fbpx
วิกิพีเดีย

แจ๊ส

แจ๊ส หรือ แจซ (อังกฤษ: Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา

แจ๊ส
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบบลูส์ - โฟล์ก - มาร์ช - แร็กไทม์
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรมต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1910 ในนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา
เครื่องบรรเลงสามัญโซปราโนแซกโซโฟน - อัลโตแซกโซโฟน - คลาริเน็ต - ไวบราโฟน - ทรัมเป็ต - เปียโน - กีตาร์ - แบนโจ - ทูบา - ดับเบิลเบส - กีตาร์เบส - เสียงร้อง - ทรอมโบน - กลองชุด
แนวย่อย
เอเชียนอเมริกันแจ๊ส - อวอง-การ์ดแจ๊ส - บีบอป - บิกแบนด์ - แชมเบอร์แจ๊ส - คอนติเนนทอลแจ๊ส - คูลแจ๊ส - ฟรีแจ๊ส - ยิปซีแจ๊ส - ฮาร์ดบอป - ลาตินแจ๊ส - เมนสตรีมแจ๊ส - เอ็ม-เบส - นีโอ-บอป - ออร์เคสตราแจ๊ส - โพสต์-บอป - โชลแจ๊ส - สไตรด์ - สวิง - เธิร์ดสตรีม - เทรดดิชันแนลแจ๊ส - เทรดดิชันแนลป็อป - โวคอลแจ๊ส
แนวประสาน
แอซิดแจ๊ส - อัฟโฟรบีต - บลูกราส - บอสซาโนวา - ครอสโอเวอร์แจ๊ส - ดันส์แบนด์ - ฟรีฟังก์ - ฮัพบา - แจมแบนด์ - แจ๊สคอร์ - แจ๊สฟังก์ - แจ๊สฟีวชัน - แจ๊สแร็ป - Kwela - ลิฟทรอนิกา - แมมโบ - มะนิลาซาวด์ - นูแจ๊ส - นูโซล - พังก์แจ๊ส - ชิบุยะเค - สกาแจ๊ส - สมูธแจ๊ส - สวิงรีไววอล - เวิลด์ฟีวชัน - Yé-yé

ความหมายของคำว่า แจ๊ส

ความหมายของคำว่าแจ๊ส เคยมีผู้พยายามนิยามความหมายไว้หลายแบบ ซึ่งยากต่อการนิยาม ตามความหมายของคำว่าแจ๊สในในพจนานุกรมไทยวัฒนาพานิช โดย วิทูลย์ สมบูรณ์ หมายถึง ดนตรีเต้นรำเล่นลัดจังหวะ, เล่นดนตรีชนิดนี้, เต้นรำ เข้ากับดนตรีชนิดนี้ สำหรับพจนานุกรมฉบับอ๊อกฟอร์ดให้คำจำกัดความไว้ว่า "เป็นดนตรีที่ถือกำเนิดจากชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันซึ่งมีจังหวะชัดเจนที่เล่นอย่างอิสระโดยการประสานกันขึ้นเองของนักดนตรีในขณะที่กำลังบรรเลง"

ดุ๊ก เอลลิงตันเคยกล่าวไว้ว่า "แจ๊สก็คือดนตรีทั้งหมดรวมกัน" ซึ่งก็มีนักวิจารณ์พูดว่า เอลลิงตันนั้นจริง ๆ แล้วเขาไม่ได้ทำดนตรีแจ๊ส เพื่อนของเอลลิงตันอีกคนชื่อ เอิร์ล ไฮนส์ กล่าวไว้ว่า มันคือ "ดนตรีเปลี่ยนรูป" ส่วนเบน แรตลิฟฟ์ นักวิจารณ์จากนิวยอร์กไทม์สเคยกล่าวไว้ว่า "ตัวอย่างที่ดีที่จะอธิบายขั้นตอนของแจ๊สมันไม่มีเลย"

ประวัติ

 
หลุยส์ อาร์มสตรอง นักดนตรีแจ๊สที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง

ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น

รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues) คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) คือ การแต่งทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ สด ๆ โดยไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า หรือการโซโล่แบบด้นสด ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้าย ๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา

เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลาย ๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวม ๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส

ทศวรรษที่ 1920 และ 1930

 
บิลลี ฮอลิเดย์

สหรัฐเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแอนเจลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้น ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle

ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band)

สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และองค์ประกอบของวงก็เริ่มลงตัว มีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง คือ กลุ่มแตรซึ่งมีทรัมเปทและทรอมโบนเป็นหลัก จำนวน3-5 คัน, เครื่องลมไม้ มีแซกโซโฟนเป็นหลัก จำนวน 3-5 คันและมักมีคลาริเนต ไว้ให้นักแซกโซโฟนเพื่อให้เล่นสลับกันด้วย และเครื่องให้จังหวะ ได้แก่ กลองชุดซึ่งมีกลองเพิ่มเติม และกระดึงกับฉาบเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ มีเปียโน สตริงเบส และกีตาร์ ส่วนแบนโจก็จะถูกแทนที่ด้วยเปียโน

ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง

ทศวรรษที่ 1940

เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก

คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว (การร้องโน้ต2 ตัวเร็ว ๆ) บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม

ทศวรรษที่ 1950

ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส (Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blue ของเดวิสในปี 1959 เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของฟรีแจ๊ส การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย

ต่อมา ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น หลาย ๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น

ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลัง ๆ

ทศวรรษที่ 1970

หลังจากช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นยุคที่เพลงร็อก (ร็อกแอนด์โรล) มีอิทธิพลต่อวงการเพลง หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน ซึ่งในช่วงนั้นคือการรวมกันของดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อก เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่นมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีสองประเภททั้ง เครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออีเลคโทรนิค มีกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะที่ใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ และมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติอื่นเช่น เครื่องดนตรีจากแอฟริกา ลาตินอเมริกา หรืออินเดีย และอีกสองลักษณะเด่นของฟิวชั่นแจ๊สคือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบสและการซ้ำทวนของจังหวะ

ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม Bitches Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา

แจ๊สยุคใหม่

 
จามิโรไคว์ ศิลปินแอซิดแจ๊ส

ยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น

ช่วงต้นทศวรรษที่ 80 แจ๊สได้รับความนิยมระดับนึงมีการผสมแจ๊สเข้ากับป็อป เรียกป็อปฟิวชัน หรือ สมูธแจ๊ส ประสบความสำเร็จในยอดการเปิดออกอากาศในสถานีวิทยุ นักแซกโซโฟนสมูธแจ๊สอย่าง กรูเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์, เคนนี จี และ นาจี เพลงของพวกเขาเล่นในสถานีวิทยุโดยมักจะทำเพลงร่วมกับเพลงแนว ไควเอ็ดสตรอมในตลาดคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา อย่างเช่นเล่นในเพลงของศิลปินอย่าง อะนิทา เบเกอร์, ชากา คาน, อัล จาร์รู และชาเด เป็นต้น

มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz) ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)

ดูเพิ่ม

  • แจ๊สแดนซ์

อ้างอิง

  1. "แจ๊ส, แจซ (๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒)" (PDF). สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 1 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563. Check date values in: |access-date=, |date= (help)
  2. ดนตรีแจ๊สปัจจุบันที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • อนันต์ ลือประดิษฐ์, Jazz อิสรภาพทางดนตรีของมนุษยชาติ, เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป ISBN 974-392-991-6
  • ประทักษ์ ไฝ่ศุภการ, ฤๅจะอ่อนหวานปานแจ๊ส, สำนักพิมพ์สามัญชน, ISBN 974-7607-44-1
  • ประทักษ์ ไฝ่ศุภการ, ฤๅจะร้อนเร่าเท่าแจ๊ส, สำนักพิมพ์สามัญชน, ISBN 974-7607-46-8
  • ยุคสมัยของดนตรีแจ๊ส

แหล่งข้อมูลอื่น

แจ, หร, แจซ, งกฤษ, jazz, เป, นล, กษณะดนตร, ชน, ดหน, งท, ฒนามาจากกล, มคนผ, วส, ในสหร, ฐอเมร, กา, african, americans, ในช, วงปลายคร, สต, ศตวรรษท, โดยม, กษณะพ, เศษค, อโน, ตบล, การล, ดจ, งหวะ, งหวะสว, การโต, และตอบทางดนตร, และการเล, นสด, โดยถ, อเป, นล, กษณะดนตร, ค. aecs hrux aecs xngkvs Jazz 1 epnlksnadntrichnidhnungthiphthnamacakklumkhnphiwsiinshrthxemrika African Americans inchwngplaykhriststwrrsthi 20 odymilksnaphiesskhuxontblus karldcnghwa cnghwaswing karotaelatxbthangdntri aelakarelnsd odyaecsthuxepnlksnadntrikhlassikchnidhnungkhxngshrthxemrikaaecsaehlngkaenidthangrupaebbblus oflk march aerkithmaehlngkaenidthangwthnthrrmtnkhristthswrrsthi 1910 inniwxxrlins rthluyesiyna shrthxemrikaekhruxngbrrelngsamyospraonaeskosofn xlotaeskosofn khlarient iwbraofn thrmept epiyon kitar aebnoc thuba dbebilebs kitarebs esiyngrxng thrxmobn klxngchudaenwyxyexechiynxemriknaecs xwxng kardaecs bibxp bikaebnd aechmebxraecs khxntiennthxlaecs khulaecs friaecs yipsiaecs hardbxp latinaecs emnstrimaecs exm ebs niox bxp xxrekhstraaecs ophst bxp ochlaecs sitrd swing ethirdstrim ethrddichnaenlaecs ethrddichnaenlpxp owkhxlaecsaenwprasanaexsidaecs xfofrbit blukras bxssaonwa khrxsoxewxraecs dnsaebnd frifngk hphba aecmaebnd aecskhxr aecsfngk aecsfiwchn aecsaerp Kwela lifthrxnika aemmob manilasawd nuaecs nuosl phngkaecs chibuyaekh skaaecs smuthaecs swingriiwwxl ewildfiwchn Ye ye enuxha 1 khwamhmaykhxngkhawa aecs 2 prawti 2 1 thswrrsthi 1920 aela 1930 2 2 thswrrsthi 1940 2 3 thswrrsthi 1950 2 4 thswrrsthi 1970 2 5 aecsyukhihm 3 duephim 4 xangxing 5 hnngsuxxanephimetim 6 aehlngkhxmulxunkhwamhmaykhxngkhawa aecs aekikhkhwamhmaykhxngkhawaaecs ekhymiphuphyayamniyamkhwamhmayiwhlayaebb sungyaktxkarniyam tamkhwamhmaykhxngkhawaaecsininphcnanukrmithywthnaphanich ody withuly smburn hmaythung dntrietnraelnldcnghwa elndntrichnidni etnra ekhakbdntrichnidni sahrbphcnanukrmchbbxxkfxrdihkhacakdkhwamiwwa epndntrithithuxkaenidcakchawxemriknechuxsayaexfriknsungmicnghwachdecnthielnxyangxisraodykarprasanknkhunexngkhxngnkdntriinkhnathikalngbrrelng duk exllingtnekhyklawiwwa aecskkhuxdntrithnghmdrwmkn sungkminkwicarnphudwa exllingtnnncring aelwekhaimidthadntriaecs ephuxnkhxngexllingtnxikkhnchux exirl ihns klawiwwa mnkhux dntriepliynrup swnebn aertliff nkwicarncakniwyxrkithmsekhyklawiwwa twxyangthidithicaxthibaykhntxnkhxngaecsmnimmiely prawti aekikh hluys xarmstrxng nkdntriaecsthimichuxesiyngthanhnung dntriaecsmitnkaenidrawthswrrs 1920 odywngdndriwngaerkthinasaeniyngaecsmasuphufnghmumakkhux di xxricinl diksiaelnd aecs aebnd The Original Dixieland Jazz Band ODJB dwycnghwaetnrathiaeplkihm thaihoxdiecbiepnthiklawkhwyknxyangmak phrxmkbihkaenidkhawa aecs tamchuxwngdntri oxdiecbisamarthkhayaephnidthunglanaephnraklukkhxngaecsnnmimacakephlngblus Blues khnphiwdathielnephlngblusehlanieriynrudntricakkarfngepnphunthan cungelndntriaebbthukbangphidbang ephraacamaimkhrbthwn mikarkhyaykhwamdwykhwamphungphxickhxngtwexngepnhlk sungklayepnthimakhxngkhitptiphan Improvisation khux karaetngthanxngephlngkhunmaihm sd odyimidetriymtwmalwnghna hruxkarosolaebbdnsd inphayhlngdntriaerkithm Ragtime kechuxwamitnkaenidkhlay knkhux ekidcakdntriyuorpphsmkbcnghwakhdkhxngaexfrikn blusaelaaerkithmniexngthiepnrakkhxngdntriaecsinewlatxmaephlngbluserimidrbkhwamniyminchwngewlaediywknkbaerkithm play thswrrs 1910 ephlngblusaelaaerkithmthukphsmphsancnklmklunody bddi obledn Charles Joseph Buddy Bolden epnphurierim hakaetewlannyngimmikarpradisthkhawaaecskhunma aelaeriykdntriehlanirwm knwa hxt miwsik Hot Music cnkrathngoxdiecbiodngdng khawa aecs cungepnkhathiicheriykkhanknthw aecsinyukhaerknieriykknwaepn aecsdngedim hrux niwxxrlinsaecs thswrrsthi 1920 aela 1930 aekikh billi hxliedy shrthekharwmsngkhramolkkhrngthihnung thangkarsngpidsthaneringrmninniwxxrlins thaihnkdntriswnihyedinthangmahakininchikhaok niwyxrk aela lxsaexneclis thngsamemuxngcungklayepnaehlngbmephaankdntriaecsinchwngnn chikhaokducaepnemuxngthimikhwamkawhnathangdntriaecsehnuxkwaxiksxngemuxng ephraaminkdntrimathanganmak chikhaokepnemuxngthithaih hluys xarmstrxng Louis Armstrong epnthiruck aelaklayepnnkdntri nkrxngaecschuxkxngolkinewlatxma indankarphthna chikhaokmidntriaecsthisubsaymacakniwxxrlinsaetmilksnaechphaatw mikarthdlxngcdwnginaebbkhxngtwexng erimexaekhruxngdntriihm echn aeskosofnmaichrwmkb khxrent thrmept mikarthdlxngaenwdntriihm echn karelnepiyonaebbsitrd Stride piano khxngecms cxhnsn James P Johnson sungmiphunthancakaerkithm karthdlxnglakontihyawcnphufngkhadedaidyakkhxngxarmstrxng aelakarprbaephthethirnkhxngcnghwaknihmepn Chicago Shuffleswnniwyxrkrbhnathiepnsunyklangkhxngaecsinyukhplaythswrrs 1920 aethnchikhaok dntriaecsinniwyxrkphthnaephuxepndntrietnraihkhwamsnuksnanbnething aelaepnthimakhxng swing Swing aela bikaebnd Big Band swingepndntrithikxihekidkarcdwngaebbihmthieriykwa bikaebnd sungidrbkhwamniymxyangrwderw aelaxngkhprakxbkhxngwngkerimlngtw mikaraebngokhrngsrangekhruxngdntriepnsamswnkhux ekhruxngthxngehluxng khux klumaetrsungmithrmepthaelathrxmobnepnhlk canwn3 5 khn ekhruxnglmim miaeskosofnepnhlk canwn 3 5 khnaelamkmikhlarient iwihnkaeskosofnephuxihelnslbkndwy aelaekhruxngihcnghwa idaek klxngchudsungmiklxngephimetim aelakradungkbchabephimkhunxik nxkcakni miepiyon stringebs aelakitar swnaebnockcathukaethnthidwyepiyonsilpinthiaecngekidinyukhniechn exlla fithsecxrld Ella Fitzgerald billi hxliedy Billy Holiday aelahluys xarmstrxng cudednkhxngnkrxngaecskhuxkar saekt Scat hruxeplngesiyng hmephlng aethnekhruxngdntri sungnbepnkaraesdngkhitptiphankhxngnkrxng thswrrsthi 1940 aekikh ephlngswingmathungcudximtwemuxnkdntrierimebuxhnaykarcdwngaelakareriyberiyngthikhxnkhangtaytw cungerimekidkarhaaenwthangihm elntamkhwamphxichlngkarsxmhruxelndntri hruxeriykwa aecm Jam session charli ebird pharkhekxr Charlie Bird Parker nkaeskosofn aela dissi kilelspi Dizzy Gillespie nkthrmept esnxaecsinaenwthangihmkhunma emuxthngsxngrwmtngwnghachinaelaxxkxlbmtamaenwthangdngklaw khawa bibxph Bebop ribxph Rebop hrux bxph Bop kklayepnkhatidpakkhawabibxphechuxknwamacaksaektkhxngontsxngtw karrxngont2 twerw bxphmisumesiyng cnghwa karsxdprasanthitangipcakswingkhxnkhangmak echncnghwaimidbngkhbepn 4 4 ehmuxnswing ichkhxrdaethn Alternate chords inkhnathiosolaelakaraesdngkhitptiphanyngkhngwangbnkhxrdedim thswrrsthi 1950 aekikh imls edwis aela cxhn okhlethrn John Coltrane kmalngtwkbthwngthanxngthiichharomnikhxngohmd Mode makkwa khxrd klaymaepn omdlaecs Modal Jazz inewlatxma odymixlbm Kind of Blue khxngedwisinpi 1959 epnehmuxncuderimtnkhxngfriaecs karichohmdthaihnkdntrisamarthosol hruxaesdngkhitptiphanidxisrayingkhun ephraaimmikhxcakderuxngkhxrdehmuxnthiphanma cungekidseklaeplkihmmakmaytxma xxrent okhlaemn Ornette Coleman nkaeskosofnkesnxxikaenwthanghnungthiihxisrayingkwaomdlaecs khuxdntrisayfriaecs Free Jazz sungennptismphnthepnaekn xasykhwamrusukaelakhitptiphanxyanghnkhnwng sungmiokhrngsrangkhxngephlngephiyngkhraw ethann hlay ephlngimmiaemaetcnghwathanxng immihxngdntri aelamkenncnghwatbhruxkarrksakhwamerwcnghwanxykwaaecsyukhkxn swnekhruxngdaenincnghwa aelaaenwebsidrbkarennihmixisrainkarbrrelngmakkhundntriinaenwfriaecsaelathiiklekhiyngkninewlannthnghmderiykrwmwa xwxngt kard Avante Garde nxkcak okhlaemnaelw phuthimichuxesiynginfriaecs echn xlebirt ixyelxr Albert Ayler sungepnphuchknaih okhlethrnhnmasnicfriaecsinrayahlng thswrrsthi 1970 aekikh hlngcakchwngthswrrs 1960 sungepnyukhthiephlngrxk rxkaexndorl mixiththiphltxwngkarephlng hlngkaenidfriaecs inchwngtnthswrrs 1970 idekiddntriaecsxikaenwthieriykwa fiwchn Fusion sungbngchithungkarnadntrisxngaenwhruxmakkwamahlxmrwmkn sunginchwngnnkhuxkarrwmknkhxngdntriaecsekhakbrxkepnhlk odykarichrupaebbcnghwa aelasisnkhxngephlngrxk ekhruxngdntriinwngfiwchnmkprakxbdwyekhruxngdntrisxngpraephththng ekhruxngdntridngedim aelaekhruxngdntriiffa hruxxielkhothrnikh miklumekhruxngprakxbcnghwathiihykwaaecsyukhkxn aelamkmiekhruxngdntritangchatixunechn ekhruxngdntricakaexfrika latinxemrika hruxxinediy aelaxiksxnglksnaednkhxngfiwchnaecskhux aenwthanxngkhxngxielkhothrnikhebsaelakarsathwnkhxngcnghwaimls edwis nkptiwtidntriaecs kidhyibexaokhrngsrangkhxngrxkmarwmkbaecs thdlxngichekhruxngdntriiffa ekhruxngdntripraephthsngekhraahesiyng odyerimcakxlbm In A Silent Way kxncamaepnxlbm Bitches Brew sungepntnaebbkhxngaenwfiwchninewlatxma aecsyukhihm aekikh camiorikhw silpinaexsidaecs yukhhlngthswrrs 1970 fiwchnimidkhrxbkhlumephiyngaecs rxk hakrwmthungdntriyukhhlng echn aecs ruthumaexndblus aecs fngki aecs pxp epntn fiwchnyukhhlngnimixiththiphlkbaenwdntriniwexc New Age aela ewild miwsik World Music inewlatxmaodymisngkd ECM aela windaehm hil Windham Hill nkdntrifiwchnthiodngdngmihlaykhn echn khith carert Keith Jarrett aephth emthini Pat Metheny bill friesl Bill Frisell otchioka xakioychi Toshiko Akiyoshi sadaoxa watanaeb Sadao Watanabe epntnchwngtnthswrrsthi 80 aecsidrbkhwamniymradbnungmikarphsmaecsekhakbpxp eriykpxpfiwchn hrux smuthaecs prasbkhwamsaercinyxdkarepidxxkxakasinsthaniwithyu nkaeskosofnsmuthaecsxyang kruewxr wxchingtn cueniyr ekhnni ci aela naci ephlngkhxngphwkekhaelninsthaniwithyuodymkcathaephlngrwmkbephlngaenw ikhwexdstrxmintladkhnphiwsiinshrthxemrika xyangechnelninephlngkhxngsilpinxyang xanitha ebekxr chaka khan xl carru aelachaed epntnmikhwamphyayamhasumesiyngihm cakfiwchnehmuxnkn echn aexsidaecs Acid Jazz hruxkrufaecs Groove Jazz sungepnphlkarphsmrahwangaecs osl fngki aelahiphxp echn camiorikhw Jamiroquai xikaenwthiiklkbaexsidaecskhux nuaecs Nu Jazz hrux xielkothraecs Electro Jazz sungekidinplaythswrrs 1990 odynaenuxhnngkhxngaecsmaphsmphsandwydntrixielkthrxniks ekhruxngsngekhraahesiyng echn wngxielkothrnika Electronica duephim aekikhaecsaednsxangxing aekikh 2 aecs aecs 1 mkrakhm ph s 2562 PDF sanknganrachbnthityspha 1 mkrakhm 2562 subkhnemux 4 mkrakhm 2563 Check date values in access date date help dntriaecspccubnthiidrbkhwamniyminpraethsithyhnngsuxxanephimetim aekikhxnnt luxpradisth Jazz xisrphaphthangdntrikhxngmnusychati enchn mltimiediy krup ISBN 974 392 991 6 prathks ifsuphkar vicaxxnhwanpanaecs sankphimphsamychn ISBN 974 7607 44 1 prathks ifsuphkar vicarxneraethaaecs sankphimphsamychn ISBN 974 7607 46 8 yukhsmykhxngdntriaecsaehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb aecs wikikhakhm mikhakhmphasaxngkvs thiklawodyhruxekiywkb Jazzekhathungcak https th wikipedia org w index php title aecs amp oldid 8871433, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม