fbpx
วิกิพีเดีย

อินคลูชัน (เซลล์)

อินคลูชัน (อังกฤษ: inclusion) เป็นสสารไร้ชีวิตที่อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งไม่ถูกล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้ม อินคลูชันเป็นได้ทั้งสารอาหารสะสม, สารสำหรับหลั่งออกนอกเซลล์, หรือเม็ดรงควัตถุ ตัวอย่างของอินคลูชันเช่น เม็ดไกลโคเจนในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อ, หยดลิพิดในเซลล์ไขมัน, เม็ดรงควัตถุในเซลล์ผิวหนังและเส้นขนบางเซลล์, และผลึกอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด อินคลูชันในเซลล์ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของสารควบแน่นชีวโมเลกุล (biomolecular condensate) ที่เกิดจากการแยกเฟสของเหลว-ของแข็ง, ของเหลว-เจล, หรือของเหลว-ของเหลว โครงสร้างนี้ถูกสังเกตเป็นครั้งแรกโดย O. F. Müller ในปี ค.ศ. 1786

ตัวอย่าง

 
เม็ดไกลโคเจนที่พบในกระบวนการสร้างสเปิร์มของหนอนตัวแบนในวงศ์ Pleurogenidae (คลาส Digenea)

ไกลโคเจน: ไกลโคเจนเป็นรูปแบบของกลูโคสที่พบได้มากที่สุดในสัตว์ ซึ่งมีอยู่มากเป็นพิเศษในเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ โดยปรากฏในภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นก้อน หรือกลุ่มก้อนของอนุภาคบีตาที่มีลักษณะคล้ายไรโบโซม อยู่ใกล้กับร่างแหเอนโดพลาซึมชนิดเรียบ ไกลโคเจนเป็นแหล่งพลังงานสำคัญแหล่งหนึ่งของเซลล์ เมื่อจำเป็นต้องใช้พลังงานจึงจะมีการสลายไกลโคเจน (glycogenolysis) เอนไซม์มีส่วนสำคัญในการสลายไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสที่แต่ละอวัยวะในร่างกายสามารถใช้ประโยชน์ได้

ลิพิด: ลิพิดที่เป็นไตรกลีเซอไรด์ในรูปของสารอาหารสะสมเป็นอินคลูชันที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งไม่เพียงถูกสะสมไว้ในเซลล์ที่ถูกพัฒนามาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ (เซลล์ไขมัน) แต่ยังพบว่าถูกจัดเก็บเป็นหยดน้ำมันหยดเล็ก ๆ หลายหยดในเซลล์หลายชนิด โดยเฉพาะเซลล์ตับ ลิพิดมีสภาพเป็นของเหลวที่อุณหภูมิร่างกายและปรากฏในเซลล์ที่มีชีวิตในรูปของหยดน้ำมันทรงกลมมันวาว ลิพิดสะสมพลังงาน (แคลอรี) ต่อกรัมมากกว่าคาร์โบไฮเดรต เมื่อต้องการใช้งาน ลิพิดจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมพลังงานของเซลล์ และเป็นแหล่งวัตถุดิบของโซ่คาร์บอนสายสั้นซึ่งจะถูกเซลล์นำไปใช้สำหรับการสร้างเยื่อหุ้มและโครงสร้างอื่น ๆ ที่มีลิพิดเป็นองค์ประกอบ หรือถูกสังเคราะห์เป็นสารสำหรับหลั่งออกนอกเซลล์

ผลึก: อินคลูชันในรูปผลึกเป็นที่ทราบกันอย่างยาวนานว่าเป็นส่วนประกอบของเซลล์บางชนิดเช่น เซลล์เซอโทลิ (Sertoli cell) และเซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ในอัณฑะของมนุษย์ และอาจพบได้บางครั้งในเซลล์แมโครฟาจ เชื่อกันว่าโครงสร้างนี้เป็นรูปแบบผลึกของโปรตีนบางชนิด ซึ่งมีอยู่ทุกที่ในเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นนิวเคลียส, ไมโทคอนเดรีย, ร่างแหเอนโดพลาซึม, กอลไจแอปพาราตัส, หรืออยู่อย่างอิสระในไซโทพลาซึม

รงควัตถุ: นอกเหนือจากฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง รงควัตถุที่มีมากที่สุดในร่างกายคือเมลานิน ซึ่งสร้างมาจากเมลาโนไซต์ในเส้นขนและผิวหนัง, เซลล์รงควัตถุในเรตินาและเซลล์ประสาทพิเศษในส่วน substantia nigra ของสมอง รงควัตถุเหล่านี้มีส่วนช่วยปกป้องผิวหนังและช่วยในด้านประสาทการมองเห็นของเรตินา สำหรับหน้าที่ของพวกมันในเซลล์ประสาทยังไม่เป็นที่ทราบกันอย่างกระจ่างนัก นอกจากนี้ เนื้อเยื่อหัวใจและเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลางยังมีสีเหลืองไปจนถึงสีน้ำตาลอันเกิดจากสารสีที่เรียกว่าลิโพฟุสซิน (lipofuscin) เชื่อกันว่ารงควัตถุนี้มีการทำหน้าที่คล้ายไลโซโซม

เชิงอรรถ

  1. อนุภาคบีตาในที่นี้เป็นการบอกถึงระดับการรวมโครงสร้างเท่านั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอนุภาคบีตาที่เป้นกลุ่มก้อนอิเล็กตรอนแต่อย่างใด

อ้างอิง

  1. Peter S. Amenta (1 January 1997). Histology: from normal microanatomy to pathology. PICCIN. pp. 17–. ISBN 978-88-299-1195-0. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  2. Shively, J. M. (ed.). (2006). Microbiology Monographs Vol. 1: Inclusions in Prokaryotes. Berlin, Heidelberg: Springer-Verlag. link.
  3. Leslie P. Gartner and James L. Hiatt ; Text book of Histology; 3rd edition
  4. Fawcett; The cell, 2nd edition

นคล, เซลล, นคล, งกฤษ, inclusion, เป, นสสารไร, อย, ภายในเซลล, งไม, กล, อมรอบด, วยเย, อห, นคล, นเป, นได, งสารอาหารสะสม, สารสำหร, บหล, งออกนอกเซลล, หร, อเม, ดรงคว, ตถ, วอย, างของอ, นคล, นเช, เม, ดไกลโคเจนในเซลล, บและเซลล, กล, ามเน, หยดล, ดในเซลล, ไขม, เม, ดรงคว, . xinkhluchn xngkvs inclusion epnssarirchiwit 1 thixyuphayinesll 2 sungimthuklxmrxbdwyeyuxhum xinkhluchnepnidthngsarxaharsasm sarsahrbhlngxxknxkesll hruxemdrngkhwtthu twxyangkhxngxinkhluchnechn emdiklokhecnineslltbaelaesllklamenux hydliphidinesllikhmn emdrngkhwtthuinesllphiwhnngaelaesnkhnbangesll aelaphlukxun sungmixyuhlaychnid 3 xinkhluchninesllthuxepntwxyanghnungkhxngsarkhwbaennchiwomelkul biomolecular condensate thiekidcakkaraeykefskhxngehlw khxngaekhng khxngehlw ecl hruxkhxngehlw khxngehlw okhrngsrangnithuksngektepnkhrngaerkody O F Muller inpi kh s 1786 2 twxyang aekikh emdiklokhecnthiphbinkrabwnkarsrangsepirmkhxnghnxntwaebninwngs Pleurogenidae khlas Digenea iklokhecn iklokhecnepnrupaebbkhxngkluokhsthiphbidmakthisudinstw sungmixyumakepnphiessinesllklamenuxaelaeslltb odypraktinphaphthaycakklxngculthrrsnxielktrxnepnkxn hruxklumkxnkhxngxnuphakhbitathimilksnakhlayirobosm a xyuiklkbrangaehexnodphlasumchnideriyb 3 iklokhecnepnaehlngphlngngansakhyaehlnghnungkhxngesll emuxcaepntxngichphlngngancungcamikarslayiklokhecn glycogenolysis exnismmiswnsakhyinkarslayiklokhecnihepnkluokhsthiaetlaxwywainrangkaysamarthichpraoychnid 4 1 liphid liphidthiepnitrkliesxirdinrupkhxngsarxaharsasmepnxinkhluchnthiphbidbxythisud sungimephiyngthuksasmiwinesllthithukphthnamathahnathiniodyechphaa esllikhmn aetyngphbwathukcdekbepnhydnamnhydelk hlayhydinesllhlaychnid odyechphaaeslltb 3 liphidmisphaphepnkhxngehlwthixunhphumirangkayaelapraktinesllthimichiwitinrupkhxnghydnamnthrngklmmnwaw liphidsasmphlngngan aekhlxri txkrmmakkwakharobihedrt emuxtxngkarichngan liphidcathahnathiepnaehlngsasmphlngngankhxngesll aelaepnaehlngwtthudibkhxngoskharbxnsaysnsungcathukesllnaipichsahrbkarsrangeyuxhumaelaokhrngsrangxun thimiliphidepnxngkhprakxb hruxthuksngekhraahepnsarsahrbhlngxxknxkesll 3 4 phluk xinkhluchninrupphlukepnthithrabknxyangyawnanwaepnswnprakxbkhxngesllbangchnidechn esllesxothli Sertoli cell aelaesllelydik Leydig cell inxnthakhxngmnusy aelaxacphbidbangkhrnginesllaemokhrfac 4 echuxknwaokhrngsrangniepnrupaebbphlukkhxngoprtinbangchnid sungmixyuthukthiinesll imwacaepnniwekhliys imothkhxnedriy rangaehexnodphlasum kxlicaexppharats hruxxyuxyangxisrainisothphlasum 3 4 rngkhwtthu nxkehnuxcakhiomoklbininemdeluxdaedng rngkhwtthuthimimakthisudinrangkaykhuxemlanin sungsrangmacakemlaonistinesnkhnaelaphiwhnng esllrngkhwtthuinertinaaelaesllprasathphiessinswn substantia nigra khxngsmxng 3 rngkhwtthuehlanimiswnchwypkpxngphiwhnngaelachwyindanprasathkarmxngehnkhxngertina sahrbhnathikhxngphwkmninesllprasathyngimepnthithrabknxyangkracangnk nxkcakni enuxeyuxhwicaelaesllprasathinrabbprasathswnklangyngmisiehluxngipcnthungsinatalxnekidcaksarsithieriykwaliophfussin lipofuscin echuxknwarngkhwtthunimikarthahnathikhlayilososm 4 echingxrrth aekikh xnuphakhbitainthiniepnkarbxkthungradbkarrwmokhrngsrangethann immikhwamekiywkhxngkbxnuphakhbitathiepnklumkxnxielktrxnaetxyangidxangxing aekikh 1 0 1 1 Peter S Amenta 1 January 1997 Histology from normal microanatomy to pathology PICCIN pp 17 ISBN 978 88 299 1195 0 subkhnemux 25 November 2010 2 0 2 1 Shively J M ed 2006 Microbiology Monographs Vol 1 Inclusions in Prokaryotes Berlin Heidelberg Springer Verlag link 3 0 3 1 3 2 3 3 3 4 3 5 Leslie P Gartner and James L Hiatt Text book of Histology 3rd edition 4 0 4 1 4 2 4 3 4 4 Fawcett The cell 2nd edition bthkhwamekiywkbchiwwithyaniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmulekhathungcak https th wikipedia org w index php title xinkhluchn esll amp oldid 9265344, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม