fbpx
วิกิพีเดีย

การกัดเซาะชายฝั่ง

การกัดเซาะชายฝั่ง (อังกฤษ: coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง

การพังทลายของหน้าผาในฮันสแทนทัน มณฑลนอร์โฟล์ค ประเทศอังกฤษ มีสาเหตุมาจากการกัดเซาะชายฝั่งของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง

ลักษณะภูมิประเทศ

 
เขาตาปู จังหวัดพังงา

การกัดเซาะจากคลื่น ลม สามารถทำให้ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภูมิประเทศลักษณะต่าง ๆ (erosional landforms) ดังนี้

หน้าผาชันริมทะเล (Sea Cliff)
พบในบริเวณที่ชายฝั่งมีภูเขาหรือเทือกเขาอยู่ติดกับทะเล หรือชายฝั่ง โดยมีการวางตัวของชั้นหินในแนวเอียงเทหรือแนวตั้งฉากกับทะเล คลื่นจะกัดเซาะชายฝั่งทำให้เกิดภูมิประเทศเหมือนหน้าผาริมทะเลขึ้น สามารถพบได้บริเวณฝั่งทะเลยุบตัว สำหรับประเทศไทยจะอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน
เว้าทะเล (Sea Notch)
เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและการกัดกร่อนละลายของหินบริเวณฐานของหน้าผาชันที่ติดกับทะเลหรือชายฝั่ง จะเห็นเป็นรอยเว้าในแนวระดับซึ่งจะขนานไปกับระดับน้ำทะเลในช่วงเวลาและยุคต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่จะใช้ในการวิเคราะห์ระดับน้ำทะเลในอดีตเทียบกับระดับน้ำทะเลในปัจจุบันได้
โพรงหินชายฝั่ง (Grotto) หรือ ถ้ำทะเล (Sea Cave)
จะเป็นถ้ำที่พบตามบริเวณชายฝั่งทะเล หรือชายฝั่งของเกาะต่างๆ โดยการเกิดถ้ำชนิดนี้จะเกี่ยวข้องกับการกัดเซาะของคลื่นที่หน้าผาชายฝั่งเป็นเวลานานติดต่อกัน จนทำเกิดเป็นช่องหรือโพรงเข้าไป ในช่วงแรกอาจเป็นโพรงขนาดเล็ก (grotto) แต่เมื่อได้รับอิทธิพลจากน้ำฝนและน้ำใต้ดินมาช่วยก็กลายเป็นโพรงขนาดใหญ่ หรือเป็นถ้ำ (cave) ที่เราพบในปัจจุบัน
ถ้ำลอด (Sea Arch)
เป็นลักษณะทางธรณีสัณฐานที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีความสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของคนในการเข้าไปท่องเที่ยวเนื่องจากมีลักษณะพิเศษคือจะเห็นเป็นโพรงหรือถ้ำที่เปิดทะลุออกสู่ทะเลทั้งสองด้าน โดยถ้ำลอดที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย คือ ถ้ำลอดที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา และเขาช่องกระจก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สะพานหินธรรมชาติ (Natural Bridge)
เกิดจากการกระทำของคลื่นและลมที่กัดเซาะแนวหินบริเวณที่ยืนเข้าไปในทะเล โดยในระยะแรกจะเกิดโพรงหินชายฝั่งขึ้นแต่เนื่องจากการกัดเซาะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองด้าน จนในที่สุดโพรงก็ทะลุถึงกัน ซึ่งหินส่วนที่เหลืออยู่เหนือโพรงที่สามรถวางตัวอยู่ได้โดยไม่ถล่มลงมาจะทำให้มีลักษณะคล้ายสะพานเกิดขึ้น ลักษณะสะพานหินที่สามารถพบได้ในประเทศไทยจะตั้งอยู่ที่เกาะไข่ ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
เกาะหินโด่ง (Stack)
หินหรือโขดหินแนวตั้งที่แยกโดดออกมาห่างจากแผ่นดินหรือเกาะที่อยู่ใกล้เคียง จะเกิดได้จากการที่หน้าผาหินยื่นเกินออกไปในทะเล คลื่นและลมกัดเซาะบริเวณส่วนเชื่อมต่อซึ่งไม่แข็งแรงเป็นเวลานาน จนในที่สุดส่วนที่เชื่อมต่อเกิดการพังทลายจมลงไปในน้ำ เหลือเพียงโขดหินที่ตั้งโดดเด่นแยกออกมาต่างหาก โดยในอดีตส่วนที่เคยเชื่อมต่อนั้นอาจเป็นแนวหิน สะพานหินธรรมชาติ หรือถ้ำลอดขนาดใหญ่ก็ได้ แต่เพราะน้ำหนักของหินส่วนบนที่เชื่อมต่ออยู่มีมากเกินกว่าจะสามารถคงอยู่ได้จึงเกิดความไม่สมดุล ในตอนท้ายจึงเกิดการหักพังหรือยุบถล่มลงจมอยู่ใต้น้ำ เราจะพบลักษณะเกาะหินโด่งในประเทศไทยได้ที่เขาตาปูในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Donald J. P. Swift, Coastal Erosion and Transgressive Stratigraphy, The Journal of Geology. Vol. 76, No. 4 (Jul., 1968), pp. 444-456 Published by: The University of Chicago Press
  • Komar, P.D., CRC handbook of coastal processes and erosion. 1983 Jan 01.

การก, ดเซาะชายฝ, งกฤษ, coastal, erosion, เก, ดจากพล, งของคล, ลม, และกระแสน, ำข, นลง, tidal, ranges, งผลกระทบต, อชายฝ, งทำให, การส, กกร, อนพ, งทลายไป, และเป, นต, นเหต, ของการเก, ดร, ปร, างล, กษณะของชายฝ, งทะเลท, แตกต, างก, นไปตามสถานท, างๆชายฝ, งท, พบล, กษณะการ. karkdesaachayfng xngkvs coastal erosion ekidcakphlngkhxngkhlun lm aelakraaesnakhunlng tidal ranges thisngphlkrathbtxchayfngthaihmikarsukkrxnphngthlayip aelaepntnehtukhxngkarekidrupranglksnakhxngchayfngthaelthiaetktangkniptamsthanthitangchayfngthiphblksnakarkdesaaswnmakmkepnbriewnchayfngthaelnaluk thilksnakhxngchayfngmikhwamladchnlngsuthxngthael thaihkhlunlm aelakraaesnasamarthkdesaachayfngidxyangrunaerngkarphngthlaykhxnghnaphainhnsaethnthn mnthlnxroflkh praethsxngkvs misaehtumacakkarkdesaachayfngkhxngkhlun lm aelakraaesnakhunlnglksnaphumipraeths aekikh ekhatapu cnghwdphngnga karkdesaacakkhlun lm samarththaihchayfngthaelepliynaeplngekidepnphumipraethslksnatang erosional landforms dngni hnaphachnrimthael Sea Cliff phbinbriewnthichayfngmiphuekhahruxethuxkekhaxyutidkbthael hruxchayfng odymikarwangtwkhxngchnhininaenwexiyngethhruxaenwtngchakkbthael khluncakdesaachayfngthaihekidphumipraethsehmuxnhnapharimthaelkhun samarthphbidbriewnfngthaelyubtw sahrbpraethsithycaxyubriewnchayfngdanthaelxndamnewathael Sea Notch ekidcakkarkdesaakhxngkhlunaelakarkdkrxnlalaykhxnghinbriewnthankhxnghnaphachnthitidkbthaelhruxchayfng caehnepnrxyewainaenwradbsungcakhnanipkbradbnathaelinchwngewlaaelayukhtang sungthuxwaepnhlkthansakhythicaichinkarwiekhraahradbnathaelinxditethiybkbradbnathaelinpccubnidophrnghinchayfng Grotto hrux thathael Sea Cave caepnthathiphbtambriewnchayfngthael hruxchayfngkhxngekaatang odykarekidthachnidnicaekiywkhxngkbkarkdesaakhxngkhlunthihnaphachayfngepnewlanantidtxkn cnthaekidepnchxnghruxophrngekhaip inchwngaerkxacepnophrngkhnadelk grotto aetemuxidrbxiththiphlcaknafnaelanaitdinmachwykklayepnophrngkhnadihy hruxepntha cave thieraphbinpccubnthalxd Sea Arch epnlksnathangthrnisnthanthimikhwamsakhymakenuxngcakmikhwamswyngam cungepnthiniymkhxngkhninkarekhaipthxngethiywenuxngcakmilksnaphiesskhuxcaehnepnophrnghruxthathiepidthaluxxksuthaelthngsxngdan odythalxdthimichuxesiyngkhxngpraethsithy khux thalxdthixuthyanaehngchatixawphngnga cnghwdphngnga aelaekhachxngkrack cnghwdpracwbkhirikhnthsaphanhinthrrmchati Natural Bridge ekidcakkarkrathakhxngkhlunaelalmthikdesaaaenwhinbriewnthiyunekhaipinthael odyinrayaaerkcaekidophrnghinchayfngkhunaetenuxngcakkarkdesaaekidkhunphrxmknthngsxngdan cninthisudophrngkthaluthungkn sunghinswnthiehluxxyuehnuxophrngthisamrthwangtwxyuidodyimthlmlngmacathaihmilksnakhlaysaphanekidkhun lksnasaphanhinthisamarthphbidinpraethsithycatngxyuthiekaaikh inxuthyanaehngchatitarueta cnghwdstulekaahinodng Stack hinhruxokhdhinaenwtngthiaeykoddxxkmahangcakaephndinhruxekaathixyuiklekhiyng caekididcakkarthihnaphahinyunekinxxkipinthael khlunaelalmkdesaabriewnswnechuxmtxsungimaekhngaerngepnewlanan cninthisudswnthiechuxmtxekidkarphngthlaycmlngipinna ehluxephiyngokhdhinthitngoddednaeykxxkmatanghak odyinxditswnthiekhyechuxmtxnnxacepnaenwhin saphanhinthrrmchati hruxthalxdkhnadihykid aetephraanahnkkhxnghinswnbnthiechuxmtxxyumimakekinkwacasamarthkhngxyuidcungekidkhwamimsmdul intxnthaycungekidkarhkphnghruxyubthlmlngcmxyuitna eracaphblksnaekaahinodnginpraethsithyidthiekhatapuinxuthyanaehngchatixawphngnga cnghwdphngngaduephim aekikhkarkdesaachayfngthaelkhxngpraethsithyxangxing aekikhDonald J P Swift Coastal Erosion and Transgressive Stratigraphy The Journal of Geology Vol 76 No 4 Jul 1968 pp 444 456 Published by The University of Chicago Press Komar P D CRC handbook of coastal processes and erosion 1983 Jan 01 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karkdesaachayfng amp oldid 8050571, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม