fbpx
วิกิพีเดีย

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา (Substantive Democracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยที่เน้นเรื่องของผลลัพธ์ (outcome) ของกระบวนการและกลไกต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย โดยเกณฑ์หรือมาตรวัดความเป็นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหามักประกอบด้วย

  1. การที่รับรองสิทธิพลเมือง (civic substance) รับรองเสรีภาพในการแสดงออก และความเสมอภาคในเชิงกฎหมาย
  2. มีการเลือกตั้งที่โปร่งใส เป็นธรรม เปิดโอกาสให้มีผู้แข่งขันที่หลากหลายให้ประชาชนได้เลือก
  3. เคารพความแตกต่างทางความคิด และทางกายภาพ
  4. เคารพเสียงข้างมาก ขณะเดียวกันก็ปกป้อง คุ้มครองเสียงข้างน้อย
  5. รัฐบาลมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน
  6. มีช่องทางให้พลเมืองแสดงความต้องการ และสื่อสารไปยังระบบการเมือง และ
  7. เป็นระบอบการปกครองที่พลเมืองในสังคมมีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย

อรรถาธิบาย

งานของ คาลดอร์ และ เวจโวดา (Kaldor and Vejvoda, 1999: 3) กล่าวว่าประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ทำให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจทั้งในด้านการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจ และนักทฤษฏีประชาธิปไตยอย่าง เฮลด์ (Held, 1987) เห็นว่าประชาธิปไตยเชิงเนื้อหามีจุดเน้นอยู่ที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองในชีวิตประจำวันของประชาชนและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ประชาสังคม

คำว่าประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาจึงมีความหมายที่แตกต่าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่าประชาธิปไตยเชิงกระบวนการ (procedural democracy) โดยประชาธิปไตยเชิงกระบวนการจะเน้นที่ระเบียบ กฎเกณฑ์ และรูปแบบที่สัมผัสได้ของประชาธิปไตย เช่น มีการเลือกตั้ง การลงประชามติ รัฐสภา การปกครองท้องถิ่น เป็นต้น แต่สำหรับประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาจะลึกไปกว่านั้น โดยสนใจว่าการเลือกตั้งสามารถทำให้ได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชนที่แท้จริงหรือไม่ การปกครองท้องถิ่นประชาชนสามารถเข้าถึงการตัดสินใจหรือไม่ ในกระบวนการร่างกฎหมายประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาจึงมีแง่มุมของ “คุณค่า” ที่ซ้อนอยู่ภายใต้กฎระเบียบและกลไกการทำงานต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย ในทางปฏิบัติคำว่าประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาจึงใช้สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ประเทศที่มีประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ เช่น จีน รัสเซีย หรือประเทศโลกที่สามทั้งหลาย ที่มีการเลือกตั้งและมีสภานิติบัญญัติ แต่ประชาชนไม่ได้มีอำนาจในการใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง

ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาโดยทั่วไปก็ไม่ต่างไปจากการใช้ในสากลนัก กล่าวคือ เป็นรูปแบบประชาธิปไตยที่ไม่เพียงให้พลเมืองมีสิทธิในการเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบรัฐบาลที่ตนเลือกตั้งเข้าไปบริหารประเทศ และสามารถได้รับสิทธิเสรีภาพในมิติอื่นๆ แต่ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาจะใช้กล่าวถึงการที่ประชาชนหรือพลเมืองในด้านผู้ทรงสิทธิที่ประกอบไปด้วยสิทธิสองประการคือ หนึ่ง พลเมืองได้รับการกำหนดสิทธิที่พึงได้อ้าง และรับรองความสามารถของการใช้เสรีภาพในการดำเนินชีวิตทางการเมือง และ สอง พลเมืองได้รับการประกันสิทธิ (entitlement) ที่รัฐต้องจัดหาให้ประชาชนในฐานะพลเมือง

ในทางปฏิบัติ สังคมไทยจะใช้เรื่องของประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาเพื่อวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับทำการทุจริต คอร์รัปชั่น และใช้อำนาจในทางมิชอบ โดยไม่ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน เช่น คำวิจารณ์ของ ธีรยุทธ บุญมี ที่ว่า จาก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มาถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตย โดยรูปแบบคือประชาธิปไตยที่เป็นเฉพาะการเลือกตั้ง (procedural democracy) ได้มาถึงทางตัน ต้องมีการพัฒนาไปอีกขั้น คือประชาธิปไตยที่มีเนื้อหาหรือประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร (substantive democracy) แก่นสารในความหมายของธีรยุทธ บุญมี คือการเพิ่มความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความอยู่ดีมีสุขและสิทธิอำนาจของประชาชน และประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร นั่นก็คือประชาธิปไตยที่ทำให้ได้มาซึ่งผู้ปกครองที่เป็นคนดี มีศีลธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต และมีคุณธรรม

อ้างอิง

  1. Kaldor, M and Vejvoda, I. (1999). “Democratization in Central and East European Countries: An Overview”. In M. Kaldor and I. Vejvoda (eds.). Democratization in Central and Eastern Europe. London: Pinter.
  2. Held, David (1987). Models of Democracy. Cambridge: Polity Press.
  3. ธีรยุทธ บุญมี (2555). “ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทยเน้นยุทธศาสตร์การสร้างและขยายสถาบันและวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน”. เข้าถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2555 ใน http://2519me.com/Me-myself/Today_Me/Me_standponts/2549me/2549_9September/9Sep_files/9September2.htm 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. โรตม์ คล้ามไพบูลย์ (2549). "ประชาธิปไตย=ความเป็นไทย+ตุลาการภิวัตน์+อำมาตยาภิวัฒน์". เข้าถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2555 ใน http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=215 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

ประชาธ, ปไตยเช, งเน, อหา, substantive, democracy, เป, นร, ปแบบหน, งของประชาธ, ปไตยท, เน, นเร, องของผลล, พธ, outcome, ของกระบวนการและกลไกต, างๆ, ในระบอบประชาธ, ปไตย, โดยเกณฑ, หร, อมาตรว, ดความเป, นม, กประกอบด, วย, การท, บรองส, ทธ, พลเม, อง, civic, substance, บร. prachathipityechingenuxha Substantive Democracy epnrupaebbhnungkhxngprachathipitythienneruxngkhxngphllphth outcome khxngkrabwnkaraelakliktang inrabxbprachathipity odyeknthhruxmatrwdkhwamepnprachathipityechingenuxhamkprakxbdwy karthirbrxngsiththiphlemuxng civic substance rbrxngesriphaphinkaraesdngxxk aelakhwamesmxphakhinechingkdhmay mikareluxktngthioprngis epnthrrm epidoxkasihmiphuaekhngkhnthihlakhlayihprachachnideluxk ekharphkhwamaetktangthangkhwamkhid aelathangkayphaph ekharphesiyngkhangmak khnaediywknkpkpxng khumkhrxngesiyngkhangnxy rthbalmiprasiththiphaph txbsnxngkhwamtxngkarkhxngprachachn michxngthangihphlemuxngaesdngkhwamtxngkar aelasuxsaripyngrabbkaremuxng aela epnrabxbkarpkkhrxngthiphlemuxnginsngkhmmiwthnthrrmthisngesrimrabxbprachathipityxrrthathibay aekikhngankhxng khaldxr aela ewcowda Kaldor and Vejvoda 1999 3 1 klawwaprachathipityechingenuxhaepnkrabwnkarthiekidkhunxyangtxenuxngthithaihprachachnmioxkasinkarekhathungkhwamsmphnthechingxanacthngindankarmiswnrwmaelakartdsinic aelankthvstiprachathipityxyang ehld Held 1987 2 ehnwaprachathipityechingenuxhamicudennxyuthikarmiswnrwmthangkaremuxnginchiwitpracawnkhxngprachachnaelakickrrmthiekidkhuninphunthiprachasngkhmkhawaprachathipityechingenuxhacungmikhwamhmaythiaetktang sungemuxepriybethiybaelwcamilksnathitrngknkhamkbkhawaprachathipityechingkrabwnkar procedural democracy odyprachathipityechingkrabwnkarcaennthiraebiyb kdeknth aelarupaebbthismphsidkhxngprachathipity echn mikareluxktng karlngprachamti rthspha karpkkhrxngthxngthin epntn aetsahrbprachathipityechingenuxhacalukipkwann odysnicwakareluxktngsamarththaihidmasungphuaethnkhxngprachachnthiaethcringhruxim karpkkhrxngthxngthinprachachnsamarthekhathungkartdsinichruxim inkrabwnkarrangkdhmayprachachnsamarthekhaipmiswnrwmthangkaremuxngidmaknxyephiyngid dwyehtuni prachathipityechingenuxhacungmiaengmumkhxng khunkha thisxnxyuphayitkdraebiybaelaklikkarthangantang inrabxbprachathipity inthangptibtikhawaprachathipityechingenuxhacungichsahrbkarwiphakswicarnpraethsthimiprachathipityephiyngrupaebb echn cin rsesiy hruxpraethsolkthisamthnghlay thimikareluxktngaelamisphanitibyyti aetprachachnimidmixanacinkarichsiththiaelaesriphaphxyangaethcringtwxyangkarnaipichinpraethsithy aekikhsahrbpraethsithy khwamekhaicineruxngprachathipityechingenuxhaodythwipkimtangipcakkarichinsaklnk klawkhux epnrupaebbprachathipitythiimephiyngihphlemuxngmisiththiinkareluxktng samarthtrwcsxbrthbalthitneluxktngekhaipbriharpraeths aelasamarthidrbsiththiesriphaphinmitixun aetprachathipityechingenuxhacaichklawthungkarthiprachachnhruxphlemuxngindanphuthrngsiththithiprakxbipdwysiththisxngprakarkhux hnung phlemuxngidrbkarkahndsiththithiphungidxang aelarbrxngkhwamsamarthkhxngkarichesriphaphinkardaeninchiwitthangkaremuxng aela sxng phlemuxngidrbkarpraknsiththi entitlement thirthtxngcdhaihprachachninthanaphlemuxnginthangptibti sngkhmithycaicheruxngkhxngprachathipityechingenuxhaephuxwiphakswicarnnkkaremuxngthimacakkareluxktng aetklbthakarthucrit khxrrpchn aelaichxanacinthangmichxb odyimduaelphlpraoychnkhxngprachachn echn khawicarnkhxng thiryuthth buymi thiwa cak 14 tulakhm ph s 2516 mathungpccubn prachathipity odyrupaebbkhuxprachathipitythiepnechphaakareluxktng procedural democracy idmathungthangtn txngmikarphthnaipxikkhn khuxprachathipitythimienuxhahruxprachathipitythimiaeknsar substantive democracy aeknsarinkhwamhmaykhxngthiryuthth buymi khuxkarephimkhwamsuxstysucrit khwamyutithrrm khwamxyudimisukhaelasiththixanackhxngprachachn aelaprachathipitythimiaeknsar nnkkhuxprachathipitythithaihidmasungphupkkhrxngthiepnkhndi misilthrrm suxsty sucrit aelamikhunthrrm 3 4 xangxing aekikh Kaldor M and Vejvoda I 1999 Democratization in Central and East European Countries An Overview In M Kaldor and I Vejvoda eds Democratization in Central and Eastern Europe London Pinter Held David 1987 Models of Democracy Cambridge Polity Press thiryuthth buymi 2555 txngphthnarththrrmnuychbbphumipyyaithyennyuththsastrkarsrangaelakhyaysthabnaelawthnthrrmtankhxrrpchn ekhathungwnthi 26 singhakhm 2555 in http 2519me com Me myself Today Me Me standponts 2549me 2549 9September 9Sep files 9September2 htm Archived 2016 03 04 thi ewyaebkaemchchin ortm khlamiphbuly 2549 prachathipity khwamepnithy tulakarphiwtn xamatyaphiwthn ekhathungwnthi 26 singhakhm 2555 in http www thaingo org writer view php id 215 Archived 2016 03 04 thi ewyaebkaemchchin ekhathungcak https th wikipedia org w index php title prachathipityechingenuxha amp oldid 9648916, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม