fbpx
วิกิพีเดีย

ขจร สุขพานิช

ศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช เป็นนักประวัติศาสตร์ไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วงทศวรรษ 2500-2510 เป็นผู้เสนอข้อมูลและการตีความประวัติศาสตร์ไทยใหม่ ๆ เช่น บทความเรื่อง จดหมายเหตุราชวงศ์หงวน-การพิจารณาใหม่ (พ.ศ. 2514) ของท่านที่ปฏิเสธความเชื่อตามพระมติของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เสนอในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพ่อขุนรามคำแหงเคยเสด็จเยือนเมืองจีน ส่วนผลงานสำคัญและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ ฐานันดรไพร่ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2505)

ประวัติ

ศาสตราจารย์ขจรเกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 ที่ตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี เดิมชื่อ เองจ๋วน เป็นบุตรของขุนรักษาสมบัติ (ชื่อเดิม เชงโห) มารดาชื่อซิว มีพี่น้องรวม 7 คน เข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แล้วได้เป็นมาสเตอร์ (Master) สอนหนังสือที่โรงเรียนดังกล่าวก่อนจบการศึกษา ต่อมาได้ไปสอนที่โรงเรียนมงฟอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ลาออก เข้าทำงานที่กรุงเทพฯ และศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี แต่ยังไม่ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท เนื่องจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นเสียก่อน ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่นั้นศาสตราจารย์ขจรได้รับเลือกเป็นสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เป็นบรรณาธิการของหนังสือ มหาวิทยาลัย ด้วย และศาสตราจารย์ขจรยังเป็นศิษย์โปรดของพระยาอนุมานราชธนด้วย ถึงกับท่านตั้งความหวังว่าจะเป็นตัวแทนทางวิชาประวัติศาสตร์สืบแทนตัวเองต่อไป

ต่อมา ศาสตราจารย์ขจรได้รับราชการที่กรมพาณิชย์ (กระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง) ตามคำชวนของหลวงถวิลเศรษฐพณิชยการระหว่าง พ.ศ. 2484-2487

ต่อมา จึงลาออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว แล้วเข้าทำงานในสำนักงานข้าวของสถานทูตอเมริกันระหว่าง (พ.ศ. 2488-2492) จากนั้น ลาออกมาตั้งบริษัทค้าข้าวของตนเองจนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จึงได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมพ่อค้าไทยหลายสมัย และตัดสินใจเลิกกิจการในช่วง (พ.ศ. 2497-2498)

ในช่วงครึ่งหลังของชีวิตได้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างจริงจัง เดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมที่วิทยาลัยตะวันออกและแอฟริกาศึกษา (School of Oriental and African Studies) มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยแสวงหาหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เขียนบทความ ทำการสอน บรรยายพิเศษ และให้คำปรึกษาแก่นิสิตนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

ศาสตราจารย์ขจรได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2514 และวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน) ได้เสนอแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษในคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2516

ครอบครัว

ศาสตราจารย์ขจร สมรสกับนางชุลี มีบุตรชาย-หญิงรวม 4 คน ดังนี้

  • อภินันท์ สุขพานิช (ประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว)
  • รศ.ดร.ธัญยธรณ์ ขันทปราบ (ชื่อ-สกุลเดิม กนลา สุขพานิช) (ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
  • อ.ธาวิต สุขพานิช (จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส (North Texas University) ในสหรัฐอเมริกา เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)
  • สิทธิกร สุขพานิช (ประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว)

ถึงแก่กรรม

 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดห้องขจร สุขพานิช ณ อาคารหอสมุด (หลังเก่า) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 28 ตุลาคม 2521

ศาสตราจารย์ขจรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2521 อย่างกะทันหัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 29 เมษายน ปีเดียวกัน ซึ่งก่อนถึงแก่กรรมท่านได้ทำพินัยกรรมมอบหนังสือส่วนตัวที่มีจำนวนและคุณค่ามหาศาลแก่หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงมีการตั้งชื่อห้องหนังสือดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านว่าห้องขจร สุขพานิช ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชั้น 6 อาคารหอสมุดกลาง

ผลงานทางวิชาการ

  • การต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรฐ (พ.ศ. 2504)
  • ฐานันดรไพร่ (พ.ศ. 2505)
  • ออกญาวิไชเยนทร์ และการต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 2506)
  • ก้าวแรกของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย (พ.ศ. 2508)
  • กรุงยโสธร-นครธมในประวัติศาสตร์ไทย : คัดจากแถลงผลงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี ปีที่ 1 เล่ม 2 พฤษภาคม 2510 (พ.ศ. 2510)
  • รวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย (พ.ศ. 2512)
  • ไพร่ฟ้าข้าไทย และ จดหมายเหตุราชวงศ์หงวน-การพิจารณาใหม่ (พ.ศ. 2514)
  • ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก (พ.ศ. 2518)
  • ข้อมูลประวัติศาสตร์ก่อนราชวงศ์พระร่วง ; ใครเป็นผู้แต่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2520)
  • คำบรรยายประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 1600-2130 (พ.ศ. 2521)
  • ปัญหาประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย (พ.ศ. 2525)
  • ถิ่นกำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย (ม.ป.ป.)

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาและกรรมการวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทสาขาวิชาประวัติศาสตร์ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน) เช่น เรื่อง

  • นโยบายการจัดการศึกษาของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2512) ของ วุฒิชัย มูลศิลป์,
  • ความสัมพันธ์ระหว่างไทยเขมรและญวนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2514) ของ ถนอม อานามวัฒน์,
  • พระบรมราโชบายเกี่ยวกับปัญหาชาวจีนในพระราชอาณาเขตรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2516) ของ พวงร้อย กล่อมเอี้ยง,
  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ ร.ศ. 112 ถึง ร.ศ. 126 (ค.ศ. 1893-1907) (พ.ศ. 2518) ของ สุวิทย์ ธีรศาศวัต
  • ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสสมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2199-2246) ของ พลับพลึง คงชนะ เป็นต้น

ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต่อมาก็ได้มีบทบาทในวงวิชาการประวัติศาสตร์ไทยต่อมา ซึ่งส่วนหนึ่งก็รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น

  • งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีอนันต์, 2521.
  • ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา. "นายขจร สุขพานิช." ใน ประวัติครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2522.
  • ธันยพงศ์ สารรัตน์ และวรพจน์ วิเศษศิริ (เรียบเรียง). 100 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์พิเศษ ขจร สุขพานิช. กรุงเทพฯ: นิสิตวิชาเอกประวัติศาสตร์ รุ่นที่ 35 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.
  • "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ." ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ 90, 51 (10 พฤษภาคม 2516): 5.
  • วรพจน์ วิเศษศิริ. "ร้อยปีศาสตราจารย์พิเศษ ขจร สุขพานิช: บรมครูแห่งประวัติศาสตร์ไทย." ป๋วย จุลสารเตรียมงานรำลึก 100 ปี ชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 (ตุลาคม 2556): 14-16.
  • วรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และวุฒิชัย มูลศิลป์ (รวบรวม). อนุสรณ์ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม, 2521.
  • วุฒิชัย มูลศิลป์. "ศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช: นักประวัติศาสตร์ผู้ค้นคว้าหาความจริง," วารสารประวัติศาสตร์ ฉบับครบรอบ 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช (2556): 1-18.
  • ศิรินันท์ บุญศิริ. "100 ปี ชาติกาล ศาสตราจารย์พิเศษ ขจร สุขพานิช," วารสารสมาคมประวัติศาสตร์ฯ ฉบับที่ 34-35 (2555-2556): 100-109.
  • ศุภวัฒน์ เกษมศรี, หม่อมราชวงศ์. "การค้นพบครั้งสำคัญของศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช: พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม." ใน ข้าพเจ้ากับวงการประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์, 2559. (ที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒน์ เกษมศรี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2559)
  • สมเกียรติ วันทะนะ. "แนวการเขียนประวัติศาสตร์ไทยของศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช," ใน สังคมศาสตร์วิภาษวิธี. กรุงเทพฯ: วลี, 2524.
  • สารคดี 100 ปีชาตกาล ศ.ขจร สุขพานิช [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=AKu9vXvnPV8

ขจร, ขพาน, บทความน, งต, องการเพ, มแหล, งอ, างอ, งเพ, อพ, จน, ความถ, กต, อง, ณสามารถพ, ฒนาบทความน, ได, โดยเพ, มแหล, งอ, างอ, งตามสมควร, เน, อหาท, ขาดแหล, งอ, างอ, งอาจถ, กลบออกศาสตราจารย, เศษ, เป, นน, กประว, ศาสตร, ไทยท, บทบาทสำค, ญในช, วงทศวรรษ, 2500, 2510, เป. bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxng khunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxksastracaryphiesskhcr sukhphanich epnnkprawtisastrithythimibthbathsakhyinchwngthswrrs 2500 2510 epnphuesnxkhxmulaelakartikhwamprawtisastrithyihm echn bthkhwameruxng cdhmayehturachwngshngwn karphicarnaihm ph s 2514 khxngthanthiptiesthkhwamechuxtamphramtikhxngsmedc krmphrayadarngrachanuphaphthiesnxinphrarachphngsawdarchbbphrarachhtthelkhawaphxkhunramkhaaehngekhyesdceyuxnemuxngcin swnphlngansakhyaelaepnthiruckxyangkwangkhwangkhux thanndriphr phimphkhrngaerk ph s 2505 enuxha 1 prawti 2 khrxbkhrw 3 thungaekkrrm 4 phlnganthangwichakar 5 aehlngkhxmulxunprawti aekikhsastracarykhcrekidemuxwnthi 9 mithunayn ph s 2456 thitablhnxngaekh cnghwdsraburi edimchux exngcwn epnbutrkhxngkhunrksasmbti chuxedim echngoh mardachuxsiw miphinxngrwm 7 khn ekharbkarsuksachntnthiorngeriynxssmchy aelwidepnmasetxr Master sxnhnngsuxthiorngeriyndngklawkxncbkarsuksa txmaidipsxnthiorngeriynmngfxrt cnghwdechiyngihm txmaidlaxxk ekhathanganthikrungethph aelasuksatxthiculalngkrnmhawithyalyinradbpriyyatri aetyngimidsuksatxradbpriyyaoth enuxngcakekidsngkhrammhaexechiyburphakhunesiykxn sungrahwangthieriynxyunnsastracarykhcridrbeluxkepnsaraniykrkhxngsomsrnisitculalngkrnmhawithyaly aelaidepnbrrnathikarkhxnghnngsux mhawithyaly dwy aelasastracarykhcryngepnsisyoprdkhxngphrayaxnumanrachthndwy thungkbthantngkhwamhwngwacaepntwaethnthangwichaprawtisastrsubaethntwexngtxiptxma sastracarykhcridrbrachkarthikrmphanichy krathrwngphanichyinphayhlng tamkhachwnkhxnghlwngthwilesrsthphnichykarrahwang ph s 2484 2487txma cunglaxxkmaprakxbxachiphswntw aelwekhathanganinsankngankhawkhxngsthanthutxemriknrahwang ph s 2488 2492 caknn laxxkmatngbristhkhakhawkhxngtnexngcnprasbkhwamsaercxyangngdngam cungidrbeluxktngepnnayksmakhmphxkhaithyhlaysmy aelatdsinicelikkickarinchwng ph s 2497 2498 inchwngkhrunghlngkhxngchiwitidsnicsuksaprawtisastrithyxyangcringcng edinthangiphakhwamruephimetimthiwithyalytawnxxkaelaaexfrikasuksa School of Oriental and African Studies mhawithyalylxndxn University of London aelamhawithyalyharward Harvard University odyaeswnghahlkthanekiywkbprawtisastrithy ekhiynbthkhwam thakarsxn brryayphiess aelaihkhapruksaaeknisitnksuksathngchawithyaelatangpraethssastracarykhcridrbpriyyaxksrsastrdusdibnthitcakculalngkrnmhawithyalyin ph s 2514 aelawithyalywichakarsuksa mhawithyalysrinkhrinthrwiorthinpccubn idesnxaetngtngihepnsastracaryphiessinkhnamnusythrrmsuksaaelasngkhmsastremux ph s 2516khrxbkhrw aekikhsastracarykhcr smrskbnangchuli mibutrchay hyingrwm 4 khn dngni xphinnth sukhphanich prakxbxachiphxisraswntw rs dr thyythrn khnthprab chux skuledim knla sukhphanich phuxanwykarhlksutrprchyadusdibnthit sakhaphawaphunaechingyuththsastrkhwamepnelis bnthitwithyaly mhawithyalyrachphtswndusit x thawit sukhphanich cbkarsuksaradbpriyyaothcakmhawithyalynxrthethkss North Texas University inshrthxemrika epnxacarypracaphakhwichaprawtisastr khnasilpsastr mhawithyalythrrmsastr pccubnthungaekkrrmaelw siththikr sukhphanich prakxbxachiphxisraswntw thungaekkrrm aekikh smedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari esdc epnkarswnphraxngkh thrngepidhxngkhcr sukhphanich n xakharhxsmud hlngeka mhawithyalysrinkhrinthrwiorth wnthi 28 tulakhm 2521 sastracarykhcrthungaekkrrmemuxwnthi 4 mkrakhm ph s 2521 xyangkathnhn miphithiphrarachthanephlingsphinwnthi 29 emsayn piediywkn sungkxnthungaekkrrmthanidthaphinykrrmmxbhnngsuxswntwthimicanwnaelakhunkhamhasalaekhxsmudklang mhawithyalysrinkhrinthrwiorth cungmikartngchuxhxnghnngsuxdngklawephuxepnekiyrtiaekthanwahxngkhcr sukhphanich pccubntngxyuthichn 6 xakharhxsmudklangphlnganthangwichakar aekikhkartangpraethsinaephndinphraexkathsrth ph s 2504 thanndriphr ph s 2505 xxkyawiicheynthr aelakartangpraethsinsmysmedcphranarayn ph s 2506 kawaerkkhxnghnngsuxphimphinpraethsithy ph s 2508 krungyosthr nkhrthminprawtisastrithy khdcakaethlngphlnganprawtisastr exksarobrankhdi pithi 1 elm 2 phvsphakhm 2510 ph s 2510 rwmkarbrryayeruxngtwxksrithy ph s 2512 iphrfakhaithy aela cdhmayehturachwngshngwn karphicarnaihm ph s 2514 khxmulprawtisastr smybangkxk ph s 2518 khxmulprawtisastrkxnrachwngsphrarwng ikhrepnphuaetngphrarachphngsawdarkrungsrixyuthya ph s 2520 khabrryayprawtisastrithy ph s 1600 2130 ph s 2521 pyhaprawtisastraelaobrankhdiithy ph s 2525 thinkaenidaelaaenwxphyphkhxngephaithy m p p nxkcakni yngepnthipruksaaelakrrmkarwithyaniphnthradbpriyyaothsakhawichaprawtisastrkhxngwithyalywichakarsuksa mhawithyalysrinkhrinthrwiorthinpccubn echn eruxng noybaykarcdkarsuksakhxngithyinrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw ph s 2512 khxng wuthichy mulsilp khwamsmphnthrahwangithyekhmraelaywninsmyrtnoksinthrtxntn ph s 2514 khxng thnxm xanamwthn phrabrmraochbayekiywkbpyhachawcininphrarachxanaekhtrchsmyphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw ph s 2516 khxng phwngrxy klxmexiyng khwamsmphnthrahwangpraethsithykbpraethsfrngesstngaet r s 112 thung r s 126 kh s 1893 1907 ph s 2518 khxng suwithy thirsaswt khwamsmphnthrahwangithykbfrngesssmyxyuthyainrchkalsmedcphranaraynthungrchkalsmedcphraephthracha ph s 2199 2246 khxng phlbphlung khngchna epntnsungbukhkhlehlanitxmakidmibthbathinwngwichakarprawtisastrithytxma sungswnhnungkrbrachkarintaaehnngxacarypracamhawithyalysrinkhrinthrwiorthdwyaehlngkhxmulxun aekikhnganphrarachthanephlingsphsastracaryphiesskhcr sukhphanich krungethph orngphimphsrixnnt 2521 thxngtx klwyim n xyuthya naykhcr sukhphanich in prawtikhru krungethph khuruspha 2522 thnyphngs sarrtn aelawrphcn wiesssiri eriyberiyng 100 pi chatkal sastracaryphiess khcr sukhphanich krungethph nisitwichaexkprawtisastr runthi 35 khnasngkhmsastr mhawithyalysrinkhrinthrwiorth 2556 prakassanknaykrthmntri eruxng aetngtngsastracaryphiess rachkiccanuebksa chbbphiess 90 51 10 phvsphakhm 2516 5 wrphcn wiesssiri rxypisastracaryphiess khcr sukhphanich brmkhruaehngprawtisastrithy pwy culsaretriymnganraluk 100 pi chatkal pwy xungphakrn pithi 2 chbbthi 10 tulakhm 2556 14 16 wrunyupha snithwngs n xyuthya aelawuthichy mulsilp rwbrwm xnusrnsastracarykhcr sukhphanich krungethph suksitsyam 2521 wuthichy mulsilp sastracaryphiesskhcr sukhphanich nkprawtisastrphukhnkhwahakhwamcring warsarprawtisastr chbbkhrbrxb 100 pichatkal sastracaryphiesskhcr sukhphanich 2556 1 18 sirinnth buysiri 100 pi chatikal sastracaryphiess khcr sukhphanich warsarsmakhmprawtisastr chbbthi 34 35 2555 2556 100 109 suphwthn eksmsri hmxmrachwngs karkhnphbkhrngsakhykhxngsastracarykhcr sukhphanich phrarachphngsawdarkrungsyam chbbbritichmiwesiym in khaphecakbwngkarprawtisastr krungethph sirichykarphimph 2559 thiralukinkaresdcphrarachdaeninphrarachthanephlingsph phltri hmxmrachwngssuphwthn eksmsri n emruhlwnghnaphlbphlaxisriyaphrn wdethphsirinthrawas wnphvhsbdithi 3 phvscikayn phuththskrach 2559 smekiyrti wnthana aenwkarekhiynprawtisastrithykhxngsastracarykhcr sukhphanich in sngkhmsastrwiphaswithi krungethph wli 2524 sarkhdi 100 pichatkal s khcr sukhphanich xxniln ekhathungidcak https www youtube com watch v AKu9vXvnPV8ekhathungcak https th wikipedia org w index php title khcr sukhphanich amp oldid 8785213, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม