fbpx
วิกิพีเดีย

อีวาน ปัฟลอฟ

อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ (รัสเซีย: Иван Петрович Павлов, 14 กันยายน ค.ศ. 184927 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936) เป็นนักจิตวิทยาและสรีรวิทยาชาวรัสเซีย-โซเวียต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1904 จากงานวิจัยเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ปาฟลอฟยังเป็นที่รู้จักจากการอธิบายปรากฏการณ์การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning)

อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ
Иван Петрович Павлов
เกิด14 กันยายน ค.ศ. 1849(1849-09-14)
รีซาน, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 (86 ปี)
เลนินกราด, สหภาพโซเวียต
สัญชาติรัสเซีย, โซเวียต
พลเมืองจักรวรรดิรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
มีชื่อเสียงจากการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม
Transmarginal inhibition
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1904)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสรีรวิทยา, จิตวิทยา, แพทย์
สถาบันที่ทำงานสถาบันการแพทย์ทหาร

ชีวประวัติและงานวิจัย

อีวาน ปาฟลอฟเกิดที่รีซาน จักรวรรดิรัสเซีย เขาเริ่มศึกษาชั้นสูงที่ Ryazan Ecclesiastical Seminary แต่ได้พักการเรียนและย้ายมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (University of Saint Petersburg) เพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและได้เป็นนักสรีรวิทยา ปาฟลอฟจบการศึกษาดุษฎีบัณฑิตในปี ค.ศ. 1879

ในทศวรรษที่ 1890 ปาฟลอฟได้ศึกษาการทำงานของกระเพาะอาหารของสุนัขโดยการผ่าต่อมน้ำลายเพื่อเก็บ วัด และวิเคราะห์น้ำลายที่ตอบสนองเมื่อมีอาหารภายใต้สภาวะต่าง ๆ เขาค้นพบว่าสุนัขมีแนวโน้มหลั่งน้ำลายก่อนที่อาหารจะเข้าไปในปากจริง ๆ และเขาเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า การขับ (น้ำลาย) ทางจิตใจ (psychic secretion)

ปาฟลอฟได้ตัดสินใจที่จะศึกษาปรากฏการณ์ทางจิตใจมากกว่าศึกษาทางเคมีของน้ำลาย และได้เปลี่ยนจุดมุ่งหมายในการศึกษา โดยการจัดชุดทดลองให้สิ่งกระตุ้นก่อนที่จะให้อาหารสุนัขจริง ๆ หลักการดังกล่าวที่เขาได้ตั้งขึ้นมานั้นเป็นกฎพื้นฐานของ "รีเฟล็กซ์เรียน หรือรีเฟล็กซ์การวางเงื่อนไข" (conditional reflexes) กล่าวคือ การตอบสนองซึ่งในที่นี้คือการหลั่งน้ำลายในสัตว์จะเกิดอย่างมีเงื่อนไขตามประสบการณ์ที่เคยพบเจอในอดีต ปาฟลอฟทำการทดลองดังกล่าวระหว่างทศวรรษที่ 1890 และ 1900 และเป็นที่รู้จักกันในวงการวิทยาศาสตร์ตะวันตกจากการแปลการบรรยายของเขา แต่การตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษฉบับเต็มครั้งแรกเพิ่งจะมีในปี ค.ศ. 1927

ปาฟลอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องจากรัฐบาลสหภาพโซเวียตซึ่งต่างจากนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ ทำให้เขาสามารถทำงานวิจัยได้ต่อไปเป็นเวลานาน นอกจากนี้เขายังได้รับการยกย่องจากวลาดิมีร์ เลนินและในฐานะผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หลังจากเหตุการณ์การลอบสังหารเซียร์เกย์ คีรอฟ (Sergei Kirov) ในปี ค.ศ. 1934 ปาฟลอฟได้เขียนจดหมายจำนวนมากถึงวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ (Vyacheslav Molotov) วิพากษ์การลงโทษอย่างหนักและเรียกร้องให้พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับคนหลายคนที่เขารู้จักส่วนตัวใหม่

บั้นปลายชีวิตปาฟลอฟสนใจในการใช้การวางเงื่อนไขเพื่อสร้างแบบจำลองเพื่อชักนำโรคประสาท เขาเสียชีวิตที่เลนินกราด ห้องปฏิบัติการของเขาถูกรักษาไว้เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์

ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ปาฟลอฟได้ขอให้นักเรียนของเขาคนหนึ่งที่นั่งอยู่ข้างเตียงบันทึกเหตุการณ์ขณะเขาเสียชีวิต เพราะเขาต้องการสร้างหลักฐานเกี่ยวกับประสบการณ์อัตวิสัยของบั้นปลายชีวิตของเขา การอุทิศตนเพื่อวิทยาศาสตร์ของปาฟลอฟในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเขามีความพยายามในการเรียนรู้ และเพิ่มพูนความรู้ด้านสรีรวิทยา แม้ในวินาทีสุดท้ายของชีวิต

การวิจัยด้านระบบรีเฟล็กซ์

ปาฟลอฟได้อุทิศตนเพื่อวิชาสรีรวิทยาและประสาทวิทยาอย่างมากมาย งานส่วนใหญ่ของเขาเกี่ยวกับการวิจัยด้านพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) , การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) และกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex actions)

เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการย่อยอาหารซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1904 การทดลองของเขาเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อแยกส่วนของระบบย่อยอาหารในสัตว์ การตัดมัดประสาทแล้วสังเกตผลต่อทางเดินอาหาร และการเจาะรูจากภายนอกเข้าไปยังอวัยวะในทางเดินอาหารเพื่อศึกษาสิ่งที่อยู่ภายในอวัยวะนั้น การทดลองดังกล่าวเป็นพื้นฐานของงานวิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

งานวิจัยเกี่ยวกับกิริยารีเฟล็กซ์ โดยเฉพาะปฏิกิริยาต่อความเครียดและการเจ็บปวดอย่างไม่ตั้งใจ ปาฟลอฟได้นิยามพื้นอารมณ์แต่กำเนิด 4 ประเภทภายใต้การศึกษาในขณะนั้น ได้แก่ ซึมเชื่อง (phlegmatic) , อารมณ์เสียง่าย (choleric) , ร่าเริง (sanguine) , และเศร้าโศก (melancholic) ปาฟลอฟและนักวิจัยของเขาได้สังเกตและเริ่มศึกษาการตอบสนองทางธรรมชาติของร่างกายที่เรียกว่า "shutdown" เมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดหรือความเจ็บปวดอย่างมหาศาล ที่เรียกว่า transmarginal inhibition (TMI) งานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบุคคลในแต่ละพื้นอารมณ์จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบเดียวกัน แต่แตกต่างจะใช้เวลาตอบสนองแตกต่างกัน เขากล่าวว่า "ความแตกต่างของพื้นฐานแต่กำเนิด .. คือระยะเวลาเร็วเท่าไรที่เขาถึงจุด shutdown และคนที่ถึงจุด shutdown เร็วโดยพื้นฐานจะมีระบบประสาทต่างชนิด" (that the most basic inherited difference. .. was how soon they reached this shutdown point and that the quick-to-shut-down have a fundamentally different type of nervous system.)

คาร์ล จุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาได้นำงานของปาฟลอฟเกี่ยวกับ TMI มาสานต่อ และนำพื้นอารมณ์แต่กำเนิดของมนุษย์มาเชื่อมกับการสังเกตชนิดการ shutdown ในสัตว์ เขาเชื่อว่าบุคคลที่สนใจแต่ตัวเองจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่า และถึง TMI เร็วกว่าคนที่สนใจบุคคลอื่น สาขาการวิจัยด้านนี้เรียกว่า highly sensitive persons

วิลเลียม ซาร์แกนท์และคนอื่น ๆ ได้วิจัยต่อเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขทางจิตใจ เพื่อการปลูกฝังความจำและการล้างสมอง

เกียรติประวัติและมรดก

 
สุนัขตัวหนึ่งของปาฟลอฟ ที่พิพิธภัณฑ์ปาฟลอฟ รีซาน ประเทศรัสเซีย

แนวคิดของปาฟลอฟที่เป็นที่โด่งดังไปทั่วคือ รีเฟล็กซ์มีเงื่อนไข (conditioned reflex) ซึ่งเขาพัฒนาร่วมกับผู้ช่วยชื่อ อีวาน ฟิลิปโปวิช โทโลชินอฟ (Ivan Filippovitch Tolochinov) ในปี ค.ศ. 1901 โทโลชินอฟได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่สภาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในเฮลซิงกิในปี ค.ศ. 1903 เมื่องานของพาฟลอฟเป็นที่รู้จักกันโลกตะวันตก โดยเฉพาะเมื่อผ่านงานเขียนของจอห์น บี. วัตสัน ความคิดเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขในฐานะรูปแบบอัตโนมัติของการเรียนรู้กลายมาเป็นแนวคิดหลักของการมุ่งศึกษาด้านจิตวิทยาเปรียบเทียบ และทฤษฎีพฤติกรรมนิยม อาทิเบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ นักปรัชญาชาวอังกฤษได้สนับสนุนงานของพาฟลอฟเกี่ยวกับปรัชญาของจิต (philosophy of mind)

งานวิจัยของพาฟลอฟเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขสะท้อนมีอิทธิพลอย่างมากไม่เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับวัฒนธรรมอีกด้วย วลีที่ว่า "สุนัขของปาฟลอฟ" มักใช้เรียกคนที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แทนที่จะใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ การวางเงื่อนไขของปาฟลอฟยังเป็นแนวคิดหลักของนิยายวิทยาศาสตร์แนวดิสโทเปียของอัลดัส ฮักซลีย์ชื่อ โลกวิไลซ์ (Brave New World) และนวนิยาย Gravity's Rainbow ชื่อโทมัส พินชอน (Thomas Pynchon) ทฤษฎีของเขายังมีผลต่อละครแนววิทยาศาสตร์เช่น ดิ เอ็กซ์-ไฟล์ส (The X-Files)

เชื่อกันว่าปาฟลอฟนั้นจะสั่นกระดิ่งเป็นสิ่งกระตุ้นก่อนให้อาหารสุนัข แต่จริง ๆ แล้วจากงานเขียนของเขาบันทึกว่าเขาใช้สิ่งกระตุ้นหลากหลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าช็อต เสียงนกหวีด เครื่องเคาะจังหวะ ส้อมเสียง และสิ่งกระตุ้นทางการมองเห็น นอกเหนือจากการใช้กระดิ่ง บางแหล่งข้อมูลยังไม่มั่นใจว่าปาฟลอฟเคยใช้กระดิ่งในงานวิจัยของเขาจริงหรือไม่ บางแห่งสันนิษฐานว่าคนอื่นที่เกิดในยุคเดียวกับปาฟลอฟเป็นผู้ใช้กระดิ่งทดลอง เช่น วลาดิมีร์ บาฮ์เจเรฟ (Vladimir Bekhterev) หรือจอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson) แต่บางแห่งกล่าวว่ามีแหล่งอ้างอิงหลายแหล่งกล่าวชัดเจนว่าปาฟลอฟใช้กระดิ่งทดลอง

อ้างอิง

  1. Ivan Pavlov The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1904
  2. "Ivan Pavlov". สืบค้นเมื่อ 2007-01-01.
  3. "Ivan Petrovich Pavlov :: Opposition to Communism - Britannica Online Encyclopedia". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
  4. Chance, Paul. Learning and Behaviour. Wadsworth Pub. Co., 1988. ISBN 0-534-08508-3. Page 48.
  5. 1904 Nobel prize laureates
  6. Rokhin, L, Pavlov, I & Popov, Y. (1963) Psychopathology and Psychiatry, Foreign Languages Publication House: Moscow.
  7. Todes, Daniel Philip (2002). Pavlov's Physiology Factory. Baltimore MD: Johns Hopkins University Press. pp. 232 et sec. ISBN 0801866901.
  8. Anrep (1927) p142
  9. Catania, A. Charles (1994) ; Query: Did Pavlov's Research Ring a Bell?, PSYCOLOQUY Newsletter, Tuesday, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  10. Thomas, Roger K. (1994) ; Pavlov's Rats "dripped Saliva at the Sound of a Bell", Psycoloquy, Vol. 5, No. 80 http://www.cogsci.ecs.soton.ac.uk/cgi/psyc/newpsy?5.80 (accessed 22 August 2006)

บรรณานุกรม

  • Boakes, Robert (1984). From Darwin to behaviourism. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-23512-9.
  • Firkin, Barry G.; J.A. Whitworth (1987). Dictionary of Medical Eponyms. Parthenon Publishing. ISBN 978-1-85070-333-4.
  • Pavlov, I. P. (1927). Conditioned Reflexes: An Investigation of the Physiological Activity of the Cerebral Cortex. Translated and Edited by G. V. Anrep. London: Oxford University Press. Available online
  • Todes, D. P. (1997). "Pavlov's Physiological Factory," Isis. Vol. 88. The History of Science Society, p. 205–246.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Ivan Pavlov
  • PBS article
  • Commentary on Pavlov's Conditioned Reflexes from 50 Psychology Classics
  • Ivan P. Pavlov: Toward a Scientific Psychology and Psychiatry
  • ผลงานเกี่ยวกับ/โดย อีวาน ปัฟลอฟ บนอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
  • ผลงานโดย อีวาน ปัฟลอฟ บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)  
  • ส่วนจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ อีวาน ปัฟลอฟ ในหอจดหมายเหตุข่าวสารศตวรรษที่ 20 ของ ZBW
  • Ivan Pavlov on Nobelprize.org including the Nobel Lecture on 12 December 1904 Physiology of Digestion


วาน, ฟลอฟ, วาน, เปโตรว, ปาฟลอฟ, สเซ, Иван, Петрович, Павлов, นยายน, 1849, มภาพ, นธ, 1936, เป, นน, กจ, ตว, ทยาและสร, รว, ทยาชาวร, สเซ, โซเว, ยต, ได, บรางว, ลโนเบลสาขาสร, รว, ทยาหร, อการแพทย, ในป, 1904, จากงานว, ยเก, ยวก, บระบบย, อยอาหาร, นอกจากน, ปาฟลอฟย, งเป, . xiwan epotrwich paflxf rsesiy Ivan Petrovich Pavlov 14 knyayn kh s 1849 27 kumphaphnth kh s 1936 epnnkcitwithyaaelasrirwithyachawrsesiy osewiyt idrbrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthyinpi kh s 1904 caknganwicyekiywkbrabbyxyxahar nxkcaknipaflxfyngepnthiruckcakkarxthibaypraktkarnkarwangenguxnikhaebbdngedim classical conditioning xiwan epotrwich paflxf Ivan Petrovich Pavlovekid14 knyayn kh s 1849 1849 09 14 risan ckrwrrdirsesiyesiychiwit27 kumphaphnth kh s 1936 86 pi elninkrad shphaphosewiytsychatirsesiy osewiytphlemuxngckrwrrdirsesiy shphaphosewiytsisyekamhawithyalyesntpietxrsebirkmichuxesiyngcakkarwangenguxnikhaebbdngedimTransmarginal inhibitionkarprbepliynphvtikrrmrangwlrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthy kh s 1904 xachiphthangwithyasastrsakhasrirwithya citwithya aephthysthabnthithangansthabnkaraephthythhar enuxha 1 chiwprawtiaelanganwicy 2 karwicydanrabbrieflks 3 ekiyrtiprawtiaelamrdk 4 xangxing 4 1 brrnanukrm 5 aehlngkhxmulxunchiwprawtiaelanganwicy aekikhxiwan paflxfekidthirisan ckrwrrdirsesiy 1 ekhaerimsuksachnsungthi Ryazan Ecclesiastical Seminary aetidphkkareriynaelayaymasuksathimhawithyalyesntpietxrsebirk University of Saint Petersburg ephuxsuksawithyasastrthrrmchatiaelaidepnnksrirwithya paflxfcbkarsuksadusdibnthitinpi kh s 1879inthswrrsthi 1890 paflxfidsuksakarthangankhxngkraephaaxaharkhxngsunkhodykarphatxmnalayephuxekb wd aelawiekhraahnalaythitxbsnxngemuxmixaharphayitsphawatang ekhakhnphbwasunkhmiaenwonmhlngnalaykxnthixaharcaekhaipinpakcring aelaekhaeriykpraktkarndngklawwa karkhb nalay thangcitic psychic secretion paflxfidtdsinicthicasuksapraktkarnthangciticmakkwasuksathangekhmikhxngnalay aelaidepliyncudmunghmayinkarsuksa odykarcdchudthdlxngihsingkratunkxnthicaihxaharsunkhcring hlkkardngklawthiekhaidtngkhunmannepnkdphunthankhxng rieflkseriyn hruxrieflkskarwangenguxnikh conditional reflexes klawkhux kartxbsnxngsunginthinikhuxkarhlngnalayinstwcaekidxyangmienguxnikhtamprasbkarnthiekhyphbecxinxdit paflxfthakarthdlxngdngklawrahwangthswrrsthi 1890 aela 1900 aelaepnthiruckkninwngkarwithyasastrtawntkcakkaraeplkarbrryaykhxngekha aetkartiphimphepnphasaxngkvschbbetmkhrngaerkephingcamiinpi kh s 1927paflxfepnnkwithyasastrthiidrbkarykyxngcakrthbalshphaphosewiytsungtangcaknkwithyasastrthanxun thaihekhasamarththanganwicyidtxipepnewlanan nxkcakniekhayngidrbkarykyxngcakwladimir elninaelainthanaphuidrbrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthy 2 3 hlngcakehtukarnkarlxbsngharesiyreky khirxf Sergei Kirov inpi kh s 1934 paflxfidekhiyncdhmaycanwnmakthungwyaechslaf omoltxf Vyacheslav Molotov wiphakskarlngothsxyanghnkaelaeriykrxngihphicarnakhdithiekiywkhxngkbkhnhlaykhnthiekharuckswntwihmbnplaychiwitpaflxfsnicinkarichkarwangenguxnikhephuxsrangaebbcalxngephuxchknaorkhprasath ekhaesiychiwitthielninkrad hxngptibtikarkhxngekhathukrksaiwephuxepnphiphithphnthkxnthiekhacaesiychiwit paflxfidkhxihnkeriynkhxngekhakhnhnungthinngxyukhangetiyngbnthukehtukarnkhnaekhaesiychiwit ephraaekhatxngkarsranghlkthanekiywkbprasbkarnxtwisykhxngbnplaychiwitkhxngekha karxuthistnephuxwithyasastrkhxngpaflxfinkhrngniaesdngihehnwaekhamikhwamphyayaminkareriynru aelaephimphunkhwamrudansrirwithya aeminwinathisudthaykhxngchiwit 4 karwicydanrabbrieflks aekikhpaflxfidxuthistnephuxwichasrirwithyaaelaprasathwithyaxyangmakmay nganswnihykhxngekhaekiywkbkarwicydanphunxarmnaetkaenid temperament karwangenguxnikhaebbdngedim classical conditioning aelakiriyarieflks reflex actions ekhaidthakarthdlxngekiywkbkaryxyxaharsungthaihekhaidrbrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthyinpi kh s 1904 5 karthdlxngkhxngekhaekiywkbkarphatdephuxaeykswnkhxngrabbyxyxaharinstw kartdmdprasathaelwsngektphltxthangedinxahar aelakarecaarucakphaynxkekhaipyngxwywainthangedinxaharephuxsuksasingthixyuphayinxwywann karthdlxngdngklawepnphunthankhxngnganwicyhlaychinthiekiywkbrabbyxyxaharnganwicyekiywkbkiriyarieflks odyechphaaptikiriyatxkhwamekhriydaelakarecbpwdxyangimtngic paflxfidniyamphunxarmnaetkaenid 4 praephthphayitkarsuksainkhnann idaek sumechuxng phlegmatic xarmnesiyngay choleric raering sanguine aelaesraosk melancholic paflxfaelankwicykhxngekhaidsngektaelaerimsuksakartxbsnxngthangthrrmchatikhxngrangkaythieriykwa shutdown emuxthukkratunodykhwamekhriydhruxkhwamecbpwdxyangmhasal thieriykwa transmarginal inhibition TMI nganwicydngklawaesdngihehnwabukhkhlinaetlaphunxarmncatxbsnxngtxsingeraaebbediywkn aetaetktangcaichewlatxbsnxngaetktangkn ekhaklawwa khwamaetktangkhxngphunthanaetkaenid khuxrayaewlaerwethairthiekhathungcud shutdown aelakhnthithungcud shutdown erwodyphunthancamirabbprasathtangchnid that the most basic inherited difference was how soon they reached this shutdown point and that the quick to shut down have a fundamentally different type of nervous system 6 kharl cung Carl Jung nkcitwithyaidnangankhxngpaflxfekiywkb TMI masantx aelanaphunxarmnaetkaenidkhxngmnusymaechuxmkbkarsngektchnidkar shutdown instw ekhaechuxwabukhkhlthisnicaettwexngcaiwtxsingkratunmakkwa aelathung TMI erwkwakhnthisnicbukhkhlxun sakhakarwicydannieriykwa highly sensitive personswileliym saraeknthaelakhnxun idwicytxekiywkbkarwangenguxnikhthangcitic ephuxkarplukfngkhwamcaaelakarlangsmxngekiyrtiprawtiaelamrdk aekikh sunkhtwhnungkhxngpaflxf thiphiphithphnthpaflxf risan praethsrsesiy aenwkhidkhxngpaflxfthiepnthiodngdngipthwkhux rieflksmienguxnikh conditioned reflex sungekhaphthnarwmkbphuchwychux xiwan filipopwich otholchinxf Ivan Filippovitch Tolochinov inpi kh s 1901 7 otholchinxfidephyaephrphlkarsuksathisphawithyasastrthrrmchatiinehlsingkiinpi kh s 1903 8 emuxngankhxngphaflxfepnthiruckknolktawntk odyechphaaemuxphannganekhiynkhxngcxhn bi wtsn khwamkhidekiywkbkarwangenguxnikhinthanarupaebbxtonmtikhxngkareriynruklaymaepnaenwkhidhlkkhxngkarmungsuksadancitwithyaepriybethiyb aelathvsdiphvtikrrmniym xathiebxrthrand rsesill nkprchyachawxngkvsidsnbsnunngankhxngphaflxfekiywkbprchyakhxngcit philosophy of mind nganwicykhxngphaflxfekiywkbkarwangenguxnikhsathxnmixiththiphlxyangmakimechphaadanwithyasastrethann aetyngekiywkbwthnthrrmxikdwy wlithiwa sunkhkhxngpaflxf mkicheriykkhnthitxbsnxngtxsthankarnaethnthicaichkhwamkhidechingwiphaks karwangenguxnikhkhxngpaflxfyngepnaenwkhidhlkkhxngniyaywithyasastraenwdisothepiykhxngxlds hksliychux olkwiils Brave New World aelanwniyay Gravity s Rainbow chuxothms phinchxn Thomas Pynchon thvsdikhxngekhayngmiphltxlakhraenwwithyasastrechn di exks ifls The X Files echuxknwapaflxfnncasnkradingepnsingkratunkxnihxaharsunkh aetcring aelwcaknganekhiynkhxngekhabnthukwaekhaichsingkratunhlakhlaychnidmak imwacaepniffachxt esiyngnkhwid ekhruxngekhaacnghwa sxmesiyng aelasingkratunthangkarmxngehn nxkehnuxcakkarichkrading bangaehlngkhxmulyngimmnicwapaflxfekhyichkradinginnganwicykhxngekhacringhruxim 9 bangaehngsnnisthanwakhnxunthiekidinyukhediywkbpaflxfepnphuichkradingthdlxng echn wladimir bahecerf Vladimir Bekhterev hruxcxhn bi wtsn John B Watson aetbangaehngklawwamiaehlngxangxinghlayaehlngklawchdecnwapaflxfichkradingthdlxng 10 xangxing aekikh Ivan Pavlov The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1904 Ivan Pavlov subkhnemux 2007 01 01 Ivan Petrovich Pavlov Opposition to Communism Britannica Online Encyclopedia khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 06 28 subkhnemux 2009 03 24 Chance Paul Learning and Behaviour Wadsworth Pub Co 1988 ISBN 0 534 08508 3 Page 48 1904 Nobel prize laureates Rokhin L Pavlov I amp Popov Y 1963 Psychopathology and Psychiatry Foreign Languages Publication House Moscow Todes Daniel Philip 2002 Pavlov s Physiology Factory Baltimore MD Johns Hopkins University Press pp 232 et sec ISBN 0801866901 Anrep 1927 p142 Catania A Charles 1994 Query Did Pavlov s Research Ring a Bell PSYCOLOQUY Newsletter Tuesday 7 mithunayn ph s 2537 Thomas Roger K 1994 Pavlov s Rats dripped Saliva at the Sound of a Bell Psycoloquy Vol 5 No 80 http www cogsci ecs soton ac uk cgi psyc newpsy 5 80 accessed 22 August 2006 brrnanukrm aekikh Boakes Robert 1984 From Darwin to behaviourism Cambridge Cambridge University Press ISBN 978 0 521 23512 9 Firkin Barry G J A Whitworth 1987 Dictionary of Medical Eponyms Parthenon Publishing ISBN 978 1 85070 333 4 Pavlov I P 1927 Conditioned Reflexes An Investigation of the Physiological Activity of the Cerebral Cortex Translated and Edited by G V Anrep London Oxford University Press Available online Todes D P 1997 Pavlov s Physiological Factory Isis Vol 88 The History of Science Society p 205 246 aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb xiwan pflxf wikikhakhmphasaxngkvs mikhakhmthiklawody hruxekiywkb Ivan Pavlov PBS article Institute of Experimental Medicine article on Pavlov Link to a list of Pavlov s dogs with some pictures Commentary on Pavlov s Conditioned Reflexes from 50 Psychology Classics Ivan Pavlov and his dogs Ivan P Pavlov Toward a Scientific Psychology and Psychiatry phlnganekiywkb ody xiwan pflxf bnxinethxrentxarikhf phlnganody xiwan pflxf bnewb LibriVox hnngsuxesiyng sungepnsatharnsmbti swncakhnngsuxphimphekiywkb xiwan pflxf inhxcdhmayehtukhawsarstwrrsthi 20 khxng ZBW Ivan Pavlov on Nobelprize org including the Nobel Lecture on 12 December 1904 Physiology of Digestionekhathungcak https th wikipedia org w index php title xiwan pflxf amp oldid 9547185, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม