JPS sungwdidodykarihphurbkarthdsxbcbkhutaaehnngkhxngkhxtx 16 thicaklawthungtxipbxykhrng mkekhaicwa khwamsamarthinkarrbrukhwamekhluxnihwaelainkarrbrutaaehnngkhxtx thngsxngxyangnnmikhwamsmphnthkn aetcring aelw hlkthanaesdngwa khwamsamarththngsxngxyangnn immikhwamsmphnthknxyangsakhy txngkarxangxing nibxkepnnywa aemkhwamsamarthehlanncamikhwamekiywkhxngkbkarrbruxakpkiriyaehmuxnkn aetkekidcakrabbthangkayphaphthitangkn 17 karrbrukhwamekhluxnihw mixngkhprakxbthisakhykhxngthksakarekhluxnihwkaydwyklamenux muscle memory aelathksakarprasannganrahwangmuxaelata karfukhd hruxkarhdsxm samarthphthnathksaehlani xikxyanghnung khwamsamarthinkarhwdimkxlfhruxinkarrblukbxl khadkarrbrutaaehnngkhxngkhxtxthiidrbkarfukfnepnxyangdiimid nnkkhux karrbruxakpkiriyatxngthaihepnxtonmtiphankarfuk ephuxthicaepidoxkasihbukhkhlisicineruxngxun echnkarrksakalngickhxngtn hruxkarehnwakhnxun xyuthiihn aethnthicatxngmakngwlehmuxnkbtxnerimfukihm wa mithathangehmaasmthuktxnginkarthakickrrmnnihm karekidkhunkhxngkarrbruxakpkiriya aekikhkarrbruxakpkiriyaerimtnthikarthangankhxngplayprasathrbruxakpkiriya proprioceptor inrabbprasathswnplay 18 epnkrabwnkarsungechuxwaidrbkhxmulmacakesllprasathrbkhwamrusukinhuchnin sungbxkkarekhluxnihwaelakarthrngtw 3 cakplayprasathrbrukarkhyayxxk stretch receptor inklamenux aelacakesnexnrngkhxtx sungbxktaaehnngkhxngkay miplayprasaththithahnathikarrbruxyangniodyechphaa sungeriykwa playprasathrbruxakpkiriya 1 proprioceptor ehmuxnkbmiplayprasathrbkhwamrusukechphaaxyangsahrbaerngkd aesng xunhphumi esiyng aelakhwamrusukthangprasathxun TRPN sungepnpratuixxxnxyanghnungintrakul transient receptor potential channel idrbkarwicywamihnathirbruxakpkiriyainaemlngwnthxng 19 inhnxnnimaothda 20 in Xenopus laevis 21 22 aelainplamalay 23 aetwa yngimmikarkhnphbhnwyrbruxakpkiriyaechn TPRN inmnusythungaemwa caepnthiruknwakarrbrukarekhluxnihwkhxngniwmuxxasykhwamrusukthiphiwhnng aetwanganwicyerw niphbwa karrucawtthuodysmphs haptic perception thixasykarrbrukhwamekhluxnihwehmuxnkn ktxngxasyaerngkltang thiprasbinkhnasmphsdwy 24 phlnganwicyniepnpccyinkarsrangruprangtang aebbesmuxn virtual khuximmixyucring ehmuxnkb virtual realitiies ruidthangsmphsthimilksnatang kn 25 karrbruxakpkiriyathixyuitxanacciticaelanxkxanaccitic aekikh inmnusy karrbruxakpkiriyaaeykxxkepnaebbthixyuitxanacciticaelathinxkxanaccitic karrbruxakpkiriyaitxanaccitic conscious proprioception sngkhxmulipyngsiribrmthangwithiprasath posterior column medial lemniscus pathway 26 karrbruxakpkiriyanxkxanaccitic unconscious proprioception sngkhxmulodyhlkipyngsiriebllmthangwithiprasath dorsal spinocerebellar tract 27 aelathangwithiprasath ventral spinocerebellar tract 28 kartxbsnxngnxkxanacciticehnidinrieflkskarrbruxakpkiriyainmnusythieriykwa righting reflex khux emuxkayexiyngipthangdanihnktam bukhkhlnnkcatnghwihtrng epnkarprbradbtaihesmxkbaenwnxn 29 ptikiriyaniehnidaeminedktharkemuxedkerimkhwbkhumklamenuxkhxid karkhwbkhumklamenuxkhxidmisiriebllmepnehtu sungepnswnkhxngsmxngthixiththiphlinkarthrngtw 3 karprayuktich aekikhkarwinicchyorkhthangprasath aekikh mikarthdsxbthikhxnkhangcaechphaaecaacngthithdsxbkhwamsamarthinkarrbruxakpkiriyakhxngstwthirbkarthdsxb epnkarwinicchyorkhthangprasath neurological disorder rwmkarthdsxbthitrwcsxbrieflksodyichtahruxsmphsepntnwa placing reflexes 30 sungepnkarthdsxbkarrbruxakpkiriyaodysmphsinstwodyechphaakhxngaemwaelasunkhephuxkarwinicchyrksaphyabalinmnusy karthdsxbtxipniwdkhwamsamarthkhxngbukhkhlinkarrbruxakpkiriyaodyimichtachwy ihcbkhutaaehnngkhxtx aekikh karcbkhutaaehnngkhxtx xngkvs joint position matching epnwithikarwdkarrbruxakpkiriya odyechphaaxyangying epnkarwdkhwamsamarthinkarrbrutaaehnngkhxtx odythiimxasykhxmulcaktahruxrabbkarthrngtw vestibular system epntwchwy 31 ephuxthakarthdsxbni phungihphurbkarthdsxbpidta aelwekhluxnkhxtxhnungipyngxiktaaehnnghnungepnrayaewlahnung aelwknakhxtxnnklbmathiedim hlngcaknn kihphurbkarthdsxbekhluxnkhxtxipyngtaaehnngnn odywdkhwamphidphlad khwamsamarthinkarbngchimumkhxngkhxtxinsthankarntang kcawdid withikarniepnwithikarthiaemnyathisudinpccubninkarwdkarrbruxakpkiriya odythiimwdkhwamsamarthxyangxunrwmdwy nganwicyerw niphbwa khwamthndsaykhwa xayu karekhluxnihwexnghruxihphuxunekhluxnih aelarayaewlathiihkhxtxdarngxyuinmumepahmay mixiththiphltxkhwamsamarthinkarcbkhutaaehnngkhxtx 32 karcbkhutaaehnngkhxtxichinkarwinicchyrksathnginxwywaebuxngbnaelaebuxnglang ihchithisthangkarekhluxnihw aekikh ephuxthdsxbniwmux 2 33 hruxkhxmux hruxniwopngetha 33 ihkhnikhhlbta aelwkhybniwmuxhruxkhxmuxhruxniwopngethakhxngkhnikhkhunhruxlng odythiimtxngkhybekin 1 2 milliemtr 33 pktikhnikhcasamarthbxkthisthang 2 33 khwamerw aelamumkhxngkarekhluxnihwnnid 2 ephuxthdsxbkhxtxthisaophkaelahwekha ihkhnikhnxnhngayaelwpidta aelwkhybkhakhxngkhnikhipyngtaaehnngihm aelwihkhnikhbxkthisthangkhxngkarekhluxnihw 33 karthdsxbihlaelakhxsxk aekikh ephuxthdsxbihlaelakhxsxk ihkhnikhhlbta aelwexaniwchimawangthiplaycmukkhxngtn 33 karthdsxbodykarthrngtw aekikh samarthich Roberg s test sungepnwithithdsxbkarthrngtwinkarthdsxbxakpkiriyaid ihkhnikhyunkhachidknaelwpidta phlkarthdsxbepnbwkthakhnikhyunsayipmahruxlmemuxpidta 34 sungxaccabngthungrxyorkhthi dorsal column khwambkphrxngkhxnghuchnin rxyorkhthisiriebllm hruxphawa sensory ataxia 35 sungekidcakrxyorkhin dorsal column echnkn 33 karthdsxbkhwamema aekikh ecahnathitarwcchawxemriknthdsxbkhwammunemacaksura odyichwithithdsxbkarrbruxakpkiriyathieriykwa karthdsxbkhwamimemainsnam field sobriety test khuxihphurbkarthdsxbaetacmukinkhnathipidta phuthimikarrbruxakpkiriyathiepnpkticathakarimphladekinkwa 20 milliemtr inkhnathiphuthimikarrbruxakpkiriyainradbthildlng sungepnxakarkhxngkhnemasura casxbimphan ephraakhwamyaklabakinkarkahndtaaehnngkhxngaekhnkhaodysmphnthkbcmukkhxngtn kareriynruthksaihm aekikh ephraamikarrbruxakpkiriya eracungsamarththicaeriynruephuxcaedininthimudsnidodyimesiykarthrngtw aelainkhnathikalngeriynthksa eriynkarelnkila hruxeriynwithikarsrangsilpaihm pktiaelwcakhadkhwamkhunekhyekiywkbxakpkiriyakhxngrangkaythimiinkarthakickrrmnn imid thaimmikarprasankhxmulekiywkbxakpkiriyakhxngrangkaythiehmaasm nkwadrupyxmimsamarthpaysithiphaibodythiimaeldumuxkhxngtnthikalngekhluxnphuknipthiswntang khxngphaibid khnkhbrthkcaimsamarthkhbrth ephraaimsamarthmxngduphwngmaly dukhnerng aeladuthnnhnthangthixyukhanghnaipphrxm knid phuphimphkhiybxrdkcaimsamarthphimphaebbsmphsodyimtxngaelduaepnphimphid nketnblelykcaimxacetnihngdngamid aelakhnodythw ipkcaimsamarthaemaetcaedinodyimmxngduthithitntxngwangethaidn ph oxliewxr aesks 36 khrnghnungidrayngankrnikhxnghyingsawphusuyesiykarrbruxakpkiriyaephraakartidechuxiwrsthiikhsnhlng 37 emuxerimmipyhaniihm ethximsamarthaemaetcaekhluxnihwrangkayxyangepnpkti imsamarthcakhwbkhumnaesiyngkhxngethx ephraakarkhwbkhumesiyngxasykarrbruxakpkiriya txma ethxtxngfukthakickrrmtang ihmodyichtakbrabbrbrukarthrngtw vestibular system inhuchnin inkarekhluxnihwrangkayodyimmikhxmulcakrabbkarrbruxakpkiriya aelaichhuephuxchwykhwbkhumnaesiyngkhxngethx inthisud ethxcungcasamarththakarekhluxnihwthiaekhng aelacha aelaichkhaphuddwynaesiyngthiekuxbepnpkti sungechuxknwaepnkhwamsaercphldithisudthiepnipidinkrnithikhadkarrbruxakpkiriyaxyangni ethximsamarthaemcaruradbkalngthitxngichinkarhyibcbwththu dngnn ethxcungcbwtthutang ekinkalngcnkrathngrusukecbpwd ephuxihaenicwa ethxcaimthawtthuehlanntk karfuk aekikh source source source source source source source source source source source source source source karfukxwywaswnlang karrbruxakpkiriyasamarthfukidodyhlaywithi karoynkhxngslbmuxinkarelnkl epnwithifukkartxbsnxngihwxngiwkhun fukkarkahndtaaehnngkhxngxwywainpriphumi aelafukkarekhluxnihwthimiprasiththiphaphimsinepluxngkhwamphyayam txngkarxangxing swnkarichkradanthrngtw 38 samarthfunfuhruxephimkhwamsamarthinkarrbruxakpkiriya odyechphaaxyangyingodyepnwithifunfubabdkhwambadecbthikhxethahruxekha swnkaryunbnkhaediyw hruxwithiddkayxyangxun epnswnhnungkhxngkaybriharaebboykha hwingchun aelaithekk thisamarthichphthnakarrbruxakpkiriyaechnediywkn 39 nganwicyhlaynganaesdngwa karddkayehlanicamiprasiththiphaphephimkhunthapidtatha txngkarxangxing ephraawa khxmulcaktaepnkhxmulpxnklbsakhythiichinkarthrngtw aeladngnn emuxpidtacungtxngxasykarrbruxakpkiriyamakkhuninkarthrngtw mixupkrnxyangxunthiichephimkarrbruxakpkiriyaodyechphaa echnlukbxlephuxxxkkalngkay 40 sungchwykarthrngtwaelabriharklamenuxthxngaelahlngkhwambkphrxng aekikhkarsuyesiyhruxkhwambkphrxngkhxngkarrbruxakpkiriyaaebbchwkhraw xaccaekidkhunepnraya inchwngphthnakar odyechphaainchwngwyrun karepliynaeplnginrangkaythixaccamiphltxkhwambkphrxngkhxngkarrbruxakpkiriya khux karephimkhunhruxldlngxyangrwderwkhxngnahnktwhruxkhnadtw enuxngcakkarephimkhunldlngxyangrwderwkhxngikhmn echnodykardudikhmnxxkepntn aela hrux karephimkhunhruxldlngxyangrwderwkhxngklamenux ephraakarephaakay karichxanabxliksetxrxyd aelakhwamxdxyakepntn nxkcaknnaelw yngsamarthekidkhunkbbukhkhlthimikhwamxxntw flexibility khwamyudhyunid stretching aelakhwambidtwid contortion thisungkhun xwywathisamarthekhluxnihwidinradbthiimekhymimakxn hruxwaimsamarththaidhlngcakwyedk xaccathakhwamsbsnihkbkhwamrusukekiywkbtaaehnngkhxngxwywatang xakarthicaekidkhunidaek ekidkhwamrusukxyangechiybphlnwa ethahruxkhakhxngtnhayip ekidkhwamcaepninkarduaekhnkhakhxngtnephuxcaihaenicwayngxyu aelamikarhklminkhnathiedinodyechphaaemuxkalngisicinsingxunnxkcakkaredinkarrbruxakpkiriyabangkhrngxacmikhwambkphrxngkhunmaechy odyechphaaemuxehnuxy kaykhxngtnxaccarusukihyekinhruxelkekin hruxxwywabangswnxaccaehmuxnkbmikhnadphidip praktkarnthikhlayknxaccaekidkhuninkhnachk hruxinkhnamisyyanbxkehtuimekrn migraine auras 41 praktkarnehlaniidrbsnnisthanwaekidcakkarkratunaebbphidpktikhxngswninsmxngklibkhang sungmihnathiprasankhxmulcakswntang khxngrangkay 42 yngmiethkhnikhhlxkrabbkarrbruxakpkiriyaxikdwy echnkarhlxkdwy Pinocchio illusion 43 khwamrusukthungkarrbruxakpkiriyamkcaimpraktephraawamnusyodymakcaprbtwtxtwkratunthimixyutlxdewla sungepnkrabwnkarthieriykwa habituation khwamekhychin desensitization karldkhwamrusuk hrux adaptation karprbtw phlkkhuxkhwamrusukekiywkbkarrbruxakpkiriyayxmxntrthanip ehmuxnkbklinthixntrthanipemuxekhychin cuddixyanghnungkkhux kickrrmhruxkhwamrusukthiimidrbkarsngekt samarthdaenintxipepnebuxnghlng inkhnathibukhkhlnnisicineruxngxunbukhllphumikartdaekhnkhaxaccamikhwamrusukthisbsnekiywkbkhwammixyukhxngxwywann sungepnklumxakarthieriykwa klumxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu phantom limb syndrome khwamrusukekiywkbxwywaaefntxm khuxxwywathiimmiaetrusukehmuxnwami xacekidkhunepnkhwamrusukthangxakpkiriyawa mixyu odyimmikarekhluxnihw hruxkhwamrusukwa mikarekhluxnihw miaerngkd mikhwamecbpwd mikhwamkhn hruxkhwamrusukrxneyn mithvsdihlayxyangekiywkbsmutthankhxngkhwamrusukaelaprasbkarnxun ekiywkbxwywaaefntxm aeckh esa phuepnnayaephthypraca r ph wxletxr rid inemuxngwxchingtn di si idesnxthvsdibnphunthankhwamkhidekiywkb khwamthrngcainkarrbruxakpkiriya proprioceptive memory thvsdiniesnxwa smxngdarngkhwamthrngcaekiywkbtaaehnngechphaathi khxngxwywatang dngnn emuxmikartdxwywaxxk kcamikhxmulkhdaeyngknrahwangrabbsayta sungehnkhwamthixwywannimmixyucring aelarabbkhwamthrngcasungyngcawaxwywannepnswnprakxbthiyngmixyuinrangkay 44 khwamrusukaelakhwamecbpwdinxwywaaefntxm xacekidkhunhlngcaktdxwywaxun nxkcakaekhnkhainrangkay echnkartdetanm karthxnfn miphlepnklumxakarhlngphidwafnyngkhngxyu aelakartdtaxxk miphlepnklumxakarhlngphidwatayngkhngxyu khwambkphrxngaebbchwkhrawkhxngrabbrbruxakpkiriya samarthekidcakkarichwitamin B6 pyridoxine aela pyridoxamine ekinkhnad khwambkphrxngcaklbipsuphawapktihlngcakthikarbriophkhwitaminklbipsuradbpkti nxkcaknn khwambkphrxngxacekidkhunephraaekidkhwamepnphistxesll cytotoxicity echnephraaekhmibabd karihkhiom mikaresnxwa aemxakarmiesiynginhu tinnitus aelakarimidyinesiynginkhwamthibangradb kxaccakxihekidkhxmulxakpkiriyathiphidphlad sungemuxsunysmxngthipramwlphlidrbaelw xaccakxihekidkhwamsbsnxyangxxn karrbruxakpkiriyaxaccamikhwamesiyhayxyangthawrinkhnikhthimiorkhekiywkbkarekhluxnihwkhxtxekinkhnad hrux Ehlers Danlos Syndrome sungepnorkhphnthukrrmmiphlihenuxeyuxyudtx connective tissue inswntang khxngrangkayimaekhngaerng 45 hruxxaccaekidkhunephraakartidechuxiwrsdngthiraynganody n ph aesks 36 dudanbn swnphlkhxngkarsuyesiykarrbruxakpkiriyathimikhwamesiyhayxyangrayaerngidrbkartrwcsxbody orebrs edx la thxr inpi kh s 2006 46 echingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng proprioception wa karrbruxakpkiriya aelakhxng proprioceptor wa playprasathrbruxakpkiriya 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 s phy phasuk mhrrkhanuekhraah 2013 prasathkaywiphakhsastrphunthan Basic neuroanatomy krungethphmhankhr s phy phasuk mhrrkhanuekhraah p 214 ISBN 978 616 335 105 0 3 0 3 1 3 2 3 3 3 4 ihsngektihdiwa khawa proprioception nn epnkhathichals skxtt echxrringtn idbyytikhuntngaetpi kh s 1906 epnkhathiidichsubknmathixaccamikhwamhmaytang knaelwaetaetlakhncaniyamaelwaetsthankarn khaniyamthiiklkbthiechxrringtnidbyytiiwrwmkarrbrukarekhluxnihw karrbrutaaehnngkhxtx aelakarkahndkhwamsmdul karthrngtw sungepnkarrbruthiepnkhaniyamkhxngkhawa proprioceptive sense dwy aetwa inpccubn odyechphaainexksarhnngsuxwichakarthiaeykrabbrbkhwamrusukthangkay somatosensory system aelarabbkarthrngtw vestibular system xxkcakkn proprioception mkcahmaythungkarrbrukarekhluxnihwaelataaehnngkhxtx sungepnswnkhxngrabbrbkhwamrusukthangkay ethann imrwmkarkahndkhwamsmdul sungepnswnkhxngrabbkarthrngtw du Kandel 2000 aelamhrrkhanuekhraah 2556 bthkhwamniaeplmacakbthkhwamwikiphiediyphasaxngkvsepnhlk thiduehmuxncaklawthungkhaniyamthngsxngnnrwm knip echnkhacakdkhwamdanbnimidrwmrabbkarthrngtw aetrwminenuxhakhxngxngkhprakxbthiklawxyangkhlumekhruxthungkhwamhmaykhxng proprioception phuxanphungichwicarnyanwa khwamthrngtw balance aelakhwamsmdul equilbrium nnkhwrcaepnswnhnungkhxng proprioception inbribthhruxim echnthaklawthung proprioception khxng somatosensory system kimphungrwmkhwamthrngtwinkhwamhmayxyangaennxn cakphuaepl Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M 2000 Principles of Neural Science Fourth Edition United State of America McGraw Hill p 444 ISBN 0 8385 7701 6 Jerosch Jorg Heisel Jurgen May 2010 Management der Arthrose Innovative Therapiekonzepte phasaeyxrmn Deutscher Arzteverlag p 107 ISBN 978 3 7691 0599 5 subkhnemux 8 April 2011 Singh Arun Kumar September 1991 The Comprehensive History of Psychology Motilal Banarsidass Publ p 66 ISBN 978 81 208 0804 1 subkhnemux 8 April 2011 Dickinson John 1976 Proprioceptive control of human movement Princeton Book Co p 4 subkhnemux 8 April 2011 Foster Susan Leigh 15 December 2010 Choreographing Empathy Kinesthesia in Performance Taylor amp Francis p 74 ISBN 978 0 415 59655 8 subkhnemux 8 April 2011 Brookhart John M Mountcastle Vernon B Vernon Benjamin Geiger Stephen R 1984 The Nervous system Sensory processes volume editor Ian Darian Smith American Physiological Society p 784 ISBN 978 0 683 01108 1 subkhnemux 8 April 2011 muscle spindle epntwrbkhwamrusukinklamenuxthitrwccbkhwamepliynaeplngkhwamyudhyunkhxngklamenux aelwsngkhxmulipyngrabbprasathklang Pacinian corpuscle epnhnungintwrbaerngkl mechanoreceptor hlk 4 xyang epnplayprasathmiepluxkhuminphiwhnng mikhwamiwtxkhwamsnsaethuxnaelaaerngkd pressure khwamiwtxkhwamsnsaethuxnsamarthichephuxrbruphiwkhxngwtthuwakhrukhrahruxeriyb 12 0 12 1 Proske U Gandevia SC 2009 The kinaesthetic senses The Journal of Physiology 587 Pt 17 4139 4146 doi 10 1113 jphysiol 2009 175372 PMC 2754351 PMID 19581378 Winter JA Allen TJ Proske U 2005 Muscle spindle signals combine with the sense of effort to indicate limb position The Journal of physiology 568 Pt 3 1035 46 doi 10 1113 jphysiol 2005 092619 PMC 1464181 PMID 16109730 Collins DF Refshauge KM Todd G Gandevia SC 2005 Cutaneous receptors contribute to kinesthesia at the index finger elbow and knee Journal of neurophysiology 94 3 1699 706 doi 10 1152 jn 00191 2005 PMID 15917323 15 0 15 1 Konradsen L 2002 Factors Contributing to Chronic Ankle Instability Kinesthesia and Joint Position Sense Journal of Athletic Training 37 4 381 385 PMC 164369 PMID 12937559 Dover G Powers ME 2003 Reliability of Joint Position Sense and Force Reproduction Measures During Internal and External Rotation of the Shoulder Journal of Athletic Training 38 4 304 310 PMC 314388 PMID 14737211 Feuerbach JW Grabiner MD Koh TJ Weiker GG 1994 Effect of an ankle orthosis and ankle ligament anesthesia on ankle joint proprioception The American journal of sports medicine 22 2 223 9 doi 10 1177 036354659402200212 PMID 8198191 Sherrington CS 1907 On the proprioceptive system especially in its reflex aspect Brain 29 4 467 85 doi 10 1093 brain 29 4 467 aemaebb Cite PMID aemaebb Cite PMID Xenopus laevis epnchuxspichiskhxngkbinthwipxfrikaitmilksnaphiesskhuxmielbsn 3 elbthiichchikenuxstwthiepnxahar aemaebb Cite PMID aemaebb Cite PMID Robles De La Torre G Hayward V 2001 Force can overcome object geometry in the perception of shape through active touch PDF Nature 412 6845 445 8 doi 10 1038 35086588 PMID 11473320 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2006 10 03 subkhnemux 2013 10 22 the MIT Technology Review article The Cutting Edge of Haptics Fix James D 2002 Neuroanatomy Hagerstown MD Lippincott Williams amp Wilkins p 127 ISBN 0 7817 2829 0 Swenson RS Review of Clinical and Functional Neuroscience Chapter 7A Somatosensory Systems online version Dartmouth college khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 04 05 subkhnemux 2008 04 10 Siegel Allan 2010 Essential Neuroscience Lippincott Williams amp Wilkins p 263 saenathiekbthawr khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 12 14 subkhnemux 2013 10 22 Introduction to Neurology 2nd Edition 1976 A C Palmer Blackwell Scientific Oxford Goble DJ Noble BC Brown SH 2010 Where was my arm again Memory based matching of proprioceptive targets is enhanced by increased target presentation time PDF Neuroscience letters 481 1 54 8 doi 10 1016 j neulet 2010 06 053 PMID 20600603 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2014 12 19 subkhnemux 2013 10 22 Goble DJ 2010 Proprioceptive acuity assessment via joint position matching From basic science to general practice Physical therapy 90 8 1176 84 doi 10 2522 ptj 20090399 PMID 20522675 33 0 33 1 33 2 33 3 33 4 33 5 33 6 Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M Siegelbaum Steven A Hudspeth A J 2013 Principles of Neural Science Fifth Edition United State of America McGraw Hill ISBN 978 0 07 139011 8 Lanska DJ Goetz CG 2000 Romberg s sign Development adoption and adaptation in the 19th century Neurology 55 8 1201 6 PMID 11071500 sensory ataxia epnklumxakarinprasathwithya epnphawa ataxia karsuyesiykarthanganrwmkninrabbprasath praephthhnungthiekidcakkarsuyesiykhxmulkhwamrusukinrabbsmxngthikhwbkhumkarekhluxnihw 36 0 36 1 oxliewxr aesks epnnkprasathwithyachawxemrikn xngkvs ruckinthanaepnsastracaryinkhnaprasathwithyaaelacitewchthimhawithyalyokhlmebiy idekhiynhnngsuxthimichuxesiynghlayelm Sacks O The Disembodied Lady in The Man Who Mistook His Wife for a Hat and his autobiographical case study A Leg to Stand On kradanthrngtw balance board epnxupkrnichephuxkarphxnkhlay karfukkarthrngtw karfuknkelnkila karchwyphthnasmxng karfunfubabd karfuknkdntri aelakarphthnaswntwpraephthxun milksnaepnkhanngdehmuxnimkradanhkthiichyun odymiethaxyuinplaytrngknkhamkhxngkradan phuichkcathrngtwbnkradanimihplaykradankrathbkbphun aelaimihtnexngtklngcakkradan cheng man ch ing T ai Chi Ch uan Blue Snake Books usa pp 86 88 ISBN 978 0 913028 85 8 lukbxlephuxxxkkalngkay exercise ball thadwyyangmiesnphasunyklangpraman 35 85 s m aelaetimetmdwylm ichinkayphaphbabd karfukhdnkkila aelakarxxkkalngkay syyanbxkehtu aura epnkhwampnpwninkarrbrukhwamrusukthiphupwyimekrnprasbkxnthiimekrncaekid hruxepnkhwamrusukthiepnlksnaechphaathiphupwyorkhchkprasbkxnhruxhlngkarchk Ehrsson H Kito T Sadato N Passingham R Naito E 2005 Neural substrate of body size illusory feeling of shrinking of the waist PLoS Biol 3 12 e412 doi 10 1371 journal pbio 0030412 PMC 1287503 PMID 16336049 a href E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal html title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Pinocchio illusion epnkarhlxkkhwamrusukthithaihehmuxnwa cmuktnexngkalngyawkhunehmuxnkbtwlakhrinnithanedk phinxkhkhiox thimicmukyawkhunemuxkalngokhk ephuxcamiprasbkarnechnni ihichekhruxngsnaenbthiesnexnkhxngklamenuxibespsthiaekhndanbn inkhnathiihcbcmukdwymuxkhxngaekhnnn ekhruxngsncakratuntwrbkhwamrusuk muscle spindle inklamenuxibesps thipktiekidkhunephraakaryudxxkkhxngklamenux kxihekidkarhlxkkhwamrusukwa aekhnnnkalngekhluxnxxkipcakibhna aelaephraawaniwmuxthikalngcbcmukkyngsngkhxmulsmphsipyngrabbprasathwa yngcbcmukxyu cungpraktehmuxnkbwa cmuknnkalngyudxxkipcakibhnadwy Weeks S R Anderson Barnes V C Tsao J 2010 Phantom limb pain Theories and therapies The Neurologist 16 5 277 286 1 ekbthawr 2011 08 12 thi ewyaebkaemchchin Castori M 2012 Ehlers danlos syndrome hypermobility type an underdiagnosed hereditary connective tissue disorder with mucocutaneous articular and systemic manifestations ISRN Dermatol 2012 751768 doi 10 5402 2012 751768 PMC 3512326 PMID 23227356 Robles De La Torre G 2006 The Importance of the Sense of Touch in Virtual and Real Environments PDF IEEE Multimedia 13 3 24 30 doi 10 1109 MMUL 2006 69 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2014 01 24 subkhnemux 2013 10 22 aehlngkhxmulxun aekikhNeuroscience Tutorial lingkesiy See Basic somatosensory pathway Eastern International College Joint amp Bone Ehlers Danlos Joint Hypermobility Syndrome Proprioception ekbthawr 2005 11 03 thi ewyaebkaemchchin Humans have six senses why does everyone think we only have five at Everything2 Proprioception lingkesiy this essay by Charles Wolfe takes its cue from such thinkers amp artists as Charles Olson Merleau Ponty James J Gibson and Andy Clark to illustrate the view of the priority of dynamic embodied activity over isolated mental and physical regions to define this concept WNYC Radio Lab Where Am I May 05 2006 ekbthawr 2006 06 21 thi ewyaebkaemchchin radio program looks at the relationship between the brain and the body The Dancers Mind ABC Aust podcast on the nature of proprioception Proprioception inhxsmudaephthysastraehngchatixemrikn sahrbhwkhxenuxhathangkaraephthy MeSH ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karrbruxakpkiriya amp oldid 9615256, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม