fbpx
วิกิพีเดีย

วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง หรือ วัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างแม่น้ำเพชรบุรีมาทางตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อดั้งเดิมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด สำหรับชื่อที่เรียกกันว่า “กำแพงแลง” นั้นคงเป็นชื่อที่ผู้คนในสมัยหลังเรียกกันตามลักษณะที่พบเห็น เนื่องจากภายในวัดมีปราสาทเขมรก่อด้วยศิลาแลงและมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ จากลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ว่า "กำแพงแลง" หมายถึงกำแพงวัดที่ก่อด้วยศิลาแลงนั่นเอง

ลักษณะทางกายภาพวัดแห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และพื้นที่สำหรับการทำสังฆกรรมโดยทั่วไป ส่วนของโบราณสถานจะอยู่ในพื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีเขตของกำแพงศิลาแลงกั้น ส่วนพื้นที่ทำสังฆกรรมอยู่นอกเขตกำแพงศิลาแลง

ประวัติ

 
วัดกำแพงแลง

แต่เดิมวัดกำแพงแลงเป็นวัดร้าง มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่โดยเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาเพื่อใช้ทำสวน ต่อมาเมื่อตั้งเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาผู้ที่อาศัยอยู่จึงอพยพออกไป และพระภิกษุในวัดได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาวัดและโบราณสถาน ซึ่งต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 หน้า 3692 วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2478 ภายหลังวัดกำแพงแลงได้ตั้งเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดเทพปราสาทศิลาแลง

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

  • แผนผัง

ปราสาทวัดกำแพงแลงมีผังพื้นล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในกำแพงศิลาแลงเป็นที่ตั้งของปราสาทศิลาแลงแบบศิลปะเขมรทั้งหมด 4 องค์ ปราสาท 3 องค์ทางด้านหน้าวางตัวเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ โดยปราสาทประธานมีขนาดสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ ส่วนปราสาทองค์ที่ 4 ตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก และมีโคปุระ (ซุ้มประตูทางเข้า) 1 หลังที่มียอดเป็นปราสาท ภายในกำแพงศิลาแลงยังพบสระน้ำอยู่ชิดขอบกำแพงทางทิศตะวันออกด้วย[[1]]

  • โคปุระ

โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ลักษณะเป็นปราสาทเขมร ศิขระหรือส่วนยอดยังคงสภาพของแต่ละส่วนไว้อย่างสมบูรณ์ ตัวเรือนธาตุของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีมุขยื่นออกมาจากเรือนธาตุทั้ง 4 ด้านเป็นจตุรมุขลดหลั่นกัน 2 ชั้น สันหลังคามุขประดับด้วยบราลี มุขแต่ละด้านมีหน้าต่างหลอกเป็นลูกกรงมะหวดที่ผนังด้านข้างด้านละ 1 แห่ง ประตูทางเข้ามีเพียงทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเท่านั้นที่สามารถเดินเข้าไปได้ ส่วนประตูทางด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ รอบโคปุระพบบัวเชิงผนัง ส่วนฐานโคปุระ มีผังเป็นรูปกากบาทตัดกัน เนื่องจากเป็นซุ้มประตูทางเข้าจึงทำเป็นฐานทรงเตี้ยสำหรับเดินเข้าได้อย่างสะดวก ปัจจุบันที่โคปุระไม่พบลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่แล้ว คงเหลือแต่ร่องรอยของปูนที่ฉาบอยู่ด้านนอกเท่านั้น[[2]]

  • ปราสาทประธาน

ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่บนฐานที่ซ้อนกันอย่างน้อย 2 ชั้น ศิขระหรือส่วนยอดของปราสาทได้หักพังลงมาแล้ว แต่ยังคงเหลือชั้นรัดประคดและชั้นอัสดงอยู่ รวมทั้งมีนาคปักและกลีบขนุนตามอยู่ตามส่วนยอดอยู่บ้าง เรือนธาตุของปราสาทประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ ซุ้มหน้าบันเหนือประตูทางเข้าด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของปราสาทยังมีลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่เช่นเดียวกับบริเวณฐาน[[3]]

  • ปราสาททิศเหนือ

ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน ปัจจุบันหักพังลงเหลือเพียงส่วนด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเท่านั้น ลักษณะคงเป็นเช่นเดียวกับปราสาทประธานแต่มีขนาดเล็กกว่า มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกสลักปิดทึบไว้ 2 ชั้น[[4]]

  • ปราสาททิศใต้

ก่อด้วยศิลาแลง อยู่ทางทิศใต้ของปราสาทประธาน มีลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทองค์อื่นและคงมีขนาดสูงใหญ่เช่นเดียวกับปราสาททิศเหนือ โดยยังคงไว้ซึ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของส่วนยอดหรือศิขระ ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนเรือนธาตุและฐานบางส่วนได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยหลัง มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ ที่สันของประตูหลอกปั้นปูนเป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัยทั้งสองด้าน ปัจจุบันชำรุดไปมากเหลือเพียงส่วนโกลนของศิลาแลง[[5]]

  • ปราสาททิศตะวันตก

ตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายลงมาเกือบหมด เหลือเพียงผนังทางด้านทิศเหนือและส่วนฐานซึ่งมีความสูงกว่าปราสาททุกองค์เท่านั้น ลักษณะคล้ายกับปราสาททางด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอก[[6]]

  • กำแพงศิลาแลง

ก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบกลุ่มปราสาทและสระน้ำไว้ภายใน ที่กึ่งกลางของกำแพงศิลาแลงทั้ง 4 ด้านมีประตูทางเข้าด้านละ 1 ประตู สันกำแพงประดับด้วยบราลีศิลาแลง[[7]]

  • สระน้ำ

ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกลุ่มปราสาทภายในเขตของกำแพงแก้ว เป็นสระน้ำกรุด้วยศิลาแลง ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว

ลวดลายปูนปั้น

เนื่องจากปราสาทวัดกำแพงแลงก่อสร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งคุณสมบัติของศิลาแลงจะมีความแข็ง แต่มีรูพรุนไม่สามารถจะนำแกะสลักได้ ดังนั้นเมื่อมีการสร้างเสร็จจะมีการฉาบปูนทั่วทั้งปราสาทประมาณสองรอบเมื่อฉาบปูนเสร็จก็จะมีการทำลวดลายต่างๆ ด้วยปูนปั้นประดับตามตัวปราสาท ซึ่งจากการศึกษาของเหล่านักวิชาการนั้นพบว่าร่องรอยลวดลายที่ปรากฏอยู่บนตัวปราสาทนั้นเป็นลวดลายคล้ายกับศิลปะเขมรแบบบายน (พ.ศ. 1720 - 1733) ลวดลายปูนปั้นนั้น พบที่ปราสาทองค์กลางมากที่สุดและยังมีหลงเหลือที่ปราสาททิศใต้อีกเล็กน้อย ลักษณะลวดลายมีดังต่อไปนี้

  • ลวดลายปูนปั้นปราสาทองค์กลาง

พบอยู่บริเวณด้านหลังของปราสาท ลวดลายที่เหลืออยู่ คือ บริเวณหน้าบัน บริเวณลายลวดบัวหัวเสา บัวผนังเชิง และกลีบขนุน จากลวดลายข้างต้นสามารถนำมาเปรียบเทียบกับลวดลายจากปราสาทบายน ซึ่งเป็นปราสาทสมัยบายน สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (มีอายุเวลาในช่วง พ.ศ. 1720-1773) โดยสามารถนำมาเปรียบเทียบลวดลายได้ดังนี้

    • ลวดบัวหัวเสา เป็นลวดลายประดับในบริเวณขอบหัวเสาค้ำยันอาคาร ประกอบด้วยลวดลายเส้นลวด และลายหน้ากระดานต่างๆ

ลวดลายตกแต่งบริเวณหัวเสาที่พบ[[8]]

    • บัวเชิงผนังเป็นลวดลายประดับในบริเวณขอบส่วนบนและส่วนล่างของอาคารสถาปัตยกรรมเขมร ลักษณะเป็นเส้นลวดคาด ประมาณ 2 - 3 ชั้น คั่นด้วยลายหน้ากระดาน ตัวอย่างลวดลายบัวเชิงผนังปราสาทแห่งนี้ ได้แก่[[9]]
    • หน้าบัน เป็นลวดลายประดับเหนือซุ้มประตู เป็นส่วนที่อยู่เชื่อมต่อกับเสา ซึ่งจะติดอยู่กับทับหลังหรือผนัง เพื่อปิดโครงสร้างของอิฐกรอบซุ้มประตูดังกล่าว[[10]][[11]]

การเปรียบเทียบลวดลายบริเวณหน้าบันจากปราสาทบายน และปราสาทวัดกำแพงแลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของลวดลายนั้น เหมือนกับที่พบที่ปราสาทบายน เห็นได้ชัดจากส่วนของใบระกา ลักษณะเป็นปลายแหลมสอบขึ้น แต่เนื่องจากฝีมือช่างของปราสาทแห่งนี้ เป็นฝีมือช่างพื้นบ้านจึงอาจมีลักษณะที่ต่างออกไป นอกจากนี้ ปลายหน้าบันยังเป็นรูปพญานาค 5 เศียร สวมกระบังหน้า ซึ่งเป็นอิทธิพลในช่วงปลายศิลปะสมัยนครวัด ที่ยังคงส่งอิทธิพลต่อศิลปะสมัยบายน แต่ที่ปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ ฝีมือช่างอาจต่างกันเนื่องจากเป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน

    • กลีบขนุน องค์ประกอบตกแต่งที่ประดับที่แทรกอยู่ระหว่างชั้นภูมิ ตรงตำแหน่งมุมที่ย่อของแต่ละชั้น กลีบขนุนที่พบที่ปราสาทวัดกำแพงแลงแห่งนี้ ไม่หลงเหลือลวดลายปูนปั้นแล้ว แต่ชิ้นส่วนกลีบขนุนปราสาทวัดกำแพงแลงที่กระจายไปเก็บไว้ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรีนั้น ยังคงหลงเหลือลวดลายปูนปั้นอยู่ โดยกลีบขนุนที่พบเป็นรูปของบุคคลเพศชายอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ภูษาของรูปบุคคลนั้นมีการนุ่งผ้าสมพตแบบประติมากรรมบุรุษของบายน คือ มีการชักชายผ้าออกมาด้านข้าง ห้อยเฟื่องอุบะคาด [[12]]
  • ลวดลายปูนปั้นปราสาททิศใต้

พบเป็นลวดลายปูนปั้นรูปพระพุทธรูปในประตูหลอกด้านทิศใต้และทิศเหนือของปราสาท จากการสันนิษฐานเชื่อว่าพระพุทธรูปปูนปั้นดังกล่าว สร้างขึ้นในสมัยหลังจากการสร้างตัวปราสาทหลังนี้ ลวดลายปูนปั้นได้แก่

ปูนปั้นพระพุทธรูปด้านทิศใต้ของปราสาท ปางประทานพรพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือชายจีวร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ปั้นอยู่บนแกนประตูหลอกแสดงให้เห็นว่าปราสาททั้งสามหลังนี้ ไม่เชื่อมต่อกัน[[13]]

ปูนปั้นพระพุทธรูปด้านทิศเหนือของปราสาท ลวดลายหลุดออกไปมาก ไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นปางใด แต่ก็ยังเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ปั้นอยู่บนแกนประตูหลอกแสดงให้เห็นว่าปราสาททั้งสามหลังนี้ ไม่เชื่อมต่อกัน[[14]]

ประติมากรรมที่พบ

โบราณวัตถุสำคัญที่พบ พบทั้งหมด 5 ชิ้น ได้แก่

  • พระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี

พบตรงบริเวณปราสาททิศตะวันตก ลักษณะประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมีที่พบ ทำจากวัสดุศิลาทรายขาว วรกายชำรุดหักพังในส่วนศีรษะ แขน และขา แต่ยังคงพบศีรษะในบริเวณใกล้เคียงอยู่ ลวดลายบริเวณพระวรกายท่อนบนตรงบริเวณพระอุระปรากฏพระพุทธรูปปางสมาธิองค์เล็กประดับเรียงเป็นแถว ถ้าสมบูรณ์ จะมี 8 พระกร มีพระพุทธรูปปางสมาธิประดับเหนือกระบังหน้า สวมพระธำมรงค์ที่มีหัวเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่นิ้วพระบาททั้งสิบ อันแสดงถึงภาวะเหนือพระพุทธเจ้าทั้งปวง[[15]][[16]]

  • พระโพธิสัตว์โลเกศวรสี่กร

พบในสภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนพระวรกายและท่อนแขน 4 ท่อน ทรงภูษาสมพตในศิลปะเขมรแบบบายน ถ้าสมบูรณ์ จะมี 4 กร กรซ้ายหน้าถือดอกบัว กรขวาหน้าถือหม้อน้ำ กรซ้ายหลังถือประคำ กรขวาหลังถือคัมภีร์[[17]]

  • พระวัชรสัตว์นาคปรก

เป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ลักษณะที่พบเหลือเพียงส่วนของพระพักตร์และพระอุระ ด้านหลังมีแผ่นหินสลักติดเป็นตัวนาคแผ่พังพาน ถ้าสมบูรณ์จะเป็นพระพุทธรูปนาคปรก บนฐานพญานาคขด ปางสมาธิ เป็นพระวัชรสัตว์ในลัทธิวัชรยานของกัมพูชา คำว่า วัชรสัตว์ เป็นพระนามที่เขมรใช้เรียกพระอาทิพุทธะหรือพระมหาไวโรจนะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน ซึ่งศิลปเขมรนิยมสร้างออกมาในรูปแบบพระพุทธรูปนาคปรก[[18]]

  • พระนางปรัชญาปารมิตา

พบเพียงส่วนเศียรเท่านั้น ปัจจุบันเป็นสมบัติเอกชน ถ้าสมบูรณ์จะพบอยู่ในรูปพระโพธิสัตว์เพศหญิง มี 2 กร กรซ้ายถือดอกบัว ภายในมีคัมภีร์ปรัชญาปารมิตา กรขวาแสดงปางประทานพร

  • หัวสะพานรูปครุฑยุดนาค

หัวสะพานนี้ไม่ได้พบภายในวัดกำแพงแลง แต่พบว่าได้จัดเก็บไว้ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี โดยลักษณะเป็นหัวบันไดครุฑยุดนาค แต่ที่พบนี้ ชำรุดไปมาก เหลือเพียงส่วนของขาครุฑ และหัวพญานาค 3 เศียรเท่านั้น ซึ่งลักษณะของหัวสะพานเช่นนี้ เป็นที่นิยมมาในศิลปะเขมรสมัยบายน ดังตัวอย่างจากหัวสะพานรูปครุฑยุคนาด ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร[[19]]

ความหมายของประติมากรรมที่พบ

ประติมากรรมที่พบบริเวณปราสาทวัดกำแพงแลงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่จะสื่อให้เห็นว่าโบราณสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นลัทธิที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือมาก พระองค์ได้มีความนิยมในการสร้างรูปเคารพภายใต้ลัทธินี้อย่างแพร่หลาย รูปเคารพสำคัญ ได้แก่ พระโลเกศวรสี่กร พระวัชรสัตว์นาคปรกและพระนางปรัชญาปารมิตา ความหมายของการสร้างรูปเคารพทั้งสามนี้ คือการสร้างรูปเคารพแทนความหมายเชิงอภิปรัชญา โดยพระโลเกศวรแทนความเป็นอุบายเพื่อนำไปสู่ปัญญา พระวัชรสัตว์นาคปรกแทนสภาวะของพระโพธิญาณอันหมายถึงศูนยตา และพระนางปรัชญาปารมิตาเป็นตัวแทนของปัญญา รวมความหมายคืออุบายและปัญญา เป็นหนทางไปสู่ความเป็นศูนฺยตา เมื่อนำรูปเคารพที่พบมาเรียงกันแล้ว จะพบว่า ปราสาทต่างๆ ก็สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่รูปเคารพเหล่านั้นด้วย โดยปราสาทองค์กลางสร้างขึ้นถวายแด่ พระวัชรสัตว์พุทธะ (พระมหาไวโรจนะหรือพระอาทิพุทธะ) ลักษณะของพระวัชรสัตว์โดยทั่วไปนั้นคือ พระพุทธรูปนาคปรก ปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปเคารพปรัชญาปารมิตา ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปเคารพพระโลเกศวรสี่กร จากการวางผังทั้งสามนี้ ทำให้ทราบว่ารูปเคารพที่พบเป็นรูปเคารพในลัทธิวัชรยาน ศิลปะเขมรแบบบายน

คติในการสร้าง

การวางผังของปราสาท พบการวางแนวปราสาทคล้ายคลึงกับปราสาทเขมรทั่วไป คือพบยอดปรางค์ปราสาท 5 หลัง เรียงประจำตามทิศทั้ง 4 ซึ่งที่วัดกำแพงแลงแห่งนี้พบว่าปราสาททางทิศตะวันออกเป็นโคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้ามีการวางแนวของปราสาทสำคัญ 3 หลังในแนวเหนือ-ใต้ โดยมีปราสาทประธานองค์กลางเป็นแกน ทางทิศตะวันตกพบปราสาทอีกหนึ่งหลัง เมื่อมองเพียงรูปของการวางผังอาจเทียบคล้ายกับการวางผังของปราสาทเขมรโดยทั่วไป การวางแนวของปราสาทสำคัญ 3 หลังเทียบได้กับที่พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีผังการวางแนวปรางค์ประธาน เรียงกันสามองค์เช่นกัน โดยการวางผังนี้ อยู่ภายใต้คติความเชื่อของศาสนาพุทธ ลัทธิวัชรยาน คือการสร้างปราสาท สามหลัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ ดังนี้

  • ปราสาททิศใต้ สร้างถวายแด่ พระโลเกศวรสี่กร
  • ปราสาทองค์กลาง สร้างถวายแด่พระวัชรสัตว์นาคปรก
  • ปราสาททิศเหนือ สร้างถวายแด่พระนางปรัชญาปารมิตา
  • ปราสาททิศตะวันตก ที่สร้างขึ้นพิเศษเพื่อสร้างถวายแด่พระโลเกศวรเปล่งรัศมี

จากลักษณะของปราสาทวัดกพแพงแลงเมื่อเทียบกับปราสาทเขมรแล้วมีความใกล้เคียงกันมาก ตั้งแต่ส่วนฐานจนถึงส่วนยอดนั้น มีองค์ประกอบที่คล้ายกัน กล่าวคือองค์ประกอบในส่วนของการสร้างต่างๆ เช่น บราลีบนสันหลังคา ชั้นภูมิของปรางค์ ยอดพินทุ กลีบขนุน ก็เป็นไปตามระเบียบวิธีการสร้างปราสาทเขมร แต่การวางผังปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ พบเพียงส่วนของเรือนธาตุและมุขที่ยื่นออกมาเท่านั้น ไม่มีส่วนของมณฑป มุขสันตามแบบปราสาทเขมรหลังอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย

อายุเวลา

การกำหนดอายุเวลาของโบราณสถานวัดกำแพงแลง กำหนดอายุเวลาในการสร้างอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ระหว่างปี พ.ศ. 1724-1773 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ เป็นศิลปะแบบบายนปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอายุเวลาดังกล่าวมีดังนี้

  • วัสดุในการสร้างปราสาท (ศิลาแลง)

เป็นวัสดุที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ช่างนิยมใช้กันเนื่องจากเหตุผลบางประการคือ ขาดแคลนหิน และนำวัสดุที่พบง่ายในท้องถิ่นของตัวเองนำเอามาสร้าง สะดวกในการหาใช้ และต้องการความแข็งแรง คงทนก็คือ ศิลาแลง ซึ่งเราหากมองย้อนไปว่าที่เขมรในช่วงสมัยเมืองพระนคร พุทธศตวรรษที่ 16-17 นั้นปราสาทที่สร้างขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะสร้างด้วยหินทรายซึ่งได้มาจากเขาพนมกุเลน พอมาถึงสมัยบายนหินเริ่มขาดแคลนหินที่นำมาก่อสร้างปราสาทบายนนั้นเป็นหินที่ไม่ค่อยมีคุณภาพและเหลือน้อยจึงจำต้องหาวัสดุอื่นมาเสริมก็คือศิลาแลงแต่ก็ใช้ในส่วนที่เป็นฐานเท่านั้น ซึ่งเมื่ออิทธิพลเขมรได้แผ่ขยายเข้าในภาคกลางของประเทศไทยนั้นก็เกิดมีการสร้างปราสาทแบบเขมรจำนวนมาก ปราสาทที่พบร่วมสมัยนี้มักสร้างด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ในการก่อสร้าง ดังนั้นการสร้างปราสาทกำแพงแลง ก็เลยนำวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอันได้แก่ ศิลาแลง นำมาก่อสร้างซึ่งสันนิษฐานอายุเวลาได้ว่าร่วมสมัยกับศิลปะบายน

  • การวางผัง

ลักษณะของการวางผังปราสาททิศเหนือ ปราสาทองค์กลาง และปราสาททิศใต้ เป็นไปในลักษณะการวางตามคติการนับถือพระโพธิสัตว์ 3 องค์สำคัญในลัทธิวัชรยานของกัมพูชา ปราสาทิศเหนือได้แก่พระนางปรัชญาปารมิตา ปราสาทองค์กลาง คือพระวัชรสัตว์นาคปรก และจากปราสาททิศใต้ได้แก่ พระโลเกศวรสี่กร ซึ่งคติการนับถือรูปเคารพทั้งสามรูปเรียงกันในแนวนี้ เป็นคติการนับถือรูปเคารพในลัทธิวัชรยาน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงสามารถกำหนดอายุเวลา ในการสร้างปราสาทกำแพงแลงนี้ได้ว่า ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

  • ลวดลายประดับ

ลายประดับปูนปั้นที่พบนั้น ที่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นลายในศิลปะสมัยบายนนั้นก็คือ ลายดอกไม้วงกลม ซึ่งเป็นลายที่นิยมมากในการประดับอาคารสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยลายนี้ ได้รับอิทธิพลจากผ้าแพรของจีน นอกจากนั้น ในส่วนของลายหน้าบัน ลายพญานาค 5 เศียรสวมกระบังหน้า และการนุ่งผ้าสมพตของภาพบุคคลในกลีบขนุน ก็แสดงถึงเอกลักษณ์ลวดลายของศิลปะสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

  • ประติมากรรมที่พบ

นอกจากรูปประติมากรรมพระโพธิสัตว์ 3 องค์สำคัญในลัทธิวัชรยานของกัมพูชา ได้แก่ พระโลเกศวรสี่กร พระวัชรสัตว์นาคปรกและพระนางปรัชญาปารมิตา และรูปเคารพพระโลเกศวรเปล่งรัศมี ที่เป็นตัวยืนยันว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว ยังมีประติมากรรมหัวสะพานรูปครุฑยุดนาค ที่เป็นเอกลักษณ์ของการสร้างปราสาทในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างหัวสะพานของปราสาทบายน ที่เป็นรูปครุฑยุดนาคเช่นกัน ดังนั้นแสดงว่าประติมากรรมที่พบนี้ มีอายุเวลาร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

  • จารึกที่ปราสาทพระขรรค์

จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงเมือง “ศรีชัยวัชรปุระ” (เมืองเพชรบุรี) หนึ่งในหกเมืองโบราณในภาคกลางที่มีการกล่าวต่อไปอีกว่าได้มีการส่งพระชัยพุทธมหานาถ 1 ใน 23 องค์จากเมืองพระนครหลวง มาประดิษฐานที่เมืองเพชรบุรีนั่นก็คือปราสาทวัดกำแลง และเมื่อเทียบกับโบราณสถานแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ ก็คือปราสาทที่กล่าวถึงในจารึกนั้น ซึ่งปราสาทพระขรรค์ เป็นปราสาทที่ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่นกัน

อิทธิพลทางด้านศาสนาและการเมือง

การสร้างปราสาทแห่งนี้ คาดว่าเป็นอิทธิพลของเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พระองค์มีอำนาจในการแผ่ขยายอิทธิพลมายังภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นปราสาทที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย จึงมีการสร้างคติความเชื่อศาสนาตามเมืองพระนครและเมืองใต้อิทธิพลของพระองค์ จากจารึกปราสาทพระขรรค์ ได้กล่าวว่ามีการส่ง “พระชัยพุทธมหานาถ” พระพุทธรูปที่มีหน้าตาเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงรวมกับพระวัชรสัตว์ เป็นผู้มีเมตตายิ่งใหญ่ มาเพื่อประดิษฐานปราสาทเมือง “ศรีชัยวัชรปุระ” จากจารึกนี้ ถ้ามีการส่งพระชัยพุทธมหานาถมาจริง ก็เป็นเสมือนเครื่องหมายของการแผ่ขยายอำนาจของพระองค์เอง และแสดงนัยยะของการปกครองโดยธรรมผ่านศาสนาพุทธลัทธิวัชรยาน

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้ทราบว่า ปราสาทกำแพงแลงสร้างขึ้นภายใต้คติของวัชรยาน ได้รับอิทธิพลมาจากเขมรศิลปะแบบบายน เทียบอายุเวลาจากวัสดุในการก่อสร้างปราสาท (ศิลาแลง) ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ลวดลายปูนปั้นประดับ ประติมากรรม และจารึกปราสาทพระขรรค์ ที่กล่าวถึงการส่งพระพุทธรูป จากปัจจัยเหล่านี้ กำหนดอายุเวลาได้ว่า ปราสาทกำแพงแลงสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ระหว่างปี พ.ศ. 1724-1763 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์

ส่วนโกลนของพระพุทธรูปในปราสาททิศใต้นั้น เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคหลัง คาดว่าเป็นช่วงที่อิทธิพลของศาสนาพุทธลัทธิหีนยาน แผ่ขยายเหนือพื้นที่นี้ จึงสร้างลวดลายปูนปั้นพระพุทธรูปขึ้น

อ้างอิง

  • กรมศิลปากร กองโบราณคดี, ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด), 2538
  • จารึก วิไลแก้ว, วัดกำแพงแลง (สำนักพิมพ์เมืองโบราณ), 2534
  • พิชญา สุ่มจินดา, เอกสารประกอบการเรียน : ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), 2550
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง , พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง (บริษัท ประชาชน จำกัด)
  • สุนาวิน บูรนสมภพ, ศิลปะเขมรแบบบายนในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี (กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2528
  • สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, กัมพูชาราชลักษมีถึงศรีชยวรมัน (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน), 2543
  • อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, ปราสาทเมืองต่ำ : การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2541

แหล่งข้อมูลอื่น

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดกำแพงแลง
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°06′20″N 99°57′23″E / 13.105494°N 99.95641°E / 13.105494; 99.95641

ดกำแพงแลง, หร, ดเทพปราสาทศ, ลาแลง, งอย, ในเขตตำบลท, าราบ, อำเภอเม, อง, งหว, ดเพชรบ, อย, างแม, ำเพชรบ, มาทางตะว, นออกประมาณ, โลเมตร, อด, งเด, มไม, ใดทราบแน, สำหร, บช, อท, เร, ยกก, นว, กำแพงแลง, นคงเป, นช, อท, คนในสม, ยหล, งเร, ยกก, นตามล, กษณะท, พบเห, เน, องจาก. wdkaaephngaelng hrux wdethphprasathsilaaelng tngxyuinekhttabltharab xaephxemuxng cnghwdephchrburi xyuhangaemnaephchrburimathangtawnxxkpraman 1 kiolemtr chuxdngedimimmiphuidthrabaenchd sahrbchuxthieriykknwa kaaephngaelng nnkhngepnchuxthiphukhninsmyhlngeriykkntamlksnathiphbehn enuxngcakphayinwdmiprasathekhmrkxdwysilaaelngaelamikaaephngsilaaelnglxmrxb caklksnadngklawcungepnthimakhxngchuxwdniwa kaaephngaelng hmaythungkaaephngwdthikxdwysilaaelngnnexnglksnathangkayphaphwdaehngniaebngxxkepn 2 phunthi khux phunthisahrbkarptibtiwipssnakrrmthan aelaphunthisahrbkarthasngkhkrrmodythwip swnkhxngobransthancaxyuinphunthisahrbkarptibtiwipssnakrrmthan odymiekhtkhxngkaaephngsilaaelngkn swnphunthithasngkhkrrmxyunxkekhtkaaephngsilaaelng enuxha 1 prawti 2 lksnathangsthaptykrrm 3 lwdlaypunpn 4 pratimakrrmthiphb 5 khwamhmaykhxngpratimakrrmthiphb 6 khtiinkarsrang 7 xayuewla 8 xiththiphlthangdansasnaaelakaremuxng 9 xangxing 10 aehlngkhxmulxunprawti aekikh wdkaaephngaelng aetedimwdkaaephngaelngepnwdrang michawcinekhamaxasyxyuodyechathidincakkrmkarsasnaephuxichthaswn txmaemuxtngepnwdmiphrasngkhcaphrrsaphuthixasyxyucungxphyphxxkip aelaphraphiksuinwdidthahnathiduaelrksawdaelaobransthan sungtxmakrmsilpakridkhunthaebiynepnobransthaninrachkiccanuebksa elm 52 txnthi 75 hna 3692 wnthi 7 minakhm ph s 2478 1 phayhlngwdkaaephngaelngidtngepnsankptibtiwipssnakrrmthan emux ph s 2497 aelaepliynchuxepn wdethphprasathsilaaelnglksnathangsthaptykrrm aekikhaephnphngprasathwdkaaephngaelngmiphngphunlxmrxbdwykaaephngsilaaelngepnrupsiehliymcturs hnhnaipthangthistawnxxk phayinkaaephngsilaaelngepnthitngkhxngprasathsilaaelngaebbsilpaekhmrthnghmd 4 xngkh prasath 3 xngkhthangdanhnawangtweriyngkninaenwehnux it odyprasathprathanmikhnadsungihykwaxik 2 xngkh swnprasathxngkhthi 4 tngxyudanhlngkhxngprasathprathandanthistawnxxk aelamiokhpura sumpratuthangekha 1 hlngthimiyxdepnprasath phayinkaaephngsilaaelngyngphbsranaxyuchidkhxbkaaephngthangthistawnxxkdwy 1 okhpuraokhpura hruxsumpratuthangekhakxdwysilaaelng tngxyuthangdanthistawnxxkkhxngprasathprathan lksnaepnprasathekhmr sikhrahruxswnyxdyngkhngsphaphkhxngaetlaswniwxyangsmburn tweruxnthatukhxngprasathepnrupsiehliymctursyxmum mimukhyunxxkmacakeruxnthatuthng 4 danepncturmukhldhlnkn 2 chn snhlngkhamukhpradbdwybrali mukhaetladanmihnatanghlxkepnlukkrngmahwdthiphnngdankhangdanla 1 aehng pratuthangekhamiephiyngthangdanthistawnxxkaelathistawntkethannthisamarthedinekhaipid swnpratuthangdanthisehnuxaelathisitepnpratuhlxkpidthub rxbokhpuraphbbwechingphnng swnthanokhpura miphngepnrupkakbathtdkn enuxngcakepnsumpratuthangekhacungthaepnthanthrngetiysahrbedinekhaidxyangsadwk pccubnthiokhpuraimphblwdlaypunpnhlngehluxxyuaelw khngehluxaetrxngrxykhxngpunthichabxyudannxkethann 2 prasathprathankxdwysilaaelngtngxyubnthanthisxnknxyangnxy 2 chn sikhrahruxswnyxdkhxngprasathidhkphnglngmaaelw aetyngkhngehluxchnrdprakhdaelachnxsdngxyu rwmthngminakhpkaelaklibkhnuntamxyutamswnyxdxyubang eruxnthatukhxngprasathprathanepnrupsiehliymctursyxmum tngbnthansiehliymctursyxmum mipratuthangekhathng 4 this sumhnabnehnuxpratuthangekhadanthisehnuxaelathistawnxxkkhxngprasathyngmilwdlaypunpnhlngehluxxyuechnediywkbbriewnthan 3 prasaththisehnuxkxdwysilaaelng tngxyuthangthisehnuxkhxngprasathprathan pccubnhkphnglngehluxephiyngswndanthisehnuxaelathistawntkethann lksnakhngepnechnediywkbprasathprathanaetmikhnadelkkwa mipratuthangekhathangdanthistawnxxkaelatawntk swndanthisehnuxaelaitepnpratuhlxkslkpidthubiw 2 chn 4 prasaththisitkxdwysilaaelng xyuthangthisitkhxngprasathprathan milksnaechnediywkbprasathxngkhxunaelakhngmikhnadsungihyechnediywkbprasaththisehnux odyyngkhngiwsungxngkhprakxbthangsthaptykrrmkhxngswnyxdhruxsikhra idkhxnkhangsmburn swneruxnthatuaelathanbangswnidrbkarburnasxmaesmkhunihminsmyhlng mipratuekhathangdanthistawnxxkaelatawntk danthisehnuxaelaitepnpratuhlxkpidthub thisnkhxngpratuhlxkpnpunepnphraphuththruppangprathanxphythngsxngdan pccubncharudipmakehluxephiyngswnoklnkhxngsilaaelng 5 prasaththistawntktngxyudanhlngkhxngprasathprathanthangdanthistawntk pccubnxyuinsphaphphngthlaylngmaekuxbhmd ehluxephiyngphnngthangdanthisehnuxaelaswnthansungmikhwamsungkwaprasaththukxngkhethann lksnakhlaykbprasaththangdanthisehnuxaelathisit mipratuthangekhaxyuthangdanthistawnxxkaelatawntk swndanthisehnuxaelaitepnpratuhlxk 6 kaaephngsilaaelngkxdwysilaaelng lxmrxbklumprasathaelasranaiwphayin thikungklangkhxngkaaephngsilaaelngthng 4 danmipratuthangekhadanla 1 pratu snkaaephngpradbdwybralisilaaelng 7 sranatngxyuthangdanthistawnxxkechiyngehnuxkhxngklumprasathphayinekhtkhxngkaaephngaekw epnsranakrudwysilaaelng pccubnthukthmipaelwlwdlaypunpn aekikhenuxngcakprasathwdkaaephngaelngkxsrangdwysilaaelng sungkhunsmbtikhxngsilaaelngcamikhwamaekhng aetmiruphrunimsamarthcanaaekaslkid dngnnemuxmikarsrangesrccamikarchabpunthwthngprasathpramansxngrxbemuxchabpunesrckcamikarthalwdlaytang dwypunpnpradbtamtwprasath sungcakkarsuksakhxngehlankwichakarnnphbwarxngrxylwdlaythipraktxyubntwprasathnnepnlwdlaykhlaykbsilpaekhmraebbbayn ph s 1720 1733 lwdlaypunpnnn phbthiprasathxngkhklangmakthisudaelayngmihlngehluxthiprasaththisitxikelknxy lksnalwdlaymidngtxipni lwdlaypunpnprasathxngkhklangphbxyubriewndanhlngkhxngprasath lwdlaythiehluxxyu khux briewnhnabn briewnlaylwdbwhwesa bwphnngeching aelaklibkhnun caklwdlaykhangtnsamarthnamaepriybethiybkblwdlaycakprasathbayn sungepnprasathsmybayn srangodyphraecachywrmnthi 7 mixayuewlainchwng ph s 1720 1773 odysamarthnamaepriybethiyblwdlayiddngni lwdbwhwesa epnlwdlaypradbinbriewnkhxbhwesakhaynxakhar prakxbdwylwdlayesnlwd aelalayhnakradantanglwdlaytkaetngbriewnhwesathiphb 8 bwechingphnngepnlwdlaypradbinbriewnkhxbswnbnaelaswnlangkhxngxakharsthaptykrrmekhmr lksnaepnesnlwdkhad praman 2 3 chn khndwylayhnakradan twxyanglwdlaybwechingphnngprasathaehngni idaek 9 hnabn epnlwdlaypradbehnuxsumpratu epnswnthixyuechuxmtxkbesa sungcatidxyukbthbhlnghruxphnng ephuxpidokhrngsrangkhxngxithkrxbsumpratudngklaw 10 11 karepriybethiyblwdlaybriewnhnabncakprasathbayn aelaprasathwdkaaephngaelng sungcaehnidwaxngkhprakxbkhxnglwdlaynn ehmuxnkbthiphbthiprasathbayn ehnidchdcakswnkhxngibraka lksnaepnplayaehlmsxbkhun aetenuxngcakfimuxchangkhxngprasathaehngni epnfimuxchangphunbancungxacmilksnathitangxxkip nxkcakni playhnabnyngepnrupphyanakh 5 esiyr swmkrabnghna sungepnxiththiphlinchwngplaysilpasmynkhrwd thiyngkhngsngxiththiphltxsilpasmybayn aetthiprasathkaaephngaelngaehngni fimuxchangxactangknenuxngcakepnfimuxchangphunban klibkhnun xngkhprakxbtkaetngthipradbthiaethrkxyurahwangchnphumi trngtaaehnngmumthiyxkhxngaetlachn klibkhnunthiphbthiprasathwdkaaephngaelngaehngni imhlngehluxlwdlaypunpnaelw aetchinswnklibkhnunprasathwdkaaephngaelngthikracayipekbiwthiwdmhathatu cnghwdephchrburinn yngkhnghlngehluxlwdlaypunpnxyu odyklibkhnunthiphbepnrupkhxngbukhkhlephschayxyuinsumeruxnaekw phusakhxngrupbukhkhlnnmikarnungphasmphtaebbpratimakrrmburuskhxngbayn khux mikarchkchayphaxxkmadankhang hxyefuxngxubakhad 12 lwdlaypunpnprasaththisitphbepnlwdlaypunpnrupphraphuththrupinpratuhlxkdanthisitaelathisehnuxkhxngprasath cakkarsnnisthanechuxwaphraphuththruppunpndngklaw srangkhuninsmyhlngcakkarsrangtwprasathhlngni lwdlaypunpnidaekpunpnphraphuththrupdanthisitkhxngprasath pangprathanphrphrahtthkhwa swnphrahtthsaythuxchayciwr epnphraphuththruppunpnthipnxyubnaeknpratuhlxkaesdngihehnwaprasaththngsamhlngni imechuxmtxkn 13 punpnphraphuththrupdanthisehnuxkhxngprasath lwdlayhludxxkipmak imsamarthkahndidwaepnpangid aetkyngepnphraphuththruppunpnthipnxyubnaeknpratuhlxkaesdngihehnwaprasaththngsamhlngni imechuxmtxkn 14 pratimakrrmthiphb aekikhobranwtthusakhythiphb phbthnghmd 5 chin idaek phraophthistwolekswreplngrsmiphbtrngbriewnprasaththistawntk lksnapratimakrrmrupphraophthistwolekswreplngrsmithiphb thacakwsdusilathraykhaw wrkaycharudhkphnginswnsirsa aekhn aelakha aetyngkhngphbsirsainbriewniklekhiyngxyu lwdlaybriewnphrawrkaythxnbntrngbriewnphraxurapraktphraphuththruppangsmathixngkhelkpradberiyngepnaethw thasmburn cami 8 phrakr miphraphuththruppangsmathipradbehnuxkrabnghna swmphrathamrngkhthimihwepnphraphuththruppangsmathithiniwphrabaththngsib xnaesdngthungphawaehnuxphraphuththecathngpwng 15 16 phraophthistwolekswrsikrphbinsphaphcharudehluxephiyngswnphrawrkayaelathxnaekhn 4 thxn thrngphusasmphtinsilpaekhmraebbbayn thasmburn cami 4 kr krsayhnathuxdxkbw krkhwahnathuxhmxna krsayhlngthuxprakha krkhwahlngthuxkhmphir 17 phrawchrstwnakhprkepnphraphuththrupnakhprkthrngekhruxng lksnathiphbehluxephiyngswnkhxngphraphktraelaphraxura danhlngmiaephnhinslktidepntwnakhaephphngphan thasmburncaepnphraphuththrupnakhprk bnthanphyanakhkhd pangsmathi epnphrawchrstwinlththiwchryankhxngkmphucha khawa wchrstw epnphranamthiekhmricheriykphraxathiphuththahruxphramhaiworcna phraphuththecaxngkhthi 6 khxngphuththsasnalththiwchryan sungsilpekhmrniymsrangxxkmainrupaebbphraphuththrupnakhprk 18 phranangprchyaparmitaphbephiyngswnesiyrethann pccubnepnsmbtiexkchn thasmburncaphbxyuinrupphraophthistwephshying mi 2 kr krsaythuxdxkbw phayinmikhmphirprchyaparmita krkhwaaesdngpangprathanphr hwsaphanrupkhruthyudnakhhwsaphanniimidphbphayinwdkaaephngaelng aetphbwaidcdekbiwthiwdmhathatu cnghwdephchrburi odylksnaepnhwbnidkhruthyudnakh aetthiphbni charudipmak ehluxephiyngswnkhxngkhakhruth aelahwphyanakh 3 esiyrethann sunglksnakhxnghwsaphanechnni epnthiniymmainsilpaekhmrsmybayn dngtwxyangcakhwsaphanrupkhruthyukhnad thiphiphithphnthsthanaehngchatiphrankhr 19 khwamhmaykhxngpratimakrrmthiphb aekikhpratimakrrmthiphbbriewnprasathwdkaaephngaelngepnhlkthanthisakhythicasuxihehnwaobransthanaehngni srangkhunphayitkhtikhwamechuxsasnaphuththlththimhayan sungepnlththithiphraecachywrmnthi 7 thrngnbthuxmak phraxngkhidmikhwamniyminkarsrangrupekharphphayitlththinixyangaephrhlay rupekharphsakhy idaek phraolekswrsikr phrawchrstwnakhprkaelaphranangprchyaparmita khwamhmaykhxngkarsrangrupekharphthngsamni khuxkarsrangrupekharphaethnkhwamhmayechingxphiprchya odyphraolekswraethnkhwamepnxubayephuxnaipsupyya phrawchrstwnakhprkaethnsphawakhxngphraophthiyanxnhmaythungsunyta aelaphranangprchyaparmitaepntwaethnkhxngpyya rwmkhwamhmaykhuxxubayaelapyya epnhnthangipsukhwamepnsun yta emuxnarupekharphthiphbmaeriyngknaelw caphbwa prasathtang ksrangkhunephuxthwayaedrupekharphehlanndwy odyprasathxngkhklangsrangkhunthwayaed phrawchrstwphuththa phramhaiworcnahruxphraxathiphuththa lksnakhxngphrawchrstwodythwipnnkhux phraphuththrupnakhprk prasaththisehnuxpradisthanrupekharphprchyaparmita prasaththisitpradisthanrupekharphphraolekswrsikr cakkarwangphngthngsamni thaihthrabwarupekharphthiphbepnrupekharphinlththiwchryan silpaekhmraebbbaynkhtiinkarsrang aekikhkarwangphngkhxngprasath phbkarwangaenwprasathkhlaykhlungkbprasathekhmrthwip khuxphbyxdprangkhprasath 5 hlng eriyngpracatamthisthng 4 sungthiwdkaaephngaelngaehngniphbwaprasaththangthistawnxxkepnokhpura hruxsumpratuthangekhamikarwangaenwkhxngprasathsakhy 3 hlnginaenwehnux it odymiprasathprathanxngkhklangepnaekn thangthistawntkphbprasathxikhnunghlng emuxmxngephiyngrupkhxngkarwangphngxacethiybkhlaykbkarwangphngkhxngprasathekhmrodythwip karwangaenwkhxngprasathsakhy 3 hlngethiybidkbthiphraprangkhsamyxd cnghwdlphburi sungmiphngkarwangaenwprangkhprathan eriyngknsamxngkhechnkn odykarwangphngni xyuphayitkhtikhwamechuxkhxngsasnaphuthth lththiwchryan khuxkarsrangprasath samhlng ephuxepnthipradisthanrupekharph dngni prasaththisit srangthwayaed phraolekswrsikr prasathxngkhklang srangthwayaedphrawchrstwnakhprk prasaththisehnux srangthwayaedphranangprchyaparmita prasaththistawntk thisrangkhunphiessephuxsrangthwayaedphraolekswreplngrsmicaklksnakhxngprasathwdkphaephngaelngemuxethiybkbprasathekhmraelwmikhwamiklekhiyngknmak tngaetswnthancnthungswnyxdnn mixngkhprakxbthikhlaykn klawkhuxxngkhprakxbinswnkhxngkarsrangtang echn bralibnsnhlngkha chnphumikhxngprangkh yxdphinthu klibkhnun kepniptamraebiybwithikarsrangprasathekhmr aetkarwangphngprasathkaaephngaelngaehngni phbephiyngswnkhxngeruxnthatuaelamukhthiyunxxkmaethann immiswnkhxngmnthp mukhsntamaebbprasathekhmrhlngxun thiphbinpraethsithyxayuewla aekikhkarkahndxayuewlakhxngobransthanwdkaaephngaelng kahndxayuewlainkarsrangxyuinchwngphuththstwrrsthi 18 rahwangpi ph s 1724 1773 sungepnpithiphraecachywrmnthi 7 khrxngrachy epnsilpaaebbbaynpccythimiphltxkarkahndxayuewladngklawmidngni wsduinkarsrangprasath silaaelng epnwsduthiinchwngphuththstwrrsthi 18 changniymichknenuxngcakehtuphlbangprakarkhux khadaekhlnhin aelanawsduthiphbngayinthxngthinkhxngtwexngnaexamasrang sadwkinkarhaich aelatxngkarkhwamaekhngaerng khngthnkkhux silaaelng sungerahakmxngyxnipwathiekhmrinchwngsmyemuxngphrankhr phuththstwrrsthi 16 17 nnprasaththisrangkhunnnswnihycasrangdwyhinthraysungidmacakekhaphnmkueln phxmathungsmybaynhinerimkhadaekhlnhinthinamakxsrangprasathbaynnnepnhinthiimkhxymikhunphaphaelaehluxnxycungcatxnghawsduxunmaesrimkkhuxsilaaelngaetkichinswnthiepnthanethann sungemuxxiththiphlekhmridaephkhyayekhainphakhklangkhxngpraethsithynnkekidmikarsrangprasathaebbekhmrcanwnmak prasaththiphbrwmsmynimksrangdwysilaaelngsungepnwsduthihangayinthxngthinmaichinkarkxsrang dngnnkarsrangprasathkaaephngaelng kelynawsduthihangayinthxngthinxnidaek silaaelng namakxsrangsungsnnisthanxayuewlaidwarwmsmykbsilpabayn karwangphnglksnakhxngkarwangphngprasaththisehnux prasathxngkhklang aelaprasaththisit epnipinlksnakarwangtamkhtikarnbthuxphraophthistw 3 xngkhsakhyinlththiwchryankhxngkmphucha prasathisehnuxidaekphranangprchyaparmita prasathxngkhklang khuxphrawchrstwnakhprk aelacakprasaththisitidaek phraolekswrsikr sungkhtikarnbthuxrupekharphthngsamruperiyngkninaenwni epnkhtikarnbthuxrupekharphinlththiwchryan smyphraecachywrmnthi 7 cungsamarthkahndxayuewla inkarsrangprasathkaaephngaelngniidwa rwmsmykbphraecachywrmnthi 7 lwdlaypradblaypradbpunpnthiphbnn thisamarthbxkidxyangchdecnwaepnlayinsilpasmybaynnnkkhux laydxkimwngklm sungepnlaythiniymmakinkarpradbxakharsmyphraecachywrmnthi 7 odylayni idrbxiththiphlcakphaaephrkhxngcin nxkcaknn inswnkhxnglayhnabn layphyanakh 5 esiyrswmkrabnghna aelakarnungphasmphtkhxngphaphbukhkhlinklibkhnun kaesdngthungexklksnlwdlaykhxngsilpasmyphraecachywrmnthi 7 pratimakrrmthiphbnxkcakruppratimakrrmphraophthistw 3 xngkhsakhyinlththiwchryankhxngkmphucha idaek phraolekswrsikr phrawchrstwnakhprkaelaphranangprchyaparmita aelarupekharphphraolekswreplngrsmi thiepntwyunynwaobransthanaehngnisrangkhuninchwngsmykhxngphraecachywrmnthi 7 aelw yngmipratimakrrmhwsaphanrupkhruthyudnakh thiepnexklksnkhxngkarsrangprasathinsmyphraecachywrmnthi 7 xikdwy dngcaehnidcaktwxyanghwsaphankhxngprasathbayn thiepnrupkhruthyudnakhechnkn dngnnaesdngwapratimakrrmthiphbni mixayuewlarwmsmykbphraecachywrmnthi 7 carukthiprasathphrakhrrkhcarukthiprasathphrakhrrkh praethskmphucha klawthungemuxng srichywchrpura emuxngephchrburi hnunginhkemuxngobraninphakhklangthimikarklawtxipxikwaidmikarsngphrachyphuththmhanath 1 in 23 xngkhcakemuxngphrankhrhlwng mapradisthanthiemuxngephchrburinnkkhuxprasathwdkaaelng aelaemuxethiybkbobransthanaelw kepnsingthiyunynidwa prasathkaaephngaelngaehngni kkhuxprasaththiklawthungincaruknn sungprasathphrakhrrkh epnprasaththirwmsmykbphraecachywrmnthi 7 echnknxiththiphlthangdansasnaaelakaremuxng aekikhkarsrangprasathaehngni khadwaepnxiththiphlkhxngekhmrinsmyphraecachywrmnthi 7 thiphraxngkhmixanacinkaraephkhyayxiththiphlmayngphakhklangkhxngpraethsithy sungprasathkaaephngaelngaehngni thuxidwaepnprasaththixyuitsudkhxngpraethsithy cungmikarsrangkhtikhwamechuxsasnatamemuxngphrankhraelaemuxngitxiththiphlkhxngphraxngkh cakcarukprasathphrakhrrkh idklawwamikarsng phrachyphuththmhanath phraphuththrupthimihnataehmuxnphraecachywrmnthi 7 thrngrwmkbphrawchrstw epnphumiemttayingihy maephuxpradisthanprasathemuxng srichywchrpura cakcarukni thamikarsngphrachyphuththmhanathmacring kepnesmuxnekhruxnghmaykhxngkaraephkhyayxanackhxngphraxngkhexng aelaaesdngnyyakhxngkarpkkhrxngodythrrmphansasnaphuththlththiwchryansingthiklawmathnghmdni thaihthrabwa prasathkaaephngaelngsrangkhunphayitkhtikhxngwchryan idrbxiththiphlmacakekhmrsilpaaebbbayn ethiybxayuewlacakwsduinkarkxsrangprasath silaaelng lksnathangsthaptykrrm lwdlaypunpnpradb pratimakrrm aelacarukprasathphrakhrrkh thiklawthungkarsngphraphuththrup cakpccyehlani kahndxayuewlaidwa prasathkaaephngaelngsranginchwngphuththstwrrsthi 18 rahwangpi ph s 1724 1763 sungepnpithiphraecachywrmnthi 7 khrxngrachyswnoklnkhxngphraphuththrupinprasaththisitnn epnphraphuththrupthisrangkhuninyukhhlng khadwaepnchwngthixiththiphlkhxngsasnaphuththlththihinyan aephkhyayehnuxphunthini cungsranglwdlaypunpnphraphuththrupkhun khxmmxns miphaphaelasuxekiywkb wdkaaephngaelngxangxing aekikh http www ratchakitcha soc go th DATA PDF 2478 D 3679 PDF krmsilpakr kxngobrankhdi thaebiynobransthaninekhthnwysilpakrthi 2 krungethph sankphimphsmaphnth cakd 2538 caruk wiilaekw wdkaaephngaelng sankphimphemuxngobran 2534 phichya sumcinda exksarprakxbkareriyn silpakxnphuththstwrrsthi 19 echiyngihm phakhwichasilpaithy khnawicitrsilp mhawithyalyechiyngihm 2550 phiphithphnthsthanaehngchatiramkhaaehng phiphithphnthsthanaehngchatiramkhaaehng bristh prachachn cakd sunawin burnsmphph silpaekhmraebbbaynincnghwdrachburiaelacnghwdephchrburi krungethph phakhwichaobrankhdi khnaobrankhdi mhawithyalysilpakr 2528 suriywuthi sukhswsdi kmphucharachlksmithungsrichywrmn krungethph sankphimphmtichn 2543 xnuwithy ecriysuphkul prasathemuxngta karsuksaprawtisastrsthaptykrrm krungethph orngphimphmhawithyalythrrmsastr 2541aehlngkhxmulxun aekikhaephnthiaelaphaphthaythangxakaskhxng wdkaaephngaelng phaphthaydawethiymcakwikiaemepiy hruxkuekilaemps aephnthicakmltiaemp hruxoklbxlikd phaphthaythangxakascakethxrraesirfewxrphikdphumisastr 13 06 20 N 99 57 23 E 13 105494 N 99 95641 E 13 105494 99 95641 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title wdkaaephngaelng amp oldid 6486501, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม