fbpx
วิกิพีเดีย

เนื้องอกมดลูก

เนื้องอกไม่ร้ายของกล้ามเนื้อมดลูก เป็นเนื้องอกไม่ร้ายของกล้ามเนื้อเรียบในมดลูก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการปวดประจำเดือนหรือประจำเดือนมามาก หากมีขนาดใหญ่มากอาจกดกระเพาะปัสสาวะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยได้ และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรืออาการปวดหลังได้ด้วย ผู้ป่วยอาจมีเนื้องอกหนึ่งก้อนหรือหลายก้อนก็ได้ บางครั้งอาจทำให้ตั้งครรภ์ยาก แต่พบได้ไม่บ่อย

เนื้องอกไม่ร้ายของกล้ามเนื้อมดลูก
(Uterine fibroids)
ชื่ออื่นUterine leiomyoma, uterine myoma, myoma, fibromyoma, fibroleiomyoma
ภาพเนื้องอกมดลูกที่เห็นจากการผ่าตัดส่องกล้อง
สาขาวิชานรีเวชวิทยา
อาการปวดประจำเดือน, ประจำเดือนมามาก
ภาวะแทรกซ้อนInfertility
การตั้งต้นMiddle and later reproductive years
สาเหตุไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว, ความอ้วน, การกินเนื้อแดง
วิธีวินิจฉัยPelvic examination, medical imaging
โรคอื่นที่คล้ายกันLeiomyosarcoma, pregnancy, ovarian cyst, ovarian cancer
การรักษาMedications, surgery, uterine artery embolization
ยาIbuprofen, paracetamol (acetaminophen), iron supplements, gonadotropin releasing hormone agonist
พยากรณ์โรคImprove after menopause
ความชุก~50% of women by age 50

สาเหตุของเนื้องอกนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ดีพบว่ามีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมและระดับฮอร์โมน ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ความอ้วน การกินเนื้อแดง การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจอุ้งเชิงกรานและการถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์

การรักษาอาจไม่มีความจำเป็นในรายที่ไม่มีอาการ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์เช่นไอบูโปรเฟนอาจช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการเลือดออกมากได้ พาราเซตามอลก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน ในรายที่มีเลือดออกมากอาจต้องได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก ยากลุ่ม GnRH agonist อาจลดขนาดก้อนเนื้องอกชนิดนี้ได้แต่ยังมีราคาสูงและมีผลข้างเคียง หากมีอาการมากการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกหรือเอามดลูกออกอาจช่วยได้ การอุดหลอดเลือดเลี้ยงมดลูกก็อาจช่วยได้เช่นกัน มะเร็งกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกพบได้น้อยมากและมักไม่เจริญมาจากเนื้องอกกล้ามเนื้อเรียบมดลูก

ผู้หญิง 20-80% จะมีเนื้องอกมดลูกเมื่ออายุถึง 50 ปี ข้อมูล ค.ศ. 2003 พบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 171 ล้านคน มักตรวจพบในช่วงกลางถึงปลายของวัยเจริญพันธุ์ เมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือนแล้วเนื้องอกมักมีขนาดเล็กลง ในสหรัฐเนื้องอกมดลูกเช่นนี้เป็นสาเหตุของการตัดมดลูกที่พบได้บ่อย

อาการและอาการแสดง

เนื้องอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขนาดเล็กที่อาจจะยังไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา อาการจะมาจากตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของเนื้องอก อาการที่สำคัญรวมถึงความผิดปกติที่ควรสังเกตคือ มีเลือดออกในทางสูตินารีเวช, มีประจำเดือนมากและปวดท้องมากขณะมีประจำเดือน,ไม่สบายท้องหรือมีอาการท้องอืด, ถ่ายอุจจาระแล้วมีอาการเจ็บ, ปวดหลัง, ปัสสวะบ่อยหรือมีอาการปัสสวะไม่สุด, และในบางกรณีก็ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก นอกจากนี้ยังอาจจะมีอาการเจ็บปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของเนื้องอก ถ้าเป็นเนื้องอกในขณะที่ตั้งครรภ์ก็อาจเป็นสาเหตุของการแท้งบุตร, มีเลือดออก, การคลอดก่อนกำหนด หรือรบกวนกับตำแหน่งของทารกในครรภ์.

ในขณะที่มีเนื้องอกมันอาจจะไม่ใช่สาเหตุในกรณีที่เกิดภาวะมีบุตรยาก ทางสถิติ 3% พบว่าเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะไม่สามารถที่จะมีลูก. ส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่มีเนื้องอกมดลูกจะมีผลการตั้งครรภ์ปกติ ในกรณีที่มีเนื้องอกในมดลูกอาจเกิดอาการแทรกซ้อนในภาวะมีบุตรยาก, มักจะพบที่ตำแหน่งเนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (submucosal position คือเนื้องอกที่ตำแหน่งก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันเข้ามาในโพรงมดลูก และเนื้องอกมดลูกชนิดมีก้านยื่น โดยตำแหน่งก้อนเนื้องอกซึ่งโตขึ้นอาจดันพ้นออกมาที่ผิวด้านนอกของมดลูกหรือ อาจดันเข้ามาในโพรงมดลูก ตัวก้อนเนื้องอกจะยึดติดกับมดลูกด้วยก้านเล็ก ๆ) และเนื้องอกในตำแหน่งนี้จะรบกวนการทำงานของเยื่อบุมดลูกและความสามารถในการฝังตัวอ่อนของเอ็มบริโอ. นอกจากนี้ยังมีเนื้องอกขนาดใหญ่อาจบังหรือปิดกั้นท่อนำไข่

พยาธิสรีรวิทยา

 
เมื่อเลาะเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก – ทางด้านซ้ายคือพื้นผิวด้านนอก,ส่วนที่เป็นพื้นที่ด้านที่ตัดจะเป็นรูปทางด้านขวา

เนื้องอกมดลูกจะปรากฏขึ้นรอบๆ มีขอบเขตเด่นชัด (แต่ไม่มีถุงหุ้ม), เป็นก้อนแข็งที่มีสีขาวหรือสีน้ำตาล, และจะแสดงลักษณะเป็นเนื้อเยื้อวงกลมมีขนาดแตกต่างกันไป ซึ่งต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูความผิดปกติทางโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่. โดยปกติเนื้องอกมีขนาดเท่าผลส้มโอหรือใหญ่กว่านั้นจะสามารถรู้สึกตัวเองโดยผู้ป่วยผ่านผนังหน้าท้อง

 
ภาพถ่ายผ่านกล้องจุลทรรศของเนื้องอกมดลูกชนิดกล้ามเนื้อเรียบชนิดไม่อันตราย. H&E stain.

เมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์เซลล์มะเร็งมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ปกติ (มีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปไข่, มีรูปร่างเหมือนกระสวย,ใจกลางมีรูปร่างเหมือนบุหรี่) และการรวมกลุ่มในรูปแบบที่มีทิศทางที่แตกต่างกัน (มีลักษณะที่เป็นก้นหอย)เซลล์เหล่านี้มีความเหมือนกันในขนาดและรูปร่าง, เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์ที่พบได้ยาก มีสามสายพันธุ์ที่เป็นอันตราย คือ 1.bizarre (เกิดความผิดปกติ) 2. cellular และ 3. mitotically

เมื่อมีการตรวจพบจุดเล็ก ๆ ในนิวเคลียสที่เด่นชัด (nucleoli) ที่มีรัศมีที่ใกล้ชิดกับตัวนิวเคลียสควรแจ้งเตือนอายุรเวชเพื่อตัวสอบความเป็นไปได้ของอาการก้อนเนื้องอกที่มาจากกรรมพันธ์ที่พบได้ยากและตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งที่ไต

ตำแหน่งและการจำแนกประเภท

 
ภาพแผนผังของชนิดเนื้องอกต่างๆในมดลูก: a=เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูก(Subserosal fibroids) , b=เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก(Intramural fibroids) , c=เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก(Submucosal fibroid), d=เนื้องอกมดลูกชนิดที่มีก้านใต้เยื่อบุ(pedunculated submucosal fibroid), e=เนื้องอกปากมดลูก(fibroid in statu nascendi), f=เนื้องอกของเอ็น(fibroid of the broad ligament)

การเจริญเติบโตและตำแหน่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสอบเนื้องอกที่จะนำไปสู่​​การเกิดอาการและปัญหา เนื้องอกที่มีขนาดเล็ก ๆ อาจจะมีอาการหากตั้งอยู่ภายในตำแหน่งที่โพรงมดลูก ในขณะคนที่เป็นเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่แต่เป็นที่ด้านนอกของมดลูกอาจจะไปไม่มีอาการให้สังเกตเห็น ตำแหน่งที่ตั้งที่แตกต่างกันมีทำให้มีการจัดกลุ่มดังนี้

  • เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (Intramural fibroid) นี้ตั้งอยู่ภายในผนังของมดลูกและเป็นชนิดที่พบมากที่สุด ในกรณีที่มีขนาดใหญ่ที่พวกเขาอาจจะไม่มีอาการ เนื้องอกเริ่มต้นก่อนตัวอยู่ภายในจากก้อนขนาดเล็กที่ผนังกล้ามเนื้อของมดลูก ด้วยเวลาพอสมควรเนื้องอกภายในอาจขยายเข้ามาก่อให้เกิดการบิดเบือนและการยืดตัวของโพรงมดลูก
  • เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก(Subserosal fibroid)เป็นเนื้องอกที่ตั้งอยู่ภายใต้พื้นผิวที่เป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกของเนื้อเยื่อบุผิว(ช่องท้อง) ของมดลูกและจะกลายเป็นขนาดใหญ่มาก เนื้องอกยังสามารถงอกออกมาเป็นปุ่มเล็กๆกลายเป็นเนื้องอกที่มีก้านออกมาเติบโตแยกออกมาจากมดลูกกลายเป็น parasitic leiomyoma เป็นส่วนที่แยกออกจากก้อนเนื้องอกเดิมออกไป โดยได้รับเลือดมาเลี้ยงจากอวัยวะอื่นในอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) ตั้งอยู่ในกล้ามเนื้อใต้เยื่อบุโพรงมดลูกและมีลักษณะบิดเบี้ยวอยู่ในโพรงมดลูกแม้จะมีแค่ขนาดเล็กๆ แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้ก็อาจทำให้เกิดเลือดออกและเกิดภาวะมีบุตรยาก ก้านที่อยู่ในโพรงเรียกว่าเนื้องอกที่ก้านเล็กๆสามารถที่ผ่านไปยังปากมดลูก
  • เนื้องอกในมดลูก (Cervical fibroids) ตั้งอยู่ในผนังปากมดลูก (คอของมดลูก) เป็นเนื้องอกที่ไม่ค่อยมีการพบบ่อยนัก (เส้นเอ็นที่ยึดมดลูก, แผ่นเอ็น, หรือเอ็นใต้กระดูที่อยู่บริเวณใต้กระเบนเหน็บ) ของมดลูกเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อเรียบ.

เนื้องอกอาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน เนื้องอกส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากภายในที่เป็นชั้นของกล้ามเนื้อของมดลูกมีการเจริญเติบโตต่อไป เนื้องอกอาจจะเจริญเติบโตออกไปทางด้านนอกของมดลูกหรือจะเจริญเติบโตต่อเข้าไปภายใน การเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวภายใต้ของเนื้องอกทำให้มีผลถัดมาก็คือ การตกเลือด, เปลียนเป็นเนื้อร้าย, มีแคลเซียมเกาะ, และมีการเปลี่ยนแปลงที่กระเพาะปัสสวะ(เนื้องอกเบียดกระเพราะปัสสวะทำให้เกิดปัสสวะบ่อย)

เนื้องอกนอกมดลูกที่มีต้นกำเนิดมาจากมดลูก, เนื้องอกที่แพร่กระจายไปเป็นเนื้อร้าย

เนื้องอกในมดลูกเริ่มต้นมาจากมดลูกแล้วต่อไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย, บางครั้งเรียกว่า ก้อนเนื้อปรสิต (parasitic myomas) ในอดีตพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ในปัจจุบันมีการวินิจฉัยว่ามีความถี่ของคนเป็นเนื้องอกมากขึ้น เนื้องอกอาจจะเกี่ยวข้องหรือเป็นแบบเดียวกันที่แพร่กระจายไปยังกล้ามเนื้อ

เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนแต่อาจะมีภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตหากเนื้องอกขยายใหญ่ไปไกลถึงอวัยวะอื่นๆ บางแหล่งข้อมูลชี้ให้เห็นว่าในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนอยู่ในช่วงปลายของการผ่าตัดเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูกหรือผ่าตัดมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกโดยวิธีส่องกล้องเพื่อดูชิ้นเนื้อแล้วผ่านทางหน้าท้องที่มีการปั่นชิ้นเนื้อให้เป็นชิ้นเนื้อเล็กๆ แล้วดูดออกมาผ่านท่อ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของภาวะแทรกซ้อนนี้(ผลอันเนื่องมาจากชิ้นเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่).

สิ่งที่ทำให้เงื่อนไขยากขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเนื้องอก เนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นอันตรายแต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งบางตำแหน่งก็อาจเป็นอันตรายได้เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเนื้องอกเป็นสำคัญ.

  • เนื้องอกในกล้ามเนื้อมีการกดทับหลอดเลือด เนื้องอกที่ปรากฏว่าไปกดทับการไหลเวียนหลอดเลือดแต่พบว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดซ้ำ
  • ไลโอไมโตมาโอสีสภายในหลอดเลือดดำ, เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกเติบโตขึ้นในหลอดเลือดดำที่แหล่งของมันคือเนื้องอกมดลูด เมื่อมีการเกี่ยวข้องกับหัวใจอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
  • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงเมื่อกระจายไปยังกล้ามเนื้อ, เนื้องอกเมื่อเจริญเติบโตไปยังพื้นที่ไกลขึ้นเช่น ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่มีแหล่งที่มาไม่ชัดเจน ถ้ามีความเกี่ยวข้องกับปอดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • เมื่อมีการแพร่กระจายไปยังไลโอไมโอมาโตสีสภายในหลอดเลือดดำในช่องท้อง,เนื้องอกที่โตกระจัดกระจายบนเยื่อบุช่องท้องและพื้นผิวของเยื่อแขวนกระเพาะในช่องท้อง(omental surfaces) ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเนื้องอกมดลูก มีลักษณะคล้ายกับเนื้องอกร้ายแต่ปฏิบัติตัวเป็นเนื้องอกไม่ร้ายแรง

พยาธิกำเนิด

 
เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่(large subserosal fibroid)

เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกมาจากต้นตระกูลเนื้องอก และประมาณ 40 to 50% แสดงถึงโครโมโซมของเซลล์ที่ตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซม ปัจจุบันความถี่ที่เกิดไม่สัมพันธ์กับพันธุกรรม กระบวนการเปลี่ยนแปลงเฉพาะของโปรตีน MED12 ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นร้อยละ 70 ของเนื้องอก

สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่จากสมมติฐานจากงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันคือ ความบกพร่องทางพันธุกรรม, เปิดรับฮอร์โมนก่อนคลอดบุตรและมาจากผลกระทบของฮอร์โมน, ปัจจัยที่ทำให้เนื้องอกเจริญเติบโตและสารซีโนเอสโตรเจน (xenoestrogens คือสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ส่งผลให้ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนมากไปกว่าเดิมที่เป็นอยู่) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เนื้องอกเจริญเติบโต ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นที่รู้กันก็คือผู้ที่มีเชื้อสายชาวแอฟริกา, ผู้ที่ไม่เคยบุตร (nulliparity), โรคอ้วน, กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก, โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

การเติบโตของเนื้องอกขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) แม้ว่าทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะมีความสัมพันธ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอกแต่ในบางสถานการณ์การเติบโตก็มีข้อจำกัด ซึ่งขัดแย้งกับเนื้องอกที่ไม่ค่อยเจริญเติบโตได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะมีสเตอรอยด์ฮอร์โมนที่สูงมาก และการตั้งครรภ์ค่อนข้างแน่นอนว่ามีผลที่ช่วยให้เกิดการป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นเนื้องอกได้ การป้องกันอาจจะแค่สื่อกลางบางส่วนระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจนและตัวรับของฮอร์โมนออซิโทซิน (oxytocin receptor: ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในหลายชนิด เช่น ช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิจากในช่องคลอด ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวขณะคลอด และช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้ขับน้ำนมออกมาเลี้ยงลูก)

มีความเชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีส่วนเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้องอกและมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เป็นปัจจัยการเจริญเติบโตของเนื้องอก, ไซโตไคน์ (cytokines:ทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างเซลล์)และปัจจัยที่ทำให้เซลล์นั้นตายลง (apoptotic factors) เช่นเดียวกับฮอร์โมนอื่นๆ นอกจากนี้การทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนปรับเปลี่ยนโดยมีการส่งสัญญาณคุยข้ามกันระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน,ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนโพแลกติน (ฮอร์โมน Prolactin เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งซึ่งสร้างจากต่อม Pituitary ทำหน้าที่พัฒนาต่อมน้ำนมและกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมออกมา) ที่เป็นตัวควบคุมการแสดงออกตามลำดับของตัวรับนิวเคลียส เชื่อกันว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวควบคุมเสริมให้เจริญเติบโตโดย up-regulating ของสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

IGF-1 (IGF-1 มีหน้าที่กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์การเสริมสร้างกระดูกอ่อน,เซลล์กล้ามเนื้อ รวมถึงมีการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ อีกด้วย),

EGFR (Estimated Glomerular Filtration Rate เป็นค่าที่เราใช้เพื่อประเมินการทำงานของไต),

TGF-beta (Transforming growth factor beta 1 เป็นโกร๊ทแฟคเตอร์ที่มีบทบาทอย่างมากในเมตาบอลิซึมของเซลล์กระดูกและฟัน),

TGF-beta3 (Transforming growth factor beta 3 เป็นชนิดของโปรตีนที่เรียกว่าไซโตไคน์)

PDGF (PLatelet-Derived Growth Factor เป็นหนึ่งในปัจจัยการเจริญเติบโตจำนวนมากหรือโปรตีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของการแบ่งเซลล์) และเป็นตัวส่งเสริมให้เซลล์ของกล้ามเนื้อที่มีความผิดปกติอยู่รอดโดยไปควบคุม p53 เพิ่มตัวปัจจัยยับยั้งอะพอพโทซิส (anti-apoptotic) ของ PCP4(Purkinje cell protein 4 คือ โปรตีนของมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน PCP4) และสัญญาณว่ามันไม่สามารถเข้ากันได้กับ PPAR-gamma ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นตัวเร่งให้ให้ก้อนเนื้อเจริญเติบโตขึ้นอยู่กับการควบคุม EGF, TGF-beta1 และ TGF-beta3, และยังมีส่วนช่วยให้มันอยู่รอดโดยผ่านการควบคุมการเจริญเติบโตจากสาร Bcl-2 และลดการเจริญเติบโตโดย TNF-alpha ส่งผ่านเพื่อให้เนื้องอกอยู่รอดผ่านควบคุมโดยส่งผ่าน Bcl-2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขยายการเจริญเติบโต (TGIF) ที่จะเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อเมื่อเปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อมดลูก TGIFอาจเกิดการปล่อยสาร TGF-β เป็นเส้นทางในเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก

เนื้องอกในวัยหมดประจำเดือนจะพบสาร ER-beta, ER-alpha และตัวรับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีการหลั่งออกมามากเกินไป, เนื้องอกในวัยหมดประจำเดือนซึ่งพบได้ยากและจะพบว่ามีการหลั่งสาร ER-beta มากเกินไปแบบมีนัยสำคัญ. ในการศึกษาส่วนใหญ่มีการพบความหลากหลายการเข้ารหัสยีนส์ ER and PR ซึ่งก็ไม่มีส่วนสัมพันธ์บประชากรผิวขาว อย่างไรก็ตามความพิเศษรูปแบบพันธุกรรมของ ER-alpha จะพบว่ามีความสำพันธ์กับการเกิดและขนาดของเนื้องอก เนื้องอกกลุ่มนี้พบได้มากกับพันธุกรรมของกลุ่มผู้หญิงผิวดำ

เนื้องอกมดลูกมีความไวต่อการกระตุ้นมากกว่ากล้ามเนื้อมดลูกปกติ ตัวรับ PPAR-gamma ยืนยันผลลัพธ์ว่าได้ลดการดำรงอยู่และการตายของเซลล์เนื้องอก กลไกก็คือ สื่อสารส่งสัญญาณเชิงลบเส้นทางคุยกันระหว่าง ER และ PPAR หลายๆ PPAR-gamma ลิแกนด์ (Ligands ในทางเคมีคือสสารภายนอกเซลล์ที่เชื่อมต่อกับตัวรับ) เมื่อพิจารณาว่ารักษาดูแลได้อย่างมีสมรรถภาพ PPAR-gamma อะโกนิสต์ (agonists เป็นสารที่เมื่อเชื่อมต่อกับตัวรับทางชีวเคมี แล้วทำให้เกิดการกระตุ้นกลไกตอบสนองของเซลล์) อาจจะต่อต้านกับการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดยร่วมกับกลไกของระบบอื่นอีกหลายๆ ตัว ยกตัวอย่างเช่น TGF-beta3 เป็นตัวยับยั้งอาการ

โรคความดันโลหิตสูง ก็มีความสัมพันธ์กับเนื้องอก ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุในทางสมมุติฐานอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดอาจทำให้เป็นหลอดเลือดแข็งตัวเวลาได้รับบาดเจ็บที่หลอดเลือดมดลูก และเป็นผลทำให้เกิดผลบทบาทสำคัญเมื่อเกิดสภาพการอักเสบ นอกจากนี้ต่อมไร้ท่อเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความดันเลือดเช่น Angiotensin II (Angiotensin II เป็นสารสำคัญในเลือดและในเนื้อไตเองโดยแสดงฤทธิ์ต่างๆ คือ 1.ฤทธิ์ต่อหลอดเลือดและหัวใจ 2.ฤทธิ์ต่อไต 3.ฤทธิ์ต่อต่อมหมวกไต 4.ฤทธิ์ต่อระบบประสาท)เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดเนื้องอกผ่านตัว Angiotensin II type 1 receptor.

ฮอร์โมนเพศชาย (Aromatase) และสาร 17beta-hydroxysteroid dehydrogenase คือ แสดงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในเนื้องอก แสดงให้เห็นว่าเนื้องอกสามารถที่จะเปลี่ยนแปลหมุนเวียนแอนโดรสตีนไดโอน(Androstenedione นั่นคือสารกระตุ้นฮอร์โมนที่เป็นสารแนะนำของฮอร์โมนเพศชาย) ในเอสตาไดออล(estradiol คือระดับฮอร์โมนในเพศหญิง) กลไกที่คล้ายกันเป็นปฏิบัติการที่ขยายความในเรื่องโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis) และโรคเยื่อบุโพรงมดลูกอื่น ๆ การยับยั้งการทำางานของเอนไซม์ของฮอร์โมนเพศชายที่มีหน้าที่เปลี่ยนแอนโดรเจนเป็นเอสโตรเจน คือปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาบางอย่างในทางที่เป็นไปได้ที่จะยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้องอกในขณะที่มันยังไม่ใหญ่นักแต่ก็มีผลกระทบต่อการผลิตรังไข่ของฮอร์โมนแอสโตรเจน (และระดับของระบบของร่างกาย) ฮอร์โมนเพศชายจะใช้วิธีการตรวจเพื่อตรวจสอบว่าถ้ายีนใดมีความผิดปกติยีนนั้นจะสร้างโปรตีนมากกว่าปกติที่เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงแอฟริกาอเมริกัน

สาเหตุทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ ได้รับการพิจารณาและอีกหลายอย่างทางระบาดวิทยา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลทางพันธุกรรมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับแรกมีความเสี่ยง 2.5 เท่า และ ความเสี่ยงใกล้กับ 6 เท่าเมื่อพิจารณาในกรณีที่มีอาการเริ่มต้นไปแล้ว ฝาแฝดที่มีไข่ใบเดียวกัน (Monozygotic twins) มีอัตราการสอดคล้องว่าอาจจะมีการผ่าตัดมดทั้งคู่เมื่อเทียบกับฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ(dizygotic twins)

เช่น แผลเป็นนูน, เนื้องอก ไม่ผลิตสารเคลือบเซลล์ภายนอก จากการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่ากระบวนการนี้อาจเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นการตอบสนองที่ผิดปกติของการขาดเลือดและกลไกการบีบตัวของเนื้อเยื่อ มีปัจจัยหลายอย่างเป็นส่วนประกอบอย่างมีนัยสำคัญสัญญาณของเส้นทางของสารเคลือบเซลล์ (extracellular signaling pathways) อย่างเช่น ERK1 และ ERK2, ซึ่งบอกได้ว่าเนื้องอกนั้นได้รับอิทธิพลอย่างชัดเจนมาจะฮอร์โมน น่าประหลาดและแตกต่างจากเงื่อนไขอื่นๆ อย่างมากที่มีเรื่องผังผืดมากเกี่ยวข้องด้วยมีการตรวจพบยีนส์ Cyr61 ในเนื้องอกและมีการพบกระบวนการที่เซลล์ลดปริมาณขององค์ประกอบของเซลล์ในเนื้องอก

Cyr61 เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหยุดยั้งเนื้องอกและกลไกการสร้างเลือดใหม่ (angiogenesis) การลดความหนาแน่นของหลอดเลือดเป็นการลดขนาดของเนื้องอกลงได้

การวินิจฉัย

ในขณะที่ตรวจสอบโดยการใช้มือคลำ 2 มือมักจะสามารถเจอการปรากฏของก้อนเนื้องอกสำหรับเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่,พบจากคลื่นความถี่สูงของทางสูตินารีแพทย์ (อัลตร้าซาวด์) มีการพัฒนาเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการประเมินสำหรับเนื้องอกในมดลูก. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงจะสามารถเห็นเนื้องอกที่มีกลุ่มก้อนแตกต่างกัน ซึ่งมักจะทำให้เกิดเงาของแสงอัลตร้าซาวด์ การตรวจอัลตราซาวด์สามารถตรวจสอบได้ทั้งขนาดและตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) สามารถใช้ในการกำหนดภาพของขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกในมดลูกได้

การถ่ายภาพรังสีไม่สามารถแยกแยะระหว่างเนื้องอกธรรมดาไม่ร้ายแรงกับเนื้อร้ายได้ อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจภายหลังค่อนข้างหายากที่จะเห็นก้อนเนื้องอกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือการเจริญเติบโตที่ไม่คาดคิด เช่นการขยายตัวของเนื้องอกหลังวัยหมดประจำเดือน จะเพิ่มระดับความสงสัยได้ว่าเนื้องอกนั้นอาจจะเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง โดยเนื้องอกอาจจะพัฒนาเป็นมะเร็งได้สูงโดยดูจากตำแหน่งที่เนื้องอกที่ขยายไป การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการวินิจฉัยโดยใช้ MRI มีการปรับปรุงความสามารถในการตรวจหารอยของโรคทางด้านเนื้องอกได้ การผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ(Biopsy)จะดำเนินการน้อยมากและหากดำเนินการจะไม่ค่อยมีการวินิจฉัย ควรจะมีการวินิจฉัยที่ก้อนเนื้องอกถ้ามีความไม่แน่ใจหลังจากการทำอัลตร้าซาวด์และภาพถ่ายจาก MRI ซึ่งชี้ให้เห็นข้อบ่งชี้โดยทั่วไป

เทคนิคการถ่ายภาพอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะในการประเมินผลของรอยโรคที่มีผลต่อโพรงมดลูกในการตรวจก็จะมี การตรวจท่อน้ำไข่และโพรงมดลูก (hysterosalpingography) หรือ การอัลตร้าซาวน์น้ำเพื่อดูสภาพภายในมดลูก (sonohysterography)

อาการผิดปกติ

เนื้องอกที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกมากจากช่องคลอดมีโอกาสทำให้เป็นโรคโลหิตจาง และการขาดธาตุเหล็ก ผลกระทบจากความดันทำให้มีปัญหาที่กระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการ เช่น อาการท้องผูก (constipation) และอาการท้องอืดก็เป็นไปได้. การที่เนื้องอกเข้าไปเบียดที่ไตอาจนำไปสู่ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง เนื้องอกอาจจะแสดงอาการควบคู่ไปกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสาเหตุภาวะมีบุตรยาก โรคที่มีการฝังตัวของเยื่อบุมดลูกในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) อาจถูกทำให้เข้าใจผิดหรืออยู่ร่วมกับเนื้องอก

ในกรณีที่หายากมากที่เป็นเนื้องอกจะเป็นชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) การเจริญเติบโตของมะเร็งกล้ามเนื้อเรียบมดลูก(leiomyosarcoma)ที่กล้ามเนื้อมดลูกที่สามารถพัฒนาออกไป ในกรณีนี้หาได้ยากมากในเนื้องอกมดลูกอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรืออาการเริ่มต้นของพันธุกรรมของไลโอไม่โอมาโตสีสภายในหลอดเลือดดำและอาการเซลล์มะเร็งที่ไต (hereditary leiomyomatosis and renal cell cancer)

การรักษา

เนื้องอกส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษาเว้นแต่เนื้องอกเหล่านี้จะก่อให้เกิดอาการ เนื้องอกจะมีขนาดลดลงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน และเป็นเรื่องปกติที่เนื้องอกจะทำให้เกิดปัญหา

เนื้องอกในมดลูกอาการสามารถรักษาได้โดย

  • ยาเพื่อควบคุมอาการ
  • ยาที่มีเป้าหมายในการลดขนาดของเนื้องอก
  • การอัลตร้าซาวด์เพื่อทำลายเนื้องอก
  • การผ่าตัดลอกเนื้องอกมดลูก หรือ การผ่าตัดด้วยคลื่นวิทยุ
  • การตัดมดลูก
  • การอุดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกและเนื้องอกของมดลูก(uterine artery embolization)

ผู้หญิงที่ประเมินว่าควรได้รับการรักษาจะดูที่ศูนย์กลางของเนื้องอกมดลูกซึ่งมีหลายทางเลือกและการรักษาส่วนใหญ่จะดูว่าจะรักษามดลูกอย่างน้อยที่สุดรักษาในส่วนที่แพร่กระจาย

การใช้ยา

จำนวนของยาที่ใช้ในการควบคุมอาการที่เกิดจากเนื้องอก ยาลดการอักเสบ (NSAIDs) สามารถใช้ในการลดความเจ็บปวดประจำเดือน ยาเม็ดคุมกำเนิดมีฤทธิ์ที่จะลดเลือดออกในมดลูกและอาการปวด. โรคโลหิตจางอาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยการเสริมธาตุเหล็ก

อุปกรณ์หรือยาที่ใช้คุมกำเนิด (Levonorgestrel intrauterine devices) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมการไหลเวียนของเลือดประจำเดือนและการปรับสมดุลอาการอื่น ๆ. ผลข้างเคียงจะอยู่ในระดับปานกลาง ยาเม็ดคุมกำเนิด (levonorgestrel , progestin) จะถูกให้ในปริมาณไม่มาก. ขณะนี้มีหลักฐานมากมายที่ยาเม็ดคุมกำเนิด(Levongestrel-IUDs)ช่วยบรรเทาอาการที่ดีสำหรับผู้หญิงที่มีเนื้องอก. ในขณะที่การศึกษายาคุมกำเนิดส่วนใหญ่ (Levongestrel-IUD) จากการศึกษาอย่างหนักว่ามีการให้การรักษากับผู้หญิงที่ยังไม่มีเนื้องอกนั้นผลการรายงานว่าได้ผลดี โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเนื้องอกนั้นทำให้ขนาดลดลง.

ไดนาซอล (Danazol เป็นยาคุมฉุกเฉิน) ใช้รักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมอาการและลดขนาดเนื้องอก การใช้งานจะถูกจำกัดเนื่องจากผลข้างเคียงของยา กลไกของมันมีผลทำให้เกิดแอนตี้ฮอร์โมนแอสโตรเจน(ซึ่งจะไปลดฮอร์โมนเพศหญิง เช่น มีอาการบวมน้ำ ขนดก เสียงแตกพร่า เป็นต้น) จากประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ยาแบบรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น

Dostinex อยู่ในระดับปานกลางและมีความต้านทานได้ดีที่จะแสดงให้เห็นมี 2 กรณีศึกษาที่สามารถช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่กลไกของการทำงานยังไม่มีความชัดเจน.

Gonadotropin-releasing hormone analogs ช่วยในการหดตัวของเนื้องอกชั่วคราวโดยการลดระดับของฮอร์โมน เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้ยาและผลข้างเคียงของมันจึงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ นอกจากจะใช้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเนื้องอกและก่อนผ่าตัดมดลูก โดยปกติแล้วจะใช้ยาไม่เกิน 6 เดือนหรือน้อยกว่านั้นเพราะหลังจากที่ได้ใช้ยานี้ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในวัยหมดประจำเดือน ในหลายๆ กรณีเนื้องอกจะเติบโตขึ้นมาใหม่หลังจากหยุดรักษา อย่างไรก็ตามแต่ก็มีประโยชน์หลายๆ อย่างอีกมากจากการรักษาสำหรับในบางกรณีในหลายรูปแบบที่เป็นไปได้ เช่น กล้ามเนื้อเดียวกันกับกลุ่มฮอร์โมน GnRH ด้วยสุตรการเพิ่มด้วยความตั้งใจที่จะลดผลกระทบของการขาดฮอร์โมน การเพิ่มหลายตัวเป็นไปได้ เช่น ยาทิมโบโลน (tibolone ยาที่ใช้รักษาสตรีหมดประเดือน), ยา raloxifene เป็นยาที่ใช้ป้องกันและรักษาภาวะกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน,ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนอย่างเดียว (progestogens) , ฮอร์โมนฮอร์โมนเอสโตรเจน และนำฮอร์โมนสองตัวมารวมกันทั้งฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจน

Ulipristal acetate คือการสังเคราะห์การปรับตัวรับของฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (selective progesterone receptor modulator) ซึ่งได้รับการทดสอบในการทดลองแบบสุ่มในการทดลองเล็ก ๆ ซึ่งผลออกมาว่ามีผลดีสำหรับการรักษาเนื้องอก เหมือนการปรับตัวรับของฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและการต่อต้านเนื้องอกที่ได้รับการรายงานเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เยื่อบุมดลูกทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อ และในการศึกษาในระยะยาวยังไม่ถูกกำหนดความปลอดภัยขึ้น

อร์โมนโปรเจสเทอโรน ยังมีการต่อต้าน เช่น ยาไมฟีพริสโทน (Mifepristone) ได้รับการทดสอบ มีหลักฐานว่ามันบรรเทาอาการบางอย่างได้และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อผลข้างเคียงที่ได้รับทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตในการทดลองหลายๆ อย่าง จึงไม่สามารถแนะนำให้ใช้ได้ ในขณะที่ยังมีการตั้งค่าการวิจัยกันอยู่ ตัวรับของฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Selective progesterone receptor modulators) เช่น Progenta ซึ่งกำลังถูกได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริง

selective progesterone receptor modulator Asoprisnil ในปัจจุบันได้รับการทดสอบว่ามีแนวโน้มเป็นไปได้มากที่สุดที่สามารถใช้ในการรักษาเนื้องอก - โดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ในการต้านฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนโดยไม่มีผลข้างเคียงกับผู้ทำการรักษา

ความปลอดภัยในระยะยาวที่ใช้การการต้านฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนที่ใช้การปรับที่ใช้การปรับตัวรับของฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนยังไม่มีการจัดตั้งขึ้น

Aromatase inhibitors (การทำงานของ Aromatase inhibitor คือ การยับยั้งการทำางานของเอนไซม์อโรมาเตสที่มีหน้าที่เปลี่ยนแอนโดรเจนเป็นเอสโตรเจน) ได้ถูกทดลองนำมาใช้ในการลดขนาดเนื้องอก ผลที่ได้มีความเชื่อกันว่าเป็นเพราะบางส่วนจากการลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและบางส่วนโดยการยับยั้งเฉพาะส่วนฮอร์โมนเพศชาย (Aromatase) ในเนื้องอก. จากประสบการณ์ในการรักษาโดยการยับยั้งฮอร์โมนเพศชายของโรคเหยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เห็นได้ว่าสารยับยั้งฮอร์โมนเพศชายมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงานร่วมกันในการยับยั้งการตกไข่ของฮอร์โมนโปรเจสโตเจน

รังสีวิทยาหลอดเลือดมดลูก

Uterine artery embolization (UAE เป็นการรักษาโดยวิธีทางรังสีร่วมรักษาผ่านทางหลอดเลือดแดงเข้าไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงเนื้องอกมดลูกโดยตรงทำให้เนื้องอกมดลูกมีขนาดเล็กลงและทำให้เนื้องอกดังกล่าวหายไปได้): คือจะปิดกั้นกระบวนการของหลอดเลือดเพื่อประสิทธิภายในการรักษาอาการของเนื้องอก โดยใช้เทคนิครังสีวิทยา (interventional radiology), โดยวิธีการทางรังสียับยั้งลดทั้งหลอดเลือดแดงอุดตันหรือทำลายมดลูก, เพื่อลดเส้นทางของเลือดที่ไปเลี้ยงยังเนื้องอก. การรักษาวิธีนี้จะไม่แนะนำเมื่อต้องการที่รักษาปกป้องการเจริญพันธุ์เมื่อจะมีความเป็นไปได้ว่ามีการตั้งครรภ์.สายสวนขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1 มิลลิเมตร) ใส่เข้าไปในเส้นเลือดแดงที่ระดับขาหนีบภายใต้ยาชาเฉพาะที่ ภายใต้การแนะนำใต้ภาพ รังสีแพทย์จะเข้าสู่วิธีการที่จะคัดเลือกทั้งหลอดเลือดแดงของมดลูกและฉีดอนุภาคขนาดเล็ก (500 ไมครอน) เป็นอนุภาคที่จะปิดกั้นการส่งเลือดไปยังเนื้องอก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวในขั้นตอนไม่กี่วัน ขั้นตอนของการทำ UAE นั้นจะส่งผลให้ปริมาณของโลหิตมีจำกัดที่ส่งไปยังเนื้องอกซึ่งจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกในอนาคตต่อไป,มีเลือดออกมากและเป็นไปได้ที่เนื้องอกมีขนาดเล็กลง

การศึกษาการศึกษาย้อนหลังแสดงให้เห็นว่ายูเออีมีผลกระทบที่ร้ายแรงน้อยมากกว่าการผ่าตัดมดลูก อัตราส่วนออด 0.25 (odds ratio 0.25) และอัตราที่เหมือนเป็นค่าความพึงพอใจ ในการศึกษานี้ มีผู้หญิง 86% ที่ได้รับการรักษาโดยวิธีการ UAE จะแนะนำการรักษาให้เพื่อน เมื่อนำไปเทียบกับ 70% ของผู้ที่รับการรักษาโดยการผ่าตัดมดลูก

ในปี 1994, ดร.บรูซ แมคลูคัส (Dr. Bruce McLucas) เป็นผู้ทำการรักษาด้วยวิธีการ UAE สำเร็จเป็นคนแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการใช้วิธี UAE นี้ประสบความสำเร็จในผู้ป่วยนับพันคนทั่วโลก เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนของสูตินรีแพทย์ของโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการ UAE. ดร.แมคลูคัสยังฝึกอบรมแพทย์ทั่วโลกที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินการ UAE

การผูกหลอดเลือดในมดลูก

การผูกหลอดเลือดในมดลูก (Uterine artery ligation) , บางครั้งก็ผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อปิดกั้นหลอดเลือดแดงที่มดลูกเป็นวิธีการที่ลดการส่งเลือดไปเลี้ยงมดลูกโดยการผ่าตัดขนาดเล็กที่สามารถดำเนินการผ่านทางช่องคลอดหรือผ่าตัดผ่านทางกล้อง วิธีการและกลไกการรักษาจะคล้ายกับวิธีการ UAE แต่วิธีการดำเนินการจะง่ายและผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกันแล้ว UAE เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าวิธีการนี้.

การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) คือหนึ่งในวิธีการในการรักษาเนื้องอกที่มีผลกระทบน้อย เทคนิคของวิธีการนี้ก็คือ ใช้เส้นใยที่มีขนาดเล็กที่มีอุปกรณ์คล้ายเข็มเข้าไปในเนื้องอกผ่านทางช่องท้องและใช้ความร้อนของคลื่นความถี่วิทยุ(Radio-Frequency:RF) ปล่อยพลังงานไฟฟ้าเป็นผลให้เซลล์นั้นตาย การรักษาวิธีนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้หญิงที่มีเนื้องอกสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตรและไม่ต้องการที่จะผ่าตัดมดลูก

การผ่าตัดลอกเนื้องอกมดลูก

 
การรักษาเนื้องอกโดยวิธีผ่าตัดผ่านทางกล้อง(laparoscopic surgery)
 
หลังจากการรักษาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกโดยวิธีผ่าตัดผ่านกล้อง(laparoscopic surgery)

การผ่าตัดลอกเนื้องอกมดลูก (myomectomy) คือ การผ่าตัดเอาเนื้องอกมดลูก 1 ก้อนหรือมากกว่านั้น เป็นได้รับการแนะนำเพิ่มเติมเมื่อใช้วิธีการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผลสำหรับผู้หญิงที่ต้องการที่ได้รับการผ่าตัดแบบสมบูรณ์และต้องการที่จะรักษามดลูกเอาไว้

วิธีการที่จะผ่าตัดลอกเนื้องอกมดลูกมีอยู่ 3 วิธี:

  • การผ่าตัดส่องกล้อง (hysteroscopic myomectomy มักจะเรียกว่า transcervical resection) ซึ่งจะตัดเอาเนื้องอกออกด้วยใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งยาวเรียกว่า Resectoscope เข้าไป ตัวนี้ตรงปลายจะมีกล้อง ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่แทรกผ่านช่องคลอดและปากมดลูกสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าความถี่สูงในการผ่าตัดเนื้อเยื่อเนื้องอก
  • การผ่าตัดผ่านทางกล้อง (laparoscopic myomectomy) คือ เมื่อทำเสร็จแล้วจะเกิดแผลขนาดเล็กบริเวณใกล้กับสะดือ แพทย์จะใช้กล้องที่เรียกว่า Laparoscope และเครื่องมือที่จะใช้ผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก จากการศึกษาแนะนำให้ผ่าตัดผ่านทางกล้องนั้นมีส่วนทำให้อัตราการเจ็บน้อย(morbidity) และฟื้นตัวได้รวดเร็วด้วยวิธีการนี้
  • การผ่าตัดเปิดทางช่องท้อง (laparotomic myomectomy : เป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือช่องท้อง) เป็นขั้นตอนการผ่าตัดที่ช่วยเอาเนื้องอกออกจากมดลูกได้มากที่สุด แพทย์ที่ทำการผ่าตัดจะเปิดให้เกิดแผลในผนังช่องท้องและเอาเนื้องอกออกจากมดลูก

การตัดมดลูก

การตัดมดลูก (Hysterectomy) เป็นวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ในการรักษาเนื้องอก. ถึงแม้ว่าเวลาที่แนะนำวิธีการตัดมดลูกนั้นจะเป็นทางเลือกสุดท้ายก็ตาม เนื้องอกก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญในการตัดมดลูกของหญิงชาวสหรัฐเมริกา

การทำลายเยื่อบุโพรงมดลูก

การทำลายเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial ablation) จะใช้ในกรณีที่มีเนื้องอกที่อยู่ภายในโพรงมดลูกและไม่ใช่เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูกและมีขนาดค่อนข้างเล็ก อัตราในการทำมีความล้มเหลวสูงและปรากฏว่ามีอัตราการเกิดเนื้องอกซ้ำสำหรับเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่หรือเนื้องอกที่อยู่ในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก

การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแนะนำที่เน้นการอัลตราซาวด์

การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแนะนำที่เน้นอัลตราซาวด์ (MRgFUS:Magnetic Resonance guided Focused Ultrasound) คือ ส่วนที่งอกมาไม่แพร่กระจาย(จะต้องไม่มีแผล) โดยจะเน้นการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ที่มีเข้มข้นสูงทำลายเนื้อเยื่อทำงานร่วมกับเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งแนะนำและให้ติดตามการตรวจรักษา ในระหว่างขั้นตอนส่งพลังจากการอัลตราซาวด์เป็นเรื่องที่แนะนำและควบคุมโดยใช้ความร้อนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า. ผู้ป่วยที่มีอาการเนื้องอกผู้ที่มีความประสงค์ที่เลือกการรักษาที่แบบไม่แพร่กระจายและผู้ที่ไม่ข้อบ่งชี้ห้ามในการใช้เครื่อง MRI สมัครใจที่จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแนะนำที่เน้นอัลตราซาวด์ ผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติในการรักษาวิธีมีประมาณ 60% ผู้ป่วยนอกจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1-3 ชั่วโมงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกวิธีการนี้มีความปลอดภัยและได้ผลที่มีประสิทธิภาพประมาณ 75% การดูแลอาการจะคงอยู่สองปีขึ้นไป จำเป็นในการรักษาที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป 16-20% และเป็นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้องอกที่สามารถเอาออกได้อย่างปลอดภัย ปริมาณที่เอาออกมากขึ้น ปริมาณที่กลับมารักษาอีกครั้งลดลง. เมื่อเทียบกับตัวเลือกในการรักษาที่มีอยู่, ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายสำหรับ MRgFUS ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษซึ่งพบว่าเป็นเหตุผลหนึ่งและใกล้เคียงกับการรักษาทางเลือก (การตัดมดลูก,ยาที่ใช้บำบัด, รังสีวิทยาหลอดเลือดมดลูก). ขณะนี้ยังไม่มีการทดลองแบบสุ่มระหว่าง MRgFUS และ UAE ทดลองหลายศูนย์กำลังดำเนินการในการตรวจสอบประสิทธิภาพของ MRgFUS กับ UAE

ระบาดวิทยา

มีคน 235 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการมีเนื้องอกมดลูกจากสถิติในปี 2010 (คิดเป็น 6.6% ของผู้หญิง). ประมาณ 20–40% ของผู้หญิงได้รับวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกมดลูกบางจุดแต่มีจำนวนเล็กน้อยที่จะมีปัญหาและต้องการการรักษา

เนื้องอกมดลูกพบมากในผู้หญิงที่มีโรคอ้วน เนื้องอกจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เติบโตและดังนั้นจึงมีความเกี่ยวพันธ์กันระหว่างช่วงปีที่มีการเจริญพันธุ์ และเนื้องอกเหล่านี้คาดว่าจะมีขนาดลดลงในวัยหลังหมดประจำเดือน

กลุ่มคนที่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์

ร่วมกับการสังเคราะห์กลุ่มไขมัน (fatty acid synthase) ที่ได้รับการรายงาน.

คนในครอบครัวผู้ที่มีเนื้องอก

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โปรดดู Hereditary leiomyomatosis and renal cell cancer

อาการที่จะทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกพร้อมกับเนื้องอกผิวหนัง (Reed’s syndrome) และมะเร็งที่ไต(renal cell cancer) ที่ได้รับการรายงาน. จะมีความเกี่ยวข้องในการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่ก่อให้เกิดเอนไซด์ฟูมาเรทไฮดร้าเทส(enzyme fumarate hydratase) ตั้งอยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 1(chromosome 1:1q42.3-43) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดพันธุ์กรรมเด่น

สหรัฐอเมริกา

80% ของผู้หญิงชาวแอฟริกันอเมริกันที่มีเนื้องอกแบบไม่เป็นอันตรายในปลายวัย 40 ของเธอ ตามที่สถาบันแห่งชาติของวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม. หญิงชาวแอฟริกันอเมริกามีโอกาส 2 ใน 3 ที่มีแนวโน้มที่เป็นเนื้องอกมากกว่าผู้หญิงผิวขาว. ในผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันเนื้องอกดูเหมือนจะเกิดขึ้นกับวัยของผู้ที่มีอายุน้อย, เติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการ. ซึ่งจะนำไปสู่การผ่าตัดมากขึ้นสำหรับผู้ป่วยชาวแอฟริกันอเมริกา,สำหรับการผ่าตัดลอกเนื้องอกมดลูกและการผ่าตัดมดลูก. เพิ่มความเสี่ยงเนื้องอกในแอฟริกัน-อเมริกันที่จะนำไปสู่ประสบการณ์การรักษาที่เลวร้ายและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกก่อนวัยอันควรและการผ่าตัดคลอดของพวกเธอ.

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่าทำไมเนื้องอกจึงเกิดกับผู้หญิงที่แอฟริกัน-อเมริกันกันมาก. บางการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงผิวดำผู้ซึ่งเป็นโรคอ้วนและมีความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเกิดเนื้องอก หญิงผิวดำมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนมน้อยกว่าหญิงผิวขาวและมีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส, ในขณะที่ข้อมูลบางอย่างที่มีข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เกที่ยวกับนมเพิ่มขึ้นในผู้หญิงแอฟริกัน-อเมริกันมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของเนื้องอก มีความสัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์ของน้ำยายืดผม และค้นพบว่ามีความเสี่ยงของการพัฒนาของเนื้องอก, มีจำนวนความถี่ในการใช้น้ำยายืดผมของผู้หญิงชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่จะอธิบายในเรื่องความเสี่ยงที่เป็นเนื้องอก

การพยากรณ์โรค

ประมาณ 1:1000 ของผู้ที่มีเนื้องอกที่กลายเป็นเนื้องอกร้ายแรงเป็นมะเร็งชนิดกล้ามเนื้อเรียบ(leiomyosarcoma) ในทางวิทยาทางเนื้อเยื่อ.จากสัญญาณว่าแผลหรือเนื้องอกนั้นจะเป็นมะเร็งและเติบโตขึ้นหลังจากวัยหมดระดู(menopause) มีข้อสรุปเป็นมติของพยาธิวิทยาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอกมดลูก (leiomyoma) ในก้อนเนื้อมะเร็ง (sarcoma) ในทางพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่ามะเร็งชนิดกล้มเนื้อเรียบคือโรคใหม่(de novo disease)[ต้องการอ้างอิง].

การแพร่กระจาย

มีเงื่อนไขมากมายที่มีส่วนในการแพร่กระจายของเนื้องอก เนื้องอกยังคงเติบโตแต่ก็เป็นอันตรายได้ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก

สังคมและวัฒนธรรม

กฎหมายของสหรัฐอเมริกา

[2005 S.1289 bill] เรียกว่าคณะกรรมการสุขภาพ ชนชั้นแรงงานและบำเหน็จบำนาญแต่ไม่เคยผ่านร่างวุฒิสภาและลงคะแนนเสียง ได้เสนอเกี่ยวกับงานวิจัยเนื้องอกมดลูกและจาการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาของปี 2005 กล่าวว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คือการใช้จ่ายประจำทุกปีในการผ่าตัดมดลูกในแต่ละปี คิดเป็น 22% ของผู้หญิงแอฟริกัน-อเมริกันและ 7% ของผู้หญิงผิวขาว มีการเก็บเงินระดมทุนมากขึ้นเพื่อการวิจัยและการศึกษา นอกจากนี้ยังระบุว่ามีเงินจำนวน 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับ NIH, 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ถูกจัดสรรสำหรับเนื้องอกมดลูกในปี 2004

ในสัตว์อื่นๆ

เนื้องอกมดลูกพบได้ยากสำหรับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ แม้กระนั้นก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตในสุนัขและแมวน้ำสีเทาบอลติก (Baltic gray seals)

อ้างอิง

  1. "Uterine fibroids fact sheet". Office on Women's Health. January 15, 2015. จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2015. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
  2. Ferri, Fred F. (2010). Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. p. Chapter U. ISBN 978-0323076999.
  3. "Uterine Fibroids | Fibroids | MedlinePlus" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-07.
  4. Kashani, BN; Centini, G; Morelli, SS; Weiss, G; Petraglia, F (July 2016). "Role of Medical Management for Uterine Leiomyomas". Best Practice & Research. Clinical Obstetrics & Gynaecology. 34: 85–103. doi:10.1016/j.bpobgyn.2015.11.016. PMID 26796059.
  5. Global Burden of Disease Study 2013, Collaborators (5 June 2015). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 301 acute and chronic diseases and injuries in 188 countries, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 386 (9995): 743–800. doi:10.1016/S0140-6736(15)60692-4. PMC 4561509. PMID 26063472.
  6. Wallach EE, Vlahos NF (August 2004). "Uterine myomas: an overview of development, clinical features, and management". Obstet Gynecol. 104 (2): 393–406. doi:10.1097/01.AOG.0000136079.62513.39. PMID 15292018.
  7. "Benign Uterine Fibroid Tumors (What to Know)". Women's Health. about.com.
  8. American Society of Reproductive Medicine Patient Booklet: Uterine Fibroids, 2003
  9. Segars, J. H.; Parrott, E. C.; Nagel, J. D.; Guo, X. C.; Gao, X.; Birnbaum, L. S.; Pinn, V. W.; Dixon, D. (2014). "Proceedings from the Third National Institutes of Health International Congress on Advances in Uterine Leiomyoma Research: comprehensive review, conference summary and future recommendations". Human Reproduction Update. 20 (3): 309–333. doi:10.1093/humupd/dmt058. ISSN 1355-4786.
  10. Segars JH, Parrott EC, Nagel JD, Guo XC, Gao X, Birnbaum LS, Pinn VW, Dixon D (2014). "Proceedings from the Third National Institutes of Health International Congress on Advances in Uterine Leiomyoma Research: comprehensive review, conference summary and future recommendations". Hum. Reprod. Update. 20 (3): 309–33. doi:10.1093/humupd/dmt058. PMID 24401287.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  11. Garg K, Tickoo SK, Soslow RA, Reuter VE (2011). "Morphologic Features of Uterine Leiomyomas Associated with Hereditary Leiomyomatosis and Renal Cell Carcinoma Syndrome". The American Journal of Surgical Pathology. 35 (8): 1235–1237. doi:10.1097/PAS.0b013e318223ca01. PMID 21753700.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wallach
  13. Cucinella G, Granese R, Calagna G, Somigliana E, Perino A (2011). "Parasitic myomas after laparoscopic surgery: An emerging complication in the use of morcellator? Description of four cases". Fertility and Sterility. 96 (2): e90–e96. doi:10.1016/j.fertnstert.2011.05.095. PMID 21719004.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  14. Nezhat C, Kho K (2010). "Iatrogenic Myomas: New Class of Myomas?". Journal of Minimally Invasive Gynecology. 17 (5): 544–550. doi:10.1016/j.jmig.2010.04.004. PMID 20580324.
  15. Kumar_2008Kumar S, Sharma JB, Verma D, Gupta P, Roy KK, Malhotra N (2008). "Disseminated peritoneal leiomyomatosis: An unusual complication of laparoscopic myomectomy". Archives of Gynecology and Obstetrics. 278 (1): 93–95. doi:10.1007/s00404-007-0536-9. PMID 18193441.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  16. Galvin SD, Wademan B, Chu J, Bunton RW (2010). "Benign Metastasizing Leiomyoma: A Rare Metastatic Lesion in the Right Ventricle". The Annals of Thoracic Surgery. 89 (1): 279–281. doi:10.1016/j.athoracsur.2009.06.050. PMID 20103256.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  17. Mikami I, Yamamoto M, Nishimura H, Koizumi K, Gomibuchi M, Tanaka S (1998). "Multiple lungs tumors found 17 years after hysterectomy--a case of benign metastasizing leiomyoma". The Japanese journal of thoracic and cardiovascular surgery : official publication of the Japanese Association for Thoracic Surgery = Nihon Kyobu Geka Gakkai zasshi. 46 (7): 634–638. doi:10.1007/BF03217793. PMID 9750447.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  18. Fletcher's Diagnostic Histopathology of Tumors (3rd ed.). pp. 692–4.
  19. Mäkinen N, Mehine M, Tolvanen J, Kaasinen E, Li Y, Lehtonen HJ, Gentile M, Yan J, Enge M, Taipale M, Aavikko M, Katainen R, Virolainen E, Böhling T, Koski TA, Launonen V, Sjöberg J, Taipale J, Vahteristo P, Aaltonen LA (2011). "MED12, the Mediator Complex Subunit 12 Gene, is Mutated at High Frequency in Uterine Leiomyomas". Science. 334 (6053): 252–255. doi:10.1126/science.1208930. PMID 21868628.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  20. Okolo S (2008). "Incidence, aetiology and epidemiology of uterine fibroids". Best practice & research. Clinical obstetrics & gynaecology. 22 (4): 571–588. doi:10.1016/j.bpobgyn.2008.04.002. PMID 18534913.
  21. Neiger R, Sonek JD, Croom CS, Ventolini G (2006). "Pregnancy-related changes in the size of uterine leiomyomas". The Journal of reproductive medicine. 51 (9): 671–674. PMID 17039693.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  22. Cesen-Cummings K, Houston KD, Copland JA, Moorman VJ, Walker CL, Davis BJ (2003). "Uterine leiomyomas express myometrial contractile-associated proteins involved in pregnancy-related hormone signaling". Journal of the Society for Gynecologic Investigation. 10 (1): 11–20. doi:10.1016/S1071-5576(02)00191-0. PMID 12517588.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  23. Rein MS (2000). "Advances in uterine leiomyoma research: the progesterone hypothesis". Environmental health perspectives. 108 Suppl 5: 791–3. PMID 11035984.
  24. Maruo T, Ohara N, Wang J, Matsuo H (2004). "Sex steroidal regulation of uterine leiomyoma growth and apoptosis". Human reproduction update. 10 (3): 207–220. doi:10.1093/humupd/dmh019. PMID 15140868.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  25. Wei T, Geiser AG, Qian HR, Su C, Helvering LM, Kulkarini NH, Shou J, N'Cho M, Bryant HU, Onyia JE (2007). "DNA microarray data integration by ortholog gene analysis reveals potential molecular mechanisms of estrogen-dependent growth of human uterine fibroids". BMC Women's Health. 7: 5. doi:10.1186/1472-6874-7-5. PMC 1852551. PMID 17407572.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  26. Yen-Ping Ho J, Man WC, Wen Y, Polan ML, Shih-Chu Ho E, Chen B (June 2009). "Transforming growth interacting factor expression in leiomyoma compared with myometrium". Fertil. Steril. 94 (3): 1078–83. doi:10.1016/j.fertnstert.2009.05.001. PMC 2888713. PMID 19524896.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  27. Strissel PL, Swiatek J, Oppelt P, Renner SP, Beckmann MW, Strick R (2007). "Transcriptional analysis of steroid hormone receptors in smooth muscle uterine leiomyoma tumors of postmenopausal patients". The Journal of Steroid Biochemistry and Molecular Biology. 107 (1–2): 42–47. doi:10.1016/j.jsbmb.2007.02.005. PMID 17646097.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  28. Massart F, Becherini L, Marini F, Noci I, Piciocchi L, Del Monte F, Masi L, Falchetti A, Tanini A, Scarselli G, Brandi L (2003). "Analysis of estrogen receptor (ERalpha and ERbeta) and progesterone receptor (PR) polymorphisms in uterine leiomyomas". Medical science monitor : international medical journal of experimental and clinical research. 9 (1): BR25–BR30. PMID 12552233.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  29. Fischer C, Juhasz-Boess I, Lattrich C, Ortmann O, Treeck O (2010). "Estrogen receptor β gene polymorphisms and susceptibility to uterine fibroids". Gynecological Endocrinology. 26 (1): 4. doi:10.3109/09513590903159573. PMID 19639498.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  30. Al-Hendy A, Salama SA (2006). "Ethnic distribution of estrogen receptor-α polymorphism is associated with a higher prevalence of uterine leiomyomas in black Americans". Fertility and Sterility. 86 (3): 686. doi:10.1016/j.fertnstert.2006.01.052. PMID 16860797.
  31. Nam DH, Ramachandran S, Song DK, Kwon KY, Jeon DS, Shin SJ, Kwon SH, Cha SD, Bae I, Cho CH (2007). "Growth inhibition and apoptosis induced in human leiomyoma cells by treatment with the PPAR gamma ligand ciglitizone". Molecular Human Reproduction. 13 (11): 829–836. doi:10.1093/molehr/gam071. PMID 17893092.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  32. Zhang CH, Wen ZQ, Li JF, Li CZ, Shi M, Yang GW, Lan SM, Zhu Y, Wang F, Zhang YJ, Wang YY, Zhang H (2008). "Inhibition of proliferation and transforming growth factor beta3 protein expression by peroxisome proliferators-activated receptor gamma ligands in human uterine leiomyoma cells". Chinese medical journal. 121 (2): 166–171. PMID 18272045.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  33. Boynton-Jarrett R, Rich-Edwards J, Malspeis S, Missmer SA, Wright R (2005). "A Prospective Study of Hypertension and Risk of Uterine Leiomyomata". American Journal of Epidemiology. 161 (7): 628. doi:10.1093/aje/kwi072. PMID 15781952.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  34. Isobe A, Takeda T, Sakata M, Miyake A, Yamamoto T, Minekawa R, Nishimoto F, Oskamoto Y, Walker CL, Kimura T (2007). "Dual repressive effect of angiotensin II-type 1 receptor blocker telmisartan on angiotensin II-induced and estradiol-induced uterine leiomyoma cell proliferation". Human Reproduction. 23 (2): 440–446. doi:10.1093/humrep/dem247. PMID 17993476.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  35. Shozu M, Murakami K, Inoue M (2004). "Aromatase and Leiomyoma of the Uterus". Seminars in Reproductive Medicine. 22 (1): 51. doi:10.1055/s-2004-823027. PMID 15083381.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  36. Bulun SE, Yang S, Fang Z, Gurates B, Tamura M, Zhou J, Sebastian S (2001). "Role of aromatase in endometrial disease". The Journal of Steroid Biochemistry and Molecular Biology. 79 (1–5): 19–25. doi:10.1016/S0960-0760(01)00134-0. PMID 11850203.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  37. Ishikawa H, Reierstad S, Demura M, Rademaker AW, Kasai T, Inoue M, Usui H, Shozu M, Bulun SE (2009). "High Aromatase Expression in Uterine Leiomyoma Tissues of African-American Women". Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 94 (5): 1752–1756. doi:10.1210/jc.2008-2327. PMC 2684481. PMID 19240151.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  38. Hodge JC, Morton CC (2007). "Genetic heterogeneity among uterine leiomyomata: insights into malignant progression". Human Molecular Genetics. 16 Spec No 1: R7–13. doi:10.1093/hmg/ddm043. PMID 17613550.
  39. Payson M, Malik M, Siti-Nur Morris S, Segars JH, Chason R, Catherino WH (2009). "Activating transcription factor 3 gene expression suggests that tissue stress plays a role in leiomyoma development". Fertil Steril. 92 (2): 748–55. doi:10.1016/j.fertnstert.2008.06.030. PMID 18692824.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  40. Nierth-Simpson EN, Martin MM, Chiang TC, Melnik LI, Rhodes LV, Muir SE, Burow ME, McLachlan JA (2009). "Human uterine smooth muscle and leiomyoma cells differ in their rapid 17beta-estradiol signaling: implications for proliferation". Endocrinology. 150 (5): 2436–2445. doi:10.1210/en.2008-0224. PMC 2671893. PMID 19179429.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  41. Weston G, Trajstman AC, Gargett CE, Manuelpillai U, Vollenhoven BJ, Rogers PA (2003). "Fibroids display an anti-angiogenic gene expression profile when compared with adjacent myometrium". Molecular human reproduction. 9 (9): 541–549. doi:10.1093/molehr/gag066. PMID 12900513.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  42. Goto A, Takeuchi S, Sugimura K, Maruo T (2002). "Usefulness of Gd-DTPA contrast-enhanced dynamic MRI and serum determination of LDH and its isozymes in the differential diagnosis of leiomyosarcoma from degenerated leiomyoma of the uterus". Int. J. Gynecol. Cancer. 12 (4): 354–61. doi:10.1046/j.1525-1438.2002.01086.x. PMID 12144683.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  43. "Fibroids". NHS Choices. U.K. National Health Service.
  44. Tan N, McClure TD, Tarnay C, Johnson MT, Lu DS, Raman SS (2014). "Women seeking second opinion for symptomatic uterine leiomyoma: Role of comprehensive fibroid center". Journal of Therapeutic Ultrasound. 2: 3. doi:10.1186/2050-5736-2-3.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  45. Zapata LB, Whiteman MK, Tepper NK, Jamieson DJ, Marchbanks PA, Curtis KM (2010). "Intrauterine device use among women with uterine fibroids: a systematic review☆". Contraception. 82 (1): 41–55. doi:10.1016/j.contraception.2010.02.011. PMID 20682142.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  46. Jindabanjerd K, Taneepanichskul S (2006). "The use of levonorgestrel - IUD in the treatment of uterine myoma in Thai women". Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet. 89 Suppl 4: S147–51. PMID 17726816.
  47. Sankaran S, Manyonda IT (2008). "Medical management of fibroids" (PDF). Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 22 (4): 655–76. doi:10.1016/j.bpobgyn.2008.03.001. PMID 18468953.
  48. Kailasam C, Cahill D (2008). "Review of the safety, efficacy and patient acceptability of the levonorgestrel-releasing intrauterine system". Patient preference and adherence. 2: 293–302. PMC 2770406. PMID 19920976.
  49. Sayyah-Melli M, Tehrani-Gadim S, Dastranj-Tabrizi A, Gatrehsamani F, Morteza G, Ouladesahebmadarek E, Farzadi L, Kazemi-Shishvan M (2009). "Comparison of the effect of gonadotropin-releasing hormone agonist and dopamine receptor agonist on uterine myoma growth. Histologic, sonographic, and intra-operative changes". Saudi medical journal. 30 (8): 1024–33. PMID 19668882.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  50. Nieman LK, Blocker W, Nansel T, Mahoney S, Reynolds J, Blithe D, Wesley R, Armstrong A (2011). "Efficacy and tolerability of CDB-2914 treatment for symptomatic uterine fibroids: A randomized, double-blind, placebo-controlled, phase IIb study". Fertility and Sterility. 95 (2): 767–772.e1–772. doi:10.1016/j.fertnstert.2010.09.059. PMID 21055739.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  51. Levens ED, Potlog-Nahari C, Armstrong AY, Wesley R, Premkumar A, Blithe DL, Blocker W, Nieman LK (2008). "CDB-2914 for Uterine Leiomyomata Treatment". Obstetrics & Gynecology. 111 (5): 1129–1136. doi:10.1097/AOG.0b013e3181705d0e. PMC 2742990. PMID 18448745.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  52. Donnez J, Tatarchuk TF, Bouchard P, Puscasiu L, Zakharenko NF, Ivanova T, Ugocsai G, Mara M, Jilla MP, Bestel E, Terrill P, Osterloh I, Loumaye E (2012). "Ulipristal acetate versus placebo for fibroid treatment before surgery". N. Engl. J. Med. 366 (5): 409–20. doi:10.1056/NEJMoa1103182. PMID 22296075.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  53. Tristan M, Orozco LJ, Steed A, Ramírez-Morera A, Stone P (2012). Orozco, Leonardo J (บ.ก.). "Cochrane Database of Systematic Reviews". Cochrane database of systematic reviews (Online). 8: CD007687. doi:10.1002/14651858.CD007687.pub2. PMID 22895965. |chapter= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  54. Engman M, Granberg S, Williams AR, Meng CX, Lalitkumar PG, Gemzell-Danielsson K (August 2009). "Mifepristone for Treatment of Uterine Leiomyoma. A Prospective Randomized Placebo Controlled Trial". Human Reproduction. 24 (8): 1870–9. doi:10.1093/humrep/dep100. PMID 19389793.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  55. Malartic C, Morel O, Akerman G, Tulpin L, Desfeux P, Barranger E (2008). "La mifépristone dans la prise en charge des fibromes utérins". Gynécologie Obstétrique & Fertilité. 36 (6): 668–74. doi:10.1016/j.gyobfe.2008.01.017. PMID 18539512.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  56. Wilkens J, Williams AR, Chwalisz K, Han C, Cameron IT, Critchley HO (2009). "Effect of asoprisnil on uterine proliferation markers and endometrial expression of the tumour suppressor gene, PTEN". Human reproduction (Oxford, England). 24 (5): 1036–44. doi:10.1093/humrep/den494. PMID 19176543.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  57. "The Embolisation Process". FEmISA: Fibroid Embolisation: Information, Support, Advice.
  58. Hirst A, Dutton S, Wu O, Briggs A, Edwards C, Waldenmaier L, Maresh M, Nicholson A, McPherson K (2008). "A multi-centre retrospective cohort study comparing the efficacy, safety and cost-effectiveness of hysterectomy and uterine artery embolisation for the treatment of symptomatic uterine fibroids. The HOPEFUL study". Health technology assessment (Winchester, England). 12 (5): 1–248, iii. PMID 18331704.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  59. Liu WM, Ng HT, Wu YC, Yen YK, Yuan CC (2001). "Laparoscopic bipolar coagulation of uterine vessels: a new method for treating symptomatic fibroids". Fertility and Sterility. 75 (2): 417–22. doi:10.1016/S0015-0282(00)01724-6. PMID 11172850.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  60. Kim HS, Kim JW, Kim MK, Chung HH, Lee TS, Jeon YT, Kim YB, Jeon HW, Yun YH, Park NH, Song YS, Kang SB (2009). "A randomized prospective trial of the postoperative quality of life between laparoscopic uterine artery ligation and laparoscopy-assisted vaginal hysterectomy for the treatment of symptomatic uterine fibroids: clinical trial design". Trials. 10: 8. doi:10.1186/1745-6215-10-8. PMC 2645389. PMID 19178748.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  61. Akinola OI, Fabamwo AO, Ottun AT, Akinniyi OA (2005). "Uterine artery ligation for management of uterine fibroids". International journal of gynaecology and obstetrics: the official organ of the International Federation of Gynaecology and Obstetrics. 91 (2): 137–40. doi:10.1016/j.ijgo.2005.07.012. PMID 16168993.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  62. Hald K, Noreng HJ, Istre O, Kløw NE (2009). "Uterine Artery Embolization versus Laparoscopic Occlusion of Uterine Arteries for Leiomyomas: Long-term Results of a Randomized Comparative Trial". Journal of Vascular and Interventional Radiology. 20 (10): 1303. doi:10.1016/j.jvir.2009.07.022. PMID 19713130.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  63. Beck, Melinda (2010-01-20). "A New Treatment to Help Women Avoid Hysterectomy". The Wall Street Journal.
  64. Metwally M, Cheong YC, Horne AW (2012). Metwally, Mostafa (บ.ก.). "Cochrane Database of Systematic Reviews". Cochrane database of systematic reviews (Online). 11: CD003857. doi:10.1002/14651858.CD003857.pub3. PMID 23152222. |chapter= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  65. Agdi M, Tulandi T (August 2008). "Endoscopic management of uterine fibroids". Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 22 (4): 707–16. doi:10.1016/j.bpobgyn.2008.01.011. PMID 18325839.
  66. "FDA Approves New Device to Treat Uterine Fibroids" (Press release). FDA. 2004-10-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  67. Shen SH, Fennessy F, McDannold N, Jolesz F, Tempany C (April 2009). "Image-guided thermal therapy of uterine fibroids". Seminars in ultrasound, CT, and MR. 30 (2): 91–104. doi:10.1053/j.sult.2008.12.002. PMC 2768544. PMID 19358440.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  68. Stewart EA, Rabinovici J, Tempany CM, Inbar Y, Regan L, Gostout B, Gastout B, Hesley G, Kim HS, Hengst S, Gedroyc WM, Gedroye WM (January 2006). "Clinical outcomes of focused ultrasound surgery for the treatment of uterine fibroids". Fertil. Steril. 85 (1): 22–9. doi:10.1016/j.fertnstert.2005.04.072. PMID 16412721.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  69. Kurashvili, J.; และคณะ (2010). "MRgFUS Treatment for Uterine Myomas: Safety, Effectiveness and Pathogenesis". MR-guided Focused Ultrasound 2010, 2nd International Symposium. Explicit use of et al. in: |author= (help)
  70. O'Sullivan AK, Thompson D, Chu P, Lee DW, Stewart EA, Weinstein MC (January 2009). "Cost-effectiveness of magnetic resonance guided focused ultrasound for the treatment of uterine fibroids". Int J Technol Assess Health Care. 25 (1): 14–25. doi:10.1017/S0266462309090035. PMC 2811401. PMID 19126247.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  71. Zowall H, Cairns JA, Brewer C, Lamping DL, Gedroyc WM, Regan L (April 2008). "Cost-effectiveness of magnetic resonance-guided focused ultrasound surgery for treatment of uterine fibroids". BJOG. 115 (5): 653–62. doi:10.1111/j.1471-0528.2007.01657.x. PMC 2344162. PMID 18333948.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  72. Vos T, Flaxman AD, Naghavi M, Lozano R, Michaud C, Ezzati M, Shibuya K, Salomon JA, Abdalla S, Aboyans V; และคณะ (Dec 15, 2012). "Years lived with disability (YLDs) for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990-2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2163–96. doi:10.1016/S0140-6736(12)61729-2. PMID 23245607. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  73. แม่แบบ:MerckManual
  74. Eggert SL, Huyck KL, Somasundaram P, Kavalla R, Stewart EA, Lu AT, Painter JN, Montgomery GW, Medland SE, Nyholt DR, Treloar SA, Zondervan KT, Heath AC, Madden PA, Rose L, Buring JE, Ridker PM, Chasman DI, Martin NG, Cantor RM, Morton CC (October 2012). "Genome-wide linkage and association analyses implicate FASN in predisposition to Uterine Leiomyomata". Am. J. Hum. Genet. 91 (4): 621–8. doi:10.1016/j.ajhg.2012.08.009. PMC 3484658. PMID 23040493.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  75. Tolvanen J, Uimari O, Ryynänen M, Aaltonen LA, Vahteristo P (2012). "Strong family history of uterine leiomyomatosis warrants fumarate hydratase mutation screening". Human Reproduction. 27 (6): 1865–9. doi:10.1093/humrep/des105. PMID 22473397.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  76. Toro JR, Nickerson ML, Wei MH, Warren MB, Glenn GM, Turner ML, Stewart L, Duray P, Tourre O; และคณะ (2003). "Mutations in the fumarate hydratase gene cause hereditary leiomyomatosis and renal cell cancer in families in North America". Am J Hum Genet. 73 (1): 95–106. doi:10.1086/376435. PMC 1180594. PMID 12772087. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  77. . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-14.
  78. "Helping Black Women Recognize, Treat Fibroids". NPR. สืบค้นเมื่อ 30 March 2011.
  79. "African American Women and Fibroids". Philadelphia Black Women's Health Project. สืบค้นเมื่อ 30 March 2011.
  80. Wise LA, Palmer JR, Stewart EA, Rosenberg L (March 2005). "Age-specific incidence rates for self-reported uterine leiomyomata in the Black Women's Health Study". Obstet Gynecol. 105 (3): 563–8. doi:10.1097/01.AOG.0000154161.03418.e3. PMC 1847590. PMID 15738025.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  81. . Women's Health.gov. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-08-30. สืบค้นเมื่อ 2014-07-14.
  82. . Fibroid Treatment Collective. November 29, 2010. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-12-25. สืบค้นเมื่อ 30 March 2011.
  83. Wise LA, Radin RG, Palmer JR, Kumanyika SK, Rosenberg L (2010). "A prospective study of dairy intake and risk of uterine leiomyomata". Am. J. Epidemiol. 171 (2): 221–32. doi:10.1093/aje/kwp355. PMC 2800240. PMID 19955473. Unknown parameter |laysummary= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  84. Wise LA, Palmer JR, Reich D, Cozier YC, Rosenberg L (March 2012). "Hair relaxer use and risk of uterine leiomyomata in African-American women". Am. J. Epidemiol. 175 (5): 432–40. doi:10.1093/aje/kwr351. PMC 3282879. PMID 22234483.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  85. http://officeofbudget.od.nih.gov/pdfs/FY11/Approp.%20History%20by%20IC%20(FINAL).pdf
  86. Bäcklin BM, Eriksson L, Olovsson M (March 2003). "Histology of uterine leiomyoma and occurrence in relation to reproductive activity in the Baltic gray seal (Halichoerus grypus)". Vet. Pathol. 40 (2): 175–80. doi:10.1354/vp.40-2-175. PMID 12637757.CS1 maint: multiple names: authors list (link)

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
V · T · D
  • ICD-10: D25
  • ICD-9-CM: 218
  • OMIM: 150699
  • MeSH: D007889
  • DiseasesDB: 4806
ทรัพยากรภายนอก
  • MedlinePlus: 000914
  • eMedicine: radio/777
  • Patient UK: เนื้องอกมดลูก

เน, องอกมดล, บทความน, องการการจ, ดหน, ดหมวดหม, ใส, งก, ภายใน, หร, อเก, บกวาดเน, อหา, ให, ณภาพด, ณสามารถปร, บปร, งแก, ไขบทความน, ได, และนำป, ายออก, จารณาใช, ายข, อความอ, นเพ, อช, ดข, อบกพร, องเน, องอกไม, ายของกล, ามเน, อมดล, เป, นเน, องอกไม, ายของกล, ามเน, อเร,. bthkhwamnitxngkarkarcdhna cdhmwdhmu islingkphayin hruxekbkwadenuxha ihmikhunphaphdikhun khunsamarthprbprungaekikhbthkhwamniid aelanapayxxk phicarnaichpaykhxkhwamxunephuxchichdkhxbkphrxngenuxngxkimraykhxngklamenuxmdluk epnenuxngxkimraykhxngklamenuxeriybinmdluk 1 phupwyswnihycaimmixakar bangrayxacmixakarpwdpracaeduxnhruxpracaeduxnmamak 1 hakmikhnadihymakxackdkraephaapssawathaihmixakarpssawabxyid 1 aelaxacthaihekidxakarecbpwdkhnamiephssmphnthhruxxakarpwdhlngiddwy 1 3 phupwyxacmienuxngxkhnungkxnhruxhlaykxnkid 1 bangkhrngxacthaihtngkhrrphyak aetphbidimbxy 1 enuxngxkimraykhxngklamenuxmdluk Uterine fibroids chuxxunUterine leiomyoma uterine myoma myoma fibromyoma fibroleiomyomaphaphenuxngxkmdlukthiehncakkarphatdsxngklxngsakhawichanriewchwithyaxakarpwdpracaeduxn pracaeduxnmamak 1 phawaaethrksxnInfertility 1 kartngtnMiddle and later reproductive years 1 saehtuimthrabsaehtu 1 pccyesiyngprawtikhrxbkhrw khwamxwn karkinenuxaedng 1 withiwinicchyPelvic examination medical imaging 1 orkhxunthikhlayknLeiomyosarcoma pregnancy ovarian cyst ovarian cancer 2 karrksaMedications surgery uterine artery embolization 1 yaIbuprofen paracetamol acetaminophen iron supplements gonadotropin releasing hormone agonist 1 phyakrnorkhImprove after menopause 1 khwamchuk 50 of women by age 50 1 saehtukhxngenuxngxkniyngimepnthithrabaenchd 1 xyangirkdiphbwamikhwamsmphnthkbphnthukrrmaelaradbhxromn 1 pccyesiyngxun echn khwamxwn karkinenuxaedng 1 karwinicchythaidodykartrwcxungechingkranaelakarthayphaphrngsithangkaraephthy 1 karrksaxacimmikhwamcaepninraythiimmixakar 1 yaaekxkesbchnidimichsetxrxydechnixbuoprefnxacchwybrrethaxakarpwdaelaxakareluxdxxkmakid pharaestamxlkchwybrrethaxakarpwdidechnkn 1 4 inraythimieluxdxxkmakxactxngidrbyaesrimthatuehlk 1 yaklum GnRH agonist xacldkhnadkxnenuxngxkchnidniidaetyngmirakhasungaelamiphlkhangekhiyng 1 hakmixakarmakkarphatdexakxnenuxngxkhruxexamdlukxxkxacchwyid karxudhlxdeluxdeliyngmdlukkxacchwyidechnkn 1 maerngklamenuxeriybkhxngmdlukphbidnxymakaelamkimecriymacakenuxngxkklamenuxeriybmdluk 1 phuhying 20 80 camienuxngxkmdlukemuxxayuthung 50 pi 1 khxmul kh s 2003 phbwathwolkmiphupwyorkhnipraman 171 lankhn 5 mktrwcphbinchwngklangthungplaykhxngwyecriyphnthu 1 emuxekhawyhmdpracaeduxnaelwenuxngxkmkmikhnadelklng 1 inshrthenuxngxkmdlukechnniepnsaehtukhxngkartdmdlukthiphbidbxy 6 enuxha 1 xakaraelaxakaraesdng 2 phyathisrirwithya 2 1 taaehnngaelakarcaaenkpraephth 2 1 1 enuxngxknxkmdlukthimitnkaenidmacakmdluk enuxngxkthiaephrkracayipepnenuxray 2 2 phyathikaenid 3 karwinicchy 3 1 xakarphidpkti 4 karrksa 4 1 karichya 4 2 rngsiwithyahlxdeluxdmdluk 4 3 karphukhlxdeluxdinmdluk 4 4 karphatddwykhlunkhwamthiwithyu 4 5 karphatdlxkenuxngxkmdluk 4 6 kartdmdluk 4 7 karthalayeyuxbuophrngmdluk 4 8 karichkhlunaemehlkiffaaenanathiennkarxltrasawd 5 rabadwithya 5 1 klumkhnthiekiywkbkrrmphnthu 5 2 khninkhrxbkhrwphuthimienuxngxk 5 3 shrthxemrika 6 karphyakrnorkh 6 1 karaephrkracay 7 sngkhmaelawthnthrrm 7 1 kdhmaykhxngshrthxemrika 8 instwxun 9 xangxing 10 aehlngkhxmulxunxakaraelaxakaraesdng aekikhenuxngxkodyechphaaxyangyingemuxkhnadelkthixaccayngimmixakaridaesdngxxkma xakarcamacaktaaehnngthitngaelakhnadkhxngenuxngxk xakarthisakhyrwmthungkhwamphidpktithikhwrsngektkhux mieluxdxxkinthangsutinariewch mipracaeduxnmakaelapwdthxngmakkhnamipracaeduxn imsbaythxnghruxmixakarthxngxud thayxuccaraaelwmixakarecb pwdhlng psswabxyhruxmixakarpsswaimsud aelainbangkrnikthaihekidphawamibutryak 7 nxkcakniyngxaccamixakarecbpwdinrahwangkarmiephssmphnth khunxyukbtaaehnngthitngkhxngenuxngxk thaepnenuxngxkinkhnathitngkhrrphkxacepnsaehtukhxngkaraethngbutr mieluxdxxk karkhlxdkxnkahnd hruxrbkwnkbtaaehnngkhxngtharkinkhrrph inkhnathimienuxngxkmnxaccaimichsaehtuinkrnithiekidphawamibutryak thangsthiti 3 phbwaepnsaehtuwathaimphuhyingkhnhnungxaccaimsamarththicamiluk 8 swnihykhxngphuhyingthimienuxngxkmdlukcamiphlkartngkhrrphpkti 9 10 inkrnithimienuxngxkinmdlukxacekidxakaraethrksxninphawamibutryak mkcaphbthitaaehnngenuxngxkmdlukthiophrngmdluk submucosal position khuxenuxngxkthitaaehnngkxnenuxngxkotkhunaeladnekhamainophrngmdluk aelaenuxngxkmdlukchnidmikanyun odytaaehnngkxnenuxngxksungotkhunxacdnphnxxkmathiphiwdannxkkhxngmdlukhrux xacdnekhamainophrngmdluk twkxnenuxngxkcayudtidkbmdlukdwykanelk aelaenuxngxkintaaehnngnicarbkwnkarthangankhxngeyuxbumdlukaelakhwamsamarthinkarfngtwxxnkhxngexmbriox 8 nxkcakniyngmienuxngxkkhnadihyxacbnghruxpidknthxnaikhphyathisrirwithya aekikh emuxelaaenuxngxkklamenuxmdluk thangdansaykhuxphunphiwdannxk swnthiepnphunthidanthitdcaepnrupthangdankhwa enuxngxkmdlukcapraktkhunrxb mikhxbekhtednchd aetimmithunghum epnkxnaekhngthimisikhawhruxsinatal aelacaaesdnglksnaepnenuxeyuxwngklmmikhnadaetktangknip sungtxngmxngphanklxngculthrrsnephuxdukhwamphidpktithangokhrngsrangthikhxnkhangihy odypktienuxngxkmikhnadethaphlsmoxhruxihykwanncasamarthrusuktwexngodyphupwyphanphnnghnathxng phaphthayphanklxngculthrrskhxngenuxngxkmdlukchnidklamenuxeriybchnidimxntray H amp E stain emuxducakklxngculthrrsnesllmaerngmilksnakhlaykbesllpkti milksnaeriywyawepnrupikh miruprangehmuxnkraswy icklangmiruprangehmuxnbuhri aelakarrwmkluminrupaebbthimithisthangthiaetktangkn milksnathiepnknhxy esllehlanimikhwamehmuxnkninkhnadaelaruprang epnkrabwnkaraebngesllthiphbidyak misamsayphnthuthiepnxntray khux 1 bizarre ekidkhwamphidpkti 2 cellular aela 3 mitoticallyemuxmikartrwcphbcudelk inniwekhliysthiednchd nucleoli thimirsmithiiklchidkbtwniwekhliyskhwraecngetuxnxayurewchephuxtwsxbkhwamepnipidkhxngxakarkxnenuxngxkthimacakkrrmphnththiphbidyakaelatrwcephuxhaesllmaerngthiit 11 taaehnngaelakarcaaenkpraephth aekikh phaphaephnphngkhxngchnidenuxngxktanginmdluk a enuxngxkmdlukthiphiwdannxkmdluk Subserosal fibroids b enuxngxkthiklamenuxmdluk Intramural fibroids c enuxngxkmdlukthiophrngmdluk Submucosal fibroid d enuxngxkmdlukchnidthimikaniteyuxbu pedunculated submucosal fibroid e enuxngxkpakmdluk fibroid in statu nascendi f enuxngxkkhxngexn fibroid of the broad ligament karecriyetibotaelataaehnngepnpccysakhyinkartrwcsxbenuxngxkthicanaipsu karekidxakaraelapyha 12 enuxngxkthimikhnadelk xaccamixakarhaktngxyuphayintaaehnngthiophrngmdluk inkhnakhnthiepnenuxngxkmdlukthimikhnadihyaetepnthidannxkkhxngmdlukxaccaipimmixakarihsngektehn taaehnngthitngthiaetktangknmithaihmikarcdklumdngni enuxngxkthiklamenuxmdluk Intramural fibroid nitngxyuphayinphnngkhxngmdlukaelaepnchnidthiphbmakthisud inkrnithimikhnadihythiphwkekhaxaccaimmixakar enuxngxkerimtnkxntwxyuphayincakkxnkhnadelkthiphnngklamenuxkhxngmdluk dwyewlaphxsmkhwrenuxngxkphayinxackhyayekhamakxihekidkarbidebuxnaelakaryudtwkhxngophrngmdluk enuxngxkthiphiwdannxkmdluk Subserosal fibroid epnenuxngxkthitngxyuphayitphunphiwthiepnenuxeyuxswnnxkkhxngenuxeyuxbuphiw chxngthxng khxngmdlukaelacaklayepnkhnadihymak enuxngxkyngsamarthngxkxxkmaepnpumelkklayepnenuxngxkthimikanxxkmaetibotaeykxxkmacakmdlukklayepn parasitic leiomyoma epnswnthiaeykxxkcakkxnenuxngxkedimxxkip odyidrbeluxdmaeliyngcakxwywaxuninxungechingkran enuxngxkmdlukthiophrngmdluk Submucosal fibroid tngxyuinklamenuxiteyuxbuophrngmdlukaelamilksnabidebiywxyuinophrngmdlukaemcamiaekhkhnadelk aetemuxxyuintaaehnngnikxacthaihekideluxdxxkaelaekidphawamibutryak kanthixyuinophrngeriykwaenuxngxkthikanelksamarththiphanipyngpakmdluk enuxngxkinmdluk Cervical fibroids tngxyuinphnngpakmdluk khxkhxngmdluk epnenuxngxkthiimkhxymikarphbbxynk esnexnthiyudmdluk aephnexn hruxexnitkraduthixyubriewnitkraebnehnb khxngmdlukenuxeyuxkhxngklamenuxeriyb enuxngxkxacmikxnediywhruxhlaykxn enuxngxkswnihycaerimtncakphayinthiepnchnkhxngklamenuxkhxngmdlukmikarecriyetibottxip enuxngxkxaccaecriyetibotxxkipthangdannxkkhxngmdlukhruxcaecriyetibottxekhaipphayin karepliynaeplngphthnatwphayitkhxngenuxngxkthaihmiphlthdmakkhux kartkeluxd epliynepnenuxray miaekhlesiymekaa aelamikarepliynaeplngthikraephaapsswa enuxngxkebiydkraephraapsswathaihekidpsswabxy enuxngxknxkmdlukthimitnkaenidmacakmdluk enuxngxkthiaephrkracayipepnenuxray aekikh enuxngxkinmdlukerimtnmacakmdlukaelwtxipyngswntang khxngrangkay bangkhrngeriykwa kxnenuxprsit parasitic myomas inxditphbidimbxynk aetinpccubnmikarwinicchywamikhwamthikhxngkhnepnenuxngxkmakkhun enuxngxkxaccaekiywkhxnghruxepnaebbediywknthiaephrkracayipyngklamenuxenuxngxkmdlukswnihycakhunxyukbhxromnaetxacamiphawaaethrksxnepnxntraythungchiwithakenuxngxkkhyayihyipiklthungxwywaxun bangaehlngkhxmulchiihehnwainkrnithimiphawaaethrksxnxyuinchwngplaykhxngkarphatdenuxngxkkhxngklamenuxmdlukhruxphatdmdluk odyechphaaxyangyingkarphatdenuxngxkklamenuxmdlukodywithisxngklxngephuxduchinenuxaelwphanthanghnathxngthimikarpnchinenuxihepnchinenuxelk aelwdudxxkmaphanthx miswnekiywkhxngkbkhwamesiyngthiephimkhunxyangmakkhxngphawaaethrksxnni phlxnenuxngmacakchinenuxngxkthimikhnadihy 13 14 15 16 17 singthithaihenguxnikhyakkhunxyukbkaraephrkracaykhxngenuxngxk enuxngxkchnidthiimepnxntrayaetemuxxyuintaaehnngbangtaaehnngkxacepnxntrayidehmuxnkn thngnikhunxyukbtaaehnngkarekidkhxngenuxngxkepnsakhy 18 enuxngxkinklamenuxmikarkdthbhlxdeluxd enuxngxkthipraktwaipkdthbkarihlewiynhlxdeluxdaetphbwaimmikhwamesiyngthicaekidsa iloximotmaoxsisphayinhlxdeluxdda enuxngxkklamenuxmdluketibotkhuninhlxdeluxddathiaehlngkhxngmnkhuxenuxngxkmdlud emuxmikarekiywkhxngkbhwicxaccathaihesiychiwitid enuxngxkchnidimrayaerngemuxkracayipyngklamenux enuxngxkemuxecriyetibotipyngphunthiiklkhunechn pxdaelatxmnaehluxngthimiaehlngthimaimchdecn thamikhwamekiywkhxngkbpxdxacepnxntraythungchiwitid emuxmikaraephrkracayipyngiloximoxmaotsisphayinhlxdeluxddainchxngthxng enuxngxkthiotkracdkracaybneyuxbuchxngthxngaelaphunphiwkhxngeyuxaekhwnkraephaainchxngthxng omental surfaces thimiaehlngkaenidmacakenuxngxkmdluk milksnakhlaykbenuxngxkrayaetptibtitwepnenuxngxkimrayaerngphyathikaenid aekikh enuxngxkmdlukthiphiwdannxkmdlukthimikhnadihy large subserosal fibroid enuxngxkklamenuxmdlukmacaktntrakulenuxngxk aelapraman 40 to 50 aesdngthungokhromosmkhxngesllthitrwcphbkhwamphidpktikhxngokhromosm pccubnkhwamthithiekidimsmphnthkbphnthukrrm krabwnkarepliynaeplngechphaakhxngoprtin MED12 idtngkhxsngektwaepnrxyla 70 khxngenuxngxk 19 saehtuthithaihekidenuxngxknnyngimepnthichdecn aetcaksmmtithancaknganthithaxyuinpccubnkhux khwambkphrxngthangphnthukrrm epidrbhxromnkxnkhlxdbutraelamacakphlkrathbkhxnghxromn pccythithaihenuxngxkecriyetibotaelasarsionexsotrecn xenoestrogens khuxsarthimiokhrngsrangkhlayhxromnephshyingexsotrecn sngphlihphawaimsmdulkhxnghxromnmakipkwaedimthiepnxyu sungepnsaehtuihenuxngxkecriyetibot pccyesiyngthiepnthiruknkkhuxphuthimiechuxsaychawaexfrika phuthiimekhybutr nulliparity orkhxwn klumxakarrngikhmithungnacanwnmak orkhebahwan aelaorkhkhwamdnolhitsung 20 karetibotkhxngenuxngxkkhunxyukbhxromnexsotrecnaelahxromnoprecsetxorn progesterone aemwathnghxromnexsotrecnaelahxromnoprecsetxorncamikhwamsmphnththimiswnekiywkhxngihekidkarecriyetibotkhxngenuxngxkaetinbangsthankarnkaretibotkmikhxcakd sungkhdaeyngkbenuxngxkthiimkhxyecriyetibotidinrahwangkartngkhrrph aemwacamisetxrxydhxromnthisungmak aelakartngkhrrphkhxnkhangaennxnwamiphlthichwyihekidkarpxngknsahrbphuthiimekhyepnenuxngxkid 21 karpxngknxaccaaekhsuxklangbangswnrahwanghxromnexsotrecnaelatwrbkhxnghxromnxxsiothsin oxytocin receptor xxksiothsin epnhxromncaktxmitsmxngswnhlng thahnathikratunklamenuxeriybkhxngxwywaphayinhlaychnid echn chwyinkarekhluxnthikhxngxsucicakinchxngkhlxd chwykratunihklamenuxmdlukbibtwkhnakhlxd aelachwykratunklamenuxrxb txmnanmihkhbnanmxxkmaeliyngluk 22 mikhwamechuxwahxromnexsotrecnkbhxromnoprecsetxornmiswnephimcanwnkhxngesllenuxngxkaelamixiththiphlthngthangtrngaelathangxxmthiepnpccykarecriyetibotkhxngenuxngxk isotikhn cytokines thahnathiinkarsuxsarrahwangesll aelapccythithaihesllnntaylng apoptotic factors echnediywkbhxromnxun nxkcaknikarthangankhxnghxromnexsotrecnaelahxromnoprecsetxornprbepliynodymikarsngsyyankhuykhamknrahwanghxromnexsotrecn hxromnoprecsetxornaelahxromnophaelktin hxromn Prolactin epnhxromnxikchnidhnungsungsrangcaktxm Pituitary thahnathiphthnatxmnanmaelakratunihmikarhlngnanmxxkma thiepntwkhwbkhumkaraesdngxxktamladbkhxngtwrbniwekhliys echuxknwahxromnexsotrecnepntwkhwbkhumesrimihecriyetibotody up regulating khxngsingtang txipniIGF 1 IGF 1 mihnathikratunkaraebngtwkhxngesllkaresrimsrangkradukxxn esllklamenux rwmthungmikarkratunkarsngekhraahoprtininklamenuxaelaenuxeyuxxun xikdwy EGFR Estimated Glomerular Filtration Rate epnkhathieraichephuxpraeminkarthangankhxngit TGF beta Transforming growth factor beta 1 epnokrthaefkhetxrthimibthbathxyangmakinemtabxlisumkhxngesllkradukaelafn TGF beta3 Transforming growth factor beta 3 epnchnidkhxngoprtinthieriykwaisotikhn PDGF PLatelet Derived Growth Factor epnhnunginpccykarecriyetibotcanwnmakhruxoprtinthikhwbkhumkarecriyetibotkhxngkaraebngesll aelaepntwsngesrimihesllkhxngklamenuxthimikhwamphidpktixyurxdodyipkhwbkhum p53 ephimtwpccyybyngxaphxphothsis anti apoptotic khxng PCP4 Purkinje cell protein 4 khux oprtinkhxngmnusycathukekharhsodyyin PCP4 aelasyyanwamnimsamarthekhaknidkb PPAR gamma hxromnoprecsetxornepntwerngihihkxnenuxecriyetibotkhunxyukbkarkhwbkhum EGF TGF beta1 aela TGF beta3 aelayngmiswnchwyihmnxyurxdodyphankarkhwbkhumkarecriyetibotcaksar Bcl 2 aelaldkarecriyetibotody TNF alpha sngphanephuxihenuxngxkxyurxdphankhwbkhumodysngphan Bcl 2 23 24 25 pccythimikhwamsmphnthkbkarkhyaykarecriyetibot TGIF thicaephimkhunkhxngklamenuxemuxepriybethiybkbklamenuxmdluk 26 TGIFxacekidkarplxysar TGF b epnesnthanginesllklamenuxmdluk 26 enuxngxkinwyhmdpracaeduxncaphbsar ER beta ER alpha aelatwrbkhxnghxromnoprecsetxorn mikarhlngxxkmamakekinip enuxngxkinwyhmdpracaeduxnsungphbidyakaelacaphbwamikarhlngsar ER beta makekinipaebbminysakhy 27 inkarsuksaswnihymikarphbkhwamhlakhlaykarekharhsyins ER and PR sungkimmiswnsmphnthbprachakrphiwkhaw 28 29 xyangirktamkhwamphiessrupaebbphnthukrrmkhxng ER alpha caphbwamikhwamsaphnthkbkarekidaelakhnadkhxngenuxngxk enuxngxkklumniphbidmakkbphnthukrrmkhxngklumphuhyingphiwda 30 enuxngxkmdlukmikhwamiwtxkarkratunmakkwaklamenuxmdlukpkti twrb PPAR gamma yunynphllphthwaidldkardarngxyuaelakartaykhxngesllenuxngxk klikkkhux suxsarsngsyyanechinglbesnthangkhuyknrahwang ER aela PPAR hlay PPAR gamma liaeknd Ligands inthangekhmikhuxssarphaynxkesllthiechuxmtxkbtwrb emuxphicarnawarksaduaelidxyangmismrrthphaph 31 PPAR gamma xaoknist agonists epnsarthiemuxechuxmtxkbtwrbthangchiwekhmi aelwthaihekidkarkratunkliktxbsnxngkhxngesll xaccatxtankbkarecriyetibotkhxngenuxngxk odyrwmkbklikkhxngrabbxunxikhlay tw yktwxyangechn TGF beta3 epntwybyngxakar 32 orkhkhwamdnolhitsung kmikhwamsmphnthkbenuxngxk thungaemwakhwamsmphnthinechingsaehtuinthangsmmutithanxaccaimichthnghmdxacthaihepnhlxdeluxdaekhngtwewlaidrbbadecbthihlxdeluxdmdluk aelaepnphlthaihekidphlbthbathsakhyemuxekidsphaphkarxkesb nxkcaknitxmirthxepnpccythimikhwamekiywkhxngkbkhwamdneluxdechn Angiotensin II Angiotensin II epnsarsakhyineluxdaelainenuxitexngodyaesdngvththitang khux 1 vththitxhlxdeluxdaelahwic 2 vththitxit 3 vththitxtxmhmwkit 4 vththitxrabbprasath epnsaehtuthikxihekidenuxngxkphantw Angiotensin II type 1 receptor 33 34 hxromnephschay Aromatase aelasar 17beta hydroxysteroid dehydrogenase khux aesdngkhaebiyngebnmatrthaninenuxngxk aesdngihehnwaenuxngxksamarththicaepliynaeplhmunewiynaexnodrstinidoxn Androstenedione nnkhuxsarkratunhxromnthiepnsaraenanakhxnghxromnephschay inexstaidxxl estradiol khuxradbhxromninephshying 35 klikthikhlayknepnptibtikarthikhyaykhwamineruxngorkheyuxbumdlukecriyphidthi endometriosis aelaorkheyuxbuophrngmdlukxun 36 karybyngkarthaangankhxngexnismkhxnghxromnephschaythimihnathiepliynaexnodrecnepnexsotrecn khuxpccubnthuxwaepnkarrksabangxyanginthangthiepnipidthicaybyngkarphlithxromnexsotrecninenuxngxkinkhnathimnyngimihynkaetkmiphlkrathbtxkarphlitrngikhkhxnghxromnaexsotrecn aelaradbkhxngrabbkhxngrangkay hxromnephschaycaichwithikartrwcephuxtrwcsxbwathayinidmikhwamphidpktiyinnncasrangoprtinmakkwapktithiednchd odyechphaaxyangyinginphuhyingaexfrikaxemrikn 37 saehtuthangphnthukrrmaelakarthaythxdthangphnthukrrm khux idrbkarphicarnaaelaxikhlayxyangthangrabadwithya phlkarwicyaesdngihehnwaxiththiphlthangphnthukrrmmakodyechphaaxyangying radbaerkmikhwamesiyng 2 5 etha aela khwamesiyngiklkb 6 ethaemuxphicarnainkrnithimixakarerimtnipaelw faaefdthimiikhibediywkn Monozygotic twins mixtrakarsxdkhlxngwaxaccamikarphatdmdthngkhuemuxethiybkbfaaefdthiekidcakikhkhnlaib dizygotic twins 38 echn aephlepnnun enuxngxk imphlitsarekhluxbesllphaynxk cakkarsuksalasudchiihehnwakrabwnkarnixacepntwaethnthiaesdngihehnkartxbsnxngthiphidpktikhxngkarkhadeluxdaelaklikkarbibtwkhxngenuxeyux 39 mipccyhlayxyangepnswnprakxbxyangminysakhysyyankhxngesnthangkhxngsarekhluxbesll extracellular signaling pathways xyangechn ERK1 aela ERK2 sungbxkidwaenuxngxknnidrbxiththiphlxyangchdecnmacahxromn 40 naprahladaelaaetktangcakenguxnikhxun xyangmakthimieruxngphngphudmakekiywkhxngdwymikartrwcphbyins Cyr61 inenuxngxkaelamikarphbkrabwnkarthiesllldprimankhxngxngkhprakxbkhxngesllinenuxngxk 41 Cyr61 epnthirukndiwaepnpccyhnungthichwyhyudyngenuxngxkaelaklikkarsrangeluxdihm angiogenesis karldkhwamhnaaennkhxnghlxdeluxdepnkarldkhnadkhxngenuxngxklngid 41 karwinicchy aekikhinkhnathitrwcsxbodykarichmuxkhla 2 muxmkcasamarthecxkarpraktkhxngkxnenuxngxksahrbenuxngxkthimikhnadihy phbcakkhlunkhwamthisungkhxngthangsutinariaephthy xltrasawd mikarphthnaepnekhruxngmuxmatrthaninkarpraeminsahrbenuxngxkinmdluk kartrwckhlunesiyngkhwamthisungcasamarthehnenuxngxkthimiklumkxnaetktangkn sungmkcathaihekidengakhxngaesngxltrasawd kartrwcxltrasawdsamarthtrwcsxbidthngkhnadaelataaehnng nxkcakniyngmikarthayphaphdwykhlunsnamaemehlk MRI samarthichinkarkahndphaphkhxngkhnadaelataaehnngkhxngenuxngxkinmdlukidkarthayphaphrngsiimsamarthaeykaeyarahwangenuxngxkthrrmdaimrayaerngkbenuxrayid xyangirktamemuxtrwcphayhlngkhxnkhanghayakthicaehnkxnenuxngxkecriyetibotxyangrwderwhruxkarecriyetibotthiimkhadkhid echnkarkhyaytwkhxngenuxngxkhlngwyhmdpracaeduxn caephimradbkhwamsngsyidwaenuxngxknnxaccaepnkxnenuxmaerng odyenuxngxkxaccaphthnaepnmaerngidsungodyducaktaaehnngthienuxngxkthikhyayip karsuksaemuxerw ni idchiihehnwakhwamsamarthinkarwinicchyodyich MRI mikarprbprungkhwamsamarthinkartrwcharxykhxngorkhthangdanenuxngxkid 42 karphatdchinenuxephuxnaiptrwcwiekhraahthanghxngptibtikar Biopsy cadaeninkarnxymakaelahakdaeninkarcaimkhxymikarwinicchy khwrcamikarwinicchythikxnenuxngxkthamikhwamimaenichlngcakkarthaxltrasawdaelaphaphthaycak MRI sungchiihehnkhxbngchiodythwipethkhnikhkarthayphaphxun thixaccaepnpraoychnodyechphaainkarpraeminphlkhxngrxyorkhthimiphltxophrngmdlukinkartrwckcami kartrwcthxnaikhaelaophrngmdluk hysterosalpingography hrux karxltrasawnnaephuxdusphaphphayinmdluk sonohysterography enuxngxkthimikhnadihymak 9 esntiemtr enuxngxkmdlukthimisaehtumacak xakarkhngkhxngolhitthikradukechingkran tamthiehninphaph CT enuxngxkthimikhnadihymak 9 esntiemtr enuxngxkmdlukthimisaehtumacakxakarkhngkhxngolhitthikradukechingkrantamthiehncakkarxltrasawd enuxngxkklamenuxmdlukkhnadkhxnkhangihy mnyunxxkmaswnthisakhykhxngchxngeyuxbuophrngmdluk enuxngxkmdlukkhnadelkmxngehnphayinphnngkhxng klamenuxmdluk cakmummxngxltrasawndaenwkhwang sxngenuxngxkthimihinpuncb inmdluk enuxngxkphaynxkmdlukthimiesnphasunyklangkhnad 5 esntiemtrxakarphidpkti aekikh enuxngxkthiepnsaehtuthithaihekideluxdxxkmakcakchxngkhlxdmioxkasthaihepnorkholhitcang aelakarkhadthatuehlk phlkrathbcakkhwamdnthaihmipyhathikraephaaxaharthaihekidxakar echn xakarthxngphuk constipation aelaxakarthxngxudkepnipid karthienuxngxkekhaipebiydthiitxacnaipsuphawaitesuxmminakhng enuxngxkxaccaaesdngxakarkhwbkhuipkborkheyuxbuophrngmdlukecriyphidthi endometriosis sungxaccathaihekidsaehtuphawamibutryak orkhthimikarfngtwkhxngeyuxbumdlukinchnklamenuxmdluk Adenomyosis xacthukthaihekhaicphidhruxxyurwmkbenuxngxkinkrnithihayakmakthiepnenuxngxkcaepnchnidrayaerng maerng karecriyetibotkhxngmaerngklamenuxeriybmdluk leiomyosarcoma thiklamenuxmdlukthisamarthphthnaxxkip 43 inkrninihaidyakmakinenuxngxkmdlukxacepnephiyngswnhnunghruxxakarerimtnkhxngphnthukrrmkhxngiloximoxmaotsisphayinhlxdeluxddaaelaxakaresllmaerngthiit hereditary leiomyomatosis and renal cell cancer karrksa aekikhenuxngxkswnihyimcaepntxngrksaewnaetenuxngxkehlanicakxihekidxakar enuxngxkcamikhnadldlngemuxthungwyhmdpracaeduxn aelaepneruxngpktithienuxngxkcathaihekidpyhaenuxngxkinmdlukxakarsamarthrksaidody yaephuxkhwbkhumxakar yathimiepahmayinkarldkhnadkhxngenuxngxk karxltrasawdephuxthalayenuxngxk karphatdlxkenuxngxkmdluk hrux karphatddwykhlunwithyu kartdmdluk karxudesneluxdaedngthiipeliyngmdlukaelaenuxngxkkhxngmdluk uterine artery embolization phuhyingthipraeminwakhwridrbkarrksacaduthisunyklangkhxngenuxngxkmdluksungmihlaythangeluxkaelakarrksaswnihycaduwacarksamdlukxyangnxythisudrksainswnthiaephrkracay 44 karichya aekikh canwnkhxngyathiichinkarkhwbkhumxakarthiekidcakenuxngxk yaldkarxkesb NSAIDs samarthichinkarldkhwamecbpwdpracaeduxn yaemdkhumkaenidmivththithicaldeluxdxxkinmdlukaelaxakarpwd 8 orkholhitcangxaccatxngidrbkarrksadwykaresrimthatuehlkxupkrnhruxyathiichkhumkaenid Levonorgestrel intrauterine devices thimiprasiththiphaphsunginkarkhwbkhumkarihlewiynkhxngeluxdpracaeduxnaelakarprbsmdulxakarxun phlkhangekhiyngcaxyuinradbpanklang yaemdkhumkaenid levonorgestrel progestin cathukihinprimanimmak khnanimihlkthanmakmaythiyaemdkhumkaenid Levongestrel IUDs chwybrrethaxakarthidisahrbphuhyingthimienuxngxk 45 inkhnathikarsuksayakhumkaenidswnihy Levongestrel IUD cakkarsuksaxyanghnkwamikarihkarrksakbphuhyingthiyngimmienuxngxknnphlkarraynganwaidphldi odyechphaaphuhyingthimienuxngxknnthaihkhnadldlng 46 47 48 idnasxl Danazol epnyakhumchukechin ichrksathimiprasiththiphaphephuxkhwbkhumxakaraelaldkhnadenuxngxk karichngancathukcakdenuxngcakphlkhangekhiyngkhxngya klikkhxngmnmiphlthaihekidaexntihxromnaexsotrecn sungcaipldhxromnephshying echn mixakarbwmna khndk esiyngaetkphra epntn cakprasbkarnthiphanmaaesdngihehnthungraylaexiydkhwamplxdphyaelaphlkhangekhiyngthisamarthaekikhidodykarichyaaebbrxbkhxbaelaramdrawngmakkhun 47 Dostinex xyuinradbpanklangaelamikhwamtanthaniddithicaaesdngihehnmi 2 krnisuksathisamarthchwyldkhnadkhxngenuxngxkidxyangmiprasiththiphaphaetklikkhxngkarthanganyngimmikhwamchdecn 47 49 Gonadotropin releasing hormone analogs chwyinkarhdtwkhxngenuxngxkchwkhrawodykarldradbkhxnghxromn enuxngcakmikhxcakdinkarichyaaelaphlkhangekhiyngkhxngmncungimaenanaihichyani nxkcakcaichkxnkarphatdephuxldkhnadkhxngenuxngxkaelakxnphatdmdluk odypktiaelwcaichyaimekin 6 eduxnhruxnxykwannephraahlngcakthiidichyanikxihekidorkhkradukphrun osteoporosis aelaphawaaethrksxnxun inwyhmdpracaeduxn inhlay krnienuxngxkcaetibotkhunmaihmhlngcakhyudrksa xyangirktamaetkmipraoychnhlay xyangxikmakcakkarrksasahrbinbangkrniinhlayrupaebbthiepnipid echn klamenuxediywknkbklumhxromn GnRH dwysutrkarephimdwykhwamtngicthicaldphlkrathbkhxngkarkhadhxromn karephimhlaytwepnipid echn yathimoboln tibolone yathiichrksastrihmdpraeduxn ya raloxifene epnyathiichpxngknaelarksaphawakradukphruninhyingwyhmdpracaeduxn hxromnophrecsethxornxyangediyw progestogens hxromnhxromnexsotrecn aelanahxromnsxngtwmarwmknthnghxromnophrecsethxornaelahxromnexsotrecn 47 Ulipristal acetate khuxkarsngekhraahkarprbtwrbkhxnghxromnophrecsethxorn selective progesterone receptor modulator sungidrbkarthdsxbinkarthdlxngaebbsuminkarthdlxngelk sungphlxxkmawamiphldisahrbkarrksaenuxngxk 50 ehmuxnkarprbtwrbkhxnghxromnophrecsethxornaelakartxtanenuxngxkthiidrbkarraynganepnkarepliynaeplngthieyuxbumdlukthangculkaywiphakhsastrkhxngenuxeyux aelainkarsuksainrayayawyngimthukkahndkhwamplxdphykhun 50 51 52 xromnoprecsethxorn yngmikartxtan echn yaimfiphrisothn Mifepristone idrbkarthdsxb mihlkthanwamnbrrethaxakarbangxyangidaelachwyephimkhunphaphchiwit aetenuxngcakkarepliynaeplngenuxeyuxphlkhangekhiyngthiidrbthaihekidkartngkhxsngektinkarthdlxnghlay xyang cungimsamarthaenanaihichid inkhnathiyngmikartngkhakarwicyknxyu 53 54 55 twrbkhxnghxromnophrecsethxorn Selective progesterone receptor modulators echn Progenta sungkalngthukidrbkartrwcsxbkhxethccringselective progesterone receptor modulator Asoprisnil inpccubnidrbkarthdsxbwamiaenwonmepnipidmakthisudthisamarthichinkarrksaenuxngxk odyhwngwacaekidpraoychninkartanhxromnophrecsethxornodyimmiphlkhangekhiyngkbphuthakarrksa 47 khwamplxdphyinrayayawthiichkarkartanhxromnophrecsetxornthiichkarprbthiichkarprbtwrbkhxnghxromnophrecsetxornyngimmikarcdtngkhun 56 Aromatase inhibitors karthangankhxng Aromatase inhibitor khux karybyngkarthaangankhxngexnismxormaetsthimihnathiepliynaexnodrecnepnexsotrecn idthukthdlxngnamaichinkarldkhnadenuxngxk phlthiidmikhwamechuxknwaepnephraabangswncakkarldradbkhxnghxromnexsotrecnaelabangswnodykarybyngechphaaswnhxromnephschay Aromatase inenuxngxk 47 cakprasbkarninkarrksaodykarybynghxromnephschaykhxngorkhehyuxbumdlukecriyphidthi endometriosis ehnidwasarybynghxromnephschaymipraoychnxyangyinginkarthanganrwmkninkarybyngkartkikhkhxnghxromnoprecsotecn rngsiwithyahlxdeluxdmdluk aekikh Uterine artery embolization UAE epnkarrksaodywithithangrngsirwmrksaphanthanghlxdeluxdaedngekhaipxudknhlxdeluxdaedngthiipeliyngenuxngxkmdlukodytrngthaihenuxngxkmdlukmikhnadelklngaelathaihenuxngxkdngklawhayipid khuxcapidknkrabwnkarkhxnghlxdeluxdephuxprasiththiphayinkarrksaxakarkhxngenuxngxk odyichethkhnikhrngsiwithya interventional radiology odywithikarthangrngsiybyngldthnghlxdeluxdaedngxudtnhruxthalaymdluk ephuxldesnthangkhxngeluxdthiipeliyngyngenuxngxk 57 karrksawithinicaimaenanaemuxtxngkarthirksapkpxngkarecriyphnthuemuxcamikhwamepnipidwamikartngkhrrph sayswnkhnadelk khnadesnphasunyklang1 milliemtr isekhaipinesneluxdaedngthiradbkhahnibphayityachaechphaathi phayitkaraenanaitphaph rngsiaephthycaekhasuwithikarthicakhdeluxkthnghlxdeluxdaedngkhxngmdlukaelachidxnuphakhkhnadelk 500 imkhrxn epnxnuphakhthicapidknkarsngeluxdipyngenuxngxk phupwysamarthfuntwinkhntxnimkiwn khntxnkhxngkartha UAE nncasngphlihprimankhxngolhitmicakdthisngipyngenuxngxksungcachwyybyngkarecriyetibotkhxngenuxngxkinxnakhttxip mieluxdxxkmakaelaepnipidthienuxngxkmikhnadelklngkarsuksakarsuksayxnhlngaesdngihehnwayuexximiphlkrathbthirayaerngnxymakkwakarphatdmdluk xtraswnxxd 0 25 odds ratio 0 25 aelaxtrathiehmuxnepnkhakhwamphungphxic inkarsuksani miphuhying 86 thiidrbkarrksaodywithikar UAE caaenanakarrksaihephuxn emuxnaipethiybkb 70 khxngphuthirbkarrksaodykarphatdmdluk 58 inpi 1994 dr brus aemkhlukhs Dr Bruce McLucas epnphuthakarrksadwywithikar UAE saercepnkhnaerkinpraethsshrthxemrika tngaetnnmakidmikarichwithi UAE niprasbkhwamsaercinphupwynbphnkhnthwolk ekhaepnhnunginimkikhnkhxngsutinriaephthykhxngolkthimikhwamechiywchayinkardaeninkar UAE dr aemkhlukhsyngfukxbrmaephthythwolkthicaprasbkhwamsaercinkardaeninkar UAE karphukhlxdeluxdinmdluk aekikh karphukhlxdeluxdinmdluk Uterine artery ligation bangkhrngkphatdphanklxngephuxpidknhlxdeluxdaedngthimdlukepnwithikarthildkarsngeluxdipeliyngmdlukodykarphatdkhnadelkthisamarthdaeninkarphanthangchxngkhlxdhruxphatdphanthangklxng withikaraelaklikkarrksacakhlaykbwithikar UAE aetwithikardaeninkarcangayaelaphlkhangekhiyngnxykwa 59 60 61 aetthacaepriybethiybknaelw UAE epnwithithimiprasiththiphaphehnuxkwawithikarni 62 karphatddwykhlunkhwamthiwithyu aekikh karphatddwykhlunkhwamthiwithyu Radiofrequency ablation khuxhnunginwithikarinkarrksaenuxngxkthimiphlkrathbnxy 63 ethkhnikhkhxngwithikarnikkhux ichesniythimikhnadelkthimixupkrnkhlayekhmekhaipinenuxngxkphanthangchxngthxngaelaichkhwamrxnkhxngkhlunkhwamthiwithyu Radio Frequency RF plxyphlngnganiffaepnphlihesllnntay karrksawithiniepnwithikarthimiprasiththiphaphsahrbphuhyingthimienuxngxksahrbphuthitxngkarmibutraelaimtxngkarthicaphatdmdluk karphatdlxkenuxngxkmdluk aekikh karrksaenuxngxkodywithiphatdphanthangklxng laparoscopic surgery hlngcakkarrksaenuxngxkklamenuxmdlukodywithiphatdphanklxng laparoscopic surgery karphatdlxkenuxngxkmdluk myomectomy khux karphatdexaenuxngxkmdluk 1 kxnhruxmakkwann epnidrbkaraenanaephimetimemuxichwithikarrksawithixunimidphlsahrbphuhyingthitxngkarthiidrbkarphatdaebbsmburnaelatxngkarthicarksamdlukexaiw 64 withikarthicaphatdlxkenuxngxkmdlukmixyu 3 withi karphatdsxngklxng hysteroscopic myomectomy mkcaeriykwa transcervical resection sungcatdexaenuxngxkxxkdwyichxupkrnthiepnaethngyaweriykwa Resectoscope ekhaip twnitrngplaycamiklxng phanchxngkhlxdaelapakmdlukekhruxngmuxhruxxupkrnthiaethrkphanchxngkhlxdaelapakmdluksamarthichphlngnganiffakhwamthisunginkarphatdenuxeyuxenuxngxk karphatdphanthangklxng laparoscopic myomectomy khux emuxthaesrcaelwcaekidaephlkhnadelkbriewniklkbsadux aephthycaichklxngthieriykwa Laparoscope aelaekhruxngmuxthicaichphatdephuxexaenuxngxkxxk cakkarsuksaaenanaihphatdphanthangklxngnnmiswnthaihxtrakarecbnxy morbidity aelafuntwidrwderwdwywithikarni 65 karphatdepidthangchxngthxng laparotomic myomectomy epnkarphatdaebbepidhnathxnghruxchxngthxng epnkhntxnkarphatdthichwyexaenuxngxkxxkcakmdlukidmakthisud aephthythithakarphatdcaepidihekidaephlinphnngchxngthxngaelaexaenuxngxkxxkcakmdlukkartdmdluk aekikh kartdmdluk Hysterectomy epnwithikardngedimthiichinkarrksaenuxngxk thungaemwaewlathiaenanawithikartdmdluknncaepnthangeluxksudthayktam enuxngxkkyngepnsaehtusakhyinkartdmdlukkhxnghyingchawshrthemrika karthalayeyuxbuophrngmdluk aekikh karthalayeyuxbuophrngmdluk Endometrial ablation caichinkrnithimienuxngxkthixyuphayinophrngmdlukaelaimichenuxngxkthiklamenuxmdlukaelamikhnadkhxnkhangelk xtrainkarthamikhwamlmehlwsungaelapraktwamixtrakarekidenuxngxksasahrbenuxngxkthimikhnadihyhruxenuxngxkthixyuinchnklamenuxmdluk karichkhlunaemehlkiffaaenanathiennkarxltrasawd aekikh karichkhlunaemehlkiffaaenanathiennxltrasawd MRgFUS Magnetic Resonance guided Focused Ultrasound khux swnthingxkmaimaephrkracay catxngimmiaephl odycaennkarichkhlunxltrasawdthimiekhmkhnsungthalayenuxeyuxthanganrwmkbekhruxngtrwcwinicchyorkhdwykhlunaemehlkiffa MRI sungaenanaaelaihtidtamkartrwcrksa inrahwangkhntxnsngphlngcakkarxltrasawdepneruxngthiaenanaaelakhwbkhumodyichkhwamrxncakkhlunaemehlkiffa 66 phupwythimixakarenuxngxkphuthimikhwamprasngkhthieluxkkarrksathiaebbimaephrkracayaelaphuthiimkhxbngchihaminkarichekhruxng MRI smkhricthicaichkhlunaemehlkiffaaenanathiennxltrasawd phupwythimikhunsmbtiinkarrksawithimipraman 60 phupwynxkcaichewlainkarrksapraman 1 3 chwomngthngnikhunxyukbkhnadkhxngenuxngxkwithikarnimikhwamplxdphyaelaidphlthimiprasiththiphaphpraman 75 67 karduaelxakarcakhngxyusxngpikhunip 68 caepninkarrksathiephimkhunaetktangknip 16 20 aelaepnswnihykhunxyukbprimankhxngenuxngxkthisamarthexaxxkidxyangplxdphy primanthiexaxxkmakkhun primanthiklbmarksaxikkhrngldlng 69 emuxethiybkbtweluxkinkarrksathimixyu chwyinkarldkhaichcaysahrbMRgFUS inpraethsshrthxemrikaaelapraethsxngkvssungphbwaepnehtuphlhnungaelaiklekhiyngkbkarrksathangeluxk kartdmdluk yathiichbabd rngsiwithyahlxdeluxdmdluk 70 71 khnaniyngimmikarthdlxngaebbsumrahwang MRgFUS aela UAE thdlxnghlaysunykalngdaeninkarinkartrwcsxbprasiththiphaphkhxng MRgFUS kbUAErabadwithya aekikhmikhn 235 lankhnthiidrbphlkrathbcakkarmienuxngxkmdlukcaksthitiinpi 2010 khidepn 6 6 khxngphuhying 72 praman 20 40 khxngphuhyingidrbwinicchywaepnenuxngxkmdlukbangcudaetmicanwnelknxythicamipyhaaelatxngkarkarrksa 12 enuxngxkmdlukphbmakinphuhyingthimiorkhxwn 73 enuxngxkcakhunxyukbhxromnoprecsetxornaelahxromnexsotrecnthietibotaeladngnncungmikhwamekiywphnthknrahwangchwngpithimikarecriyphnthu aelaenuxngxkehlanikhadwacamikhnadldlnginwyhlnghmdpracaeduxn klumkhnthiekiywkbkrrmphnthu aekikh rwmkbkarsngekhraahklumikhmn fatty acid synthase thiidrbkarrayngan 74 khninkhrxbkhrwphuthimienuxngxk aekikh sahrbraylaexiydephimetimekiywkbhwkhxni oprddu Hereditary leiomyomatosis and renal cell cancer xakarthicathaihekidenuxngxkmdlukphrxmkbenuxngxkphiwhnng Reed s syndrome aelamaerngthiit renal cell cancer thiidrbkarrayngan 75 76 77 camikhwamekiywkhxnginkarklayphnthukhxngyinsthikxihekidexnisdfumaerthihdraeths enzyme fumarate hydratase tngxyuinokhromosmkhuthi 1 chromosome 1 1q42 3 43 sungidrbkarthaythxdphnthukrrmedn shrthxemrika aekikh 80 khxngphuhyingchawaexfriknxemriknthimienuxngxkaebbimepnxntrayinplaywy 40 khxngethx tamthisthabnaehngchatikhxngwithyasastrxnamysingaewdlxm 78 hyingchawaexfriknxemrikamioxkas 2 in 3 thimiaenwonmthiepnenuxngxkmakkwaphuhyingphiwkhaw 73 79 80 inphuhyingaexfriknxemriknenuxngxkduehmuxncaekidkhunkbwykhxngphuthimixayunxy etibotidxyangrwderwmakkhun aelamiaenwonmthicakxihekidxakar 81 sungcanaipsukarphatdmakkhunsahrbphupwychawaexfriknxemrika sahrbkarphatdlxkenuxngxkmdlukaelakarphatdmdluk 82 ephimkhwamesiyngenuxngxkinaexfrikn xemriknthicanaipsuprasbkarnkarrksathielwrayaelaephimkhwamesiynginkarekidenuxngxkkxnwyxnkhwraelakarphatdkhlxdkhxngphwkethx 82 yngimepnthichdecnnkwathaimenuxngxkcungekidkbphuhyingthiaexfrikn xemriknknmak bangkarsuksaaesdngihehnwaphuhyingphiwdaphusungepnorkhxwnaelamikhwamdnolhitsungmiaenwonmthicaekidenuxngxk 82 hyingphiwdamikarbriophkhphlitphnththiekiywkhxngkbnmnxykwahyingphiwkhawaelamiprimanaekhlesiymnxykwa aemkniesiymaelafxsfxrs inkhnathikhxmulbangxyangthimikhxbngchiihehnwakarbriophkhphlitphnthekthiywkbnmephimkhuninphuhyingaexfrikn xemriknmikhwamsmphnthkbkarldkhwamesiyngkhxngenuxngxk 83 mikhwamsmphnthkbkarichphlitphnthkhxngnayayudphm aelakhnphbwamikhwamesiyngkhxngkarphthnakhxngenuxngxk micanwnkhwamthiinkarichnayayudphmkhxngphuhyingchawaexfrikn xemriknthicaxthibayineruxngkhwamesiyngthiepnenuxngxk 84 karphyakrnorkh aekikhpraman 1 1000 8 khxngphuthimienuxngxkthiklayepnenuxngxkrayaerngepnmaerngchnidklamenuxeriyb leiomyosarcoma inthangwithyathangenuxeyux caksyyanwaaephlhruxenuxngxknncaepnmaerngaelaetibotkhunhlngcakwyhmdradu menopause 8 mikhxsrupepnmtikhxngphyathiwithyathiekiywkbkarepliynaeplngkhxngenuxngxkmdluk leiomyoma inkxnenuxmaerng sarcoma inthangphyathiwithyaswnihyechuxwamaerngchnidklmenuxeriybkhuxorkhihm de novo disease txngkarxangxing karaephrkracay aekikh mienguxnikhmakmaythimiswninkaraephrkracaykhxngenuxngxk enuxngxkyngkhngetibotaetkepnxntrayidkkhunxyukbtaaehnngkhxngenuxngxk 18 sngkhmaelawthnthrrm aekikhkdhmaykhxngshrthxemrika aekikh 2005 S 1289 bill eriykwakhnakrrmkarsukhphaph chnchnaerngnganaelabaehncbanayaetimekhyphanrangwuthisphaaelalngkhaaennesiyng idesnxekiywkbnganwicyenuxngxkmdlukaelacakarsuksa phrarachbyytikarsuksakhxngpi 2005 klawwa 5 phnlandxllarshrth khuxkarichcaypracathukpiinkarphatdmdlukinaetlapi khidepn 22 khxngphuhyingaexfrikn xemriknaela 7 khxngphuhyingphiwkhaw mikarekbenginradmthunmakkhunephuxkarwicyaelakarsuksa nxkcakniyngrabuwamiengincanwn 28 landxllarshrthsahrb NIH 85 5 landxllarshrththithukcdsrrsahrbenuxngxkmdlukinpi 2004instwxun aekikhenuxngxkmdlukphbidyaksahrbstwthieliynglukdwynmchnidxun aemkrannkyngmikartngkhxsngektinsunkhaelaaemwnasiethabxltik Baltic gray seals 86 xangxing aekikh 1 00 1 01 1 02 1 03 1 04 1 05 1 06 1 07 1 08 1 09 1 10 1 11 1 12 1 13 1 14 1 15 1 16 1 17 1 18 1 19 1 20 1 21 1 22 1 23 1 24 1 25 1 26 1 27 1 28 Uterine fibroids fact sheet Office on Women s Health January 15 2015 ekb cakaehlngedimemux 7 July 2015 subkhnemux 26 June 2015 Ferri Fred F 2010 Ferri s differential diagnosis a practical guide to the differential diagnosis of symptoms signs and clinical disorders 2nd ed Philadelphia PA Elsevier Mosby p Chapter U ISBN 978 0323076999 Uterine Fibroids Fibroids MedlinePlus phasaxngkvs subkhnemux 2018 11 07 Kashani BN Centini G Morelli SS Weiss G Petraglia F July 2016 Role of Medical Management for Uterine Leiomyomas Best Practice amp Research Clinical Obstetrics amp Gynaecology 34 85 103 doi 10 1016 j bpobgyn 2015 11 016 PMID 26796059 Global Burden of Disease Study 2013 Collaborators 5 June 2015 Global regional and national incidence prevalence and years lived with disability for 301 acute and chronic diseases and injuries in 188 countries 1990 2013 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013 Lancet 386 9995 743 800 doi 10 1016 S0140 6736 15 60692 4 PMC 4561509 PMID 26063472 Wallach EE Vlahos NF August 2004 Uterine myomas an overview of development clinical features and management Obstet Gynecol 104 2 393 406 doi 10 1097 01 AOG 0000136079 62513 39 PMID 15292018 Benign Uterine Fibroid Tumors What to Know Women s Health about com 8 0 8 1 8 2 8 3 8 4 American Society of Reproductive Medicine Patient Booklet Uterine Fibroids 2003 Segars J H Parrott E C Nagel J D Guo X C Gao X Birnbaum L S Pinn V W Dixon D 2014 Proceedings from the Third National Institutes of Health International Congress on Advances in Uterine Leiomyoma Research comprehensive review conference summary and future recommendations Human Reproduction Update 20 3 309 333 doi 10 1093 humupd dmt058 ISSN 1355 4786 Segars JH Parrott EC Nagel JD Guo XC Gao X Birnbaum LS Pinn VW Dixon D 2014 Proceedings from the Third National Institutes of Health International Congress on Advances in Uterine Leiomyoma Research comprehensive review conference summary and future recommendations Hum Reprod Update 20 3 309 33 doi 10 1093 humupd dmt058 PMID 24401287 CS1 maint multiple names authors list link Garg K Tickoo SK Soslow RA Reuter VE 2011 Morphologic Features of Uterine Leiomyomas Associated with Hereditary Leiomyomatosis and Renal Cell Carcinoma Syndrome The American Journal of Surgical Pathology 35 8 1235 1237 doi 10 1097 PAS 0b013e318223ca01 PMID 21753700 CS1 maint multiple names authors list link 12 0 12 1 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux wallach Cucinella G Granese R Calagna G Somigliana E Perino A 2011 Parasitic myomas after laparoscopic surgery An emerging complication in the use of morcellator Description of four cases Fertility and Sterility 96 2 e90 e96 doi 10 1016 j fertnstert 2011 05 095 PMID 21719004 CS1 maint multiple names authors list link Nezhat C Kho K 2010 Iatrogenic Myomas New Class of Myomas Journal of Minimally Invasive Gynecology 17 5 544 550 doi 10 1016 j jmig 2010 04 004 PMID 20580324 Kumar 2008Kumar S Sharma JB Verma D Gupta P Roy KK Malhotra N 2008 Disseminated peritoneal leiomyomatosis An unusual complication of laparoscopic myomectomy Archives of Gynecology and Obstetrics 278 1 93 95 doi 10 1007 s00404 007 0536 9 PMID 18193441 CS1 maint multiple names authors list link Galvin SD Wademan B Chu J Bunton RW 2010 Benign Metastasizing Leiomyoma A Rare Metastatic Lesion in the Right Ventricle The Annals of Thoracic Surgery 89 1 279 281 doi 10 1016 j athoracsur 2009 06 050 PMID 20103256 CS1 maint multiple names authors list link Mikami I Yamamoto M Nishimura H Koizumi K Gomibuchi M Tanaka S 1998 Multiple lungs tumors found 17 years after hysterectomy a case of benign metastasizing leiomyoma The Japanese journal of thoracic and cardiovascular surgery official publication of the Japanese Association for Thoracic Surgery Nihon Kyobu Geka Gakkai zasshi 46 7 634 638 doi 10 1007 BF03217793 PMID 9750447 CS1 maint multiple names authors list link 18 0 18 1 Fletcher s Diagnostic Histopathology of Tumors 3rd ed pp 692 4 Makinen N Mehine M Tolvanen J Kaasinen E Li Y Lehtonen HJ Gentile M Yan J Enge M Taipale M Aavikko M Katainen R Virolainen E Bohling T Koski TA Launonen V Sjoberg J Taipale J Vahteristo P Aaltonen LA 2011 MED12 the Mediator Complex Subunit 12 Gene is Mutated at High Frequency in Uterine Leiomyomas Science 334 6053 252 255 doi 10 1126 science 1208930 PMID 21868628 CS1 maint multiple names authors list link Okolo S 2008 Incidence aetiology and epidemiology of uterine fibroids Best practice amp research Clinical obstetrics amp gynaecology 22 4 571 588 doi 10 1016 j bpobgyn 2008 04 002 PMID 18534913 Neiger R Sonek JD Croom CS Ventolini G 2006 Pregnancy related changes in the size of uterine leiomyomas The Journal of reproductive medicine 51 9 671 674 PMID 17039693 CS1 maint multiple names authors list link Cesen Cummings K Houston KD Copland JA Moorman VJ Walker CL Davis BJ 2003 Uterine leiomyomas express myometrial contractile associated proteins involved in pregnancy related hormone signaling Journal of the Society for Gynecologic Investigation 10 1 11 20 doi 10 1016 S1071 5576 02 00191 0 PMID 12517588 CS1 maint multiple names authors list link Rein MS 2000 Advances in uterine leiomyoma research the progesterone hypothesis Environmental health perspectives 108 Suppl 5 791 3 PMID 11035984 Maruo T Ohara N Wang J Matsuo H 2004 Sex steroidal regulation of uterine leiomyoma growth and apoptosis Human reproduction update 10 3 207 220 doi 10 1093 humupd dmh019 PMID 15140868 CS1 maint multiple names authors list link Wei T Geiser AG Qian HR Su C Helvering LM Kulkarini NH Shou J N Cho M Bryant HU Onyia JE 2007 DNA microarray data integration by ortholog gene analysis reveals potential molecular mechanisms of estrogen dependent growth of human uterine fibroids BMC Women s Health 7 5 doi 10 1186 1472 6874 7 5 PMC 1852551 PMID 17407572 CS1 maint multiple names authors list link 26 0 26 1 Yen Ping Ho J Man WC Wen Y Polan ML Shih Chu Ho E Chen B June 2009 Transforming growth interacting factor expression in leiomyoma compared with myometrium Fertil Steril 94 3 1078 83 doi 10 1016 j fertnstert 2009 05 001 PMC 2888713 PMID 19524896 CS1 maint multiple names authors list link Strissel PL Swiatek J Oppelt P Renner SP Beckmann MW Strick R 2007 Transcriptional analysis of steroid hormone receptors in smooth muscle uterine leiomyoma tumors of postmenopausal patients The Journal of Steroid Biochemistry and Molecular Biology 107 1 2 42 47 doi 10 1016 j jsbmb 2007 02 005 PMID 17646097 CS1 maint multiple names authors list link Massart F Becherini L Marini F Noci I Piciocchi L Del Monte F Masi L Falchetti A Tanini A Scarselli G Brandi L 2003 Analysis of estrogen receptor ERalpha and ERbeta and progesterone receptor PR polymorphisms in uterine leiomyomas Medical science monitor international medical journal of experimental and clinical research 9 1 BR25 BR30 PMID 12552233 CS1 maint multiple names authors list link Fischer C Juhasz Boess I Lattrich C Ortmann O Treeck O 2010 Estrogen receptor b gene polymorphisms and susceptibility to uterine fibroids Gynecological Endocrinology 26 1 4 doi 10 3109 09513590903159573 PMID 19639498 CS1 maint multiple names authors list link Al Hendy A Salama SA 2006 Ethnic distribution of estrogen receptor a polymorphism is associated with a higher prevalence of uterine leiomyomas in black Americans Fertility and Sterility 86 3 686 doi 10 1016 j fertnstert 2006 01 052 PMID 16860797 Nam DH Ramachandran S Song DK Kwon KY Jeon DS Shin SJ Kwon SH Cha SD Bae I Cho CH 2007 Growth inhibition and apoptosis induced in human leiomyoma cells by treatment with the PPAR gamma ligand ciglitizone Molecular Human Reproduction 13 11 829 836 doi 10 1093 molehr gam071 PMID 17893092 CS1 maint multiple names authors list link Zhang CH Wen ZQ Li JF Li CZ Shi M Yang GW Lan SM Zhu Y Wang F Zhang YJ Wang YY Zhang H 2008 Inhibition of proliferation and transforming growth factor beta3 protein expression by peroxisome proliferators activated receptor gamma ligands in human uterine leiomyoma cells Chinese medical journal 121 2 166 171 PMID 18272045 CS1 maint multiple names authors list link Boynton Jarrett R Rich Edwards J Malspeis S Missmer SA Wright R 2005 A Prospective Study of Hypertension and Risk of Uterine Leiomyomata American Journal of Epidemiology 161 7 628 doi 10 1093 aje kwi072 PMID 15781952 CS1 maint multiple names authors list link Isobe A Takeda T Sakata M Miyake A Yamamoto T Minekawa R Nishimoto F Oskamoto Y Walker CL Kimura T 2007 Dual repressive effect of angiotensin II type 1 receptor blocker telmisartan on angiotensin II induced and estradiol induced uterine leiomyoma cell proliferation Human Reproduction 23 2 440 446 doi 10 1093 humrep dem247 PMID 17993476 CS1 maint multiple names authors list link Shozu M Murakami K Inoue M 2004 Aromatase and Leiomyoma of the Uterus Seminars in Reproductive Medicine 22 1 51 doi 10 1055 s 2004 823027 PMID 15083381 CS1 maint multiple names authors list link Bulun SE Yang S Fang Z Gurates B Tamura M Zhou J Sebastian S 2001 Role of aromatase in endometrial disease The Journal of Steroid Biochemistry and Molecular Biology 79 1 5 19 25 doi 10 1016 S0960 0760 01 00134 0 PMID 11850203 CS1 maint multiple names authors list link Ishikawa H Reierstad S Demura M Rademaker AW Kasai T Inoue M Usui H Shozu M Bulun SE 2009 High Aromatase Expression in Uterine Leiomyoma Tissues of African American Women Journal of Clinical Endocrinology amp Metabolism 94 5 1752 1756 doi 10 1210 jc 2008 2327 PMC 2684481 PMID 19240151 CS1 maint multiple names authors list link Hodge JC Morton CC 2007 Genetic heterogeneity among uterine leiomyomata insights into malignant progression Human Molecular Genetics 16 Spec No 1 R7 13 doi 10 1093 hmg ddm043 PMID 17613550 Payson M Malik M Siti Nur Morris S Segars JH Chason R Catherino WH 2009 Activating transcription factor 3 gene expression suggests that tissue stress plays a role in leiomyoma development Fertil Steril 92 2 748 55 doi 10 1016 j fertnstert 2008 06 030 PMID 18692824 CS1 maint multiple names authors list link Nierth Simpson EN Martin MM Chiang TC Melnik LI Rhodes LV Muir SE Burow ME McLachlan JA 2009 Human uterine smooth muscle and leiomyoma cells differ in their rapid 17beta estradiol signaling implications for proliferation Endocrinology 150 5 2436 2445 doi 10 1210 en 2008 0224 PMC 2671893 PMID 19179429 CS1 maint multiple names authors list link 41 0 41 1 Weston G Trajstman AC Gargett CE Manuelpillai U Vollenhoven BJ Rogers PA 2003 Fibroids display an anti angiogenic gene expression profile when compared with adjacent myometrium Molecular human reproduction 9 9 541 549 doi 10 1093 molehr gag066 PMID 12900513 CS1 maint multiple names authors list link Goto A Takeuchi S Sugimura K Maruo T 2002 Usefulness of Gd DTPA contrast enhanced dynamic MRI and serum determination of LDH and its isozymes in the differential diagnosis of leiomyosarcoma from degenerated leiomyoma of the uterus Int J Gynecol Cancer 12 4 354 61 doi 10 1046 j 1525 1438 2002 01086 x PMID 12144683 CS1 maint multiple names authors list link Fibroids NHS Choices U K National Health Service Tan N McClure TD Tarnay C Johnson MT Lu DS Raman SS 2014 Women seeking second opinion for symptomatic uterine leiomyoma Role of comprehensive fibroid center Journal of Therapeutic Ultrasound 2 3 doi 10 1186 2050 5736 2 3 CS1 maint multiple names authors list link Zapata LB Whiteman MK Tepper NK Jamieson DJ Marchbanks PA Curtis KM 2010 Intrauterine device use among women with uterine fibroids a systematic review Contraception 82 1 41 55 doi 10 1016 j contraception 2010 02 011 PMID 20682142 CS1 maint multiple names authors list link Jindabanjerd K Taneepanichskul S 2006 The use of levonorgestrel IUD in the treatment of uterine myoma in Thai women Journal of the Medical Association of Thailand Chotmaihet thangphaet 89 Suppl 4 S147 51 PMID 17726816 47 0 47 1 47 2 47 3 47 4 47 5 Sankaran S Manyonda IT 2008 Medical management of fibroids PDF Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 22 4 655 76 doi 10 1016 j bpobgyn 2008 03 001 PMID 18468953 Kailasam C Cahill D 2008 Review of the safety efficacy and patient acceptability of the levonorgestrel releasing intrauterine system Patient preference and adherence 2 293 302 PMC 2770406 PMID 19920976 Sayyah Melli M Tehrani Gadim S Dastranj Tabrizi A Gatrehsamani F Morteza G Ouladesahebmadarek E Farzadi L Kazemi Shishvan M 2009 Comparison of the effect of gonadotropin releasing hormone agonist and dopamine receptor agonist on uterine myoma growth Histologic sonographic and intra operative changes Saudi medical journal 30 8 1024 33 PMID 19668882 CS1 maint multiple names authors list link 50 0 50 1 Nieman LK Blocker W Nansel T Mahoney S Reynolds J Blithe D Wesley R Armstrong A 2011 Efficacy and tolerability of CDB 2914 treatment for symptomatic uterine fibroids A randomized double blind placebo controlled phase IIb study Fertility and Sterility 95 2 767 772 e1 772 doi 10 1016 j fertnstert 2010 09 059 PMID 21055739 CS1 maint multiple names authors list link Levens ED Potlog Nahari C Armstrong AY Wesley R Premkumar A Blithe DL Blocker W Nieman LK 2008 CDB 2914 for Uterine Leiomyomata Treatment Obstetrics amp Gynecology 111 5 1129 1136 doi 10 1097 AOG 0b013e3181705d0e PMC 2742990 PMID 18448745 CS1 maint multiple names authors list link Donnez J Tatarchuk TF Bouchard P Puscasiu L Zakharenko NF Ivanova T Ugocsai G Mara M Jilla MP Bestel E Terrill P Osterloh I Loumaye E 2012 Ulipristal acetate versus placebo for fibroid treatment before surgery N Engl J Med 366 5 409 20 doi 10 1056 NEJMoa1103182 PMID 22296075 CS1 maint multiple names authors list link Tristan M Orozco LJ Steed A Ramirez Morera A Stone P 2012 Orozco Leonardo J b k Cochrane Database of Systematic Reviews Cochrane database of systematic reviews Online 8 CD007687 doi 10 1002 14651858 CD007687 pub2 PMID 22895965 chapter ignored help CS1 maint multiple names authors list link Engman M Granberg S Williams AR Meng CX Lalitkumar PG Gemzell Danielsson K August 2009 Mifepristone for Treatment of Uterine Leiomyoma A Prospective Randomized Placebo Controlled Trial Human Reproduction 24 8 1870 9 doi 10 1093 humrep dep100 PMID 19389793 CS1 maint multiple names authors list link Malartic C Morel O Akerman G Tulpin L Desfeux P Barranger E 2008 La mifepristone dans la prise en charge des fibromes uterins Gynecologie Obstetrique amp Fertilite 36 6 668 74 doi 10 1016 j gyobfe 2008 01 017 PMID 18539512 CS1 maint multiple names authors list link Wilkens J Williams AR Chwalisz K Han C Cameron IT Critchley HO 2009 Effect of asoprisnil on uterine proliferation markers and endometrial expression of the tumour suppressor gene PTEN Human reproduction Oxford England 24 5 1036 44 doi 10 1093 humrep den494 PMID 19176543 CS1 maint multiple names authors list link The Embolisation Process FEmISA Fibroid Embolisation Information Support Advice Hirst A Dutton S Wu O Briggs A Edwards C Waldenmaier L Maresh M Nicholson A McPherson K 2008 A multi centre retrospective cohort study comparing the efficacy safety and cost effectiveness of hysterectomy and uterine artery embolisation for the treatment of symptomatic uterine fibroids The HOPEFUL study Health technology assessment Winchester England 12 5 1 248 iii PMID 18331704 CS1 maint multiple names authors list link Liu WM Ng HT Wu YC Yen YK Yuan CC 2001 Laparoscopic bipolar coagulation of uterine vessels a new method for treating symptomatic fibroids Fertility and Sterility 75 2 417 22 doi 10 1016 S0015 0282 00 01724 6 PMID 11172850 CS1 maint multiple names authors list link Kim HS Kim JW Kim MK Chung HH Lee TS Jeon YT Kim YB Jeon HW Yun YH Park NH Song YS Kang SB 2009 A randomized prospective trial of the postoperative quality of life between laparoscopic uterine artery ligation and laparoscopy assisted vaginal hysterectomy for the treatment of symptomatic uterine fibroids clinical trial design Trials 10 8 doi 10 1186 1745 6215 10 8 PMC 2645389 PMID 19178748 CS1 maint multiple names authors list link Akinola OI Fabamwo AO Ottun AT Akinniyi OA 2005 Uterine artery ligation for management of uterine fibroids International journal of gynaecology and obstetrics the official organ of the International Federation of Gynaecology and Obstetrics 91 2 137 40 doi 10 1016 j ijgo 2005 07 012 PMID 16168993 CS1 maint multiple names authors list link Hald K Noreng HJ Istre O Klow NE 2009 Uterine Artery Embolization versus Laparoscopic Occlusion of Uterine Arteries for Leiomyomas Long term Results of a Randomized Comparative Trial Journal of Vascular and Interventional Radiology 20 10 1303 doi 10 1016 j jvir 2009 07 022 PMID 19713130 CS1 maint multiple names authors list link Beck Melinda 2010 01 20 A New Treatment to Help Women Avoid Hysterectomy The Wall Street Journal Metwally M Cheong YC Horne AW 2012 Metwally Mostafa b k Cochrane Database of Systematic Reviews Cochrane database of systematic reviews Online 11 CD003857 doi 10 1002 14651858 CD003857 pub3 PMID 23152222 chapter ignored help CS1 maint multiple names authors list link Agdi M Tulandi T August 2008 Endoscopic management of uterine fibroids Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 22 4 707 16 doi 10 1016 j bpobgyn 2008 01 011 PMID 18325839 FDA Approves New Device to Treat Uterine Fibroids Press release FDA 2004 10 22 subkhnemux 2008 05 26 Shen SH Fennessy F McDannold N Jolesz F Tempany C April 2009 Image guided thermal therapy of uterine fibroids Seminars in ultrasound CT and MR 30 2 91 104 doi 10 1053 j sult 2008 12 002 PMC 2768544 PMID 19358440 CS1 maint multiple names authors list link Stewart EA Rabinovici J Tempany CM Inbar Y Regan L Gostout B Gastout B Hesley G Kim HS Hengst S Gedroyc WM Gedroye WM January 2006 Clinical outcomes of focused ultrasound surgery for the treatment of uterine fibroids Fertil Steril 85 1 22 9 doi 10 1016 j fertnstert 2005 04 072 PMID 16412721 CS1 maint multiple names authors list link Kurashvili J aelakhna 2010 MRgFUS Treatment for Uterine Myomas Safety Effectiveness and Pathogenesis MR guided Focused Ultrasound 2010 2nd International Symposium Explicit use of et al in author help O Sullivan AK Thompson D Chu P Lee DW Stewart EA Weinstein MC January 2009 Cost effectiveness of magnetic resonance guided focused ultrasound for the treatment of uterine fibroids Int J Technol Assess Health Care 25 1 14 25 doi 10 1017 S0266462309090035 PMC 2811401 PMID 19126247 CS1 maint multiple names authors list link Zowall H Cairns JA Brewer C Lamping DL Gedroyc WM Regan L April 2008 Cost effectiveness of magnetic resonance guided focused ultrasound surgery for treatment of uterine fibroids BJOG 115 5 653 62 doi 10 1111 j 1471 0528 2007 01657 x PMC 2344162 PMID 18333948 CS1 maint multiple names authors list link Vos T Flaxman AD Naghavi M Lozano R Michaud C Ezzati M Shibuya K Salomon JA Abdalla S Aboyans V aelakhna Dec 15 2012 Years lived with disability YLDs for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990 2010 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010 Lancet 380 9859 2163 96 doi 10 1016 S0140 6736 12 61729 2 PMID 23245607 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link 73 0 73 1 aemaebb MerckManual Eggert SL Huyck KL Somasundaram P Kavalla R Stewart EA Lu AT Painter JN Montgomery GW Medland SE Nyholt DR Treloar SA Zondervan KT Heath AC Madden PA Rose L Buring JE Ridker PM Chasman DI Martin NG Cantor RM Morton CC October 2012 Genome wide linkage and association analyses implicate FASN in predisposition to Uterine Leiomyomata Am J Hum Genet 91 4 621 8 doi 10 1016 j ajhg 2012 08 009 PMC 3484658 PMID 23040493 CS1 maint multiple names authors list link Tolvanen J Uimari O Ryynanen M Aaltonen LA Vahteristo P 2012 Strong family history of uterine leiomyomatosis warrants fumarate hydratase mutation screening Human Reproduction 27 6 1865 9 doi 10 1093 humrep des105 PMID 22473397 CS1 maint multiple names authors list link Toro JR Nickerson ML Wei MH Warren MB Glenn GM Turner ML Stewart L Duray P Tourre O aelakhna 2003 Mutations in the fumarate hydratase gene cause hereditary leiomyomatosis and renal cell cancer in families in North America Am J Hum Genet 73 1 95 106 doi 10 1086 376435 PMC 1180594 PMID 12772087 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link saenathiekbthawr khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 02 24 subkhnemux 2014 07 14 Helping Black Women Recognize Treat Fibroids NPR subkhnemux 30 March 2011 African American Women and Fibroids Philadelphia Black Women s Health Project subkhnemux 30 March 2011 Wise LA Palmer JR Stewart EA Rosenberg L March 2005 Age specific incidence rates for self reported uterine leiomyomata in the Black Women s Health Study Obstet Gynecol 105 3 563 8 doi 10 1097 01 AOG 0000154161 03418 e3 PMC 1847590 PMID 15738025 CS1 maint multiple names authors list link Minority Women s Health Women s Health gov khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2010 08 30 subkhnemux 2014 07 14 82 0 82 1 82 2 Black Women and High Prevalence of Fibroids Fibroid Treatment Collective November 29 2010 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2010 12 25 subkhnemux 30 March 2011 Wise LA Radin RG Palmer JR Kumanyika SK Rosenberg L 2010 A prospective study of dairy intake and risk of uterine leiomyomata Am J Epidemiol 171 2 221 32 doi 10 1093 aje kwp355 PMC 2800240 PMID 19955473 Unknown parameter laysummary ignored help CS1 maint multiple names authors list link Wise LA Palmer JR Reich D Cozier YC Rosenberg L March 2012 Hair relaxer use and risk of uterine leiomyomata in African American women Am J Epidemiol 175 5 432 40 doi 10 1093 aje kwr351 PMC 3282879 PMID 22234483 CS1 maint multiple names authors list link http officeofbudget od nih gov pdfs FY11 Approp 20History 20by 20IC 20 FINAL pdf Backlin BM Eriksson L Olovsson M March 2003 Histology of uterine leiomyoma and occurrence in relation to reproductive activity in the Baltic gray seal Halichoerus grypus Vet Pathol 40 2 175 80 doi 10 1354 vp 40 2 175 PMID 12637757 CS1 maint multiple names authors list link aehlngkhxmulxun aekikhkarcaaenkorkhV T DICD 10 D25ICD 9 CM 218OMIM 150699MeSH D007889DiseasesDB 4806thrphyakrphaynxkMedlinePlus 000914eMedicine radio 777Patient UK enuxngxkmdlukkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb enuxngxkmdlukNIH Fibroid Treatment Study Information and NIH research Archived 2013 03 18 thi ewyaebkaemchchin ekhathungcak https th wikipedia org w index php title enuxngxkmdluk amp oldid 9563149, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม