fbpx
วิกิพีเดีย

กลีบข้าง

สมองกลีบข้าง (อังกฤษ: parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe)

สมองกลีบข้าง
(Parietal lobe)
พื้นผิวทางด้านข้างของสมองซีกซ้าย มองจากด้านข้าง (สมองกลีบข้างอยู่ทางด้านขวาบน)
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของซีรีบรัม
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล (Anterior cerebral artery)
หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (Middle cerebral artery)
หลอดเลือดดำซุพีเรียร์ ซาจิตตัล ไซนัส (Superior sagittal sinus)
ตัวระบุ
ภาษาละตินlobus parietalis
MeSHD010296
นิวโรเนมส์95
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1148
TA98A14.1.09.123
TA25467
FMA61826
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ]

สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย)

มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกายคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกาย

ชื่อของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) มาจากชื่อของกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) ที่อยู่เหนือสมอง คำอังกฤษว่า "parietal" นั้นมาจากภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "กำแพง" หรือ "ข้าง"

กายวิภาค

 
รูปไหว สมองกลีบข้างมีสีแดง อยู่ในสมองซีกซ้าย

สมองกลีบข้างล้อมรอบด้วยโครงสร้างทางกายวิภาค 4 ส่วน ได้แก่ ร่องกลาง (central sulcus) ที่แบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบหน้า, parieto-occipital sulcus (ร่องระหว่างสมองกลีบข้างและสมองกลีบท้ายทอย) ที่แบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบท้ายทอย, ร่องด้านข้าง (lateral sulcus) หรือร่องซิลเวียน (sylvian fissure) ซึ่งอยู่ด้านข้างมากที่สุด และแบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบขมับ, และ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ที่แบ่งสมองซีกซ้ายจากสมองซีกขวา. ในแต่ละซีกสมอง คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่ของเขตผิวหนังในด้านตรงกันข้ามของร่างกาย (เช่นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายในสมองซีกขวามีแผนที่ของเขตผิวหนังในร่างกายด้านซ้าย)

ทันทีหลังจากร่องกลาง ซึ่งเป็นส่วนหน้าสุดของสมองกลีบข้าง ก็คือ รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) หรือเขตบร็อดแมนน์ 3 เป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary sensory cortex) และร่องหลังร่องกลาง (postcentral sulcus) แบ่งส่วนหน้าของสมองกลีบข้างนี้จากคอร์เทกซ์กลีบข้างด้านหลัง (posterior parietal cortex)

คอร์เทกซ์กลีบข้างด้านหลังสามารถแบ่งออกเป็น

  • superior parietal lobule (สมองกลีบข้างย่อยด้านบน ซึ่งก็คือ เขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7)
  • inferior parietal lobule (สมองกลีบข้างย่อยด้านล่าง ซึ่งก็คือ เขตบร็อดแมนน์ 39 และ 40)
  • กลีบย่อยทั้งสองแบ่งออกจากกันโดย intraparietal sulcus (ร่องภายในสมองกลีบข้าง, ตัวย่อ IPS)

IPS พร้อมกับรอยนูน (gyrus) ที่อยู่ติด ๆ กันยังสามารถแบ่งออกโดยความต่างกันของการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics) และความต่างกันโดยกิจ เป็นส่วนย่อย ๆ คือ ส่วนใน (medial, ตัวย่อ MIP) ส่วนข้าง (lateral, ตัวย่อ LIP) ส่วนล่างหรือส่วนท้อง (ventral, ตัวย่อ VIP) และส่วนหน้า (anterior, ตัวย่อ AIP)

กิจหน้าที่

สมองกลีบข้างมีบทบาทสำคัญในการประสานข้อมูลความรู้สึกมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในความรู้เกี่ยวกับตัวเลขและความสัมพันธ์ของตัวเลข และในการเคลื่อนไหวจัดการวัตถุต่าง ๆ. มีเขตหลายเขตในสมองกลีบข้างที่มีความเกี่ยวข้องกับการประมวลปริภูมิทางตา ถึงแม้ว่าเราจะรู้ถึงกิจของสมองส่วนนี้ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สมองกลีบข้างนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีเท่ากับสมองกลีบอื่น ๆ ในซีรีบรัม

งานวิจัยต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1990 พบเขตหลายเขตของสมองกลีบหน้าในลิงแม็กแคกที่เป็นแผนที่ของปริภูมิต่าง ๆ

  • เขต LIP (lateral intraparietal) มีแผนที่โทโพกราฟิก (topographic map) 2 มิติของปริภูมิ เป็นการเข้ารหัสข้อมูลจากเรตินา แสดงความโดดเด่นและตำแหน่งในปริภูมิของวัตถุ ระบบการสั่งการที่ประสานกับข้อมูลทางตาสามารถใช้แผนที่นี้เพื่อนำการเคลื่อนไหวของตา
  • เขต VIP (ventral intraparietal) รับข้อมูลมาจากประสาทต่าง ๆ เช่น ระบบการเห็น ระบบความรู้สึกทางกาย ระบบการได้ยิน และระบบการทรงตัว เซลล์ประสาทที่มีลานรับความสัมผัส รองรับแผนที่ปริภูมิมีศีรษะเป็นศูนย์กลาง. เซลล์ลานรับข้อมูลทางตา ก็รองรับแผนที่ปริภูมิมีศีรษะเป็นศูนย์กลางเช่นกัน แต่ว่า ก็อาจจะมีตาเป็นศูนย์กลางด้วย
  • เซลล์ประสาทในเขต MIP (medial intraparietal) เข้ารหัสตำแหน่งของวัตถุที่จะเอื้อมจับโดยมีตาเป็นศูนย์
  • เขต AIP (anterior intraparietal) มีเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อรูปร่าง ขนาด และทิศทางของวัตถุที่จะเอื้อมจับ และต่อการสั่งการเคลื่อนไหวมือทั้งสองด้วย โดยมีปฏิกิริยาต่อทั้งตัวกระตุ้นที่เห็นอยู่จริง ๆ หรือตัวกระตุ้นที่ระลึกจำได้

พยาธิ

  • Gerstmann's syndrome มีความสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้างซีกควบคุม (dominant) ซึ่งมักจะเป็นซีกซ้าย
  • Balint's syndrome มีความสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้างทั้งสองซีก
  • ภาวะละเลยข้างเดียว ปกติมีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของความใส่ใจอย่างรุนแรงในซีกสมองที่ไม่ใช่เป็นซีกควบคุม (non-dominant)

ภาพอื่น ๆ

อ้างอิง

  1. http://www.ruf.rice.edu/~lngbrain/cglidden/parietal.html
  2. Schacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009). Psychology. (2nd ed.). New Work (NY): Worth Publishers.
  3. Blakemore & Frith (2005). The Learning Brain. Blackwell Publishing. ISBN 1-4051-2401-6
  4. แผนที่โทโพกราฟิก (topographic map) เป็นแผนที่ในสมองที่แสดงพื้นผิวของอวัยวะรับรู้ความรู้สึก เช่นเรตินาหรือผิวหนัง หรือส่วนของร่างกายที่เป็นหน่วยปฏิบัติงาน เช่นระบบกล้ามเนื้อ แผนที่โทโพกราฟิกมีอยู่ในระบบรับรู้ความรู้สึกทุกระบบ และในระบบสั่งการเป็นจำนวนมาก
  5. Avillac M, Deneve S, Olivier E, Pouget A, Duhamel JR. (2005) Reference frames for representing visual and tactile locations in parietal cortex. Nat Neurosci. 8 (7) :941-9.
  6. Zhang T, Heuer HW, Britten KH. (2004) Parietal area VIP neuronal responses to heading stimuli are encoded in head-centered coordinates. Neuron 42 (6) :993-1001.
  7. การเข้ารหัสโดยรวม ๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็ก ๆ บนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้
  8. Pesaran B, Nelson MJ, Andersen RA. (2006) Dorsal premotor neurons encode the relative position of the hand, eye, and goal during reach planning. Neuron 51 (1) :125-34.
  9. Murata A, Gallese V, Luppino G, Kaseda M, Sakata H. (2000) Selectivity for the shape, size, and orientation of objects for grasping in neurons of monkey parietal area AIP. J Neurophysiol 83 (5) :2580. PMID 10805659
  10. Murata A, Gallese V, Kaseda M, Sakata H. (1996) Parietal neurons related to memory-guided hand manipulation. J Neurophysiol 75 (5) :2180-6. PMID 8734616

ดูเพิ่ม

กล, บข, าง, สมอง, งกฤษ, parietal, lobe, หร, parietal, cortex, lobus, parietalis, ในประสาทกายว, ภาคศาสตร, เป, นกล, บสมองหน, อย, เหน, อสมองกล, บท, ายทอย, occipital, lobe, และหล, งสมองกล, บหน, frontal, lobe, สมอง, parietal, lobe, นผ, วทางด, านข, างของสมองซ, กซ, า. smxngklibkhang xngkvs parietal lobe hrux parietal cortex lobus parietalis inprasathkaywiphakhsastr epnklibsmxnghnung xyuehnuxsmxngklibthaythxy occipital lobe aelahlngsmxngklibhna frontal lobe smxngklibkhang Parietal lobe phunphiwthangdankhangkhxngsmxngsiksay mxngcakdankhang smxngklibkhangxyuthangdankhwabn raylaexiydswnhnungkhxngsiribrmhlxdeluxdaednghlxdeluxdaedngaexnthieriyrsiribrl Anterior cerebral artery hlxdeluxdaedngmidedilsiribrl Middle cerebral artery hlxdeluxddasuphieriyr sacittl isns Superior sagittal sinus twrabuphasalatinlobus parietalisMeSHD010296niworenms95niworelks IDbirnlex 1148TA98A14 1 09 123TA25467FMA61826sphththangkaywiphakhkhxngprasathkaywiphakhsastr aekikhbnwikisneths smxngklibkhangphsmphsansyyanrbkhwamrusukcakhnwyrbkhwamrusukthnghlay mihnathiechphaainkarpramwlkhwamrusukekiywkbpriphumi spatial sense aelakarnathang navigation twxyangechn smxngklibkhangprakxbdwykhxrethksrbkhwamrusukthangkay somatosensory cortex aelathangsyyandanlang dorsal stream khxngrabbkarehn sungthaihkhxrethksklibkhangsamarthsrangaephnthikhxngwtthuthiehn odythiwtthumitaaehnngsmphnthkbrangkay echnehnwaxyuthangsayhruxthangkhwakhxngkay miekhthlayekhtkhxngsmxngklibkhangthimikhwamsakhyinkarpramwlphlthangphasa aeladanhlngtxcakrxngklang central sulcus kkhuxrxynunhlngrxngklang postcentral gyrus sungmihnathiekiywkbkarrbrukhwamrusukthangkay 1 khxrethksrbkhwamrusukthangkaymiaephnthiepnrupmnusythibidebuxn thieriykwa cortical homunculus homunculus macakphasalatinthiaeplwa khntwelk odythiswntang khxngrangkaymikhnadethakbekhtthikhxrethksrbkhwamrusukthangkaymiphunthiihsahrbswnnnkhxngrangkay 2 chuxkhxngsmxngklibkhang parietal lobe macakchuxkhxngkradukkhangkhmxm parietal bone thixyuehnuxsmxng khaxngkvswa parietal nnmacakphasalatin sungaeplwa kaaephng hrux khang enuxha 1 kaywiphakh 2 kichnathi 3 phyathi 4 phaphxun 5 xangxing 6 duephimkaywiphakh aekikh rupihw smxngklibkhangmisiaedng xyuinsmxngsiksay smxngklibkhanglxmrxbdwyokhrngsrangthangkaywiphakh 4 swn idaek rxngklang central sulcus thiaebngsmxngklibkhangcaksmxngklibhna parieto occipital sulcus rxngrahwangsmxngklibkhangaelasmxngklibthaythxy thiaebngsmxngklibkhangcaksmxngklibthaythxy rxngdankhang lateral sulcus hruxrxngsilewiyn sylvian fissure sungxyudankhangmakthisud aelaaebngsmxngklibkhangcaksmxngklibkhmb aela medial longitudinal fissure chxngtamyawaenwklang thiaebngsmxngsiksaycaksmxngsikkhwa inaetlasiksmxng khxrethksrbkhwamrusukthangkaymiaephnthikhxngekhtphiwhnngindantrngknkhamkhxngrangkay echnkhxrethksrbkhwamrusukthangkayinsmxngsikkhwamiaephnthikhxngekhtphiwhnnginrangkaydansay 2 thnthihlngcakrxngklang sungepnswnhnasudkhxngsmxngklibkhang kkhux rxynunhlngrxngklang postcentral gyrus hruxekhtbrxdaemnn 3 epnkhxrethksrbkhwamrusukthangkaypthmphumi primary sensory cortex aelarxnghlngrxngklang postcentral sulcus aebngswnhnakhxngsmxngklibkhangnicakkhxrethksklibkhangdanhlng posterior parietal cortex khxrethksklibkhangdanhlngsamarthaebngxxkepn superior parietal lobule smxngklibkhangyxydanbn sungkkhux ekhtbrxdaemnn 5 aela 7 inferior parietal lobule smxngklibkhangyxydanlang sungkkhux ekhtbrxdaemnn 39 aela 40 klibyxythngsxngaebngxxkcakknody intraparietal sulcus rxngphayinsmxngklibkhang twyx IPS IPS phrxmkbrxynun gyrus thixyutid knyngsamarthaebngxxkodykhwamtangknkhxngkarcdraebiybkhxngesll cytoarchitectonics aelakhwamtangknodykic epnswnyxy khux swnin medial twyx MIP swnkhang lateral twyx LIP swnlanghruxswnthxng ventral twyx VIP aelaswnhna anterior twyx AIP kichnathi aekikhsmxngklibkhangmibthbathsakhyinkarprasankhxmulkhwamrusukmacakswntang khxngrangkay inkhwamruekiywkbtwelkhaelakhwamsmphnthkhxngtwelkh 3 aelainkarekhluxnihwcdkarwtthutang miekhthlayekhtinsmxngklibkhangthimikhwamekiywkhxngkbkarpramwlpriphumithangta thungaemwaeracaruthungkickhxngsmxngswnnidngthiidklawipaelw aetodythw ipaelw smxngklibkhangnnyngimepnthiruckkndiethakbsmxngklibxun insiribrmnganwicytang inkhristthswrrs 1990 phbekhthlayekhtkhxngsmxngklibhnainlingaemkaekhkthiepnaephnthikhxngpriphumitang ekht LIP lateral intraparietal miaephnthiothophkrafik topographic map 4 2 mitikhxngpriphumi epnkarekharhskhxmulcakertina aesdngkhwamoddednaelataaehnnginpriphumikhxngwtthu rabbkarsngkarthiprasankbkhxmulthangtasamarthichaephnthiniephuxnakarekhluxnihwkhxngta ekht VIP ventral intraparietal rbkhxmulmacakprasathtang echn rabbkarehn rabbkhwamrusukthangkay rabbkaridyin aelarabbkarthrngtw 5 esllprasaththimilanrbkhwamsmphs rxngrbaephnthipriphumimisirsaepnsunyklang 5 eslllanrbkhxmulthangta krxngrbaephnthipriphumimisirsaepnsunyklangechnkn 6 aetwa kxaccamitaepnsunyklangdwy 5 esllprasathinekht MIP medial intraparietal ekharhs 7 taaehnngkhxngwtthuthicaexuxmcbodymitaepnsuny 8 ekht AIP anterior intraparietal miesllprasaththitxbsnxngtxruprang khnad aelathisthangkhxngwtthuthicaexuxmcb 9 aelatxkarsngkarekhluxnihwmuxthngsxngdwy odymiptikiriyatxthngtwkratunthiehnxyucring 9 hruxtwkratunthiralukcaid 10 phyathi aekikhGerstmann s syndrome mikhwamsmphnthkbrxyorkhinsmxngklibkhangsikkhwbkhum dominant sungmkcaepnsiksay Balint s syndrome mikhwamsmphnthkbrxyorkhinsmxngklibkhangthngsxngsik phawalaelykhangediyw pktimikhwamsmphnthkbkhwambkphrxngkhxngkhwamisicxyangrunaernginsiksmxngthiimichepnsikkhwbkhum non dominant phaphxun aekikh smxngklibtang phaphwadaesdngkhwamsmphnthkhxngsmxngaelakaohlksirsaxangxing aekikh http www ruf rice edu lngbrain cglidden parietal html 2 0 2 1 Schacter D L Gilbert D L amp Wegner D M 2009 Psychology 2nd ed New Work NY Worth Publishers Blakemore amp Frith 2005 The Learning Brain Blackwell Publishing ISBN 1 4051 2401 6 aephnthiothophkrafik topographic map epnaephnthiinsmxngthiaesdngphunphiwkhxngxwywarbrukhwamrusuk echnertinahruxphiwhnng hruxswnkhxngrangkaythiepnhnwyptibtingan echnrabbklamenux aephnthiothophkrafikmixyuinrabbrbrukhwamrusukthukrabb aelainrabbsngkarepncanwnmak 5 0 5 1 5 2 Avillac M Deneve S Olivier E Pouget A Duhamel JR 2005 Reference frames for representing visual and tactile locations in parietal cortex Nat Neurosci 8 7 941 9 Zhang T Heuer HW Britten KH 2004 Parietal area VIP neuronal responses to heading stimuli are encoded in head centered coordinates Neuron 42 6 993 1001 karekharhsodyrwm kkhux karaeplngkhxmulthixyuinrupaebbhnung ipepnkhxmulinxikrupaebbhnung twxyangechn ekharhsesiyngdntriipepnhlumelk bnsidithiichelnephlngnnid Pesaran B Nelson MJ Andersen RA 2006 Dorsal premotor neurons encode the relative position of the hand eye and goal during reach planning Neuron 51 1 125 34 9 0 9 1 Murata A Gallese V Luppino G Kaseda M Sakata H 2000 Selectivity for the shape size and orientation of objects for grasping in neurons of monkey parietal area AIP J Neurophysiol 83 5 2580 PMID 10805659 Murata A Gallese V Kaseda M Sakata H 1996 Parietal neurons related to memory guided hand manipulation J Neurophysiol 75 5 2180 6 PMID 8734616duephim aekikhklibsmxngkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb klibkhangekhathungcak https th wikipedia org w index php title klibkhang amp oldid 5656285, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม