fbpx
วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย

ประวัติศาสตร์อานาโตเลียกล่าวถึงดินแดนที่เรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ในทางภูมิศาสตร์หมายถึงดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน จากทะเลอีเจียนซึ่งเป็นขอบเขตทางตะวันตกจนถึงภูเขาชายแดนประเทศอาร์มีเนียทางตะวันออก และเทือกเขาทะเลดำทางเหนือจนถึงเทือกเขาเทารัสทางใต้

โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ อานาโตเลียเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางไปมาระหว่างยุโรปและเอเชีย ตลอดระยะเวลากว่า 4 ถึง 5,000 ปีที่ผ่านมา มีชนหลายเผ่าพันธุ์เดินทางเข้ามายังอานาโตเลียและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนบนดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรของชนเหล่านี้ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองและในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปตามกาลเวลา ความเก่าแก่และหลากหลายของอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองบนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษสำหรับดินแดนอันเป็นประเทศตนในปัจจุบัน

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ราบสูงอานาโตเลียเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยุคประวัติศาสตร์ของอานาโตเลียเริ่มต้นขึ้นในยุคโลหะ ประมาณ 3,000 - 1,200 ก่อนคริสตกาล หากมองย้อนหลังไปในยุคดังกล่าวกลับมาจนถึงยุคปัจจุบันจะพบว่าอานาโตเลียมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนดินแดนอื่นใดในโลกคือ เป็นดินแดนที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลายของชนหลายกลุ่มซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้

ฮัตไต (2,500 - 2,000 ปีก่อนคริสตกาล)

อารยธรรมแห่งแรกบนแผ่นดินอานาโตเลียได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการและความเจริญรุ่งเรืองของชาวฮัตไต ชนพื้นเมืองดั้งเดิมบนที่ราบสูงอานาโตเลีย ชาวฮัตไตได้สถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นในราวปี 2500 - 2000 ก่อนคริสตกาล ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรของชาวฮัตไตเริ่มเสื่อมอำนาจลง เปิดทางให้ชนต่างถิ่นเข้ามาครอบครองดินแดนอันเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวฮัตไต

ฮิตไทต์ (2,000 - 1,200 ปีก่อนคริสตกาล)

ฮิตไทต์เป็นชนเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน สันนิษฐานกันว่าอพยพเข้ามายังอานาโตเลียจากทางยุโรป โดยผ่านทางคอเคซัสหรือบอลข่านในราวปี 2000 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรฮัตไตกำลังเสื่อมอำนาจลง เมื่อได้เข้ามายังอานาโตเลียแล้ว ชาวฮิตไทต์ได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวฮัตไตมาใช้ แม้แต่ชื่อของประเทศหรือดินแดนที่ชาวฮิตไทต์อาศัยก็ยังใช้ชื่อดั้งเดิมที่ชาวฮัตไตใช้เรียกชื่อประเทศตน “The land of Hatti” ชาวฮิตไทต์เป็นชนกลุ่มแรกในอานาโตเลียที่สามารถสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และเป็นปึกแผ่นในดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรฮิตไทต์ได้เจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย และยังสามารถขยายดินแดนออกไปได้ไกลถึงเมโสโปเตเมีย การรุกรานของฮิตไทต์ต่ออาณาจักรบาบิโลนในเมโสโปเตเมียได้นำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรบาบิโลน ชาวฮิตไทต์ได้รับเอาวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา และระบบกฎหมายของบาบิโลนมาใช้

อาณาจักรฮิตไทต์เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในราวปี 1380 - 1346 ก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยพระเจ้า Suppiluliumas ที่ 1 อาณาจักรฮิตไทต์กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เทียบเคียงได้กับอาณาจักรอียิปต์ การแข่งขันกันในการแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรทั้งสองได้นำไปสู่สงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดนคาเดช ในปี 1274 ก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยของพระเจ้า Muwattalis แห่งอาณาจักรฮิตไทต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 1 แห่งอาณาจักรอียิปต์ สงครามในครั้งนี้ปรากฏว่า ไม่มีฝ่ายใดสามารถเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด สงครามจึงยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาแห่งคาเดช (Treaty of Kadesh) ในปี 1269 ก่อนคริสตกาล

สนธิสัญญาแห่งคาเดช เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา เนื้อหาสำคัญกล่าวถึงการสงบศึกและการแลกเปลี่ยนเชลยศึก สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ถูกจารึกในภาษาอัคคาเดียน (Akkadian) ซึ่งเป็นภาษาสากลในยุคนั้น สนธิสัญญาตัวจริงฉบับของฮิตไทต์ เชื่อกันว่า จารึกลงบนแผ่นเงิน ปัจจุบันยังหาไม่พบ แต่ได้มีการค้นพบสำเนาของจริง จารึกลงบนแผ่นดินเหนียว (Cuneiform Tablet) ค้นพบเมื่อปี 1906 ที่เมืองฮัตตูซา ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของฮิตไทต์ สนธิสัญญาสันติภาพแห่งคาเดช ฉบับสำเนาของจริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันออก (Museum of Orient Art) ในพระราชวังทอปกาปี นครอิสตันบูล สนธิสัญญาฉบับของอียิปต์ถูกจารึกลงบนผนังวิหารแห่งหนึ่งในประเทศอียิปต์ องค์การสหประชาชาติได้จำลองสนธิสัญญาฉบับนี้ประดับไว้ที่ทางเข้าอาคารสำนักงานองค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพดังกล่าว พระเจ้า Hattusilis ที่ 3 ของฮิตไทต์ ได้ส่งพระราชธิดามาอภิเษกสมรสกับฟาโรห์รามเสสที่ 2 แห่งอียิปต์ อาณาจักรฮิตไทต์และอียิปต์จึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติเรื่อยมาเกือบ 50 ปี จนถึงในราวปี 1190 ก่อนคริสตกาลอาณาจักร ฮิตไทต์ถูกโจมตีโดย“ชาวทะเล” (Sea Peoples) ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากแถบทะเลอีเจียน เมืองฮัตตูซ่า เมืองหลวงของฮิตไทต์ ถูกทำลายพร้อมกันการล่มสลายของอาณาจักรฮิตไทต์ เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเทียบรัศมีกับอียิปต์และบาบิโลนได้ถูกลบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในปี 1906 ได้มีการขุดค้นพบคลังเอกสารของกษัตริย์ฮิตไทต์ ที่เมืองฮัตตูซ่า อดีตอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรฮิตไทต์จึงได้ถูกเปิดเผยให้ชาวโลกได้รับทราบ นักโบราณคดีต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี จึงสามารถอ่านจารึกแผ่นดินเหนียวภาษาฮิตไทต์ (Hittite Tablet) ได้สำเร็จ (แต่ไม่ทั้งหมด)

ในปี 1987 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองฮัตตูซาเป็นมรดกโลก เมืองฮัตตูซ่าตั้งอยู่บนยอดเขาที่เต็มไปด้วยโขดหิน ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างเมืองของชาวฮิตไทต์ ชาวฮิตไทต์มีความเชื่องในเรื่องเทพเจ้าหลายองค์ เมืองหลวงของฮิตไทต์จึงเต็มไปด้วยวิหารที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่เทพเจ้าต่างๆ เมืองฮัตตูซ่าล้อมรอบไปด้วยกำแพงยาวถึง 6 กิโลเมตร ในสมัยที่ยังรุ่งเรืองเมืองฮัตตูซ่าคงจะเป็นเมืองที่ใหญ่มากเมืองหนึ่งในสมัยเมือง 3,000 ปีที่แล้วชาวฮิตไทต์คงจะเป็นชนชาติที่เก่งในด้านการสงครามมากกว่าในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม เพราะร่องรอยที่หลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ค่อยจะมีอะไรที่บ่งบอกถึงความวิจิตรงดงามในทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมากนัก เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับอียิปต์ ซึ่งเคยเป็นคู่อริของฮิตไทต์

ฮิตไทต์ใหม่ ( 1,200 - 800 ปีก่อนคริสตกาล)

ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรฮิตไทต์ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียเข้าสู่ยุคมืดที่ปราศจากศูนย์กลางแห่งอำนาจเป็นระยะเวลานานเกือบ 500 ปี อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างปี 1200-800 ก่อนคริสตกาล ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรฮิตไทต์ใหม่ (Neo-Hittite) ขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอานาโตเลียที่ติดกับซีเรียในปัจจุบัน อาณาจักรแห่งนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก ในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรแห่งนี้ได้ถูกโจมตีและทำลายลงโดยชาวอัสซีเรีย (Assyria)

ยุคหลังฮิตไทต์ (800-550 ปีก่อนคริสตกาล)

ในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งภายใต้อาณาจักรน้อยใหญ่ของชนหลายกลุ่มที่ได้อพยพเข้ามายังอานาโตเลียจากที่ต่างๆ อาณาจักรเหล่านี้ตั้งกระจัดกระจายทั่วไปในอานาโตเลีย อาณาจักรที่สำคัญที่สุดอาณาจักรหนึ่งได้แก่ อาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชาวฟรีเจียอพยพมายังอานาโตเลียจากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปแถบลุ่มแม่น้ำดานูบในราวปี 1250 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยฮิตไทต์ ภาษาของชาวฟรีเจียคร้ายคลึงกับภาษากรีก ในระยะแรกที่อพยพเข้ามายังอานาโตเลียชาวฟรีเจียยังใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน จนกระทั่งในราวปี 738 ก่อนคริสตกาล ชาวฟรีเจียได้พัฒนาและสถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้น โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์เดียน (Gordion) ในภาคตะวันตกของอานาโตเลีย

อาณาจักรฟรีเจียครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคกลางฃองอานาโตเลียซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรฮิตไทต์ในบริเวณเมืองฮัตตูซา เมืองหลวงของฮิตไทต์ก็ปรากฏร่องรอยหลักฐานการก่อสร้างต่อเติมโดยชาวฟรีเจีย เมืองกอร์เดียนอดีตราชธานีของอาณาจักรฮิตไทต์ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเมืองโพลัดลี (Polatli) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงอังการาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร เมืองกอร์เดียมีขนาดเล็กกว่าเมืองฮัตตูซ่า อดีตราชธานีของฮิตไทต์มาก โบราณสถานสำคัญของเมืองกอร์เดีย คือ เนินฝังศพ (Tumulus) ซึ่งมีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปมากกว่า 80 แห่ง ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดีจะเข้าใจว่าเป็นเพียงเนินเขาธรรมดา อาณาจักรฟรีเจียเจริญรุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปีก็ล่มสลาย โดยในราวปี 650 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรฟรีเจียถูกอาณาจักรลีเดีย (Lydia) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะสันตกเฉียงใต้ของอานาโตเลียแถบทะเลอีเจียนโจมตีและทำลาย

อาณาจักรลิเดียมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองซาร์ดิส (Sardis) สันนิษฐานกันว่าชาวลิเดียเป็นลูกผสมระหว่างกรีกและชนพื้นเมืองในอานาโตเลีย อาณาจักรลิเดียเจริญรุ่งเรืองอยู่ในราวศตวรรษที่ 6-7 ก่อนคริสตกาล ในรัชกาลของพระเจ้า Croesus ซึ่งครองราชย์ในระหว่างปี 563-546 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรลิเดียมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมาก เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย ชาวลิเดียเป็นชนชาติแรกที่ผลิตเหรียญกษาปณ์ ซึ่งทำด้วยโลหะทองและเงินขึ้นใช้เป็นชาติแรกในโลก ความมั่งคั่งของอาณาจักรลิเดียเป็นที่ล่ำลือไปถึงอาณาจักรเปอร์เซีย พระเจ้าไซรัส (Cyrus) มหาราชแห่งเปอร์เซียได้ยกกองทัพเข้ามายังอานาโตเลีย และสามารถตีกรุงซาร์ดิส (Sardis) เมืองหลวงของอาณาจักรลิเดียได้สำเร็จในปี 546 ก่อนคริสตกาล

อานาโตเลียภายใต้การยึดครองของเปอร์เซียและกรีก (546 - 113 ปี ก่อนคริสตกาล)

ภายหลังที่ยึดครองอาณาจักรลิเดียได้สำเร็จในปี 546 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรัสมหาราชได้พยายามที่จะใช้อานาโตเลียเป็นฐานในการโจมตีกรีซแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี เปอร์เซียสามารถขยายอำนาจครอบครองอานาโตเลียไว้ได้เกือบทั้งหมดเป็นระยะเวลายาวนานเกือบ 200 ปี จนกระทั่งถึงปี 330 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาซิโดเนียได้ยกกองทัพเข้ามายังอานาโตเลีย เพือใช้เป็นทางผ่านไปโจมตีเปอร์เซีย เมืองต่างๆ ในอานาโตเลียได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ในปี 334 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเปอร์เซีย

อย่างไรก็ดี การครอบครองอานาโตเลียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นในปี 323 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ทรงสิ้นพระชนม์ที่บาบิโลน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) ระหว่างที่เสด็จกลับจากการทำสงครามในเอเชียใต้ ด้วยพระชนมายุเพียง 33 พรรษา อาราจักรอันกว้างใหญ่ของพระองค์ได้ถูกแบ่งแยกและปกครองโดยเหล่าขุนพลของพระองค์ แม้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในอานาโตเลียจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 10 ปี แต่ก็ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากมายในอานาโตเลีย ภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอานาโตเลียเป็นเวลาอีกหลายร้อยปีต่อมา นอกจากนี้ อาณาจักรที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยเหล่าขุนพลของพระองค์ก็เป็นเสมือนทายาทของพระองค์ในอานาโตเลีย ยุค “เฮลเลนลิสติก” (Hellenistic) ซึ่งถือว่า เป็นยุคทองของศิลปะและวิทยาการของกรีก ได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเริ่มนับตั้งแต่ช่วงที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเปอร์เซีย ไปจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าออกุสตุส (Augustus) แห่งอาณาจักรโรมัน

อานาโตเลียภายใต้การปกครองของโรมัน (133 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 395)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช อาณาจักรของพระองค์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ปกครองโดยขุนพลสำคัญของพระองค์ 4 คน ได้แก่

ในบรรดาขุนพลทั้ง 4 คน ไลซิมาคุสได้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในอานาโตเลียและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นพื้นที่ในส่วนที่ติดกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอีเจียน ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ อาณาจักรของไลมาซิคุสมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเพอร์กามอน (Pergamon) อาณาจักรเพอร์กามอนของไลมาซิคุสได้รุ่งเรืองสืบมาจนถึงสมัยของพระเจ้าอัตตาลุสที่ 3 (Attalus III) (ครองราชย์ระหว่างปี 138 - 133 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งสิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาท พระเจ้าอัตตาลุส ที่ 3 ได้ทำพินัยกรรมยกอาณาจักรเพอร์กามอนให้แก่อาณาจักรโรมันซึ่งเป็นพันธมิตร พินัยกรรมดังกล่าวได้เปิดทางให้โรมันเข้าครอบครองอาณาจักรแพร์กามอนและอานาโตเลียทั้งหมดในเวลาต่อมา

ภายใต้การปกครองของโรมัน อานาโตเลียเข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองทั้งในด้านเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรม ซากเมืองโบราณตามชายฝั่งทะเลอีเจียนและเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี ส่วนใหญ่จะสร้างในยุคโรมัน โดยมากจะมีอายุอยู่ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรโรมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อย่างไรก็ดี ในทางการเมือง อานาโตเลียไม่ค่อยจะมีความสำคัญมากนักสำหรับจักรวรรดิโรมันจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 4

จักรวรรดิไบเซนไทน์ (ค.ศ. 395 – 1100)

ปี ค.ศ. 305 ได้เกิดสงครามกลามเมืองระหว่างผู้นำของโรมัน 2 คน คือลีซีนีอุส (Licinius) กับ คอนสแตนติน(Constantin) ผลปรากฏว่าคอนสแตนตินได้รับชัยชนะเหนือลีซีนีอุส ในสมรภูมิใกล้เมืองไบแซนทิอุม (Byzantium) ในปี ค.ศ. 324 และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิของโรมัน

ในปี ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันจากกรุงโรม มายังเมืองไบเซนทิอุม ซึ่งตามตำนานเล่าว่า บิซัส (Buzas) แห่งเมการา (Megara) ได้นำชาวกรีกมาสร้างไว้ในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ย้ายเมืองหลวงมายังเมืองไบเซนทิอุมแล้ว โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกรุงโรมใหม่ หรือ โนวา โรม (Nova Rome) อย่างไรก็ดี ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 337 กรุงโนวา โรม ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คอนสแตนติโนเปิล เพือเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์

พระนามจักรพรรดิโรมันในยุคที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง

  1. คอนสแตนตินที่ 1 (Constantinus I) ค.ศ. 330 – 337
  2. คอนสแตนตินที่ 2 (Constantinus I) ค.ศ. 337 – 360
  3. จูเลียน (Julian) ค.ศ. 360 – 363
  4. โจเวียน (Jovian) ค.ศ. 363 – 364
  5. วาเลนส์ (Valens) ค.ศ. 364 – 378
  6. เกรเทียน (Gratien) ค.ศ. 378 – 383
  7. เธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) ค.ศ. 383 – 395

ในปี ค.ศ. 395 จักรพรรดิเธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) ได้ทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็น 2 ส่วน เพื่อพระราชทานให้แก่พระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส (Arcadius) ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี ค.ศ. 476 ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดในยุโรป อาณาจักรโรมันตะวันออกได้เจริญรุ่งเรืองสืบมากว่า 1,000 ปี ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้เรียกอาณาจักรโรมันตะวันออกว่า อาณาจักรไบเซนไทน์ (Byzantine) ตามชื่อเมืองไบเซนทิอุม (Byzantium) อาณาจักรไบเซนไทน์ได้หันมารับภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอานาโตเลียมาตั้งแต่ครั้งที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามายึดครองอานาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ภาษาละตินของโรมันจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยภาษากรีก และได้กลายเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอาณาจักรไบเซนไทน์ในเวลาต่อมา

อาณาจักรไบเซนไทน์ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) (ครองราชย์ระหว่างปี 527 – 565) จักรพรรดิพระองค์นี้เป็นผู้สร้างวิหารเซนต์โซเฟียอันยิ่งใหญ่อลังการ เป็นเพชรเม็ดเอกของสถาปัตยกรรมแบบไบเซนไทน์ ซึ่งยังยืนหยัดท้าทายกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 1,500 ปี สิ้นรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน อาณาจักรไบเซนไทน์ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลงตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1204 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกโจมตีและยึดครองโดยกองทหารครูเสด (Crusaders) เป็นเวลาถึง 6 ปี ความเสียหายจากการโจมตีและยึดครองในครั้งนี้ ได้ส่งผลให้อาณาจักรไบเซนไทน์เสื่อมอานาจลงอย่างรวดเร็ว

สงครามครูเสด

สงครามครูเสดมีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากชาติในยุโรปของจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ เพื่อร่วมกันต่อต้านการคุกคามของมุสลิมเติร์ก ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ และได้ยึดครองนครเยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการยอมรับกันเป็นอย่างดีจากพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) พระองค์ได้ทรงเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปในขณะนั้นร่วมมือกันขับไล่มุสลิมเติร์กออกจากนครเยรูซาเลม จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 หาทราบไม่ว่า การเรียกร้องของพระองค์จะเป็น “การชักศึกเข้าบ้าน” และนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรของพระองค์เองในที่สุด

ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กาหลิบอูมาร์ (Umar) แห่งอียิปต์ได้ยึดครองนครเยรูซาเล็มจากชาวคริสเตียน ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเลมถูกกลั่นแกล้งรังควาน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1071 เซลจุกเติร์กได้เข้ายึดครองนครเยรูซาเลม และได้เริ่มรุกรานเข้ามายังอานาโตเลีย ดินแดนภายใต้การปกครองของไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมือง Malazgirt สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกสามารถเอาชนะกองทัพของจัดรพรรดิโรมันนุสที่ 4 ของไบเซนไทน์ ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชาวเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อานาโตเลีย การรุกรานของชาวเติร์กทำให้จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปยังพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี สงครามครูเสดครั้งที่ 1 จึงเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1096 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อขับไล่เติร์กออกจากนครเยรูซาเลม สงครามครูเสดได้ยืดเยื้อต่อมาอีก 8 ครั้ง ก่อนที่จะยุติลงในปี ค.ศ. 1272

ในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 4 กองทหารครูเสดแทนที่จะพยายามบุกยึดนครเยรูซาเลมคืนจากมุสลิมเติร์ก กลับบุกเข้าปล้นนครคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1204 และได้แบ่งแยกดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ออกเป็นหลายส่วนเพื่อปกครองกันเอง เชื้อพระวงค์ในไบเซนไทน์ซึ่งเสด็จลี้ภัยไปอยู่ที่เมือง Nicaea ทางตะวันตกของอานาโตเลีย ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 ปี จึงสามารถยึดนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาได้ แต่อาณาจักรไบเซนไทน์ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เสื่อมทรมอย่างหนัก ชนเชื้อสายเติร์กได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย และสามารถยึดครองนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453

อาณาจักรเซลจุกเติร์ก (ค.ศ. 1077 – 1118)

ความอ่อนแอของอาณาจักรไบเซนไทน์ได้เปิดทางให้พวกเติร์กจากเอเชียกลางเปิดฉากการรุกรานเข้าสู่ดินแดนอานาโตเลียของอาณาจักรไบเซนไทน์มากยิ่งขึ้น ชนเชื้อสายเติร์กซึ่งดั้งเดิมเป็นชนเร่ร่อนแบ่งออกเป็นหลายเผ่า ถิ่นฐานดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์กอยู่ในเอเชียกลางแถบเทือกเขาอัลไตในประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางธรรมชาติ ทำให้ชาวเติร์กอพยพออกจากเอเชียกลางไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ชาวเติร์กเผ่าหนึ่งเรียกว่า “เซลจุก (Seljuk) ” ได้อพยพมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่เขตทะเลสาบแคสเปียน และได้ขยับเข้ามาใกล้อานาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1071) สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกประสบชัยชนะในสงครามเหนือกองทัพของจักรพรรดิโรมานุสที่ 4 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt) (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจังหวัดมุส ในภาคตะวันออกของประเทศตุรกี) ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่ดินแดนอานาโตเลีย

ในตอนแรกเซลจุกเติร์กพยายามที่จะยึดเมืองอิซนิกซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครอิสตันบูล มาเป็นเมืองหลวงของตน แต่ถูกไบเซนไทน์และกองทหารครูเสดร่วมกันขับไล่ออกไป จนต้องถอยไปปักหลักในตอนกลางของอานาโตเลีย ในปีค.ศ. 1077 เซลจุกได้สถาปนาอาณาจักรแห่งแรกของตนขึ้นในดินแดนอานาโตเลีย เรียกชื่อว่า “The Sultanate of Rum” มีราชธานีอยู่ที่เมืองคอนยา ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบอันกว้างใหญ่ในตอนกลางของอานาโตเลีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของเมืองคอนยา ซึ่งป็นที่ราบปราศจากต้นไม้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับถิ่นฐานดั้งเดิมของเติร์กในเอเชียกลางมาก

อาณาจักรเซลจุกในอานาโตเลียเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปี ก็เกิดการรบพุ่งกันเองตามแบบของสังคมแบบชนเผ่า ซึ่งมักจะมีเรื่องรบพุ่งกันเองอยู่เสมอๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่าน Sanjar ในปี ค.ศ. 1157 อาณาจักรเซลจุกก็ล่มสลายและแตกออกเป็นหลายแว่นแคว้นเรียกว่า Beylic (Emirate)

จักรวรรดิออตโตมัน

ดูหน้าหลักที่ จักรวรรดิออตโตมัน

การสิ้นสุดจักรวรรดิออตโตมัน และการเกิดสาธารณรัฐตุรกี

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุลต่านออตโตมันบางพระองค์ทรงพยายามที่จะปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจของจักรวรรดิออตโตมันให้ทันสมัย ทัดเทียมอารยประเทศในยุโรป แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง เนื่องจากสงครามได้ปะทุขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนทั่วดินแดนซึ่งเป็นเมืองขึ้นของออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมันต้องประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก การปฏิรูปจึงไม่บรรลุผล พระราชอำนาจของสุลต่านได้เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น

ในปี ค.ศ. 1876 กลุ่มปัญญาชนซึ่งเรียกตัวเองว่า ยังเติร์ก (Young Turks) ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และบีบให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (Abdulhamid II) พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองของจักรวรรดิมาเป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้เพียงปีเดียว ในปี ค.ศ. 1877 สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง

ในปี ค.ศ. 1908 กลุ่มยังเติร์กได้ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ในปีต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจ สุลต่านเมห์เมตที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มีพระราชอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด ทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น

Enver Pasha ผู้นำกลุ่มเติร์กหนุ่มได้รวบอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และในปี ค.ศ. 1914 ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จักรวรรดิออตโตมันจึงตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามด้วย ต้องยอมลงนามสนธิสัญญา Sevres ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นผลให้จักรวรรดิออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นที่เหลือในบอลข่านและตะวันออกกลาง และที่เลวร้ายที่สุดคือ อานาโตเลียถิ่นที่อยู่ของชาวเติร์ก และอิสตันบูลได้ถูกกองกำลังของชาติยุโรปที่ชนะสงครามเข้ายึดครอง การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข และการถูกบีบให้ลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุการณ์อันน่าอัปยศอดสูที่ชาวตุรกียังจดจำได้เป็นอย่างดี ทุกครั้งที่ตุรกีตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับจากภายนอก มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เสมอๆ

ชาวเติร์กส่วนใหญ่แม้จะยอมรับการสูญเสียดินแดนที่เคยเป็นเมืองขึ้น แต่ไม่อาจยอมรับความพยายามของชาติตะวันตกที่จะยึดครองอานาโตเลีย ซึ่งชาวเติร์กถือว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเติร์ก รัฐบาลของออตโตมันในขณะนั้นอยู่ในภาวะที่อ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อรองอะไรได้ ชาวเติร์กผู้รักชาติจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง โดยมีมุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) เป็นผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation) จึงอุบัติขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1919 – ค.ศ. 1923

ในช่วงนี้ได้เกิดรัฐบาลขึ้น 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของสุลต่านออตโตมัน ซึ่งตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล และรัฐบาลแห่งสมัชชาใหญ่ตุรกี (The Government of the Turkey Grand National Assembly) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงอังการา การต่อสู้ในสงครามเพื่ออิสรภาพสิ้นสุดลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาโลซานน์ (Lausanne) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งนำไปสู่การรับรองเขตแดนของประเทศตุรกีในปัจจุบัน และการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งมีกรุงอังการาเป็นเมืองหลวง เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1923

ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี ค.ศ. 1923 รัฐสภาของรัฐบาลอังการาได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1922 ยกเลิกระบบสุลต่าน ซึ่งยังคงมีอำนาจปกครองเพียงนครอิสตันบูลเท่านั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 อัครมหาเสนาบดีคนสุดท้ายของรัฐบาลออตโตมันได้ยื่นใบลาออก และในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สุลต่านเมห์เมตที่ 6 สุลต่านพระองค์สุดท้ายของออตโตมันได้เสด็จไปลี้ภัยในต่างประเทศ โดยเสด็จออกจากนครอิสตันบูลโดยเรือรบของอังกฤษ เป็นการปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่า 600 ปี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

  • Appian. History of Rome: The Syrian Wars.
  • Herodotus. The Works of Herodotus.

แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

หนังสือ
  • Bevan, Edwyn Robert (1902). The House of Seleucus. E. Arnold.
  • Botsford, George Willis (1922). Hellenic History. The Macmillan Company.
  • Bury, John Bagnell (1913). A History of Greece to the Death of Alexander the Great. Macmillan.
  • Duncker, Max (1879). The History of Antiquity, Volume III. Richard Bentley & Son.
  • Freeman, Charles (1999). Egypt, Greece and Rome: Civilizations of the Ancient Mediterranean. Oxford University Press. ISBN 0198721943.
  • Gibbon, Edward (1952). The Decline and Fall of the Roman Empire. William Benton.
  • Hawkins, John David (2000). Corpus of Hieroglyphic Luwian Inscriptions. Walter de Gruyter. ISBN 3110148706.
  • Herbermann, Charles George (1913). The Catholic Encyclopedia. Robert Appleton Co.
  • Hornblower, Simon; Antony Spawforth (1996). The Oxford Classical Dictionary. Oxford University Press.
  • Kinross, John (2001). Atatürk: A Biography of Mustafa Kemal, Father of Modern Turkey. Phoenix Press. ISBN 1842125990.
  • Mommsen, Theodor (1906). The History of Rome: The Provinces, from Caesar to Diocletian. Charles Scribner's Sons.
  • Ramsay, W.M. (1904). The Letters to the Seven Churches of Asia. Hodder & Stoughton.
  • Rawlinson, George (1900). Ancient History: From the Earliest Times to the Fall of the Western Empire. The Colonial Press.
  • Saggs, H.W.F. (2000). Babylonians. University of California Press. ISBN 0520202228.
อินเทอร์เน็ต
  • Encyclopædia Britannica Online, The legends and the truth about King Midas.
  • Jona Lendering, Parthia. Retrieved on 2007-10-16.
  • J.D. Hawkins, Evidence from Hittite Records. Retrieved on 2007-10-18.
  • Garance Fiedler, Phrygia. Retrieved on 2007-10-19.
  • Science Daily(June 18, 2007), Ancient Etruscans Were Immigrants From Anatolia, Or What Is Now Turkey. Retrieved on 2007-10-18.

ประว, ศาสตร, อานาโตเล, กล, าวถ, งด, นแดนท, เร, ยกว, าอานาโตเล, ยหร, อเอเช, ยไมเนอร, งเป, นด, นแดนทางตะว, นตกของทว, ปเอเช, ในทางภ, ศาสตร, หมายถ, งด, นแดนส, วนใหญ, ของประเทศต, รก, ในป, จจ, จากทะเลอ, เจ, ยนซ, งเป, นขอบเขตทางตะว, นตกจนถ, งภ, เขาชายแดนประเทศอาร, เน. prawtisastrxanaoteliyklawthungdinaednthieriykwaxanaoteliyhruxexechiyimenxr sungepndinaednthangtawntkkhxngthwipexechiy inthangphumisastrhmaythungdinaednswnihykhxngpraethsturkiinpccubn cakthaelxieciynsungepnkhxbekhtthangtawntkcnthungphuekhachayaednpraethsxarmieniythangtawnxxk aelaethuxkekhathaeldathangehnuxcnthungethuxkekhaetharsthangitodysphaphthangphumisastr xanaoteliyepnesmuxnsaphanthiechuxmrahwangyuorpaelaexechiytngaetyukhdukdabrrph dinaednaehngnicungepnesnthangsahrbkaredinthangipmarahwangyuorpaelaexechiy tlxdrayaewlakwa 4 thung 5 000 pithiphanma michnhlayephaphnthuedinthangekhamayngxanaoteliyaelaidtngthinthanbaneruxnkhxngtnbndinaednaehngni xanackrkhxngchnehlaniidphthnaecriyrungeruxngaelainthisudktxnglmslayiptamkalewla khwamekaaekaelahlakhlaykhxngxarythrrmthiekhyecriyrungeruxngbnphunaephndinaehngniepn 1 in 3 singthichawturkimikhwamphakhphumiicepnphiesssahrbdinaednxnepnpraethstninpccubntamhlkthanthangprawtisastr thirabsungxanaoteliyekhyepnthixasykhxngmnusymatngaetyukhhin yukhprawtisastrkhxngxanaoteliyerimtnkhuninyukholha praman 3 000 1 200 kxnkhristkal hakmxngyxnhlngipinyukhdngklawklbmacnthungyukhpccubncaphbwaxanaoteliymilksnaphiessthiimehmuxndinaednxunidinolkkhux epndinaednthimixarythrrmthiekaaekaelahlakhlaykhxngchnhlayklumsungidphldepliynknekhamakhrxbkhrxngdinaednaehngni enuxha 1 htit 2 500 2 000 pikxnkhristkal 2 hititht 2 000 1 200 pikxnkhristkal 3 hitithtihm 1 200 800 pikxnkhristkal 4 yukhhlnghititht 800 550 pikxnkhristkal 5 xanaoteliyphayitkaryudkhrxngkhxngepxresiyaelakrik 546 113 pi kxnkhristkal 6 xanaoteliyphayitkarpkkhrxngkhxngormn 133 pikxnkhristkal kh s 395 7 ckrwrrdiibesnithn kh s 395 1100 7 1 sngkhramkhruesd 8 xanackreslcuketirk kh s 1077 1118 9 ckrwrrdixxtotmn 10 karsinsudckrwrrdixxtotmn aelakarekidsatharnrthturki 11 xangxing 11 1 aehlngkhxmulpthmphumi 11 2 aehlngkhxmulthutiyphumi 11 2 1 hnngsux 11 2 2 xinethxrenthtit 2 500 2 000 pikxnkhristkal aekikhxarythrrmaehngaerkbnaephndinxanaoteliyidthuxkaenidkhunphrxmkbphthnakaraelakhwamecriyrungeruxngkhxngchawhtit chnphunemuxngdngedimbnthirabsungxanaoteliy chawhtitidsthapnaxanackrkhxngtnkhuninrawpi 2500 2000 kxnkhristkal pramanpi 2000 kxnkhristkal xanackrkhxngchawhtiterimesuxmxanaclng epidthangihchntangthinekhamakhrxbkhrxngdinaednxnepnthinthanedimkhxngchawhtithititht 2 000 1 200 pikxnkhristkal aekikhhitithtepnchnechuxsayxinod yuorepiyn snnisthanknwaxphyphekhamayngxanaoteliycakthangyuorp odyphanthangkhxekhsshruxbxlkhaninrawpi 2000 kxnkhristkal sungepnchwngthixanackrhtitkalngesuxmxanaclng emuxidekhamayngxanaoteliyaelw chawhitithtidrbexawthnthrrmkhxngchawhtitmaich aemaetchuxkhxngpraethshruxdinaednthichawhitithtxasykyngichchuxdngedimthichawhtiticheriykchuxpraethstn The land of Hatti chawhitithtepnchnklumaerkinxanaoteliythisamarthsrangckrwrrdithiyingihyaelaepnpukaephnindinaednaehngni xanackrhitithtidecriyrungeruxngaephkhyayxanaekhtkhrxbkhlumphunthiswnihykhxngxanaoteliy aelayngsamarthkhyaydinaednxxkipidiklthungemosopetemiy karrukrankhxnghitithttxxanackrbabiolninemosopetemiyidnaipsukarlmslaykhxngxanackrbabioln chawhitithtidrbexawthnthrrm khwamechuxthangsasna aelarabbkdhmaykhxngbabiolnmaichxanackrhitithtecriyrungeruxngthungkhidsudinrawpi 1380 1346 kxnkhristkal inrchsmyphraeca Suppiluliumas thi 1 xanackrhitithtklayepnckrwrrdithiyingihyethiybekhiyngidkbxanackrxiyipt karaekhngkhnkninkaraephkhyayxanackhxngxanackrthngsxngidnaipsusngkhramaeyngchingkhwamepnihyehnuxdinaednkhaedch inpi 1274 kxnkhristkal inrchsmykhxngphraeca Muwattalis aehngxanackrhititht aelafaorhramessthi 1 aehngxanackrxiyipt sngkhraminkhrngnipraktwa immifayidsamarthexachnaidxyangeddkhad sngkhramcungyutilngdwykarlngnaminsnthisyyaaehngkhaedch Treaty of Kadesh inpi 1269 kxnkhristkalsnthisyyaaehngkhaedch epnsnthisyyasntiphaphthiepnlaylksnxksrthiekaaekthisudethathiekhymikarkhnphbma enuxhasakhyklawthungkarsngbsukaelakaraelkepliynechlysuk snthisyyachbbniidthukcarukinphasaxkhkhaediyn Akkadian sungepnphasasaklinyukhnn snthisyyatwcringchbbkhxnghititht echuxknwa caruklngbnaephnengin pccubnynghaimphb aetidmikarkhnphbsaenakhxngcring caruklngbnaephndinehniyw Cuneiform Tablet khnphbemuxpi 1906 thiemuxnghttusa sungekhyepnemuxnghlwngkhxnghititht snthisyyasntiphaphaehngkhaedch chbbsaenakhxngcringpccubntngaesdngxyuthiphiphithphnthsilpatawnxxk Museum of Orient Art inphrarachwngthxpkapi nkhrxistnbul snthisyyachbbkhxngxiyiptthukcaruklngbnphnngwiharaehnghnunginpraethsxiyipt xngkhkarshprachachatiidcalxngsnthisyyachbbnipradbiwthithangekhaxakharsanknganxngkhkarshprachachatithinkhrniwyxrkphayhlngkarlngnaminsnthisyyasntiphaphdngklaw phraeca Hattusilis thi 3 khxnghititht idsngphrarachthidamaxphiesksmrskbfaorhramessthi 2 aehngxiyipt xanackrhitithtaelaxiyiptcungxyurwmknxyangsntieruxymaekuxb 50 pi cnthunginrawpi 1190 kxnkhristkalxanackr hitithtthukocmtiody chawthael Sea Peoples sungechuxknwamacakaethbthaelxieciyn emuxnghttusa emuxnghlwngkhxnghititht thukthalayphrxmknkarlmslaykhxngxanackrhititht eruxngrawekiywkbxanackrthiyingihyaehngni sungkhrnghnungekhyethiybrsmikbxiyiptaelababiolnidthuklbeluxnhayipcakhnaprawtisastr cnkrathnginpi 1906 idmikarkhudkhnphbkhlngexksarkhxngkstriyhititht thiemuxnghttusa xditxnyingihykhxngxanackrhitithtcungidthukepidephyihchawolkidrbthrab nkobrankhditxngichewlananthung 7 pi cungsamarthxancarukaephndinehniywphasahititht Hittite Tablet idsaerc aetimthnghmd inpi 1987 xngkhkaryuensokidkhunthaebiynemuxnghttusaepnmrdkolk emuxnghttusatngxyubnyxdekhathietmipdwyokhdhin sungthuknamaichepnwsdusakhyinkarkxsrangemuxngkhxngchawhititht chawhitithtmikhwamechuxngineruxngethphecahlayxngkh emuxnghlwngkhxnghitithtcungetmipdwywiharthisrangkhunephuxxuthisihaekethphecatang emuxnghttusalxmrxbipdwykaaephngyawthung 6 kiolemtr insmythiyngrungeruxngemuxnghttusakhngcaepnemuxngthiihymakemuxnghnunginsmyemuxng 3 000 pithiaelwchawhitithtkhngcaepnchnchatithiekngindankarsngkhrammakkwaindansilpaaelasthaptykrrm ephraarxngrxythihlngehluxihehnxyuinpccubn imkhxycamixairthibngbxkthungkhwamwicitrngdngaminthangsilpkrrmaelasthaptykrrmmaknk epriybethiybimidelykbxiyipt sungekhyepnkhuxrikhxnghitiththitithtihm 1 200 800 pikxnkhristkal aekikhphayhlngkarlmslaykhxngxanackrhitithtinrawkhriststwrrsthi 12 kxnkhristkal xanaoteliyekhasuyukhmudthiprascaksunyklangaehngxanacepnrayaewlananekuxb 500 pi xyangirkdi inchwngrahwangpi 1200 800 kxnkhristkal idmikarkxtngxanackrhitithtihm Neo Hittite khunthangphakhtawnxxkechiyngitkhxngxanaoteliythitidkbsieriyinpccubn xanackraehngniimidmikhwamsakhymaknk inrawstwrrsthi 8 kxnkhristkal xanackraehngniidthukocmtiaelathalaylngodychawxssieriy Assyria yukhhlnghititht 800 550 pikxnkhristkal aekikhinrawstwrrsthi 8 kxnkhristkal xanaoteliyidklbmarungeruxngxikkhrngphayitxanackrnxyihykhxngchnhlayklumthiidxphyphekhamayngxanaoteliycakthitang xanackrehlanitngkracdkracaythwipinxanaoteliy xanackrthisakhythisudxanackrhnungidaek xanackrfrieciy Phrygia nkobrankhdisnnisthanwachawfrieciyxphyphmayngxanaoteliycakthangphakhtawnxxkechiyngitkhxngyuorpaethblumaemnadanubinrawpi 1250 kxnkhristkal sungepnchwngplaysmyhititht phasakhxngchawfrieciykhraykhlungkbphasakrik inrayaaerkthixphyphekhamayngxanaoteliychawfrieciyyngichchiwitaebberrxn cnkrathnginrawpi 738 kxnkhristkal chawfrieciyidphthnaaelasthapnaxanackrkhxngtnexngkhun odymiemuxnghlwngxyuthiemuxngkxrediyn Gordion inphakhtawntkkhxngxanaoteliyxanackrfrieciykhrxbkhrxngphunthiswnihyinphakhklangkhxngxanaoteliysungekhyepnthitngkhxngxanackrhitithtinbriewnemuxnghttusa emuxnghlwngkhxnghitithtkpraktrxngrxyhlkthankarkxsrangtxetimodychawfrieciy emuxngkxrediynxditrachthanikhxngxanackrhitithtpccubntngxyuinekhtemuxngophldli Polatli sungxyuhangcakkrungxngkaraipthangthistawntkechiyngitpraman 100 kiolemtr emuxngkxrediymikhnadelkkwaemuxnghttusa xditrachthanikhxnghitithtmak obransthansakhykhxngemuxngkxrediy khux eninfngsph Tumulus sungmipraktihehnxyuthwipmakkwa 80 aehng sunghakimsngektihdicaekhaicwaepnephiyngeninekhathrrmda xanackrfrieciyecriyrungeruxngxyuephiyngrayaewlasn imthung 100 piklmslay odyinrawpi 650 kxnkhristkal xanackrfrieciythukxanackrliediy Lydia sungtngxyuthangthistasntkechiyngitkhxngxanaoteliyaethbthaelxieciynocmtiaelathalayxanackrliediymiemuxnghlwngxyuthiemuxngsardis Sardis snnisthanknwachawliediyepnlukphsmrahwangkrikaelachnphunemuxnginxanaoteliy xanackrliediyecriyrungeruxngxyuinrawstwrrsthi 6 7 kxnkhristkal inrchkalkhxngphraeca Croesus sungkhrxngrachyinrahwangpi 563 546 kxnkhristkal xanackrliediymikhwamecriymngkhngxyangmak enuxngcakepnsunykarkharahwangyuorpaelaexechiy chawliediyepnchnchatiaerkthiphlitehriyyksapn sungthadwyolhathxngaelaenginkhunichepnchatiaerkinolk khwammngkhngkhxngxanackrliediyepnthilaluxipthungxanackrepxresiy phraecaisrs Cyrus mharachaehngepxresiyidykkxngthphekhamayngxanaoteliy aelasamarthtikrungsardis Sardis emuxnghlwngkhxngxanackrliediyidsaercinpi 546 kxnkhristkalxanaoteliyphayitkaryudkhrxngkhxngepxresiyaelakrik 546 113 pi kxnkhristkal aekikhphayhlngthiyudkhrxngxanackrliediyidsaercinpi 546 kxnkhristkal phraecaisrsmharachidphyayamthicaichxanaoteliyepnthaninkarocmtikrisaetimprasbkhwamsaerc xyangirkdi epxresiysamarthkhyayxanackhrxbkhrxngxanaoteliyiwidekuxbthnghmdepnrayaewlayawnanekuxb 200 pi cnkrathngthungpi 330 kxnkhristkal phraecaxelksanedxrmharach aehngmasiodeniyidykkxngthphekhamayngxanaoteliy ephuxichepnthangphanipocmtiepxresiy emuxngtang inxanaoteliyidyxmswamiphkditxphraxngkh inpi 334 kxnkhristkal phraecaxelksanedxrmharach thrngmichychnaehnuxxanackrepxresiyxyangirkdi karkhrxbkhrxngxanaoteliykhxngphraecaxelksanedxrmharachekidkhunephiyngrayaewlasn ethanninpi 323 kxnkhristkal phraecaxelksanedxrmharachkthrngsinphrachnmthibabioln praethsxirkinpccubn rahwangthiesdcklbcakkarthasngkhraminexechiyit dwyphrachnmayuephiyng 33 phrrsa xarackrxnkwangihykhxngphraxngkhidthukaebngaeykaelapkkhrxngodyehlakhunphlkhxngphraxngkh aemkarpkkhrxngkhxngphraecaxelksanedxrmharachinxanaoteliycaepnephiyngrayaewlasn imthung 10 pi aetkidnaipsukarepliynaeplngthisakhymakmayinxanaoteliy phasaaelawthnthrrmkhxngkrik idklayepnthiyxmrbxyangaephrhlayinxanaoteliyepnewlaxikhlayrxypitxma nxkcakni xanackrthithuksthapnakhunodyehlakhunphlkhxngphraxngkhkepnesmuxnthayathkhxngphraxngkhinxanaoteliy yukh ehlelnlistik Hellenistic sungthuxwa epnyukhthxngkhxngsilpaaelawithyakarkhxngkrik iderimtnkhuninsmykhxngphraecaxelksanedxrmharach odyerimnbtngaetchwngthiphraecaxelksanedxrmharach thrngmichychnaehnuxxanackrepxresiy ipcnthungrchsmykhxngphraecaxxkustus Augustus aehngxanackrormnxanaoteliyphayitkarpkkhrxngkhxngormn 133 pikxnkhristkal kh s 395 aekikhphayhlngkarsinphrachnmkhxngphraecaxelksanedxrmharach xanackrkhxngphraxngkhidthukaebngxxkepn 4 swn pkkhrxngodykhunphlsakhykhxngphraxngkh 4 khn idaek khssnodrs Cassandros pkkhrxngmasiodeniyaelakris eselxkhus Seleucus pkkhrxngemosopetemiy sieriy aelaxanaoteliytawnxxk potelmi Ptolemy pkkhrxngxiyipt liebiy aelaxanaoteliyit aela ilsimakhus Lysimachus pkkhrxngxanaoteliytxnehnuxaelatawntkinbrrdakhunphlthng 4 khn ilsimakhusidpkkhrxngdinaednswnihyinxanaoteliyaelaepnswnthisakhythisud ephraaepnphunthiinswnthitidkbchayfngthaelemdietxrereniynaelathaelxieciyn sungmikhwamsakhythngindanesrsthkicaelayuththsastr xanackrkhxngilmasikhusmisunyklangxyuthiemuxngephxrkamxn Pergamon xanackrephxrkamxnkhxngilmasikhusidrungeruxngsubmacnthungsmykhxngphraecaxttalusthi 3 Attalus III khrxngrachyrahwangpi 138 133 kxnkhristkal sungsinphrachnmodyimmirchthayath phraecaxttalus thi 3 idthaphinykrrmykxanackrephxrkamxnihaekxanackrormnsungepnphnthmitr phinykrrmdngklawidepidthangihormnekhakhrxbkhrxngxanackraephrkamxnaelaxanaoteliythnghmdinewlatxmaphayitkarpkkhrxngkhxngormn xanaoteliyekhasuyukhaehngkhwamrungeruxngthngindanesrsthkicaelasilpwthnthrrm sakemuxngobrantamchayfngthaelxieciynaelaemdietxrereniynkhxngturki swnihycasranginyukhormn odymakcamixayuxyuinrawkhriststwrrsthi 2 sungepnchwngthixanackrormnecriyrungeruxngthungkhidsud xyangirkdi inthangkaremuxng xanaoteliyimkhxycamikhwamsakhymaknksahrbckrwrrdiormncnkrathngkhriststwrrsthi 4ckrwrrdiibesnithn kh s 395 1100 aekikhpi kh s 305 idekidsngkhramklamemuxngrahwangphunakhxngormn 2 khn khuxlisinixus Licinius kb khxnsaetntin Constantin phlpraktwakhxnsaetntinidrbchychnaehnuxlisinixus insmrphumiiklemuxngibaesnthixum Byzantium inpi kh s 324 aelaidsthapnatnexngkhunepnckrphrrdikhxngckrwrrdikhxngormninpi kh s 330 ckrphrrdikhxnsaetntinidthrngyayemuxnghlwngkhxngckrwrrdiormncakkrungorm mayngemuxngibesnthixum sungtamtananelawa biss Buzas aehngemkara Megara idnachawkrikmasrangiwinrawstwrrsthi 7 kxnkhristkal phayhlngthickrphrrdikhxnsaetntinidyayemuxnghlwngmayngemuxngibesnthixumaelw oprdihepliynchuxemuxngepnkrungormihm hrux onwa orm Nova Rome xyangirkdi phayhlngthickrphrrdikhxnsaetntinsinphrachnminpi kh s 337 krungonwa orm idthukepliynchuxepn khxnsaetntionepil ephuxepnkarechlimphraekiyrtiaedphraxngkhphranamckrphrrdiormninyukhthikrungkhxnsaetntionepilepnemuxnghlwng khxnsaetntinthi 1 Constantinus I kh s 330 337 khxnsaetntinthi 2 Constantinus I kh s 337 360 cueliyn Julian kh s 360 363 ocewiyn Jovian kh s 363 364 waelns Valens kh s 364 378 ekrethiyn Gratien kh s 378 383 ethoxdxsixusthi 1 Theodosius I kh s 383 395inpi kh s 395 ckrphrrdiethoxdxsixusthi 1 Theodosius I idthrngaebngxanackrormnxxkepn 2 swn ephuxphrarachthanihaekphrarachoxrs 2 phraxngkh khux ecachayxarkhadixus Arcadius idkhrxngckrwrrdiormntawnxxk mikrungkhxnsaetntionepilepnemuxnghlwng inkhnathixanackrormntawntkidthukthalayaelalmslayipinpi kh s 476 sungnaipsuyukhmudinyuorp xanackrormntawnxxkidecriyrungeruxngsubmakwa 1 000 pi phayhlngkarlmslaykhxngckrwrrdiormntawntk nkprawtisastrideriykxanackrormntawnxxkwa xanackribesnithn Byzantine tamchuxemuxngibesnthixum Byzantium xanackribesnithnidhnmarbphasaaelawthnthrrmkhxngkrik sungepnthiyxmrbxyangaephrhlayinxanaoteliymatngaetkhrngthiphraecaxelksanedxrmharachekhamayudkhrxngxanaoteliyinkhriststwrrsthi 4 kxnkhristkal phasalatinkhxngormncungkhxy thukaethnthidwyphasakrik aelaidklayepnphasathiidrbkaryxmrbxyangaephrhlayinxanackribesnithninewlatxmaxanackribesnithnidecriyrungeruxngthungkhidsudinrchkalkhxngckrphrrdicstieniyn Justinian khrxngrachyrahwangpi 527 565 ckrphrrdiphraxngkhniepnphusrangwiharesntosefiyxnyingihyxlngkar epnephchremdexkkhxngsthaptykrrmaebbibesnithn sungyngyunhydthathaykalewlamacnthungpccubnepnewlaekuxb 1 500 pi sinrchkalkhxngckrphrrdicstieniyn xanackribesnithnkhxy esuxmxanaclngtamladb inpi kh s 1204 krungkhxnsaetntionepilthukocmtiaelayudkhrxngodykxngthharkhruesd Crusaders epnewlathung 6 pi khwamesiyhaycakkarocmtiaelayudkhrxnginkhrngni idsngphlihxanackribesnithnesuxmxanaclngxyangrwderw sngkhramkhruesd aekikh sngkhramkhruesdmicuderimtnmacakkareriykrxngkhxkhwamchwyehluxcakchatiinyuorpkhxngckrphrrdixelksixusthi 1 aehngckrwrrdiibesnithn ephuxrwmkntxtankarkhukkhamkhxngmuslimetirk thikalngaephkhyayxanacekhasudinaednkhxngxanackribesnithn aelaidyudkhrxngnkhreyrusaelm dinaednxnskdisiththikhxngchawkhrist khxeriykrxngdngklawidrbkaryxmrbknepnxyangdicakphrasntpapaexxrbnthi 2 Urban II phraxngkhidthrngeriykrxngihphunayuorpinkhnannrwmmuxknkhbilmuslimetirkxxkcaknkhreyrusaelm ckrphrrdixelksixusthi 1 hathrabimwa kareriykrxngkhxngphraxngkhcaepn karchksukekhaban aelanaipsukarlmslaykhxngxanackrkhxngphraxngkhexnginthisudinkhriststwrrsthi 7 kahlibxumar Umar aehngxiyiptidyudkhrxngnkhreyrusaelmcakchawkhrisetiyn chawkhristinnkhreyrusaelmthukklnaeklngrngkhwan sungtxmainpi kh s 1071 eslcuketirkidekhayudkhrxngnkhreyrusaelm aelaiderimrukranekhamayngxanaoteliy dinaednphayitkarpkkhrxngkhxngibesnithn n smrphumiemuxng Malazgirt sultan Alparslan phunachawetirkephaeslcuksamarthexachnakxngthphkhxngcdrphrrdiormnnusthi 4 khxngibesnithn chychnakhrngniidepidthangihchawetirkcakexechiyklanghlngihlekhasuxanaoteliy karrukrankhxngchawetirkthaihckrphrrdixelksixusthi 1 aehngxanackribesnithntxngrxngkhxkhwamchwyehluxipyngphrasntpapaexxrbnthi 2 sungidrbkartxbsnxngepnxyangdi sngkhramkhruesdkhrngthi 1 cungerimtnkhuninpi kh s 1096 odymicudprasngkhsakhyephuxkhbiletirkxxkcaknkhreyrusaelm sngkhramkhruesdidyudeyuxtxmaxik 8 khrng kxnthicayutilnginpi kh s 1272inrahwangsngkhramkhruesdkhrngthi 4 kxngthharkhruesdaethnthicaphyayambukyudnkhreyrusaelmkhuncakmuslimetirk klbbukekhaplnnkhrkhxnsaetntionepilinpi kh s 1204 aelaidaebngaeykdinaednkhxngxanackribesnithnxxkepnhlayswnephuxpkkhrxngknexng echuxphrawngkhinibesnithnsungesdcliphyipxyuthiemuxng Nicaea thangtawntkkhxngxanaoteliy txngichewlananekuxb 60 pi cungsamarthyudnkhrkhxnsaetntionepilklbkhunmaid aetxanackribesnithnktkxyuinsphawathiesuxmthrmxyanghnk chnechuxsayetirkidekhakhrxbkhrxngdinaednswnihykhxngxanaoteliy aelasamarthyudkhrxngnkhrkhxnsaetntionepilidsaercinpi kh s 1453xanackreslcuketirk kh s 1077 1118 aekikhkhwamxxnaexkhxngxanackribesnithnidepidthangihphwketirkcakexechiyklangepidchakkarrukranekhasudinaednxanaoteliykhxngxanackribesnithnmakyingkhun chnechuxsayetirksungdngedimepnchnerrxnaebngxxkepnhlayepha thinthandngedimkhxngchnechuxsayetirkxyuinexechiyklangaethbethuxkekhaxlitinpraethsmxngokeliyinpccubninrawkhriststwrrsthi 6 idekidkarepliynaeplngthangkaremuxngaelathangthrrmchati thaihchawetirkxphyphxxkcakexechiyklangipyngdinaedntang thixyuiklekhiyng chawetirkephahnungeriykwa eslcuk Seljuk idxphyphmathangthistawntkekhasuekhtthaelsabaekhsepiyn aelaidkhybekhamaiklxanaoteliyinkhriststwrrsthi 11 inpi ph s 2244 kh s 1071 sultan Alparslan phunachawetirkephaeslcukprasbchychnainsngkhramehnuxkxngthphkhxngckrphrrdiormanusthi 4 aehngckrwrrdiibesnithn n smrphumiemuxngmalsekirt Malazgirt pccubntngxyuinekhtcnghwdmus inphakhtawnxxkkhxngpraethsturki chychnakhrngniidepidthangihchnechuxsayetirkcakexechiyklanghlngihlekhasudinaednxanaoteliyintxnaerkeslcuketirkphyayamthicayudemuxngxisniksungtngxyuimiklcaknkhrxistnbul maepnemuxnghlwngkhxngtn aetthukibesnithnaelakxngthharkhruesdrwmknkhbilxxkip cntxngthxyippkhlkintxnklangkhxngxanaoteliy inpikh s 1077 eslcukidsthapnaxanackraehngaerkkhxngtnkhunindinaednxanaoteliy eriykchuxwa The Sultanate of Rum mirachthanixyuthiemuxngkhxnya sungtngxyubnthirabxnkwangihyintxnklangkhxngxanaoteliy sphaphphumipraethsodythwipkhxngemuxngkhxnya sungpnthirabprascaktnim mikhwamlamaykhlaykhlungkbthinthandngedimkhxngetirkinexechiyklangmakxanackreslcukinxanaoteliyecriyrungeruxngepnpukaephnxyuidephiyngrayaewlasn imthung 100 pi kekidkarrbphungknexngtamaebbkhxngsngkhmaebbchnepha sungmkcamieruxngrbphungknexngxyuesmx phayhlngkarsinphrachnmkhxngsultan Sanjar inpi kh s 1157 xanackreslcukklmslayaelaaetkxxkepnhlayaewnaekhwneriykwa Beylic Emirate ckrwrrdixxtotmn aekikhduhnahlkthi ckrwrrdixxtotmnkarsinsudckrwrrdixxtotmn aelakarekidsatharnrthturki aekikhinchwngkhriststwrrsthi 19 sultanxxtotmnbangphraxngkhthrngphyayamthicaptiruprabbkaremuxngaelaesrsthkickhxngckrwrrdixxtotmnihthnsmy thdethiymxarypraethsinyuorp aetkimprasbkhwamsaercxyangcringcng enuxngcaksngkhramidpathukhunxyangimhyudhyxnthwdinaednsungepnemuxngkhunkhxngxxtotmn ckrwrrdixxtotmntxngprasbkbpyhaesrsthkicxyanghnk karptirupcungimbrrluphl phrarachxanackhxngsultanidesuxmthxylngepnladb inkhnathixanackhxngkhunnangphayitkarnakhxngxkhrmhaesnabdimimakkhuninpi kh s 1876 klumpyyachnsungeriyktwexngwa yngetirk Young Turks idlukkhunmaeriykrxngihmikarptirupkaremuxng aelabibihsultanxbdulhamidthi 2 Abdulhamid II phrarachthanrththrrmnuychbbaerk epliynaeplngkarpkkhrxngkhxngckrwrrdimaepnrabbrthsphaodymisultanepnpramukhepnkhrngaerk xyangirkdirththrrmnuydngklawichidephiyngpiediyw inpi kh s 1877 sultanxbdulhamidthi 2 idthrngykelikrththrrmnuydngklaw karpkkhrxngkhxngckrwrrdixxtotmnidthukepliynklbmaepnrabbsmburnayasiththirachyxikkhrnginpi kh s 1908 klumyngetirkidkxkarptiwtibibbngkhbihsultanxbdulhamidthi 2 prakasichrththrrmnuyxikkhrng inpitxmasultanphraxngkhnithukpldxxkcakphrarachxanac sultanemhemtthi 5 sungkhunkhrxngrachytxmaimmiphrarachxanacthiaethcringaetxyangid thrngepnephiynghunechidethannEnver Pasha phunaklumetirkhnumidrwbxanacpkkhrxngpraethsiwxyangebdesrceddkhad aelainpi kh s 1914 idnapraethsekhasusngkhramolkkhrngthi 1 rwmkbfayeyxrmn sngkhramolkkhrngthi 1 yutilngodyeyxrmnepnfayphayaeph ckrwrrdixxtotmncungtkepnfayaephsngkhramdwy txngyxmlngnamsnthisyya Sevres inwnthi 10 singhakhm kh s 1920 sungepnphlihckrwrrdixxtotmntxngsuyesiydinaednthiepnemuxngkhunthiehluxinbxlkhanaelatawnxxkklang aelathielwraythisudkhux xanaoteliythinthixyukhxngchawetirk aelaxistnbulidthukkxngkalngkhxngchatiyuorpthichnasngkhramekhayudkhrxng karyxmcannxyangimmienguxnikh aelakarthukbibihlngnaminsnthisyyathiimepnthrrm epnehtukarnxnnaxpysxdsuthichawturkiyngcdcaidepnxyangdi thukkhrngthiturkitkxyuinsphawathithukbibbngkhbcakphaynxk mkcathuknaipepriybethiybkbehtukarninkhrngniesmxchawetirkswnihyaemcayxmrbkarsuyesiydinaednthiekhyepnemuxngkhun aetimxacyxmrbkhwamphyayamkhxngchatitawntkthicayudkhrxngxanaoteliy sungchawetirkthuxwaepnbanekidemuxngnxnkhxngchawetirk rthbalkhxngxxtotmninkhnannxyuinphawathixxnaexekinkwathicatxrxngxairid chawetirkphurkchaticungimmithangeluxkxun nxkcakcacbxawuthlukkhuntxsuephuxpkpxngbanekidemuxngnxnkhxngtnexng odymimustafa ekhmal Mustafa Kemal epnphunainkartxsukhbilkxngkalngtangchati sngkhramephuxkarpldplxy War of Liberation cungxubtikhuninrahwangpi kh s 1919 kh s 1923inchwngniidekidrthbalkhun 2 rthbal khux rthbalkhxngsultanxxtotmn sungtngxyuthinkhrxistnbul aelarthbalaehngsmchchaihyturki The Government of the Turkey Grand National Assembly sungtngxyuthikrungxngkara kartxsuinsngkhramephuxxisrphaphsinsudlngdwykarlngnamsnthisyyaolsann Lausanne emuxwnthi 24 krkdakhm kh s 1923 sungnaipsukarrbrxngekhtaednkhxngpraethsturkiinpccubn aelakarsthapnasatharnrthturki sungmikrungxngkaraepnemuxnghlwng emuxwnthi 29 tulakhm kh s 1923kxnhnathicamikarsthapnasatharnrthturkiinpi kh s 1923 rthsphakhxngrthbalxngkaraidmimtiemuxwnthi 11 tulakhm kh s 1922 ykelikrabbsultan sungyngkhngmixanacpkkhrxngephiyngnkhrxistnbulethann inwnthi 1 phvscikayn kh s 1922 xkhrmhaesnabdikhnsudthaykhxngrthbalxxtotmnidyuniblaxxk aelainwnthi 17 phvscikayn piediywkn sultanemhemtthi 6 sultanphraxngkhsudthaykhxngxxtotmnidesdcipliphyintangpraeths odyesdcxxkcaknkhrxistnbulodyeruxrbkhxngxngkvs epnkarpidchaklngxyangsmburnkhxngckrwrrdixxtotmn sungmixayuyunyawkwa 600 pixangxing aekikhaehlngkhxmulpthmphumi aekikh Appian History of Rome The Syrian Wars Herodotus The Works of Herodotus aehlngkhxmulthutiyphumi aekikh hnngsux aekikh Bevan Edwyn Robert 1902 The House of Seleucus E Arnold Botsford George Willis 1922 Hellenic History The Macmillan Company Bury John Bagnell 1913 A History of Greece to the Death of Alexander the Great Macmillan Duncker Max 1879 The History of Antiquity Volume III Richard Bentley amp Son Freeman Charles 1999 Egypt Greece and Rome Civilizations of the Ancient Mediterranean Oxford University Press ISBN 0198721943 Gibbon Edward 1952 The Decline and Fall of the Roman Empire William Benton Hawkins John David 2000 Corpus of Hieroglyphic Luwian Inscriptions Walter de Gruyter ISBN 3110148706 Herbermann Charles George 1913 The Catholic Encyclopedia Robert Appleton Co Hornblower Simon Antony Spawforth 1996 The Oxford Classical Dictionary Oxford University Press Kinross John 2001 Ataturk A Biography of Mustafa Kemal Father of Modern Turkey Phoenix Press ISBN 1842125990 Mommsen Theodor 1906 The History of Rome The Provinces from Caesar to Diocletian Charles Scribner s Sons Ramsay W M 1904 The Letters to the Seven Churches of Asia Hodder amp Stoughton Rawlinson George 1900 Ancient History From the Earliest Times to the Fall of the Western Empire The Colonial Press Saggs H W F 2000 Babylonians University of California Press ISBN 0520202228 xinethxrent aekikh Encyclopaedia Britannica Online The legends and the truth about King Midas Jona Lendering Parthia Retrieved on 2007 10 16 J D Hawkins Evidence from Hittite Records Retrieved on 2007 10 18 Garance Fiedler Phrygia Retrieved on 2007 10 19 Science Daily June 18 2007 Ancient Etruscans Were Immigrants From Anatolia Or What Is Now Turkey Retrieved on 2007 10 18 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title prawtisastrxanaoteliy amp oldid 9128150, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม