fbpx
วิกิพีเดีย

ไฮโปเมเนีย

ไฮโปเมเนีย หรือ อาการเกือบฟุ้งพล่าน (อังกฤษ: hypomania แปลตรง ๆ ว่า ใต้อาการฟุ้งพล่าน หรือน้อยกว่าอาการฟุ้งพล่าน) เป็นภาวะทางอารมณ์ที่มีอาการเป็นการไม่ยับยั้งชั่งใจและความครึ้มใจอย่างคงยืน มีพฤติกรรมที่ต่างกับปกติเมื่อไม่ได้มีภาวะซึมเศร้า อาจหงุดหงิด ทั่วไปเป็นภาวะที่รุนแรงน้อยกว่าอาการฟุ้งพล่าน (mania) อย่างเต็มตัว ตามเกณฑ์ของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 (DSM-5) อาการเกือบฟุ้งพล่านต่างกับอาการฟุ้งพล่านเพราะไม่ขัดการดำเนินชีวิตอย่างสำคัญ คืออาการฟุ้งพล่านต้องขัดการดำเนินชีวิตและอาจมีอาการโรคจิต

อาการเกือบฟุ้งพล่าน
(Hypomania)
กราฟทำให้ง่ายที่แสดงอารมณ์ของคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วแบบย่อยต่าง ๆ และโรคซึมเศร้า เส้นเขียวแสดงอารมณ์ของคนทั่วไป เส้นน้ำเงินของคนไข้โรคซึมเศร้าขั้วเดียว เส้นม่วงอ่อนของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 เส้นม่วงกลางของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 2 และเส้นม่วงเข้มของโรคไซโคลไทเมีย แกนนอนแสดงระยะเวลาที่เกิดอารมณ์ แกนตั้งแสดงอารมณ์ บนสุดสีแดงเข้มเป็นอาการฟุ้งพล่านบริบูรณ์ ต่อจากบนสุดสีแดงอ่อนเป็นอาการเกือบฟุ้งพล่าน ล่างสุดสีเขียวเป็นอาการซึมเศร้า คราวฟุ้งพล่านของโรคประเภทที่ 1 ต้องมีอาการฟุ้งพล่านเต็มตัวอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์ คราวเกือบฟุ้งพล่านของโรคที่ 2 ต้องมีอาการเกือบฟุ้งพล่านโดยไม่ถึงเป็นอาการฟุ้งพล่านเต็มตัวอย่างน้อย 4 วัน
สาขาวิชาจิตเวช

พฤติกรรมที่เป็นอาการของภาวะนี้ก็คือจำเป็นต้องนอนน้อยลง มีกำลัง มีพฤติกรรมและการกระทำที่ไม่ปกติ คุยเก่งขึ้นและมั่นใจขึ้นอย่างสำคัญซึ่งมักปรากฏเป็นความคิดสร้างสรรค์เป็นชุด ๆ อาการอื่น ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับอาการนี้รวมความรู้สึกว่าตนเขื่อง (grandiosity) วอกแวกง่าย และมีเพศสัมพันธ์เกิน แม้พฤติกรรมเกือบฟุ้งพล่านมักจะสร้างความตื่นแต้นและให้ทำงานได้ดี แต่ก็อาจเป็นปัญหาถ้าคนไข้มีพฤติกรรมที่เสี่ยงหรือไม่ควรทำ และ/หรือสร้างปัญหากับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ถ้าคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) สามารถแบ่งเป็นระยะ ๆ ตามความหนักเบาของอาการ อาการเกือบฟุ้งพล่านก็จะเป็นระยะแรกของอาการ ที่อาการหลัก ๆ (ภาวะครึ้มใจหรือหงุดหงิดง่าย การพูดเร็วและทำอะไรเร็ว มีกำลังเพิ่ม จำเป็นต้องนอนน้อยลง มีความคิดเป็นชุด ๆ) จะเห็นได้ชัดที่สุด

อาการ

บุคคลที่มีภาวะเกือบฟุ้งพล่านจำเป็นต้องนอนน้อยลง ชอบเข้าสังคมและชอบแข่งขันมาก และมีกำลังมาก แต่ก็สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ไม่เหมือนกับคนไข้ที่มีคราวฟุ้งพล่านอย่างเต็มตัว

ตัวบ่งชี้

โดยเฉพาะแล้ว อาการเกือบฟุ้งพล่านต่างกับอาการฟุ้งพล่านเพราะไม่มีอาการโรคจิตและอาการคิดว่าตนเขื่อง (grandiosity) และมีผลน้อยต่อการดำเนินชีวิต

อาการนี้เป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 2 และโรคไซโคลไทเมีย แต่ก็สามารถเกิดในโรค schizoaffective disorder ได้ด้วย มันเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 1 ด้วยโดยเกิดเป็นลำดับเมื่อโรคแปรจากมีอารมณ์ปกติเป็นอาการฟุ้งพล่าน คนไข้โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 บางคนมีทั้งคราวเกือบฟุ้งพล่านและคราวฟุ้งพล่าน อาการเกือบฟุ้งพล่านยังสามารถเกิดเมื่ออารมณ์แปรจากฟุ้งพล่านกลับเป็นอารมณ์ปกติ อาการนี้บางครั้งได้เครดิตว่า เพิ่มความสร้างสรรคถและพลังทำงาน คนไข้โรคอารมณ์สองขั้วจำนวนมากให้เครดิตกับอาการเกือบฟุ้งพล่านว่า ทำให้ตนได้เปรียบในอาชีพของตน

คนที่จัดว่ามีไฮเปอร์ไทเมีย (hyperthymia) หรืออาการเกือบฟุ้งพล่านเรื้อรัง (chronic hypomania) ก็จะมีอาการเหมือนอาการเกือบฟุ้งพล่านแต่นานกว่า

โรคที่สัมพันธ์กัน

โรคไซโคลไทเมียซึ่งเป็นภาวะที่อารมณ์แปรปรวนอย่างต่อเนื่อง มีอาการเป็นการสลับเปลี่ยนภาวะเกือบฟุ้งพล่านกับความซึมเศร้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) หรือคราวเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic episode) หรือคราวซึมเศร้า (major depressive episode) ระยะเหล่านี้บ่อยครั้งขั้นด้วยระยะที่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติ

เมื่อคนไข้มีประวัติคราวเกือบฟุ้งพล่านและคราวซึมเศร้าอย่างน้อยอย่างละหนึ่งครั้ง แต่ละครั้งผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของโรค ก็จะวินิจฉัยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 2 ในบางกรณี คราวซึมเศร้าปกติจะเกิดเป็นปกติในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว และคราวเกือบฟุ้งพล่านในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ในกรณีนี้ แพทย์จะระบุว่าเป็นตามฤดู (seasonal pattern)

ในคนที่อ่อนแอและไม่รักษา อาการเกือบฟุ้งพล่านอาจแย่ลงเป็นอาการฟุ้งพล่านเต็มตัว ซึ่งอาจมีอาการโรคจิต และวินิจฉัยว่าเป็น โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1

จิตพยาธิวิทยา

อาการฟุ้งพล่านและอาการเกือบฟุ้งพล่านปกติจะศึกษาด้วยกันเป็นองค์ประกอบของโรคอารมณ์สองขั้ว โดยจิตพยาธิสภาพของทั้งสองปกติก็จะสมมุติว่าเหมือนกัน เพราะทั้งยา norepinephrine และยาโดพามีนอาจจุดชนวนภาวะเกือบฟุ้งพล่าน จึงมีทฤษฎีว่าโรคมีมูลฐานจากระบบประสาทมอโนอะมีน (monoamine) ทำงานเกิน ทฤษฎีหนึ่งที่รวมอธิบายทั้งภาวะซึมเศร้าและภาวะฟุ้งพล่านสำหรับคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วเสนอว่า การควบคุมระบบประสาทมอโนอะมีนอื่น ๆ ที่ลดลงของระบบประสาทเซโรโทนิน (ซึ่งเป็นมอโนอะมีนอย่างหนึ่ง) อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้าหรืออาการฟุ้งพล่าน อนึ่ง รอยโรคที่ซีกขวาของสมองกลีบหน้าและกลีบขมับยังได้สัมพันธ์กับอาการฟุ้งพล่านด้วย

เหตุ

บ่อยครั้งในคนไข้ที่เกิดคราวเกือบฟุ้งพล่านเป็นคราวแรกและทั่วไปไม่มีอาการโรคจิต ก็จะมีประวัติความซึมเศร้าเป็นเวลานานหรือเร็ว ๆ นี้ หรือประวัติอาการฟุ้งพล่านผสมกับความซึมเศร้า (เป็นภาวะอารมณ์ผสม) ก่อนเกิดอาการฟุ้งพล่าน ซึ่งเริ่มในวัยรุ่นตอนกลางหรือตอนปลายอย่างสามัญ เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงที่มีอารมณ์รุนแรงหลากหลาย จึงโทษได้อย่างไม่แปลกว่า เป็นพฤติกรรมทางฮอร์โมนที่เป็นปกติของวัยรุ่น จึงพลาดวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว จนกระทั่งเกิดภาวะฟุ้งพล่านหรือเกือบฟุ้งพล่านที่ชัดเจน

ในกรณีที่เกิดคราวเกือบฟุ้งพล่านเพราะยาสำหรับคนไข้โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว อาการเกือบฟุ้งพล่านสามารถกำจัดได้เกือบแน่นอนโดยลดระดับยา หรือเลิกยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นถ้าเลิกรักษาไม่ได้

อารมณ์เกือบฟุ้งพล่านอาจสัมพันธ์กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (ที่คนไข้หลงตนเอง ต้องการความชื่นชมเกินปกติ และไม่เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น)

วินิจฉัย

DSM-IV-TR นิยาม คราวเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic episode) ว่ามีอาการต่าง ๆ ซึ่งเกิดเป็นอย่างน้อย 4 วัน อาการคืออารมณ์ดีบวกกับอาการต่อไปนี้ 3 อย่าง หรือ อารมณ์หงุดหงิดบวกกับอาการต่อไปนี้ 4 อย่าง โดยเป็นพฤติกรรมต่างกับตอนเป็นปกติเมื่อไม่ซึมเศร้า

  • พูดเร็วอย่างตื่นเต้น (pressured speech)
  • ภูมิใจในตนเองเกิน หรือคิดว่าตนเขื่อง (grandiosity)
  • จำเป็นต้องนอนน้อยลง
  • เกิดไอเดียเร็วเป็นชุด ๆ หรือรู้สึกว่า ความคิดกำลังแล่น
  • วอกแวกง่าย
  • เพิ่มการกระทำที่มีเป้าหมาย (ไม่ว่าจะทางสังคม ในอาชีพ ในการมีเพศสัมพันธ์เกิน) หรือกายใจไม่สงบ (psychomotor agitation)
  • ทำกิจกรรมที่ให้ความสุขแต่มีโอกาสเกิดผลลบทางจิตสังคมหรือทางกายสูง (เช่น ซื้อของไม่อั้น มีเพศสัมพันธ์ไม่เลือก ขับรถอย่างบ้าบิ่น ตบตีหรือทะเลาะกับผู้อื่น ลงทุนไม่เข้าท่า ลาออกจากงานเพื่อจะทำอะไรใหญ่โต)

รากศัพท์

แพทย์กรีกโบราณฮิปพอคราทีสเรียกบุคลิกภาพชนิดหนึ่งว่า 'hypomanic' (กรีก: ὑπομαινόμενοι, hypomainómenoi) ในจิตเวชศาสตร์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อคำว่า mania มีความหมายกว้าง ๆ ว่าบ้า คำว่า hypomania จึงเท่ากับแนวคิดในเรื่อง บ้าเป็นบางส่วน หรือที่เรียกว่า monomania จิตแพทย์ชาวเยอรมัน Emanuel Mendel เสนอการใช้ที่เฉพาะเจาะจงกว่าในปี 1881 โดยเขียนว่า "ผมแนะนำว่า เมื่อพิจารณาคำที่ใช้โดยฮิปพอคราทีส ให้ตั้งชื่อความบ้า (mania) ที่แสดงอาการหนักน้อยกว่าว่า 'hypomania' " ส่วนนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) ที่แคบกว่าเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970

ยา

ยาต้านฟุ้งพล่าน (antimanic) ใช้ควบคุมอาการปัจจุบัน และใช้ป้องกันการเกิดคราวเกือบฟุ้งพล่านอีกร่วมกับการบำบัดทางจิตอื่น ๆ แนะนำให้รักษาเป็นระยะ 2-5 ปี ยาแก้ซึมเศร้าอาจจำเป็นสำหรับคนไข้ที่กินยาเพื่อรักษาอยู่ แต่มักหลีกเลี่ยงกับคนไข้ที่มีประวัติเร็ว ๆ นี้ว่ามีอาการเกือบฟุ้งพล่าน ยาแก้ซึมเศร้าคือ sertraline บ่อยครั้งถกเถียงกันว่ามีผลข้างเคียงจุดชนวนอาการเกือบฟุ้งพล่านหรือไม่

ยาที่ใช้รักษารวม

ยาที่ไม่ใช่ยารักษาโรคจิต

ยาอื่นที่มีประสิทธิผลน้อยกว่า

  • Gabapentin
  • Lamotrigine
  • Levetiracetam
  • Oxcarbazepine
  • Ritanserin
  • Topiramate
  • Ziprasidone

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "mania", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) อาการฟุ้งพล่าน
  2. . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2015-04-02.
  3. . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2015-03-27.
  4. (PDF). NIH Publication No. 12-3679. National Institute of Mental Health. 2012. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2015-05-01. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  5. "Hypomania: what's in a name?". August 2002. doi:10.1192/bjp.181.2.94. Cite journal requires |journal= (help)
  6. British Psychological Society, National Collaborating Centre for Mental Health (Great Britain); Clinical Excellence (Great Britain))), undefined (2006). . Leicester; London: British Psychological Society; Royal College of Psychiatrists. ISBN 978-1-85433-441-1. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  7. Doran, Christopher (2008). The hypomania handbook : the challenge of elevated mood. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 16. ISBN 9780781775205. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03.
  8. Kaufman, James (2014). Creativity and mental illness. Cambridge: Cambridge University Press. p. 214. ISBN 9781316003626. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03.
  9. Ghaemi, S Nassir (2003). Mood disorders : a practical guide. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 48. ISBN 9780781727839. สืบค้นเมื่อ 2015-12-04.
  10. Bloch, Jon (2006). The everything health guide to adult bipolar disorder : reassuring advice to help you cope. Avon, Mass.: Adams Media. p. 12. ISBN 9781593375850. สืบค้นเมื่อ 2015-12-04.
  11. . BehaveNet Clinical Capsules. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  12. . BehaveNet Clinical Capsules. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  13. Post, Robert M (2007). "Kindling and sensitization as models for affective episode recurrence, cyclicity, and tolerance phenomena". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 31 (6): 858–873. doi:10.1016/j.neubiorev.2007.04.003. PMID 17555817.
  14. Hilty, Donald M.; Leamon, Martin H.; Lim, Russell F.; Kelly, Rosemary H.; Hales, Robert E. (2017-01-08). "A Review of Bipolar Disorder in Adults". Psychiatry (Edgmont). 3 (9): 43–55. ISSN 1550-5952. PMC 2963467. PMID 20975827.
  15. Keshavan, Matcheri S; Kennedy, John S, บ.ก. (1992). Drug-Induced Dysfunction in Psychiatry. Taylor & Francis.
  16. Bipolar Disorder Sub-Committee (April 1997). Bipolar Disorder: A Summary of Clinical Issues and Treatment Options. Canadian Network for Mood and Anxiety Treatments (CANMAT).CS1 maint: uses authors parameter (link)
  17. Daniel Fulford; Sheri L. Johnson; Charles S. Carver (December 2008). "Commonalities and differences in characteristics of persons at risk for narcissism and mania". J Res Pers. 42 (6): 1427–1438. doi:10.1016/j.jrp.2008.06.002. PMC 2849176. PMID 20376289.
  18. . BehaveNet Clinical Capsules. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  19. Mendel, Emanuel (1881). Die Manie. Vienna and Leipzig: Urban & Schwarzenberg. "Hypomanie", p. 36.CS1 maint: uses authors parameter (link)(เยอรมัน)
  20. "The many forms of bipolar disorder: a modern look at an old illness". Apr 2004. doi:10.1016/j.jad.2004.01.001. Cite journal requires |journal= (help)
  21. Baldwin และคณะ (1902). Monomania. Dictionary of Philosophy and Psychology. New York, London: Macmillan. p. 101. Explicit use of et al. in: |authors= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  22. James Johnson, M.D., Ed. (1843) "Notices of Some New Works: Dr.H. Johnson on Mental Disorders", The Medical-Chirurgical Review, Vol. 39, p. 460: Hypomania
  23. Johnson, Henry (1843). On the Arrangement and Nomenclature of Mental Disorders. London: Longmans. OCLC 706786581.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  24. Shorter, Edward (2005). A Historical Dictionary of Psychiatry. US: Oxford University Press. p. 132.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  25. . NHS. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 2019-07-04. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  26. "Mania and hypomania". bnf. สืบค้นเมื่อ 2019-07-03.
  27. "Sertraline‐induced hypomania: a genuine side‐effect". Acta Psychiatrica Scandinavica. wileyonlinelibrary. 2003-06-13. doi:10.1034/j.1600-0447.2003.00080.x.
  28. Mendhekar, D. N.; Gupta, D.; Girotra, V. (2003-07-01). "Sertraline‐induced hypomania: a genuine side‐effect". Department of Psychiatry. DCBI. 108 (1): 70–4. PMID 12807380.
  29. "Medications used when high (hypomania/mania)". NICE. สืบค้นเมื่อ 2019-07-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
V · T · D
ทรัพยากรภายนอก
  • Patient UK: ไฮโปเมเนีย
  • Depression and Bipolar Support Alliance - Depression and Bipolar Support Alliance
  • Advice for Bipolar Disorder Sufferers and Their Loved Ones

ไฮโปเมเน, บทความน, างอ, งคร, สต, กราช, คร, สต, ทศวรรษ, คร, สต, ศตวรรษ, งเป, นสาระสำค, ญของเน, อหา, หร, อาการเก, อบฟ, งพล, าน, งกฤษ, hypomania, แปลตรง, ใต, อาการฟ, งพล, าน, หร, อน, อยกว, าอาการฟ, งพล, าน, เป, นภาวะทางอารมณ, อาการเป, นการไม, บย, งช, งใจและความคร. bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha ihopemeniy hrux xakarekuxbfungphlan 1 xngkvs hypomania aepltrng wa itxakarfungphlan hruxnxykwaxakarfungphlan epnphawathangxarmnthimixakarepnkarimybyngchngicaelakhwamkhrumicxyangkhngyun miphvtikrrmthitangkbpktiemuximidmiphawasumesra xachngudhngid thwipepnphawathirunaerngnxykwaxakarfungphlan mania xyangetmtw tameknthkhxngkhumuxkarwinicchyaelasthitisahrbkhwamphidpktithangcitrun 5 DSM 5 xakarekuxbfungphlantangkbxakarfungphlanephraaimkhdkardaeninchiwitxyangsakhy khuxxakarfungphlantxngkhdkardaeninchiwitaelaxacmixakarorkhcitxakarekuxbfungphlan Hypomania krafthaihngaythiaesdngxarmnkhxngkhnikhorkhxarmnsxngkhwaebbyxytang aelaorkhsumesra esnekhiywaesdngxarmnkhxngkhnthwip esnnaenginkhxngkhnikhorkhsumesrakhwediyw esnmwngxxnkhxngorkhxarmnsxngkhwpraephth 1 esnmwngklangkhxngorkhxarmnsxngkhwpraephth 2 aelaesnmwngekhmkhxngorkhisokhlithemiy aeknnxnaesdngrayaewlathiekidxarmn aekntngaesdngxarmn bnsudsiaedngekhmepnxakarfungphlanbriburn txcakbnsudsiaedngxxnepnxakarekuxbfungphlan langsudsiekhiywepnxakarsumesra khrawfungphlankhxngorkhpraephththi 1 txngmixakarfungphlanetmtwxyangnxyhnungxathity khrawekuxbfungphlankhxngorkhthi 2 txngmixakarekuxbfungphlanodyimthungepnxakarfungphlanetmtwxyangnxy 4 wnsakhawichacitewchphvtikrrmthiepnxakarkhxngphawanikkhuxcaepntxngnxnnxylng mikalng miphvtikrrmaelakarkrathathiimpkti khuyekngkhunaelamnickhunxyangsakhysungmkpraktepnkhwamkhidsrangsrrkhepnchud xakarxun thixacsmphnthkbxakarnirwmkhwamrusukwatnekhuxng grandiosity wxkaewkngay aelamiephssmphnthekin 2 aemphvtikrrmekuxbfungphlanmkcasrangkhwamtunaetnaelaihthanganiddi aetkxacepnpyhathakhnikhmiphvtikrrmthiesiynghruximkhwrtha aela hruxsrangpyhakbehtukarninchiwitpracawn 3 thakhrawfungphlan manic episode samarthaebngepnraya tamkhwamhnkebakhxngxakar xakarekuxbfungphlankcaepnrayaaerkkhxngxakar thixakarhlk phawakhrumichruxhngudhngidngay karphuderwaelathaxairerw mikalngephim caepntxngnxnnxylng mikhwamkhidepnchud caehnidchdthisud enuxha 1 xakar 1 1 twbngchi 1 2 orkhthismphnthkn 2 citphyathiwithya 3 ehtu 4 winicchy 5 raksphth 6 ya 7 duephim 8 echingxrrthaelaxangxing 9 aehlngkhxmulxunxakar aekikhbukhkhlthimiphawaekuxbfungphlancaepntxngnxnnxylng chxbekhasngkhmaelachxbaekhngkhnmak aelamikalngmak aetksamarthdaeninchiwitpracawnidepnpkti imehmuxnkbkhnikhthimikhrawfungphlanxyangetmtw 4 twbngchi aekikh odyechphaaaelw xakarekuxbfungphlantangkbxakarfungphlanephraaimmixakarorkhcitaelaxakarkhidwatnekhuxng grandiosity aelamiphlnxytxkardaeninchiwit 5 6 xakarniepnxakarxyanghnungkhxngorkhxarmnsxngkhwpraephththi 2 aelaorkhisokhlithemiy aetksamarthekidinorkh schizoaffective disorder iddwy 6 mnepnxakarxyanghnungkhxngorkhxarmnsxngkhwpraephththi 1 dwyodyekidepnladbemuxorkhaeprcakmixarmnpktiepnxakarfungphlan khnikhorkhxarmnsxngkhwpraephth 1 bangkhnmithngkhrawekuxbfungphlanaelakhrawfungphlan xakarekuxbfungphlanyngsamarthekidemuxxarmnaeprcakfungphlanklbepnxarmnpkti xakarnibangkhrngidekhrditwa ephimkhwamsrangsrrkhthaelaphlngthangan khnikhorkhxarmnsxngkhwcanwnmakihekhrditkbxakarekuxbfungphlanwa thaihtnidepriybinxachiphkhxngtn 7 8 khnthicdwamiihepxrithemiy hyperthymia hruxxakarekuxbfungphlaneruxrng chronic hypomania 9 kcamixakarehmuxnxakarekuxbfungphlanaetnankwa 10 orkhthismphnthkn aekikh orkhisokhlithemiysungepnphawathixarmnaeprprwnxyangtxenuxng mixakarepnkarslbepliynphawaekuxbfungphlankbkhwamsumesrathiimphaneknthwinicchykhxngkhrawfungphlan manic episode hruxkhrawekuxbfungphlan hypomanic episode hruxkhrawsumesra major depressive episode rayaehlanibxykhrngkhndwyrayathisamarthdaeninchiwitepnpkti 11 emuxkhnikhmiprawtikhrawekuxbfungphlanaelakhrawsumesraxyangnxyxyanglahnungkhrng aetlakhrngphaneknthwinicchykhxngorkh kcawinicchyepnorkhxarmnsxngkhwpraephththi 2 inbangkrni khrawsumesrapkticaekidepnpktiinchwngvduibimrwnghruxvduhnaw aelakhrawekuxbfungphlaninvduibimphliaelavdurxn inkrnini aephthycarabuwaepntamvdu seasonal pattern 12 inkhnthixxnaexaelaimrksa xakarekuxbfungphlanxacaeylngepnxakarfungphlanetmtw sungxacmixakarorkhcit aelawinicchywaepn orkhxarmnsxngkhwpraephth 1 13 citphyathiwithya aekikhxakarfungphlanaelaxakarekuxbfungphlanpkticasuksadwyknepnxngkhprakxbkhxngorkhxarmnsxngkhw odycitphyathisphaphkhxngthngsxngpktikcasmmutiwaehmuxnkn ephraathngya norepinephrine aelayaodphaminxaccudchnwnphawaekuxbfungphlan cungmithvsdiwaorkhmimulthancakrabbprasathmxonxamin monoamine thanganekin thvsdihnungthirwmxthibaythngphawasumesraaelaphawafungphlansahrbkhnikhorkhxarmnsxngkhwesnxwa karkhwbkhumrabbprasathmxonxaminxun thildlngkhxngrabbprasathesorothnin sungepnmxonxaminxyanghnung xacepnehtuihekidxakarsumesrahruxxakarfungphlan xnung rxyorkhthisikkhwakhxngsmxngklibhnaaelaklibkhmbyngidsmphnthkbxakarfungphlandwy 14 ehtu aekikhbxykhrnginkhnikhthiekidkhrawekuxbfungphlanepnkhrawaerkaelathwipimmixakarorkhcit kcamiprawtikhwamsumesraepnewlananhruxerw ni hruxprawtixakarfungphlanphsmkbkhwamsumesra epnphawaxarmnphsm kxnekidxakarfungphlan sungeriminwyruntxnklanghruxtxnplayxyangsamy ephraawyrunepnchwngthimixarmnrunaernghlakhlay cungothsidxyangimaeplkwa epnphvtikrrmthanghxromnthiepnpktikhxngwyrun cungphladwinicchywaepnorkhxarmnsxngkhw cnkrathngekidphawafungphlanhruxekuxbfungphlanthichdecn 15 inkrnithiekidkhrawekuxbfungphlanephraayasahrbkhnikhorkhsumesraaebbkhwediyw xakarekuxbfungphlansamarthkacdidekuxbaennxnodyldradbya hruxelikya hruxepliynipichyaxunthaelikrksaimid 16 xarmnekuxbfungphlanxacsmphnthkbkhwamphidpktithangbukhlikphaphaebbhlngtwexng thikhnikhhlngtnexng txngkarkhwamchunchmekinpkti aelaimekhaickhwamrusukkhxngkhnxun 17 winicchy aekikhDSM IV TR niyam khrawekuxbfungphlan hypomanic episode wamixakartang sungekidepnxyangnxy 4 wn xakarkhuxxarmndibwkkbxakartxipni 3 xyang hrux xarmnhngudhngidbwkkbxakartxipni 4 xyang odyepnphvtikrrmtangkbtxnepnpktiemuximsumesraphuderwxyangtunetn pressured speech phumiicintnexngekin hruxkhidwatnekhuxng grandiosity caepntxngnxnnxylng ekidixediyerwepnchud hruxrusukwa khwamkhidkalngaeln wxkaewkngay ephimkarkrathathimiepahmay imwacathangsngkhm inxachiph inkarmiephssmphnthekin hruxkayicimsngb psychomotor agitation thakickrrmthiihkhwamsukhaetmioxkasekidphllbthangcitsngkhmhruxthangkaysung echn suxkhxngimxn miephssmphnthimeluxk khbrthxyangbabin tbtihruxthaelaakbphuxun lngthunimekhatha laxxkcaknganephuxcathaxairihyot 18 raksphth aekikhaephthykrikobranhipphxkhrathiseriykbukhlikphaphchnidhnungwa hypomanic krik ὑpomainomenoi hypomainomenoi 19 20 incitewchsastrchwngkhriststwrrsthi 19 emuxkhawa mania mikhwamhmaykwang waba khawa hypomania cungethakbaenwkhidineruxng baepnbangswn hruxthieriykwa monomania 21 22 23 citaephthychaweyxrmn Emanuel Mendel esnxkarichthiechphaaecaacngkwainpi 1881 odyekhiynwa phmaenanawa emuxphicarnakhathiichodyhipphxkhrathis ihtngchuxkhwamba mania thiaesdngxakarhnknxykwawa hypomania 19 24 swnniyamechingptibtikar operational definition thiaekhbkwaekidkhuninchwngkhristthswrrs 1960 aela 1970ya aekikhyatanfungphlan antimanic ichkhwbkhumxakarpccubn aelaichpxngknkarekidkhrawekuxbfungphlanxikrwmkbkarbabdthangcitxun 25 aenanaihrksaepnraya 2 5 pi yaaeksumesraxaccaepnsahrbkhnikhthikinyaephuxrksaxyu aetmkhlikeliyngkbkhnikhthimiprawtierw niwamixakarekuxbfungphlan 26 yaaeksumesrakhux sertraline bxykhrngthkethiyngknwamiphlkhangekhiyngcudchnwnxakarekuxbfungphlanhruxim 27 28 yathiichrksarwm 29 yathipktiichrksaorkhcit Aripiprazole Clozapine Haloperidol Olanzapine Quetiapine risephxriodn yathiimichyarksaorkhcit kholnaesaephm lxraesaephm liethiym yaxunthimiprasiththiphlnxykwa Gabapentin Lamotrigine Levetiracetam Oxcarbazepine Ritanserin Topiramate Ziprasidoneduephim aekikhorkhxarmnsxngkhw orkhxarmnsxngkhwpraephth 1 orkhxarmnsxngkhwpraephth 2 orkhisokhlithemiy orkhsumesra Hyperthymic temperament xakarfungphlan Schizoaffective disorder khwamphidpktithangbukhlikphaphaebbhlngtwexng khwamphidpktithangbukhlikphaphaebbkakungechingxrrthaelaxangxing aekikh mania sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 aephthysastr xakarfungphlan Mania and Hypomania khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2015 04 02 Understanding Hypomania and Mania khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2015 03 27 Bipolar Disorder in Adults PDF NIH Publication No 12 3679 National Institute of Mental Health 2012 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2015 05 01 Unknown parameter deadurl ignored help Hypomania what s in a name August 2002 doi 10 1192 bjp 181 2 94 Cite journal requires journal help 6 0 6 1 British Psychological Society National Collaborating Centre for Mental Health Great Britain Clinical Excellence Great Britain undefined 2006 Bipolar Disorder The Management of Bipolar Disorder in Adults Children and Adolescents in Primary and Secondary Care Leicester London British Psychological Society Royal College of Psychiatrists ISBN 978 1 85433 441 1 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2018 05 09 subkhnemux 2015 12 03 Unknown parameter deadurl ignored help Doran Christopher 2008 The hypomania handbook the challenge of elevated mood Philadelphia Wolters Kluwer Health Lippincott Williams amp Wilkins p 16 ISBN 9780781775205 subkhnemux 2015 12 03 Kaufman James 2014 Creativity and mental illness Cambridge Cambridge University Press p 214 ISBN 9781316003626 subkhnemux 2015 12 03 Ghaemi S Nassir 2003 Mood disorders a practical guide Philadelphia Lippincott Williams amp Wilkins p 48 ISBN 9780781727839 subkhnemux 2015 12 04 Bloch Jon 2006 The everything health guide to adult bipolar disorder reassuring advice to help you cope Avon Mass Adams Media p 12 ISBN 9781593375850 subkhnemux 2015 12 04 Cyclothymia BehaveNet Clinical Capsules khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2008 03 14 subkhnemux 2008 01 03 Unknown parameter deadurl ignored help Bipolar II Disorder BehaveNet Clinical Capsules khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2008 03 14 subkhnemux 2008 01 03 Unknown parameter deadurl ignored help Post Robert M 2007 Kindling and sensitization as models for affective episode recurrence cyclicity and tolerance phenomena Neuroscience amp Biobehavioral Reviews 31 6 858 873 doi 10 1016 j neubiorev 2007 04 003 PMID 17555817 Hilty Donald M Leamon Martin H Lim Russell F Kelly Rosemary H Hales Robert E 2017 01 08 A Review of Bipolar Disorder in Adults Psychiatry Edgmont 3 9 43 55 ISSN 1550 5952 PMC 2963467 PMID 20975827 Keshavan Matcheri S Kennedy John S b k 1992 Drug Induced Dysfunction in Psychiatry Taylor amp Francis Bipolar Disorder Sub Committee April 1997 Bipolar Disorder A Summary of Clinical Issues and Treatment Options Canadian Network for Mood and Anxiety Treatments CANMAT CS1 maint uses authors parameter link Daniel Fulford Sheri L Johnson Charles S Carver December 2008 Commonalities and differences in characteristics of persons at risk for narcissism and mania J Res Pers 42 6 1427 1438 doi 10 1016 j jrp 2008 06 002 PMC 2849176 PMID 20376289 Hypomanic Episode BehaveNet Clinical Capsules khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2007 10 24 subkhnemux 2008 01 03 Unknown parameter deadurl ignored help 19 0 19 1 Mendel Emanuel 1881 Die Manie Vienna and Leipzig Urban amp Schwarzenberg Hypomanie p 36 CS1 maint uses authors parameter link eyxrmn The many forms of bipolar disorder a modern look at an old illness Apr 2004 doi 10 1016 j jad 2004 01 001 Cite journal requires journal help Baldwin aelakhna 1902 Monomania Dictionary of Philosophy and Psychology New York London Macmillan p 101 Explicit use of et al in authors help CS1 maint uses authors parameter link James Johnson M D Ed 1843 Notices of Some New Works Dr H Johnson on Mental Disorders The Medical Chirurgical Review Vol 39 p 460 Hypomania Johnson Henry 1843 On the Arrangement and Nomenclature of Mental Disorders London Longmans OCLC 706786581 CS1 maint uses authors parameter link Shorter Edward 2005 A Historical Dictionary of Psychiatry US Oxford University Press p 132 CS1 maint uses authors parameter link Hypomania and mania NHS khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2019 07 04 subkhnemux 2019 07 04 Unknown parameter deadurl ignored help Mania and hypomania bnf subkhnemux 2019 07 03 Sertraline induced hypomania a genuine side effect Acta Psychiatrica Scandinavica wileyonlinelibrary 2003 06 13 doi 10 1034 j 1600 0447 2003 00080 x Mendhekar D N Gupta D Girotra V 2003 07 01 Sertraline induced hypomania a genuine side effect Department of Psychiatry DCBI 108 1 70 4 PMID 12807380 Medications used when high hypomania mania NICE subkhnemux 2019 07 03 aehlngkhxmulxun aekikhkarcaaenkorkhV T DICD 10 F30 0thrphyakrphaynxkPatient UK ihopemeniyHypomanic Episode Bipolar Disorder Depression and Bipolar Support Alliance Depression and Bipolar Support Alliance Advice for Bipolar Disorder Sufferers and Their Loved Ones ekhathungcak https th wikipedia org w index php title ihopemeniy amp oldid 9396648, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม